เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19
  พิมพ์  
อ่าน: 21932 ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 13:19


ข้อมูลที่ว่าหลวงเทเพนทร์เป็นคนขลาดอาจเริ่มน่าสงสัยครับ
อาจต้องวิเคราะห์กันว่าใครเป็นผู้เพ็ดทูลข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมหลวงพิชิตปรีชากร​ในเมื่อพระองค์ท่านอยู่ที่อุบล​ พระประชาคดีกิจอยู่ที่ศรีทันดร​ ในขณะที่หลวงเทเพนทร์วิ่งแก้ปัญหาอยู่ที่ด่านหน้าตลอดเหตุการณ์​
ัตัว​พระประชานั้นไว้วางใจหลวงเทเพนทร์อย่างเป็นที่แน่นอน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 14:05

ในรัชกาลที่ ๕ มีหลวงเทเพนทร์กี่คน?

ด้านส่วนตัว   (พระยาโบราณราชธานินทร์)
ท่านสมรสกับน.ส.จำเริญ  ธิดาหลวงเทเพนทร์ (ถนอม อินทุสูต)กับนางนวม   ตั้งแต่ยังเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์   คุณหญิงจำเริญได้รับพระราชทานเครื่องราชจุลจอมเกล้าชั้นตติยจุลจอมเกล้าฯ
มีบุตรธิดาด้วยกัน ๕ คน
นอกจากนี้ท่านยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่นๆอีกรวม ๑๑ คน   ทุกคนใช้นามสกุล เดชะคุปต์

ประกาศตั้งขุนนาง
.
ให้หลวงศรีรณรงค์ (เอี่ยม) เป็นหลวงเทเพนทร์ ตั้งแต่ ณ วัน ๔ ฯ  ๒ ค่ำ ปีมะแม เบญจศก ศักราช ๑๒๔๕ (ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๒๖)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 14:20

พระยาโบราณฯ เกิดเมื่อพ.ศ.2414  เมื่อเกิดศึกกับฝรั่งเศสในปี 2436  ท่านอายุ 22 ปี
ท่านสมรสกับลูกสาวหลวงเทเพนทร์ เมื่อตัวท่านเองได้เป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศ    ตามประวัติบอกว่าท่านได้เป็นคุณหลวง ในพ.ศ. 2439  อายุ 25 ปี ถัดมาอีก 2 ปีก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระ
ดังนั้น  ท่านคงแต่งงานราวๆพ.ศ. 2439-40 
ในยุคนั้น  ชายไทยแต่งงานกันในวัย 20 กว่าๆ     คะเนว่าลูกเขยกับพ่อตาน่าจะอายุห่างกัน  25-30 ปี  (เผื่อเอาไว้ว่าคุณหญิงจำเริญไม่ได้เป็นลูกคนแรกของหลวงเทเพนทร์) 

ตอนที่คุณหลวงเทเพนทร์รบอยู่ที่ดอนสม     ถ้าว่าที่ลูกเขยท่านตอนนั้นอายุ 22 ปี  ตัวท่านก็น่าจะอายุ 47-52 ปี  น่าจะแก่ไปเสียแล้วสำหรับการออกไปสมบุกสมบันอยู่ชายแดน 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 15:43

เพราะฉะนั้น จึงเกิดคำถามว่า   หลวงเทเพนทร์คนที่เป็นพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์  มีชื่อตัวว่า ถนอม อินทุสุต เป็นคนเดียวกับหลวงเทเพนทร์ที่ไปรบกับฝรั่งเศสหรือเปล่า
หรือว่าหลวงเทเพนทร์ที่ไปรบ เป็นคนที่ชื่อ เอี่ยม  ตามที่คุณหนุ่มสยามไปค้นมา

พวกอินทุสุต ยังมีลูกหลานมาจนถึงปัจจุบัน เช่นคุณไมตรี อินทุสุต อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ท่านเพิ่งเกษียณเมื่อปีก่อน คงจะมีเวลาว่างพอจะตอบคำถามท่าน cinephile ได้ว่า คุณหลวงเทเพนร์(ถนอม)
 บรรพบุรุษของท่าน เคยไปรบกับฝรั่งเศสหรือเปล่า
นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนอินทุสุตศึกษา อยู่ที่ปทุมธานี   ถ้าเป็นร.ร.ที่ลูกหลานคุณหลวงก่อตั้งขึ้น  ก็น่าจะมีประวัติท่าน อาจจะมีรูปถ่ายให้เห็นด้วยค่ะ

แต่ถ้าไม่ใช่ เป็นคนละคน   กลายเป็นคุณหลวงเทเพนทร์(เอี่ยม) ไม่รู้นามสกุล   ข้อนี้ก็จนใจค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 19:55


ข้อมูลที่ว่าหลวงเทเพนทร์เป็นคนขลาดอาจเริ่มน่าสงสัยครับ
อาจต้องวิเคราะห์กันว่าใครเป็นผู้เพ็ดทูลข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมหลวงพิชิตปรีชากร​ในเมื่อพระองค์ท่านอยู่ที่อุบล​ พระประชาคดีกิจอยู่ที่ศรีทันดร​ ในขณะที่หลวงเทเพนทร์วิ่งแก้ปัญหาอยู่ที่ด่านหน้าตลอดเหตุการณ์​
ัตัว​พระประชานั้นไว้วางใจหลวงเทเพนทร์อย่างเป็นที่แน่นอน

ถ้าเป็นนิยายหรือหนัง ก็ตีความได้หลายเวอร์ชั่นค่ะ
เวอร์ชั่น 1    คุณหลวงเป็นคนองอาจกล้าหาญ   อาสานายแข็งขันไม่กลัวเหนื่อยยาก   วางแผนการรบอย่างถี่ถ้วน  เป็นที่ไว้ใจของพระประชามาก
เมื่อเผชิญข้าศึกที่กำลังมากกว่าเท่าตัว   อาวุธก็ดีกว่า ชนิดเทียบกันไม่ได้   คุณหลวงเทเพนทร์ก็ไม่มีทางอื่น   
ต้องเลือกรักษาชีวิตตัวเองและไพร่พลไว้ก่อน  ดีกว่าจะยอมตายเอาดื้อๆทั้งกองร้อยโดยไม่ได้ชัยชนะอยู่ดี   
การเผชิญหน้าจึงจบลงด้วยการไม่เสียเลือดเนื้อ   คุณหลวงก็ยอมล่าถอย หรือถ้าไม่ล่าถอยก็อยู่เฉยๆไม่ได้ทำอะไรฝรั่ง   เพื่อรักษากำลังเอาไว้สู้ในโอกาสต่อไป
เป็นยุทธศาสตร์ที่ดี คือ ถ้ารบแล้วไม่ "ได้"  ก็ต้องประคองไว้ไม่ให้ "เสีย"

พอข่าวไปถึงกรมหลวงพิชิตปรีชากร   ท่านทรงตัดสิน "ผล" เป็นหลัก  ไม่ได้ตัดสินที่ "เหตุ"  คือพอทรงทราบว่าฝรั่งผ่านด่านเข้ามาสะดวกง่ายดาย    ไม่มีข่าวรบ ไม่มีข่าวตายของทั้งสองฝ่าย    ท่านก็ทรงเห็นว่าเป็นไปได้ทางเดียวคือฝ่ายไทยยอมแพ้ข้าศึกเอาง่ายๆ ไม่ยอมสู้    การที่ไม่มีข่าวฝรั่งจับไทยเป็นเชลย  ก็ตีความได้อีกอย่างว่าไทยเปิดหนี  หลวงเทเพนทร์จึงถูกประณามเพราะรูปการณ์เป็นแบบนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 21:06

เวอร์ชั่น 2 
การเตรียมการของข้าราชการไทยที่ไปประจำอยู่ชายแดน มีแต่ความหละหลวม  ไม่มีความพร้อมเลยจนอย่างเดียวไม่ว่าการข่าว การฝึกซ้อม   งบประมาณ กำลังคน อาวุธยุทโธปกรณ์  ล้มเหลวทั้งหมด   ทั้งๆก็รู้กันมาก่อนหน้านี้แล้วถึงความตึงเครียดของสถานการณ์   แต่ก็ปล่อยปละละเลยไม่รับผิดชอบ
การปกครองในเมืองเชียงแตง  กับเมืองศรีธันดร ดูจากหลักฐานแล้วน่าจะเหลวเป๋วพอกัน     หลวงเทเพนทร์เองก็รู้ดีว่าทั้งอาวุธ ทั้งฝีมือคน ไม่พอเพียงจะทำอะไรได้สักอย่าง   แต่เมื่อเกิดศึกขึ้นมาจริงๆ  ท่านก็ต้องโชว์ฝีมือให้ผู้บังคับบัญชารู้ ด้วยการทำหนังสือแจ้งไปว่ากำลังวางแผนจะทำโน่นทำนี่ (ดังที่ท่าน cinephile โพสในค.ห.215)สั่งให้คนนั้นทำอย่างนี้   คนนี้ทำอย่างนั้น  ตั้งค่ายที่นั่นที่นี่
เอาเข้าจริง ฝรั่งเศสมาอีกทาง   ที่วางแผนไว้ไม่ได้ใช้เลยทั้งหมด  แสดงว่าหลวงเทเพนทร์คงไม่ชำนาญภูมิประเทศแถวนั้น จึงกะไม่ถูกว่าฝรั่งจะมาทางไหน ขึ้นบกที่ไหน     อุตส่าห์ไปตั้งทัพซุ่มดักฝรั่ง   ฝรั่งขึ้นบกมาแทบจะเดินชนกัน ยังไม่รู้เลย   แสดงว่าหน่วยลาดตระเวนของคุณหลวงไม่มี หรือมีก็ไม่ได้เรื่อง  อาจจะหนีฝรั่งเข้าป่าไปแล้วแบบชาวเมืองเชียงแตงก็เป็นได้

การวางแผนรบ จะทำขึงขังเท่าใดก็ได้ เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนของการลงมือ    แต่พอลงมือแล้วถึงจะพิสูจน์ได้ว่ารบเป็นหรือเปล่า
เมื่อเผชิญหน้ากับฝรั่ง  หลวงเทเพนทร์กับหลวงพิพิธดูเหมือนจะตกที่นั่งเดียวกันคือไม่สามารถต่อรองอะไรได้สักอย่าง  ยอมแพ้ลูกเดียว    จึงเป็นเหตุให้กรมหลวงพิชิตปรีชากรกริ้ว

อาจจะมีเวอร์ชั่น ๓ หรือ ๔  แต่ดิฉันคิดออกแค่นี้ค่ะ   
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 23:35

เป็นเรื่องที่น่าคิดนะครับคุณหญิง

ถ้าเราเอาข้อมูลจาก Amable Sablon du Corail ที่แปลโดย Smithi แล้วไม่เอาความรักชาติเป็นที่ตั้ง
ก็ลองพิจารณาที่ Corail เขียนเอาไว้ว่าทหารไทยห่วยแตก "ไม่มีทหารมืออาชีพ จะรบทีก็เกณฑ์พวกชาวบ้านสองสามพันคน
อย่างเร่งรีบ เกณฑ์โดยบีบบังคับ โดยไม่มีการฝึกฝนเลยแม้แต่น้อย ไม่มีความกระตือรือร้นในการสู้รบ
และยิ่งไปกว่านั้นคือชาวบ้านที่ถูกเกณฑ์มารบส่วนใหญ่จะเป็นคนลาว ที่ไม่ต้องการที่จะพลีชีพเพื่อกษัตริย์ไทย"
มันเป็นเรื่องจริงทีเดียวอย่างที่ผม post เรื่องที่ฝรั่งเศสยึดเชียงแตงนั่นแหละครับ
แต่เรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ของเราไม่เลวไปกว่าของฝรั่งเศสเลยนะครับ Corail เขียนต่อไปว่าทหารไทยได้รับปืนที่เหมาะสม
เป็นปืนที่ทำในยุโรปขนาด 80 ถึง 120 มม. และเหนือกว่านั้นคือปืน Mannlicher ที่ทำในออสเตรีย วึ่งยิงได้ไกลกว่า เร็วกว่า และแม่นกว่าปืน 1874 gras ซึ่งเป็นปืนที่พวกทหารเกณฑ์ชาวอันนัมใช้ (ฝรั่งเศสไม่กล้าเอาปืนดีๆ เช่นปืนLebel ที่ใช้กระสุนไร้ควัน ซึ่งมีวิถีกระสุนไกลกว่าปืน Mannlicher เพราะกลัวว่าทหารรับจ้างชาวญวนจะหันกลับมาเล่นงานตนได้)
นายทหารของสยามพิศูจน์ให้เห็นถึงความตั้งใจในการรบ แต่ก็ไม่สามารถที่จะบดบังความอ่อนด้อยในการฝึกฝน
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 23:55

อ้างถึง
ถึง วันที่ 20 เมษายน ฝรั่งเศสชื่อกองซือ กับทหารญวน 19 คน อาวุธครบมือตรงมาที่เมืองอัตปือ ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของไทย เป่าประกาศต่อราษฎรว่า เมืองอัตปืออยู่ในอารักขาของฝรั่งเศสแล้ว ขอให้ชนชาวเมืองอย่าเกรงกลัวต่อข้าราชการไทยอีกต่อไป ขณะนั้นมีทหารไทยใจกล้าคนหนึ่ง ชื่อ ร้อยโทพุ่ม มีหน้าที่รักษาราชการเมืองอัตปือ ร้อยโทพุ่มนำพรรคพวกขับไล่ทหารฝรั่งเศสและญวนออกไปเสีย

เรื่องอัตปือนี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ ร.๕ ทรงพิโรธมากในเรื่องเรื่องสมรรถภาพของทหารไทยครับ
      "ครั้นถึงวันที่ ๒๐ เมษายน ร.ศ.๑๑๒ มีฝรั่งเศสคนหนึ่ง  ชาวบ้านนั้นเรียก "กงกือ"  หรือ  "ตงซือ"  คุมทหารญวน ๑๙ คน ลงเรือมาจากเมืองแกวภูซุน(เมืองเว้) มาบังคับเอาเสบียงจากเมืองอัตปือ เมืองแสนปาง แล้วสั่งว่าตั้งแต่นี้ต่อไป  ไม่ให้ฟังคำบังคับบัญชาของไทย  เพราะเมืองเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศสแล้ว  เจ้าราชวงศ์และนายร้อยโทพุ่ม  ผู้รักษาราชการเมืองอัตปือบอกว่า  เมืองนี้ยังเป็นของไทยอยู่  นายทหารฝรั่งเศสและทหารญวนเหล่านั้นก็ลงเรือกลับไป ข่าวนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิโรธมากดังมีพระดำริว่า "การซึ่งจะให้เป็นอันสำเร็จเด็ดขาดโดยตกลงพูดจากัน ดูยิ่งจะเป็นการยากหนักขึ้นเสียแล้ว ด้วยฝรั่งเศสมีความหมิ่นประมาทเหลือเกินจนถึงได้ใช้คนเพียง 20 คนเท่านี้"
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๒ ไปรเวตที่ ๑๒๒/๒๑๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะใช้วิธีการรุนแรงโต้ตอบฝรั่งเศส กรมหลวง
เทวะวงศ์วโรปการได้กราบบังคมทูลท้วงติงไว้ว่า
   "---ทางที่ฝรั่งเศสประพฤติทั้งนี้ ก็ไม่เป็นที่ขัดขวางของฝ่ายไทยไม่ให้เดินทางเช่นนั้นบ้าง แต่ข้อสำคัญที่ฝ่ายไทยจะต้องทำนั้นจะเป็นการอย่างไร ๆ ก็ดี ต้องให้ปรากฏว่าเป็นการต่อสู้ป้องกันเท่านั้น  แลการที่จะกระทำนั้นจะเป็นการตีเอาที่ดินคืนก็ดี ฤๅเป็นการป้องกันต่อสู้ก็ดี ต้องให้เชื่อได้แน่ว่าจะกระทำสำเร็จ ก็เป็นการควรกระทำได้ไม่ต้องรั้งรอ มีความสงสัยว่ากำลังของฝ่ายไทยที่มีอยู่ในเวลานี้จะยังไม่พอการให้สำเร็จได้ ถ้ามีคำสั่งออกไปให้ต่อตีเอาที่ฝรั่งเศสยึดนั้นคืนแล้ว  จะเป็นการได้ทีฤๅเสียทีนั้น เป็นที่สงสัยนัก  ยังมีการฝ่ายไทยที่ตระเตรียมกำลังที่จะจัดสำหรับรักษาพระนครต่อไป  ก็ยังไม่พร้อมมูลบริบูรณ์ทั้งสิ้นนี้ ก็เป็นข้อสำคัญที่จะต้องพิจารณาก่อนจะกระทำการรบพุ่งชิงไชยแลเมื่อจะมีเหตุเล็กน้อยยังไม่พอที่จะให้ลุกลาม ก็จำเป็นต้องแก้ใขระงับไว้ ที่คิดกระทำการจัดอยู่ทุกวันนี้ จะต้องให้ปรากฏแก่โลกทั้งปวงว่าฝรั่งเศสข่มเหงไทยก่อนแล้วจึงควรจะคิดรบพุ่งกับฝรั่งเศส  แลไว้ใจว่ากรมพิชิตฯ คงจะได้ทรงดำริจัดการทั้งปวงรอบคอบแล้ว การส่งอาวุธไปอุดหนุนอย่างใดก็เห็นว่า ไม่ขัดขวางการที่กระทำอยู่ในยุโรบและกรุงเทพฯ การที่เจรจากับฝรั่งเศสในเรื่องนี้ ก็จำใจต้องทำไปตามคติของโลกทั้งหลายที่นับถือว่า การเช่นนี้เป็นหนทางของเมืองอันรุ่งเรืองจะต้องดำเนิร หนทางการทั้งปวงที่ได้ปรนิบัติราชการแลผลที่ปรากฏแก่คนทั้งปวงแต่ต้นในเรื่องฝรั่งเศสเป็นการดี อยู่ในที่ถูกต้อง เป็นที่คนทั้งปวงแต่ต้นในเรื่องฝรั่งเศสเป็นการดี อยู่ในที่ถูกต้อง เป็นที่คนทั้งปวงที่เป็นกลางติเตียนไม่ได้แล้ว ถ้าแม้จะมีเหตุอันเสียสติไปไม่เป็นที่พอใจแก่กันเอง จะกระทำการผลุนผลันพันแล่นอย่างไรแล้วก็จะเป็นที่เสียใจยิ่งนัก---"
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๒ ไปรเวตที่ ๑๒๒/๒๑๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒)
คำกราบบังคมทูลของกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า
   "ซึ่งชวนให้ระงับใจไว้นั้น ก็เห็นชอบด้วยแล้ว  แต่อดกลั้นความเดือดขึ้นมาไม่ได้ ด้วยฉันไม่เข้าใจเลยว่า ฝรั่งเศสเดินผ่านเมืองอัตปือ เมืองแสนปาง ฉันเข้าใจว่ามันเดินย่ำมาบนกระบานหัวทั้งยี่สิบคน"
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๒ สำเนาที่ ๖๗/๒๒๖๔ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปกร ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒)
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 10:20


ราชกิจจาฯ เล่ม 3 หน้า 141 ตีพิมพ์ใบบอกจากพระยามหาอำมาตย์ แจ้งข่าว
หลวงเทเพนทร์(เอี่ยม) ป่วยตายที่หัวเมืองอิสาณ ตามข้อมูลของคุณหนุ่มสยามครับ

หลังจากนั้นมีหลวงเทเพนท์คนใหม่ถูกส่งไปจับผู้ร้ายที่สระบุรี
ขุนประชาคดีกิจเลื่อนเป็นหลวงประชาคดีกิจ ให้ร่วมคณะพระวิภาคภูวดลไปสำรวจทำแผนที่เมืองเหนือ

เมษายน ร.ศ. 109 หลวงเทเพนทร์ ร่วมคณะพระพิษณุเทพ ไปประจำการเมืองจำปาศักดิ์
พฤจิกายน ร.ศ. 110 หลวงประชาคดีกิจ กลับมาจากเมืองเหนือเลื่อนเป็นพระประชาคดีกิจ ร่วมคณะกรมหลวงพิชิตปรีชากรไปอุบล
                   พระประชาคดีกิจเป็นข้าหลวงที่เมืองสีทันดร กลายเป็นผู้บังคับบัญชาสายตรงของหลวงเทเพนทร์ที่คุมทหารในแถบสี่พันดอนแก่งหลี่ผี
                   อายุของหลวงเทเพนทร์ท่านนี้จึงน่าจะใล่เลี่ยกับพระประชาคดีกิจหรือมากกว่าเล็กน้อยครับ (เกณฑ์อายุประมาณ 30 ปี)

มีตัวละครที่น่าสนใจอีกคนหนึ่งคือ นายสุดจินดา(เลื่อน) ที่เข้ามาแทรกสายการบังคับบัญชาระหว่างพระประชาคดีกิจกับหลวงเทเพนทร์ครับ
นายสุดจินดาคนนี้ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระณรงค์วิชิต และได้เขียน จดหมายเหตุ ร.ศ. 112
http://ebookstou.org/view/0000358600000001738817574/index/#p=1
ซึ่งบางครั้งมีการบรรยายเหตุการณ์ที่แปลกประหลาด และไม่ตรงกับหลักฐานอื่นครับ  


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 10:56

หลวงเทเพนทร์คนที่ป่วยเป็นไข้ตาย  ตายตั้งแต่ปี 2429  7 ปีก่อนเหตุการณ์รบที่ดอนสม ไม่ใช่หรือคะ 
ดิฉันอ่านตัวเลขไม่ถนัด ว่า ปีจออัฐศก ศักราช ๑๒๒๘ หรือ อะไรแน่   
ตรงไหนที่ระบุชื่อว่า หลวงเทเพนทร์คนนี้ชื่อ เอี่ยม คะ ยังหาไม่เจอ

ถ้าหลวงเทเพนทร์อายุประมาณ ๓๐ ในพ.ศ. ๒๔๓๖  (รศ.๑๑๒) ท่านเป็นพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์ไม่ได้แน่ๆ  เพราะปี ๒๔๓๖  พระยาโบราณฯอายุ ๒๒ ปีแล้ว

ขอพูดต่อเรื่องปืนของฝ่ายไทย
ตามหลักฐานที่ท่าน cinephile ยกมา ไทยมีอาวุธทันสมัยไม่แพ้ฝรั่งหรือมากกว่าเสียอีก   แต่จากหนังสือของเมืองเชียงแตงและเมืองศรีทันดร อาวุธปืนกลายเป็นปัญหาใหญ่       
ขอให้อ่านข้อความต่อไปนี้นะคะ

๑ เมืองเชียงแตง
ไพร่พลเมืองก็มาในที่ปฤกษาแต่ ๑๒-๑๓ คนเท่านั้น บังคับให้ถือปืนขึ้น ยัดปืนก็ไม่ยัดถือปืนนิ่งอยู่ บ้างก็วางปืนวิ่งไปบ้าง มีอยู่แต่กรมการผู้ใหญ่สามนายเท่านั้นที่นั่งอยู่ปรกติ

ตรงนี้แสดงว่า ในเมืองมีอาวุธ (จะทันสมัยหรือไม่ ยกไว้ก่อนเพราะไม่ได้ระบุชัดขนาดนั้น)แต่หาคนใช้อาวุธไม่ได้ บรรดาทหารเกณฑ์ชาวลาวที่ถูกจับยัดปืนใส่มือ  ไม่ยอมถือปืน  สั่งให้บรรจุกระสุนก็ไม่ทำ  ถือปืนทื่ออยู่ยังงั้น  ลักษณะแสดงว่ายิงไม่เป็น  หรือไม่ยอมยิงเพราะกลัว  ข้อนี้เห็นได้จากคำที่ว่า "บ้างก็วางปืนวิ่งไปบ้าง" คือทิ้งปืนเผ่นหนีลงจากจวนท่านข้าหลวงไปต่อหน้าต่อตา
ก็แสดงว่าปืนทันสมัยที่ได้มา   ตกอยู่ในมือของคนที่ใช้ไม่เป็น  แปลว่าไม่มีการฝึกอาวุธมาก่อน  และถึงฝึกบ้าง พอเอาเข้าจริง  บรรดาทหารเกณฑ์ลาวก็ไม่เชื่อถือในปืนที่ตัวเองถืออยู่   คิดแต่ว่าจะไม่ยอมตายเพื่อคนไทย ดังที่ฝรั่งเศสบันทึกไว้
เมืองศรีทันดร
 ที่มีอยู่ชายฉกรรจ์ ๔๑ คนก็ภากันมีใจระส่ำระสาย ไม่เป็นปรกติ จะหาปืนชะเลยสัก(ปืนเถื่อน) สำหรับบ้านก็ไม่มี ข้าพเจ้าได้ตรวจดูเข้า(ข้าว)ค่าหางนาที่เก็บแก่คนกองด่านยกไว้สำหรับมีราชการที่ด่าน มีเข้าเปลือก ๒๐๐ ถังเสศ ได้เกณฑ์ขอแรงคนสีซ้อม ถ้าเป็นเข้าสารแล้วก็คงอยู่เพียง ๑๐๐ ถัง คน ๒๐๐ คนรัปทานได้เพียง ๑๐ วัน
แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ

  หลวงเทเพนทร์เกณฑ์คนได้ 200 คน  ต้องไปหาปืนชะเลยสัก(ปืนเถ่ื่อน) มาเพิ่มเติม    แสดงว่าอาวุธที่มี ไม่พอสำหรับคน 200 คน   กลาโหมซื้อปืนมาจำนวนเท่าไหร่ก็ไม่ทราบ  แต่พอแจกจ่ายไปถึงปลายทางแล้ว   ไม่พอแม้แต่กองร้อยเล็กๆ 
  นอกจากนี้  เมืองศรีทันดรรู้ว่าสถานการณ์ตึงเครียด จะเกิดศึกขึ้นมาวันใดก็ได้  แต่ก็ไม่ยักเตรียมเสบียงยุ้งฉางไว้ล่วงหน้าให้พร้อม   มีข้าวกินเผื่อ 10 วันเท่านั้นเอง

 ข้าพเจ้าได้มีหนังสือมายังคุณผาดมหาดเล็ก กับอุปฮาดผู้รักษาเมืองให้รีบเกณฑ์คนกำลังเหนือเมืองสีธันดร พร้อมด้วยปืนอาวุธครบมือ ๔๐๐ คน มีเข้าเสบียงคนละสิบทนาน
ทัพบกยกเติมเข้ามาทางด่านจะหลับ จะมาเมืองสีทันดรทีเดียว พลเมืองแตกหนีเสียเป็นอันมาก ปืนกระสุนดินดำ ก็เบาบาง

 ยังมีอีกที่หนึ่ง ระบุว่าปืนไม่เพียงพอ   แค่นี้ก็พอเห็นแล้วว่าต้นน้ำกับปลายน้ำมันมีความต่างกันมากเรื่องการส่งอาวุธ   ปืนอาจจะไปกองกันอยู่ในเมืองใหญ่ๆ  แต่เมืองเล็กๆริมแม่น้ำโขงซึ่งเป็นด่านแรกในการปะทะ  ขาดแคลนทั้งเสบียง อาวุธ  การวางแผนรบ และการประสานงานระหว่างราชการกับท้องถิ่น

ท่าน Cinephile  คงเคยอ่าน "พม่าเสียเมือง" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช   ตอนอังกฤษยกพลลงเรือล่องมาตามแม่น้ำจะไปยึดเมืองหลวง   เมืองเล็กๆสองข้างทางก็ทำกันคล้ายๆอย่างนี้ละค่ะ อาจจะแย่กว่านี้ด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 11:19

หลวงเทเพนทร์คนที่ป่วยเป็นไข้ตาย  ตายตั้งแต่ปี 2429  7 ปีก่อนเหตุการณ์รบที่ดอนสม ไม่ใช่หรือคะ  
ดิฉันอ่านตัวเลขไม่ถนัด ว่า ปีจออัฐศก ศักราช ๑๒๒๘ หรือ อะไรแน่    
ตรงไหนที่ระบุชื่อว่า หลวงเทเพนทร์คนนี้ชื่อ เอี่ยม คะ ยังหาไม่เจอ

ถ้าหลวงเทเพนทร์อายุประมาณ ๓๐ ในพ.ศ. ๒๔๓๖  (ร.ศ.๑๑๒) ท่านเป็นพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์ไม่ได้แน่ๆ  เพราะปี ๒๔๓๖  พระยาโบราณฯอายุ ๒๒ ปีแล้ว

ราชกิจจาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๑๖ ว่า หลวงศรีณรงค์เลื่อนเป็นหลวงเทเพนทร์
เจ้ากรมมหาดไทย ตำรวจภูบาล จ.ศ. ๑๒๔๕
อีกสามปีต่อมาหลวงเทเพนทร์คนนี้ป่วยที่ขุขันธ์ ตามราชกิจจาฯ จ.ศ. ๑๒๔๘ คือ พ.ศ. ๒๔๒๙ ตรงตามที่คุณหนุ่มสยามว่ามาครับ
ส่วนจะชื่อเอี่ยมจริงๆหรือไม่ต้องตามไปดูตอนตั้งหลวงศรีณรงค์ครับ

ราวๆ ร.ศ.๑๐๘ มีชื่อ หลวงเทเพนทร์คนใหม่แล้ว คนใหม่นี้คือคนที่ไปอยู่ในเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 11:24

มีหลวงเทเพนทรอีกคนหนึ่งชื่อ หง นะคะ บ้านอยู่หน้าประตูช่องกุด ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4741.msg92525#msg92525
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 12:05


แผนที่ประกอบเรื่องจากหนังสือของ มสธ. ครับ

ร.ศ. ๑๑๒ พระประชาคดีกิจ กับหลวงเทเพนทร์ ตั้งแนวรับอยู่ที่สีทันดรแล้ว
กลางเดือนเมษา นายสุดจินดาถูกส่งจากอุบลมาช่วย เขียนจดหมายแจ้งพระประชาว่า
ถูกแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพหน้าของกองทัพหลวงให้ลงมาช่วย
ตรงนี้ทำให้สายการบังคับบัญชาที่หน้าด่านเริ่มยุ่งเหยิง


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 12:32


เรื่องอัตปือนี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ ร.๕ ทรงพิโรธมากในเรื่องเรื่องสมรรถภาพของทหารไทยครับ
      "ครั้นถึงวันที่ ๒๐ เมษายน ร.ศ.๑๑๒ มีฝรั่งเศสคนหนึ่ง  ชาวบ้านนั้นเรียก "กงกือ"  หรือ  "ตงซือ"  คุมทหารญวน ๑๙ คน ลงเรือมาจากเมืองแกวภูซุน(เมืองเว้) มาบังคับเอาเสบียงจากเมืองอัตปือ เมืองแสนปาง แล้วสั่งว่าตั้งแต่นี้ต่อไป  ไม่ให้ฟังคำบังคับบัญชาของไทย  เพราะเมืองเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศสแล้ว  เจ้าราชวงศ์และนายร้อยโทพุ่ม  ผู้รักษาราชการเมืองอัตปือบอกว่า  เมืองนี้ยังเป็นของไทยอยู่  นายทหารฝรั่งเศสและทหารญวนเหล่านั้นก็ลงเรือกลับไป ข่าวนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิโรธมากดังมีพระดำริว่า "การซึ่งจะให้เป็นอันสำเร็จเด็ดขาดโดยตกลงพูดจากัน ดูยิ่งจะเป็นการยากหนักขึ้นเสียแล้ว ด้วยฝรั่งเศสมีความหมิ่นประมาทเหลือเกินจนถึงได้ใช้คนเพียง 20 คนเท่านี้"
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๒ ไปรเวตที่ ๑๒๒/๒๑๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒)


กรณีีอัตปือ กรุงเทพฯได้รับแจ้งช่าวทางโทรเลขตั้งแต่ก่อนวันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒
แต่พระประชา ที่สีทันดร ได้รับแจ้งข่าว ๒๙ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒
แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการเตะตัดขากันโดยข้าราชการไทยแถวๆจำปาศักดิ์กันแล้วครับ


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 12:45


ในกรณีอัตปือเหมือนกัน
นายสุดจินดาบันทึกรายงานว่า ทราบเรื่องในวันที่ 3 พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.105 วินาที กับ 20 คำสั่ง