เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 5728 ทำไมถึงบอกว่าสำเนียงสุพรรณ, สำเนียงเจรจาโขน เป็นสำเนียงหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา?
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 13:28


สำเนียงของท้องถิ่นต่างๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ครับ
เราคาดเดาได้ยากว่าสองร้อยปีที่แล้ว คนกรุงเทพฯพูดสำเนียงเหน่อยานคางแบบใด

ลองดูโฆษณาในช่วงห้าสิบปีที่แล้วจะเห็นว่า
คนกรุงเทพฯ พูดเสียงห้วนขึ้น เร็วและสั้นขึ้นเรื่อยๆครับ


โฆษณา-อ.สรรพสิริ วิริยศิริ


โฆษณาผงพิเศษ (พ.ศ.2510)


โฆษณาปี พ.ศ.2520


โฆษณาปี พ.ศ.2530


โฆษณาปี พ.ศ.2540


โฆษณาปี พ.ศ.2550


โฆษณาปี พ.ศ.2560

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 14:04

๑.
ถ้าสำเนียงสุพรรณยังดำรงอยู่ในราชสำนัก ในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงมากรุงแตก      ต่อมา ขุนนางที่รวบรวมกันเป็นกำลังให้สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มาจากราชสำนักอยุธยาเป็นส่วนใหญ่
สำเนียงสุพรรณยังมีมาตลอดสมัยธนบุรีหรือไม่

ขุนนางที่หนีจากกรุงศรีฯมากับพระเจ้าตากเห็นจะเป็นกองกำลังส่วนน้อยไม่เกิน ๑,๐๐๐ คน (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวตรงกันว่า ๑,๐๐๐ นาย, จดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีว่ามี ๕๐๐ นาย) กองกำลังส่วนใหญ่ได้จากหัวเมืองตะวันออกแถวจันทบุรีและตราด สำเนียงคนธนบุรียุคนั้นอาจจะเป็นสำเนียงอยุธยาเดิมประสมสำเนียงตะวันออกบ้างก็เป็นได้

๒.
15 ปีหลังจากนั้น  เมื่อมีกรุงรัตนโกสินทร์  ขุนนางก็ชุดเดียวกับที่เหลือรอดจากกรุงแตกและรับราชการในธนบุรี  สำเนียงสุพรรณน่าจะติดมาถึง    มันหายไปในยุคไหนคะ

สำเนียงคนกรุงเทพฯ สมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ ๑-๓ น่าจะเป็นสำเนียงที่รับมาจากสมัยกรุงธนบุรีประสมสำเนียงท้องถิ่นที่สำคัญคือสำเนียงคนจีนแต้จิ๋วพูดภาษาไทย (สำเนียงนี้แหละสืบทอดมาถึงคนไทยปัจจุบัน น้อยคนจะออกเสียง ร เรือได้ชัด เหตุเพราะภาษาจีนมีแต่เสียง ล ลิง ไม่มี ร เรือ) กระบวนการประสมสำเนียงน่าจะเข้าที่เข้าทางราวรัชกาลที่ ๔-๕ แลใช้เรื่อยมาจนปัจจุบัน

ข้อสันนิษฐานแลการเดาก็มีด้วยประการฉะนี้แล ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 16:13

ถ้าตั้งสมมุติฐานว่าสำเนียงเจรจาของโขนสืบทอดกันมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงเลย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสำเนียงนี้ก็อาจจะเก่าแก่กว่านั้นมากโดยที่ราชสำนักตอนปลายอยุธยาก็อาจจะไม่ได้พูดสำเนียงนี้แล้วด้วยซ้ำ หรือยิ่งไปกว่านั้น อาจจะเป็นสำเนียงของเจ้าของศิลปะนี้ซึ่งราชสำนักรับเข้ามาแล้วให้คงสำเนียงเดิมของตนไว้ เท่ากับว่าสำเนียงนี้ไม่เคยถูกใช้พูดกันในราชสำนักเลยก็เป็นได้เช่นกันนะครับ

ส่วนสำเนียงกรุงเทพนั้นน่าสนใจกว่าอีก เพราะ70-80 ปีที่แล้ว สำเนียงต่างจากปัจจุบันไม่น้อย สมมติฐานที่ว่าเกิดจากสำเนียงแต้จิ๋วปนเข้ามาก็น่าสนใจ เพราะช่วงเวลานี้คนจีนอพยพเข้ามามาก และก็น่าสนใจว่าสำเนียงแต้จิ๋วช่วงเวลาประมาณ 50 ปีที่ผ่านมาก็กลายอย่างรุนแรงไม่น้อย วรรณยุกต์แต้จิ๋ว 8 เสียง คนอายุต่ำกว่า 60 ปี (เฉพาะที่ยังพูดแต้จิ๋วได้นะครับ) ส่วนมากพูดเหลือ 5 เสียงตรงกับวรรณยุกต์ไทย แต่ที่น่าสังเกตคือ สำเนียงกรุงเทพก่อนหน้านั้น ซึ่งผมเห็นว่าได้รับอิทธิพลจากเสียงแต้จิ๋วน้อยมาก ก็ยังต่างกับสำเนียงในจังหวัดข้างเคียงอยู่ดี
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 17:46

คนกรุงเทพเมื่อ 60-70 ปีก่อน   พูด  ร. ล. แยกกันได้ชัดเจนค่ะ    อีกอย่างคือพูดคำควบกล้ำได้ชัด เพราะสอนกันในโรงเรียน   
ครูภาษาไทยกวดขันกันมากในเรื่องนี้
ส่วนคนจีนเชื้อสายแต้จิ๋วในไทย จำได้ว่าเขาออกเสียง ด. ไม่ได้  ออกเป็น ล.  เช่นเด็กดี  อาแปะออกเสียงเป็น เหล็กลี

คำที่ชาวบ้านออกเสียงไม่ได้คือเสียงควบกล้ำ  คว  ออกเสียงเป็น ฟ   ควันไฟ เป็น ฟันไฟ   ควาย เป็น ฟาย

ต่อมา ไม่มีการกวดขันกันเรื่องออกเสียง ร ล   เสียง ร ก็หายไปกลายเป็น ล    ยิ่งควบกล้ำแล้วพูดไม่ได้เลย   
กรอง กับ กอง   รา กับ ลา กลายเป็นคำเดียวกัน   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง