เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 30299 โรงหนังชั้นหนึ่ง stand alone หนึ่งเดียวที่เหลืออยู่กลางกรุงฯ - สกาลา"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 27 ก.พ. 18, 09:34

            สุดท้าย ยุคสมัยหนึ่งก็ต้องเคลื่อนผ่านไปสู่อีกยุคสมัยหนึ่งเสมอ การเกิดขึ้นของห้างสรรพสินค้าที่เป็นคอมเพล็กซ์
ขนาดใหญ่และมหึมาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในช่วงประมาณทศวรรษ พ.ศ. 2530 ได้รวบเอาโรงภาพยนตร์ไปอยู่ในห้างฯ ที่เปิดแอร์
เย็นฉ่ำและมีภาพยนตร์ให้เลือกหลายเรื่อง และหลายรอบมากกว่าที่เคยเป็นมา ประวัติศาสตร์ของโรงภาพยนตร์ไทยได้เข้าสู่
            ยุคที่ 4 และยังคงดำรงมาจนกระทั่งปัจจุบัน พร้อมๆ กับการล้มหายตายจากไปของโรงภาพยนตร์แบบ stand
alone ในยุคที่ 3 ทีละหลังและทีละหลัง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 27 ก.พ. 18, 09:37

             สกาลา ดูจะเป็นโรงภาพยนตร์แห่งเดียวในกรุงเทพฯ (และอาจจะในประเทศไทยด้วย) ที่ตกค้างมาจากยุคสมัย
คลาสสิคของโรงภาพยนตร์ไทยที่คงสภาพแบบดั้งเดิมที่สุด และ สวยงามด้วยรูปแบบและโครงสร้างที่สุด วิธีการซื้อตั๋วหนัง
แบบเดิม,เครื่องดื่มและของขบเคี้ยวแบบที่หลุดมาจากยุค 70’s ยังคงเห็นได้แม้กระทั่งทุกวันนี้  
             ....คงจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ ถ้า....ป้อมปราการด่านสุดท้ายของยุคเรืองรองของโรงภาพยนตร์ไทย จะ
กลายเป็นเพียงแค่อดีตที่ไม่อาจหวนคืนมาอีก.    


บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 28 ก.พ. 18, 15:54

ดิฉันขออนุญาตแทรกภาพโรงหนังฟ้าสยามของจังหวัดสุพรรณบุรีมาให้ชมค่ะ ดิฉันว่าเป็นโรงหนังที่สวยดีทีเดียว ตอนนั้นเมื่อปี2012ไปเดินตลาดสุพรรณแล้วเดินผ่านโรงหนังนี้ยังต้องหยุดมองแล้วโพสลงในโฟร์สแควร์ ซึ่งได้เขี้ยนเอาไว้ว่า "โรงหนังเก่าแก่ของจังหวัด ตอนนี้โรบินสันเข้ามาแล้วต่อไปไม่รู้จะเป็นอย่างไร" แล้วก็ตามคาดปัจจุบันฟ้าสยามถูกทุบทิ้งไปเป็นที่เรียบร้อยค่ะ ตอนนี้เห็นว่าสร้างเป็นอพาร์ทเมนท์ให้เช่าแทนกระมัง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 28 ก.พ. 18, 17:13

          โรงหนัง ฟ้าสยาม แห่งสุพรรณบุรี มีรูปแบบอาคารคล้ายคลึงกับสกาลา

รูปโรงหนังฟ้าสยาม ปรากฏอยู่หน้า "บ้าน" ของ the southeast asia movie theater project
seatheater.blogspot ของ Philip Jablon

https://goo.gl/KbiQsc


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 10:01

           ได้กล่าวอ้างอิงชื่อ ฟิลลิป แจ็บลอน (Philip Jablon) แห่งเพจ ‘The Southeast Asia Movie
Theater Project’ ผู้ตระเวนเก็บภาพโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนมาเกือบสามร้อยแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รูปโรงหนัง   ศาลาเฉลิมธานี  ศาลาเฉลิมกรุง
               ลอนดอน  ปารีส  นิว ยอร์ค


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 10:03

ล่าสุดเขาได้ให้สัมภาษณ์ลงในนิตยสาร a day เมื่อ 28 December 2017 ซึ่งมีให้อ่านออนไลน์ที่

https://www.adaymagazine.com/interviews/yesterday-theatre-of-dreams-philip-jablon-1

           6 ปีก่อนจนถึงวันนี้ ฟิลลิป แจ็บลอน ตระเวนถ่ายรูปโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และมีไฟล์ภาพโรงภาพยนตร์หลายหมื่นภาพ
           สถานที่และบทเริ่มการสัมภาษณ์เป็นภาษาไทย คือ "สกาล่า เป็นโรงหนังพิเศษนะ หรูหรามาก มีสถาปัตยกรรม
มีรายละเอียดเยอะ"


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 10:31

              ในขณะที่สกาลา โรงหนังสแตนด์อะโลนกลางกรุงยังคงสภาพเดิมได้ไปต่อ โรงหนังสแตนด์อะโลน
อีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกลไปไม่มากนักและหมดสภาพไปแล้วก็ได้รับการชุบชีวิตฟื้นคืนมาและแปรสภาพไปเป็น
Boutique Hotel ที่มีเรื่องราวเล่ายาวนาน
              ที่ "ถนนใหม่" ของกรุงเทพฯ ในอดีต,นั่นคือ ถนนเจริญกรุงที่ขนาบสองข้างถนนด้วยตึกแถวรายเรียง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 10:33

เบื้องหลังตึกแถวนี้มี โรงหนังปรินซ์ราม่า ซ่อนตัวอยู่


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 10:36

           ประวัติย้อนกลับไปแรกสร้างเป็นโรงบ่อนหลวงเมื่อปี พ.ศ.2455 และเป็นหนึ่งใน 5 โรงบ่อนสุดท้ายของ
สยาม ปัจจุบันยังปรากฏสิ่งที่หลงเหลือบ่งบอกให้รู้ว่าเคยเป็นโรงบ่อนเก่า คือ "ฮวงจุ้ย" ของอาคารซึ่งดูจากแปลน
จะเห็นว่าเป็นลักษณะอาคารทรงยาวและปาดมุมทั้งสี่เหมือน "โลงศพ"  
           ทั้งยังพบว่ามีเสา 1-2 ต้นที่สร้างขึ้นลอยๆ ไม่มีฐานราก ให้เหมือนกับคนป่วยถือไม้เท้า รวมเป็นฮวงจุ้ยที่
ทำให้คนที่เข้ามาอ่อนแอ เป็นการออกแบบโรงบ่อนเพื่อให้คนเข้ามาเล่นแพ้
           นอกจากนี้ยังมีถึงโลโก้เก่าที่มี "ดาบ" ทิ่มแทงคนที่เข้ามา และยังมี "น้ำเต้า" ดูดทรัพย์ ตั้งไว้ที่ท้ายอาคารใน
ห้องทำงาน
            รอบข้างโรงบ่อนรายล้อมไปด้วยอาคารสถานที่อย่างโรงฝิ่น ซ่องโสเภณี โรงรับจำนำ และตลาด


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 10:38

           หลังจากที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้เลิกบ่อนเบี้ยและเลิกหวยแล้วโรงบ่อนถูกปิดลง  พื้นที่ตรงนี้
จึงเปลี่ยนเข้าสู่ยุคของความบันเทิงกลายเป็นโรงภาพยนตร์สแตนด์อะโลนในปี 2460 ฉายหนังเงียบภาพขาวดำ
และ ตามด้วยหนังสีที่ได้รับความนิยมในยุคทองของโรงหนังทั่วกรุง จากนั้นจึงเสื่อมลงไปตามยุคสมัย กลายสภาพ
เป็นโรงหนังชั้น 2 ที่ฉายหนังควบวนไปทั้งวัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 10:40

           จนวาระสุดท้ายกลายเป็นโรงหนังฉาย "หนังผู้ใหญ่" อยู่หลายปี ก่อนที่จะสิ้นใจไปในราวปี 2553


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 03 เม.ย. 18, 09:31

           กลายเป็นโรงหนังร้าง,เป็นตลาด บางทีก็ทำเป็นโรงทำถ่าน เป็นบ้านชั่วคราวของคนไร้บ้านและที่เก็บ
ข้าวของของชาวบ้านในละแวกตึกแถวที่ยังมีคนอาศัยอยู่ บางคนนั้นอยู่มาตั้งแต่สมัยที่โรงหนังรุ่งเรืองก่อนที่จะ
ตกต่ำ หลายคนยังจดจำและบอกเล่าเรื่องราวของโรงหนังแห่งนี้ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนได้ดี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 03 เม.ย. 18, 09:32

             หลังจากร้างมานาน 7 ปี ในที่สุด บริษัท เฮอริเทจ สเตย์ ก็สามารถชนะการประมูลได้บริหารพื้นที่โรงหนังนี้
จากกรมธนารักษ์ ซึ่งต้องการให้ภาคเอกชนบริหารและพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 03 เม.ย. 18, 09:33

            โรงหนังเก่านี้จึงถูกพัฒนาให้กลายเป็น Boutique Hotel ที่มีชื่อใหม่อิงชื่อเก่าว่า
Prince Theatre Heritage Stay Bangkok


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 03 เม.ย. 18, 09:44

            บริษัทได้ทำการศึกษาอาคารเก่าอายุกว่า 100 ปีแห่งนี้ที่มีเรื่องราวร่องรอยฝากไว้ในตัวอาคารและ
ความทรงจำของผู้คนในละแวก โดยได้ไปค้นหาการออกแบบโครงสร้างโรงหนังเดิมจากกรมโยธาธิการและ
ผังเมืองเพื่อนำมาใช้ปรังปรุงโครงสร้างหลักให้แข็งแรงโดยใช้โครงสร้างเหล็กเข้าเสริม ความสูงและความกว้าง
ของผนังอาคารเท่าเดิมเพื่อไม่ให้กระทบต่อการรับน้ำหนักของอาคารเดิมไม่ว่าจะเป็นเสา พื้นรองรับน้ำหนักจาก
ผนังอาคารและระบบสุขาภิบาลเดิม ส่วนใหญ่ยังคงเก็บรักษาเอาไว้ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เช่น เสาไม้อายุกว่า 100 ปี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง