เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70338 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 10:29

เมื่อคืน มีฉากการประชุมเพื่อเตรียมรับศึกครับ ในฉากนี้ มีการนำแผนที่แผ่นหนึ่งมามาตั้งไว้ ในแผนที่นั้นเขียนว่า Siam ชัดเจนครับ



เป็นแผนที่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๒๒๙ แต่น่าสงสัยว่ามีความจำเป็นเช่นใดที่ต้องลอกรายละเอียดรวมทั้งชื่อกำกับที่เป็นภาษาฝรั่งเศสมาประกอบการวางแผนศึก  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก https://www.hjbmaps.com/products/aq19272


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 10:33

คงต้องส่งไม้ต่อให้คุณหนุ่มสยามและท่านผู้รู้ท่านอื่นๆมาอธิบายรายละเอียดค่ะ

ส่วนดิฉันทราบเพียงว่า ในตอนปลายอยุธยามี 2 ศึกใหญ่  คือศึกพระเจ้าอลองพญา และศึกครั้งสุดท้ายตอนเสียกรุง   ทั้งหมดกินเวลา 7 ปี นับแต่เริ่มมีศึกแรกไปจนวันสุดท้าย
ในละคร เริ่มที่ศึกอลองพญา  แต่กรุงยังไม่แตกในตอนนั้น   รอมาอีกนานจนนางเอกโตเป็นสาว

ตามประวัติศาสตร์   ทัพพระเจ้าอลองพญาเลือกเส้นทางรุกขึ้นมาจากทางใต้ ด้วยการยึดทวายและมะริด แล้วคืบขึ้นมาเรื่อยๆถึงประจวบคีรีขันธ์ จนข่าวศึกมาถึงอยุธยา
ฌมื่อได้รับทราบข่าวศึก    พระเจ้าเอกทัศรับสั่งให้เกณฑ์กองทัพได้  ๓,๐๐๐   พระยายมราชเป็นแม่ทัพ ไปตั้งรับ   และ อีก  ๒,๐๐๐   ให้พระยารัตนาธิเบศร์ยกตามหนุนไปอีก
เมื่อพระยายมราชไปถึงด่านสิงขร  ก็ได้ข่าวว่า    พม่ายึดเมืองมะริด เมืองตะนาวศรีได้แล้ว   จึงตั้งอยู่ที่แก่งตุ่ม ปลายแม่น้ำตะนาวศรี      ส่วนพระยารัตนาธิเบศร์ อยู่ที่เมืองกุย  (กุยบุรีในปัจจุบัน)   มังฆ้องนรทาเข้าโจมตีกองทัพพระยายมราช  จนแตกพ่ายไป    กองทัพพม่าจึงไล่ติดตามไปอีกปะทะกองอาทมาตที่อ่าวหว้าขาว    พระยารัตนาธิเบศร์ จึงถอนมาที่เพชรบุรี      พม่าก็ตามเข้ามาถึงเพชรบุรี

กรุงศรีอยุธยาทราบจากเมืองกาญจนบุรีว่ากองทัพพม่าจะยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์  จึงสั่งจัดกองทัพไปตั้งที่ เมืองกาญจนบุรี  ๑๐,๐๐๐   และที่ เมืองราชบุรีอีก  ๑๐,๐๐๐     ต่อมา เมืองกำแพงเพชรแจ้งว่าได้ข่าวว่าพม่าจะยกมาทางด่านแม่ละเมา  ก็จัดทัพให้ยกขึ้นไปเตรียมต่อสู้ทางเหนืออีก    
การเตรียมการรับศึกพม่าของไทยในครั้งนี้       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระยาดำรงราชานุภาพ    ทรงพระนิพนธ์       ไว้ใน "ไทยรบพม่า"  ว่า
ตามคำผู้หลักผู้ใหญ่กล่าวกันมาว่า    ในครั้งนั้นไม่ได้คิดอ่านที่จะรวบรวมกำลังต่อสู้ข้าศึกประการใด    สักแต่ได้ข่าวมาว่า พม่าจะยกมทางไหนก็เกณฑ์กองทัพยกไปดักทางนั้น    เพียงแต่จะสืบสวนให้ได้หลักฐานเสียก่อนก็ไม่มี    จึงเอากำลังรี้พลไปป่วยการเสียเปล่าๆ  มากกว่าที่จะได้ต่อสู้ข้าศึก    ด้วยพม่ามิได้ยกมาทั้งทางด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านแม่ละเมา   ยกมาแต่ทางด่านสิงขร เมืองตะนาวศรีทางเดียว    ดูเหมือนหนึ่งว่าครั้งนั้น  ถึงรู้ว่าพม่าตีได้เมืองตะนาวศรีแล้ว  ที่ในกรุงฯ ก็ยังไม่ได้คาดว่าพม่าจะตีต่อเข้ามาอีก   จะเพิ่งมาเอะอะ  ตระเตรียมรักษาบ้านเมืองต่อเมื่อพม่าเข้ามาถึงเมืองกุย เมืองปราณ  .
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 10:38

สรุปว่า หลวงยกกระบัตรเมืองตากขี่ม้าเร็วจากตากเข้ามาถึงอยุธยา เข้าเฝ้าเรื่องศึกพม่านั้น  ไม่เป็นความจริง     เพราะพม่ายกมาทางใต้
คุณหลวงไปเจอทัพอะไรที่ไหนเข้าที่ไหนก็ไม่ทราบ ฤๅจะโดนหน่วยลาดตระเวนหลอกมาอีกทีก็ไม่อาจเดาได้
ปรากฏว่าพระเจ้าเอกทัศทรงเชื่อ เลยส่งทัพอยุธยาส่วนหนึ่งขึ้นไปเชียงใหม่?  
ทัพนี้ก็คงจะเก้อกลับมาค่ะ

อย่างไรก็ตาม  จะว่าหม่อมน้อยผิดไม่ได้ เพราะท่่านออกตัวไว้แต่แรกแล้วว่า เนื้อความในละครอาจไม่ตรงกับพงศาวดาร เพราะเป็นเรื่อง "อิง" ประวัติศาสตร์  ไม่ใช่ตัวหลักฐานทางประวัติศาสตร์เอง  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 10:43


เป็นแผนที่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๒๒๙ แต่น่าสงสัยว่ามีความจำเป็นเช่นใดที่ต้องลอกรายละเอียดรวมทั้งชื่อกำกับที่เป็นภาษาฝรั่งเศสมาประกอบการวางแผนศึก  ยิงฟันยิ้ม

แหม  ก็ยุคนั้น กูเกิ้ลแปลภาษายังมีที่ไหนกันล่ะคะ  ท่านก็เอาของจริงมาลงน่ะซิ

ว่าแต่แผนที่แผ่นใหญ่จัง  พิมพ์บนกระดาษหรือผ้าทอด้วยอะไรหนอ จึงคงทนมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์จนถึงพระเจ้าเอกทัศ
ยังใหม่เอี่ยม แสดงว่ารักษาสภาพได้ดีมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 10:55

มีประเด็นครับ
เมื่อคืน มรฉากการประชุมเพื่อเตรียมรับศึกครับ ในฉากนี้ มีการนำแผนที่แผ่นหนึ่งมามาตั้งไว้ ในแผนที่นั้นเขียนว่า Siam ชัดเจนครับ
ฝรั่งเรียกชื่ออาณาจักรศรีอยุธยาว่า Siam ค่ะ
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ระบุว่าคนในประเทศไทยได้เรียกเผ่าพันธุ์ของตนเองว่า ไทย มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา โดยได้บันทึกไว้ว่า

ชาวสยามเรียกตนว่า ไทย (Tàï) แปลว่า อิสระ อันเป็นความหมายตามศัพท์ในภาษาของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน [...] คำว่า สยาม กับ ไทย เป็นสองคำที่มีความแตกต่างกัน แต่หมายถึงพลเมืองของประเทศเดียวกัน

ฌ็อง-บาติสต์ ปาเลอกัวซ์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ระบุไว้ในงานเขียน "Description du Royaume Thai ou Siam" (1854) ว่า "...ประเทศที่ชาวยุโรปขนานนามว่า สยาม นั้น เรียกตนเองว่า เมืองไท (Muang - Thai) (ราชอาณาจักรแห่งอิสรชน) ชื่อเดิมนั้นคือ สยาม (แปลว่าชนชาติผิวสีน้ำตาล) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ สยาม (Siam)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 11:11

จากหนังสือ  "ความเป็นมาของคำ สยาม, ขอม, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" โดย จิตร ภูมิศักดิ์ หน้า ๓๒๕-๓๒๗

เท่าที่อ่านดู เรื่องนี้อยู่ในบทท้าย ๆ ของภาคหนึ่ง พื้นฐานทางนิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์

บทที่ ๑๖ ที่มาและความหมายของสยามตามความเห็นในอดีต

จิตร ภูมิศักดิ์ อ้างข้อความจากหนังสือ "ราชอาณาจักรสยาม" ของ เดอ ลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพระนารายณ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๙-๒๒๓๑ (de La Loubere, Du Royaume de Siam, Tome I, Amsterdum, 1691, pp. 15-17.  ภาษาไทยดู จดหมายเหตุลาลูแบร์, กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงแปล, ฉบับพิมพ์คุรุสภา ๒๕๐๕, เล่ม ๑ หน้า ๒๓-๒๕.)

ชื่อ เซียม (siam) นั้น ไม่เป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวเซียม คำนี้เป็นคำหนึ่งในบรรดาคำที่พวกโปรตุเกสในอินเดียใช้กัน, และก็เป็นคำที่ยากจะค้นหารากเหง้าที่มาของมันได้  พวกโปรตุเกสใช้คำนี้เป็นชื่อเรียกชนชาติ มิใช่เป็นชื่อราชอาณาจักร.....อนึ่งใครก็ตามที่เข้าใจภาษาโปรตุเกสย่อมรู้ดีว่า รูปคำที่โปรตุเกสเขียนคำนี้เป็น Siam บ้างและ Siao บ้างนั้น เป็นคำเดียวกัน  และถ้าจะเอาคำโปรตุเกสนี้มาอ่านออกเสียงตามอักขรวิธีของฝรั่งเศสเราแล้วก็ต้องออกเสียงว่า ซียอง (Sions) มิใช่เซียม (Siams); เช่นเดียวกัน เมื่อเขียนเป็นภาษาละติน ก็เรียกชนชาตินี้ว่า ซิโอเน (Siones)

ชื่อจริงของชาวเซียมแปลว่า ฟรองซ์

ชาวเซียมนั้นเรียกตัวเองว่า ไท (Tai), หมายความว่า อิสระ, ตามความหมายของคำในภาษาของเขาซึ่งยังมีความหมายเช่นนั้นมาจนทุกวันนี้  ชาวเซียมมีความภูมิใจที่ใช้คำนี้เช่นเดียวกันกับบรรรพบุรุษของเราซึ่งใช้นามว่า ฟรองซ์ (Franc) เมื่อได้กอบกู้อิสระภาพของชาวกอลให้หลุดพ้นจากอำนาจครอบครองของโรมันมาได้  ผู้ที่รู้ภาษามอญ (Pegu) ยืนยันว่าคำ เซียม ในภาษามอญนั้นแปลว่า อิสระ ถ้าเช่นนั้นบางทีคงจะเป็นไปได้ว่าชาวโปรตุเกสยืมคำนี้มาจากภาษามอญ, น่าจะเป็นว่าได้รู้จักชาวเซียมโดยผ่านชาวมอญอีกที   แต่อย่างไรก็ดี นาวารเรต (Navarrete) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรจีน (Traitez Historique du Royaume de la Chine) บทที่ ๑ ตอนที่ ๕ ว่า ชื่อ เซียม, ซึ่งนายนาวาเรตเขียน เซียน (Sian) นั้น, มาจากคำสองคำคือ เซียนหลอ (Sian-lo), แต่หาได้อธิบายไว้ไม่ว่าคำทั้งสองนี้มีความหมายว่ากระไร, ทั้งก็มิได้บอกไว้ว่าเป็นคำภาษาอะไร, ชวนให้เราเข้าใจว่า นายนาวาเรตถือว่า คำทั้งสองนั้นเป็นภาษาจีน...

ซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ ได้อธิบายที่มาของคำว่า Siam ไว้ในเชิงอรรถ โดยย้ำว่า ฝรั่งชาติแรกที่ใช้คำ ๆ นี้เรียก่คนไทยคือ โปรตุเกส หาใช่ ฮอลันดา ไม่

Siam อันเป็นชื่อที่ฝรั่งเรียกไทยน้อยพวกเราทุกวันนี้ ฝรั่งได้คำนี้ไปโดยผ่านชาวมลายูซึ่งเรียกไทยว่า เซียม. พวกโปรตุเกสมารู้จักคำนี้ก่อน ต่อมาก็เป็นเดนมาร์ค, ฮอลันดา และฝรั่งเศส ซึ่งก็ออกเสียง เซียม ทั้งนั้น. อังกฤษเป็นพวกมาทีหลัง เห็นทีจะไม่รู้ว่า Siam นั้นประสงค์จะให้ออกเสียง เซียม หรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงไม่ถนัดปาก จึงเอาไปอ่านเป็น ไซเอิม หรือ ไซแอม แปลกพวกออกไป.
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 11:26

ขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านครับ เนื่องจากชั้นเรียนนี้ อยู่ในประเด็น Dramatic license เพราะฉะนั้น ผมจะมองแต่เฉพาะข้อเท็จจริงที่ปรากฎในละครเท่านั้นนะครับ

อย่างเรื่องการรายงานข่าวศึกนี้ ในประวัติศาสตร์จะเป็นเช่นไร มีจริงหรือไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่ในละครนี้ ในฉากนี้ ผมเห็นด้วยครับว่าแปลก กล่าวคือ ในเมื่อทัพอังวะในละคร เข้ามาจากทางด้านใต้ เนื่อเรืองในละครนี้ควรเขียนให้ยกระบัตรเมืองกุย เมืองเพชร หรือยกระบัตรเมืองราชบุรี เป็นผู้มารายงานนะครับ (หรือต่อให้ทัพอังวะในละคร เข้ามาจากทางอื่น แต่ไม่ว่าอย่างไร ก็ไม่ใช่ทางด่านเมืองระแหง แขวงเมืองตากอยู่ดีแหละครับ)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 11:38

ก็ในเมื่อหม่อมน้อยออกตัวแล้วว่า ทำละครโดยไม่ตรงกับจดหมายเหตุหรือพงศาวดารก็ได้   คุณนริศก็คงจะต้องช่วยสมมุติใหม่ว่า พระเจ้าอลองพญาไม่ได้เดินทัพเข้ามาทางใต้อย่างในพงศาวดารหลายๆฉบับระบุไว้น่ะค่ะ  แต่ว่ายกมาทางเหนือ เข้ามาทางเมืองตาก  

หรือไม่ ก็ยกทัพมาทางใต้ แล้วยกอ้อมผ่านกาญจนบุรีขึ้นไปทางเหนือถึงกำแพงเพชรและตาก  แล้วค่อยวกกลับลงมาอยุธยาอีกที
หลวงยกกระบัตรเมืองตากถึงต้องมาแจ้งข่าวต่อกรุงศรีอยุธยา แบบนี้ละค่ะ

ทำไมถึงต้องไปเน้นที่ขุนนางเมืองตาก   ขุนนางหัวเมืองทางใต้อยู่ไหนหมด เช่นหลวงยกกระบัตรเมืองประจวบและเพชรบุรีไม่เห็นส่งข่าวมาแอะสักคำ ทั้งๆอยู่ใกล้กรุงศรีฯมากกว่าตากเป็นไหนๆ

คำตอบคือเพราะตัวละครสำคัญในเรื่องนี้ที่ศรรามรับบท มีตำแหน่งราชการอยู่เมืองตาก   เมื่อเปิดตัวแสดงเอกๆ ขึ้นมาคือท่านทองด้วง ท่านบุนนาคและท่านสิน จึงต้องเอาสาเหตุเมืองตากขึ้นมาเป็นหลัก   จะไปเอาหลวงยกกระบัตรเมืองทางใต้ที่อยู่นอกบทบาทไม่ได้
น่าเสียดายตัวละครอีกตัวที่ดิฉันมองหาอยู่ ยังไม่เห็นออกมาสักที คือมหาดเล็กหุ้มแพรวังหน้า ตำแหน่งนายสุดจินดา   มีแต่พี่ชายกับนายบุนนาคเท่านั้นเองเป็นตัวเอก
ไม่ทราบกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ไปไหน
บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 14:18

น่าจะไม่มีบทบาทนายสุดจินดาในซีรีย์นี้ค่ะ ดิฉันลองไปส่องดูรายชื่อตัวละครแบบละเอียดยิบในพันทิพ ไม่มีเลยค่ะ
แล้วคุณบุนนาคนี้ ต่อมาคือท่านผู้ใดหรือคะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 14:33

ผมรู้แล้วครับอาจารย์
ถ้ายึดตามแผนที่นี้ ทัพอังวะ ต้องผ่านเมืองตาก ก่อนเมืองกุย เมืองเพชร จริงๆครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 14:58

แล้วคุณบุนนาคนี้ ต่อมาคือท่านผู้ใดหรือคะ

"บุนนาค" เป็นตระกูลเก่าแก่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ต้นตระกูลเป็นพ่อค้าชาวอาหรับชื่อ เฉกอะหมัด เข้ามาในประเทศสยาม เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ในปลายรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เฉกอะหมัดได้รับราชการในกรมพระคลัง โดยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานของกรมท่า เฉกอะหมัดได้ทำความดีความชอบในหน้าที่ราชการเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าแผ่นดิน จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี ที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ

ปรากฎว่าผู้สืบตระกูลของเฉกอะหมัดได้รับราชการในกรมพระคลังสืบต่อกันเรื่อยมา วงศ์เฉกอะหมัดบางท่านได้เป็นถึงสมุนายก และในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศ เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชยแห่งตระกูลบุนนาคได้เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลามมาเป็นศาสนาพุทธ

วงศ์เฉกอะหมัดได้สืบตระกูลต่อกันเรื่อยมาถึงชั้นที่ ๖ มีบุคคลสำคัญคือ นายบุนนาค ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดตระกูลบุนนาคในสมัยรัตนโกสินทร์

ในรัชกาลที่ ๑ นายบุนนาคได้เป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม บุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนากับเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (นวล) (น้องสาวของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ ๑) เป็นผู้สืบตระกูลบุนนาคโดยตรง


คนสำคัญคือ นายดิศ และนายทัต บุนนาค ท่านทั้งสองเข้ารับราชการมาตั้งแต่แผ่นดินรัชกาลที่ ๑ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการปกครองประเทศสยามมาก ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ ท่านทั้งสองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงสุด เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ผู้สำเร็จราชการทั่วพระราชอาณาจักร และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ผู้สำเร็จราชการพระนครตามลำดับ

ผู้สืบตระกูลโดยตรงต่อจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์คือ นายช่วง บุนนาค ซึ่งรับราชการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ท่านผู้นี้ได้รับพระราชท่านบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ใน พ.ศ. ๒๔๑๖
บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 15:17

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลของคุณบุนนาค
ดิฉันพอจำได้นิดหน่อยว่ามีท่านสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ กับองค์เล็กในตระกูลบุนนาค
แต่ต้นตระกูลของท่านตั้งแต่ยุคกรุงศรีฯ จำไม่ได้จริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 15:39

ผมรู้แล้วครับอาจารย์
ถ้ายึดตามแผนที่นี้ ทัพอังวะ ต้องผ่านเมืองตาก ก่อนเมืองกุย เมืองเพชร จริงๆครับ
ทวายกับมะริดอยู่ตรงไหนคะ  จุดเริ่มต้นอยู่ที่นั่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 15:56

น่าจะไม่มีบทบาทนายสุดจินดาในซีรีย์นี้ค่ะ ดิฉันลองไปส่องดูรายชื่อตัวละครแบบละเอียดยิบในพันทิพ ไม่มีเลยค่ะ
ไม่น่าเลย น่าเสียดายมาก  เพราะบทบาทท่านก็เยอะ
นายสุดจินดาเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินกับหลวงยกกระบัตรราชบุรี (หรือรัชกาลที่ ๑)  เมื่อกรุงแตก ท่านหนีพม่าไปได้  ไปพบพี่ชายซึ่งขณะนั้นอพยพจากราชบุรีไปลี้ภัยอยู่ที่อัมพวา สมุทรสงคราม
ท่านเป็นคนนำท่านนกเอี้ยง พระชนนีของพระเจ้าตากสินซึ่งตอนนั้นอพยพไปอยู่บ้านแหลม  พลัดพรากจากลูกชาย  ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าตากสิน เป็นโอกาสให้แม่ลูกได้พบกันอีกครั้ง
ตลอดสมัยธนบุรี  ท่านก็เป็นนายทหารที่กรำศึกมาตลอด 15 ปี   ชีวิตรักของท่านกับเจ้าศิริรจจา น้องสาวเจ้ากาวิละแห่งเชียงใหม่ ก็มีสีสันน่าจะเป็นละครได้ดีทีเดียว
ท่านเป็นต้นราชสกุล อสุนี สังขทัต ปัทมสิงห์ และนีรสิงห์   

ถูกตัดออกไปหมดเลยหรือ  ไม่เข้าใจเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 16:11

ชื่อเดิมของกรมพระราชวังบวรฯคือ นายบุญมา เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๖ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กเมื่อใด รัชกาลไหน ไม่ทราบได้ (ข้อมูลจากบางเว็บบอกว่าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าเอกทัศเมื่ออายุ ๑๖ ปี แต่ไม่ทราบว่าได้ข้อมูลมาจากไหน) แต่คงได้เลื่อนขึ้นเป็นนายสุดจินดาหุ้มแพรในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศนี้เป็นแน่

คราวศึกอลองพญา พ.ศ. ๒๓๐๒ - ๒๓๐๓ อายุเพียง ๑๖ - ๑๗ ปี คงจะยังเป็นมหาดเล็กผู้น้อยอยู่ ถึงคราวเสียกรุง ๒๓๑๐ อายุได้ ๒๔ ปี ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอยู่ในกรุงเมื่อคราวกรุงแตกหรือไม่ พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวเพียงว่า

"นายสุดจินดามหาดเล็กนั้นหนีออกไปสำนักอยู่ ณ เมืองชลบุรี ครั้นรู้ข่าวว่าเจ้าตากออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบูร จึงพาพวกบ่าวไพร่เดินบกออกไปเข้าพึ่งอยู่ด้วยเจ้าตาก เจ้าตากก็ชุบเลี้ยงตั้งเป็นพระมหามนตรี เพราะรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่ก่อนกรุงยังไม่เสียนั้น"

พงศาวดารฯ ไม่ได้ระบุวันเวลาไว้ แต่พระเจ้าตากตีจันทบูรได้เมื่อราว ๒ เดือนหลังเสียกรุง และเสด็จออกจากจันทบูรราวเดือน ๑๑ พอจะกำหนดได้ตามพงศาวดารฉบับนี้ว่านายบุญมามาถึงจันทบูรระหว่างเดือน ๗ ถึงเดือน ๑๑ พ.ศ.๒๓๑๐
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง