เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70313 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 10:43

ในละคร อธิบายบทบาทตัวละครตัวนี้ว่า

พระกำนัลนารีสังข์ ขันทีศรีอโยธยา รับบทโดย ปิยะ เศวตพิกุล

พระกำนัลนารี หนึ่งในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของข้าราชสำนักฝ่ายใน เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตอนต้น ทำหน้าที่อัญเชิญพระสุพรรณ์ภาชน์ และเป็นผู้นำนางบำเรอมาถวายตัวแก่พระเจ้าอยู่หัว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 11:06

ในละคร  พระกำนัลนารีเป็นขันที ประจำในพระราชสำนักฝ่ายใน  คืออยู่กับเหล่าเจ้านายสตรีและพนักงานนางข้าหลวงทั้งหลาย
แต่มีหน้าที่เชิญพระสุพรรณภาชน์ด้วย  คือหมายความถึงเครื่องราชูปโภคหรือเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของกษัตริย์ตอนเสด็จออกขุนนาง เช่นกาน้ำ กระโถนบ้วนน้ำหมาก
และนำนางบำเรอมาถวายตัวแก่พระเจ้าอยู่หัว
คำหลังนี้ใครเป็นคนเขียนคำบรรยายไม่ทราบ แต่ใช้คำได้น่าเกลียดมาก   เพราะสตรีที่ถูกนำขึ้นถวายนั้นไม่มีใครเรียกว่านางบำเรอ  เขาเรียกว่าเจ้าจอม  เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติและมีการยอมรับนับถือในราชสำนัก   

ในละคร  ระบุว่าพระกำนัลนารีคนนี้เป็นขันที   หมายถึงเป็นบุรุษเพศโดยกำเนิดแต่ถูกตัดอวัยวะเพศออก   เพื่อให้ใช้การไม่ได้ จะได้รับหน้าที่ควบคุมดูแลราชสำนักฝายในได้ โดยไม่มีปัญหาชู้สาวกับสตรีที่มีอยู่มากมายในนั้น
คำถามต่อไปก็คือ ในสมัยอยุธยามีขันทีไหม  และถ้ามี มีแบบนี้ไหม

ขันทีในสมัยอยุธยามีอยู่จริง  มีหลักฐานระบุไว้ เรียกชื่อว่า "นักเทศ" และ "ขันที" มีหน้าที่ตามเสด็จพระเจ้าแผ่นดินเช่นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์   มีกรมอยู่ในพระอัยการนาพลเรือน  มี

ออกพระศรีมะโนราชภักดีศรีปรัยวัล          นา ๑๐๐๐
หลวงราชาชานภักดี                          นา ๕๐๐
ปลัดจ่านุชิด ปลัดพิพิท ปลัดมระกฏ
หลวงศรีมโนราชภักดีศรีองคเทพ            รักษาองค ขันที นา ๑๐๐๐
หลวงเทพชำนาญภักดีศรีเทพรักษา         องครักษ ขันที   นา ๑๐๐๐
ดูจากราชทินนาม ก็เหมือนมีหน้าที่แบบมหาดเล็กรักษาพระองค์ประเภทหนึ่ง

ส่วนขันทีมาจากไหน   สันนิษฐานจากการแยกเป็น 2 คำคือ นักเทศ กับ ขันที  ทำให้คิดว่าจะต้องเป็นการแบ่งประเภทกัน  คำว่า "เทศ" ไทยใช้กับอะไรที่มาจากตะวันออกกลาง เช่น พริกเทศ  เครื่องเทศ   เพราะฉะนั้นนักเทศน่าจะมาจากเปอร์เชีย   ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับอยุธยามานานแล้ว    ส่วนขันที น่าจะมาจากจีน   ซึ่งเป็นประเทศที่มีขันทีเป็นต้นแบบการใช้ผู้ชายดูแลราชสำนักฝ่ายในอยู่แล้ว

สมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี มีภาพขันทีแต่งกายแบบแขกโพกศีรษะอยู่มุมล่าง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 11:25

หลักฐานข้างบนนี้ ทำให้เห็นว่าขันที หรือที่เรียกว่า Eunuch(อ่านว่ายูนุค) มีอยู่จริงในราชสำนักอยุธยา    แต่งกายแบบเพศชาย   
ส่วนขันทีชายแต่งกายหญิง  หม่อมน้อยน่าจะนำมาจากหลักฐานข้างล่างนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 11:41

เชิญอ่าน facebook นี้ไปพลางๆก่อนค่ะ   แล้วจะกลับมาทีหลัง  ตอนนี้มีธุระขอลงจากเรือนไทย

https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1580022742061190

ระหว่างนี้เชิญคุยกันได้ตามอัธยาศัย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 11:55

ราชสำนักไทย(สมัยก่อน)มีขันทีด้วยหรือเปล่า

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4462
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 13:44

เอ๊ะ ผมมาช้าครับ แต่ก็สนใจในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้อยู่ครับ

วันก่อนยังคุยกับเพื่อนๆ อยู่ว่า น้องพี่ตูน สามารถวิ่ง เบตง-กรุงเทพได้ภายใน 30 วัน เช่นนี้แล้ว ในสมัยโบราณ ทัพอังวะ สามารถเดินจากเมาะตะมะ มาอยุธยาได้ภายในกี่วัน (หากปราศจากการต้านทานขัดขวาง) โดยลองจินตนาการกันดูว่า ทันทีที่ได้ข่าวศึก อย่างที่ปรากฎในละครตอนแรกนี้ ราชสำนักอโยธยาจะมีเวลาเตรียมตัวรับศึกกี่วัน และเหตุการณ์จะเคร่งเครียด วุ่นวาย เพียงใด

(อันนี้คือประเด็นที่ผมยกขึ้นมาคุยกับเพื่อนๆนะครับ ไม่ได้ยกประเด็นใหม่ขึ้นมาตัดประเด็นพระกำนัลนารีแต่อย่างใดครับ)
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 14:08

สำหรับประเด็น Dramatic license ผมยอมรับได้ครับ อันละครโขนหนังนั้น แต่เดิมมาก็มีขึ้นเพื่อความสนุกสนาน หนังต่างประเทศเองก็ใช่ว่าจะถูกต้องตามประวัติศาสตร์ หรือตามข้อเท็จจริงทั้งหมดเสียเมื่อไหร่ ดังนั้น ขอเพียงแค่ดูสนุก กลมกลืน ลื่นไหล ก็ใช้ได้แล้วหละครับ

นอกจากนี้ ผมยังเห็นว่า จะตรงหรือไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ ก็ไม่เป็นไร ขอเพียงให้มีงานออกฉายออกเผยแพร่ เกิดเป็นประเด็นขึ้นมา ผู้ที่สนใจอยากทราบข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ก็สามารถไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นได้เองครับ แต่ถ้าไม่มีใครทำขึ้นมาสิครับ ชื่อบางชื่อ นามบางนาม อาจไม่มีใครรู้จักเลย เมื่อไม่รู้จักจะมีการไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้อย่างไร

ยกตัวอย่างการ์ตูนมังงะญี่ปุ่น หลายเรื่องเอาชื่อคนในประวัติศาสตร์มาใช้ เช่น โชกุนโนบุนากะ นี่ ได้รับการนำไปเป็นตัวละครในหลายต่อหลายเรื่องครับ แทบจะร้อยละ 99 ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น แต่ผู้คนก็ยังรู้จักโนบุนากะ ซึ่งแน่นนอนครับว่า คนที่รู้แล้วหยุดอยู่แค่นั้นก็คงมี แต่คนที่รู้แล้วอยากรู้เพิ่ม ไปหาอ่านเพิ่มก็คงมีเช่นกัน

เอามาเทียบกับเรื่องศรีอโยธยานี้ แม้ว่าข้อเท็จจริงจะไม่ตรงไปบ้าง แต่ชื่ออย่าง พระกำนัลนารี เจ้าสามกรม หรือแม้แต่ พระเจ้าอุทุทพร ก็จะกลับมามีผู้กล่าวถึงอีกครั้ง (คราวนี้อาจจะไปจุดประกายให้เกิด Social Movement ขึ้นมาก็ได้นะครับว่า สถูปของพระองค์ท่านปัจจุบันอยู่ที่ใด) ซึ่งก็ดีกว่าที่นามเหล่านี้จะเลือนหายไปกับการเวลาแน่นอนครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 14:09

อาจารย์ไม่อยู่,นักเรียนส่งเสียง

          คนดูละครยอมรับกันได้สำหรับทรงผมเด็กๆ ในละครทีวีพีเรียดที่ออกมาเป็นแบบรวบผมเกล้าจุกเพราะ
ตัวละครเด็กๆ ตัวเอกคงไม่ยอมโกนผมไว้จุกเพื่อแสดงละครทีวีกัน ไม่ว่าจะในหนังซีรี่ส์เรื่องนี้หรือเรื่องอื่นๆ
ที่เด่นดัง(เช่น สี่แผ่นดิน) เว้นแต่ในหนังใหญ่อย่างตำนานพระนเรศวรมหาราช  

ซ้าย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซีรี่ส์ จอแก้ว, ขวา ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จอเงิน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 14:10

เพิ่มเติม, เจ้าส้มฉุนในหนังใหญ่, ในทีวี(ที่ต่อมาโตแล้วกลายพันธุ์เป็นทุเรียน) เกรียนได้เท่านี้ กับ
อีกหนึ่งส้มฉุนเวอร์ชั่นถ่ายแบบ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 14:11

และทิ้งประเด็นจากในฉากนี้ มีคำว่า พระสยามเทวาธิราช


บันทึกการเข้า
TreeSira
อสุรผัด
*
ตอบ: 2



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 14:18

พระสยามเทวาธิราช น่าจะมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ใช่ไหมครับ?
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 15:04

ลงชื่อจองที่นั่งติดหน้าต่างครับ ยังไม่ได้ดูและไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามี เดี๋ยวไล่ตามจากยูทูปแล้วกัน ผมเนี่ยเจ้าชายสายเสมอตลอกาล  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 17:35

มาช้าจนที่นั่งเต็มหมดแล้ว ไม่เหลือแม้แต่ที่นั่งข้างหน้าต่าง งั้น ขอนั่งพับเพียบข้างๆโต๊ะอาจารย์ก็แล้วกันนะคะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 18:19

โดยส่วนตัวผมเชื่อตามที่คุณสันต์ ท. โกมลบุตร แปลคำว่า eunuques ว่า จ่าโขลน  มากกว่าจะแปลว่า ขันที
เพราะจ่าโชบนและโขลนซึ่งเป็นข้าราชสำนักฝ่ายในนั้น  โดยปกติมักจะมีบุคลิกลักษณะคล้ายผู้ชาย  แถมถืออาวุธเหมือนพระตำรวจ
ยิ่งในยุคปลายกรุงศรีอยุธยา  สตรีไทยถูกสั่งให้ตัดผมสั้นเพื่อให้ดูคล้ายผู้ชายในยุคไทยรบพม่า  ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยมองว่า
จ่าโขลนและโขลนเหล่านี้เป็นผู้ชายแต่งกายเป็นหญิง
บันทึกการเข้า
แพรวพิม
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 18:34

เข้ามาลงชื่อเข้าเรียนค่ะ  ยิ้ม

เพิ่งดูตอนแรกเมื่อกี้นี่เอง มีข้อติดใจตรงชื่อของนางรำสาวน้อยในเรื่อง "บุษบาบรรณ" ชื่อไพเราะเพราะพริ้งและยาวเกินกว่าเป็นชื่อสามัญชน คนสามัญสมัยก่อนไม่น่าจะมีชื่อที่ยาวได้ขนาดนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง