เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70316 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
แพรวพิม
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 10 ธ.ค. 17, 13:48

น่ากลัวจริงๆครับ  รูดซิบปาก




มีคำนำหน้าว่า หม่อมหลวง ไม่ได้แปลว่าคุณน้อย (ขออนุญาตเรียกคำที่ถูกต้องนะคะ) จะรู้ทุกอย่างดีกว่าตำรา

ไม่งั้น เราจะเขียน จะอ่านตำรากันทำไมคะ ถ้าคิดแบบนี้ ก็ถามหาข้อเท็จจริงต่างๆ จากคนที่มีคำนำหน้าว่า "หม่อม..." อย่างเดียวไม่ดีกว่าหรือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 10 ธ.ค. 17, 13:55

น่ากลัวฝุดๆ
ไม่ใช่หม่อมน้อยนะคะ   แต่หมายถึงความเห็นแบบนี้
ถ้านี่คือการปกป้อง หม่อมน้อยจะเสียมากกว่าได้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 10 ธ.ค. 17, 20:11

บุษบาบรรณ์ นางเอกเรื่องนี้  มีฉากเปิดตัวตั้งแต่เป็นเด็ก      ตามประวัติบอกว่าถูกส่งเข้าวังเป็นนางรำ
คงจะเป็นเพราะต้องการแนะนำกับคนดูว่าเธอเป็นนางรำ   จึงมีการให้เธอแต่งเครื่องละครรำ(?) คลานมาเข้าเฝ้าพระพันวัสสา ซึ่งรับบทโดยสินจัย
ชุดละครรำที่ว่านี้น่าจะทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับละครหรือหนังเรื่องนื้     ลักษณะจึงแตกต่างไปจากเครื่องละครกรมศิลปากร ที่เราเคยเห็นๆกัน  มีเกี้ยวยอดแหลมเปี๊ยบสวมทับจุกอีกทีหนึ่ง

ในความเป็นจริง  นางรำรุ่นจิ๋วมีในราชสำนัก  สืบทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แต่เวลาฝึกหัดรำก็ไม่จำเป็นต้องแบกเครื่องทรงเกะกะไปทั้งตัวแบบนี้ค่ะ    แค่แต่งกายให้ทะมัดทะแมงเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก   เหมือนนักเรียนนาฏศิลป์เท่านั้น



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 10 ธ.ค. 17, 20:15

แม่หนูคนนี้แต่งกายผิดแบบ   คือถ้าเธอยังไว้จุกอยู่ เธอจะไม่ห่มสไบ  แต่สวมเสื้อ หรือไม่ ถ้ายังเล็กกว่านี้จะไม่สวมอะไรท่อนบนเลยก็ได้
การห่มสไบนั้นเริ่มขึ้นเมื่อผู้หญิงโกนจุก แสดงว่าย่างเข้าสู่วัยสาวแล้ว    ต้องหัดห่มผ้า เดินเหินไปไหนทำอะไรก็ต้องรู้จักวิธีให้ผ้าอยู่กับตัวไม่เลื่อนหลุด   
พูดอีกทีว่าถ้าห่มสไบแล้ว จะต้องไม่มีจุก   ผมในตอนแรกจะสั้น มีแต่ส่วนยาวเหมือนหญ้าแพรกอยู่บนกระหม่อม  ต่อมาก็ปล่อยให้ยาวลงมาอีกจนระบ่า    ซึ่งเป็นทรงผมยอดนิยมของสาวชาววัง  ดังที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงชมหม่อมห้ามของท่านว่า "ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 10:17

ฉากเดียวกันนี้ ตู้ใส่หนังสือนัั้นจะแยกลายระหว่างบาน กับขอบตู้ ไม่ได้ทำเป็นลายเดียวต่อเนื่องกันทั้งใบ


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 13:38

ได้ดูตอนแรก 2 เบรกแล้วครับ กระสอบเจ้ากรรมโผล่มาพร้อมพี่หนุ่มศรราม พระกำนัลนารีน่ากลัวมาก ภาพสวยจนดูเหมือนวอลเปเปอร์ ฉากประกอบไม่เนียนผมไม่ติดใจ แต่ตัวละครบางส่วนยังเล่นแข็งไปนิด (อาจเป็นเพราะต้องเล่นบทยากตั้งแต่ฉากแรก) ไว้รอดูทัพพม่าก่อนว่าจะยังไง ซักพักจะตามทุกท่านจนทันนะครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 16:26

ในตำหนักพระพันวัสสา(สินจัย) ใช้หัวโขนเป็นเครื่องแต่งห้องอีกด้วย
เครื่องโขนพวกนี้อยู่ตามที่ตามทาง คือเมื่อใช้ประกอบการแสดง ก็ต้องเก็บไว้ในที่สำหรับเก็บเครื่องแสดง   ไม่เอามาปะปนในห้องหับที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้  ยังถือกันว่า หัวโขนสำคัญๆที่เป็นหัวโขนตัวเทพในการแสดงใช้สมมติแทนเทพเจ้าองค์นั้นๆ เช่นหัวโขนพระอิศวรก็ใช้แทนองค์พระอิศวรในพิธีไหว้ครู
หัวโขนในฉากนี้เป็นตัวพระ แต่องค์ไหนเห็นไม่ชัด  ต้องรอถามคุณหนุ่มสยาม
อย่างไรก็ตาม ชาวอยุธยาไม่นำหัวโขนมาเป็นพร็อพประดับบ้านแน่ๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 16:30

ขอย้อนกลับไปฉากท้องพระโรง พระเจ้าเอกทัศเสด็จออกว่าราชการ
เห็นฉากนี้แต่แรกแล้ว สะดุดตา แต่มัวไปติดอยู้เรื่องอื่นเลยไม่ทันพูดเรื่องนี้
ขอสะกิดคุณมหาดเล็กบุนนาค ว่าเป็นมหาดเล็กนั่งเสมอพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาแบบนี้ไม่ได้นะเจ้าคะ    ต้องลงไปหมอบอยู่ข้างล่าง
เหมือนสุนทรภู่เคยรำพันว่า "เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ"  จำไม่ได้แล้วหรือ 
ขนาดเป็นอาลักษณ์คนโปรด ก็ยังต้องหมอบบนพื้นล่าง  จะมานั่งซ้อนหลังอยู่ไม่ได้เป็นอันขาด 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 17:43

เสาโคมในภาพข้างล่างนี้มีอยู่ในละคร    คงจะติดมากับฉากที่ไปถ่ายทำ
ในความเป็นจริง   สมัยอยุธยาตอนปลาย  เครื่องให้แสงสว่างมาจากธรรมชาติ เช่น ไต้ และตะเกียง  อีกอย่างคือเทียน
ส่วนโคมแก้วแขวนปลายเสาข้างทางนั้นยังไม่มี  เพราะไฟฟ้า หรือแม้แต่ไฟแก๊ซที่มีมาก่อนไฟฟ้า ยังไม่ถูกประดิษฐ์คิดค้นอีกเช่นกันค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 19:19

คุณนริศถามถึงระยะเวลาเดินทัพของพม่าเข้ามาจนถึงอยุธยาว่ากินเวลาเท่าไหร่      ดิฉันไปเจอกระทู้เก่าของคุณม้า CrazyHOrse บอกวันเดือนปีการยกทัพไว้เสร็จสรรพ
สงสัยคุณม้าลืม ดิฉันก็ลืม  เลยไม่ได้ตอบเสียตั้งแต่แรกที่คุณนริศถาม

กลับมาคิดทบทวนอีกที เรื่องพม่าตีเชียงใหม่ ที่ผมตั้งข้อสังเกตว่าพงศาวดารไทยระบุปีผิด เร็วไปสองปีนั้น เป็นไปได้เหมือนกันว่าอาจเป็นศึกคนละครั้ง พระเจ้ามังลอกอาจจะเคยยกมาปราบเชียงใหม่ครั้งหนึ่งเมื่อปีพ.ศ.๒๓๐๔ แล้วเกิดกบฏให้พระเจ้ามังระมาปราบอีกครั้งในปี ๒๓๐๖ แต่ที่พงศาวดารไทยบอกว่า ๒๓๐๔ ให้มองหม่องราชบุตรพระเจ้ามังลอกเป็นคนนำทัพมานั้น อันนี้ผิดแน่นอน เพราะตอนนั้นมองหม่องยังไม่เกิดเลย ตอนพระเจ้ามังลอกสวรรคตปลายปี ๒๓๐๖ มองหม่องเพิ่งจะอายุได้ ๒ เดือนเท่านั้นเองครับ

อีกเรื่องหนึ่ง ผมเคยพูดถึงก่อนหน้านี้ว่าพระยาเพชรบุรีตายในสงครามคราวเสียกรุงนี้ แต่ถ้าจดหมายของบริโกต์ถูกต้อง ก็มีพระยาเพชรบุรีคนใหม่แล้วครับ จะว่าไปหลักฐานก็รับกันดี เพราะพระยาเพชรบุรีผู้นี้เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อการที่สนับสนุนกรมหมื่นเทพพิพิธมาแต่ต้นครับ นอกจากนี้ ฝ่ายคู่กรณี จมื่นศรีสรรักษ์ น้องชายเจ้าจอมเพง ที่คิดว่าหมดบทบาทไปแล้ว พอละเลียดอ่านก็เจอเรื่องที่น่าสนใจและน่าแปลกใจเข้าให้ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามต่อไปครับ



มีนาคม ค.ศ.๑๗๖๕
บริโกต์ว่าพม่ายกทัพจากทวายมาตี เพชรบุรีและกาญจนบุรีแตก แล้วพม่ามาตั้งทัพที่ Michong เป็นที่แม่น้ำสองสายมาชนกัน (เข้าใจว่าน่าจะเป็นปากแพรกตรงเมืองกาญจนบุรีในปัจจุบัน) แต่พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศว่าพม่ายกมาตีทางนี้ในอีกราว ๒ เดือนต่อมา

๗ เมษายน ค.ศ.๑๗๖๕
บริโกต์ว่าตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ทางอยุธยาเตรียมการรับศึก ระหว่างนี้มีคนบ้านนอกอพยพเข้ามาในกรุงจำนวนมาก

๑๙ พฤษภาคม ค.ศ.๑๗๖๕
บาทหลวงฝรั่งเศสแคแฮแว ระบุว่าคิดหนีจากกรุงศรีอยุธยา แต่เรือออกไม่ได้เพราะพม่ายกมา (ไม่ได้บอกว่าไทยไม่ให้ออก ให้่ทัพพม่าคุมเส้นทางไว้ได้แล้ว) ระหว่างนี้มีพระบรมราชโองการผ่านเจ้าพระยาพระคลังให้แคแฮแวช่วยทำป้อมและฝึกทหารยิงปืนใหญ่ แคแฮแวไม่อยากช่วย แต่จำใจต้องทำเพราะเพื่อนบาทหลวงต้องการให้เอาใจทางไทยไว้ เพื่อจะขอรับพระราชทานที่ดินมาทำโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง

พฤษภาคม-มิถุนายน ค.ศ.๑๗๖๕ (เดือน ๗ พ.ศ.๒๓๐๘)
พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศว่า มังมหานรทาให้แจ้วไปทางอังวะว่าตีทวายได้แล้ว เห็นควรจะไปตีอยุธยาต่อไป พม่ายกเข้ามาตีเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี พงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมขยายความว่า "ให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชเร่งยกออกไปปิดทางข้างเมืองมะริดไว้ แล้วให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพใหญ่ ถือพล ๑๕,๐๐๐ ยกออกไป  ตั้งรับที่เมืองราชบุรีทัพ ๑ เพชรบุรีทัพ ๑ แก่งตั้งทัพ ๑ พระยากลาโหมคุมคน ๗,๐๐๐ ยกไปตั้งรับทางท่ากระดาน ๆ นี้พม่าหาได้ยกมาไม่ ให้พระยามหาเสนาคุมพล ๑๒,๐๐๐ ยกไปตั้งรับนครสวรรค์ พระยาอำมาตยคุม์พล ๑๕,๐๐๐ ยกไปตั้งรับไว้ชัยนาท ฝ่ายกองทัพพม่าก็ยกตีดาเข้ามาทุกทาง" (ท่ากระดานเป็นตำบลในเส้นทางด่านเจดีย์สามองค์ น่าสังเกตว่าทางนครสวรรค์และชัยนาทยังไม่น่าจะมีทัพพม่ามาถึงตอนนี้)
พม่าตีเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ได้แล้วมาบรรจบกันที่ลูกแก ตั้งค่ายที่ตอกระออมและดงรังหนองขาว (หนองขาวอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ระหว่างเส้นทางบกที่สำคัญ ส่วนตอกระออมไม่ทราบว่าอยู่ไหน แต่พบว่ามีคอกระออมอยู่ในแม่น้ำเพชรบุรี ดูจะไกลไปหน่อย แต่อยู่ในเส้นทางเดินทัพจากตะนาวศรีผ่านช่องสิงขรจะไปเมืองเพชรบุรีได้สะดวก)
ฝ่ายไทยเกณฑ์ทัพหัวเมืองปากใต้ตั้งรับที่บำหรุ ทัพเรืออยู่บางกุ้ง ทัพพิษณุโลกตั้งวัดภูเขาทอง ทัพโคราชตั้งวัดเจดีย์แดง แล้วให้พระยาธารมาคุมทัพโคราชลงมาตั้งรับที่ธนบุรี (พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบอกว่าบำหรุอยู่ราชบุรี ในขณะที่การรับรู้โดยทั่วไปบำหรุคือบางบำหรุตอนเหนือของบางกอกน้อย)
พระยาพิษณุโลกให้พระยาพลเทพกราบทูลพระกรุณา  ลากลับขึ้นไปปลงศพมารดา  ให้หลวงโกษา พระมหาดไทย  หลวงเทพเสนา  คุมกองทัพอยู่ณวัดภูเขาทองแทน

ปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ.๑๗๖๕
บริโกต์บอกว่า สังฆราชฝรั่งเศสเห็นว่าไม่พ้นอันตราย ให้แคแฮแวกับอาโต พานักเรียนหนีไปจันทบุรี หลังจากนั้นไม่นานไทยปิดด่าน ห้ามเข้าออก

สิงหาคม-กันยายน ค.ศ.๑๗๖๕ (เดือน ๑๐ พ.ศ.๒๓๐๘)
พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศบอกว่า พม่ายกมาตีค่ายบางบำหรุแตก แล้วยกมาตีกรุงธนบุรีได้ พักพลที่วัดสลัก (วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฏ์) ๓ วัน แล้วเลิกทัพกลับไปคอกระออม บริโกต์บันทึกไว้ตรงกันว่าพม่าทำลายป้อม เผาสวนและบ้านเรือนที่บางกอก

๒๕ กันยายน ค.ศ.๑๗๖๕
พงศาวดารพม่าว่า เนเมียวสีหบดีคุมพลพม่าล้านนาล้านช้างรวมกัน ๔๐,๐๐๐ ยกลงมาจากเชียงใหม่ ตีหัวเมืองรายทาง สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย พิจิตร

เดือน ๑๒ ตุลา-พฤศจิกายน ค.ศ.๑๗๖๕
พงศาวดารพม่าว่า มังมหานรธายกทัพพม่ามอญทวายรวมกัน ๓๐,๐๐๐ มาทางด่านเจดีย์สามองค์


สรุปได้ว่าการศึกในช่วงหน้าแล้งของปีนี้ พม่ายกมาทำการจากทางใต้ก่อน โดยยกมาจากทวายผ่านตะนาวศรีเข้ามาทางด่านสิงขร ตีเมืองเพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี รวมถึงเมืองเล็กน้อยทั้งทางใต้และในเส้นทางด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อเปิดเส้นทางรอรับทัพใหญ่ที่มังมหานรทาจะยกตามมา ทั้งนี้หากพม่าเข้ามาในเดือน ๗ จริง ก็เป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะมาทำการเอาตอนฤดูน้ำหลากใกล้จะมาถึงแล้ว จะมีเวลาน้อย (ปกติฤดูน้ำหลากจะเป็นราวเดือน ๘ จนถึงเดือน ๑๒) เป็นไปได้ว่าพม่าเข้ามาในเดือนมีนาคม (ราวเดือน ๔ - เดือน ๕) อย่างที่บริโกต์ว่า โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายหัวเมืองทางใต้เพื่อเปิดเส้นทางให้ทัพของมังมหานรทายกตามมาได้สะดวก นอกจากนี้ก็คงเพื่อรอเนเมียวสีหบดีให้เสร็จศึกปราบกบฎที่เชียงใหม่ยกทัพลงมาสมทบกันเมื่อพ้นฤดูน้ำหลากด้วย

น่าสังเกตว่าระหว่างฤดูน้ำหลากนี้ พม่าพยายามใช้ทัพเรือโจมตีทางด้านใต้ โดยสามารถตีเมืองธนบุรีได้ แต่คงจะไม่สามารถรักษาไว้ได้นาน พงศาวดารข้างไทยบอกพม่าเลิกทัพมา แต่การศึกหลังจากนี้จะเห็นได้ว่าไทยกลับมาควบคุมเมืองธนบุรีไว้ได้อีกแล้ว
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 22:25


ผมขอเสนอท่านเจ้าเรือนให้พิจารณาปักหมุดกระทู้นี้ เพราะน่าจะมีสมาชิกสนใจแลกเปลี่ยนความรู้กันยาวแน่ครับ

งานนี้หม่อมน้อยได้นำเสนอทฤษฎีแปลกใหม่ เสนอภาพกรุงศรีอยุธยาในอย่างที่ท่านฝันอยากให้เป็น
ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจเฉลยว่าเป็นเพียงความฝันของพระเอกอนันดาตามท้องเรื่องก็ได้

พระเอกของเราไม่กินหมาก
"สิ่งที่ผู้หญิงสยามไม่อาจทนดูพวกเราได้ก็คือตรงที่พวกเรามีฟันขาว
เพราะพวกนางเชื่อกันว่าพวกภูตผีปีศาจเท่านั้นที่มีฟันขาว
และเป็นสิ่งน่าอับอายที่สุดที่มนุษย์เราจะมีฟันสีขาว"

                             นิโกลาส์ แชร์แวส (1688)


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 22:47



ทฤษฎีใหม่ ขี่ม้าจากเมืองตากมาอยุธยาเร็วกว่าล่องเรือมาตามแม่น้ำ
พระเอกศรรามมีม้าเปอร์เซียพันธ์ุดี วิ่งได้สามวันสามคืนโดยไม่ต้องหยุดพัก

"การเดินทางบกนั้นต้องไปด้วยม้าหรือช้าง แต่โดยที่ม้าพื้นเมืองกินแต่หญ้า มันจึงไม่ค่อยแข็งแรง
และเดินทางระยาวไม่ค่อยได้ เครื่องบังเหียนนั้นไม่เปลกไปกว่าที่ใช้กันอยู่ในประเทศฝรั่งเศสเลย
มีแต่โกลนเท่านั้นที่ดูสั้นไป เพราะคนสยามชอบนั่งม้าเหมือนท่านั่งเก้าอี้
พวกเขาไม่เป็นนักขี่ม้าที่สามารถเท่าใดนัก และพวกขุนนางไม่ยอมขี่ม้าเลย"

                                นิโกลาส์ แชร์แวส (1688)

บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 08:46

Dramatic licence ถ้าใช้ว่า สิทธิของการเป็นละคร จะได้ไหมคะ? คิดคำสวยๆแบบประพันธสิทธิไม่เป็นเสียด้วยสิคะ

หลายๆครั้งที่คนดูเกิดอาการอินเกินไปจนออกอาการโวยวายว่าทำไมมันไม่เป็นอย่างนั้น ทำไมมันไม่เป็นอย่างนี้ พระเอกทำไมโง่จริง นางเอกแค่ตัดผมสั้นใส่เสื้อหลวมๆก็เชื่อละว่าเป็นผู้ชาย......มักจะได้รับคำตอบกลับมาว่า ก็มันเป็นละคร.....
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
พระนาย
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 09:58

ในมุมมองของหม่อมน้อย อาจจะอ้างว่าคือละคร ผมก็พึงจะเข้าใจก็แต่เฉพาะเรื่องของบทละครที่อาจดัดแปลงให้ต่างจากปะวัติศาสตร์
 แต่ในส่วนของขนบธรรมเนียมในรั้วในวังในละครที่ยังมีหลายๆจุดที่ต้องปรับ อันนี้ไม่ควรละเลยน่ะครับ คนที่เขาดูละครบางคนเขาจะทึกทักเอาว่าที่มีในละครเป็นเรื่องจริง
ยกตัวอย่างที่ท่านเจ้าเรือนได้กล่าวไปข้างต้น เช่น การถือดาบเข้าเฝ้า การหมอบกราบ การแต่งตัวก่อนโกนจุก การเอาหัวโขนมาแต่งตำหนัก การไหว้ของเจ้าฟ้า การเข้าเฝ้าของขุนนาง อันนี้มันคือรายล่ะเอียดที่ปรับกันได้ง่ายกว่าบทละครเสียอีกน่ะครับ
แต่นั้นก็เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวจากผม ไม่อาจถือเป็นสาระครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 12 ธ.ค. 17, 10:24

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ จากตารางเวลานั้น สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า ทัพพม่าไม่ใช่กองโจร (ที่เข้าปล้นตีชายพระราชอาณาเขตแล้วค่อยมาค้นพบว่า ระบบการป้องกันของอยุธยาอ่อนแอ จึงได้คิดจะยกล่วงเข้ามาตีเอาพระนครในภายหลัง) แต่ที่เป็นกองทัพที่มีการกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์มาเป็นอย่างดี และมีการทำงานที่สอดประสานกันในทุกทาง การเสียเวลาเดินทัพไล่ตีเมืองรายทางนั้น ก็เพื่อริดรอนกำลังให้กรุงศรีอยุธยาโดดเดี่ยว ไม่มีทัพไหนมาช่วยกู้กรุงได้อีก เมื่อการปิดล้อมเริ่มต้นขึ้น และการที่ทัพพม่าต้องวางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ก็สื่อให้เห็นว่า แม้จะเป็นช่วงตอนปลายแต่อยุธยาก็ยังคงเป็นเมืองที่แข็งแกร่งยากที่จะต่อรบได้เหมืองชื่อเมืองครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง