เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19
  พิมพ์  
อ่าน: 21948 ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 13:07


วันที่ 6 พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒ นายสุดจินดาส่งหนังสือให้ฝรั่งเศสยอมวางอาวุธและหลบหนีออกไป
ให้ฝรั่งเศสมีความเกรงกลัวในกำลังที่เหนือกว่าของไทย
เรื่องแปลกๆ ยุ่งเหยิงก็เกิดขึ้นในหมู่คนไทยเอง


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 14:49


เหตุการณ์ล้อมค่ายฝรั่งเศส ที่ดอนสาคอน วันที่ ๕ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒ นั้น
พระประชาคดีกิจ และ นายสุดจินดา ต่างบันทึกเหตุการณ์ไปคนละทาง เป็นหนังคนละม้วน
วันที่ ๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒ ลูกน้องพระประชา ไล่ตามจับร้อยเอกโทเรอ ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 15:04

พระประชาคดีกิจ  ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค) เป็นบุตรพระพรหมธิบาล (จอน บุนนาค) มารดาชื่อ เปรม เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘
สมรสกับ คุณหญิงปราย มีบุตร ๔ คน ได้แก่ จมื่นเทพศิรินทร์ (ประณีต) จ่าแกว่นประกอบการ (ประสิทธิ์) นาย สุดจำลอง (ประเสริฐ) และพันตำรวจเอกพระราชญาติรักษา (ประกอบ)
ท่านเป็นผู้แต่งหนังสือ  พงศาวดารลาวเฉียง (พงศาวดารโยนก)
https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87_%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3_(%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84)

บ้านของท่าน ยังหาดูได้ที่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/Rattanakosineha/posts/884535298265051
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 15:24


ในเดือน พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒
พระประชาคดีกิจ กับ นายสุดจินดา เล่นชักคะเย่ออำนาจกัน ต่างฝ่ายต่างมี backup
โดยมีหลวงเทเพนทร์เป็นคนกลางยืนดูกระพริบตาปริบๆ
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 11 มี.ค. 18, 15:37

ข้อมูล หลวงเทเพนทร์เทพ เท่าที่สืบค้นได้มีตามนี้ื นะครับ

ตั้งแค่ พ.ศ.๒๔๒๕ จนถึง พ.ศ.๒๔๒๙  ->  หลวงเทเพนทร์เทพ (เอี่ยม) ...เดิมเป็นหลวงศรีณรงค์                 (ระบุชื่อเดิมไว้ใน สารบาญบัญชีฯ พ.ศ.๒๔๒๖)
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๐                         ->  หลวงเทเพนทร์เทพ (ถนอม อินทุสุต) ...เดิมเป็นเมืองอุไทยธานี     (ระบุชื่อเดิมไว้ใน ทำเนียบข้าราชการ พ.ศ.๒๔๔๒)

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 12 มี.ค. 18, 09:28

ข้อมูล หลวงเทเพนทร์เทพ เท่าที่สืบค้นได้มีตามนี้ื นะครับ

ตั้งแค่ พ.ศ.๒๔๒๕ จนถึง พ.ศ.๒๔๒๙  ->  หลวงเทเพนทร์เทพ (เอี่ยม) ...เดิมเป็นหลวงศรีณรงค์                 (ระบุชื่อเดิมไว้ใน สารบาญบัญชีฯ พ.ศ.๒๔๒๖)
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๐                         ->  หลวงเทเพนทร์เทพ (ถนอม อินทุสุต) ...เดิมเป็นเมืองอุไทยธานี     (ระบุชื่อเดิมไว้ใน ทำเนียบข้าราชการ พ.ศ.๒๔๔๒)





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 12 มี.ค. 18, 11:25

ขอบคุณคุณเงินปุ่นสีมาก   คุณมาถูกทางแล้วค่ะ
ล่าสุด ท่าน cinephile แจ้งมาว่าได้พบหลานตาของหลวงเทเพนทร์แล้ว     ใช่หลวงเทเพนทร์(ถนอม อินทุสุต)จริงๆ
ถ้าท่าน cinephile ว่างพอจะเข้าเน็ตได้เมื่อไร คงจะมาเล่ารายละเอียดให้ฟังกันค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 12 มี.ค. 18, 11:30

บุคคลที่น่าสนใจอีกคนคือนายสุดจินดา    ไม่ทราบว่าท่านนี้เป็นใครมาจากไหน และหมดงานนี้ ไปสู่ตำแหน่งใด
รู้จากชื่อ "นายสุดจินดา" ว่าเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กชั้นหุ้มแพร    ยังไม่ได้ออกจากวังมาเป็นคุณหลวงในกระทรวงอื่นด้วยซ้ำ   ก็ถูกส่งตัวมาชายแดน
แสดงว่ามีฝีมือ ได้รับความไว้วางใจจากเจ้านายมากๆ
แล้วยังกล้าคานอำนาจคุณพระประชาฯซึ่งเป็นขุนนางตระกูลบุนนาคเสียอีก     ถึงแม้สิ้นสมเด็จเจ้าพระยาฯไปแล้ว พวกบุนนาคก็ยังรับราชการตำแหน่งสำคัญๆกันอยู่อีกมาก     นายสุดจินดานี้มาจากตระกูลสำคัญสายไหนหนอ?
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 11:01

ข้อมูลเกี่ยวกับหลวงเทเพนทร์จากอาจารย์วรรณศิริ เดชะคุปต์ ผู้เป็นธิดาคนสุดท้องของพระยา
โบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
อ.วรรณศิริเล่าว่าพระยาโบราณฯ ท่านเป็นเขยของหลวงเทเพทร์(ถนอม อินทุสุต) กับนางนวม
ผู้ที่หลวงเทเพทร์พบตอนที่รับราชการอยู่ที่จำปาสัก ดังนั้นกระผมค่อนข้างจะมั่นใจว่าหลวงเทเพนทร์
ที่รบอยู่ที่สีทันดอนก็คือพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์นั่นเอง รูปของหลวงเทเพนทร์ที่กระผม
ได้จากอ.วรรณศิริ น่าจะเป็นภาพถ่ายในสมัยหลัง

แต่ผมพยายามหาภาพของพระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค)กับภาพของนายสุดจินดา แต่ยัง
หาไม่ได้เลย ซึ่งน่าจะหาได้ง่ายๆ เพราะพระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค) เป็นคนดัง อย่างน้อยก็เป็น
คนที่แต่ง พงศาวดารลาวเฉียง (พงศาวดารโยนก)ที่เรารู้จัก แต่ก็ต้องหาต่อไปครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 11:11

ยินดีด้วยที่หาตัวหลวงเทเพนทร์เจอแล้วค่ะ
รูปพระยาประชากิจฯ(แช่ม บุนนาค) ดิฉันยังหาในกูเกิ้ลไม่เจอ   คุณหนุ่มสยามหรือคุณเพ็ญชมพูน่าจะมีนะคะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 17:14


ผมขอเรียนเสนอตัวละครหลักในฉากการรบที่สีทันดร ครับ

1. พระประชาคดีกิจ
2. หลวงเทเพนทร์
3. นายสุดจินดา
4. ร้อยตรีถมยา
5. หลวงอภัย

เฉพาะที่เกี่ยวกับตัวละครกลุ่มนี้ เรื่องราวจะพลิกกลับไปมาสามสี่รอบครับ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 17:42

อะไรคือตำรจภูบาลครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 20:25

เข้ามาตอบการบ้านข้อใหม่ของท่าน cinephile

ตำรวจภูบาล ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา   แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ  โปรดให้ตราระเบียบการปกครองแผ่นดิน เป็น 4 เหล่า เรียกว่า “จตุสดมภ์” ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งพร้อมกันนี้ได้โปรดเกล้าฯ  ให้มีการตำรวจขึ้นด้วย   โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง   มีการกำหนดศักดินาของข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ในบทพระอัยการเช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ตำรวจภูบาลทำหน้าที่คล้ายตำรวจกองปราบปรามและตำรวจสันติบาลร่วมกันคือ สืบสวนสอบสวนคดีเมือง สอดส่องพฤติกรรม ของเจ้านายที่ทุจริต ปราบปรามข้าราชการทุจริต ทำการช่วยเหลือตำรวจท้องที่คือ ตำรวจภูธรและนครบาลสืบจับ  ผู้กระทำผิดคดีสำคัญ นอกจากนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับพิสูจน์หลักฐานและลายพิมพ์นิ้วมืออย่างกองวิทยาการ เดี๋ยวนี้ด้วย 
ตำรวจพิเศษ มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5   เป็นตำรวจส่วนกลางทำหน้าที่อย่างตำรวจสอบสวนกลาง คือ ทำหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย ทั้งในหัวเมืองและจังหวัดพระนคร และยังมีหน้าที่ทางทะเบียนและสถิติอีกด้วย เช่นการตรวจโรงรับจำนำ ออกรูปพรรณของหาย รับจดทะเบียนรถยนต์ จัดการเกี่ยวกับการตรวจพิมพ์ลายนิ้วมือ การปล่อยนักโทษ การเนรเทศ 

จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ราวปี พ.ศ.2403 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบตำรวจสมัยใหม่ โดยได้มีการจ้างชาวต่างชาติมาจัดตั้งกองตำรวจ โดยเรียกว่า " กองโปลิสคอมสเตเบิ้ล " มาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครองของประเทศใหม่ ยกเลิกระบบจตุสดมภ์ นำเอาระบบการปกครองแบบกระทรวงมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน หน่วยงานตำรวจจึงมาอยู่ในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแต่เดิมมีอยู่ 2 กรม คือ กรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจภูบาล ซึ่งกรมตำรวจภูบาลทำหน้าที่คล้ายๆ ผู้ตรวจการกระทรวงมหาดไทยปัจจุบัน ตรวจตราด้านหัวเมืองทุกมณฑล ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมตำรวจภูบาล คนแรก คือ หลวงดำรงแพทยาคุณ ( เทียนฮี้ ) ซึ่งต่อมาได้มีการพยายามจะจัดกรมตำรวจภูบาลเป็นกรมนักสืบ ซี ไอ ดี ขึ้นอีกกรมหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ
    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 สมัยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า กรมตำรวจกลาง สำหรับเป็นกำลัง ส่งไปช่วยปราบปรามโจรผู้ร้ายในเมือง กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นเหลือกำลังตำรวจท้องที่จะปราบปรามได้
    หลังจากได้ตั้งขึ้นเป็นการทดลองอยู่ชั่วระยะหนึ่งก็ได้ประกาศตั้งเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2473 แต่ชื่อเป็นทางการกลับเรียกชื่อว่า ตำรวจภูบาล ( ที่มาของตำรวจสอบสวนกลาง ) อีกครั้งหนึ่ง แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ได้ยกเลิกกรมตำรวจภูบาลและตำรวจกลาง และจัดวางโครงสร้างกรมตำรวจขึ้นใหม่ แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน คือ 1. กองบังคับการ, 2. ตำรวจนครบาล, 3. ตำรวจภูธร และ 4. ตำรวจสันติบาล ( ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกรมตำรวจภูบาล )

อ้างอิง
http://www.csd.go.th/pages/p11_about_us.asp
http://www.cib.police.go.th/about_history.php
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 14:27

ขอบคุณมากครับคุณหญิง
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 22 มี.ค. 18, 15:46


รูปคำฮุม เจ้าเมืองไล กับฮ่อธงดำ ถ่ายเมื่อปี คศ. 1890 ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.123 วินาที กับ 20 คำสั่ง