เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70670 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 20:17

คุณนริศรัวคำถามยิ่งกว่าเอ็ม 16   ตอบแทบไม่ทัน
1   เรื่องเวลากระพริบ ก็เป็นคำตอบที่น่าใคร่ครวญมากค่ะ    เปรียบได้กับ wifi ขัดข้องขึ้นมาพริบตาหนึ่ง ทำให้สัญญาณขาดหายไปหนึ่งแปบ    ตอนนั้นก็เป็นช่องทางให้อินทรเนตรส่งเข้ามาไม่ได้   ส่วนในละครเป็นช่องทางให้บุษบาบรรณเล็ดลอดออกไปได้
2  ไม่รู้ว่าภายในเรือนบุษบาบรรณ เวลาหยุดนิ่ง หรือว่าช้ากว่าภายนอก      ถ้าหยุดนิ่ง พิมานหลุดเข้าไปนานเท่าใดก็คงไม่มีผลกับตัวเขา  และโลกภายนอก   เพราะเดินกลับออกมา เวลาภายนอกก็ต่อเนื่องจากวินาทีที่เขาหายวับเข้าไปในบ้าน    แต่ถ้าเวลาช้ากว่าภายนอก  ก็อย่างที่คุณนริศว่า กลับมาอีกทีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงคงแก่ตายหมดแล้ว
3  ตัวอักษรสมัยอยุธยาตอนปลาย   คล้ายๆ font chamonman   ถ้าแม่บุษบาไม่ชินกับตัวพิมพ์ปัจจุบันคงอ่านยากหน่อย    แต่เชื่อว่าคนสมองดี สามารถรับน้ำหนักเกี้ยวยอดบนหัวได้ตลอด 12 ชม.ต่อวัน   คงจะปรับสมองเข้ากับตัวพิมพ์ได้เร็วค่ะ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 07:52

ซี่รีย์นี้บอกว่าไม่อิงประวัติศาสตร์ชาติใดๆ เป็นการออกตัวที่ตลก เพราะอ้างชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์
อันที่จริงไม่ควรใช้ชื่อบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำไป
 
ถ้าเป็นเรื่องราวที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ยังพอรับได้ที่จะให้บุคคลนั้นกระทำการหรือมีความคิดอย่างไรก็ได้ตามบทที่เขียน
แต่ต้องไม่ขัดแยังกับข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานรองรับอยู่

ซี่รีย์อิงประวัติศาสตร์นั้น หากเพิ่มบุคคลไม่ปรากฏชื่อเข้ามามักจะไม่รบกวนเหตุการณ์หลัก
หรือทำให้ผลของเหตุการณ์หลักนั้นเปลี่ยนแปลงไป

มีอาจารย์บ่นให้ฟังว่าในซีรีย์นี้มี นายก่าย เป็นจีนตัวเป็น ๆ
ทั้งที่จีนนายก่าย แปลตามตรง นายก่าย หรือ นายกาย นาย คือ ใน ก่าย หรือ โก่ย หรือ กาย คือ ถนน,ซอย
จึงหมายถึงชุมชนจีนที่อยู่ถนนด้านใน อยู่ด้านตะวันออกของเกาะเมือง
มีคลองนายก่าย หรือ คลองมะขามเรียง มีสะพานนายก่าย ที่อยู่ในท่อนสร้อยเพลง เต่าเห่
ว่า รักเจ้าสาวคำเอย นุ่งเขียวห่มเขียว เดินมาคนเดียวที่สะพานนายกาย

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 08:17

ใกล้เคียง บทประพันธ์ประเภท alternate history กระมังครับ เพราะว่าเรื่องราวห่างจากประวัติศาสตร์จริงมาพอสมควร ประเด็นเรื่องจริงหรือไม่จริงคงคงหลุดไปไกลหละครับ ตอนนี้ก็เหลือแค่ว่า จะแต่งอย่างไรให้กลมกลืนกันไปตลอดรอดฝั่งเท่านั้นแหละครับ

เนี่ยผมยังกังวลว่า ตามข่าวบอกว่าละครจะจบเมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ถ้าแม่บุษบา เข้าเรือนไปก่อนกรุงจะแตก และเธอได้ออกมาครั้งแรกเมื่อใดก็ไม่รู้ แต่เธอต้องไม่ทันเห็น สิน เป็นพระเจ้าตาก เห็นทองด้วง เป็นรัชกาลที่ 1 แน่ๆ (แม้แต่เรื่องเช่น พระพิมาน ตายยังไง เธอก็น่าจะไม่รู้อ่ะครับ) แล้วเรื่องจะดำเนินไปอย่างไรกัน

ส่วนนายก่าย ครับในละครออกมาเป็นชาวจีน 1 คนเลยครับ หลวงยกกระบัตรเมืองตาก สั่งให้ไปตั้งค่าย ทำทีเป็นทัพป้องกันกรุง เมื่อเข้ารบแล้วให้แสร้งทำแพ้ ถอยมาสมทบกับกองโจรของพระยาพิชัย นายก่ายแสร้งแพ้ได้สมจริง ขนาดตายในที่รบเลยครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 09:43

มีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมยังสงสัยครับ นั่นคือ บุษบาบรรณ เธอรักใครกันแน่ เพราะเธอทั้งวาป ไปปรากฎตัวให้นายวายุ อดีตเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ เห็นที่หอประชุมคุรุสภา และอีกหลายๆครั้ง แต่อีกทางหนึ่งเธอก็พยายามให้นายพิมาน อดีต คุณพระพิมานฯ มาพบที่เรือนให้ได้ จุดนี้ทำให้ผมไม่แน่ใจว่าบทละครจะสื่อว่าเธอมีใจให้ทั้งสองคนหรืออย่างไร

นอกจากนี้ ละครยังไม่ได้แสดงให้เห็นว่า เธอรับรู้ได้อย่างไรว่า พระพิมานฯ กลับมาเกิดเป็น นายพิมาน แล้ว และเธอรู้ด้วยหรือไม่ว่าเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ ก็มาเกิดแล้วเช่นกัน (รวมถึงคนอื่นๆ ที่เล่นเป็นตัวละคร 2 ตัว อย่างเช่น คุณป้ารัดเกล้าด้วย)

คุณทองหยิบ พูดกับนายพิมาน ในเรือนว่า "คุณพระจำทองหยิบได้ด้วยหรือเจ้าคะ" นั่นควรจะแสดงว่า ทองหยิบเคยพบ พระพิมานฯ มาก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทองหยิบจะไม่เคยพบเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ บ้างหรือ ถึงได้ไป "ไถ" ขนม นายวายุ ซะตั้งสี่-ห้าตลับ (ขนมนั้นผมลองซื้อมากินแล้วครับ อร่อยดี ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 15:53

ถ้าเป็นเรื่องราวที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ยังพอรับได้ที่จะให้บุคคลนั้นกระทำการหรือมีความคิดอย่างไรก็ได้ตามบทที่เขียน
แต่ต้องไม่ขัดแยังกับข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานรองรับอยู่

ซี่รีย์อิงประวัติศาสตร์นั้น หากเพิ่มบุคคลไม่ปรากฏชื่อเข้ามามักจะไม่รบกวนเหตุการณ์หลัก
หรือทำให้ผลของเหตุการณ์หลักนั้นเปลี่ยนแปลงไป

ข้อนี้คือหลักการสำคัญในการเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์    ฝรั่งเองก็สมมุติตัวละครที่ไม่มีจริงให้ไปมีชีวิตอยู่จริงๆในประวัติศาสตร์มาเยอะแยะแล้ว    เช่นเซอร์อาเธอร์ โคแนน ดอยล์ ก็เคยเนรมิตนายทหารหนุ่มชื่อเอเตียน เชรา  ให้เป็นทหารเอกของจักรพรรดินโปเลียนมาแล้ว 
หรือดังกว่านี้คือสามทหารเสือ The Three Musketeers ของอาเล็กซองดร์ ดูมาส์  ก็ล้วนแล้วแต่ไม่มีตัวจริง
แต่ทั้งเซอร์อาเธอร์และดูมาร์ ระมัดระวังอย่างหนึ่งคือไม่ยอมให้ตัวละครเขาไปขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์    เชราหรือดาตาญังยังไงก็เป็นได้แค่ทหารเอก  จะกลายเป็นองค์ชายสืบบัลลังก์ไม่ได้    จักรพรรดินโปเลียนเองต่อให้แพ้สงคราม ก็จะไม่ถูกปั้นเสียใหม่ให้กลายเป็นคนอ่อนแอขี้แยไม่รู้จักโต
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 15:57


มีอาจารย์บ่นให้ฟังว่าในซีรีย์นี้มี นายก่าย เป็นจีนตัวเป็น ๆ
ทั้งที่จีนนายก่าย แปลตามตรง นายก่าย หรือ นายกาย นาย คือ ใน ก่าย หรือ โก่ย หรือ กาย คือ ถนน,ซอย
จึงหมายถึงชุมชนจีนที่อยู่ถนนด้านใน อยู่ด้านตะวันออกของเกาะเมือง
มีคลองนายก่าย หรือ คลองมะขามเรียง มีสะพานนายก่าย ที่อยู่ในท่อนสร้อยเพลง เต่าเห่
ว่า รักเจ้าสาวคำเอย นุ่งเขียวห่มเขียว เดินมาคนเดียวที่สะพานนายกาย
เดาว่าคนเขียนบทคงเข้าใจว่า สะพานนายก่าย หมายถึงสะพานที่ชายจีนผู้หนึ่งชื่อก่ายเป็นคนสร้าง  ทำนองเดียวกับยานัตถ์ุหมอมี มั้งคะ   เลยเอานายก่ายมาเป็นนักรบเชื้อจีนใต้บังคับบัญชาของพระยาตาก   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 16:04

ตอบคุณนริศ
เรื่องบุษบาบรรณรักใคร จนปัญญาค่ะ  ดูจะเป็นหนึ่งหญิงสองชาย   คนที่จะให้คำตอบได้คือคนเขียนบทเท่านั้น
แต่เท่าที่เคยอ่านบทบาทตัวละคร    เจ้าฟ้าสุทัศน์(ชาติก่อนของวายุ)หลงรักบุษบาบรรณ   บุษบาบรรณรักคุณพระพิมาน( ชาติก่อนของดร.พิมาน) คุณพระพิมานถูกปองรักจากเจ้าฟ้าหญิงรุจจาเทวี(ชาติก่อนของพลอย)  ไม่รู้ว่าลงเอยยังไง ดูเหมือนกรุงแตกเสียก่อน

ไม่รู้เหมือนกันว่าตัวละครหลักๆ อย่างเจ้าฟ้าสององค์และหนึ่งคุณพระตายเพราะแก่ตาย หรือตายตอนกรุงแตก  รู้แต่ว่าตายแน่เพราะ 250 ปีต่อมา มาเกืดใหม่กันหมดแล้ว
ส่วนนางเอกยังไม่ได้เกิดใหม่   เป็นวิญญาณ(เพราะหายตัวได้) หรือว่าเป็นสาวสองพันปีก็มิอาจเดาได้เจ้าค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 18:32

มีอาจารย์บ่นให้ฟังว่าในซีรีย์นี้มี นายก่าย เป็นจีนตัวเป็น ๆ
ทั้งที่จีนนายก่าย แปลตามตรง นายก่าย หรือ นายกาย นาย คือ ใน ก่าย หรือ โก่ย หรือ กาย คือ ถนน,ซอย
จึงหมายถึงชุมชนจีนที่อยู่ถนนด้านใน อยู่ด้านตะวันออกของเกาะเมือง
มีคลองนายก่าย หรือ คลองมะขามเรียง มีสะพานนายก่าย ที่อยู่ในท่อนสร้อยเพลง เต่าเห่
ว่า รักเจ้าสาวคำเอย นุ่งเขียวห่มเขียว เดินมาคนเดียวที่สะพานนายกาย

เรื่องนี้มีข้อสันนิษฐานได้ ๒ ทาง

ทางแรกก็คงเป็นอย่างที่คุณกะออมว่า แต่มีข้อสงสัยคำแปลอยู่ หากเป็นไปได้อยากให้คุณกะออมแสดงอักษรจีนของคำว่า "นายก่าย"

อีกทางหนึ่ง อาจารย์บางท่านก็เชื่อว่า นายก่ายเป็นจีนตัวเป็น ๆ ใน เว็บของกรมศิลปากร บรรยายว่า คลองในไก่  คำว่า  “ในไก่”  นี้นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก  “นายก่าย”   นามของชาวจีน  ซึ่งอาจจะเคยตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนี้  เดาต่อไปว่านายก่ายอาจเป็นหัวหน้าชาวจีนควบคุมการขุดคลองนี้ก็เป็นได้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 18:38

ถ้านายก่าย เป็นชื่อคน  ก่าย ในที่นี้เป็นจีนอะไรคะ  ฮกเกี้ยน? แต้จิ๋ว?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 18:56

ฉากนี้เป็นเสลี่ยงของเจ้าฟ้ารุจจาเทวี   อาจจะอยู่ในตอนที่ยังไม่ถึงคิวฉาย แต่มีภาพนี้ออกมาปชส.ละครก่อน

นี่ก็อีกข้อที่จะต้องบอกว่าผิดข้อเท็จจริง  เจ้านายสตรีสมัยอยุธยาตอนปลายและต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ได้เสด็จไปไหนเปิดเผยเห็นได้ในระยะไกลแบบนี้  และที่สำคัญคือ ไม่มีผู้ชายทำหน้าที่แบกหามอย่างเด็ดขาด
สตรีสูงศักดิ์ในสมัยปลายอยุธยา ไปไหนมาไหนจะต้องไปตามทางที่มีผ้าขาวกั้นสองข้าง เรียกว่า "ฉนวน"  เพื่อไม่ให้สายตาคนนอกเล็ดลอดมองเข้ามาเห็น  ถ้าไปทางเรือก็ต้องมีม่านกั้น บรรดานางในที่ตามเสด็จก็นั่งกันอยู่หลังม่านเรือนี่แหละค่ะ   ดังที่นายนรินทร์ธิเบศร์รำพันว่า
เรือแผงช่วยพานาง     เมียงม่าน  มานา
ถ้าหากว่านั่งเสลี่ยง คนแบกต้องเป็นหญิงที่รูปร่างใหญ่แข็งแรง  ไม่ใช่ผู้ชาย  เพราะผู้ชายเข้าในเขตพระราชฐานชั้นในไม่ได้อยู่แล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 19:08

ถ้านายก่าย เป็นชื่อคน  ก่าย ในที่นี้เป็นจีนอะไรคะ  ฮกเกี้ยน? แต้จิ๋ว?

ชุมชนละแวกคลองนายก่ายเป็นจีนฮกเกี้ยน คุณวิกกี้ บรรยายไว้ว่า

ชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพมาประเทศไทยเป็นชนเผ่าจีนกลุ่มแรก ๆ จีนฮกเกี้ยนเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนจีนกลุ่มอื่นและเป็นชนเผ่าจีนอาสาช่วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชด้วย แม้แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ท่านถือกำเนิดในชุมชนจีนฮกเกี้ยนบริเวณวัดสุวรรณดาราราม ฝั่งตะวันออกของคลองนายก่าย กรุงศรีอยุธยา มารดาของท่านชื่อดาวเรืองหรือหยก เป็นธิดาที่เกิดในสกุลคหบดีจีนที่ร่ำรวยที่สุดในชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน
บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 31 ธ.ค. 17, 19:21

ส่วนนายก่าย ครับในละครออกมาเป็นชาวจีน 1 คนเลยครับ หลวงยกกระบัตรเมืองตาก สั่งให้ไปตั้งค่าย ทำทีเป็นทัพป้องกันกรุง เมื่อเข้ารบแล้วให้แสร้งทำแพ้ ถอยมาสมทบกับกองโจรของพระยาพิชัย นายก่ายแสร้งแพ้ได้สมจริง ขนาดตายในที่รบเลยครับ

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม โดนใจมากครับ

อีกอย่างที่สงสัยครับ จุกยังไม่โกนกันทั้งคู่เลย เด็กน้อยพิมานมีสิทธิ์ได้ใส่ลอมพอกแล้วหรือครับ รวมทั้งเจ้าฟ้าสุฮัทวัยเด็กด้วยครับ

บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 31 ธ.ค. 17, 21:07

พระมหามงกุฎและลอมพอกน่าจะถูกนำมาใช้เชิงสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ของอยุธยาตอนปลาย    ไม่ใช่ใช้ตามข้อเท็จจริงค่ะ
เพื่อสะท้อนความหรูหราอลังการของบ้านเมืองและผู้คน      มหาดเล็กเด็กๆจึงได้สวมลอมพอกกับเขาด้วย  เจ้านายยังไม่ทันจะโสกันต์ก็ได้สวมพระมหามงกุฎกับเขาแล้ว
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 04 ม.ค. 18, 17:29


ว่าด้วยเรื่องแหวนทองคำรัดขอบลอมพอก

"อันบรรดาศักดิ์ของขุนนางนั้นมีอยู่ห้าชั้นด้วยกัน ตามความสำคัญลดหลั่นกันไป
    จำพวกแรกได้แก่ออกญา ดำรงตำแหน่งสำคัญๆในราชการแผ่นดิน …วงทองคำอันรัดขอบลอมพอกยอดแหลมนั้นประดับด้วยช่อมาลา
    ผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นรองคือพวกออกพระ  …ขอบลอมพอกนั้นประดับด้วยช่อชัยพฤกษ์
    ออกหลวงเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสาม …ขอบลอมพอกกว้างเพียงสองนิ้วและฝีมือประณีตน้อยกว่าพวกออกพระ
    จำพวกออกขุนและออกหมื่นเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสี่และชั้นห้าตามลำดับ …ขอบลอมพอกนั้นทำด้วยทองคำหรือเงินเนื้อเกลี้ยง"


    นิโกลาส์ แชรแวส (1688)


ลองเปรียบเทียบการสวมลอมพอกของราชทูตคณะโกษาปาน
กับ การสวมลอมพอกในปัจจุบัน แหวนทองรัดลอมพอกจะมีดอกไม้ไหวตามลำดับชั้นยศ เช่นเดียวกับสมัยพระนารายณ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 04 ม.ค. 18, 17:37


คราวนี้มาดู การสวมลอมพอกของศรีอโยธยากัน
จะเห็นว่า สั่งทำลอมพอกสำหรับขุนนางมาแบบเดียวกันหมด
แล้วประดับด้วยดอกไม้ไหวสำหรับชั้นผู้ใหญ่ เอาเท่าที่มี
ทำให้เจ้าพระยาพิชัยของเรามีดอกไม้ไหวประดับน้อยกว่าปกติ
ไปอยู่ที่พระยาพลเทพกับคู่หูซะเยอะ

พระพิมาณนั้นใช้แหวนรัดลอมพอกเหมือนกับหลวงยกกระบัตรเมืองตากและเจ้าพระยาวิชเยนทร์
ส่วนข้าราชการชั้นผู้น้อยแถวหลังๆใช้แถบผ้าสีทองพันลอมพอกแทนแหวนทอง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง