เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 19
  พิมพ์  
อ่าน: 21775 ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 17:26

ขอเรียนถามท่าน cinephile ว่าหลวงเทเพนทรรู้หรือยังว่าหลวงพิพิธ ข้าหลวงเมืองเชียงแตง ถูกฝรั่งเศสไล่ออกจากเมือง กลายเป็นเจ้าไม่มีศาลไปแล้ว
เพราะเห็นบอกว่า 
"ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร"
ถ้าเข้าเมืองก็คงไม่เจอคุณหลวงพิพิธ  ท่านออกจากเมืองไปรวบรวมผู้คนอยู่สักพัก    จากนั้นคงจะเดินทางมาเมืองสีทันดร เพื่อสมทบกำลังกับหลวงเทเพนทร 
ก็เลยยังไม่เข้าใจตอนนี้ค่ะ ว่าสองคนนี้รู้เรื่องกันหรือยังว่าฝรั่งเศสยึดเมืองแล้ว

หลวงพิพิธสุนทรได้โดนไล่ไปอยู่ธาราบริวัตรที่เป็นเมืองที่อยู่ตรงกันข้ามกับเชียงแตง แต่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ส่วนหลวง
เทเพนทร์ก็ได้รับใบบอกของหลวงพิพิธฯ ท่านถึงได้เตรียมรับพวกฝรั่งเศสอย่างที่ผมเขียนมาตอนต้นๆ ขอรับ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 17:27

ขอเรียนถามท่าน cinephile ว่าหลวงเทเพนทรรู้หรือยังว่าหลวงพิพิธ ข้าหลวงเมืองเชียงแตง ถูกฝรั่งเศสไล่ออกจากเมือง กลายเป็นเจ้าไม่มีศาลไปแล้ว
เพราะเห็นบอกว่า 
"ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร"
ถ้าเข้าเมืองก็คงไม่เจอคุณหลวงพิพิธ  ท่านออกจากเมืองไปรวบรวมผู้คนอยู่สักพัก    จากนั้นคงจะเดินทางมาเมืองสีทันดร เพื่อสมทบกำลังกับหลวงเทเพนทร 
ก็เลยยังไม่เข้าใจตอนนี้ค่ะ ว่าสองคนนี้รู้เรื่องกันหรือยังว่าฝรั่งเศสยึดเมืองแล้ว

หลวงพิพิธสุนทรได้โดนไล่ไปอยู่ธาราบริวัตรที่เป็นเมืองที่อยู่ตรงกันข้ามกับเชียงแตง แต่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ส่วนหลวง
เทเพนทร์ก็ได้รับใบบอกของหลวงพิพิธฯ ท่านถึงได้เตรียมรับพวกฝรั่งเศสอย่างที่ผมเขียนมาตอนต้นๆ ขอรับ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 17:45

 ค่ายของฝรั่งเศสที่ดอนสาครนั้น ขุนวิชิตชลหาญ ทำหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมมหาดไทยว่า "---ด้วยพระประชาฯ มีหนังสือมาว่า ฝรั่งเศสอยู่ที่ "ขอน" (ดอนสาคร) ตั้งค่ายเสาไม้แก่น สูงห้าศอก (2.5 เมตร) ค่ายกว้างเส้นหนึ่ง (40 เมตร) ยาวสามเส้น (120 เมตร) แลพลเรือใหญ่ขนเสบียงอาวุธกับทหารตามเนื่องมา วันที่ ๑๑ เมษายน (พระ)ภักดีภุมเรศบอกมาว่า ฝรั่งยกทหารมาทางเรือประมาณ ๓๐๐ คน---"
(กจช. ฝ. (?) ขุนวิชิตชลหาญ กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ วันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)
ภาพข้างล่างคือค่ายของฝรั่งเศสที่ดอนสาครขอรับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 18:20


ฝรั่งเศส ยกทหารมาประมาณ 400 คน มาด้วยเรือ 26 ลำ เข้าจอดที่ดอนละงา พบหลวงเทเพนทรเทพ ซึ่งคุมกำลังไปสะกัดอยู่ทางนั้นหลวงเทเพนทรเทพ จึงเข้าไปไต่ถามฝรั่งเศส และห้ามไม่ให้ฝรั่งเศส ยกทหารเข้ามาในพระราชอาณาเขตสยาม  ฝรั่งเศสหายอมไม่ กลับบอกว่า ตำบลเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศส ให้หลวงเทเพนทรเทพ ถอยไปเสีย ถ้าไม่ถอย ฝรั่งเศสจะรบทันที ทั้งได้เป่าแตรเรียกทหาร เตรียมรบแล้วด้วยหลวงเทเพนทรเทพเห็นว่า ฝรั่งเศสไม่ยอมทำตามคำห้ามปราม กับทั้งเตรียมทหารจะรบด้วยเช่นนี้ หลวงเทเพนทรเทพ จึงได้ถอยทหารมาอยู่ดอนสม รอฟังคำสั่งของพระประชาคดีกิจต่อไป

จะทะเลาะกับทหาร 400 คนอาวุธครบมือก็ยากอยู่นะครับคุณหญิง
ค่ะ ท่าน Cinephile  มันก็จริง
แต่น้อยใจนิดหน่อย   ทีก่อนหน้านี้ละก็  ในรายงานแผนรบ พี่หลวงไม่ได้ว่าง่ายยังงี้นี่นา 
 "ถ้าฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนขึ้นมา ทัพเจ้าจะว่ากล่าวห้ามไว้ ขืนอุกอาจไม่ฟังประการใด จำเป็นจะต้องรับพระราชทานต่อต้านด้วยกำลังไว้ชั้นหนึ่งภอชามือ แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ"

จะว่าเดาไม่ออกว่าทัพฝรั่งเศสมีพลานุภาพ ก็ไม่ใช่   เพราะการยกพลไป 200 ก็ต้องรู้ว่าฝรั่งเศสไม่ได้มา 100 เดียวแน่  แล้วอาวุธฝ่ายเขาก็ต้องเหนือกว่าฝ่ายเรา ที่ของหลวงก็แทบไม่มี ของชาวบ้านก็ไม่ไหว

พอประจัญหน้าเข้าจริงๆ   พี่หลวงเปลี่ยนยุทธวิธีจนกองเชียร์ข้างเวทีกลับตัวไม่ทัน
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 20:24

อย่าว่าแต่คุณหญิงจะงง ผมเองก็งงเหมือนกัน (บทของผมยังไม่ถึงสีทันดอนครับ คงจะ
อีกเดือนถึงจะเขียน ตอนนี้แค่ทำ research กับทำความเข้าใจในเหตุการณ์ขอรับ) ที่
บอกว่างงก็คือหลวงเทเพนทร์คุมกำลังไปซุ่มดักรอพวกฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสมันแสนรู้ยกพล
ขึ้นบกที่ดอนละงา ซึ่งที่นั่นจะมีหลวงเทเพนทรเทพคอยอยู่รับมืออยู่ คุณหญิงคิดว่าหลวง
เทเพนทร์กับหลวงเทเพทรเทพจะเป็นคนละคนกันจะเป็นไปได้ไหมครับ

มันคือคำถามแรกของผมที่อยากรู้ว่าหลวงเทเพนทร์กับหลวงเทเพนทรเทพเป็นคนละคนกันใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 21:05


ในเหตุการณ์​ ร.ศ.112
ราชกิจจาฯ​ กล่าวถึงหลวงเทเพนทร์
ตำนานหัวเมืองอิสาณ​ กล่าว​ถึง​ หลวงเทเพนทรเทพ​ ในเหตุการณ์ที่เทียบเคียง​กันได้​ ดังนั้นจึงควรเป็นบุคคลเดียวกันครับท่าน

ที่ดอนสาคอน​ หลวงเทเพนทร์รู้ว่ารบไปก็ตายเปล่า​จึงยอมถอยไปตั้งรับที่ดอนสม​ พอรบกันที่ดอนสมท่านก็ตายจริงๆ
และน่าจะเป็นนาย​ทหารสัญญาบัตรนายเดียวที่เสียชีวิตในการรบด้านนี้​ ส่วนคนอื่นๆที่รอดและได้เลื่อนยศกันถ้วนหน้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 21:22

เห็นด้วยกับคุณคนโคราชว่า มีหลวงเทเพนฯ คนเดียวค่ะ

ถ้าบรรยายอย่างข้างล่างนี้ ท่าน cinephile จะหายงงไหมคะ

 ทัพ ฝรั่งเศสกำลังพล 400 คน ยกมาเป็นกระบวนเรือ 26 ลำ  ทีนี้ฝรั่งเศสอาจจะเดา หรือไม่ก็มีหน่วยลาดตระเวนชาวลาวที่ชำนาญทาง  ประสานงานให้  จึงรู้ว่าพระเทเพนทรฯตั้งรับที่ดอนสะดำ 
ฝรั่งเศสจึงหาทางหลีกเลี่ยงกับดักของหลวงเทเพนทร   โดยไม่ขึ้นเรือตามที่ทางฝ่ายไทยซุ่มอยู่   แต่ไปขึ้นบกที่ดอนละงา
 หลวงเทเพนทร รู้เรื่อง อ้าว ฝรั่งเศสไปขึ้นทางโน้น  ก็รีบย้ายทหารจากดอนสะดำมาตรึงที่ดอนละงา    แต่ก็สายเกินไป  เพราะฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  ฉากเผชิญหน้าก็เกิดขึ้น  จบลงด้วยการไม่เสียเลือดเนื้อ   หลวงเทเพนทรฯสั่งทหารถอยโดยไม่ลงไม้ลงมือกันสักแปะเดียว   
  ถ้ามองในแง่ดีคือคุณหลวงก็เก่ง รักษาชีวิตฝ่ายไทยไว้ได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อ  เพราะไทย 200 ฝรั่ง 400 อาวุธเขาครบครัน ของเรายิงได้สัก 2 กระบอกก็เก่งแล้ว   ขืนตะลุมบอนแบบประชิดตัว  อาจจะสูญเกือบ 200 เลยก็ได้
  ถ้ามองในแง่ร้ายก็อย่างที่กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงประณามน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 21:23


ในเหตุการณ์​ ร.ศ.112
ราชกิจจาฯ​ กล่าวถึงหลวงเทเพนทร์
ตำนานหัวเมืองอิสาณ​ กล่าว​ถึง​ หลวงเทเพนทรเทพ​ ในเหตุการณ์ที่เทียบเคียง​กันได้​ ดังนั้นจึงควรเป็นบุคคลเดียวกันครับท่าน

ที่ดอนสาคอน​ หลวงเทเพนทร์รู้ว่ารบไปก็ตายเปล่า​จึงยอมถอยไปตั้งรับที่ดอนสม​ พอรบกันที่ดอนสมท่านก็ตายจริงๆ
และน่าจะเป็นนาย​ทหารสัญญาบัตรนายเดียวที่เสียชีวิตในการรบด้านนี้​ ส่วนคนอื่นๆที่รอดและได้เลื่อนยศกันถ้วนหน้า

คุณคนโคราชคะ สนใจมรณกรรมของคุณหลวงเทเพนทรมากค่ะ      อยากทราบว่าได้จากที่ไหนคะ  ถ้าลอกข้อความมาให้อ่านได้ก็ยิ่งดีใหญ่ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 21:53


คุณ​ Michael Smithies​ แปลไว้ใน​ วารสารสยามสมาคม​ ปี​ 2011 ครับ
เรื่อง​ The​ French​ Army​ and​ Siam, 1893-1914
สมาคมท่านให้ดาวน์โหลด​ pdf  ไฟล์มาอ่านได้เลยครับ
ฝรั่งเศสบันทึกว่าในวันที่​ 20​ กรกฎาคม​ The​ Siam​ commander was​ killed
Taking Don Som​ is​ the​ bloodiest event​ of​ the​ Franco-Siam crisis​ of​ 1893.
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 00:28


แต่จากจดหมายเหตุ​ ร.ศ.112​
พระณรงค์วิชิตบอกว่าในเดือนสิงหาคมพระเทเพนทร์ยังมีชีวิตอยู่
ในจดหมายเหตุนี้ฉายหนังคนละม้วนกับบันทึกของฝรั่งเศส
บอกว่าพวกฝรั่งเศสมักยกธงขาวบังหน้าเข้ามาลอบยิงไทยเสมอ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 10:12

เป็นไปได้ไหมคะ    ว่า Siam commander ที่ดอนสม คือข้าราชการอื่น ไม่ใช่หลวงเทเพนทร   อาจไม่ใช่ commander เป็นแค่ officer คนหนึ่งเท่านั้น

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔ “เหตุสงครามระหว่างฝรั่งเศส" ให้ภาพการรบที่ดอนสมไว้ดังนี้

วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ฝรั่งเศสคุมกองทัพเพิ่มเติมยกมาถึงบ้านพละคันอีกประมาณพันเศษ พระประชาเห็นศึกเหลือกำลังกล้า จึงให้เลิกค่ายท้ายดอนไปรวมตั้งรับที่ดอนสะดำ และเลิกค่ายหัวดอนคอนไปรวมตั้งรับ ณ ค่ายดอนเดช ดอนสม และในวันนี้เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ กองทัพฝรั่งเศสยกขึ้นมาตั้งที่บ้านเวินยางฝั่งตะวันตก ตรงค่ายกองทัพสยามที่ดอนสะดำ และฝรั่งเศสระดมปืนใหญ่น้อย และกระสุนแตกมาที่ค่ายสยาม ณ ดอนสะดำเป็นอันมาก หลวงเทเพนทรเทพ นายร้อยตรีถมยา เห็นจะตั้งรับอยู่ที่ดอนสะดำมิได้ จึงได้ล่าถอยมาตั้งค่ายรับอยู่ ณ ดอนสม

วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ฝรั่งเศสยกกองทัพขึ้นตั้งดอนเดชประชิดค่ายสยาม แล้วระดมยิงกระสุนแตกมาที่ค่ายสยามเป็นอันมาก ฝ่ายกองทัพสยามมิได้ยิงตอบ ครั้นฝรั่งเศสยกกองทหารรุกเข้ามาใกล้ ฝ่ายสยามจึงได้ระดมยิงกองทัพฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสถูกกระสุนปืนล้มตายหลายคน แตกถอยกลับไป ฝ่ายสยามถูกกระสุนปืนเจ็บป่วย ๓ คน ในวันนี้พระประชา(แช่ม)ได้จัดให้นายทัพนายกองคุมกำลังไปตั้งค่ายรับที่ดอนสมอีกครั้งหนึ่ง

ในเดือนนี้ฝ่ายรัฐบาลฝรั่งเศส และสยามได้ปรึกษาตกลงกันเลิกสงคราม และฝ่ายสยามได้เรียกให้กองทัพทุกๆ กองกลับ และได้ตกลงสัญญากันเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม

ไม่มีการพูดถึงข้าราชการที่ตายในการรบค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 10:38

คุณหมอวิบูล วิจิตรวาทการ ให้ภาพการรบที่ดอนสมไว้อีกภาพหนึ่ง ซึ่งไม่มีในพงศาวดารข้างบนนี้

เริ่มจากหลวงเทเพนทรตั้งหลักอยู่ที่ดอนสม

         พระประชาคดีกิจจึงไปเจรจาอีกทีหนึ่ง ว่าเขตแดนเหล่านี้เป็นของอาณาจักรสยาม ฝรั่งเศสไม่มีสิทธิบุกรุก นายทัพฝรั่งเศสก็ตอบว่า ราชทูตไทยที่กรุงปารีส และรัฐบาลสยามที่กรุงเทพฯได้ยอมยกตำบลหมู่บ้านเหล่านี้ให้แก่ฝรั่งเศสหมด แล้ว พระประชาจึงตอบว่า จะยอมเชื่อคำของท่านนั้นไม่ได้ เพราะไม่ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลสยามเลยว่าได้ยกดินแดนเหล่านี้ให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อตกลงกันไม่ได้ พระประชาจึงลากลับ หลังจากนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสก็เคลื่อนทัพและเริ่มระดมยิงกองรักษาดินแดนของเราก่อน

          เราถูกเขายิงแล้ว ก็มิได้ยิงโต้ตอบต่อสู้ เพียงแต่หดหัวหลบอยู่เฉย ๆ โดยมีเหตุผลว่า ประเทศสยามยังไม่ได้ขาดสัญญาพระราชไมตรีต่อฝรั่งเศส ไม่มีคำสั่งจากรัฐบาลให้ต่อสู้ทหารไทยจึงเพียงแต่ตั้งมั่นปล่อยให้ฝรั่งเศส ยิงข้างเดียว เมื่อฝรั่งยิงเราหนักขึ้น เราก็โต้ตอบโดยเขียนหนังสือไปห้ามปรามว่า อย่ายิงอีกนะ ฝรั่งเศสได้รับหนังสือ ก็ชอบใจระดมยิงด้วยปืนทั้งใหญ่และน้อย จนในที่สุดฝ่ายไทยอดรนทนไม่ได้จึงเริ่มต้นยิงโต้ตอบบ้าง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีบันทึกไว้ว่า

               “ฝ่าย สยามจึงได้ยิงโต้ตอบไปบ้างแต่เล็กน้อย โดยมิได้มีเจตนาที่จะทำลายชีวิตผู้คนอย่างใด เป็นแต่แสดงให้เห็นว่าฝ่ายไทยก็มีปืนบ้างเหมือนกันเท่านั้น”

               เมื่อ เรายิงโดยมิตั้งใจให้ถูกต้องข้าศึก ทางฝรั่งเศสยิ่งรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของเรา หนุนเนื่องรุกรบเข้ามาทุกที จนในที่สุดเหล่าท่านข้าราชการผู้ใหญ่ของประเทศสยามเริ่มรู้สึกตื่นตัว เข้าใจว่าฝรั่งเศสเขาเอาจริง จึงมีการเกณฑ์ไพร่พลต่อสู้ฝรั่งกันมากขึ้นเพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิต ปรีชากร ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาวโปรดให้เกณฑ์กำลังเมืองศรีสะเกษ ขุขันธ์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เมืองละ 800 คน รวมเป็น 4,000 คน จากเมืองสุวรรณภูมิ และยโสธรอีก 1,000 คน รวมทั้งทหารจากเมืองอุบลฯ ที่พระองค์ประทับอยู่อีก 600 คน ยกไปช่วยทัพของพระประชาคดีกิจ ที่เมืองศรีทันดร

               ถึง วันที่ 20 เมษายน ฝรั่งเศสชื่อกองซือ กับทหารญวน 19 คน อาวุธครบมือตรงมาที่เมืองอัตปือ ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของไทย เป่าประกาศต่อราษฎรว่า เมืองอัตปืออยู่ในอารักขาของฝรั่งเศสแล้ว ขอให้ชนชาวเมืองอย่าเกรงกลัวต่อข้าราชการไทยอีกต่อไป ขณะนั้นมีทหารไทยใจกล้าคนหนึ่ง ชื่อ ร้อยโทพุ่ม มีหน้าที่รักษาราชการเมืองอัตปือ ร้อยโทพุ่มนำพรรคพวกขับไล่ทหารฝรั่งเศสและญวนออกไปเสีย

               อีก อาทิตย์หนึ่งต่อมา ทหารฝรั่งเศสคุมญวน 800 คน ยกมาที่เมืองตะโปน ขับไล่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามถอยมาอยู่ที่เมืองพินเหตุการณ์สงบอยู่ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม วันนั้นนายสุจินดา ผู้ควบคุมทหารไทย 400 คน ตั้งมั่นอยู่ที่ดอนสาคร ล่องเรืออยู่ในน้ำ ทหารฝรั่งเศสเห็นเข้าจึงระดมยิงด้วยปืนใหญ่ปืนเล็ก ตั้งแต่เวลาบ่ายโมงจนถึงบ่ายสองโมง

               หลวง เทเพนทรเทพ ซึ่งคุมทหารไทยอยู่รักษาดอนสะดำ และดอนสาครด้วย ได้ยิงเสียงปืนหนาแน่น จึงยกทหารไทย แบ่งออกเป็น 2 กอง กองหนึ่งให้ขุนศุภมาตรา อีกกองหนึ่งให้ร้อยตรีถมยา ยกเข้าประชิดค่ายของฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสระดมยิงกราดมาที่ไทย ส่วนไทยนั้นตั้งกองทัพแน่นอยู่ที่วัดบ้านดอน ยิงตอบโต้ฝรั่งเศสแข็งขัน



น่าเสียดายว่าข้อเขียนนี้ขาดหายไปเพียงแค่นี้  หาหน้าต่อไปไม่เจอค่ะ   ใครเจอกรุณามาต่อให้ด้วยนะคะ

http://www.sereechai.com/index.php/2013-05-01-06-34-27/2013-05-01-07-28-02/130-2013-05-02-04-54-44
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 11:38

กำลังช่วยท่านcinephile หารูปทัพช้าง ก็บังเอิญเจอภาพนี้ครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
เปลี่ยนบรรยากาศนิดนึง


บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 12:47

อยากให้อาจารย์ศรีสรรเพชรมาพิจารณาเรื่องเทเพนทร์กับเทเพนทรเทพว่าเป็นคนเดียว
กันหรือสองคนกันแน่
ไม่ใช่ดื้อให้เป็นสองคน แต่มีข้อสงสัยเยอะมากเช่นนิสัยไม่เหมือนกันคนหนึ่งกล้าหาญอีก
คนขลาด และสงสัยว่าอายุไม่เท่ากันด้วยครับ
แต่นั่นเป็นเพียงข้อสงสัยเท่านั้นเองครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 13:07

ประกาศตั้งขุนนาง
.
ให้หลวงศรีรณรงค์ (เอี่ยม) เป็นหลวงเทเพนทร์ ตั้งแต่ ณ วัน ๔ ฯ  ๒ ค่ำ ปีมะแม เบญจศก ศักราช ๑๒๔๕ (ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๒๖)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.22 วินาที กับ 20 คำสั่ง