เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 77
  พิมพ์  
อ่าน: 83352 ฉากประทับใจในหนังเก่า (3)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 29 พ.ย. 18, 09:19

I live here
I am the son of the Guardian

Ah. Well, I used to live here too       
That is where I sat

Who are you?

I was the Emperor of China

Prove it


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 29 พ.ย. 18, 09:21

          สัญลักษณ์จิ้งหรีดตัวนี้ ที่ movies.stackexchange.com มีความเห็นว่าไว้
อย่างจุใจ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 12:38

แบร์นาร์โด แบร์โตลุชชี (Bernardo Bertolucci) ผู้กำกับเรื่อง The Last Emperor  เพิ่งจะเสียชีวิต หนังของเขาทำให้ผมเริ่มสนใจเรื่องจีน ๆ มาตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ทุกวันนี้ The Last Emperor  ก็ยังเป็นภาพยนต์ในใจไม่รู้ลืม

ตอนนั้น แบร์โตลุชชี เสนอกับทางการจีนว่าจะถ่ายทำภาพยนต์โดยใช้จีนเป็นฉาก โดยให้ตัวเลือก ๒ เรื่อง ทางการจีนกลับเลือกเรื่อง  The Last Emperor ทั้ง ๆ ที่มันเป็นประเด็นหมิ่นเหม่มาก นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ใช้อัตชีวประวัติที่เขียนโดยผู่อี๋มาเขียนเป็นบท อนุญาตให้ใช้ทหารในกองทัพเป็นตัวประกอบ และไฮไลท์คือให้ใช้พระราชวังต้องห้ามเป็นที่ถ่ายทำ งานชิ้นนี้จึงอลังการสุด ๆ ยิ่งคอสตูมยิ่งถูกต้องหมดจนงดงาม

หลายคนคงไม่สังเกตว่า นี่เป็นเรื่องแรก ๆ ที่จีนอนุญาตให้เอ่ยถึงการปฏิวัติวัฒนธรรมในแบบวิพากษ์ มีฉากหนึ่งที่ผู่อี๋พบกับผู้การเรือนจำของเขา ซึ่งถูกพวกเรดการ์ดแห่ประจานไปทำร้าย ซึ่งนับว่ายอกย้อนมาก เพราะพวกคอมมิวนิสต์ทำร้ายกันเอง แต่กลับละเว้นจักรพรรดิแห่งระบบศักดินา ฉากนี้มีนัยสำคัญอยู่ คือ ทางการจีนยุคเติ้งเสี่ยวผิง ต้องการจะประจานความบ้าคลั่งในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมนั่นเอง

ตอนนั้น แบร์โตลุชชี เชิญผู้กำกับจีนมือทอง ๒ คนมาช่วย คือ เฉินข่ายเกอ กับ จางอี้โหม่ว และปรึกษาเรื่องฉากการปฏิวัติวัฒนธรรม ปรากฎว่าตอนที่กำลังคุย ผู้กำกับทั้ง ๒ คนที่ผ่านช่วงเวลานั้นมาเกิดอารมณ์รุนแรงแสดงอาการออกมาถึงกับร่ำไห้ ฉากนี้จึงมีพลังมาก

ตอนเด็ก ๆ ถึงจะยังไม่ประสีประสา แต่ผมกลับประทับใจฉากสุดท้ายของเรื่องอย่างมาก ฉากนั้น ผู่อี๋ (ปูยี) ในวัยชรากลับไปที่พระราชวังต้องห้ามอีกครั้ง หลังถูกขับไล่จากวังต้องห้ามในปี ๑๙๒๔ จนระเหเร่ร่อนกลายเป็นหุ่นเชิดให้ญี่ปุ่น เป็นจักรพรรดิแต่ในนามของประเทศแมนจูกัว กลายเป็นอาชญากรสงครามในโซเวียต และถูกส่งตัวกลับมา "รับการศึกษาใหม่" ที่เรือนจำอาชญากรสงครามในจีน และออกมาเป็นพลเมืองเต็มขั้นของจีนใหม่ ทำงานด้านประวัติศาสตร์ และดูแลสวนไปด้วย พบรักใหม่ที่รักจริงไม่ใช่แต่งเพราะการเมือง ช่วงชีวิตตอนท้ายของผู่อี๋น่าจะมีความสุขเสียยิ่งกว่าในเวียงวังแห่งไหน

ในฉากสุดท้าย ในพระที่นั่งไท่เหออันว่างเปล่า ผู่อี๋ปีนขึ้นไปนั่งบนบัลลังก์ แต่เด็กน้อยคนหนึ่งร้องขึ้นว่า "หยุดนะ คุณเข้าไปตรงนั้นไม่ได้"

ผู่อี๋ถามว่า "เธอเป็นใคร?"

"ผมเป็นลูกคนดูแลที่นี่

"อ้า ดีแล้ว ฉันก็เคยอยู่ที่นี่เหมือนกัน" ผู่อี๋นั่งลงบนบัลลังก์มังกรแล้วบอกว่า "ฉันเคยนั่งตรงนี้"

เด็กน้อยยังไม่ลดละถามว่า "คุณเป็นใคร?"

"ฉันเป็นจักรพรรดิของแผ่นดินจีน"

เด็กน้อยท้าทาย "งั้นก็พิสูน์สิ"

และจากนั้น ความว่างเปล่าในท้องพระโรงก็แทนที่ด้วยนักท่องเที่ยว มีเสียงไกด์พูดขึ้นมา "ที่นี่คือพระที่นั่งไท่เหอ จักรพรรดิทุกองค์ทรงครองราชย์ที่นี่ จักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ครองราชย์ที่นี่คือ อ้ายซินเจวี๋ยหลัว ผู่อี๋ ตอนนั้นเขาอายุได้ ๓ ขวบ

เขาตายเมื่อปี ๑๙๖๓"

ฉากนี้ไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่มันประทับใจไม่รู้ลืมจริง ๆ



จาก เฟซบุ๊กของคุณกรกิจ ดิษฐาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 13:31

คุณประภาพรรณ นาคทอง ลาลับจากฟากฟ้าไปอีกคน
ดาวดวงนี้เคยดังในยุคที่คุณหมอ SILA ยังไม่เกิด    เธออำลาวงการไปนานมาก  สมรส และใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา

ข่าวจากหอภาพยนตร์ Thai Film Archive
2 ชม. ·
หอภาพยนตร์ ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ "ประภาพรรณ นาคทอง" อดีตนางเอกสาวชื่อดังในยุค หนัง ๑๖ มม. ผู้ฝากผลงานการแสดงภาพยนตร์ไว้มากมาย อาทิ เศรษฐีอนาถา (๒๔๙๙) หญิงสามผัว (๒๔๙๘) หญิงคนชั่ว (๒๔๙๘) ฯลฯ

ประภาพรรณ นาคทอง เคยมาประทับรอยมือรอยเท้า เป็นดาวดวงที่ ๑๓๔ บนลานดาราของหอภาพยนตร์ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ เป็นอมตนุสรณ์เพื่อระลึกถึงผลงานการแสดงของเธอสืบไป

ทั้งนี้ จะมีกำหนดสวดอภิธรรมศพ วันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๘.๓๐ น. และฌาปนกิจศพในวันจันทร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ วัดธาตุทอง ศาลา ๗

ประวัติประภาพรรณ นาคทอง
ประภาพรรณ นาคทอง เกิดเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๒ ที่กรุงเทพฯ ย่านพญาไท เป็นลูกคนกลางในจำนวนพี่น้อง ๕ คน คุณพ่อรับราชการเป็นผู้ตรวจการสรรพสามิต คุณแม่เป็นแม่บ้าน ชีวิตในวัยเด็กได้โยกย้ายตามคุณพ่อไปอาศัยอยู่ในต่างจังหวัดเป็นระยะ ๆ กิจกรรมที่ชอบทำมากที่สุดในวัยเด็ก คือ การประกวดร้องเพลงตามตลาดนัด ส่วนผลงานการแสดงครั้งแรกในชีวิตเกิดขึ้นสมัยเรียนหนังสือที่โรงเรียนสตรีเพชรบุรี เมื่อโรงเรียนนำนักเรียนร่วมแสดงละครต่อต้านการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคในงานกาชาด ประภาพรรณ นาคทอง รับบทที่เจ้าตัวแสนจะภาคภูมิใจ เป็น “ตัวอหิวาต์”

หลังจบการศึกษาชั้นเตรียมธรรมศาสตร์ ประภาพรรณ นาคทอง เพียรสมัครงานตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งแต่ไม่มีที่ใดตอบรับ จนเริ่มท้อ ขณะนั้นมีการก่อสร้างโรงหนังเฉลิมไทยพร้อมกับประกาศรับสมัครนักแสดงละครเวที ประภาพรรณเห็นโอกาสที่จะได้งานทำจึงเสี่ยงไปสมัครทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักใคร จุดเด่นหนึ่งของประภาพรรณ นาคทองที่เตะตากรรมการอยู่ที่รูปร่างผอมเพรียวบอบบางแตกต่างจากผู้หญิงส่วนใหญ่ในยุคนั้น เป็นที่มาของชื่อ “บาง” ชื่อเล่นที่เพื่อน ๆ ในวงการเรียกขานกันจนติดปาก ผลการสมัครในครั้งนั้นประภาพรรณ นาคทองได้รับจดหมายตอบรับให้เข้าร่วมแสดงละครเวทีเรื่องแรกคือ ราชันย์ผู้พิชิต คู่กับวสันต์ สุนทรปักษิณ หลังจากนั้นประภาพรรณ นาคทองมีผลงานละครเวทีอีกหลายเรื่อง บางครั้งก็รับหน้าที่เป็นนักร้องสลับฉาก เมื่อละครเวทีหยุดกิจการ ประภาพรรณ นาคทองก็ไม่แตกต่างจากนักแสดงคนอื่นที่เปลี่ยนวิถีโคจรจากเวทีละครไปโลดแล่นบนจอเงินตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๙๖ มีผลงานภาพยนตร์ที่รวบรวมได้ ๑๘ เรื่อง

ประภาพรรณ นาคทอง มีความโดดเด่นในเรื่องการศึกษา หนังสือพิมพ์มักจะเรียกว่า “เด็กธรรมศาสตร์” เพื่อน ๆ ในวงการมองด้วยสายตาชื่นชม การทำงานในวงการบันเทิงประภาพรรณมุ่งมั่นที่จะทำงานสร้างรายได้ให้มั่นคงเพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่ ด้วยเหตุนี้เธอจึงตัดสินใจอย่างกล้าหาญยกระดับตัวเองจากนักแสดงเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ในนามเทพธิดาภาพยนตร์ ด้วยตัวเองเพียงลำพังมิได้ร่วมหุ้นกับใคร มีผลงานสร้างภาพยนตร์ ๓ เรื่องคือ น้ำใจสาวจีน (๒๔๙๘) ก่อนอรุณจะรุ่ง (๒๕๐๐) และโชคมนุษย์ (๒๕๐๐) เมื่อละครโทรทัศน์ได้รับความนิยม ประภาพรรณ นาคทองก็ได้เข้ามาแสดงละครโทรทัศน์ด้วยจนห่างหายจากวงการภาพยนตร์ หันมาแสดงละครโทรทัศน์เป็นอาชีพแทน ระหว่างนั้นประภาพรรณได้รับงานเดินแบบและถ่ายแบบบ้างเป็นบางครั้งจากการชักชวนของหม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิชัย ดีไซเนอร์ชื่อดัง
ประภาพรรณ นาคทอง หันหลังให้กับวงการบันเทิงไทยไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ โดยไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๕ ปี ได้พบรักกับชาวอเมริกัน จึงตัดสินใจแต่งงานแล้วโยกย้ายไปใช้ชีวิตกับสามีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสามีเสียชีวิต ประภาพรรณกลับมาอยู่เมืองไทยอย่างถาวร มีโอกาสแสดงละครการกุศลบ้าง แต่ไม่เคยคิดจะหวนกลับเข้าสู่วงการบันเทิงอีกเลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 13:34

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 13:35

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 03 ธ.ค. 18, 11:23

สอบถามผู้ร่วมงานอาวุโสบางท่าน รู้จักคุณประภาพรรณ นาคทอง ในฐานะนักแสดง,บางท่านจำได้ว่า
คุณประภาพรรณรับบทเป็นหญิงเล็กใน บ้านทรายทอง พ.ศ. 2499

ยืนยันด้วยคำบรรยายในโปสเตอร์แผ่นขวามือ
และด้านล่าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 03 ธ.ค. 18, 11:43

เรื่อง หญิงคนชั่ว จากโยคีสถาน สี่พระยา เช่นกัน

คำโปรยโปสเตอร์ บอกว่า เป็นนวนิยายที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์
                              ทรงวิจารณ์ไว้ว่า...เป็นนวนิยายที่เป็นบทเรียนแก่หญิงทั่วไป...
                              อ่านได้ประโยชน์...อ่านได้ความรู้และเพลิดเพลินไม่มีหยาบลามก.

เคยอ่านเมื่อนานนับสิบๆ ปีตอนที่มีข่าวว่า คุณาวุฒิ สนใจจะนำมาสร้างใหม่แต่ในที่สุดก็ไม่ได้มีใครนำมาสร้าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 03 ธ.ค. 18, 19:08

ไม่แน่ใจว่าคุณหมอ SILA โตทันดู Ken Berry หรือเปล่า
เขาเป็นดาวตลก และดาวเต้น ในยุค 1960s  ออกทางทีวีมากกว่าหนังใหญ่    เล่นหลายเรื่องมากค่ะ
บัดนี้ก็ลาลับไปในวัย 85 ปี

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 03 ธ.ค. 18, 19:09

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 04 ธ.ค. 18, 11:47

ดูเหมือนจะคุ้นๆ แต่นึกไม่ออก ครับ

            ดาวลับจากฟากฟ้าดาราไทยดวงนี้ พิศาล อัครเศรณี ฝากผลงานและเรื่องราวยาวนานมากสีสรรพ์ไว้ใน
วงการหนังไทย
            จากนักเรียนมัธยมวัดบวรนิเวศน์ สหายของแดง ตรอกไบร์เล่ย์ กับ ปุ๊ ตรอกสาเก มีสมญาว่า เปี๊ยก เจริญพาสน์
ผู้ก่อศึกสิบสามห้าง สู่ โรงเรียนการกำกับการแสดง แผนกวิทยุโทรทัศน์ วอชิงตัน ดี.ซี. แล้วทำงานที่สำนักข่าวสารอเมริกัน

ผลงานชิ้นแรกของที่ทำงานและนับว่าเป็นหนังเรื่องแรกในชีวิตด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 04 ธ.ค. 18, 11:48

          จากนั้นจึงได้ก้าวเข้าสู่งานด้านวิทยุและโทรทัศน์ตามลำดับ ตามที่จำได้ว่า คุณพิศาลมีผลงานทางเสียงมาก่อน
ที่จะขยับมาสู่จอแก้วแล้วข้ามไปจอเงินแล้วกลับมาจอแก้ว จากนักแสดงก่อนที่จะผันตัวมาเป็นผู้กำกับที่ได้รับสมญาว่า
ผกก.ซาดิสต์ ทำหนัง,ละครแนวตบจูบ

ผลงานเด่นๆ บางเรื่อง เช่น บทมังตราในผู้ชนะสิบทิศ,  ฟ้าหลังฝน งานกำกับที่สร้างชื่อ, เพลงสุดท้าย หนังไทยที่นำเสนอ
ประเด็นเพศที่สามอย่างเต็มที่ผ่านบทบาทนักแสดงนำ และ ผลงานกำกับ,นำแสดงในหนังที่เป็นลายเซ็น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 04 ธ.ค. 18, 16:41

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 04 ธ.ค. 18, 16:41

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 21 ธ.ค. 18, 14:15

           หนึ่งในหนังที่ติดอันดับยอดนิยมช่วงคริสตมาสจากการจัดโดยเว็บต่างๆ ไม่พ้นต้องมีหนังฮ็อทฮิทเรื่องนี้

Home Alone(1990) โดดเดี่ยวผู้น่ารัก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 77
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง