เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70317 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 14:56

ดูรูปข้างบนที่คุณ tita นำมาลง   แล้วนึกได้ว่าสะดุดตากับอีกอย่างหนึ่งในเครื่องแต่งกายขุนนาง  คือสร้อยสังวาลสวมสะพายเฉียงบ่า  ที่เห็นขุนนางในละครแต่งกันทั้งหมดตั้งแต่มหาดเล็ก คุณหลวงไปจนพระยา
หลักฐานการแต่งกายขุนนาง สมัยอยุธยา ดูได้จากภาพวาดของโกษาปานและขุนนางอื่นๆสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่ฝรั่งวาดไว้
พระยาพิชัย และคุณหลวง น่าจะแต่งกายแบบนี้ในความเป็นจริง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 14:57

ส่วนสร้อยสังวาล เคยเห็นในพระรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  และอีกพระองค์หนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 15:08

ภาพราชทูตไทยไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ฝรั่งเศส      เครื่องแต่งกายเต็มยศของขุนนางไทยเป็นแบบนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 15:29

เดอ วีเซ เล่าถึงการแต่งตัวของคณะราชทูตเมื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า

ราชทูตชมตึกพลาง คุยพลางดังนี้เเป็นครู่ใหญ่ ๆ ก็พอดีรถ มาถึงพระที่นั่งแวร์ซายส์ ราชทูตลงจากรถหลวงแล้วเจ้าพนักงาน ก็พาให้ไปพักคอยอยู่ที่ห้องแห่งหนึ่ง ท่านราชทูตจึงได้จัดแจงแต่งตัวสำหรับราชทูตอย่างเต็มยศ ตามธรรมเนียมของบ้านเมืองไทย คือสวมเสื้อเยียระบับมีกลีบทอง และดอกไม้ทองและสวมเสื้อครุย ซึ่งดูเป็นของแปลกสำหรับนัยน์ตาเราชาวฝรั่งเศส เพราะผิดแบบของราชทูตเมืองอื่นเป็นอันมาก. สิ่งสำคัญซึ่งทำให้ดูราชทูตไทย ผิดกว่าราชทูตเมืองอื่นมากนั้น ก็คือหมวก หมวกไทยนั้นเป็นหมวกมียอดแหลมซึ่งเขาเรียกว่า กะลอมพอก สูงกว่าหมวกเราเป็นไหน ๆ เรียวขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สัณฐานคล้ายกับมงกุฎ แต่ละชั้นล้วนประดับด้วยเครื่องเงินทองเพ็ชรพลอยและนิลจินดาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ และชั้นต่อ ๆ ไปก็ประดับด้วยวิธีอื่นอีก ดูแปลกเข้าทีมาก.

จาก หนังสือพระยาโกศาปานไปฝรั่งเศส แปลจาก Voyage des ambassadeurs de Siam en France 1686 ของ Jean Donneau de Visé  โดย เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 15:42

ในรูปวาดทั้งหมด  ไม่มีครุยนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 16:07

เสื้อครุยของออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) อาจได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย   ยิ้มเท่ห์



ชุดที่โกษาปานแต่งเป็นเครื่องแบบเต็มยศของข้าราชการสมัยอยุธยาค่ะ  ส่วนที่สวมบนศีรษะเรียกว่าลอมพอก
ข้าราชการรัตนโกสินทร์ยังคงรับสืบทอดมา ตรงเสื้อผ้าโปร่งสวมทับ ที่เราเรียกว่าเสื้อครุย  แต่ไม่สวมลอมพอกแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 16:23

พจนานุกรมราชบัณฑิตให้ความหมายของ ครุย ว่า น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ ชายครุย ก็ว่า
ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวมหรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.

ไม่ได้อธิบายลักษณะของเสื้อ เลยไม่รู้ว่าเสื้อที่โกษาปานสวมคือครุย อย่างฉลองพระองค์ตัวนอกของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ  หรือว่าเป็นเสื้อตัวยาวอย่างที่ฝรั่งเรียกว่า tunic
เสื้อยาวๆพันตัวแบบนี้  ญี่ปุ่นก็สวมกัน แถมมีผ้าคาดเอวคล้ายกันอีกด้วย คุณเพ็ญชมพูเคยไปเรียน คงเคยสวมยูกาตะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 16:33

เสื้อยาวๆพันตัวแบบนี้  ญี่ปุ่นก็สวมกัน แถมมีผ้าคาดเอวคล้ายกันอีกด้วย คุณเพ็ญชมพูเคยไปเรียน คงเคยสวมยูกาตะ

そうですね。ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 17:37

อีกตอนหนึ่งที่เป็นได้เฉพาะ dramatic licenseเท่านั้น  ดูจากคลิปในค.ห. 6  นาทีที่ 14.34



เป็นฉากที่พระเจ้าเอกทัศเสด็จออกท้องพระโรง  แต่ไม่ได้ตรงไปประทับนั่งที่พระแท่น   ทรงเดินจงกรมเสียรอบหนึ่งให้ขุนนางดู  ในฉลองพระองค์เต็มยศสวมพระมหาพิชัยมงกุฎหนักอึ้ง  ทำไมจะต้องเดินในท้องพระโรงก็ไม่ทราบ   หากจะปฏิบัติธรรมก็เลือกเวลาอื่นและสถานที่อื่นที่สงัดเหมาะกับการเจริญสติก็น่าจะดีกว่า

แต่ฉากเด็ดกว่านี้ คือเมื่อทรงเดินจงกรมเสร็จแล้ว   ก็ถอดพระมหาพิชัยมงกุฎออก  ทำไมก็ไม่ทราบเหมือนกัน  ในเมื่อทรงสวมมาแต่แรกเหมือนจะออกว่าราชการในชุดนี้ 
มหาดเล็กสองคนทำหน้าที่ช่วยถอด    คนหนึ่งจับคางพระเจ้ากรุงอยุธยาเพื่อถอดสายรัดใต้คาง และอีกมือจับพระมหาพิชัยมงกุฎ (ซึ่งก็ต้องโดนพระเศียรพระเจ้าเอกทัศด้วย) อย่างเต็มไม้เต็มมือ  ไม่มีประหม่า แสดงว่าทำหน้าที่นี้ประจำ

โอ้ว พระเจ้าจอร์จ! ร้องได้แค่นี้เองค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 18:27

คงติดภาพสวมลอมพอก สวมครุยในภาพจิตรกรรมนี้ครับ


บันทึกการเข้า
แพรวพิม
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 18:32

คิดว่าจะทรงทำสมาธิก่อนออกว่าราชการกระมังคะอาจารย์ ตีความตามที่ท่านผู้กำกับ(น่าจะ) คิดไว้อย่างนั้น

เรื่อง Dramatic license อะไรนี่ ถ้าเราถือคติว่า "ดูละครเอาสนุกๆ" ไม่ถือเป็นจริงเป็นจังก็พอทนได้อยู่ แต่ว่าก็มีคนบางกลุ่มที่ "อิน" กับละครอิงประวัติศาสตร์ต่างๆ มากเกิน จนพาลคิดไปว่าอะไรต่อมิอะไรที่ละครเสนอให้มานั้น "ถูกต้องสมจริง" ไปเสียหมด เชื่อมากกว่าพงศาวดารหรือตำราด้วยซ้ำ ความคิดแบบนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องแก้ไขโดยด่วน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 18:51

คิดว่าจะทรงทำสมาธิก่อนออกว่าราชการกระมังคะอาจารย์ ตีความตามที่ท่านผู้กำกับ(น่าจะ) คิดไว้อย่างนั้น

เรื่อง Dramatic license อะไรนี่ ถ้าเราถือคติว่า "ดูละครเอาสนุกๆ" ไม่ถือเป็นจริงเป็นจังก็พอทนได้อยู่ แต่ว่าก็มีคนบางกลุ่มที่ "อิน" กับละครอิงประวัติศาสตร์ต่างๆ มากเกิน จนพาลคิดไปว่าอะไรต่อมิอะไรที่ละครเสนอให้มานั้น "ถูกต้องสมจริง" ไปเสียหมด เชื่อมากกว่าพงศาวดารหรือตำราด้วยซ้ำ ความคิดแบบนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องแก้ไขโดยด่วน

คิดทำนองเดียวกันค่ะ  คงเป็นการนำเสนอว่าพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรมะ   พระเจ้าเอกทัศทรงธรรมะธัมโม เห็นได้จากการเดินจงกรมเจริญสติก่อนว่าราชการ     แต่วิธีการนำเสนอเพื่อให้คนดูเข้าใจประเด็นนี้ มันไม่เนียน      เพราะจะมาจงกรมอะไรอยู่ในท้องพระโรง ท่ามกลางขุนนางที่หมอบเฝ้ามีเรื่องราชการจะต้องทูลเสนออีกมากมาย
เอ่าเถอะ  มันก็ละคร
คนดูละครจำนวนหนึ่งก็คิดอย่างคุณแพรวพิมว่าค่ะ      ถึงต้องเกิดกระทู้นี้ขึ้นมาไงคะ   อย่างน้อยก็เสนอทางเลือกให้เขาเห็นว่า มีอะไรที่นอกเหนือจากในละครบ้าง    ส่วนจะเชื่อไม่เชื่อ เห็นด้วยไม่เห็นด้วย แล้วแต่เขาค่ะ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 20:35

มันก็เหมือนเราสร้าง "ความจริงเสมือน (Virtual Reality)" ขึ้นมา เป็น Illusion ทางประวัติศาสตร์

ดังนั้น ถ้าคนดูเกิดอินไปกับเนื้อเรื่อง โดยไม่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ในห้วงเวลานั้น มาเป็นภูมิคุ้มกัน

มันก็น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อยนะครับ เพราะมันอาจกลายเป็นความทรงจำอยู่ในหัว โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 21:16

ก็คิดเช่นนั้นละค่ะ
การเลือกเชื่อเอกสารเล่มหนึ่งและไม่เอาเอกสารอีกเล่มหนึ่ง เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตนิยายหรือละครหรือหนังอิงประวัติศาสตร์ทำได้   เช่นเชื่อว่าพระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้ามีนิสัยน่าเคารพ    แต่ไม่เชื่อว่าท่านฝืนคำสั่งพระบิดา แย่งบัลลังก์จากน้องชาย  ข้อนี้อนุโลมได้ว่าเป็นสิทธิพิเศษของผู้ทำละคร
แต่ที่จะต้องชี้แจงกันก็คือ ข้อพลาดในเรื่องข้อเท็จจริง ที่ไม่น่าพลาด  เช่นขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งหลาย      ทำให้คนรุ่นหลังที่ไม่รู้ จำผิดพลาดกันต่อๆไปค่ะ 
บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 10 ธ.ค. 17, 13:30

น่ากลัวจริงๆครับ  รูดซิบปาก


บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง