เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 30305 โรงหนังชั้นหนึ่ง stand alone หนึ่งเดียวที่เหลืออยู่กลางกรุงฯ - สกาลา"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 08 ก.ค. 20, 10:24

ยังคงเก็บตกเรื่องราว รำลึก ลา สกาลา นำมาบันทึกลงไว้ในกระทู้นี้ จากเว็บ และ ฟบ.ต่างๆ

            Asia Holiday อำลาภาพจำหลักข้างฝา วันที่สกาลาปิดโรง

ANANT NARKKONG

             ในบรรดาองค์ประกอบของโรงภาพยนตร์ที่กล่าวมานี้ ดูเหมือนประติมากรรมร้องรำทำเพลงจะเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึง
น้อยที่สุด

(อ่านเต็มๆ ที่ facebook.com/notes/anant-narkkong/asia-holiday-อำลาภาพจำหลักข้างฝา-วันที่สกาลาปิดโรง/3132093180208950/)

               งานประติมากรรมนูนต่ำบนฝาผนังขนาดใหญ่ เป็นงานปูนปั้นลงสีพื้นน้ำตาลประกายทองเหลือบเขียวหม่น
ออกแบบโดยศิลปินชาวฟิลิปปินส์ เวอกีคีโอ มานีโพล Vergikio Ver Manipol “Ver. R. Manipol” ดำเนินการปั้นโดย
เฟ็ด อาร์ ตากาล่า Fed R Tagala ชื่อผลงานว่า “เอเชียฮอลิเดย์ Asia Holiday” -
               เทศกาลงานวันหยุดของคนเอเชียชนชาติต่างๆ โดยเล่าเรื่องผ่านท่วงท่าร่ายรำและการบรรเลงเครื่องดนตรีนานาชนิด
ที่ถูกคัดสรรมาเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมบันเทิงเอเชีย
               โดยศิลปินได้จัดวางมิติรายละเอียดของรูปทรงเส้นวงองค์ประกอบไปตามความคิดของตน และออกแบบให้สอดรับ
ความคิดของสถาปนิกคือ พันเอกจิระ ศิลป์กนก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 08 ก.ค. 20, 10:26

              ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับประวัติชีวิตของมานีโพล Ver. R. Manipol ศิลปินผู้ออกแบบ ทราบเพียงว่า
เขาได้ฝากผลงานเอาไว้ในแผ่นดินไทยช่วง 2511-2514 อยู่จำนวนหนึ่ง
              นอกจากผลงานที่โรงภาพยนตร์สกาล่า ยังมีผลงานของเขาที่วัดพระมหาไถ่ ร่วมฤดีซอย 5 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี
กรุงเทพมหานคร และที่โรงแรมอินทรา ประตูน้ำ

               นอกจากคุณค่าของประติมากรรมในเชิงความงามที่เป็นสุนทรียศาสตร์ที่สอดรับกับงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่
ประกาศตนเองอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมไทยยุค 1970 ยังมีคุณค่าในเชิงการบันทึกความหลากหลายของดนตรีนาฏศิลป์ที่สะท้อน
อัตลักษณ์ของคนชาติพันธุ์ต่างๆ

             ขอใช้พื้นที่ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม Cultural Geography เป็นตัวช่วยถอดความรู้ประติมานศิลป์ก็แล้วกัน
 
1) วัฒนธรรมร้องรำทำเพลงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia performing arts
2) วัฒนธรรมร้องรำทำเพลงเอเชียตะวันออกไกล Far East / EastAsia performing arts
3) วัฒนธรรมร้องรำทำเพลงเอเชียใต้ South Asia performing arts
4) วัฒนธรรมร้องรำทำเพลงตะวันออกกลาง Middle East performing arts


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 08 ก.ค. 20, 10:30

จากฟบ. คุณก้อง ฤทธิ์ดี
    
            ภาพจาก Bangkok Post Archive ปี 1977(พ.ศ.2520) แต่หนังสกอร์เซซีเรื่องนี้ออกปี 1974(พ.ศ.2517)
ชื่อไทยนี่ตั้งได้ใจดี อรชรร่อนเร่
            ในภาพยังเห็นร้าน Marina ดั้งเดิม และร้านเครื่องกีฬาทางขวา ส่วนคนสามคนบน foreground สองฝรั่งหนึ่งไทย
ให้ฟีล 70 มากๆ ทั้งคน รถ เสื้อผ้า การที่ถ่ายภาพกึ่งสตรีทแล้วติดฝรั่งเลย น่าจะแปลว่ามีคนต่างชาติเยอะพอควรในกรุงเทพตอนนั้น
และถนนพระราม 1 แสนนานก่อนมีรถไฟฟ้าบนหัว แต่รถติดแล้วเหรอ หรือแค่ไฟแดง
            สรุปคือ ทั้งภาพนี้ 43 ปีผ่านไป ทุกอย่างเปลี่ยนหมดแล้วยกเว้นสกาลา

หมายเหตุ คหสต. ช่วงสมัยรัฐบาลธานินทร์(พ.ศ. 2519 – 20) มีมาตรการขึ้นภาษีการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ
จากเมตรละ 2.20 บาท เป็นเมตรละ 30 บาท ส่งผลทำให้ผู้สั่งหนังเทศต้องชะลอการสั่งหนังลงชั่วคราว,โรงหนังไม่มีหนังตปท.
เข้าฉาย หนังเรื่องนี้ที่ซื้อมาก่อนนั้นแล้วเก็บไว้จึงได้ถูกนำมาเข้าโรง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 09 ก.ค. 20, 18:13

Asia Holiday อำลาภาพจำหลักข้างฝา วันที่สกาลาปิดโรง

ANANT NARKKONG

งานประติมากรรมนูนต่ำบนฝาผนังขนาดใหญ่ เป็นงานปูนปั้นลงสีพื้นน้ำตาลประกายทองเหลือบเขียวหม่น ออกแบบโดยศิลปินชาวฟิลิปปินส์ เวอกีคีโอ มานีโพล Vergikio Ver Manipol “Ver. R. Manipol” ดำเนินการปั้นโดย เฟ็ด อาร์ ตากาล่า Fed R Tagala ชื่อผลงานว่า “เอเชียฮอลิเดย์ Asia Holiday” -   เทศกาลงานวันหยุดของคนเอเชียชนชาติต่างๆ โดยเล่าเรื่องผ่านท่วงท่าร่ายรำและการบรรเลงเครื่องดนตรีนานาชนิดที่ถูกคัดสรรมาเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมบันเทิงเอเชีย โดยศิลปินได้จัดวางมิติรายละเอียดของรูปทรงเส้นวงองค์ประกอบไปตามความคิดของตน และออกแบบให้สอดรับความคิดของสถาปนิกคือ พันเอกจิระ ศิลป์กนก

อ่านเรื่องเต็ม ที่ https://facebook.com/notes/anant-narkkong/asia-holiday-อำลาภาพจำหลักข้างฝา-วันที่สกาลาปิดโรง/3132093180208950/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 09 ก.ค. 20, 18:19

ทายาทของศิลปินผู้ผลิตปูนปั้นติดผนังในโรงหนังสกาลา Federico R. Tagala บอกเล่าความทรงจำเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของบิดาไว้อย่างไร ติดตามได้จากคลิปนี้

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 10 ก.ค. 20, 09:53

ขอบคุณคุณเพ็ญฯ เติมคลิปให้

          จากคลิป,ในส่วน งานแกะสลักไม้ที่ประดับผนังด้านหลังห้องขายตั๋ว,ที่นั่งรอ นั้น เป็นผลงานการออกแบบ
โดย พันเอกจิระ ศิลป์กนก สถาปนิกผู้ออกแบบโรงหนัง (ส่วนผู้แกะสลัก ไม่พบข้อมูลระบุว่าเป็นฝีมือ Tagala หรือไม่)

ภาพจากทวิต Ruj Skywalker


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 10 ก.ค. 20, 10:47

๒ วันสุดท้ายของสกาลา นันทา ตันสัจจา ประธานโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ (APEX) อยู่ที่สกาลา เธอมาพบเจอญาติมิตรและขอบคุณแฟน ๆ เป็นครั้งสุดท้าย "ครั้งนี้หัวใจสลาย" เจ้าของสกาลาพูดพร้อมกับน้ำตาคลอ "ไม่มีคำไหนจะอธิบายความรู้สึกได้ดีกว่านี้อีกแล้ว"

นันทาเล่าว่า ก่อนหน้านี้แม้ว่าสกาลาขาดทุนมานาน แบกรับค่าใช้จ่ายมาตลอด แต่ก็ยังไม่ได้คิดเรื่องจะปิด เพราะตัวเธอเกิดมากับโรงหนังโรงละคร ทั้งชีวิตไม่มีอย่างอื่น จึงต้องสู้ โดยนำเงินจากส่วนอื่นมาโปะเพื่อรักษากิจการโรงภาพยนตร์ไว้ จนมาถึงครั้งนี้ที่รู้สึกว่าสู้ไม่ไหวแล้วจริง ๆ

"เราอยู่ที่นี่มา ๕๑ ปี เราให้ความสุขกับทุกคนมา ๕๑ ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มา แต่คราวนี้มันหนักหนาเกินที่เราจะรับได้ ซึ่งมันก็ไม่ใช่แค่เราคนเดียว คนทั่วโลกก็โดน ตอนนี้แม้ว่ารัฐบาลผ่อนคลายมาตรการลงแล้ว แต่คุณไปดูสิว่ามีคนดูหนังหรือเปล่า บางแห่งเปิดแต่ไม่มีคนดู คนอยู่บ้านดูทีวีที่บ้าน หนังเดี๋ยวนี้ก็ซื้อดูได้ไม่กี่ตังค์ จะดูกี่เรื่องก็ได้ นี่คือ new normal”

ภัตตาคารสกาลา อีกช่องทางรายได้ของบริษัทที่ปิดบริการไปในช่วงล็อกดาวน์นั้น ก็ปิดแล้วปิดเลยไปก่อนโรงภาพยนตร์แล้ว เธอบอกว่า "เพราะโควิดนี่แหละ"

"ก่อนจะมีโควิดไม่ได้คิดเลยว่าจะปิด ตอนโควิดมาเดือนแรกยังเฉย ๆ พอเดือนที่สองเริ่มคิดแล้ว มันไม่ไหวแล้ว สกาลาสู้มาตลอด สู้แบบขาดทุนก็สู้ ไม่ว่าจะเป็นม็อบเสื้อแดง เสื้อเหลือง เหตุการณ์อะไรเราก็สู้มาตลอด แต่ค่าใช้จ่ายเยอะมาก เรารับไม่ไหวแล้ว และไม่รู้ว่าจะอีกนานแค่ไหน คุณคิดว่าสิ้นปีนี้จบไหม ไม่รู้ มันอาจจะอีก ๑ ปี แล้วคุณอยู่ไหวไหม เพราะฉะนั้น เราจบสวย ๆ ดีกว่า จบแบบที่คนมาที่นี่แล้วยังมีความสุข ยังเห็นของสวย ๆ งาม ๆ มาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกดีกว่า"

"เราไม่ได้ตัดสินใจปิด สรุปแล้วโควิดตัดสินใจให้เรา"

https://www.prachachat.net/d-life/news-488398


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 10 ก.ค. 20, 10:57

(เตรียมไว้แล้ว,นำ)มาต่อจากคห.ข้างต้น

           ภัตตาคารสกาลา อีกช่องทางรายได้ของบริษัทที่ปิดบริการไปในช่วงล็อกดาวน์นั้น ก็ปิดแล้วปิดเลยไปก่อน
เพราะโควิด
       
           สกาลาสู้มาตลอด สู้แบบขาดทุนก็สู้ ค่าใช้จ่ายเยอะมาก เรารับไม่ไหวแล้ว และไม่รู้ว่าจะอีกนานแค่ไหน
เพราะฉะนั้น เราจบสวย ๆ ดีกว่า จบแบบที่คนมาที่นี่แล้วยังมีความสุข ยังเห็นของสวย ๆ งาม ๆ

ตอนเด็กไปดูหนังอย่างเดียว, โตขึ้นแล้วจึงได้เคยแวะเข้าภัตตาคาร
ไฟเพดานทางเข้าก็ตกแต่งสวยงามตามนั้น


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 10 ก.ค. 20, 10:59

            ขณะนี้ยังไม่มีใครล่วงรู้ชะตากรรมของอาคารโรงภาพยนตร์สกาลาว่าจะยังได้อยู่ต่อหรือไม่ ทางจุฬาฯเอง
ก็ยังไม่ทราบ จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้เช่ารายใหม่ว่าจะใช้พื้นที่ตรงนี้ทำอะไร
            จะถอดทุกอย่างที่สามารถถอดได้ไปเก็บไว้ที่สวนนงนุช แน่นอนก็คือ “ดวงดารา” หรือ ดาวกระจายสีทอง
บนฝ้าเพดาน, แชนเดอเลียร์หรือโคมไฟระย้าพวงใหญ่เหนือบันได และไม้แกะสลักสีดำลวดลายวิจิตรที่ผนัง ส่วน
ภาพประติมากรรมปูนปั้นเหนือประตูทางเข้าโรงหนังนั้นยังไม่ทราบว่าจะเอาไปได้หรือไม่


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 10 ก.ค. 20, 11:02

             ทางจุฬาฯ เขาก็มาถามว่าจะทำยังไง จะเอาอะไรไป จะย้ายเมื่อไหร่ เราก็บอกว่า คุณตอบฉันมาก่อนว่า
คุณจะเก็บสกาลาไว้หรือไม่ ถ้าคุณเก็บฉันก็มูฟเร็ว ถ้าคุณไม่เก็บฉันก็มูฟช้า เพราะฉันก็ต้องพยายามเอาไปให้ได้มากที่สุด
แต่ เขาก็ยังไม่มีคำตอบ เพราะว่าต้องแล้วแต่ผู้เช่ารายใหม่ว่าจะมีโปรเจ็กต์อะไร
 
            นอกจากอาคารสถานที่ องค์ประกอบสำคัญของสกาลาคือ ผู้คน ทั้งพนักงานขายป็อปคอร์น ขายขนม เครื่องดื่ม
พนักงานขายตั๋ว คุณน้าสูทเหลืองอันเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเครือเอเพ็กซ์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้แฟน ๆ รู้สึกผูกพัน ในช่วง
กิจกรรม 3 วันส่งท้ายนี้ พนักงานเก่า ๆ ก็กลับมารวมตัวกัน แบ่งหน้าที่กันทำในการเปิดบ้านรับแขกเป็นครั้งสุดท้าย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 10:33

จาก fb Archaeologeek

                 นักโบราณคดีกับสกาล่า: บทสะท้อนย้อนคิดถึงคุณค่ามรดกวัฒนธรรมที่เราเพิ่งกล่าวคำอำลา

              สำหรับคนทั่วไป สกาล่าอาจกลายเป็นพื้นที่ของความทรงจำ แต่สำหรับนักโบราณคดี นี่คือมรดกวัฒนธรรมสมัยใหม่
ที่มีคุณค่ามากพอจะ “เก็บ” มากกว่าจะปล่อย “ทิ้ง” ไป
              ทันทีที่โรงภาพยนตร์สกาล่าปิดตัวลงเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2563 สกาล่าได้กลายเป็นมรดกวัฒนธรรมของคนร่วมสมัย
ในทันที การหมดหน้าที่ใช้งานสถานที่ฉายภาพยนตร์ หรือการเป็นโรงหนังสแตนอโลนแห่งสุดท้ายในสยามสแควร์ ทำให้สกาล่า
เป็นสิ่งที่นักโบราณคดีไม่อาจละสายตาไปได้
              นักโบราณคดีสายจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม (CRM archaeologist) ซึ่งมีอยู่แทบทุกโครงการก่อสร้างหรือ
การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเมืองเก่า ไม่ได้ศึกษาเฉพาะโบราณวัตถุสถานแต่ยังทำงาน “จัดการ” มรดกวัฒนธรรมด้วย
              กรณี สกาล่า ที่ได้ปิดตัวลง ก็กลายมาเป็นมรดกวัฒนธรรมที่ CRM archaeologist ต้องให้ความสนใจ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 10:36

            ในประเทศไทย มีกฎบัตรว่าด้วยการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม (Thailand Charter on Cultural Heritage
Sites Management) หลักการพื้นฐานและมุมมองต่อมรดกวัฒนธรรมพวกนี้จะเป็นแนวคิดพื้นฐานที่นักโบราณคดีสายจัดการทรัพยากร
วัฒนธรรมต้องรู้
            ทีนี้ พอมองไปที่สกาล่า ก็ดูจะเข้าเค้ามรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า, มาลองทำแบบประเมินเบื้องต้นดูกัน
            สมมติว่า เราจำแนกคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมที่ควรเก็บรักษาเอาไว้ 3 กลุ่ม เรียงลำดับจากคุณค่าภายนอกสู่ภายใน

            (1)คุณค่าทางกายภาพ: เก๋มั้ย งามมั้ย
          
            สกาล่า ผลงานการออกแบบของ พ.อ.จิระ ศิลปะกนก ช่วงปีพ.ศ.2512 นั้นเก๋ ตรงที่เป็น One of the kind ของอาคาร
รูปแบบนี้ในไทย ภาพอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นช่วงหลัง (Late Modernist) ผสมศิลปะอาร์ตเดโค ที่คนยุคนั้นมองว่า
เป็นศิลปะของความหรูหรา เราจึงเห็นสกาล่ามีโถงบันไดที่ถูกออกแบบอย่างประณีต ทั้งฝ้าเพดานและเสาคอนกรีตโค้ง ลวดลายประดับ
ล้วนมีความหมาย เช่น ฝ้าลวดลายม้วนฟิล์ม ลายด้านหลังเคาน์เตอร์ขายตั๋ว รวมไปถึงโคมไฟระย้าจากอิตาลี ทั้งหมดนี้ส่งเสริมให้คำว่า
Scala มีโถงบันไดที่อลังการสมความหมาย
(วีระพงษ์ สิงห์น้อย, 2561; https://readthecloud.co/remain-scala/)

            สกาล่านั้นงาม งามในเชิงช่าง งามในเชิงความรู้ แน่นอนว่าลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นของสกาล่า คือผลึกขององค์ความรู้
สำคัญทางสถาปัตยกรรมที่สถาปนิกให้ความสำคัญ คุณค่าในทางกายภาพของสกาล่า จึงเป็นตั้งแต่การเป็นอาคารในความทรงจำของผู้คน
ไปจนถึงกายภาพทางความรู้ของสถาปนิก และมรดกวัฒนธรรมร่วมสมัยที่น่าสนใจของนักโบราณคดี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 10:39

               (2)คุณค่าทางประวัติศาสตร์: เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์สังคมเมืองและวัฒนธรรมภาพยนตร์ไทย

             สกาล่า จัดอยู่ในกลุ่มโรงภาพยนตร์สแตนอโลน ซึ่งอยู่ในระยะที่ 2 (พ.ศ.2491-2528) ของพัฒนาการโรงภาพยนตร์บ้านเรา
บางครั้งอาจกำหนดเรียกว่าเป็น Movie Palace หรือเรียกได้ว่าเป็น ศาสนสถานแห่งสำคัญ สำหรับผู้คลั่งใคล้ในวัฒนธรรมภาพยนตร์เลย
ก็ว่าได้ (https://www.facebook.com/groups/2690688644549125/permalink/2691343551150301/)
             สกาล่าเป็นมรดกวัฒนธรรมภาพยนตร์จากระยะที่ 2 ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง ทุกวันนี้เรารู้จักโรงภาพยนตร์แบบมัลติเพล็กซ์
ในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก เราแทบไม่มีวัฒนธรรมการไปดูหนังเพื่อดูหนังเหมือนเมื่อก่อนแล้ว มีแค่วัฒนธรรมการเดินห้างแล้วแวะดูหนัง นี่จึง
เป็นความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สกาล่ามีต่อวงการภาพยนตร์ไทย
             ขณะเดียวกัน การปิดตัวลงของสกาล่า คือการปิดตัวลงของหนึ่งในโรงภาพยนตร์สแตนอโลนแห่งท้ายๆในปัจจุบัน การสิ้นสุดหน้าที่
การใช้เงินเดิมตั้งแต่แรก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสกาล่าในฐานะมรดกวัฒนธรรม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 10:40

              "โรงหนังของเราเหมือนสร้างกระแสให้สยามสแควร์เลยด้วยซ้ำ พอมาถึงวันนี้ที่สยามสแควร์พัฒนาเต็มที่แล้วเราต้องมาจากไป
ก็รู้สึกเสียดาย สกาลาเต็มไปด้วยเรื่องราวและประวัติศาสตร์ ต่อให้เราย้ายสิ่งประดับทั้งหมดไปไว้ที่อื่น ก็จะไม่มีที่ไหนเหมือนสกาลาอีกแล้ว"
              ไม่เพียงแต่คุณค่าต่อประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย สกาล่ายังมีคุณค่าต่อประวัติพัฒนาการเมืองกรุงเทพมหานครด้วย

              "เราต้องเปิดไฟของโรงภาพยนตร์ให้สว่างเต็มที่เพราะพอตกกลางคืน แถวนี้ไม่มีแม้กระทั่งไฟถนน แถมยังอยู่ใกล้กับชุมชนแออัดด้วย
แต่พอโรงภาพยนตร์ของเราได้รับความนิยมขึ้นมา พื้นที่แถวนี้ก็เริ่มมีความเจริญเข้ามาทันที"
(นันทา ตันสัจจา, 2563; https://www.bbc.com/thai/thailand-53275024)

               ข้อมูลจากผู้สืบทอดโรงภาพยนตรืสกาล่ารุ่นที่ 2 แสดงให้เห็นว่า พื้นที่สยามสแควร์ ใจกลางกรุงเทพมหานครก่อนจะกลายมาเป็นอย่างที่
เราเห็นในปัจจุบัน 50 ปีก่อนยังคงเป็นเพียงทุ่งร้าง กระทั่งการมาของโรงภาพยนตร์ที่มีสกาล่าเป็นส่วนหนึ่ง วัฒนธรรมภาพยนตร์ได้ดึงดูดผู้คน
เข้ามาจนทำให้สยามสแควร์เป็นอย่างที่เป็นได้ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากวัฒนธรรมการดูหนังของคนไทย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 11 ก.ค. 20, 10:44

              ข้อ (1) และ (2) เป็นคุณค่าของนักวิชาการ แต่คุณค่าในข้อที่ (3) เป็นคุณค่าที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นคุณค่าที่ทุกคนเห็นและรู้สึกได้
เพราะอยู่ในความทรงจำของทุกคน

              (3)คุณค่าในบริบทที่ดำรงอยู่: เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ และเป็นแลนด์มาร์คในความทรงจำของผู้คน

               คุณค่าสำคัญที่สุดของมรดกวัฒนธรรมคือการมีตัวตนอยู่ในความทรงจำของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นมรดกวัฒนธรรมรูปแบบไหน
หากไร้คุณค่าในความรับรู้ของผู้คนทั่วไป ก็เท่ากับไร้ตัวตน
               สำหรับการพิจารณาคุณค่าของสกาล่าในข้อสุดท้ายนี้ เรากำลังดูคุณค่าของสกาล่าในบริบทที่โรงภาพยนตร์นี้ดำรงอยู่ ว่ามีคุณค่า
ต่อพื้นที่ที่ตัวเองอยู่ และมีคุณค่าต่อผู้คนที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ด้วยอย่างไร
               แท้จริงแล้ว สกาล่าไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่คือผู้คน คือพี่เสื้อเหลือง คือช่องขายตั๋ว คือป๊อปคอร์น คือกิจกรรม และความทรงจำ
ที่อบอวลอยู่ตลอด 50 ปี

             ในข้อแรก ไม่ต้องสงสัยว่าโรงภาพยนตร์สกาล่าดำรงอยู่ในพื้นที่สยามสแควร์อย่างโดดเด่น เป็นแลนด์มาร์คหนึ่งของสยามสแควร์
มานานเกือบครึ่งศตวรรษ และจะยังคงเป็นอยู่ในความทรงจำของผู้คนที่เคยเข้ามาดูหนัง มานัดแฟน มาถ่ายรูป ที่โรงภาพยนตร์แห่งนี้
             ความทรงจำต่อมรดกวัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งที่นักจัดการมรดกวัฒนธรรมต้องคำนึงให้มาก เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ความทรงจำนั้นพัวพันกับประสบการณ์ และวัฒนธรรมอย่างแยกไม่ออก เราไม่อาจวัดคุณค่าในบริบทที่ดำรงอยู่ของสกาล่าได้จากหลักฐาน
รูปธรรม เช่นเดียวกัน เราไม่อาจเก็บบันทึกรูปร่างของสิ่งเหล่านี้ได้ผ่านการเก็บแบบ หรือทำงานโบราณคดีกู้ภัย เพราะคุณค่าแท้จริงของมรดก
วัฒนธรรมนั้นยิ่งใหญ่ด้วยเวลาและความทรงจำจากทุกคนที่เกี่ยวข้อง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.107 วินาที กับ 20 คำสั่ง