เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 30509 โรงหนังชั้นหนึ่ง stand alone หนึ่งเดียวที่เหลืออยู่กลางกรุงฯ - สกาลา"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 21 ก.พ. 18, 09:38

            แบ่งยุคสมัยของโรงภาพยนตร์ในไทยออกเป็น 4 ยุค

            ยุคที่ 1 เริ่มตั้งแต่ในช่วงทศวรรษ พ.ศ. 2440 ตรงกับช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คณะภาพยนตร์เร่
ได้เริ่มบุกเบิกเข้ามาฉายภาพยนตร์ตามโรงแรมและโรงละครต่างๆ ในสยามประเทศ ปีละรายบ้าง สองรายบ้าง
ยังไม่มีโรงภาพยนตร์ถาวร

           ภาพยนตร์เหล่านี้ถูกฉายขึ้นบนผืนผ้าที่ถูกขึงให้ตึง ชาวสยามในยุคนั้นจึงเรียกกันตามเคยปากอย่างคำ
เรียกมหรสพพื้นเมืองที่มีมาก่อนว่า “โรงหนัง” หมายถึงหนังใหญ่และหนังตะลุง ส่วนตัวภาพยนตร์ก็พลอยได้รับ
อานิสงค์เรียกกันสั้นๆ ว่า “หนัง” ตามไปด้วย

จาก thaifilm.com/forum ระบุว่า นิตยสาร "สารคดี"ฉบับ 100 ปี ภาพยนตร์ในประเทศไทย
เสนอภาพพร้อมคำบรรยายไว้ว่า ประตูสามยอด ที่ตั้งของโรงละครหม่อมเจ้าอลังการ สถานที่ฉายหนังครั้งแรก
ในประเทศไทย ปัจจุบันไม่มีแล้วกลายเป็นสี่แยกถนนเจริญกรุง ตัดกับถนนมหาไชย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 21 ก.พ. 18, 09:49

           ต่อในปี พ.ศ. 2445 ได้มีคณะภาพยนตร์เร่สัญชาติญี่ปุ่น เข้ามาตั้งกระโจมผ้าใบฉายภาพยนตร์อย่างเป็น
กิจลักษณะที่บริเวณเวิ้งวัดชัยชนะสงคราม(วัดตึก) ซึ่งก็ปรากฏว่าได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี

ประตูวัดชัยชนะสงครามด้านหน้าติดถนนมหาจักร(คลองถม) ส่วนด้านหลังวัดติดถนนจักรวรรดิ์ ตรงข้ามกับ
เวิ้งนาครเขษม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 ก.พ. 18, 09:51

           พวกนายทุนชาวญี่ปุ่นจึงได้ตัดสินใจสร้างตึกสำหรับฉายภาพยนตร์ และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวสู่
ยุคสมัยที่ 2 ของโรงภาพยนตร์ในสยามนั่นเอง

(nakornkasem.wordpress.com)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 ก.พ. 18, 16:12



ภาพล่างเป็น ฉากโรงภาพยนตร์นาครเขษมในจินตนาการ จากภาพยนตร์เรื่องโหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 22 ก.พ. 18, 09:56

(^ แม่นแล้ว,เคยดูฉากนี้ตอนหนัง,ซึ่งลงทุนงานสร้างผิดคาด,มาฉายทางเคเบิ้ลทีวี)

          ยุคที่ 2 เมื่อเกิดโรงภาพยนตร์ถาวรที่ชาวบ้านยุคนั้นเรียกกันเป็นภาษาปากว่า โรงหนังญี่ปุ่นแล้ว นายทุนชาวสยาม
เองก็เห็นช่องทาง ในยุคนี้จึงมีการสร้างโรงภาพยนตร์ขึ้นมากันให้เพียบ เช่น โรงหนังวังเจ้าปรีดา(เปิดให้บริการ พ.ศ. 2450)
โรงหนังสามแยก (พ.ศ. 2451) โรงหนังรัตนปีระกา (พ.ศ. 2452) เป็นต้น
          ในสมัยรัชกาลที่ 6 (ครองราชย์วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) โรงภาพยนตร์ก็ค่อยๆ ขยับขยายไปตามตำบลสำคัญ
ทั่วกรุงเทพฯ ในขณะนั้น เช่น โรงหนังปีนัง โรงหนังสิงคโปร์ โรงหนังสาธร โรงหนังบางลำพู โรงหนังนางเลิ้ง ฯลฯ จนกระทั่ง
พ.ศ. 2463 บริษัทแม่ของโรงภาพยนตร์เหล่านี้ (ซึ่งที่จริงแล้วก็มีบริษัทใหญ่อยู่เพียงแค่สองเจ้าเท่านั้น) ได้รวมกิจการเข้า
ด้วยกัน จนทำให้เกือบจะเกิดการผูกขาดกิจการค้าภาพยนตร์และโรงภาพยนตร์ เจ้าบริษัทใหม่ใหญ่ยักษ์นี้จึงค่อยขยายกิจการ
ออกไปตั้งโรงภาพยนตร์ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

(thaifilm.com/forum)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 22 ก.พ. 18, 10:03

            ศาลาเฉลิมธานี ณ ตลาดนางเลิ้ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรงหนังนางเลิ้ง สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6
เปิดฉายภาพยนต์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2461

(banmuang.co.th)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 22 ก.พ. 18, 10:06

         ความนิยมในการมหรสพอื่นๆ โดยเฉพาะละครเวทีที่เสื่อมถอยลง ยิ่งเป็นตัวเร่งกิจการค้าภาพยนตร์และโรงภาพยนตร์
ให้บูมยิ่งขึ้น แต่ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำเป็นอย่างมาก กิจการภาพยนตร์ในสยาม
ก็ตกต่ำลงไปด้วย แต่ช่วงเวลานี้กลับตรงกับช่วงฉลองพระนคร 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 ยุครัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์ได้โปรด
ให้สร้างโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ขึ้นเพื่อเป็นศรีสง่าแห่งพระนคร และเป็นที่ระลึกในวาระโอกาสนี้ (ก็สร้างเพื่อ “เฉลิมกรุง” ตรง
ตัวตามชื่อโรงหนัง)
         เฉลิมกรุง จึงเป็นโรงภาพยนตร์ระดับไฮเอนด์ของประเทศในยุคนั้น นอกเหนือจากความใหญ่โตโอ่อ่าแล้ว เทคโนโลยี
อย่างหนึ่งที่ต้องมาเพื่อให้เหมาะสมกับที่เป็น “ศรีสง่าแห่งพระนคร” ก็คือ การเป็นโรงภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพยนตร์ที่
มีเสียงได้ นอกเหนือจากที่ “เฉลิมกรุง” จะเป็นตัวอย่างสำคัญของโรงภาพยนตร์ในยุคนี้ จึงยังเป็นมาตรฐานสำคัญสำหรับ
การสร้างโรงภาพยนตร์ในยุคต่อมาด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 22 ก.พ. 18, 15:58

ได้ข้อมูลว่า ภาพยนตร์เรื่องแรก คือ มหาภัยใต้ทะเล   
เป็นเรื่องนี้หรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 09:56

วิกกี้ ว่า        "ศาลาเฉลิมกรุง" เปิดฉายปฐมฤกษ์ด้วยหนังฝรั่งเสียงในฟิล์ม เรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล"
[5 ธนาทิพ ฉัตรภูมิ , หน้า 38-40]  เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 มีรายงานว่าคนดูล้นหลาม
ออกมาถีงถนนหน้าโรงจนรถรางยวดยานต่างๆ ติดขัดหยุดชะงักชั่วคราว [6 หนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับ
วันพุธ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2476]

เช่นเดียวกับ โรม บุนนาค ในเว็บผู้จัดการ 4 กรกฎาคม 2559

            ศาลาเฉลิมกรุงเปิดประเดิมด้วยการฉายภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง “มหาภัยใต้ทะเล” มีคนเบียดเสียด
เข้าชมกันแน่น ซึ่งคนจำนวนมากต้องการมาดูโรงมากกว่าดูหนัง ตอนก่อนฉายภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุงจะ
เปิดม่านแล้วเล่นแสงสีประกอบเพลงขณะที่แอร์ก็เย็นฉ่ำ ผู้ชมต่างกล่าวกันว่า แค่ก่อนหนังฉายนี้ก็คุ้มค่าชมแล้ว

https://goo.gl/yHLLtv

            ข้อมูลไม่ระบุชื่อภาษาอังกฤษของหนัง, ส่วนเรื่อง Below the Sea เป็นหนังออกฉายเมื่อ 29 มีนาคม
ปี 1933 ตรงกับพ.ศ. 2476 พอดี

(sihawatchara.blogspot)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 13:42

ดิฉันไปเช็คหนังฮอลลีวู้ดที่ออกฉายในพ.ศ. 2476  ว่ามีเรื่องไหน ชื่อเกี่ยวกับทะเลบ้าง  ก็เจอเรื่องนี้ค่ะ
แต่หนังที่ฉายที่เฉลิมกรุงไม่รู้ว่าเป็นหนังของอเมริกาหรืออังกฤษ     ข้อมูลข้างบนนี้ไม่ได้บอก
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 26 ก.พ. 18, 09:35

          ยุคที่ 3 เป็นกลุ่มโรงภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2490-2530 ซึ่งนับเป็นยุคคลาสลิค
ของโรงภาพยนตร์ในไทย โรงภาพยนตร์ในยุคนี้มักเป็นโรงภาพยนตร์เดี่ยว(stand alone) หลายแห่งมีขนาด
ใหญ่โตจนมีที่นั่งถึง 800-1500 ที่นั่ง และมักจะกระจายตัวอยู่ตามย่านสำคัญของกรุงเทพฯ จนทำให้หลาย
ย่านมีโรงภาพยนตร์หลายแห่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน
          ช่วงต้นๆ ของยุคนี้ตรงกับช่วงที่เรียกว่า “โก๋หลังวัง” เราจะเห็นโรงภาพยนตร์อย่าง โรงหนังควีน
โรงหนังคิงส์ และโรงหนังแกรนด์ย่านวังบูรพา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 ก.พ. 18, 09:36

         ในขณะที่ต่อมาใน “ยุค 60’s-70’s” ศูนย์กลางแฟชั่นและความทันสมัยย้ายไปอยู่ที่ละแวกสยามสแควร์
เราก็จะเห็นทั้งโรงหนังสยาม โรงหนังลิโด โรงหนังสกาลา รวมไปถึงโรงหนังแม็คเคนน่า และ เอเธนส์ ที่อยู่ไม่
ห่างไปมากนัก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 26 ก.พ. 18, 09:37

            และถ้าจะพูดกันจนถึงที่สุดแล้ว โรงหนังสยามถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาพื้นที่แถบนั้นยังไม่เป็นศูนย์กลาง
ความทันสมัยเลย ดูเหมือนว่าความทันสมัยจะมาล้อมรอบโรงหนังสยาม จนมีการสร้างโรงหนังลิโด และสกาลา ขึ้น
ตามมาตามลำดับเสียมากกว่า ช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นทั้งยุคทองในแง่ของธุรกิจ และคลาสสิกในแง่ของความทรงจำ
ของธุรกิจโรงภาพยนตร์เลยทีเดียว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 26 ก.พ. 18, 20:19

จำไม่ได้ว่าก่อนโรงภาพยนตร์สยามมาตั้งอยู่ในส่วนที่เรียกว่าสยามสแควร์  แถวนั้นเป็นอะไรมาก่อน   เห็นจะต้องพึ่งภาพถ่ายในอดีตของคุณหนุ่มสยาม  หรือถ้าคุณหมอ SILA มี ก็อยากจะเห็นค่ะ
เดาว่าที่ไม่ได้สะดุดตาจนติดในความทรงจำ   เพราะตรงนั้นคงเป็นตึกแถวธรรมดาๆ 
ความทรงจำมีอยู่แค่ถนนเพลินจิต และมาถึงสี่แยกราชประสงค์  ถนนเพลินจิตเป็นถนนที่สวยมาก มีบ้านแบบฝรั่งเรียงรายอยู่สองข้างทาง รวมทั้งส่วนที่เป็นเซนทรัลชิดลมก็เป็นบ้านสวยหลายหลัง  มีสถานทูตอังกฤษพร้อมด้วยรูปหล่อของควีนวิคตอเรียประทับเด่นเป็นสง่าอยู่กลางลาน
จากสี่แยกราชประสงค์ที่มีศาลพระพรหมให้คนมาขอโน่นขอนี่ และตึกโรงแรมเอราวัณ   ข้ามมาก็เจอศูนย์การค้าที่เป็นตึกแถว ตรงส่วนที่เป็นเซนทรัลด์เวิร์ลด์ตอนนี้    มีห้างไดมารูที่มีบันไดเลื่อนครั้งแรกของไทยให้ตื่นเต้นกัน   ตรงกันข้ามคือกรมตำรวจ และโรงพยาบาลตำรวจ     จากนั้นภาพขาดหายไป  ไปต่อได้อีกทีตรงสี่แยกปทุมวัน ว่ามีสี่แยกอยู่ตรงนั้น
   
มาจำได้อีกทีเมื่อโรงหนังสยามที่โก้จนรู้สึกว่าแถววังบูรพาชิดซ้ายเกิดขึ้นมา    ศูนย์การค้าด้านหลังโรงหนังเป็นที่ทันสมัย มีร้านเก๋ๆ เท่ๆ หลายร้าน    นิสิตชอบไปเดินกันมาก
อาจารย์เคยดุในชั้นเรียนว่า ห้ามไปดูหนังที่สยามโดยที่ยังแต่งชุดนิสิต  ถือว่าไม่เหมาะสมแก่เครื่องแบบ  ควรจะเปลี่ยนเป็นชุดไปรเวทก่อนไปดูหนัง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 27 ก.พ. 18, 09:29

        คุณ กอบชัย ซอโสตถิกุล ที่ผู้คนในวงการก่อสร้างต่างยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
ผู้ฝากผลงานโดดเด่นไว้ ตั้งแต่การก่อสร้างโครงการสยามสแควร์ พร้อมโรงภาพยนตร์ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น,
โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ไปจนถึงการสร้างศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด 1 ใน 5
ของโลก ย่านถนนศรีนครินทร์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้นานแล้วว่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง