เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70702 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 450  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 17:35





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 451  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 17:37





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 452  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 19:00

ยิ่งดูศรีอโยธยานานๆเข้า ก็ยิ่งเข้าใจแนวคิดของการสร้างเรื่องนี้   ว่าเอาประวัติศาสตร์มาแต่ชื่อเจ้านายสำคัญบางพระองค์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย   ส่วนเนื้อหาว่าตรงกับข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหนนั้น ออกไปทางน้อย  ไม่ใช่มาก
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี  ทำตามใจชอบ ไม่ยึดถือให้ตรงกับความเป็นจริงตามหลักฐานพงศาวดาร

ด้วยเหตุนี้     ล่าสุดตอนที่ 16[2/6]  จึงมีฉากพระราชมารดาของพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกนอกวังมาเยี่ยมบ้านขุนนางได้ ตามใจชอบ  แม้จะอ้างว่าเป็นญาติกันมาแต่เดิมก็ตาม  นั่นก็ไม่สามารถหักล้างข้อเท็จจริงตามขนบธรรมเนียมได้ว่า เจ้านายสตรีไม่อาจจะเสด็จไปไหนมาไหนได้ตามแต่จะอยากไป       ไม่สามารถจะนั่งอยู่ห้องเดียวกับบุรุษที่ไม่ใช่พระราชโอรส    ไม่สามารถจะดูการแสดงที่ชายฉกรรจ์เป็นผู้แสดงได้   ไม่สามารถให้ผู้ชายสามัญชนมองหน้าได้เต็มตา อย่างที่พระพันวัสสาสินจัยทำได้ตามสบายในละครเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
ดูไปก็คงทำนองเดียวกับหนังจีนทางทีวีอย่างเปาบุ้นจื้น    ไทเฮาหรือฮองเฮาอยากไปไหนก็ไป  จะมาศาลไคฟงหรือไปเที่ยวเตร่ที่ไหนก็ได้ตามใจชอบ 

ดิฉันดูข้ามไปหรือเปล่าไม่ทราบ เลยไม่รู้ว่าผู้เขียนบทให้พระพันวัสสานับญาติกับพระยาพิชัยแบบไหนยังไง    เชื้อสายกรมพระราชวังหลังถึงกลายเป็นสามัญชนกันไปหมด  แต่จะยังไงก็ตาม   เด็กชายทองหยิบบังอาจเรียกพระพันวัสสาว่าสมเด็จทวด   ถ้าเป็นจริง ทั้งพ่อทั้งปู่โดนโทษเบาที่สุดก็เฆี่ยนหลังลาย นี่ถือว่ากรุณาแล้ว
 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 453  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 19:18

อีกอย่างคือ ตามธรรมเนียมไทยโบราณ (แม้แต่ปัจจุบันนี้ก็เถอะ) ผู้ใหญ่ไม่เป็นฝ่ายไปหาผู้น้อย     ถ้ามีธุระอยากพบ ก็จะส่งคนไปบอกผู้น้อยให้เป็นฝ่ายมาหาเอง 
ถ้าทำตามโบราณราชประเพณี  มีทางเดียวที่ส่งข่าวถึงกันได้   คือเจ้าจอมราตรีจะต้องเป็นสื่อกลาง ทำหน้าที่นำความมากราบทูล   พระพันวัสสากับเจ้าพระยาพิชัยจะไม่มีวันได้พบหน้ากัน  เพราะฝ่ายหนึ่งอยู่ในพระราชฐานชั้นใน  อีกฝ่ายอยู่นอกวัง ในบ้านในเรือนของตัวเอง
เทียบง่ายๆกับสี่แผ่นดิน     ในวันโกนจุก หรือวันวิวาห์ของพลอย ผู้เป็นนางข้าหลวงคนโปรดของเสด็จ   เสด็จยังไม่อาจเสด็จออกนอกวังมาเป็นประธาน หรืออวยพรในพิธีให้พลอยได้เลย     

บันทึกการเข้า
กงซุนต้าเหนียง
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 454  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 21:29

สวัสดีค่ะ อ.เทาชมพู และสมาชิกท่านอื่นๆ ทุกท่าน

พอดีเสิร์ชเจอกระทู้นี้ อ่านแล้วได้ความรู้เยอะเลยค่ะ

ส่วนตัวดิฉันสนับสนุน dramatic license และไม่ค่อยซีเรียสเรื่องความถูกต้องของจารีตและขนบธรรมเนียมในบริบทของละคร/นิยาย

สาเหตุเพราะอยากเห็นละคร/นิยายในรูปแบบ simplified บ้าง เพราะในประเทศเรามีละคร/นิยายที่ (พยายาม) ยึดความถูกต้องมากแล้ว
แน่นอนว่ามันดีและทรงคุณค่า แต่มันก็น่าเบื่อมากค่ะ เพราะแทบทุกเรื่องก็วนเวียนอยู่ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ตัวละครขาดอิสระในการแสดงบทบาท

เรื่องเปาบุ้นจิ้น (และซีรีส์จีน ญี่ปุ่น เกาหลีอื่นๆ) ที่อาจารย์ได้ยกมาถือเป็นตัวอย่างในความคิดของดิฉันเลยค่ะ
จะเห็นว่าซีรีส์เหล่านี้ได้ simplify องค์ประกอบเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ จารีตและขนบธรรมเนียม
แล้วหันมาให้ความสำคัญกับ "บท" และ "ไดอะล็อค" ที่คม ซับซ้อน เป็นเหตุเป็นผล และระยะหลังเริ่มมีนวัตกรรมแปลกใหม่ เช่น การหักมุมที่น่าทึ่ง (โดยเฉพาะซีรีส์เกาหลี)
จะเห็นว่าฮ่องเต้ในเรื่องเปาบุ้นจิ้นแกนั่งว่าราชการบนเก้าอี้โง่ๆ ในห้องเล็กเท่ารังหนู โดยมีแค่อ๋องแปด อำมาตย์ ราชครู และท่านเปาเข้าเฝ้า  ยิงฟันยิ้ม
ทั้งนี้เพราะตัวซีรีส์ได้ก้าวข้ามเรื่องความสมจริง และหันไปให้ความสำคัญกับเนื้อเรื่อง คติสอนใจ บลาๆๆ

ดิฉันว่าปัญหาของศรีอโยธยาคือล้มเหลวทั้ง 2 อย่าง
ด้านจารีตขนบธรรมเนียมเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด ส่วนด้านเนื้อเรื่องก็เบาหวิวและยืดเยื้อสุดๆ
ผ่านไป 15-16 ตอนแล้ว เส้นเรื่องยังไม่ชัดเจน ตัวละครในปัจจุบันที่ถูกใช้ดำเนินเรื่องไม่มีเป้าหมายที่แน่นอน

เหมือนเอาตัวละครมาปล่อยให้เดินไปเดินมา แล้วก็โปรยเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตไปบนทางเดิน (ซึ่งไม่มีจุดหมายปลายทาง) ของตัวละครเหล่านั้น  ขยิบตา







บันทึกการเข้า
แพรวพิม
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 455  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 21:38


ดิฉันดูข้ามไปหรือเปล่าไม่ทราบ เลยไม่รู้ว่าผู้เขียนบทให้พระพันวัสสานับญาติกับพระยาพิชัยแบบไหนยังไง    เชื้อสายกรมพระราชวังหลังถึงกลายเป็นสามัญชนกันไปหมด  แต่จะยังไงก็ตาม   เด็กชายทองหยิบบังอาจเรียกพระพันวัสสาว่าสมเด็จทวด   ถ้าเป็นจริง ทั้งพ่อทั้งปู่โดนโทษเบาที่สุดก็เฆี่ยนหลังลาย นี่ถือว่ากรุณาแล้ว
 

เท่าที่รู้มาจากตอนแรกๆ (ปัจจุบันเลิกดูไปแล้วค่ะ แต่ยังตามอ่านกระทู้นี้อยู่ตลอด) พระยาพิชัยเป็นหลานอาของพระพันวัสสาน้อย เป็นพี่ชายของเจ้าจอมราตรี เจ้าจอมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เด็กชายทองหยิบเป็นหลานปู่ของพระยาพิชัย ตามศักดิ์แล้วก็เป็น "เหลน" ของสมเด็จพระพันวัสสาฯ

แต่ขอพูดเถอะ เท่าที่อ่านหนังสือมา ก็รู้ว่าคนสมัยก่อนเขาถือว่าอย่านับญาติกับเจ้านาย เดี๋ยวจัญไรจะกินหัว ขนาดเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าซึ่งก็ถือว่าเป็น "เจ้า" ก็ยังไม่กล้านับญาติกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงกว่านั้นเลยด้วยซ้ำ

แล้วนี่ตระกูลพระยาพิชัย ทำตัวเทียมเจ้าเทียมนาย เด็กชายทองหยิบใส่สังวาลย์เส้นเบ่อเร้อ ไม่กลัวจัญไรกินหัวเลยหรืออย่างไร
บันทึกการเข้า
กงซุนต้าเหนียง
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 456  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 21:44

แล้วก็เห็นด้วยกับ อ. เทาชมพูค่ะ เรื่องคาแร็คเตอร์กับบทขัดแย้งกัน

เช่น อ.สอนโบราณคดีค้าของเก่า
หรือศาสตราจารย์ที่พูดไทยคำอังกฤษคำอย่างไม่สมเหตุสมผล บางทีพูดประโยคอังกฤษจบแล้วตามด้วยประโยคแปลภาษาไทย ซึ่งมันซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น การแสดงก็ล้นไม่เหมาะกับสถานภาพ ศ. เลย

ประเด็นเหล่านี้ดูแล้วรู้สึกหงุดหงิดมากค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

:::::::::::::::::::::::::

ขออนุญาตนอกเรื่อง โดยยกตัวอย่าง dramatic license ที่น่าสนใจ

เช่น ซีรีส์เกาหลีเรื่อง Six Flying Dragons พูดถีงกษัตริย์แทโจผู้ก่อตั้งราชวงศ์โชซอน และกลุ่มบุคคลที่มีส่วนสัมพันธ์กับเขา
เรื่อง Deep Rooted Tree พูดถีงกษัตริย์เซจงผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี (ฮันกึล)
ประเด็นความสมจริงของฉาก จารีตธรรมเนียม ฯลฯ ไม่ต้องพูดถึงค่ะ เพราะคนทำละครเน้นเรื่องปรัชญาการปกครอง และการชิงไหวชิงพริบเพื่อวางรากฐานวัฒนธรรมและแนวคิดทางการเมืองของราชวงศ์ที่กำลังตั้งไข่

แม้แต่ซีรีส์ตระกูล taiga ของญี่ปุ่น เช่น Yae no Sakura พูดถึงบทบาทของ Niijima Yae ผู้ทำงานเพื่อสิทธิสตรีในญี่ปุ่น
บทละครได้ก้าวข้ามความสมจริงและข้อเท็จจริงไปจำนวนมาก โดยแต่งเรื่องเกินจริงใส่เข้าไปเพื่อเน้นการต่อสู้ของเธอให้ชัดเจนขึ้น

ซีรีส์จีน+ญี่ปุ่น เรื่อง The Pleiades พูดถึงพระนางซูสีไทเฮา แต่เอาดาราญี่ปุ่นมาเล่น และมีขันทีน้อยเป็นตัวดำเนินเรื่อง
หลายฉากหลายตอนขันทีน้อยเป็นผู้แสดงบทบาท ทั้งๆ ที่ตามธรรมเนียมควรเป็นหน้าที่ของคนอื่น แต่ประเด็นของเรื่องนี้คือการเน้นเสนอภาพของแรงกดดันทุกทิศทางที่โถมใส่ราชสำนัก
อันเป็นเหตุแห่งความล่มสลาย ซึ่งเนื้อเรื่องได้พลิกมุมมองเกี่ยวพระนางซูสีไปพอสมควร

ฯลฯ

อยากเห็นละคร/นิยายไทยออกไปแตะขอบฟ้า  ยิงฟันยิ้ม เอ๊ย...แตะเรื่องปรัชญา อุดมการณ์ หรือประเด็นทางเทคนิค เช่น นิติวิทยา กฎหมาย เศรษฐศาสตร์การเมือง ฯลฯ บ้างจัง
จะเห็นว่าประเด็นเหล่านี้มีความเป็นสากล แม้จะผูกเรื่องขึ้นมาจากเหตุการณ์ประจำชาติ แต่มันก็มีศักยภาพที่จะก้าวออกไปในระดับนานาชาติ อันนี้เป็นข้อดี

ส่วนข้อเสียก็แน่นอนค่ะ ละทิ้งความสมจริง สูญเสียคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ก็ว่ากันไป  อายจัง



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 457  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 22:33

ขอบคุณค่ะคุณแพรวพิม
ถ้างั้นก็หมายความว่า กรมพระราชวังหลังกับพระพันวัสสาเป็น"เจ้า" อยู่ 2 องค์    ลูกหลานต่อมา ล้วนเป็นสามัญชน  แต่ก็ยังนับญาติกันอยู่

ตอบคุณกงซุนต้าเหนียง

ความจริง บรรพบุรุษไทยของเรารู้จัก dramatic license มานมนานกาเลแล้วค่ะ เพียงแต่ท่านไม่รู้จักศัพท์นี้เท่านั้น
DL มีอยู่เต็มไปหมดในลิเก ละครพื้นบ้านหรือเราเรียกว่าละครนอก   ช่อง 7 ก็ยังนำเสนออยู่เป็นประจำในละครพื้นบ้าน
แต่ "ขนบ" ของละครเหล่านี้มีให้เห็นชัดๆตั้งแต่เปิดฉากไปจนจบเรื่องไงคะ  เป็นที่รับรู้กันทั้งเจ้าของวิกและคนดู  คนดูจึงไม่เอา "เจ้า" อย่างจันทโครพมาปะปนกับเจ้านายจริงๆในสังคมไทย
แต่ถ้าเป็น "โขน"ราชสำนักอย่างโขนรัชกาลที่ 6  ขนบที่อิงความจริงในประวัติศาสตร์ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นเสมอ   ทศกัณฐ์ออกโรง นั่งแท่นบัลลังก์ทีไร  สังเกตดีๆ จะมีเสนายักษ์ใหญ่มานั่งเป็นสมุหนายก รองลงไปชั้นจตุสดมภ์จะต้องมานั่งตามตำแหน่งกันครบ 4 คน   เพราะทศกัณฐ์เป็นกษัตริย์  ก็ต้องมีขุนนางใหญ่น้อยประดับเกียรติ อิงตามความจริง
คนโบราณท่านวางระเบียบเอาไว้   เพื่อสื่อสารกันเข้าใจได้ระหว่างคนแสดงและคนดู    ไม่เอามาปะปนกันให้เละ  จนกลายเป็นยำใหญ่    

ติดตามดูละครเรื่องนี้ ก็ได้ความเข้าใจขึ้นมาว่า  น่าจะมีผู้กำกับหลายคนไม่ใช่คนเดียว  แบ่งกันไปกำกับฉากบางฉากหรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์  ทีนี้ก็ขึ้นกับแต่ละคนละ ว่าชอบอะไรแบบไหน     เช่นฉากถวายตัว " นางพระบำเรอ" เจ้าจอมแข  มีจับระบำรำฟ้อนกันในพระตำหนัก  น่าจะมาจากความคิดครีเอทของผู้กำกับว่า  เรื่องไหนๆก็มีนางรำสาวๆมารำแยะแล้ว   ซ้ำซากน่าเบื่อ ก็เปลี่ยนเป็นนางรำชายแทนมั่ง  เป็นความแปลกใหม่
ส่วนนางพระกำนัลสังข์นั้น  ดิฉันคิดอยู่นาน กว่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นการผสมผสานขันที(ชาย)เข้ากับโขลน(หญิง) ออกมาเป็นกึ่งชายกึ่งหญิง    นี่ก็มองได้ว่าครีเอทเหมือนกัน  เพราะไม่เคยมีตัวละครแบบนี้อยู่ในละครย้อนอดีตเรื่องไหนทั้งหมด     ถ้าเป็นฝ่ายดีก็คงประดักประเดิด   ก็เป็นฝ่ายร้ายเสียดีกว่า  ได้แสดงบทบาทฉูดฉาดได้เต็มที่
บันทึกการเข้า
กงซุนต้าเหนียง
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 458  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 23:01


ตอบคุณกงซุนต้าเหนียง

ความจริง บรรพบุรุษไทยของเรารู้จัก dramatic license มานมนานกาเลแล้วค่ะ เพียงแต่ท่านไม่รู้จักศัพท์นี้เท่านั้น
DL มีอยู่เต็มไปหมดในลิเก ละครพื้นบ้านหรือเราเรียกว่าละครนอก   ช่อง 7 ก็ยังนำเสนออยู่เป็นประจำในละครพื้นบ้าน
แต่ "ขนบ" ของละครเหล่านี้มีให้เห็นชัดๆตั้งแต่เปิดฉากไปจนจบเรื่องไงคะ  เป็นที่รับรู้กันทั้งเจ้าของวิกและคนดู  คนดูจึงไม่เอา "เจ้า" อย่างจันทโครพมาปะปนกับเจ้านายจริงๆในสังคมไทย
แต่ถ้าเป็น "โขน"ราชสำนักอย่างโขนรัชกาลที่ 6  ขนบที่อิงความจริงในประวัติศาสตร์ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นเสมอ   ทศกัณฐ์ออกโรง นั่งแท่นบัลลังก์ทีไร  สังเกตดีๆ จะมีเสนายักษ์ใหญ่มานั่งเป็นสมุหนายก รองลงไปชั้นจตุสดมภ์จะต้องมานั่งตามตำแหน่งกันครบ 4 คน   เพราะทศกัณฐ์เป็นกษัตริย์  ก็ต้องมีขุนนางใหญ่น้อยประดับเกียรติ อิงตามความจริง
คนโบราณท่านวางระเบียบเอาไว้   เพื่อสื่อสารกันเข้าใจได้ระหว่างคนแสดงและคนดู    ไม่เอามาปะปนกันให้เละ  จนกลายเป็นยำใหญ่    

ติดตามดูละครเรื่องนี้ ก็ได้ความเข้าใจขึ้นมาว่า  น่าจะมีผู้กำกับหลายคนไม่ใช่คนเดียว  แบ่งกันไปกำกับฉากบางฉากหรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์  ทีนี้ก็ขึ้นกับแต่ละคนละ ว่าชอบอะไรแบบไหน     เช่นฉากถวายตัว " นางพระบำเรอ" เจ้าจอมแข  มีจับระบำรำฟ้อนกันในพระตำหนัก  น่าจะมาจากความคิดครีเอทของผู้กำกับว่า  เรื่องไหนๆก็มีนางรำสาวๆมารำแยะแล้ว   ซ้ำซากน่าเบื่อ ก็เปลี่ยนเป็นนางรำชายแทนมั่ง  เป็นความแปลกใหม่
ส่วนนางพระกำนัลสังข์นั้น  ดิฉันคิดอยู่นาน กว่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นการผสมผสานขันที(ชาย)เข้ากับโขลน(หญิง) ออกมาเป็นกึ่งชายกึ่งหญิง    นี่ก็มองได้ว่าครีเอทเหมือนกัน  เพราะไม่เคยมีตัวละครแบบนี้อยู่ในละครย้อนอดีตเรื่องไหนทั้งหมด     ถ้าเป็นฝ่ายดีก็คงประดักประเดิด   ก็เป็นฝ่ายร้ายเสียดีกว่า  ได้แสดงบทบาทฉูดฉาดได้เต็มที่


อ่านแล้วรู้สึกใช่เลยค่ะ
จริงๆ ดิฉันก็เพิ่งนึกได้ถึงเรื่องลิเกและละครจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งใช้ dramatic license กันอย่างเต็มที่ และผู้ชมก็สนุกไปกับมัน

ปัญหาของศรีอยุธยาคือคนดูไม่สนุกไปด้วย เพราะมึนกับบทว่าจะเอายังไงแน่
เรื่องผู้กำกับหลายคนหรือเปล่าไม่แน่ใจค่ะ แต่ดิฉันเคยดูเบื้องหลัง พบว่ามีที่ปรึกษาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย พร็อพต่างๆ หลายคน
บางคนก็ระดับดอกเตอร์ละค่ะ แต่ก็ยังปล่อยหลุดมามากขนาดนี้  ขยิบตา

ส่วนพระกำนัลสังข์ ดิฉันคิดว่าคนสร้างคาแร็คเตอร์คงไม่ได้คิดอะไรซับซ้อน คือจับลักษณะของเพศที่สามในยุคปัจจุบันใส่เข้าไปเลย
แม้แต่การออกแบบเสื้อผ้าตอนถวายตัว ก็คงเอาไอเดียประกวดทิฟฟานีมาออกแบบ (ล้อเล่นนะคะ)
ดิฉันเห็นแล้วต้องหัวเราะ เพราะนางนุ่งผ้าไทย ใส่เอี๊ยมจีน สวมเสื้อคลุมญี่ปุ่น ส่วนหัวทำทรงเขมร เทียบเคียงจากสิงห์ศิลาค่ะ  



Cr รูป: https://www.pinterest.com/pin/509962357791646744/

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 459  เมื่อ 07 ก.พ. 18, 10:50





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 460  เมื่อ 07 ก.พ. 18, 10:52





บันทึกการเข้า
AroundTheWorld
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 461  เมื่อ 09 ก.พ. 18, 08:52

ถือโอกาสที่มีกระทู้ของหม่อมน้อยแบบนี้ ขอถามเรื่องที่ค้างคาใจในสี่แผ่นดินว่าการโกนจุกลูกพระยาแบบพลอย รวมถึงช้อย (ที่ยศพ่อไม่ถึงพระยา) ใส่นวมสวมเกี้ยวเครื่องทองเต็มตัว มันเป็นแบบนี้จริงๆ หรือครับ
ขอความรู้ด้วยครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 462  เมื่อ 09 ก.พ. 18, 10:28

การแต่งกายเต็มยศในวันโกนจุก เป็นแบบนี้ค่ะ
เด็กน้อยในภาพนี้ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นหม่อมราชวงศ์   ถ่ายเมื่อพ.ศ. 2449



บันทึกการเข้า
AroundTheWorld
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 463  เมื่อ 09 ก.พ. 18, 10:52

แปลว่าในเรื่องสี่แผ่นดิน
เครื่องแต่งกายงานโกนจุกแม่พลอย แม่ช้อย
เป็นการแต่งกายที่ถูกต้องตามฐานะแล้วใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 464  เมื่อ 09 ก.พ. 18, 11:16

ดิฉันจำฉากนี้ไม่ได้ค่ะ 
รอคำตอบจากคุณ V_Mee หรือคุณ Siamese หรือท่านอื่นๆที่ทราบคำตอบ

จำได้แต่ว่า ในเรื่อง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บรรยายว่า มีการเตรียมผ้านุ่งสีสดไว้ให้พลอยกับช้อย แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นผ้ายกทอง
ส่วนนวมที่สวมนั้น ก็ปักด้วยแก้วแหวนเงินทอง เสด็จประทานให้ยืม    มีเกี้ยวทองคำหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เกี้ยวทองน่าจะสูงไปสำหรับสามัญชน
เรื่องผิว  อาบน้ำแล้วลงขมิ้นให้เหลือง แล้วค่อยผัดแป้งทับ    แต่ไม่คิดว่าจะผัดขาววอกเหมือนนางรำญี่ปุ่นค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง