เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 21971 ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 21:38

ข้อความข้างล่างนี้ ไปหามาเองค่ะ

      วันที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสรุกสยามทางบก   นายทหารชื่อ ปัสตา คุมทหารญวนจากเมืองไซง่อน 200 คน และทหารเขมรจากนครพนมเปญอีกหลายร้อยคนลงเรือทั้งหมด 33 ลำ มีอาวุธพร้อม ล่องมาตามแม่น้ำโขงขับไล่ทหารไทยซึ่งรักษาด่านต่าง ๆ
     ที่เมืองเชียงแตง มีหลวงพิพิธสุนทรเป็นนายทหาร ร้อยโท คร้าม เป็นข้าหลวงและมีพลทหารอยู่ 12 คน ไม่มีทางที่ทหารไทย 12 คนจะต่อสู้ทหารญวน และเขมรหลายร้อยคนนั้นได้ ทหารไทยต้องถูกขับไล่ ประชาชนเมืองเชียงแตกก็แตกตื่นตกใจ เพราะฝ่ายไทยมิได้ให้ความคุ้มครอง ทหารฝรั่งเศสบุกรุกต่อมายึดฝั่งตะวันออกและเกาะต่างๆ ในลำน้ำโขง และตั้งมั่นอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง
     พระ ประชาคดีกิจข้าหลวง หน้าที่หัวเมืองลาวฝ่ายใต้ประจำอยู่ที่เมืองศรีทันดรเห็นฝรั่งเศสปฏิบัติผิด สัญญาพระราชไมตรี จึงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนให้มีหน้าที่เกณฑ์พลป้องกันราช อาณาจักร และทำหนังสือประท้วงห้ามปรามฝรั่งเศสทันที ฝ่ายฝรั่งเศสก็หัวเราะเยาะ ไม่ฟังหนังสือประท้วงไทยแต่อย่างใด

      ทัพ ฝรั่งเศสอีกกองหนึ่งมีพลทหาร 400 คน ยกมาเป็นกระบวนเรือ 26 ลำ เข้าจอดที่ดอยละงา ขึ้นบกเดินแถวมาปะทะกับหลวงเทเพนทรเทพซึ่งคุมกำลังไทยไปตั้งสะกัดอยู่ หลวงเทเพนทรเทพจึงทักทายกับนายทหารฝรั่งเศส และสั่งให้ออกไปเสียจากพระราชอาณาเขตสยาม ฝรั่งเศสก็ตอบว่าตำบลเหล่านี้เป็นของเขาแล้ว หลวงเทเพนทรเทพนั่นแหละควรถอยกำลังไปเสีย มิฉะนั้นจะเกิดการรบขึ้นแน่ 
      ว่าแล้วฝรั่งเศสก็เป่าแตร เรียกทหารตั้งแถวเตรียมรบทันที หลวงเทเพนทรเทพเห็นท่าจะสู้ไม่ได้ จึงยอมถอยกำลังมาตั้งที่ดอนสมและแจ้งเหตุการณ์มายังพระประชาคดีกิจ



    เหตุการณ์ตรงนี้ละค่ะ ที่กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงสรุปไว้ว่า

    "----อนึ่งการอันตรายแก่ราชการครั้งนี้ก็มีนายไพร่ จะไม่ตั้งใจจะต่อสู้กับข้าศึก เหมือนอย่างหลวงเทเพนทร์ กับ นายร้อยโทเล็ก เห็นข้าศึกใกล้เข้ามา ก็ทิ้งไพร่หนีเสีย ราชบุตรสารคาม แลท้าวบุตตะวงษ์ ข้าศึกมาไม่ต่อสู้ไม่หนี ยอมให้จับทั้งนายไพร่ ให้มันเอาปืนไปหลายร้อย"
           
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 21:43

หลวงเทเพนทรเทพ ต่อสู้กับฝรั่งเศสโดยไม่เกรงกลัวฝรั่งเศสแม้แต่น้อย

"นายสุจินดา  นายร้อยโทพุ่ม ซึ่งพระประชาคดีกิจ ให้คุมกำลัง ๔๐๐ คน ไปตั้งรับฝรั่งเศสอยู่ ณ ดอนสาคร นั้น  ได้ล่องเรือมาถึงหัวดอนสาคร  ฝรั่งเศสที่ตั้งค่ายอยู่
ณ ดอนสาครนั้น  ก็แลเห็น  จึงสั่งให้ทหารปืนใหญ่น้อย  ยิงลงมายังกองเรือนายสุจินดาเป็นอันมาก  นายสุจินดาจึงสั่งให้ยิงตอบไปบ้าง  ทั้งสองฝ่ายได้ยิงโต้ตอบกัน  อยู่ตั้งบ่าย๑โมงจนบ่าย๒โมงเศษ  จึงหยุดสงบกันไป
ฝ่ายหลวงเทเพนทรเทพ  ซึ่งได้รับคำสั่งจากพระประชาคดีกิจ ให้ไปรักษาท้ายดอนสะดำและท้ายดอนสาครนั้น  ได้ยินเสียงปืนต่อสู้กันหนาแน่นมาก  จึงสั่งขุนศุภมาตราแบ่งกำลังไปท้ายดอนสะดำก่อน  ส่วนตัวหลวงเทเพนทรเทพกับนายร้อยตรีถมยานั้น  ได้แยกเข้าท้ายดอนนางชม  ด้านตะวันออกดอนสาคร  เข้าประชิดค่ายฝรั่งเศส  ประมาณ ๑๗-๑๘ วา  ฝรั่งเศสเห็นก็ได้ยิงปืนกราดออกมาเป็นอันมาก  หลวงเทเพนทรเทพก็ได้บากบั่นคุมกำลังเข้าไปตั้งในวัดบ้านดอน  เอาวัดเป็นที่ตั้งมั่นได้  จึงได้ยิงกราดไปที่ค่ายฝรั่งเศสบ้าง  ฝรั่งเศสจึงสงบไป

ดิฉันยังงงๆกับข้อความข้างบนนี้ที่ ท่าน Cinephile ยกมา   ฝากคุณ NAVARAT  คุณหนุ่มสยาม คุณเพ็ญชมพูหรือคุณคนโคราช  หรือท่านอื่นๆช่วยดูที  ว่ามันเหตุการณ์เดียวกันหรือคนละเหตุการณ์กันแน่คะ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 13:54

เรียนคุณหญิงขอรับ

กระผมขอต่อเติมที่ตุณหญิงเล่าให้พวกเราฟังถึงการยึดเมืองเชียงแตงดังนี้ขอรับ

"ครั้งถึงวันที่ ๒๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕)ฝรั่งเศสเห็นว่า การที่จะเจรจาทางทูตนั้นคงจะไม่สำเร็จเท่าใช้อาวุธ จึงได้ตั้งให้ มองซิเออร์เรซิดังต์ ปัสตาเป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยนายร้อยเอก โทเรอซ์ นายร้อยตรีโมโซ, มองซืเออร์คูลชอง คุมทหารญวน 200 คน มาด้วยเรือเขมรพนมเปญ 22 ลำ ขับไล่ทหารไทยที่ตั้งรักษาด่านอยู่ ณ ตำบลตะบงขลา แขวงเมืองเชียงแตง(เมืองสตึงแตรง) ด่านเสียมโบก และเมื่อ ด่านเสียมโบกแตกแล้ว ทหารฝรั่งเศสกองนี้ก็ยกรุกมาถึงเมืองเชียงแตง
เอกสารของฝรั่งเศสระบุว่า วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1893 (พ.ศ. ๒๔๓๖) นายพลแปร์โนต์ (Gènèral Permot) ผู้บัญชาการกองพลน้อยแห่งเวียดนามตอนใต้ มีคำสั่งถึง ร้อยเอก โทเรอซ์ (Captain Thoreux) ผู้บังคับกองร้อยทหารเวียดนามตอนกลาง (Tirailleurs Annamites) ว่า ร้อยเอก โทเรอซ์รับผิดชอบในการเข้ายึดฐานปฏิบัติการสยามที่เมืองเชียงแตงและแก่งหลี่ผีซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และให้ใช้การปฏิบัติการทางทหารสนับสนุนการเจรจาภายใต้การนำของผู้ว่าราชการซึ่งเดินทางไปด้วย
ร้อยเอกโทเรอซ์พร้อมทหาร 106 นายออกเดินทางโดยเรือยาว (pirogue) จากเมืองซาเดก (Sadec)  ในคืนวันที่ 25 มีนาคม และวันที่ 1 เมษายน เวลา 16.00 น. สามารถยึดเมืองเชียงแตงได้ด้วยการเจรจาของผู้ว่าราชการคูลชอง (Coulgeans) โดยไม่มีการสู้รับกันแต่อย่างใด
เมื่อทหารฝรั่งเศสยกมาถึงเมืองเชียงแตง ก็ลงมือขับไล่ หลวงพิพิธสุนทร(ทองอิน) กับ นายร้อยโทคล้าม ข้าหลวงเมืองเชียงแตง กับทหารไทย 12 คน ให้ออกไปจากเมืองเชียงแตง ให้ยกข้ามแม่น้ำโขงไปยังเมืองธาราบริวัติ ที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง พร้อมด้วยทหารไทยประมาณ 20 คน หลังจากนั้นฝรั่งเศสก็มุ่งหน้าไปทางแก่งหลี่ผี และยึดแห่งนี้ได้ในวันที่ ๔ เมษายน

เมืองซาเดก (Sadec) เป็นเมืองที่อยู่เกือบจะถึงปากแม่น้ำโขงขอรับ ใช้เวลา 5 วันในการเดินทางไปเมืองเชียงแตงขอรับ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 14:05

ลืมมีอ้าอิงขอรับ
ข้างบนเป็นคำสั่งนายพลแปร์โนต์ ถึงร้อยเอกโทเรอซ์ 24 มีนาคม ค.ศ. 1893 M.D. Asie 84

ตอนนี้เรามาลองพิจารณาเหตุการณ์นี้จากมุมมองของไทยดูบ้าง

"เขียนที่บ้านสำอางแขวงธาราบริวัตร วันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒
ข้าพเจ้า หลวงพิพิธสุนทร นายร้อยโทคร้าม ข้าหลวงเมืองเชียงแตง เมืองธาราบริวัตร บอกมายังท่านหลวงเทเพนทร์ข้าหลวง(เมืองศรีธันดร) ได้ทราบ ด้วยตามที่ข้าพเจ้าบอกมา เขียนดินสอฝรั่ง ลงวันที่ ๒ นั้นแล้ว ในวันที่ ๒ นั้น ฝรั่งยกกองทัพเลยขึ้นมาตามลำน้ำโขง ขึ้นมาทางดอน เวลาเช้า ๑ โมง ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทหารตั้งอยู่ที่เมืองธาราบริวัตรเห็นดังนั้นแล้ว จึงได้เกณฑ์คนเมืองธารา หากรมการก็ไม่พบ พบแต่หลวงต่างใจคนหนึ่ง พระคลังคนหนึ่ง ไปรวบรวมเกณฑ์คนเพื่อที่จะออกสู้รบกั้นไว้ ในเวลานั้น เกณฑ์คนอยู่ประมาณ ๕โมงไม่ได้คน ข้าพเจ้าจึงเรียกตัวผู้รักษาฉางหลวงก็ไม่ได้ตัว แต่หม่อม ป็อก(?) มารดาพระภักดีว่าไม่มีเข้า(ข้าว?) ในฉางหลวงเลย ข้าพเจ้าจึงได้เรียกหาเกณฑ์คนจะให้ส่งใบบอก ก็หามีผู้ใดรับส่งบอกไม่ ข้าพเจ้าจึงได้ปฤกษาพร้อมกันว่า จะนิ่งเฉยอยู่เช่นนี้ ก็ไม่ประโยชน์ในราชการสิ่งใด แลหนังสือที่มีบอกไปเมืองศรีธันดรนั้นจะถึงฤๅไม่ถึงก็ไม่ทราบ แลฝรั่งก็ยกเลยขึ้นมาแล้ว ถ้าเมืองศรีธันดรไม่รู้ตัวก็จะเสียราชการอีกเหมือนเชียงแตง ก็เพราะสำคัญใจเสียว่า ฝรั่งบันทุกสินค้ามาตั้งค้าขายตามท้องตราสั่งไว้แต่ก่อน ประการหนึ่งเมื่อได้ผ่อนเวลาไปปฤกษาราชการที่บ้านราชวงษที่เชียงแตงนั้นแล้ว คิดว่าจะต่อสู้ ไพร่พลเมืองก็มาในที่ปฤกษาแต่ ๑๒-๑๓ คนเท่านั้น บังคับให้ถือปืนขึ้น ยัดปืนก็ไม่ยัดถือปืนนิ่งอยู่ บ้างก็วางปืนวิ่งไปบ้าง มีอยู่แต่กรมการผู้ใหญ่สามนายเท่านั้นที่นั่งอยู่ปรกติ เพราะดังนั้น ครั้นเวลาที่ฝรั่งมาพบข้าพเจ้าครั้งที่สุด ทหารญวนเขมร เตรียมพร้อมที่ทำเนียบเก่า ฝรั่งก็ทำอำนาจจับข้าพเจ้าว่า ถ้าไม่ไปจากเมืองเชียงแตงเดี๋ยวนี้ก็จะเอาไปไว้ในกองทัพฝรั่งเศส ข้าพเจ้าจึงตริตรองอยู่ในที่นั้น เห็นว่าจะยอมให้อยู่ในที่กักขังในเวลานี้ยังไม่ได้บอกข้อราชการมานั้นไม่ควร หรือประการหนึ่งถึงจะตายในระหว่างที่ไม่เสียเปรียบแล้วก็ควรตาย แต่เวลานี้ยังไม่ควรให้กักขัง ถึงข้าพเจ้าจะดื้อดึงไม่ยอมก็คงทานกำลังไม่ได้ เพราะพลเมืองไม่มาในที่ปฤกษาก็เห็นว่าลาวไม่ช่วยแล้วดังนี้ ข้าพเจ้าจึงยอมไปจากบ้านเมือง แต่ถึงดังนั้นเมื่อมาในที่กว้างแล้ว ถ้ามีไพร่พอสมควรในที่ใดแล้ว หรือกองทัพเมืองศรีธันดรจะยกไปทันก็คงรบรับไว้ให้เต็มกำลังที่เมืองเชียงแตง ครั้นหันพึ่งกำลังเมืองธาราก็ไม่ได้ไพร่พล แต่ชั้นอาหารก็ไม่ให้พอเป็นกำลังราชการได้ เพราะดังนั้นจึงเห็นว่าควรจะถอยมาตั้งมั่นในต้นทางแยกที่บ้านสำอางทางลงทางบ้านคอนได้ จะได้มีบอกราชการทางลัดในที่ใกล้ให้ทันราชการ แลจะได้หากำลังพอที่จะกันไม่ให้โอบหลังเมืองธาราได้ เพราะข้าพเจ้าได้บอกไปเมืองมโนไพรฉบับหนึ่งแล้ว ถ้าเมืองศรีธันดรจะยกมาทางที่ข้าพเจ้าตั้งอยู่โดยเร็วแล้ว ข้าพเจ้าจะยกสกัดกันไว้มิให้โอบหลังทางนี้ได้ หรือจะให้กำลังมาช่วยข้าพเจ้าสัก ๔๐-๕๐ คน ข้าพเจ้าจะยกไปรบกลับเอาเมืองเชียงแตงให้ได้ เพราะเดี๋ยวนี้มีปืนสะนิเดอร์ (สไนเดอร์) อยู่ก็น้อยเต็มที ปัศตัน(ลูกปืน) ทหารก็ว่ายิงไม่ออก โดยมากใน ๑๐๐ หนึ่งเอา ๑๐ ไม่ใครจะได้ และที่ปืนยิงไม่ออกนั้นชาวเมืองเชียงแตงรู้ทั่วกันด้วย คงจะรู้ถึงฝรั่งเศสเหมือนกัน แลบัดนี้ข้าพเจ้ารวบรวมได้คนอีกประมาณ ๓๐ เสศ แต่ไม่มีปืนแลดินปืนในกองข้าพเจ้าไม่มีดินดำ แต่ข้าพเจ้าจะตั้งมั่นรวบรวมผู้คนคอยรับกองทัพฝรั่งเศส หรือกองทัพสยามอยู่ในตำบลนี้ แต่เสบียงไม่มี ถ้าท่านจะแต่งคนไปสืบสวนฉันใด ก็ให้ไปขึ้นบ้านท่าไฮ ให้ท่านคิดการตอบไปโดยเร็ว ถ้าช้าเสบียงจะหมด อนึ่งเจ้าเมืองเชียงแตงอย่าให้กลับเอากักไว้ก่อน เพราะในวันนี้ข้าพเจ้าจะยกจากธารา พระเจริญ(เจ้าเมืองเชียงแตง?) ให้คนนั่งมาพูดดูการอยู่ทั้งวัน จนถึงข้าพเจ้าต้องไล่ให้ไป และครั้นข้าพเจ้าเลื่อนยก(?) มาตามทางในเวลา ๒ ยามเสศ พระเจริญมีหนังสือให้คนเชียงแตง ๔ คนตามไปให้ข้าพเจ้า กับนายร้อยโทคร้ามในหนังสือทวงเอาขวดน้ำมันที่ข้าพเจ้า ๆ จึงเป็นที่ปลาดใจ ว่าของเล็กน้อยไม่ควรตาม ข้าพเจ้าจึงถามคน ๔ คนว่าพระเจรืญสั่งมาว่าอย่างไรบ้าง คน ๔ คนแจ้งว่าพระเจริญสั่งให้ตามข้าพเจ้าให้พบให้จงได้ ถึงไกลใกล้อย่างไรก็ให้พบ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าพระเจริญให้มาสืบราชการ ข้าพเจ้าจึงให้ทหารคุมตัวไว้ทั้งสี่คน ครั้นเวลา ๓ ยามเสศข้าพเจ้าจะยกไป ข้าพเจ้าจึงให้คนสองคนนั้นหาบของ แต่ครั้นจะจำจองเครื่องจำก็ไม่มี แลราชการทัพฝรั่งเศสคน ๔ คนนี้ก็ไม่ทราบ ข้าพเจ้าจึงปล่อยให้คนกลับไป ๒ คน ข้าพเจ้าอุบายพูดสั่งไปว่า กองทัพเมืองมะโนไพร เมืองศรีธันดร ยกมาช่วยถึงชายดงแล้ว ผูคนเมืองธาราในป่าดงก็รวมกันได้ ๑๐ บ้าน พร้อมแล้วเพราะตั้งรับกองทัพทั้ง ๒ เข้าไป แต่ไม่มีของให้มึงช่วยหาบแล้ว ให้มึงกลับไปเถิด แต่คน ๒ คนนี้เป็นคนชอบคุ้นเคยกับเรา ๆ จะขอให้ช่วยหาบของไปกับเราก่อน พอมีคนอื่นช่วยหาบจะให้กลับข้าพเจ้ากับทหารก็ยกไป ๆ อีกไม่ช้านาน ชื่อตาแดงคนเชียงแตงที่ให้หาบของมานั้นเป็นคนแก่ ป่วยอยู่บ้างเดินไม่ไหว ข้าพเจ้าจึงได้ปล่อยให้ไปอีกคน ๑ แต่ ๓ คนที่กลับไปนั้น ทหารเลวไม่ทราบ ทหารจะไปตามจับ ข้าพเจ้าก็ยกเลยไปไม่ให้ตาม แลสำนวนความในบอกที่มีมาทั้งปวงแต่ก่อนๆ ทุกฉบับ เขียนโดยเวลารีบร้อน ขาดความบ้างเหลือบ้างประการใด ขอให้ท่านตริตรองดูบ้าง แต่ใจความตรงอยู่ดังนั้น ขอท่านได้ส่งไปถึงคุณพระประชาคดีกิจโดยเร็ว ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด แลท่านต้องเข้าใจว่าใบบอกในเรื่องนี้ทุกฉบับ เป็นไปรเวต ไม่ควรให้หัวเมืองทราบเต็มความ ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าได้บอกมา ๔ ฉบับนี้แล้ว---"

    กจช. ฝ. (?) สำเนาที่ ๑๔๕๘  หลวงพิพิธสุนทธร ถีง หลวงเทเพนทร์ ลงวันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 14:54

จัดระเบียบข้อความใหม่  ให้เข้าใจง่ายขึ้นหน่อยค่ะ    ว่าเกิดอะไรขึ้นที่เมืองเชียงแตง  เมื่อฝรั่งยกกองทัพเลยขึ้นมาตามลำน้ำโขง ขึ้นมาทางดอน (หมายถึงขึ้นบก?)

๑  ท่านข้าหลวงเมืองเชียงแตง เห็นฝรั่งเศสยกพลมา  สั่งเกณฑ์คนเมืองธารา หากรมการเมืองก็ไม่พบ หายหัวไปกันหมด 
๒  พบแต่ข้าราชการ ๒ คน ชื่อหลวงต่างใจคนหนึ่ง กับพระคลังคนหนึ่ง ก็สั่งให้ไปรวบรวมเกณฑ์คนเพื่อที่จะออกรับศึกฝรั่งไว้
    ฝรั่งเศสมา ๗ โมงเช้า  สั่งอยู่จน ๑๑ โมงเช้า  ก็ไม่ได้ไพร่พล  แสดงว่าข้าราชการ ๒ คนนั่นรับคำสั่งแล้วไม่ทำ  หรือไม่ก็พยายามสั่งการไปแล้วแต่ชาวเมืองหายตัวหมด  เลยเกณฑ์ไม่ได้
๓  ข้าราชการที่พลอยหายตัวไปด้วยอีกคน คือพลาธิการของเมือง หรือเรียกในที่นี้ว่า "ผู้รักษาฉางหลวง"    หายไม่หายเปล่า   หอบเอาข้าวในยุ้งฉางติดไปด้วย
๔  ที่หายไปอีกฝ่ายคือพนักงานฝ่ายสื่อสาร  เรียกว่าผู้ส่งใบบอก 
  ท่านข้าหลวงหาพนักงานสื่อสารเพื่อจะให้ส่งใบบอกไปเตือนเมืองอื่นๆใกล้เคียง   พนักงานสื่อสารไม่เหลือติดเมือง       ไม่มีใครทำหน้าที่นี้ได้
๕  ในออฟฟิศท่านข้าหลวงเชียงแตง  ขนาดเรียกประชุมด่วนเพราะเกิดเรื่องใหญ่ ข้าศึกมาจ่ออยู่ประตูบ้าน  ปรากฏว่ามีที่ปรึกษาโผล่มาให้เห็นหน้า  ๑๒-๑๓ คนเท่านั้น
    ในบรรดาผู้คนหรอมแหรมแค่นี้   พอส่งอาวุธปืนให้ ยังอิดเอื้อนไม่อยากรับปืน  ต้องสั่งบังคับให้ถือเอาไว้   ให้บรรจุกระสุนก็ไม่ทำ  ถือปืนงงๆอยู่ยังงั้น   หนักเข้าไม่อยากตายเลยวางปืนลง วิ่งหนีออกไปเสียดื้อๆ
     มีอยู่แต่กรมการผู้ใหญ่สามนายเท่านั้นที่นั่งอยู่ปรกติ 
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 15:01

หลวงเทเพนทร์ ก็มีปัญหาเดียวกันกับหลวงพิพิธสุนทร คือปัญหาเรื่องไพร่พล, ศาสตราวุธ และเสบียงอาหาร ดังปรากฏในใบบอกของหลวงเทเพทร์ ถึง พระประชาคดีกิจ ลงวันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ ว่า "---ด้วยข้าพเจ้ากราบลาคุมกำลังยกออกจากเมืองสีธันดร วันที่ ๒ เมษายน เวลาบ่าย ๔ โมงเสศ ตามบอกของข้าพเจ้า ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ ข้าพเจ้าไปถึงบ้านด่านคอนวันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ เวลาเช้าโมงเสศ ได้เรียกเพี้ยปัญญาพิจิตรนายด่านมาตรวจบาญชีคนกองด่านก็หาได้ตัวพร้อมไม่ ที่มีอยู่ชายฉกรรจ์ ๔๑ คนก็ภากันมีใจระส่ำระสาย ไม่เป็นปรกติ จะหาปืนชะเลยสัก(ปืนเถื่อน) สำหรับบ้านก็ไม่มี ข้าพเจ้าได้ตรวจดูเข้า(ข้าว)ค่าหางนาที่เก็บแก่คนกองด่านยกไว้สำหรับมีราชการที่ด่าน มีเข้าเปลือก ๒๐๐ ถังเสศ ได้เกณฑ์ขอแรงคนสีซ้อม ถ้าเป็นเข้าสารแล้วก็คงอยู่เพียง ๑๐๐ ถัง คน ๒๐๐ คนรัปทานได้เพียง ๑๐ วัน ถ้ามีราชการมากก็ต้องจะเข้าที่เมืองสีธันดรส่งไปจึงจะทันการ ครั้นข้าพเจ้าจะล่องเลยลงไปเมืองเชียงแตงเป็นการเร็วเห็นจะไม่ได้ เพราะการที่ด่านคอน พวกไพร่ก็รวนเรตามกัน ประการหนึ่งช่องทางที่หมู่ปัจจามิตรจะขึ้นก็ไม่มีที่กีดกันอย่างใด ถ้าพวกฝรั่งเศสขึ้นมาก็จะล่วงเลยได้โดยสดวก---"
(กจช. ฝ. (?) สำเนา ๑๔๕๙ ที่ ๔/๔ หลวงเทเพนทร์ ถึงพระประชาฯ คดีกิจ ลงวันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)

ดังนั้นหลวงเทเพนทร์ จึงวางแผนต่อต้านพวกฝรั่งเศสดังต่อไปนี้ ด้วยเหตุที่บริเวณของสีทันดอนจะมีน้ำตก(แก่ง)พาดกลางแม่น้ำโขงซึ่งตามปกติแล้วจะไม่มีทางที่จะข้ามน้ำตกเหล่านี้ไปได้ ดังนั้นหลวงเทเพนทร์จะตั้งแนวป้องกันสีทันดอนดังนี้

"---ข้าพเจ้าจึ่งให้ราชวงษ์ ท้าวขัติยราช ท้าวศรีสุราช กรมการคุมไพร่ยกจากบ้านด่านคอน ไปตั้งอยู่ดอนสะดำ เกณฑ์ตั้งค่ายน่ากระดานถมเชิงเทินขึ้นไว้ภอจะได้รับป้องกันพวกฝรั่งเศสที่ทางขึ้นตำบลหนึ่งให้เป็นที่ลง ข้าพเจ้ายังจัดการอยู่ที่คอน วันที่ ๔ จี่งจะยกไป ข้าพเจ้าได้แต่งให้ขุนพิทักษ์กองด่านกับไพร่ ๒ คนลงเรือน้อย มีแหสำหรับเหมือนคนเที่ยวหาปลาให้ถือหนังสือตอบไปยังหลวงพิพิธ เมืองธาราบริวัตรใจความชี้แจงโดยละเอียด แลว่าข้าพเจ้าเกณฑ์กำลังทหารแลไพร่พลเมืองได้คน ๒๐๐ ยกแต่เมืองสีธันดร วันที่ ๒ เมษายน เวลาบ่าย เมื่อหนังสือไปถึง ข้าพเจ้าจะมาพักจัดการตั้งค่ายที่ดอนสะดำให้เป็นที่มั่นคง เตรียมเสบียงอาหารไว้แล้วจะรีบยกมาช่วยหลวงพิพิธคิดการชั้นต้นนี้ก่อน ให้ตริตรองประคองการเหนี่ยวหน่วงถ่วงเวลาให้ดีกว่าจะได้กำลังเพิ่มเติมแลฟังบังคับบัญชาท่านอธิบดีจะได้คิดทำการต่อไป ได้ให้ขุนพิทักษ์มาสืบราชการ ให้หลวงพิพิธสุนทรรีบชี้แจงไปให้ทราบโดยเร็ว ความแจ้งอยู่ในหนังสือที่ข้าพเจ้ามีไปยังหลวงพิพิธ ได้คัดสำเนาสอดซองส่งมาด้วยแล้ว กับได้สั่งขุนพิทักษ์ว่าถ้าเหนพวกฝรั่งเศสยกกำลังขึ้นมา ก็ให้ขุนพิทักษ์รีบล่วงน่าขึ้นมาให้ทราบเป็นการเร็ว ถ้าฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนขึ้นมา ทัพเจ้าจะว่ากล่าวห้ามไว้ ขืนอุกอาจไม่ฟังประการใด จำเป็นจะต้องรับพระราชทานต่อต้านด้วยกำลังไว้ชั้นหนึ่งภอชามือ แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ ข้าพเจ้าจะรอฟังในวันสองวัน ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร ควรจะต้องคิดจัดการประการใดข้าพเจ้าจะขอพระราชทานทำไปตามสมควร เมื่อจัดกำลังเพิ่มเติมลงไปโปรดบังคับประการใด ข้าพเจ้าจะฉลองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลัง แต่ในชั้นต้นนี้จะไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ข้าพเจ้ามีทหารแลกรมการนายไพร่ยกไปแต่ ๒๐๐ คน เหนจะไมภอกำลัง ข้าพเจ้าได้มีหนังสือมายังคุณผาดมหาดเล็ก กับอุปฮาดผู้รักษาเมืองให้รีบเกณฑ์คนกำลังเหนือเมืองสีธันดร พร้อมด้วยปืนอาวุธครบมือ ๔๐๐ คน มีเข้าเสบียงคนละสิบทนาน ประจำตัว ให้กรมการผู้ใหญ่คุมลงไปตั้งรักษาราชการที่ด่านคอนอีกพวกหนึ่ง แต่คนใต้เมืองเป็นที่ใกล้ต้องรอไว้เรียกเมื่อหนักหนา กับให้จัดลำเลียงเสบียงอาหารส่งให้ทันจึ่งจะภออุดหนุนต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (เซ็น) หลวงเทเพนทร์ ---"
"---ข้าพเจ้าจึ่งให้ราชวงษ์ ท้าวขัติยราช ท้าวศรีสุราช กรมการคุมไพร่ยกจากบ้านด่านคอน ไปตั้งอยู่ดอนสะดำ เกณฑ์ตั้งค่ายน่ากระดานถมเชิงเทินขึ้นไว้ภอจะได้รับป้องกันพวกฝรั่งเศสที่ทางขึ้นตำบลหนึ่งให้เป็นที่ลง ข้าพเจ้ายังจัดการอยู่ที่คอน วันที่ ๔ จี่งจะยกไป ข้าพเจ้าได้แต่งให้ขุนพิทักษ์กองด่านกับไพร่ ๒ คนลงเรือน้อย มีแหสำหรับเหมือนคนเที่ยวหาปลาให้ถือหนังสือตอบไปยังหลวงพิพิธ เมืองธาราบริวัตรใจความชี้แจงโดยละเอียด แลว่าข้าพเจ้าเกณฑ์กำลังทหารแลไพร่พลเมืองได้คน ๒๐๐ ยกแต่เมืองสีธันดร วันที่ ๒ เมษายน เวลาบ่าย เมื่อหนังสือไปถึง ข้าพเจ้าจะมาพักจัดการตั้งค่ายที่ดอนสะดำให้เป็นที่มั่นคง เตรียมเสบียงอาหารไว้แล้วจะรีบยกมาช่วยหลวงพิพิธคิดการชั้นต้นนี้ก่อน ให้ตริตรองประคองการเหนี่ยวหน่วงถ่วงเวลาให้ดีกว่าจะได้กำลังเพิ่มเติมแลฟังบังคับบัญชาท่านอธิบดีจะได้คิดทำการต่อไป ได้ให้ขุนพิทักษ์มาสืบราชการ ให้หลวงพิพิธสุนทรรีบชี้แจงไปให้ทราบโดยเร็ว ความแจ้งอยู่ในหนังสือที่ข้าพเจ้ามีไปยังหลวงพิพิธ ได้คัดสำเนาสอดซองส่งมาด้วยแล้ว กับได้สั่งขุนพิทักษ์ว่าถ้าเหนพวกฝรั่งเศสยกกำลังขึ้นมา ก็ให้ขุนพิทักษ์รีบล่วงน่าขึ้นมาให้ทราบเป็นการเร็ว ถ้าฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนขึ้นมา ทัพเจ้าจะว่ากล่าวห้ามไว้ ขืนอุกอาจไม่ฟังประการใด จำเป็นจะต้องรับพระราชทานต่อต้านด้วยกำลังไว้ชั้นหนึ่งภอชามือ แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ ข้าพเจ้าจะรอฟังในวันสองวัน ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร ควรจะต้องคิดจัดการประการใดข้าพเจ้าจะขอพระราชทานทำไปตามสมควร เมื่อจัดกำลังเพิ่มเติมลงไปโปรดบังคับประการใด ข้าพเจ้าจะฉลองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลัง แต่ในชั้นต้นนี้จะไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ข้าพเจ้ามีทหารแลกรมการนายไพร่ยกไปแต่ ๒๐๐ คน เหนจะไมภอกำลัง ข้าพเจ้าได้มีหนังสือมายังคุณผาดมหาดเล็ก กับอุปฮาดผู้รักษาเมืองให้รีบเกณฑ์คนกำลังเหนือเมืองสีธันดร พร้อมด้วยปืนอาวุธครบมือ ๔๐๐ คน มีเข้าเสบียงคนละสิบทนาน ประจำตัว ให้กรมการผู้ใหญ่คุมลงไปตั้งรักษาราชการที่ด่านคอนอีกพวกหนึ่ง แต่คนใต้เมืองเป็นที่ใกล้ต้องรอไว้เรียกเมื่อหนักหนา กับให้จัดลำเลียงเสบียงอาหารส่งให้ทันจึ่งจะภออุดหนุนต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (เซ็น) หลวงเทเพนทร์ ---"
"---ข้าพเจ้าจึ่งให้ราชวงษ์ ท้าวขัติยราช ท้าวศรีสุราช กรมการคุมไพร่ยกจากบ้านด่านคอน ไปตั้งอยู่ดอนสะดำ เกณฑ์ตั้งค่ายน่ากระดานถมเชิงเทินขึ้นไว้ภอจะได้รับป้องกันพวกฝรั่งเศสที่ทางขึ้นตำบลหนึ่งให้เป็นที่ลง ข้าพเจ้ายังจัดการอยู่ที่คอน วันที่ ๔ จี่งจะยกไป ข้าพเจ้าได้แต่งให้ขุนพิทักษ์กองด่านกับไพร่ ๒ คนลงเรือน้อย มีแหสำหรับเหมือนคนเที่ยวหาปลาให้ถือหนังสือตอบไปยังหลวงพิพิธ เมืองธาราบริวัตรใจความชี้แจงโดยละเอียด แลว่าข้าพเจ้าเกณฑ์กำลังทหารแลไพร่พลเมืองได้คน ๒๐๐ ยกแต่เมืองสีธันดร วันที่ ๒ เมษายน เวลาบ่าย เมื่อหนังสือไปถึง ข้าพเจ้าจะมาพักจัดการตั้งค่ายที่ดอนสะดำให้เป็นที่มั่นคง เตรียมเสบียงอาหารไว้แล้วจะรีบยกมาช่วยหลวงพิพิธคิดการชั้นต้นนี้ก่อน ให้ตริตรองประคองการเหนี่ยวหน่วงถ่วงเวลาให้ดีกว่าจะได้กำลังเพิ่มเติมแลฟังบังคับบัญชาท่านอธิบดีจะได้คิดทำการต่อไป ได้ให้ขุนพิทักษ์มาสืบราชการ ให้หลวงพิพิธสุนทรรีบชี้แจงไปให้ทราบโดยเร็ว ความแจ้งอยู่ในหนังสือที่ข้าพเจ้ามีไปยังหลวงพิพิธ ได้คัดสำเนาสอดซองส่งมาด้วยแล้ว กับได้สั่งขุนพิทักษ์ว่าถ้าเหนพวกฝรั่งเศสยกกำลังขึ้นมา ก็ให้ขุนพิทักษ์รีบล่วงน่าขึ้นมาให้ทราบเป็นการเร็ว ถ้าฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนขึ้นมา ทัพเจ้าจะว่ากล่าวห้ามไว้ ขืนอุกอาจไม่ฟังประการใด จำเป็นจะต้องรับพระราชทานต่อต้านด้วยกำลังไว้ชั้นหนึ่งภอชามือ แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ ข้าพเจ้าจะรอฟังในวันสองวัน ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร ควรจะต้องคิดจัดการประการใดข้าพเจ้าจะขอพระราชทานทำไปตามสมควร เมื่อจัดกำลังเพิ่มเติมลงไปโปรดบังคับประการใด ข้าพเจ้าจะฉลองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลัง แต่ในชั้นต้นนี้จะไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ข้าพเจ้ามีทหารแลกรมการนายไพร่ยกไปแต่ ๒๐๐ คน เหนจะไมภอกำลัง ข้าพเจ้าได้มีหนังสือมายังคุณผาดมหาดเล็ก กับอุปฮาดผู้รักษาเมืองให้รีบเกณฑ์คนกำลังเหนือเมืองสีธันดร พร้อมด้วยปืนอาวุธครบมือ ๔๐๐ คน มีเข้าเสบียงคนละสิบทนาน ประจำตัว ให้กรมการผู้ใหญ่คุมลงไปตั้งรักษาราชการที่ด่านคอนอีกพวกหนึ่ง แต่คนใต้เมืองเป็นที่ใกล้ต้องรอไว้เรียกเมื่อหนักหนา กับให้จัดลำเลียงเสบียงอาหารส่งให้ทันจึ่งจะภออุดหนุนต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (เซ็น) หลวงเทเพนทร์ ---"
(กจช. ฝ. (?) สำเนา ๑๔๕๙ ที่ ๔/๔ หลวงเทเพนทร์ ถึงพระประชาฯ คดีกิจ ลงวันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 15:14

  ในเมื่อสภาพในเมืองเชียงแตงเป็นแบบนี้  จึงไม่น่าแปลกใจว่าทหารฝรั่งเศสเดินลอยชายขึ้นจากเรือเข้ามาถึงจวนท่านข้าหลวง อย่างสะดวกง่ายดายยิ่งกว่าขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเสียอีก   ไม่ต้องเปลืองแรงสะกดผู้คน
   จากนั้นฝรั่งก็สั่งให้เจ้าเมืองออกจากเมืองไปซะดีๆ ถ้าไม่อยากตาย    เจ้าเมืองท่านก็เป็นคน practical พอสมควรในสถานการณ์เช่นนี้    คงเห็นว่าดื้อดึงไม่ยอมทำ ก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น มีแต่ตายกับตาย เพราะบรรดาข้าราชการชาวบ้านร้านถิ่นเผ่นหนีออกจากเมืองเข้าป่านอกเมืองกันไปหมดแล้ว   ท่านก็เลยยอมออกจากเมือง
   แต่ท่านก็หวังว่าเมืองอื่นๆ รู้ข่าวอาจจะยกพลมาช่วยตั้งรับฝรั่งได้  หรือไม่ออกจากเมืองแล้ว ไปหากำลังคนมาได้จากนอกเมืองก็ค่อยว่ากันอีกที
   ท่านก็ส่งสารฉบับนี้ไปขอกำลังพลจากคุณพระเทเพนทรเจ้าเมืองศรีทันดร  เพื่อจะกลับไปสู่ฝรั่งชิงเมืองเชียงแตงกลับมา  ท่านยังบอกด้วยว่าอาวุธที่มีอยู่ก็น้อยเต็มที แถมยังมีคุณภาพเหมือนแท่งเหล็กเปล่าๆ คือยิงไม่ออก
   ตอนท้าย เนื้อความบอกให้รู้ว่าข้าหลวงผู้เขียนหนังสือฉบับนี้กับพระเจริญ เจ้าเมืองเชียงแตง ไม่ถูกกัน  เพราะคุณพระเจริญเองก็อยู่ในเมืองเชียงแตง แต่ไม่ได้ช่วยเหลือ แถมยังส่งคนมาสืบความตอนท่านข้าหลวงถูกไล่ออกจากเมืองเสียอีก    อ้างว่ามาทวงขวดน้ำมัน(?) แต่ความจริงสั่งคนมาตามให้ไปพบ แต่ท่านข้าหลวงแคลงใจเสียแล้วเลยไม่ไป

    สรุปแล้ว ก็ได้ความว่าเมืองเชียงแตงนั้นไม่ได้ตระเตรียมการสู้รบ หรือแม้แต่ตั้งรับ    ชาวเมืองกับฝ่ายปกครองอยู่กันคนละส่วน  ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน    พอเห็นฝรั่งนั่งเรือมาชาวบ้านก็เผ่นหนีออกจากเมืองไปซุ่มซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขานอกเมืองกันหมด    ข้าราชการบางคนหูไวตาไวรู้จากชาวบ้าน ก็พลอยเผ่นหนีออกจากเมืองเอาตัวรอดไปด้วย
    ตัวข้าราชการใหญ่ๆคือข้าหลวงกับข้าราชการระดับซี.สูงๆของเมือง นั่งงงไม่รู้เรื่อง   ฝรั่งก็เลยเดินขึ้นจากเรือมาถอดจากหน้าที่การงานไล่ออกจากเมืองไปง่ายๆ   ไม่ต้องเสียเวลาสู้รบ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 15:32

ดอนแปลว่าเกาะครับ อย่างเช่นดอนเดช ดอนสาคอน ดอนสะดำ ฯลฯ ครับ

หลวงเทเพนทร์ส่งท้าวขัติยราช ท้าวศรีสุราช เกณฑ์คนไปตั้งค่ายที่ดอนสะดำ ขุดดินถมขึ้นมาเป็นกำแพงสูง ขึ้นเพื่อกันไม่ให้ฝรั่งเศสบุกขึ้นดอนสะดำได้ ง่ายๆ บวกกับดอนสะดำมีตลิ่งสูงชัน ยากที่ทหารฝรั่งเศสจะปีนป่ายขึ้นไปได้ง่ายๆ  ท้าวขัติยราชกับท้าวศรีสุราชน่าจะเป็นลาว แต่จะเป็นคนลาวที่อยู่ที่สีทันดอนหรือเปล่าผมก็ไม่รู้ หวังว่าพวกเราคงจะเสาะหามาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

รูปที่ผมลงมาคือรูปของดอนสะดำครับ ตลิ่งของดอนสูงจนผมถอดใจไม่ได้ปีนขึ้นไปดูครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 15:54

ในค.ห. 615  เห็นวันที่ลงถี่ยิบติดๆกัน
ขอเรียนถามท่าน cinephile ว่าหลวงเทเพนทรรู้หรือยังว่าหลวงพิพิธ ข้าหลวงเมืองเชียงแตง ถูกฝรั่งเศสไล่ออกจากเมือง กลายเป็นเจ้าไม่มีศาลไปแล้ว
เพราะเห็นบอกว่า 
"ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร"
ถ้าเข้าเมืองก็คงไม่เจอคุณหลวงพิพิธ  ท่านออกจากเมืองไปรวบรวมผู้คนอยู่สักพัก    จากนั้นคงจะเดินทางมาเมืองสีทันดร เพื่อสมทบกำลังกับหลวงเทเพนทร 
ก็เลยยังไม่เข้าใจตอนนี้ค่ะ ว่าสองคนนี้รู้เรื่องกันหรือยังว่าฝรั่งเศสยึดเมืองแล้ว
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 16:00

คำถามของคุณหญิงผมยังไม่แน่ใจนัก
แต่ขอต่อการรบที่ดอนคอนครับ

ส่วนหลวงเทเพนทร์พาทหารไปตั้งรับที่ท่าสนามกับท่าท้ายคอน
ครับ เพราะเป็นที่เหมาะในการยกพลขึ้นบก

"   "---ข้าพเจ้าได้เตรียมการคอยรบสู้ แต่คนหามีอาวุธครบมือไม่ ในบัดนี้ท้าวไชยราชถือหนังสือหลวงพิพิธสุนทร มาถึงข้าพเจ้าฉบับ๑ กับนายร้อยโทคร้ามมีหนังสือนำกำชับ มาถึงเมืองเซสำเภา ให้จัดเรือไว้รับส่งหนังสือฉบับ ๑ ข้าพเจ้าได้ตรวจดู ทราบความโดยลเอียดทุกประการแล้ว กำลังนี้เวลาค่ำทุ่มเศษ ข้าพเจ้ากับทหารซุ่มอยู่ที่ปากทางจะขึ้นมาจากท่าสนามแลท่าท้ายคอน ถ้าขึ้นมาในเวลากลางคืนก็ได้รบกันในกลางคืน ขอจงรีบเกณฑ์กองทัพไปช่วยโดยเร็ว การเข้มแขงนัก ข้าพเจ้าได้ส่งต้นฉบับหนังสือมาด้วย-
     (กจช. ฝ. (?) ที่ ๕/๕ (สำเนาที่ ๑๔๖๐ หลวงเทเพนทร์ ถึงพระประชาฯ คดีกิจ วันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)

ที่ท่าสนามกับท่าท้ายคอนจะเป็นบริเวณที่ใช้ซุ่มโจมดี เพราะขึ้นจากแม่น้ำจะต้องข้ามชายหาด ซึ่งเลยจากหาดจะเป็นเนินสูง
ที่ทหาร(ไทย)สามารถซุ่มยิงลงมาได้ (นั่นถ้าฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่นั่น)



บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 16:07

ภาพที่คือเนินที่หลวงเทเพนทร์สามารถยิงลงมาที่พวกฝรั่งเศสครับ (คิดว่าน่าจะเป็น
เช่นนั้น เพราะที่ท่าสนามก็มีเนินนี่แหละที่หลวงเทเพนทร์จะซุ่มได้ขอรับ


บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 16:30

แต่ฝรั่งเศสไม่โง่นักเพราะเดาว่าไทยจะต้องตั้งรับที่ดอนสะดำหรือจึงหาทางหลีกเลี่ยงกับดัก
ของหลวงเทเพทร์โดยการแอบเข้ามาระหว่างดอนสะดำกับท้ายสนามที่หลวงเทเพนทร์ซุ่มอยู่
เข้ามาขึ้นบกที่ดอนละงา หลวงเทเพนทร์รีบย้ายทหารของเขามาตรึงที่ดอนละงาแต่ก็สายเกินไป
เพราะฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 16:37

รออ่านว่าหลวงเทเพนทรฯ ทำรายงานถึงนาย  เล่าเหตุการณ์ตอนปะทะกับฝรั่งเศสว่าอย่างไร ค่ะ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 17:14

เดี๋ยวให้ผมค้นหาว่าหลวงเทเพนทร์รายงานถึงนายว่าอย่างไร

ฝรั่งเศส ยกทหารมาประมาณ 400 คน มาด้วยเรือ 26 ลำ เข้าจอดที่ดอนละงา พบหลวงเทเพนทรเทพ ซึ่งคุมกำลังไปสะกัดอยู่ทางนั้นหลวงเทเพนทรเทพ จึงเข้าไปไต่ถามฝรั่งเศส และห้ามไม่ให้ฝรั่งเศส ยกทหารเข้ามาในพระราชอาณาเขตสยาม  ฝรั่งเศสหายอมไม่ กลับบอกว่า ตำบลเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศส ให้หลวงเทเพนทรเทพ ถอยไปเสีย ถ้าไม่ถอย ฝรั่งเศสจะรบทันที ทั้งได้เป่าแตรเรียกทหาร เตรียมรบแล้วด้วยหลวงเทเพนทรเทพเห็นว่า ฝรั่งเศสไม่ยอมทำตามคำห้ามปราม กับทั้งเตรียมทหารจะรบด้วยเช่นนี้ หลวงเทเพนทรเทพ จึงได้ถอยทหารมาอยู่ดอนสม รอฟังคำสั่งของพระประชาคดีกิจต่อไป

จะทะเลาะกับทหาร 400 คนอาวุธครบมือก็ยากอยู่นะครับคุณหญิง
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 08 มี.ค. 18, 17:18

โทรเลชของขุนวิชิตชลหาญ ข้าหลวงเมืองจำปาศักดิ์ ส่งหนังสือไปกราบทูลพระน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรว่า
"---ว่าฝรั่งเศษคุมทหารขึ้นมาแย่งเอาดอนลิผี ได้วันที่ ๔ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ คนลาวแตกหนี หลวงเทเพนทร์กับทหาร ๒๐ คน ละถอยมาตั้งอยู่ที่ดอนสม ห่างกันประมาณ ๑๐๐ เส้น"
(กจช. ฝ. (?) สำเนาที่ ๑๔๖๕ ขุนวิชิตชลหาร ทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร วันที่ ๙ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)

ส่วนทหารฝรั่งเศสก็ยกพลขึ้นบกเดินแล้วเดินเป็นขบวนทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่ดอนคอน(สาคร) ครั้นพระประชาคดีกิจ ได้รับรายงานจากหลวงเทเพนทรเทพแล้ว พระประชาคดีกิจจึงได้เตรียม โปรเตสสำหรับที่จะยื่นแก่ฝรั่งเศส แล้วลงเรือเล็กไปหาฝรั่งเศส ณ ค่ายดอนสาคร ถามได้ความว่า นายทหารฝรั่งเศสที่เป็นแม่ทัพมานั้นชื่อ เรซิดัง โปลิติค กอมมันดัง มิลิแตร ให้มารักษาเมืองสีทันดรและแก่งหลี่ผี พระประชาคดีกิจ จึงขอร้องให้ถอยทัพไปเสียจากพระราชอาณาเขต เพราะว่าที่นี่ เป็นพระราชอาณาเขตสยาม แม่ทัพฝรั่งเศสตอบว่า "ที่ตำบลนี้ ราชทูตไทยที่กรุงปารีส และรัฐบาลสยาม ยกให้ฝรั่งเศสแล้ว ฝรั่งเศสจึงได้มาตั้งรักษาจะขับไล่ให้กลับนั้น ไม่ยอมกลับ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเมืองไทย อยู่รักษาด่านของฝรั่งเศสต่างหาก  ขอให้พระประชาฯ ฯ. ยกกำลังไปเสีย" พระประชาฯ ตอบว่า "ยังไม่ได้รับคำสั่งจากกรุงเทพ ยังไปไม่ได้ ให้ฝรั่งเศสถอยทหารไปก่อน" ฝรั่งเศสหายอมไม่ พระประชาฯ  จึงยื่นโปรเตส ไว้ต่อนายทัพฝรั่งเศส พระประชาฯ สังเกตดูมีทหารญวนประมาณ ๓๐๐ เศษ ตั้งรักษาด่านแข็งแรง กับพระปะชาทราบว่า ทัพบกยกเติมเข้ามาทางด่านจะหลับ จะมาเมืองสีทันดรทีเดียว พลเมืองแตกหนีเสียเป็นอันมาก ปืนกระสุนดินดำ ก็เบาบาง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง