เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 22105 ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 03 มี.ค. 18, 20:34

ผมยังงงๆอยู่นะครับคุญ Siamese ที่ว่าหลวงเทเพนทร์ตายศักราช ๑๒๔๘ (พศ. ๒๔๒๙)จากราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓ แผ่นที่ ๑๘ หน้า ๑๔๑ วันอาทิตย์ เดือนเก้า ขึ้นสองค่ำ ปีจออัฐศก ๑๒๔๘

แต่ตอนรศ.๑๑๐ มีหลักฐานระบุว่าหลวงเทเพนทร์เป็นข้าหลวงเมืองศรีธันดร
พฤติการณ์ของฝรั่งเศสตามที่ปรากฏในรายงานแต่ละฉบับ กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงมีความเห็นว่า ฝรั่งเศสมุ่งคุกคามหัวเมืองชายแดน โดยใช้กำลังข่มขู่ไทยมากยิ่งขึ้น จึงทรงเตรียมป้องกันชายแคน โดยทรงจัดข้าหลวงไปประจำตามด่านต่าง ๆ และโปรดให้เตรียมเสบียงอาหารไว้เพียงพอแก่ความต้องการ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
๑.   ให้หลวงเทเพนท์ไปจัดตั้งป้อมค่ายและเป็นผู้จัดการด่านชั้นในที่แก่งหลี่ผี
๒.   ให้ท้าวเพี้ยเมืองสีทันดร ไปปลูกยุ้งฉางและปลูกพลับพลาที่เมืองสีทันดร
๓.   ให้หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) ไปจัดซื้อข้าวขึ้นฉางที่เมืองสุรินทร์
๔.   ให้นายสุดจินดา (เลี่ยม ณ นคร) ไปจัดซื้อข้าวและประจำราชการเมืองกาฬสินธ์
๕.   ให้พระศรีพิทักษ์ ข้าหลวงขุขันธ์ ไปต่อสายโทรเลขและตรวจราชการเมืองเสียมราฐ และให้กรมการเมืองขุขันธ์ ตัดทางเพื่อต่อสายโทรเลข ตั้งแต่เมืองขุขัณธ์ไปจนถึงเมืองอุบลราชธานี

  กจช. ม. ๖๒.๑/๓๒ ใบบอกที่ ๖ พระประชาฯ คดีกิจ กราบทูล กรมพระพิชิตปรีชากร ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐

หรือว่ามีหลวงเทเพนทร์หลายคน คุณSiamese มีความเห็นอย่างไรครับ


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 16:05


ตามรอยหลวงเทเพนทร์


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 16:13


แผนที่การรบสมรภูมิดอนสม รศ.112   (13-22 July 1893)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 23:01


หลวงเทเพนทร์ น่าจะเสียชีวิตในที่รบ ค่ายดอนสม เช้าวันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ. 112 ครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 01:25


ตามรอยหลวงเทเพนทร์ต่อครับ
น่าจะอายูมากกว่าพระประชาคดีกิจเล็กน้อยครับ (เป็นตุณหลวงก่อน)


โปรดเกล้า ฯ ให้พระพิศณุเทพ (ช่วง) ข้าหลวงที่ ๒ ขึ้นไปเปลี่ยนพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ณเมืองนครจำปาศักดิ แลโปรด ให้หลวงสุเทพนุรักษ์ หลวงเทเพนทรเทพ หลวงบุรินทามาตย์ หลวงเทพนเรนทร์ ขุนมหาวิไชย ขุนวิชิตชลหาร เปนข้าหลวงผู้ช่วยไปด้วยพระพิศณุเทพ ๆ กับข้าหลวงผู้ช่วยไปถึงนครจำปาศักดิ เมื่อมิถุนายน ร.ศ. ๑๐๙

พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) มอบราชการเสร็จแล้ว ได้เดินจากนครจำปาศักดิ กลับมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือนกรกรฎาคม ร.ศ. ๑๐๙


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 20:51

ได้ความรู้เพิ่มจากกระทู้เก่าอีกนิดหน่อย ว่า 
๑ หลวงเทเพนทร์ (ถนอม อินทุสูต)กับคุณนายนวม ภรรยา มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อจำเริญ ต่อมาสมรสกับพระยาโบราณราชธานินทร์    คุณหญิงจำเริญได้รับพระราชทานเครื่องราชจุลจอมเกล้าชั้นตติยจุลจอมเกล้าฯ  มีบุตรธิดากับพระยาโบราณฯด้วยกัน ๕ คน
๒  ยังมีหลวงเทเพนอีกคนหนึ่งชื่อเดิมว่า หง มีบ้านอยู่ตรงกับประตูช่องกุดทาง ทิศตวันออกเฉียงเหนือ

จะพยายามรวบรวมให้ว่า มีหลวงเทเพนทรฯ กี่คนกันแน่ ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 10:10

ได้มาอีกภาพหนึ่ง เผื่อท่าน cinephile จะยังไม่เคยเห็น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 10:45

เมื่อวานนี้ ด้วยความประมาท  พิมพ์ลงช่องข้อความแทนที่จะพิมพ์ลง notepad   คลิกผิดทีเดียว หายหมด กู้คืนไม่ได้
ต้องก้มหน้าก้มตาพิมพ์ใหม่


หน้าที่การงานของหลวงเทเพนทร์ คือ เจ้ากรมมหาดไทยตำรวจภูบาล ฝ่ายขวา คู่กับหลวงธรเณรท์ เจ้ากรมมหาดไทยตำรวจภูบาล ฝ่ายซ้าย

หลวงเทเพนทร์ เท่าที่รวบรวมได้ คือ
หลวงเทเพนทร์คนที่ ๑   ประวัติงานแย่มาก   เห็นข้าศึกใกล้เข้ามายังไม่ทันรบ ก็ใจฝ่อหนีเอาดื้อๆ  ท่าน cinephile ไม่ได้บอกว่าเป็นการรบครั้งไหน   รู้ว่าอยู่ในรัชกาลที่ ๕
หลวงเทเพนทรคนที่ ๒   อยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ออกเดินทางไปตรวจทางโทรเลขที่เมืองขุขันธ์   ป่วยเป็นไข้ถึงแก่กรรม เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๙
สองคนนี้อาจเป็นคนเดียวกัน  คือจบบทบาทไปตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๒๙

ต่อมาก็เริ่มบทบาทของหลวงเทเพนทรเทพ  เป็นหนึ่งในผู้ป้องกันเมืองสีทันดร ตอนรศ.๑๑๒  (พ.ศ. ๒๔๓๖)
เช่นตอนที่ฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่ดอนสาคร หลวงเทเพนทรเทพก็มีบทบาทในการสู้รบกับฝรั่งเศส
หลวงเทเพนทร(เทพ) (น่าจะ) เสียชีวิตเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒  (พ.ศ. ๒๔๓๖)
หลวงเทเพนทร(เทพ)  เป็นพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์  ชื่อเดิมว่า ถนอม อินทุสูต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 10:52

บรรดาศักดิ์ เทเพนทร  และ เทเพนทรเทพ น่าจะเป็นบรรดาศักดิ์เดียวกัน   มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา    เดิมเป็นแค่ขุน  ในสมัยหลังจึงเป็น "หลวง"

คุณศรีสรรเพชญเคยเล่าไว้ในกระทู้เก่าว่า

คำว่า 'เจ้าขุนหลวง' ยังพบในพระตำราบรมราชูทิศ เรื่องกัลปนาวัดในเมืองพัทลุง เมื่อปีจอ พ.ศ.๒๑๕๓ รัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมครับ
โดยมีการระบุชื่อขุนนางที่ได้ปรากฏตัวอยู่ตอนทำพระตำรา ซึ่งกล่าวถึงบรรดาศักดิ์ของสมุหพระกลาโหมว่า เจ้าขุนหลวงมหาอำมาตยาธิบดีศรีรักษาองคสมุหพระกลาโหม
และบรรดาศักดิ์ของสมุหนายกคือ  เจ้าขุนหลวงมหาเสนาบธิดีศรีองครักษสมุหนายก (บางฉบับเขียนแค่ เจ้าขุน เข้าใจว่าน่าจะเขียนตกไป)

'สํมเด็จบรมบพิตร(มี)พระราชบันทูล ตรัสแก่ออกพระศรีภูริปรีชญาธิราชเสนาบดีศรีสาลักษณ์ ให้ทำพระดำราแลตราพระราชโองการนี้ต่อหน้าออกพระเสดจสุรินทรราชาธิบดีศรีสุปราช  เจ้าขุนหลวงมหาอำมาตยาธิบดีศรีรักษาองคสมุหพระกลาโหม  เจ้าขุนหลวงมหาเสนาธิบดีศรีองครักษสมุหนายก  ออกพระอินทราธิราชภักดีศรีธรรมราชพระนครบาล  ออกพระบุรินายกราชภักดีศรีรัตนมณเทียรบาล  ออกพระพลเทพราชเสนาบดีศรีไชยนพรัตนเกษตราธิบดี  ออกพระศรี(อัค)ราชอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดี  ออกพระธรรมราชภักดีศรีสมุหสังการีย ออกพระศรีพิพัทราชโกษาธิบดี  พขุนสุเรนธรเทพเสนาบดีศรีกาลสมุดสมุหพระดำรวจ  พขุนสุรินทรราชเสนาบดีศรีเทพณรายสมุหพระดำรวจ  พขุนธรเนนทราเทพพระดำรวจ  พขุนเทเพนทรเทพพระดำรสจ พขุน(พิศ)นูเทพพระดำรวจ  พขุนภาสุเทพพระดำรวจ  พขุนมหามนตรีศรีองครักสมุหพระดำรวจ  พขุนมหาเทพเสบกษัตรพระดำรวจ  พขุนมงคลรัตนราชมนตรีศรีสมุหพระสรรพากร  พขุนอินทรมนตรีศรี(จัน)ทรกุมารสมุหพระสรรพากร  พขุนอินทราทิตยพิพิทรักษาสมุหพระสนม  พขุนจันทราทิพพิพิทรักสาสมุหพระสนม  หัวหมีนหัวพันนายแวงกรมแดงนักมุขทังหลายนงงในวันเดียวนั้น'
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 15:29

ขอบคุณมากครับทุกท่าน แต่บังเอิญตอนนี้ผมกำลัง tour โรงพยาบาลอยู่ครับ เริ่มจาก
ลูกสาวที่เป็นสโตรค ตามด้วยพี่เขยคุณทวีศักดิ์ หัวใจวาย แล้วภรรยาสรพงค์เลือดออก
ในกระเพาะอาหาร ตามมาด้วยลูกสะไภ้ที่เป็นมะเร็งเต้านม และผมเองเข้ามาตรวจในโรงพยาบาล
ครับ
จะคุยต่อเมื่อมีเวลาครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 16:57

ขอเอาใจช่วยให้ผ่านไปด้วยดีครับ
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 18:18

สถานการณ์ชายแดนของไทยในตอนนี้จึงอยู่ในสภาพคับขัน กรมหลวงพิชิตปรีชากรโปรดให้จหมื่นวิไชยยุทธ์
คุมกำลังทหารจากอุบล 1,000 คน ยกไปตั้งรับฝรั่งเศสที่เมืองเขมราฐ และโปรดให้เกณฑ์กำลังเมืองคำทองใหญ่
ไปตั้งรับฝรั่งเศสที่ฝั่งแม่น้ำเซบังเหียน 500 คน (กจช. ฝ.๑๘.๑/๒ สำเนาโทรเลขลับ ล.ค) ปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งกรม
หลวงพิชิตปรีชากรเผชิญอยู่ในขณะนี้คือ กองทัพขาดอาวุธ และขาดประสิทธิภาพในการรบ ดังปรากฎในโทรเลขกรม
หลวงพิชิตปรีชากร ดังนี้ “ข้าศึกมาสองทางคือทางคอนดอน และทางสองคอน คนก็เสียใจด้วยไม่มีอะไรจะต่อสู้ หม่อม
ฉันขอถวายชีวิตสิ้นความคิดอยู่แล้ว” (กจช. ฝ. ๑๘.๒/ สำเนาโทรเลขลับ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทูลกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ
ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒) อีกฉบับส่งมาติดๆ กันมีความว่า “ขอให้ส่งกองทัพอาวุธจากกรุงเทพไปช่วย” กรมหลวงพิชิต
ปรีชากรทรงบรรยายความด้อยสมรภาพของทหารพื้นเมืองไว้ดังนี้ “—-ให้ไปรบแพ้ไมกลับมาเพราะกลัวถูกฆ่า เกรงจะเป็นไส้ศึก”
“—-อนึ่งการอันตรายแก่ราชการครั้งนี้ก็มีนายไพร่ จะไม่ตั้งใจจะต่อสู้กับข้าศึกเหมือนอย่างหลวงเทเพนทร์กับนายร้อยโทเล็ก เห็น
ข้าศึกใกล้เข้ามาก็ทิ้งไพร่หนีเสีย ราชบุตรสารคาม แลท้าวบุตตะวงษ์ ข้าศึกมาไม่ต่อสู้ไม่หนี ยอมให้จับทั้งนายไพร่ ให้มันเอาปืนหลายร้อย”
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๙ สำเนาโทรเลขลับ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทูลกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๒

อันนี้พอจะตอบคำถามของคุณหญิงได้หรือเปล่าครับ พแเดาออกไหมครับว่าหลวงเทเพนทรืท่านนี้เป็นใคร

บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 18:20

ขอบคุณคุณ Navarat มากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 20:24

ขอเอาใจช่วยให้ทุกท่านที่เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ตอนนี้ อาการดีขึ้นจนหายในเร็ววันค่ะ

พอทราบว่าหลวงเทเพนทรฯหนีข้าศึกเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นในร.ศ. 112  (พ.ศ. 2436)   ก็ต้องมาเรียงลำดับกันใหม่

ก่อนหน้าร.ศ. 112  ย้อนหลังไป 7 ปี ตรงกับพ.ศ. 2429  มีข้าราชการคนหนึ่งชื่อหลวงเทเพนทร   ชื่อตัวว่ากระไรไม่ทราบ อาจเป็นได้ว่าชื่อหง ที่มีบ้านอยู่หน้าประตูช่องกุดในกรุงเทพ  
คุณหลวงป่วยไข้ถึงแก่กรรมระหว่างทางที่ไปตรวจทางโทรเลขที่เมืองขุขันธ์  

เมื่อคุณหลวงคนเดิมตาย  ข้าราชการคนอื่นก็ได้เลื่อนตำแหน่งและบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเทเพนทรฯ แทน  
ดังนั้นเหตุการณ์ในปีหลังจาก 2429  ถ้ามีชื่อหลวงเทเพนทรฯเข้าไปเกี่ยวข้อง ขอให้รู้ว่าเป็นคุณหลวงคนใหม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 21:27

     เมื่อพ.ศ. 2434  ก่อนหน้าเหตุการณ์ร.ศ. 112  สองปี   พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงได้รับตำแหน่งข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว   ก็เสด็จไปประจำอยู่ที่นครจำปาศักดิ์   หลวงเทเพนทร์เป็นหนึ่งในขุนนางที่ไปประจำอยู่ทางนั้นด้วย
     หลวงเทเพนทร์ได้รับตำแหน่งเป็นข้าหลวงเมืองศรีธันดร(สีทันดร)  ต่อมาเมื่อศึกกับฝรั่งเศสเริ่มคุกรุ่นขึ้นในหัวเมืองชายแดน   กรมหลวงพิชิตปรีชากร จึงทรงเตรียมป้องกันชายแดน โดยทรงจัดข้าหลวงไปประจำตามด่านต่าง ๆ และโปรดให้เตรียมเสบียงอาหารไว้เพียงพอแก่ความต้องการ
     ในปี 2434 (ร.ศ. 110) หลวงเทเพนท์ได้รับมอบหมายให้ไปจัดตั้งป้อมค่ายและเป็นผู้จัดการด่านชั้นในที่แก่งหลี่ผี  พูดง่ายๆว่าไปเป็นขุนศึกเตรียมพร้อมรบกับฝรั่งเศส
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 19 คำสั่ง