เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70649 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
พระนาย
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 10:34

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ จากตารางเวลานั้น สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า ทัพพม่าไม่ใช่กองโจร (ที่เข้าปล้นตีชายพระราชอาณาเขตแล้วค่อยมาค้นพบว่า ระบบการป้องกันของอยุธยาอ่อนแอ จึงได้คิดจะยกล่วงเข้ามาตีเอาพระนครในภายหลัง) แต่ที่เป็นกองทัพที่มีการกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์มาเป็นอย่างดี และมีการทำงานที่สอดประสานกันในทุกทาง การเสียเวลาเดินทัพไล่ตีเมืองรายทางนั้น ก็เพื่อริดรอนกำลังให้กรุงศรีอยุธยาโดดเดี่ยว ไม่มีทัพไหนมาช่วยกู้กรุงได้อีก เมื่อการปิดล้อมเริ่มต้นขึ้น และการที่ทัพพม่าต้องวางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ก็สื่อให้เห็นว่า แม้จะเป็นช่วงตอนปลายแต่อยุธยาก็ยังคงเป็นเมืองที่แข็งแกร่งยากที่จะต่อรบได้เหมืองชื่อเมืองครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับและจากการที่มีการศึกษาพงศาวดาร ฉบับหอแก้ว ของฝั่งพม่า ของ อ.สุเนตร ยิ่งสะท้อนให้เห็นความเข้มแข็งของอยุธยาในยุคนั้น
อีกประการนึง ที่พม่าต้องขุดกำแพงก็เพราะเรารบเข้มแข็งต้องขุดเพื่อหลบกระสุนปืน แต่ที่ไม่เหมือนทุกครั้งคือเมื่อน้ำหลากแล้วพม่าไม่ได้ถอยกลับเฉกเช่นทุกครั้ง
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 10:45

ประเด็น อุปกรณ์ประกอบฉาก อันนี้ ผมคิดว่า หม่อมท่านคงต้องการให้ภาพออกมาดู "อโยธยา" ครับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้น อยุธยาก็เป็น International Port มีชาวต่างชาติอยู่มากมาย มีสินค้าจากทั่วโลกมาวางขายให้เลือกซื้อ เพราะฉะนั้น ถ้าเอาจริงๆ บ้านผู้ดีหรือพระตำหนักต่างๆในอยุธยายุคนั้น อาจจะเต็มไปด้วยสินค้าตะวันตก ตะวันออก แขก จีน มลายู หลายหลากปนเปกันไป แบบว่า กล้องแพนไป เจอชุดเกราะ Full Plate มีดาบซามุไร วางตั้งอยู่บนแท่น มีเชิงเทียนทรงฝรั่ง ขวดไวน์แก้วที่จุกเป็นคริสตัลอยู่บนโต๊ะ ฯลฯ อะไรอย่างนี้หละครับ ซึ่งสมจริงแต่ดูแล้วไม่อโยธยาเลย ผู้สร้างก็ต้องคิดหละครับว่าจะเอายังไงดี ระหว่าง ความจริง จริงๆ กับ ความจริง ที่คนเชื่อว่า จริง

นอกจากนี้ บางเรื่อง ผมก็เดาครับ ว่า ผู้สร้างท่านก็รู้แหละว่า จริงๆเป็นอย่างไร แต่ถ้าขืนทำตามจริง ละครก็จะยืดยาวไป ไม่สนุก เช่น ถ้าให้หลวงยกกระบัตรเมืองตาก เข้าพบขุนนางตามลำดับชั้นก่อนจะได้เข้าเฝ้า ฉากการเข้าถวายรายงานคงกินเวลายาวนานมาก หรือหากไม่กำหนดให้พระกำนัลนารีสังข์ วิ่งเข้าไปในฝ่ายในเพื่อป่าวประกาศว่า เกิดสงครามแล้ว กว่าตัวละครหญิงจะรู้ข่าวศึกคงนานโข ตกกลางคืน(ของวันเดียวกัน)จะมีฉากดราม่าอาวรณ์ห่วงลูกห่วงผัวได้อย่างไร หรือฉากการออกว่าราชการของพระเจ้าเอกทัศน์ ด้วยความที่ผมเคยเห็นการประชุม ครม. ดังนั้น ในความเห็นผม ผมว่า การประชุมในฉากนี้ รวบรัดเกินไป แต่ก็นั้นแหละ จะให้ฉากนี้มีรายละเอียดสมจริง ฉากนี้คงจะน่าเบื่อมากๆ เลยครับ  

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 10:53

ครับพี่พระนาย (อาจารย์ไม่อยู่ นักเรียนแอบคุยกัน)
ผมสงสัยมาตั้งแต่ก่อนแล้วว่า ถ้าระบบการป้องกันเมืองอยุธยาห่วยซะขนาดนั้น ข้าศึกที่มีกำลังรบเหนือกว่าร่วมๆ สิบเอาหนึ่ง จะเสียเวลาขุดอุโมงเผารากกำแพงทำไม แค่ยกกำลังหักเข้าเอาเมืองพร้อมกันทุกด้าน ก็จบแล้วไม่ได้หรือ

ประเด็นนี้ ผมอยากดูมากครับว่า ในละครจะนำเสนออย่างไร   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 10:54

เห็นด้วยกับความคิดของคุณนริศค่ะ  แต่พอถึงรายละเอียดก็คิดต่างกันออกไปนิดหน่อย
คือถ้ายึดของจริงล้วนๆ เช่นฉากบ้านหรือตำหนักฝ่ายใน   ถ้าทำตามของจริงเป๊ะๆ เพราะไปค้นคว้ามาอย่างดี อาจพบว่า ออกมาดูไม่สวย ไม่เป็นอโยธยา เลยออกแบบซะใหม่ให้ดูเป็นอโยธยา  
แต่การดูเป็นอโยธยา มันก็เลือกได้หลายแบบนะคะว่าจะเนียนไม่เนียน  การเอาหัวโขนมาประดับห้อง ไม่ถือว่าเนียนค่ะ   ตัวเลือกอื่นๆ เช่นตะเกียงน้ำมันหรือนาฬิกาตั้งแบบฝรั่ง หีบใส่ผ้าแบบจีน  ฉากเขียนลายแบบเปอร์เชีย  วางประดับไปกับแท่นและตู้แบบไทย   ยังน่าจะกลมกลืนกว่า ว่าเป็นข้าวของเครื่องใช้ของชนชั้นไฮโซสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีทั้งของไทยของต่างชาติเหมือนเศรษฐียุคนี้
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 11:18

เข้าใจแล้วครับ

เหมือนกับเวลา ผมเห็นฉากการพิจารณาคดีในศาล ขั้นตอนการสืบพยาน การถามติง ถามค้าน ฯลฯ อาจลดทอนรายละเอียดลงได้บ้าง เพื่อไม่ให้ฉากนี้น่าเบื่อเกินไป อาจมีดราม่า เกินจริงไปได้บ้างเพื่อเพิ่มอรรถรส แต่รายละเอียดบางประการก็ยังควรต้องสมจริง เช่น ครุยผู้พิพากษาควรถูกต้อง (ปัจจุบันตุลาการ กับอัยการและทนายความใช้ครุยต่างกันนะครับ) การนั่งโจทก์ขวา จำเลยซ้าย ก็ควรต้องเป็นไปตามนั้น หรือการใช้ค้อนบนบัลลังก์ นั้น ของจริงไม่มี ละครก็ไม่ควรนำมาใส่ ความเนียนอย่างนี้ ยังจำเป็นต้องมีอยู่ อะไรอย่างนี้ใช่ไหมครับ

(ไม่ได้หมายถึงละครเรื่องหนึ่งเรื่องใดนะครับ คือพยายามโยงมาสู่สิ่งที่ตัวเองคุ้นเคยหนะครับ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 11:20


นอกจากนี้ บางเรื่อง ผมก็เดาครับ ว่า ผู้สร้างท่านก็รู้แหละว่า จริงๆเป็นอย่างไร แต่ถ้าขืนทำตามจริง ละครก็จะยืดยาวไป ไม่สนุก เช่น ถ้าให้หลวงยกกระบัตรเมืองตาก เข้าพบขุนนางตามลำดับชั้นก่อนจะได้เข้าเฝ้า ฉากการเข้าถวายรายงานคงกินเวลายาวนานมาก หรือหากไม่กำหนดให้พระกำนัลนารีสังข์ วิ่งเข้าไปในฝ่ายในเพื่อป่าวประกาศว่า เกิดสงครามแล้ว กว่าตัวละครหญิงจะรู้ข่าวศึกคงนานโข ตกกลางคืน(ของวันเดียวกัน)จะมีฉากดราม่าอาวรณ์ห่วงลูกห่วงผัวได้อย่างไร หรือฉากการออกว่าราชการของพระเจ้าเอกทัศน์ ด้วยความที่ผมเคยเห็นการประชุม ครม. ดังนั้น ในความเห็นผม ผมว่า การประชุมในฉากนี้ รวบรัดเกินไป แต่ก็นั้นแหละ จะให้ฉากนี้มีรายละเอียดสมจริง ฉากนี้คงจะน่าเบื่อมากๆ เลยครับ  
ข้อนี้ก็จริง ทำให้การเขียนบทต้องรวบรัดหรืออาจตัดความไปบ้าง     แต่ก็ยังมีเค้าความจริงได้ เช่นพอออกท้องพระโรง พระยาพิชัยฯ(ซึ่งน่าจะเขียนให้เป็นเจ้าพระยายมราช เสนาบดีเวียง) ก็ทูลเบิกตัวหลวงยกกระบัตรซึ่งหมอบเฝ้าอยู่หลังสุดเข้ามา  บอกว่ามีรายงานด่่วนเรืองพม่า   จะให้หลวงยกกระบัตรคลานเข้ามาถึงแถวหน้าก็ทำได้
ไม่ใช่ไปนั่งอยู่แถวหน้าตั้งแต่แรก
จะได้ไม่มีฉากควบม้าเข้ามาถึงประตูวัง  ไม่ถือดาบเข้ามา  ไม่เข้าเฝ้าเจ้าฟ้าก่อนเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน   แต่ก็ไม่ยืดยาด กลับรวบรัดด้วยซ้ำ
ส่วนแม่นางกำนัลสังข์นั้น ใส่บทให้เข้ามาถือพระสุพรรณภาชน์ (คือพวกกาน้ำ ถ้วยน้ำ) ทั้งๆไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายใน  ก็เพื่อจะให้นางได้ยินข้อราชการแล้ววิ่งแจ้นไปทูลฝ่ายใน เท่านั้นเอง
หน้าที่เชิญเครื่องพวกนี้ เป็นหน้าที่มหาดเล็ก    เคยอ่านพบว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นมหาดเล็ก ทำหน้าที่อัญเชิญพระสุพรรณภาชน์   ในละครกลายเป็นพระกำนัลนารีออกมาวุ่นวายอยู่ฝ่่ายนอก ทั้งๆราชทินนามเธอก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นหญิงนางกำนัลรับใช้ฝ่ายใน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 11:25


เหมือนกับเวลา ผมเห็นฉากการพิจารณาคดีในศาล ขั้นตอนการสืบพยาน การถามติง ถามค้าน ฯลฯ อาจลดทอนรายละเอียดลงได้บ้าง เพื่อไม่ให้ฉากนี้น่าเบื่อเกินไป อาจมีดราม่า เกินจริงไปได้บ้างเพื่อเพิ่มอรรถรส แต่รายละเอียดบางประการก็ยังควรต้องสมจริง เช่น ครุยผู้พิพากษาควรถูกต้อง (ปัจจุบันตุลาการ กับอัยการและทนายความใช้ครุยต่างกันนะครับ) การนั่งโจทก์ขวา จำเลยซ้าย ก็ควรต้องเป็นไปตามนั้น หรือการใช้ค้อนบนบัลลังก์ นั้น ของจริงไม่มี ละครก็ไม่ควรนำมาใส่ ความเนียนอย่างนี้ ยังจำเป็นต้องมีอยู่ อะไรอย่างนี้ใช่ไหมครับ
ใช่ค่ะ 
สมมุติว่าละครเรื่องหนึ่งมีฉากพิจารณาคดีในศาล อะไรที่เป็นรายละเอียดตามของจริง อย่างที่คุณนริศว่าข้างบนนี้ ก็ควรรักษาไว้  ไม่ใช่สร้างฉากนี้ในละครไทย    แล้วมีลูกขุนนั่งหน้าสลอน พิจารณาโจทก์จำเลยกันเหมือนในศาลสหรัฐ   โดยอ้างว่านี่มันละคร  ไม่ใช่ของจริง
 
ยังงี้ก็ไม่เนียน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 11:34

แต่ก็พอจะเข้าใจว่า ละครเรื่องนี้เตรียมโกอินเตอร์   ดังนั้นฉาก เสื้อผ้า ฯลฯ จึงเน้นความอลังการแบบไทยๆให้มากที่สุด
อะไรที่เป็นสัญลักษณ์ไทย ก็ต้องนำมาแสดงเอาไว้ เช่นหัวโขน
ซึ่งนอกจากอยู่ในตำหนักพระพันวัสสา หัวโขนอีกส่วนหนึ่งยังอยู่ในห้องพระบ้านพระยาพิชัยอีกด้วย
(ภาพจาก FB คุณรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ค่ะ)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 14:45

ฉากนี้คือเจ้าคุณพิชัยเรียกประชุมไพร่สม เพื่อเตรียมออกศึก
ไม่ทราบประวัติว่าท่านเป็นศิษย์เก่านาฏศิลป์หรืออย่างไร   จึงมีหัวโขนประดับพิธีเรียกประชุมอีกแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 14:52

ครับพี่พระนาย (อาจารย์ไม่อยู่ นักเรียนแอบคุยกัน)
ผมสงสัยมาตั้งแต่ก่อนแล้วว่า ถ้าระบบการป้องกันเมืองอยุธยาห่วยซะขนาดนั้น ข้าศึกที่มีกำลังรบเหนือกว่าร่วมๆ สิบเอาหนึ่ง จะเสียเวลาขุดอุโมงเผารากกำแพงทำไม แค่ยกกำลังหักเข้าเอาเมืองพร้อมกันทุกด้าน ก็จบแล้วไม่ได้หรือ

ประเด็นนี้ ผมอยากดูมากครับว่า ในละครจะนำเสนออย่างไร    

ครั้นถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310  เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง

ทหารอยุธยารักษากำแพงเมืองไว้ได้เข้มแข็งมาก  พม่าตีไม่แตก  ก็ต้องทำลายกำแพงเมืองที่เปรียบเหมือนบังเกอร์เสียก่อน  เป็นช่องทางให้เข้าในเมืองตีทหารแตกพ่ายไป  พอในเมืองระส่ำระสาย แพ้กันไปเป็นทอดๆ  ด้านอื่นๆพม่าก็บุกเข้ามาได้หมด

สุนทรภู่รำพันไว้ใน "นิราศพระบาท" ว่า

กำแพงรอบขอบคูก็ดูลึก              ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้
ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย              โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย
หรือธานินสิ้นเกณฑ์จึงเกิดยุค      ไพรีรุกรบได้ดังใจหมาย
...........................
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 17:08

ไปหาคลิปมาให้ดูตอน 2 ค่ะ





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 17:11





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 09:27





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 09:30





บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 09:49

มีประเด็นครับ
เมื่อคืน มรฉากการประชุมเพื่อเตรียมรับศึกครับ ในฉากนี้ มีการนำแผนที่แผ่นหนึ่งมามาตั้งไว้ ในแผนที่นั้นเขียนว่า Siam ชัดเจนครับ

ภาพจากพันทิปครับ https://pantip.com/topic/37180266

ในฉากนี้ พระเจ้าเอกทัศน์ และพระเจ้าอุทุมพร ทรงจัดทัพรับศึกเป็น 4 ทัพ
ทัพแรกให้ยกไปรับศึกที่ เพชรบุรี ราชบุรี (ในทัพนี้ มีการออกชื่อ ขุนรองปลัดชูด้วยครับ)
ทัพที่สอง ยกไปเชียงใหม่  ฮืม
ทัพที่สามไปทวาย
ทัพที่ 4 ประกอบด้วยทัพเล็กๆ 14 ทัพ กระจายกันออกไปตั้งทัพนอกพระนคร ให้ห่างทางศึก ทัพเหล่านี้เป็นอุบายสำคัญเพราะจะทรงใช้กลยุทธ "ล่อช้างเข้าถ้ำ" หลักการคือ แสร้งทำเป็นว่า ทัพอยุธยาไม่ชำนาญการรบ ทำเป็นพ่ายแพ้ เพื่อดึงให้ทัพอังวะ ตามเข้ามาใกล้พระนคร จากนั้น จะทรงให้กองทัพทั้ง 14 ทัพนี้ (ในละครบอกว่า 14 ทัพ กำลังรลรวมหมื่นสี่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ทัพละพันคนเท่านั้นเอง น่าจะเรียกว่า 14 กอง มากกว่า 14 ทัพครับ) รุมโอบล้อมทัพพระเจ้าอังวะไว้แล้วเผด็จศึก

ส่วนไพร่พลของพระยาพิชัย ให้จัดเป็นกองโจร ไปซุ่มอยู่ที่หัวรอ ทำหน้าที่ก่อกวนทัพพระเจ้าอังวะ

ในศึกอลองพญา จริงๆ จัดทัพอย่างนี้ไหมครับ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง