SILA
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 19 มี.ค. 18, 15:13
|
|
ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างเพนียดแล้วต้อนโขลงช้างเข้าไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 20 มี.ค. 18, 10:02
|
|
ช้างป่าที่ถูกจับได้รับการฝึกให้กลายเป็นช้างบ้านใช้งาน, Kru กลับเข้าไปสร้างบ้านในป่าอีกครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 20 มี.ค. 18, 10:03
|
|
ครอบครัวและสรรพสัตว์เลี้ยงพร้อมหน้าในบ้านหลังใหม่, สองพี่น้องเริงร่าตามประสา ทิวากาลลาลับขอบฟ้า...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 20 มี.ค. 18, 10:04
|
|
คลิปวิดีโอหนัง(ความยาวน้อยกว่าปกติราว 10 นาที)
(ภาพคมชัดกว่านี้,มีให้ดูในบางเว็บอื่น)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 21 มี.ค. 18, 10:46
|
|
ข้อมูลเว็บไทยระบุว่า
ถ่ายทำในปี พ.ศ. 2468(ค.ศ.1925) ใช้เวลานานถึงหนึ่งปีครึ่ง,ในจังหวัด น่าน แพร่ พัทลุง สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี ชุมพร สิ้นเงินประมาณ 2 แสนบาทไทย มีการนำช้างมาเข้าฉากใหญ่ถึง 400 เชือก การถ่ายทำได้รับการสนับสนุน จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนายซองอ๊วน สีบุญเรือน(ผู้จัดการบริษัทสยามภาพยนตร์, ปู่ของ ทิดเขียว - ผู้เป็นนักพากย์คนแรกของไทยซึ่งมีชื่อจริงว่า "นายสิน สีบุญเรือง") (จากบทความวิชาการชิ้นหนึ่งของไทยระบุว่า โขลงช้างเลี้ยงในฉากช้างบุกนั้นผกก.ได้ติดต่อกับ Prince Yugala of Lopburi - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ เพื่อหาช้างมาเข้าฉาก) ออกฉายครั้งแรกในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2471 และ เมื่อ ตุลาคม ๒๕๕๖ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ ๓ ของ หอภาพยนตร์
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 27 มี.ค. 18, 10:36
|
|
กลับมาที่ประเด็น แนวของหนังเรื่องนี้ซึ่งหลายเว็บเรียกว่าเป็น สารคดี (ชีวิตคนกับสัตว์,ธรรมชาติ, แม้ว่าคำโปรยในโปสเตอร์ จะใช้คำว่า Melodrama) เนื่องจาก ภาพที่นำเสนอในหนังแลดูละม้ายการถ่ายทอดวิถีชีวิตของชาวบ้านตัวจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 27 มี.ค. 18, 10:39
|
|
จากข้อมูลในบทความวิชาการของไทยกล่าวถึงเบื้องหลังการสร้างว่า แรกเริ่มนั้นสองผู้สร้างท่องเข้าไป ในป่าลึกของจังหวัดน่านหมายมุ่งจะบันทึกภาพชีวิตสัตว์ป่าโดยเฉพาะเสือกินคนที่มีอยู่มากมายในน่าน ครั้นเมื่อไม่พบเสือหรือจับเสือได้ดังหวัง และ เมื่อเวลาล่วงเลยไปนานจึงต้องเปลี่ยนแนวทางใหม่โดย การเขียนเรื่องแต่งแสดงวิถีชีวิตต้องสู้ของชาวบ้านป่า แล้วใช้ชาวบ้านท้องถิ่นเป็นผู้แสดงร่วมกับนานาสัตว์ ทั้งสัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยง ซึ่งรวมถึงเสือเลี้ยงกับช้างบ้าน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 27 มี.ค. 18, 10:42
|
|
การจัดการกับสัตว์ในหนังสมัยนั้น (ย่อม)แตกต่างจากสมัยนี้ที่ "ไม่มีสัตว์ได้รับอันตรายในระหว่างการถ่าทำ" จนคนดู ยุคนี้ยากจะรับได้ อย่างเบา(ะ)ๆ เช่น เว็บคนรักแมว เตือนคนรักแมวว่าหนังมีฉากที่ดูแล้วไม่สบายใจ คือ ฉากเด็กน้อย ลุกขึ้นยืนโดยไม่สนใจลูกแมวบนตัก,ทำให้ลูกแมวหล่นลงพื้นดิน นอกจากนี้ยังเตือนถึงฉากแมวใหญ่(เสือ)ถูกสังหารที่คนในยุคปัจจุบันรับฉากแบบนี้ไม่ได้จนเป็นประเด็นเมื่อออกฉาย ในบางแห่ง(แม้ว่าจะได้มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าแล้ว)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 27 มี.ค. 18, 10:45
|
|
การถ่ายทำดำเนินไปในแสงธรรมชาติเวลากลางวันส่วนใหญ่ในที่โล่งเนื่องจากปัญหาของแสงในป่าเขตร้อน และ มีการถ่ายซ่อมใหม่เพื่อให้ได้ภาพที่พอใจ โดยมี Ernest ทำหน้าที่เป็นตากล้องหลักในขณะที่ Merian ทำหน้าที่ ถือไรเฟิลคอยคุ้มกัน
บางมุมกล้องงามๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 29 มี.ค. 18, 09:53
|
|
สมัยนั้นครั้งยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญชำนาญการฝึกสัตว์เข้าฉาก, นอกจากตากล้องจะต้องเสี่ยงตายแล้ว,นักแสดงก็ ไม่เว้น ในฉากหนีเสือ ก่อนถ่ายทำเสือจะถูกขังไว้ในกล่องแล้วจึงจะถูกปล่อยออกมาวิ่งไล่ตัวแสดงที่วิ่งนำไปไกลก่อนแล้ว (แต่เมื่อมีการผิดคิวปล่อยเสือออกมาเร็วไปก็จำใจต้องยิงทิ้งเพื่อไม่ให้ทำร้ายนักแสดง)
มุมกล้องอย่างใกล้ชิดแทบติดหน้าเสือเต็มตาคนดู, แน่นอนว่าห่างแค่คืบแค่ศอกเท่านั้นจาก Schoedsack ผู้บันทึกภาพ (ที่ได้สั่งสมความกล้ามาแต่ครั้งเป็นคนบันทึกภาพในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 29 มี.ค. 18, 09:55
|
|
ฉากช้างบุกหมู่บ้านถ่ายทำกันที่ชุมพร, โดยบทบาทของช้างในหนังได้ถูกวางไว้ให้กลายเป็นสัตว์ป่าที่ น่าเกรงกลัวบุกเข้ามาทำลายหมู่บ้าน ในขณะที่ฉากของเจ้าชะนีน้อยกับเด็กๆ ตลอดจนสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ แลน่ารัก แต่ก็ยังมีบางฉากที่จะทำให้ผู้ชมในยุคปัจจุบันนี้รู้สึกว่าโหดร้ายทารุณสัตว์
มุมกล้องตื่นตาตอนช้างบุก Ernest ขุดหลุมแล้วปิดด้านบนด้วยท่อนไม้เจาะช่องเปิดไว้สำหรับกล้องถ่ายภาพมุมต่ำ เก็บภาพช้างที่ย่ำผ่านไปซึ่งจะพบมุมมองแบบนี้ได้ในหนังเรื่องต่อมาอย่างเช่น ทาร์ซาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 29 มี.ค. 18, 09:57
|
|
นอกจากนี้ผกก. ยังได้นำวิธีการรุกโดยใช้พุ่มไม้กำบังตัวซึ่งพบเห็นเป็นยุทธวิธีฟากตะวันตกมาใส่ในหนัง ให้เป็นกลวิธีของชาวบ้านที่นี่ในการเข้าไล่ต้อนช้างด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 04 เม.ย. 18, 10:41
|
|
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ช้าง เป็นหนัง(จัดฉาก)เล่าเรื่องชาวบ้าน(จริง,ไม่ใช่นักแสดง) จากบทที่เขียนขึ้น ไม่ได้เป็น หนังสารคดีชีวิตเหตุการณ์จริง หากจะคงใช้คำว่า สารคดี - documentary กับประเภทของหนังเรื่อง ช้างแล้วก็อาจจะออกมาเป็นคำผสมแบบว่า
mockumentary or docucomedy - a type of movie or television show depicting fictional events but presented as a documentary. หรือ
pseudo-documentary - a film(or video) production that takes the form or style of a documentary film but does not portray real events. Rather, scripted and fictional elements are used to tell the story.
docufiction - the cinematographic combination of documentary and fiction - a documentary mixed with fictional elements
ไม่ใช่ Docudrama ที่เป็นการนำเหตุการณ์จริงมาทำซ้ำออกมาเป็นละครหรือการแสดง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 04 เม.ย. 18, 10:43
|
|
ในที่สุดแล้ว, ไม่ว่า ช้าง จะเป็นหนังประเภทไหน ทั้งนักวิจารณ์และผู้ชม,ทั้งในยุคก่อนจนถึงปัจจุบัน (ที่ยอมรับหรือข้ามไปได้กับฉากสัตว์ที่ได้รับการปฏิบัติไม่เหมาะสมของยุคสมัยก่อนยุคนี้ที่ "no animal was harmed during the making of this film") ส่วนมากต่างชื่นชอบหนังเรื่องช้างกันไม่น้อย โดยเฉพาะ ความเป็นธรรมชาติ,ความแปลกถิ่นตื่นตาหาชมยาก,ความน่ารักบ้างน่ากลัวบ้างของสิงสาราสัตว์ปนความขบขัน ที่ถ่ายทอดภาพ (เบื้องหน้าคือ) การต่อสู้กับธรรมชาติของเหล่าตัวละครชาวบ้าน ในขณะที่เบื้องหลังภาพเหล่านั้นคือ การต่อสู้กับธรรมชาติอันเสี่ยงภัยและความเจ็บป่วยในดินแดนแถบร้อนห่างไกลไม่คุ้นเคยของทั้งสองผู้กำกับ นักผจญภัยชาวต่างชาติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 17 เม.ย. 18, 10:25
|
|
ฉากต่อไปเป็น ฉากสัตว์ป่าถูกล่าที่เศร้าสะเทือนใจที่สุดจากการ์ตูนเก่ามาก - สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่อง Bambi การ์ตูนเรื่องโปรดเป็นพิเศษของ Walt Disney
เพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวใกล้เคียงสมจริง,ดิสนีย์จึงนำกวางน้อยมาเลี้ยงในสตูดิโอเพื่อเป็น"กวางแบบ" ตัวเป็นๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|