เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70648 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 17:43

พูดจริงๆบทบาทของท่านบุญมา ในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีมากกว่าท่านบุนนาคหลายเท่า     พงศาวดารไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับท่านบุนนาคในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศว่าท่านทำอะไร    รับราชการสังกัดเจ้านายองค์ไหน  เลยเหมือนกับท่านลอยๆอยู่เฉยๆ เรียกชื่อแต่ว่า "หม่อมบุนนาค"   ไม่มีราชทินนาม ก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้รับราชการถึงขั้นขุนหลวงหรือพระยา  หรือแม้แต่มหาดเล็กหุ้มแพร
 เรื่องของหม่อมบุนนาค  มีแต่พงศาวดารกระซิบว่าเป็นมหาดเล็ก  เคยมีเรื่องแกล้งกันจนเคืองกับพระยาตากสินสมัยยังเป็นมหาดเล็กด้วยกัน ทำให้ไม่เข้าไปรับราชการสมัยธนบุรีตลอด 15 ปี   คงเป็นแค่ทนายของเจ้าพระยาจักรี
ส่วนนายบุญมา ตำแหน่งมหาดเล็กหุ้มแพร ชื่อว่านายสุดจินดาทำให้รู้ว่ารับราชการอยู่วังหน้า   ท่านอาจอยู่กับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ก่อนสิ้นพระชนม์ก็เป็นได้   เมื่อเจ้าฟ้าอุทุมพรได้เป็นว่าที่กรมพระราชวังบวรฯองค์ใหม่ก่อนสิ้นรัชกาล  นายสุดจินดาก็น่าจะได้เป็นมหาดเล็กรับใช้   ทั้งหมดนี้ทำให้ท่านมีบทบาทในละครได้มาก
แต่ก็โดนตัดออก
ผิดกับพระพันวัสสา กรมหลวงพิพิธมนตรีที่สินจัยเล่น  ในพงศาวดารสิ้นพระชนม์ไปตั้งไม่รู้กี่ปีแล้วก่อนถึงเหตุการณ์ศึกอลองพญา  ในละครยังอุตส่าห์ชุบชีพท่านฟื้นคืนมาเล่นบทได้อีกเฉยเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 18:22

พงศาวดารไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับท่านบุนนาคในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศว่าท่านทำอะไร    รับราชการสังกัดเจ้านายองค์ไหน  เลยเหมือนกับท่านลอยๆอยู่เฉยๆ เรียกชื่อแต่ว่า "หม่อมบุนนาค" ไม่มีราชทินนาม ก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้รับราชการถึงขั้นขุนหลวงหรือพระยา  หรือแม้แต่มหาดเล็กหุ้มแพร

เชื้อสายของท่านเฉกอะหมัด ชื่อนายบุนนาค มีตำแหน่งเป็นนายฉลองไนยนาถ หัวหน้ามหาดเล็กหุ้มแพรของวังหน้า  เมื่อกรุงแตก ท่านได้หนีไปอยู่กับเจ้าพระยาจักรี ที่ธนบุรี
บันทึกการเข้า
แพรวพิม
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 18:29

พูดจริงๆบทบาทของท่านบุญมา ในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีมากกว่าท่านบุนนาคหลายเท่า     พงศาวดารไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับท่านบุนนาคในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศว่าท่านทำอะไร    รับราชการสังกัดเจ้านายองค์ไหน  เลยเหมือนกับท่านลอยๆอยู่เฉยๆ เรียกชื่อแต่ว่า "หม่อมบุนนาค"   ไม่มีราชทินนาม ก็แสดงว่าท่านยังไม่ได้รับราชการถึงขั้นขุนหลวงหรือพระยา  หรือแม้แต่มหาดเล็กหุ้มแพร
 เรื่องของหม่อมบุนนาค  มีแต่พงศาวดารกระซิบว่าเป็นมหาดเล็ก  เคยมีเรื่องแกล้งกันจนเคืองกับพระยาตากสินสมัยยังเป็นมหาดเล็กด้วยกัน ทำให้ไม่เข้าไปรับราชการสมัยธนบุรีตลอด 15 ปี   คงเป็นแค่ทนายของเจ้าพระยาจักรี
ส่วนนายบุญมา ตำแหน่งมหาดเล็กหุ้มแพร ชื่อว่านายสุดจินดาทำให้รู้ว่ารับราชการอยู่วังหน้า   ท่านอาจอยู่กับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ก่อนสิ้นพระชนม์ก็เป็นได้   เมื่อเจ้าฟ้าอุทุมพรได้เป็นว่าที่กรมพระราชวังบวรฯองค์ใหม่ก่อนสิ้นรัชกาล  นายสุดจินดาก็น่าจะได้เป็นมหาดเล็กรับใช้   ทั้งหมดนี้ทำให้ท่านมีบทบาทในละครได้มาก
แต่ก็โดนตัดออก
ผิดกับพระพันวัสสา กรมหลวงพิพิธมนตรีที่สินจัยเล่น  ในพงศาวดารสิ้นพระชนม์ไปตั้งไม่รู้กี่ปีแล้วก่อนถึงเหตุการณ์ศึกอลองพญา  ในละครยังอุตส่าห์ชุบชีพท่านฟื้นคืนมาเล่นบทได้อีกเฉยเลย

ในเรื่องฟ้าใหม่ นายบุนนาคยังเป็นเด็กไว้จุกอยู่เลยตอนที่คุณพี่ท่านสาม คือคุณสิน คุณทองด้วง คุณบุญมาโตเป็นหนุ่มกันหมดแล้ว พอมาในศรีอโยธยา กลับกลายเป็นว่าทั้งสามเป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่เด็กเสียอย่างงั้น...

ส่วนบทบาทของกรมหลวงพิพิธมนตรีนั้น ท่านผู้กำกับให้เหตุผลที่ "ชุบชีวิต" ท่านให้มาโลดแล่นมีบทบาทไว้ว่า "การที่ให้ท่านมีพระชนม์ชีพจนถึงเสียกรุง ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงขัตยินารีสมัยกรุงศรีอยุธยาคือสมเด็จพระนางเจ้าท่านทรงคิดอย่างไรเมื่อสงครามมาเผชิญ ท่านทรงมีพระราชกรณียกิจอย่างไร..."


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 18:41

แล้วพระมเหสีของพระเจ้าเอกทัศล่ะคะ ไม่ใช่ขัตติยนารีด้วยหรอกหรือ?
ฝากคุณแพรวพิมหรือคุณรัตนานุชช่วยเช็คให้ดิฉันหน่อยได้ไหมคะ  ว่าพระมเหสีของพระเจ้าเอกทัศมีบทบาทมากน้อยแค่ไหนในเรื่องนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 19:20

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
แพรวพิม
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 19:23

ตามประวัติศาสตร์จริงๆ พระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเอกทัศคือ กรมขุนวิมลภักดี

กรมขุนวิมลภักดี เดิมทรงมีพระนามว่า พระองค์เมาฬีหรือแมลงเม่า โดยแต่เดิมพระนางได้เป็นพระชายาและทรงผนวชเป็นชีตามสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และเมื่อได้ทรงลาผนวชแล้วถวายตนเป็นพระภรรยาเจ้าในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ทรงได้รับการสถาปนาให้เป็นพระอัครมเหสี สาเหตุที่พระองค์เจ้าแมงเม่าลาผนวชจากชีไปเป็นพระราชินีนั้น เนื่องมาจากสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งไปทรงผนวชอยู่ดำรัสสั่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเอาใจพระเชษฐา คือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ก็เป็นได้

ที่ว่าทำไมสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรถึงได้เอาใจสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์นั้น ก็มีเหตุผลอยู่หลายครั้งหลายคราว เช่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศจะเสด็จสวรรคต ก็ทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระอนุชา คือ เจ้าฟ้าอุทุมพร ครั้นเจ้าฟ้าอุทุมพรได้ราชสมบัติแล้ว ทอดพระเนตรเห็นพระเชษฐาเสด็จขึ้นไปอยู่บนพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ก็ยอมถวายราชสมบัติ แล้วเสด็จไปทรงผนวช แล้วประทับอยู่ที่วัดประดู่ จนได้สมัญญาว่าขุนหลวงหาวัด...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 19:52

ขอบคุณค่ะคุณแพรวพิม
กำลังคิดว่าทำไมบทขัตติยนารีสมัยกรุงศรีอยุธยา  ไม่ตกแก่พระอัครมเหสีของพระเจ้าเอกทัศ แต่ต้องไปปลุกเอาพระพันวัสสาให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาแสดงบทนี้แทน
ต้องรอดูบทกรมขุนวิมลภักดีที่รัดเกล้าเล่น ทั้งชาติก่อนชาตินี้ว่าเป็นยังไงแบบไหน
บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 00:11

ตอนนี้ในโลกโซเชียลเอามาล้อเลียนกันมากมายครับ ภาพจากเพจ Anti ละครศรีอโยธยา ครับ

บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 10:27

กลายเป็นเรื่องโจ๊กไปเลย     ยิงฟันยิ้ม

มองในแง่ของการเขียนบท     ศรีอโยธยามีสโคปที่ใหญ่มาก   เรื่องแบบนี้ทำให้เนื้อหา (content) นอกจากกว้างใหญ่แล้วยังยิบย่อย เพราะต้องมีทั้งพล็อตใหญ่และพล็อตรองหนุนเนื่องเข้ามาแบบซับซ้อน   บางทีพล็อตใหญ่ก็มีมากกว่า ๑ พล็อตเสียอีก     ทำให้คนเขียนหรือคนสร้างถ้าเป็นคนเดียวกัน ยากจะคุม theme เอาไว้ให้ผสมผสานแบบลื่นไหลเป็นเรื่องเดียวกัน
แทนที่จะสร้างพล็อตประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลาย  ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น พล็อตเดียวให้เข้มข้นไปเลย  สมกับความตั้งใจที่จะยกย่องสมเด็จพระบูรพกษัตริยา อย่างที่แถลงไว้ตอนต้น    ก็เพิ่มพล็อตของยุคปัจจุบันที่ตัวละครสมัยอยุธยาตอนปลายพร้อมใจกันกลับชาติมาเกิดเกือบทั้งชุด   (ทำไมก็ยังไม่รู้) นอกจากนี้ก็เพิ่มเรื่องผีเรื่องวิญญาณสมัยอยุธยาเข้ามาหลอกหลอนถึงปัจจุบันเข้าไปอีก  ความที่ตัวละครเยอะ เนื้อเรื่องก็เยอะ   การตัดต่อสลับกันไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบันจึงยังเชื่อมต่อได้ไม่สนิทเป็นเรื่องเดียวกัน
แล้วก็ยังมีความผิดพลาดด้านวัฒนธรรมและรายละเอียดต่างๆอย่างที่ยกมาในกระทู้นี้อีก    ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นผลจากสโคปใหญ่มากมายของละครทั้งนั้นค่ะ   
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 11:25

อ้างถึง
ทวายกับมะริดอยู่ตรงไหนคะ  จุดเริ่มต้นอยู่ที่นั่น
แหะๆ ขอประทานอภัยครับ ผมสนุกไปหน่อย
จริงๆที่อยากจะสื่อก็คือ แผนที่ฉบับนั้น ไม่ได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์เลย แล้วจะใช้ในการวางแผนการศึกได้อย่างไร ถ้าขืนนำมาใช้จริงๆ ก็คงเป็นต้นเหตุให้ทัพไทยหลงทางไปป้องกันผิดจุด อย่างที่เกิดในประวัติศาสตร์จริงๆนั่นแหละครับ

ส่วนประเด็น ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์
เรื่องนี้ผมแปลกใจจริงๆนะครับ เวลาอ่านผู้ชนะสิบทิศ หรือราชาธิราช ไม่มีใครแอนตี้ในลักษณะนี้กันบ้างหรือครับ หรือในยุคนั้นยังไม่มีแนวคิดเช่นนี้ แต่จะพูดเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเวลาดูละครต่างประเทศ เช่น ละครเกาหลี เนื่อหาก็ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์เลย หรืออิงประวัติศาสตร์เจือจางกว่านี้อีก แต่ก็ไม่เห็นจะมีการแอนตี้แต่อย่างใด

ประเด็น บทละคร
ผมเห็นด้วยครับ เนื่อเรื่องถูกขยายให้ยืดยาวออกไปจะไม่แน่ใจว่า ละครจะสื่อถึงอะไร และการกำหนดให้ตัวละครปัจจุบัน ใช้นักแสดงคนเดียวกันกับตัวละครในอดีต จะนำไปสู่อะไร ในฉากบางฉาก เช่น วิญญาณนักรบโบราณจะปรากฎตัวให้เห็นทำไม และวิญญาณนั้น ไม่ทราบหรือว่านักแสดงหนุ่มคนนี้อดีตชาติเคยเป็นใคร หรือนางบุษบาบรรณ เศร้าใจเรื่องอะไร การที่นางตามไปปรากฎตัวถึงหอประชุมคุรุสภาได้ แสดงว่า นางรับรู้อยู่แล้วว่าชาติไทยมีราชธานีใหม่และเจริญรุ่งเรืองดีอยู่แล้วใช่หรือไม่ ถ้าเช่นนั้นแล้ว นางร้องไห้ทำไม เป็นต้น บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่า ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในอดีตกับตัวละครยุคปัจจุบันนี้เป็นเพียงส่วนที่ติดค้างมาจากขั้นตอนการดัดแปลงบทประพันธ์ต้นฉบับหรือเปล่าหนะครับ   
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 11:38

ก่อนหน้านี้หลายปี มีนิยายจีนเรื่องเจาะเวลาหาจิ๋นซี

นิยายเรื่องนี้ตัวเอกเป็นทหารที่เสนอตนเองเข้าร่วมโครงการ Time Mechine ย้อนเวลากลับไปดูประวัติศาสตร์ช่วงที่จิ๋นซีฮ่องเต้ขึ้นครองราช แต่ด้วยความผิดพลาด ตัวเอกเดินทางย้อนกลับไปก่อนเวลาที่ควรร่วมสิบปี แถมกลับมาไม่ได้ด้วย เขาจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงคราม 7 รัฐ ในยุคนั้นๆ ได้พบกับตัวละครที่มีชื่ออยู่จริงตามประวัติศาสตร์มากมาย ผ่านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหลายๆเรื่อง ซึ่งแน่นอนว่า ผู้เขียนก็เอาจินตนาการของตนแต่งเสริมลงไปหลายส่วน

นิยายเรื่องนี้ ก็ขายดีระดับ Best Saler ในบ้านเราอยู่หลายปี ไม่เห็นมีใครบอกว่า นิยายห่วยเพราะไม่ตรงตามประวัติศาสตร์

นิยายเรื่อง ฮวนนั้ง ของอาจารย์คึกฤทธิ์ ว่าด้วยประวัติของ "เอเต็ล" บุตรชายของ "ข่านรัว" ผู้นำของเหล่าฮวน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น อัตติลา ผู้ทำลายจักรวรรดิ์โรมัน

ในบทนำของนิยายเรื่องนี้ อาจารย์ท่านได้เขียนไว้เลยว่า การทำให้เอเต็ล ซึ่งแม้จะเป็นบุคคลจริงแต่ก็มีชีวิตอยู่เมื่อหลายพันปีก่อนกลับมาโลดเล่นอยู่ในหนังสือได้ จำเป็นที่จะต้องเล่าแบบ "โกหกบ้างจริงบ้าง"

ซึ่งก็เหมือนกับที่หม่อมน้อยท่านกล่าวไว้ตอนต้นของละครนี้เลยครับ แต่ในตอนนั้น ก็ไม่เห็นมีผู้ใดว่ากระไร        
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 11:42

ส่วนประเด็น ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์
เรื่องนี้ผมแปลกใจจริงๆนะครับ เวลาอ่านผู้ชนะสิบทิศ หรือราชาธิราช ไม่มีใครแอนตี้ในลักษณะนี้กันบ้างหรือครับ หรือในยุคนั้นยังไม่มีแนวคิดเช่นนี้ แต่จะพูดเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเวลาดูละครต่างประเทศ เช่น ละครเกาหลี เนื่อหาก็ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์เลย หรืออิงประวัติศาสตร์เจือจางกว่านี้อีก แต่ก็ไม่เห็นจะมีการแอนตี้แต่อย่างใด

เรื่องที่ยกมาทั้ง 2 เรื่อง   แต่งขึ้นในยุคสมัยที่คนอ่านเองไม่มีความรู้ในประวัติศาสตร์มอญและพม่า พอจะเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงได้
อีกอย่าง ราชาธิราชก็เล่าเหมือนกับตำนาน ไม่ได้ระบุชื่อพระเจ้าแผ่นดินตามประวัติศาสตร์ตรงๆ เช่นมะกะโทไปทำงานเป็นขุนวังของพระร่วงเจ้า
พระร่วงเป็นชื่อที่เราเองก็ไม่รู้แน่ว่าหมายถึงกษัตริย์องค์ไหนของสุโขทัย  
ส่วนผู้ชนะสิบทิศ  เมื่อเขียน ยาขอบไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารพม่า    แต่ตั้งใจจะเขียนแข่งกับเรื่องเกร็ดพงศาวดารจีนที่ยอดนิยมกันอยู่ในสมัยนั้น      ท่านเลือกพงศาวดารพม่ามาเป็นหลัก 8 บรรทัด   จากนั้นก็บรรยายไปตามจินตนาการ
เพราะฉะนั้นจะเด็ด  มังตรา พระเจ้าแปร ฯลฯ ไม่ได้อิงความเป็นจริงในประวัติศาสตร์พม่า      พม่ามาอ่านผู้ชนะสิบทิศก็จะต้องบอกว่าไม่ใช่พงศาวดารของเขา

เมื่อในใจคิดตรงกันระหว่างคนแต่งกับคนอ่านว่านี่เป็นเรื่องสมมุติ ของจริงเป็นอย่างไรไม่เกี่ยว   ก็เลยไม่มีใครว่าสองเรื่องนี้ผิดตรงไหนค่ะ

ส่วนละครเรื่องนี้เอาตัวละครสำคัญๆที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์มาเป็นตัวเดินเรื่อง  ประวัติของท่านเป็นอย่างไร มีคนรู้อยู่มากมาย  ดังนั้นก็เกิดการเปรียบเทียบขึ้นมาได้ว่าอะไรตรงอะไรไม่ตรง

สมมุติว่าหม่อมน้อยสร้างตัวละครจากจินตนาการขึ้นมาให้เป็นเจ้านายสมัยปลายอยุธยา  สมมุติพระนาม สมมุติชีวิต สมมุติการผจญภัย  เจอชะตากรรมอะไรหลังกรุงแตก  ก็คงไม่มีใครมาประท้วงว่า เจ้านายองค์นี้ไม่มีตัวตนจริง
ต่างกันตรงนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 11:55

ขอบพระคุณครับ ผมขออนุญาตต่อในประเด็นนี้นะครับ
อ้างถึง
สมมุติว่าหม่อมน้อยสร้างตัวละครจากจินตนาการขึ้นมาให้เป็นเจ้านายสมัยปลายอยุธยา  สมมุติพระนาม สมมุติชีวิต สมมุติการผจญภัย  เจอชะตากรรมอะไรหลังกรุงแตก  ก็คงไม่มีใครมาประท้วงว่า เจ้านายองค์นี้ไม่มีตัวตนจริง
ต่างกันตรงนี้ค่ะ

ถ้าเป็นเช่นนี้ กรณี เซี่ยงเส้าหลง พระเอกจากเจาะเวลาหาจิ๋นซี เป็นตัวละครสมมุติ ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเซี่ยงเส้าหลง ผมเข้าใจว่า ผู้เขียนจะกำหนดให้เป็นเช่นไรก็ได้

แต่ในเนื้อเรื่องจะมีส่วนที่กล่าวถึง หลี่ปู้เหว่ย หวังเจี่ยน หลี่มู่ หรือแม้แต่ฉิ๋นซี ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยมีตัวตนจริง การที่ผู้เขียนจะสร้างบุคลิก ที่มา ความคิด การตัดสินใจของตัวละครที่เคยมีอยู่จริงจะต่างไปจากที่มีบันทึกไว้ หรือส่วนที่กล่าวถึงเหตุการณ์จริง เช่น แคว้นฉินเอาชนะแคว้นจ้าวได้อย่างไร หากผู้เขียน เขียนให้ต่างไปจากความเป็นจริง ก็ยังไม่เป็นไรหรือครับ   

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 12:53

บริบทอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงคือวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ   
ดิฉันไม่ทราบว่าคนจีนเขามองฮ่องเต้ในประวัติศาสตร์จีนอย่างไรแบบไหน   ที่จริงคนจีนก็กระจายกันอยู่หลายแห่งในโลก ทั้งแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง ในไชน่าทาวน์ของอเมริกา   พวกนี้ถูกล้อมรอบด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาก    และห่างไกลจากประวัติศาสตร์จีนดั้งเดิมมากโขอยู่
เข้าใจว่า พวกเขาน่าจะมองฮ่องเต้ในอดีตเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในอดีต  เกิดและจบไปแล้ว  แม้จะเหลือร่องรอยให้ระลึกถึงและภูมิใจในความยิ่งใหญ่ ก็ไม่ได้มีความรู้สึกผูกพันมากมายอย่างคนไทยมีต่อกษัตริย์ไทยในอดีต โดยเฉพาะพระองค์ที่เราถือว่าเป็นผู้กู้ชาติบ้านเมือง และสร้างอาณาจักรให้เราได้อยู่กันมาจนทุกวันนี้    บวกกับความรู้สึกอีกอย่างที่ไม่มีในตำราแต่เหนียวแน่นหยั่งรากลึก  คือกษัตริย์พระองค์ใดมีคุณูปการต่อประเทศมากๆ  พระองค์ท่านก็เลื่อนจากพระราชาขึ้นเป็นเทพ ให้กราบไหว้บูชา ยำเกรงในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์    ดังนั้นการจะทำอะไรให้รู้สึกว่ากระทบกระเทือน  จึงเป็นสิ่งที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของคนไทย

อย่างที่สองเราเองก็อ่านภาษาจีนไม่ออก  ไม่รู้ว่าเจาะเวลาหาจิ๋นซีที่เราเห็นว่าสร้างออกมายังไงก็ได้ แสนจะอิสระเสรีในการตีความ    ไม่มีใครว่า  ความจริงอาจจะมีคนวิจารณ์ไม่เห็นด้วยก็ได้ เพียงแต่เราไม่รู้เอง

อย่างที่สาม ดิฉันคิดว่าการทำงานของบริษัทภาพยนตร์เหล่านี้ น่าจะมีการค้นคว้ากันมาพอสมควร  ส่วนการเขียนบท เคยเห็นว่าเขาทำงานกันเป็นทีม  ก็คงจะมีการกลั่นกรองกันมาอีกชั้นหนึ่งก่อนจะถ่ายทำค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 13:18

แต่ในเนื้อเรื่องจะมีส่วนที่กล่าวถึง หลี่ปู้เหว่ย หวังเจี่ยน หลี่มู่ หรือแม้แต่ฉิ๋นซี ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยมีตัวตนจริง การที่ผู้เขียนจะสร้างบุคลิก ที่มา ความคิด การตัดสินใจของตัวละครที่เคยมีอยู่จริงจะต่างไปจากที่มีบันทึกไว้ หรือส่วนที่กล่าวถึงเหตุการณ์จริง เช่น แคว้นฉินเอาชนะแคว้นจ้าวได้อย่างไร หากผู้เขียน เขียนให้ต่างไปจากความเป็นจริง ก็ยังไม่เป็นไรหรือครับ   

ก่อนที่จะเขียนนิยายหรือละครอิงประวัติศาสตร์ ผู้เขียนต้องทำการบ้านก่อนค่ะ
ต้องสร้างดุลยภาพให้เนียนระหว่างสิ่งที่คิดขึ้นเอง กับหลักฐานที่มีอยู่    ว่าทำยังไงไม่ให้ไปฉีกกรอบความจริงที่ล้อมรอบจินตนาการของคนสร้างงาน
เห็นง่ายๆ  พระประวัติของพระเจ้าตากสินนั้น พงศาวดารทุกฉบับระบุตรงกันว่าท่านมีกำเนิดเป็นสามัญชน และมีเชื้อจีน   ส่วนประวัติการทำงานก็ยังมีหลักฐานแย้งกันอยู่     คนเขียนจะสมมุติยังไงก็ได้แต่ต้องอยู่ในกรอบที่รู้กันดีอยู่แล้ว
อยู่ๆจะมาฉีกกรอบให้ท่านเป็นพระโอรสอีกองค์ของพระเจ้าบรมโกศขึ้นมาเสียเฉยๆ  แบบนี้ไม่ได้ค่ะ

ส่วนที่เราไม่รู้เพราะไม่มีบันทึก คือลักษณะภายนอก นิสัยใจคอ  ความคิด การตัดสินใจ   ส่วนนี้ยังไงก็ต้องอาศัยจินตนาการ   ข้อนี้ไม่แปลก  หนังประวัติศาสตร์ทั้งหลายต่างก็ให้บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์พูดอะไรคิดอะไรตามใจคนเขียนอยู่แล้ว    เพียงแต่ว่าจะต้องไม่ละเมิดออกมานอกบทบาทชีวิตจริงเท่านั้น
เช่นอับราฺฮัม ลินคอล์นจะไปประกาศยอมแพ้ทหารฝ่ายใต้ ไม่ได้      เคนเนดี้จะรอดตายจากถูกลอบสังหารไม่ได้   แคว้นฉินเอาชนะแคว้นจ้าวได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นยังไงก็ชนะ  แคว้นจ้าวจะพลิกกลับเป็นชนะแทนไม่ได้
ทำนองนี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง