เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 13
  พิมพ์  
อ่าน: 30303 โรงหนังชั้นหนึ่ง stand alone หนึ่งเดียวที่เหลืออยู่กลางกรุงฯ - สกาลา"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 10:47

           "ส่วนตัวแล้วสิ่งที่จดจำได้มากที่สุดคือการแหวกผ้าม่านที่กั้นระหว่างประตูกับโรงภาพยนตร์ มันเปรียบเสมือนธรณีประตูที่เปลี่ยน
ผ่านโลกของความจริงไปสู่อีกโลกหนึ่ง" (ก้อง ฤทธิ์ดี, 2563; https://www.bbc.com/thai/thailand-53275024)
           “เมื่อก่อนนะ คุณเชื่อมั้ย คนนี่ต่อคิวกันยาวมากเลยนะ ถึงกับต้องมีตั๋วผีขายเลย จ่ายแพงหน่อย แต่ไม่ต้องเสียเวลารอ ซื้อแล้วได้ดูเลย...
ตอนผมหนุ่มๆ แต่งตัวแบบนี้ไม่ได้นะ ใส่ขาสั้น รองเท้าแตะไม่ได้เลย คุณต้องสุภาพ ให้เกียรติสถานที่ด้วย” (สมเกียรติ ภวนานันท์, 2014;
 https://www.sarakadee.com/)
           "ทุกวันนี้ เวลาไปสกาลาแล้วเห็นภาพอดีต วันที่พ่อแม่พาเราไปดูหนัง ทั้งบันได โคมไฟ และบรรยากาศมันเหมือนโรงหนังให้เกียรติเรา"
(พัชริดา วัฒนา, 2563; https://www.bbc.com/thai/thailand-53275024)
           “พี่รู้สึกว่าที่นี่มันมีความเก่า คลาสิค มีสไตล์เป็นของตัวเอง ยิ่งพี่เป็นคนชอบอะไรวินเทจอยู่แล้ว ที่นี่ยิ่งตอบโจทย์เลย สกาล่าเป็น
สถานที่ร่วมสมัย มีความคาบเกี่ยวระหว่างความใหม่กับความเก่า โรงหนังแบบนี้หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วละ”
(คณิสสา บูรณเบญญา, 2014; https://www.sarakadee.com/)

               แม้ว่าวันนี้สกาล่าจะไม่ได้ทำหน้าที่ที่เคยทำมาตลอด 50 ปี และกลายเป็นมรดกวัฒนธรรมในความทรงจำไปแล้ว แต่สกาล่านั้น
ยังคงมีตัวตน มีคุณค่าบนพื้นที่ ทั้งทางกายภาพและความทรงจำของผู้คน จัดเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีศักยภาพสูงมากในการบริหารจัดการต่อ
สกาล่าไม่ได้รกร้างเป็นแหล่งโบราณคดีที่ห่างไกลผู้คน ไร้ความทรงจำที่เกี่ยวเนื่อง แต่เต็มไปด้วยอดีตที่ประทับใจ จึงจัดการได้ง่ายกว่า
เพียงแค่ต้องมี “กระบวนการ” และ “ผู้จัดการ” เข้ามาดำเนินงานอย่างจริงจังกันต่อไป

----------------------------------------------
เรื่อง นรุตม์ โล้กูลประกิจ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 14 ก.ค. 20, 10:11

จากมติชนรายสัปดาห์      Save Scala : บทบาทจุฬาเพื่อสร้างวัฒนธรรมร่วมสมัย
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

อ่านเรื่องเต็ม เข้ม,แรงตามสไตล์ได้ที่   https://www.matichonweekly.com/column/article_324200

           อวสานของโรงภาพยนตร์สกาลาเป็นโศกนากฎกรรม เพราะแม้จะเป็นเพียงโรงภาพยนตร์ แต่ อายุที่ยืนยาวครึ่งศตวรรษ
ทำให้สกาลาอยู่ในความทรงจำอย่างน้อยสองชั่วคน ไม่ต้องพูดถึงองค์ประกอบทุกอย่างที่ทำให้สกาลามีสถานะเทวาลัยทางวัฒนธรรม
           สกาลาในความเป็นจริงคือโรงหนังที่ผู้เช่าจ่ายค่าเช่าให้จุฬาฯ ด้วยค่าเช่าซึ่งจุฬาฯ เรียกเก็บขณะสกาลาระงับกิจการ
ตามคำสั่งรัฐบาลทำให้สกาลาอยู่ไม่ได้ แต่คำถามที่คนจำนวนมากคิด ทำอย่างไรให้ความเป็นสกาลาคงอยู่ต่อไป
           สกาลาถูกออกแบบอย่างประณีตจนไม่มีโรงหนังไหนเสมือน เต็มไปด้วยประติมากรรมที่ทำให้โรงหนังเป็นงานศิลปะ
ยิ่งกว่านั้นคือสกาลาเป็นโรงหนังจริงๆ แห่งสุดท้าย ส่วนโรงอื่นเป็นแค่ห้องฉายหนังเช่าที่ห้างเหมือนร้านชานมเย็น

           สกาลาถูกสร้างและออกแบบโดยเจ้าของและสถาปนิกที่เห็นว่าหนังคืออารยธรรม คุณพิสิฐ ตันสัจจา สร้างสกาลาในปี 2512
เพื่อให้เป็นโรงหนังสวยที่สุดในประเทศ สกาลาจึงสง่างาม หรูหรา มีแชนเดอเลียร์ 3 ตันจากอิตาลี มีโถง ประดับด้วยงานปูนปั้น
           สกาลาไม่ใช่เป็นแค่โรงหนัง เพราะความเป็นสกาลาคือการดูหนังท่ามกลางองค์ประกอบทุกอย่างที่เต็มไปด้วยแรงงานแห่ง
ความรักในศิลปะแขนงที่ 7 จนไม่มีโรงมหรสพไหนให้ประสบการณ์นี้กับผู้ชมได้อีกในประเทศ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 14 ก.ค. 20, 10:16

              สกาลาปิดโรงด้วยการฉายหนังคลาสสิคเรื่อง Cinema Paradiso ซึ่งพูดถึงโรงหนังที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนอิตาลีจนๆ
หนังบอกว่าโรงหนังขนาดใหญ่ถึงกาลอวสาน จะมีก็แต่พื้นที่ในความทรงจำของผู้คนเท่านั้นเอง
          สารที่หนังเรื่องนี้พูดกับผู้ชมอย่างโหดเหี้ยม คือไม่มีโรงหนังไหนเป็นอมตะ โรงหนังอยู่ได้ด้วยชุมชน และวันใดที่พฤติกรรม
ชุมชนเปลี่ยน คนดูหนังในโรงลดลง วันนั้นที่อยู่เดียวของโรงหนังย่อมได้แก่ในความทรงจำของผู้คน
          ถึงที่สุดแล้ว Cinema Paradiso พูดถึงการเผชิญหน้าระหว่าง “ความทรงจำรวมหมู่” ของผู้คนต่อพื้นที่อย่างโรงหนังซึ่ง
ก้ำกึ่งว่าเป็น “พื้นที่สาธารณะ” หรือ “พื้นที่ส่วนบุคคล” ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีโรงหนังสกาลาด้วยเช่นเดียวกัน
          สกาลาเป็นพื้นที่ทางธุรกิจที่กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม แม้จุฬาจะให้นักธุรกิจเช่าที่ทำโรงหนัง สังคมไทยได้ให้ความหมายใหม่
กับสกาลาที่มากกว่าพื้นที่ทำมาหากิน นั่นคือ พื้นที่ของหน่วยงานรัฐที่มีมูลค่าเพิ่มเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะของสังคม
          คนรักหนังอยากให้สกาลาคงอยู่ในฐานะโรงหนังต่อไป และด้วยความสง่างามของอาคาร รวมทั้งการเป็นพื้นที่ทางสังคม สกาลา
ก็สมควรเป็นแบบนั้นต่อไปด้วย เพียงแต่ในมิติของกฎหมายและความเป็นเจ้าของพื้นที่ที่แท้จริงนั้น เรื่องนี้ไม่มีทางเกิดได้ หากเจ้าของที่
อย่างจุฬาไม่ยินยอม

ถึงที่สุดแล้วสถานะของโรงหนังสกาลาขึ้นอยู่กับจุฬามองการบริหารพื้นที่อย่างไร Cinema Paradiso จบด้วยเจ้าที่ดินทุบโรงหนัง
เพื่อสร้างที่จอดรถแบบไม่เห็นหัวประชาคม ความทรงจำรวมหมู่ของชุมชนต่ำชั้นกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ พื้นที่ทางวัฒนธรรมด้อยค่า
กว่าลานจอดรถซึ่งคงไม่มีใครจดจำอะไรอีก แต่คำถามคือสมควรหรือที่จุฬาจะทำเหมือนเจ้าที่ดินในหนังเรื่องนี้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 14 ก.ค. 20, 10:19

               สกาลาเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมร่วมสมัยของสังคม คุณค่าของสกาลาเกิดเพราะสังคมมีความทรงจำร่วมต่อพื้นที่ดินแปลงนี้
มีความหมายมากกว่าแท่งคอนกรีตสำหรับกอบโกยค่าเช่า สถาบันการศึกษาที่ฉลาดจึงพึงเห็นว่าเงินสร้างคุณค่าแบบนี้ไม่ได้ มิหนำซ้ำ
อาจไม่มีมหรสพสถานอื่นๆ ทำแบบนี้ได้เลย       
           โรงหนังอื่นอาจทันสมัยกว่าสกาลา แต่ไม่มีโรงไหนเต็มไปด้วยแรงงานแห่งความรักที่อัดแน่นลงในอาคารสถานที่จนผู้ชมผูกพัน
กับสถานที่แบบนี้
           สกาลาเป็นผลผลิตของสังคมไทยยุคที่กระบวนการสร้างความเป็นสมัยใหม่ขึ้นสู่จุดสูงสุดก่อนเกิดการปฏิวัติประชาชนตุลาคม 2516
จนอาจต้องยอมรับว่าสกาลาเป็นภาพสะท้อนของการมีอารยะของชนชั้นนายทุนไทยที่หลังจากนั้นเราแทบไม่เห็นอะไรแบบนี้อีกเลย
           สกาลาเกิดจากนายทุนที่ทะเยอะทะยานจะสร้างโรงภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในประเทศ แต่สถาปัตยกรรมของสกาลาสะท้อนว่า “นายทุน”
กรณีนี้มีความตระหนักว่าภาพยนตร์คือ “มหรสพ” ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนเอเชียจนเกิดปูนปั้นที่ทำให้โรงภาพยนตร์มีสภาพราวหอศิลปะ
ที่เดียวในประเทศไทย
           สกาลาสะท้อนความรุ่งเรืองของชนชั้นนายทุนทศวรรษ 2490-2510 ที่เติบโตกับความเป็นสมัยใหม่จนเห็นว่าสังคมไทยต้อง
เปลี่ยนแปลง แต่คนรุ่นนั้นก็เป็นชาตินิยมมากพอจะทำให้เกิดความคิดว่าต้องการสร้างธุรกิจหรือกิจการบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ให้สังคมไทย
เช่นการบินไทย, สกาลา, ดุสิตธานี, มติชน ฯลฯ
           โดยเนื้อแท้แล้วทุนนิยมคือความสัมพันธ์ที่เอารัดเอาเปรียบคนส่วนใหญ่ แต่ชนชั้นนายทุนยุค 2490-2510 มีลักษณะ Modernity
Nationalism หรือ “ชาตินิยมที่มีความเป็นสมัยใหม่” ซึ่งอาจไม่มีในชนชั้นนายทุนหรือผู้ประกอบการหลังจากนั้น เราจึงไม่เห็นการทำ
อะไรที่เป็นมรดกของยุคสมัยถัดจากนั้นเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 14 ก.ค. 20, 10:20

               จุฬาเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นในไทย กอบโกยค่าเช่ามหาศาลจากสยาม-มาบุญครอง-สวนหลวง-สามย่าน-
บรรทัดทอง ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ดินจากสังคมที่พระราชทานให้ ซ้ำยังได้งบประมาณเพื่อพัฒนาต่อเนื่องมาหลายทศวรรษจนไม่ต้อลงลงทุนอะไร
อย่างคนอื่นเลย
          พื้นฐานของจุฬาคือสถาบันวิชาการ จุฬาจึงควรคิดเรื่องที่ดินแบบสถาบันทางวิชาการที่ตอบแทนสังคมบ้าง จุฬาไม่จำเป็นต้องขายที่ดิน
ทุกตารางนิ้วก็ได้ เพราะสังคมให้อะไรกับจุฬาไปฟรีๆ มากจนจุฬาควรมีสำนึกที่จะทำอะไรบ้างเพื่อสังคม
          สภาพเศรษฐกิจและกระแสสังคมตอนนี้ทำให้จุฬาไม่กล้าทุบ หรือ “เซ้ง” สกาลาโดยเร็ว แต่จุฬาควรใช้มูลค่าทางสังคมของสกาลา
ต่อยอดพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างวัฒนธรรมร่วมสมัยให้แข็งแกร่งขึ้น ตัวอย่างเช่น อาจแปลงสกาลาเป็นคลัสเตอร์ทางวัฒนธรรมเชื่อมต่อหอศิลป์กรุงเทพ
(BACC) และหอศิลป์จามจุรี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 14 ก.ค. 20, 10:22

               จุฬาตั้งอยู่กลางที่ดินผืนเก่าแก่ซึ่งใกล้พื้นที่ทันสมัยที่สุดอย่างสยามสแควร์ ผลก็คือจุฬามีโอกาสสร้างพื้นที่ต้นแบบของความทันสมัย
ที่มีรสนิยมซึ่งไม่มีเจ้าที่ดินรายไหนทำได้ สกาลาที่เป็นโรงมหรสพสำหรับวัฒนธรรมร่วมสมัยจะเป็นตัวแบบของการพัฒนาซึ่งสถานศึกษาควรทำต่อสังคม
            ถ้านายทุนไทยสมัยครึ่งศตวรรษที่แล้วสร้างโรงภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่จนคนนับพันไปคารวาลัยในวาระสุดท้ายได้ จุฬาควรมีปัญญาแปลง
มรดกวัฒนธรรมร่วมสมัยจากนายทุนไทยให้มีอายุยืนยาวต่อไปได้เช่นกัน

           อย่าให้คนเขาพูดได้ว่าเสาหลักของแผ่นดินคิดได้แค่หากำไรสูงสุดจากที่ดินซึ่งได้มาฟรีๆ


บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 14 ก.ค. 20, 10:53

เอาแค่ซุ้มโค้งมน ดูนุ่มนวลด้านหน้า

ผมกลับรู้สึกว่า ที่นี่น่าจะเป็นหอศิลป์แห่งสยามได้อย่างสบายๆ นะครับ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 14 ก.ค. 20, 21:23

จากที่มีข่าวว่าจะรื้อศาลเจ้าแม่เพื่อเอาที่ดินตรงนั้นสร้างคอนโด ก็น่าจะไว้ใจจุฬายากอยู่ 555
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 07 ส.ค. 20, 10:56

จากฟบ. SaveScala เมื่อปลายเดือนก่อน

         แผงผลไม้หน้าโรง
         โคมไฟยังไม่ได้ถูกเคลื่อนย้าย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 11 ส.ค. 20, 11:51

              สืบเนื่องจาก การตามรอยประติมากรรมบนฝาผนังโรงหนังสกาลา ผลงานศิลปินฟิลิปปินส์ผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น
ศิลปวัฒนธรรม นำไปชมผลงานอีกชิ้นหนึ่งซึ่งอยู่ที่ ร้านอาหารเก่าแก่ ชาวเรือนไทยน่าจะคุ้นเคยชื่อหรือเคยไปเยือนมาแล้ว

              "ลิตเติลโฮม เบเกอรี" เปิดในไทยร่วม 7 ทศวรรษ เริ่มจากสัมพันธ์รักระหว่างทายาทหลวงสุวรรณกิจชำนาญ
(พงษ์ ศิริสัมพันธ์) ช่างทองหลวง กับสตรีฟิลิปปินส์ สู่ร้านขายอาหารบริเวณบ้าน ซึ่งทายาทรักษาตัวบ้านขุนนางไว้อย่างดี
ปัจจุบันยังเป็นที่พักของทายาทผู้ดูแลธุรกิจ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 11 ส.ค. 20, 12:00

             กิจการยังคงรักษางานศิลปะของเฟเดอริโก ตากาลา ไว้ที่ร้านตามคำที่"คุณแม่และคุณยายบอกให้
เก็บมาสเตอร์พีซนี้ไว้"

facebook.com/SilpaWattanatham/videos/ลิตเติลโฮม-เบเกอรี-ร้านยุค-50s-โดยสตรีฟิลิปปินส์ที่พบรักทายาทขุนนางไทย/604054620258552/

 ยิงฟันยิ้ม ขอบคุณคุณเพ็ญฯ อำนวยความสะดวก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 11 ส.ค. 20, 12:27

งานศิลปะของเฟเดอริโก ตากาลา นาทีที่ ๗.๐๐ - ๘.๐๐


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 13 ส.ค. 20, 19:49

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความเห็นว่าอาคารโรงภาพยนตร์สกาลา มีรูปแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ ๙ และเคยได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรมดีเด่น ปี ๒๕๕๕ สมควรได้รับความคุ้มครองในฐานะ "โบราณสถาน" จึงมีหนังสือ ขอความอนุเคราะห์ให้ได้รับความคุ้มครองในฐานะโบราณสถาน

กรมศิลปากรตอบกลับว่า เมื่อพิจารณาแล้ว "โรงภาพยนตร์สกาลายังไม่ถือว่าเป็นโบราณสถาน" ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕) กรมศิลปากรจึงไม่สามารถดำเนินการตามที่ร้องขอได้





บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 14 ส.ค. 20, 09:19

fb. SaveScala

อาจารย์คณะสถาปัตย์ จุฬา แสดงความเห็นว่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 14 ส.ค. 20, 09:23

และ

เสนอแนวทาง อาคารประวัติศาสตร์,อนุรักษ์ หรือ มรดกสถาปัยกรรม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.188 วินาที กับ 20 คำสั่ง