Another country (1984) เป็นหนังจากอังกฤษเล่าเรื่องของ 2 นักศึกษาหนุ่มในรั้วโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียง (หนังไม่บอกว่าที่ไหน แต่นักวิจารณ์เดาว่าเป็นโรงเรียน Eton เพราะ...) ในยุค 1930s
ทั้ง 2 เรียกได้ว่าเป็นคนนอกคอกของสังคมในโรงเรียน คนหนึ่งนิยมลัทธิสังคมนิยมของ Karl Marx ส่วนอีกคนเป็นเกย์
หนังมุ่งเป้าหมายหลักไปที่หนุ่มเกย์ Guy Bennett (Rupert Everett) ที่ความประพฤติไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นคนดี น่ารักกับน้อง ๆ ความใฝ่ฝันของเขาคือต้องการเป็น ‘God’ อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของสังคมในโรงเรียน (หมายเหตุ – คำว่า God มีอำนาจเหนือกว่า prefects ตรงนี้อธิบายไม่ถูกเพราะไม่เข้าใจหลักเกณฑ์ เข้าใจแค่ prefect) ที่จะเป็นบันไดให้เขาไต่ไปถึงความฝันสูงสุดในอาชีพของตนคือ เอกอรรคราชทูตประจำฝรั่งเศส ซึ่งก็มีโอกาสมากเพราะตัวเองมาจากครอบครัวชั้นสูงเป็นที่นับหน้าถือตาของสังคม แต่ความเป็นเกย์ทำให้เพื่อน ๆ ในโรงเรียนเหยียดหยามและหาทางกลั่นแกล้งไม่ยอมให้เขาได้ตำแหน่งนี้ทั้งๆ ที่บางคนก็เคยมีความ ‘สัมพันธ์’ กับเขา
ตอนที่คู่แข่งและบรรดาลูกสมุนสามารถโค่น GB ได้สำเร็จ ทำให้เขาตาสว่างและเห็นความหน้าไหว้หลังหลอกของสังคมในโรงเรียนชั้นหนึ่งของประเทศ โรงเรียนที่ผลิตนักเรียนขึ้นมาเป็นนักการเมืองของประเทศที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งในเรื่องระบอบประชาธิปไตย แท้ที่จริงมันเน่ามาตั้งแต่ในโรงเรียนแล้ว
หนังเรื่องนี้อิงประวัติของ Guy Burgess นักเรียนโรงเรียน Eton ที่จบออกมาเป็นนักการเมือง แต่ประสบการณ์ไม่ดีที่ได้รับครั้งอยู่ในโรงเรียนทำให้เขาคิดแปรพักตร์กลายเป็นสายลับสองหน้าให้กับโซเวียต สร้างผลงานอื้อฉาวให้กับประเทศบ้านเกิดที่เขาตราหน้าไว้ว่า ปากว่าตาขยิบ

Guy Burgess ขณะศึกษาอยู่ที่ Cambridge
ในยุค 30s มีนักศึกษาพื้นเพมาจาก Cambridge แปรพักตร์ไปสู่ USSR หลายคน เรียกพวกเขากันว่า Cambridge spies แต่ที่สร้างชื่อเสียง (ในทางเสียหายให้กับบ้านเกิด) มี 5 คน รวมเรียกว่า The Cambridge Five GB เป็นหนึ่งใน 5 คนนั้น
หนังเรื่องนี้ไม่ได้มาฉายที่เมืองไทย ผมได้ข่าวจากหนังสือ SP เกิดความอยากดูเป็นกำลัง ในยุคต้น 80s อตน. ยังไม่เกิด อีกหนึ่งตัวเลือกของการดูหนังคือ วิดีโอ ส่วนแหล่งจะตามหาของที่ไม่ใช่ของดื่นดาษมีอยู่ที่เดียวคือ สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง
ก่อนจะลงมือหาต้องใช้วิจารณญาณนิดว่าควรจะเริ่มที่ไหน ไม่ใช่เปิดเจอหน้าร้านให้เช่าวิดีโอปั๊บก็หมุนแป้นโทรศัพท์มือเป็นระวิง
หนังเรื่องนี้เป็นหนังนอกกระแส ไปหาในเยาวราชไม่มีทางเจอ ผู้ที่ชำนาญหนังแนวนี้ต้องมาจากโลกตะวันตก ย่านที่ชาวตะวันตกรวมกันอยู่ในกรุงเทพฯ (ยุคนั้น) มากที่สุดมีที่เดียวคือบนถนนสุขุมวิท
สรุปได้ดังนี้ผมก็ไล่หาร้านให้เช่าวิดีโอที่มีทำเลอยู่บนถนนสุขุมวิท ผมจำไม่ได้ว่าเสี่ยงไปกี่ร้าน แต่มาถึงร้านหนึ่งเสียงคนที่รับสายทำให้ผมอึ้งและงงไปเลย มันเป็นเสียงของฝรั่ง 'ตายห่าแล้ว... ทำไงดีหว่า...' ผมคิดจะวางหูตามประสาคนตกใจในเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง
ตอนนั้นผมเพิ่งอายุ 20 กว่า ยังไม่ประสีประสากับภาษาอังกฤษ ‘เท่าไร’ ไม่ใช่ ไม่ประสีประสากับภาษาอังกฤษ ‘เลย’ เพราะผมเริ่มเข้าหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษแล้ว... กับ อ. Carly Simon (ในปีนี้ เธอได้รับเลือกเข้าทำเนียบ Rock & Roll Hall of Fame อันเป็นเกียรติสูงสุดของศิลปินวงการเพลง) และ อ. Helen Reddy
อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้เน้นที่การ ‘ฟัง’ ไม่ใช่การ ‘พูด’ พอมาเจอ workshop ที่ต้องใช้การพูด ผมก็เหงื่อแตกเป็นธรรมดา
แต่ผมก็... เอาวะ ลองซักตั้ง ก็กลั้นใจพูดภาษาอังกฤษออกไป เน้นเรื่องที่ต้องการเป็นหลัก
ใจมาเป็นกองเมื่อปลายสายเข้าใจในสิ่งที่ผมตามหา น่าจะเดาเก่งมากกว่า และปรากฏว่าทางร้านมีหนังเรื่องนี้ด้วย
ตานี้ก็ถึงช่วงถามทางว่าไปยังไง รถเมล์สายอะไร ท่าคุณฝรั่งจะหมดปัญญาบอกทางคงเพราะไม่ชำนาญ เธอบอกให้คอยแล้วหายไปหนึ่งเพลิน คนที่มาพูดคราวนี้เป็นคนไทยที่สามารถบอกทางไปร้านให้ผมได้
อีกเกือบสองชั่วโมงต่อมาผมก็มาถึงร้าน คุณฝรั่งหายไปแล้วเหลือแต่คนไทยที่เฝ้าร้าน ซึ่งคุณฝรั่งฝากเรื่องไว้ กฎเกณฑ์ของทางร้านคือต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน ซึ่งจะได้หนัง 1 ม้วน แล้วก็เอาหนังนี้มาแลกเป็นเรื่องอื่น ๆ ในเวลาต่อมา
ผมก็จ่ายเงินค่าสมัคร และรับหนังเรื่องนี้กระโดดขึ้นรถเมล์กลับบ้าน ผมไม่ได้กลับไปที่ร้านนั้นอีกเพราะได้ของที่ต้องการแล้ว การจ่ายเงินค่าสมัครก็เปรียบเสมือนจ่ายเงินซื้อวิดีโอม้วนนี้
พอถึงบ้านก็ยัดกล่องวิดีโอเข้าเครื่องแล้วเปิดดูทันที ตามประสาคนใจร้อน พอดูไปได้แป๊บก็สรุปได้ว่า เวรกรรมจริง ๆ กู อุตส่าห์กระเสือกกระสนออกไปตามหา เนื่องเพราะมันเป็นวิดีโอผีซึ่งภาพไม่คมชัด อีกทั้งสำเนียงของชาวอังกฤษก็ฟังโคตรยาก แถมเป็นหนัง drama ที่มีบทพูดตลอดเรื่อง กรอไปกรอมาอยู่นั่นแล้ว แม้จะดูจบด้วยความรู้เรื่องแต่ไม่เข้าใจบทสนทนาเลยเพราะฟังไม่ออก ประสบการณ์น่าเซ็งแบบนี้เกิดขึ้นกับผมมาตลอด
อย่างไรก็ตาม ผมได้มีโอกาสดูอีกครั้งสมัย I/UBC ที่มีบรรยายภาษาไทย ถึงได้รู้และเข้าใจเรื่องราวมากขึ้น คราวนี้ภาพคมชัดแจ๋ว มันเป็นหนังที่ถ่ายทำได้สวยจริง ๆ เป็นบรรยากาศของอังกฤษที่ผมชอบมาก เพลงประกอบเพราะ ภาษาพูดก็เพราะ หนังไม่มีฉาก ‘หวือหวา’ แม้แต่นิดเดียว นักวิจารณ์จัดว่าเป็นหนังเกย์เพราะตัวละครหลักเป็นเกย์เท่านั้น ความจริงแล้วมันคือหนังการเมืองที่หนักแน่น
หนังเปิดเรื่องที่นักข่าวเข้าขอสัมภาษณ์สายลับ 2 หน้า Guy Bennett ที่เข้าสู่วัยชราที่โซเวียต
(ตอนผมทำเรื่องนี้ยังมี clip ให้ดูเป็นฉาก ๆ ตอนนี้ clip เหล่านี้กลายเป็นแบบนี้หมดแล้ว)
https://youtu.be/_QS560BlErg?list=PL3X-rcyi1oKRvOeD7gECtYmOX9_zuPG5nฉากข่มขู่ GB แต่เธอก็เอาตัวรอดได้ด้วยการ blackmail ว่า ถ้าทำโทษชั้น ชั้นจะไปบอกครูว่ามีใครบ้างที่ ... กับชั้น เริ่มตั้งแต่ระดับหัวมาเลยละ (2.35) แต่ในที่สุดคู่แข่งก็สามารถรวบรวมข้อมูลพร้อมหลักฐาน (การเป็นเกย์) ได้มากพอที่จะโค่นเธอได้ โดยการถูกเฆี่ยนต่อหน้าองค์ประชุม (3.18 – ที่จริงยังมี clip ที่ชัดเจนกว่านี้แต่โดนลบเพราะติดลิขสิทธิ์ เลยอดเห็นระบอบการปกครองภายในโรงเรียนประจำเกรด A ของอังกฤษ หลังจากโดนเฆี่ยนแล้วมีการจับมือกัน ประมาณว่า เป็นไปตามขั้นตอนของระบอบการปกครอง อย่าถือโทษโกรธเคืองกัน)
อย่างไรก็ตาม ความอับอายไม่มากเท่ากับความเกลียดชังต่อระบอบศักดินาและปากว่าตาขยิบ GB ตาสว่างและความเกลียดสังคมเริ่มพอกพูนในความคิดของเธอตั้งแต่บัดนั้น
ฉากหลังจากโดนทำโทษ กับการเผยว่าทำไมครั้งนี้ถึงไม่ใช้วิธี blackmail แบบทุกที กับฉากจบของเรื่อง อีกคนคือคู่หูชื่อ Tommy Judd (Colin Firth) อีกหนึ่งตัวละครนอกคอก (นับถือลัทธิสังคมนิยมของ Karl Marx) ที่ผู้สร้างสร้างขึ้นมา เธอไม่ใช่แฟนของ GB เป็นแค่เพื่อนสนิท
ในหนัง GB มีแฟนเป็นรุ่นน้องชื่อ James Harcourt (Cary Elwes)
เวลาจะเจอกันต้องออกมานอกโรงเรียนยามวันหยุด
ระหว่างนั้น บรรดาคู่อริก็พยายามหาวิธีโค่น GB
หลังจากนั้นก็ลักลอบเจอกันต่อไป
ตัวอย่างหนัง
จากบางตอนของบทสัมภาษณ์ Guy Burgess USSR ไม่เคยไว้วางใจสายลับแปรพักตร์จากต่างชาติ ขณะที่อยู่ในโซเวียต จู่ ๆ สมาชิก The Cambridge Five 2 คนหายสาบสูญไปโดยไร้ร่องรอยในปี 1951 แล้วอีกไม่นานตัวของเธอก็โดนตัดขาดจาก ‘any meaningful connection to power’ ก่อนจะตายใน Moscow ด้วยการดื่มเหล้ามากเกินขนาดจากความผิดหวังในปี 1963

มีต่อ...