เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70764 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 06 ธ.ค. 17, 22:14

ลืมดูภาพยนตร์ซีรี่ส์ "ศรีอโยธยา" ทางช่องทรูไป   นึกได้เลยไปหาดูทางยูทูปได้ทันการ
ดูแล้วก็เกิดความคิดบางอย่าง ตามที่เขียนไว้เป็นหัวข้อกระทู้นี้ค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอยืนยันว่า กระทู้นี้ไม่ได้เป็นการจับผิดหม่อมน้อยผู้สร้างและกำกับเรื่องนี้ ว่าทำยังโง้นผิด ทำยังงี้ไม่ถูก     เพราะสิ่งที่หม่อมน้อยทำคือละคร   ไม่ใช่สารคดี    ไม่ว่าละครหรือนวนิยาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น  ผู้สร้างจึงมีสิทธิ์สมมุติอะไรขึ้นมาได้โดยเสรี แม้ว่าตั้งใจจะวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงตามตำราหรือหลักฐานที่ค้นคว้าเอาไว้ก็ตาม     
สิทธิ์ดังกล่าวนี้  ดิฉันเรียกว่า Dramatic license  คำนี้ยังไม่ได้ถามผู้เชี่ยวชาญทางการละครว่าแปลไทยว่าอะไร  ก็เลยขอใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษไปก่อน
ศิลปะสาขาต่างๆนั้นเป็นงานสร้างสรรค์ที่ผู้สร้างงานมีสิทธิพิเศษอย่างหนึ่ง ที่คนในอาชีพอื่นไม่น่าจะมี   คือมีสิทธิ์ที่จะสร้าง เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง เพิ่มเติม ปฏิเสธ บิดผัน ข้อเท็จจริงต่างๆในโลก เอาไว้ในผลงานของตัวเองได้    ถ้าเป็นงานวรรณกรรม สิทธินี้เรียกว่า poetic license   ถ้าเป็นศิลปะโดยรวม เรียกว่า Artistic license   
license  ที่ว่านี้ประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางมาก แทบว่าจะยกตัวอย่างได้ครอบจักรวาล    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นครูสอนภาษา ก็ต้องสอนให้นักเรียนเขียนอ่านได้ถูกต้องตามหลักภาษา  เขียนผิดก็หักคะแนนไป     
แต่ข้อนี้ คุณครูเอาไปใช้กับกวีไม่ได้    กวีอาจสร้างภาษาหรือคำขึ้นมาใหม่ได้ตามความคิดของเขา    ด้วยเหตุผลของเขา  เหมือนสุนทรภู่ใช้คำว่า " เจ้ากรมยมราช" เพื่อให้มีสัมผัสใน  ทั้งๆเจ้าพระยายมราช ตำแหน่งท่านคือเสนาบดี  สูงกว่าเจ้ากรมเป็นไหนๆ   แต่สุนทรภู่ก็ได้รับการยกเว้น ไม่ถือว่าผิด ด้วยสิทธิดังกล่าว

การละครก็เช่นกัน   ผู้สร้างละครสามารถสมมุติอะไรขึ้นมาเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ในละครของเขาได้ทั้งนั้น  แม้ว่ามันอาจจะไม่ตรง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากหลักฐานข้อเท็จจริง     แต่มันอาจเป็นความต้องการของผู้สร้าง ให้ออกมาในรูปแบบนั้นด้วยเหตุผลของเขาเอง   
ตัวอย่างเช่นในหนังตำรวจหรือนักสืบที่เห็นกันทั้งในจอใหญ่จอเล็ก    เราอาจรู้สึกว่าพระเอกนางเอกที่เป็นตำรวจหรือนักสืบดูจะมีเวลาลุยงานได้ ไม่กินไม่นอน หน้าตาสดใส ไม่เหนื่อยไม่โทรม    เห็นคดีปุ๊บสืบหาหลักฐานได้ปั๊บ  เดี๋ยวเดียวจับผู้ร้ายได้แล้ว     ทั้งที่ในความเป็นจริง ตำรวจอาจทำงานเอกสารโงหัวไม่ขึ้น ปิดคดีไม่ลง  เสี่ยงตายแล้วก็ตายเอาจริงๆ ไม่รอดอย่างพระเอกนางเอก   

ดังนั้น เมื่อดู"ศรีอโยธยา" แล้ว    ดิฉันก็ไม่มีอะไรจะบอกว่าตรงนั้นผิดหรือตรงนี้ถูก      แต่ที่จะตั้งกระทู้บอกก็คือ มันมีความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับโลกของละคร  ที่คนดูน่าจะรู้ไว้   โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยมีโอกาสเรียนประวัติศาสตร์ในหลักสูตรโรงเรียนกันกี่มากน้อย    มีอยู่มากที่ไม่รู้จะยึดอะไรเลยยึดหนังหรือละคร หรือนิยาย เป็นข้อเท็จจริงไปเลย     แล้วก็แยกไม่ออกระหว่างความเชื่อกับหลักฐาน  ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งที่น่าห่วงมากกว่า

ปูพื้นไว้แค่นี้ก่อน   ขอเช็คชื่อนักเรียนตามระเบียบ
ส่วนภาพข้างล่าง เอามาโปรยเรียกเรตติ้งไว้ก่อนค่ะ


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 00:33


ลงชื่อเข้าเรียนภาคค่ำครับ
ได้รับชมตอนแรกแล้วเช่นกันครับ กำกับภาพดีมาก ดนตรีฟังแปลก ๆ อยู่
เนื้อเรื่องเปิดมาก็เป็นอภินิหารบรรพบุรุษภาคพิสดารเลยครับ
ได้รับความบันเทิงกันเต็มที่ ผลงานสร้างสรรภาพกรุงศรีอยุธยานี่ผมให้เต็มร้อยเลย  

ฉากนี้น่าจะมาในตอนหน้า สองพี่น้องปรึกษาราชการกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 06:25

การละครก็เช่นกัน   ผู้สร้างละครสามารถสมมุติอะไรขึ้นมาเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ในละครของเขาได้ทั้งนั้น  แม้ว่ามันอาจจะไม่ตรง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากหลักฐานข้อเท็จจริง แต่มันอาจเป็นความต้องการของผู้สร้าง ให้ออกมาในรูปแบบนั้นด้วยเหตุผลของเขาเอง 

ผู้สร้างละครได้ออกตัวเรื่องนี้ไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้นของละคร  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 08:20

มารายงานตัวครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 09:09

การละครก็เช่นกัน   ผู้สร้างละครสามารถสมมุติอะไรขึ้นมาเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ในละครของเขาได้ทั้งนั้น  แม้ว่ามันอาจจะไม่ตรง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากหลักฐานข้อเท็จจริง แต่มันอาจเป็นความต้องการของผู้สร้าง ให้ออกมาในรูปแบบนั้นด้วยเหตุผลของเขาเอง  

ผู้สร้างละครได้ออกตัวเรื่องนี้ไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้นของละคร  ยิงฟันยิ้ม

สิ่งที่จะเล่าในกระทู้นี้ ไม่ใช่ประเด็นที่หม่อมน้อยเอ่ยถึง     ขอคุณเพ็ญชมพูโปรดติดตามไปก่อนนะคะ

เรื่องที่หม่อมน้อยแถลงไว้ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้  เพราะจดหมายเหตุและพงศาวดารมีเนื้อหาแย้งกันอยู่ก็มีให้เห็นบ่อยๆ  ถ้าจะต้องสร้างเป็นละครก็ต้องเลือกเอาว่าจะใช้ข้อมูลไหนดี
ไม่ต้องอะไรมาก  แค่เรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินเมื่อครั้งเป็นพระยาตาก พาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาก่อนแตก   เดิมบันทึกกันต่อๆมาว่าเป็นการหนี  ต่อมาก็มีหลักฐานว่า ได้รับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าเอกทัศให้ตีฝ่าพม่าไปขอความช่วยเหลือจากหัวเมืองรอบนอก
แล้วถ้าเป็นคนทำละคร ก็ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไปแย้งกับอีกอย่างหนึ่งอยู่ดี 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 09:45

            ของว่างระหว่างรอ, ย้อนไปกว่า ๕ ปี, เคยมีกระทู้ Poetic license สิทธิพิเศษที่เป็นบัตรผ่านของกวีและศิลปิน
ที่นี่ครับ

             http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5075.0
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 10:27

ขอต้อนรับคุณหมอ SILA เข้าสู่วงกระทู้ค่ะ

กระทู้นี้จะไม่ให้ซ้ำกับกระทู้ก่อนที่คุณหมอ SILA ยกขึ้นมา      จุดประสงค์คือจะอธิบายว่า โลกของอดีตที่มีอยู่จริง กับโลกในละคร แตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง
ผู้อ่านขาประจำในเรือนไทยอาจรู้สึกว่า...เรื่องตื้นๆ รู้กันแล้ว  ก็แน่ละ แต่ละท่านระดับจอมยุทธมือกระบี่อันดับหนึ่งทั้งนั้น    รู้เรื่องอดีตละเอียดถี่ถ้วนราวกับเดินผ่านประตูกาลเวลาของโดเรมอนเป็นประจำทุกวัน
แต่กระทู้นี้มีไว้สำหรับขาจรเรือนไทย โดยเฉพาะคนรุ่นมิลเลนเนียมที่ไม่รู้ว่าโลกสองโลกนี้มันต่างกันยังไง  บางทีก็เลยเผลอเอาละครเป็นหลักฐานข้อเท็จจริงเสียเลย

มาเริ่มตอนแรกกันดีกว่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 10:38

ในฉากนี้ ศรรามผู้รับตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองตาก  ขี่ม้าเร็วเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อแจ้งข่าวศึกพม่า
มีฉากศรรามแต่งชุดนักรบ ถือดาบเดินเข้ามาเฝ้าเจ้านาย คือเจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร  พระราชโอรสในพระเจ้าเอกทัศ

ในความเป็นจริง  หลวงยกกระบัตรจะเดินดุ่มๆ ผ่านทหารเข้ามาเฝ้าเจ้านายอย่างสะดวกง่ายดายอย่างนี้ไม่ได้    แต่จะต้องผ่านขุนนางเป็นลำดับชั้นขึ้นมาก่อน   ขึ้นกับว่าตัวเองสังกัดใครที่มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในตอนนั้น   นำความไปรายงานข่าวพม่ายกทัพ แล้วผู้บังคับบัญชาก็พาเข้าเฝ้าเจ้านาย ซึ่งน่าจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือวังหน้า หากว่าทรงได้รับมอบอำนาจ    
อย่างที่สอง คือ  ธรรมเนียมการเข้าเฝ้าเจ้านายที่ปฏิบัติกันต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์   ขุนนางต้องถอดเสื้อเข้าเฝ้า  ทั้งนี้เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย คือจะได้ไม่มีโอกาสซุกซ่อนอาวุธเข้ามาทำร้ายเจ้านาย     และยังมีรายละเอียดอีกสองสามอย่าง เช่นการผลัดผ้านุ่งที่จะต้องใช้เฉพาะเมื่อเข้าเฝ้า เช่นผ้าปูม ตามยศลำดับชั้นของขุนนาง
แต่เอาเถอะ เรื่องผลัดผ้าเป็นรายละเอียดปลีกย่อย   ไม่เอามาใส่ก็ได้  แต่สิ่งสำคัญคือการถืออาวุธเข้าไปเฝ้าเจ้านายนี่   ทำไม่ได้เด็ดขาด
ยังไงก็ต้องวางอาวุธไว้ข้างนอกก่อนเข้าในเขตพระราชฐาน  


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 14:35

ในฉากนี้ ศรรามผู้รับตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองตาก  ขี่ม้าเร็วเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อแจ้งข่าวศึกพม่า
มีฉากศรรามแต่งชุดนักรบ ถือดาบเดินเข้ามาเฝ้าเจ้านาย คือเจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร  พระราชโอรสในพระเจ้าเอกทัศ

ในความเป็นจริง  หลวงยกกระบัตรจะเดินดุ่มๆ ผ่านทหารเข้ามาเฝ้าเจ้านายอย่างสะดวกง่ายดายอย่างนี้ไม่ได้    แต่จะต้องผ่านขุนนางเป็นลำดับชั้นขึ้นมาก่อน   ขึ้นกับว่าตัวเองสังกัดใครที่มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในตอนนั้น   นำความไปรายงานข่าวพม่ายกทัพ แล้วผู้บังคับบัญชาก็พาเข้าเฝ้าเจ้านาย ซึ่งน่าจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือวังหน้า หากว่าทรงได้รับมอบอำนาจ    
อย่างที่สอง คือ  ธรรมเนียมการเข้าเฝ้าเจ้านายที่ปฏิบัติกันต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์   ขุนนางต้องถอดเสื้อเข้าเฝ้า  ทั้งนี้เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย คือจะได้ไม่มีโอกาสซุกซ่อนอาวุธเข้ามาทำร้ายเจ้านาย     และยังมีรายละเอียดอีกสองสามอย่าง เช่นการผลัดผ้านุ่งที่จะต้องใช้เฉพาะเมื่อเข้าเฝ้า เช่นผ้าปูม ตามยศลำดับชั้นของขุนนาง
แต่เอาเถอะ เรื่องผลัดผ้าเป็นรายละเอียดปลีกย่อย   ไม่เอามาใส่ก็ได้  แต่สิ่งสำคัญคือการถืออาวุธเข้าไปเฝ้าเจ้านายนี่   ทำไม่ได้เด็ดขาด
ยังไงก็ต้องวางอาวุธไว้ข้างนอกก่อนเข้าในเขตพระราชฐาน  

บางทีก่อนจะเข้าเฝ้าต้องกลับไปที่จวนพัก ต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด แต่งตัวสมปักปูม ท่อนบนเปลือยเปล่าแล้วรอเข้าเฝ้า ถ้าไม่โปรดก็ไม่มีสิทธิ์ให้รอไปหลายวัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 15:14

กำลังรอคุณหนุ่มสยามอยู่เชียวค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 15:29

เมื่อหลวงยกกระบัตรตากเข้าเฝ้าเจ้าฟ้าสุทัศเสร็จแล้ว   เจ้าฟ้าถึงเวลาเสด็จไปสรงน้ำเตรียมเข้าเฝ้าพระเจ้าเอกทัศ
ก่อนไปเจ้าฟ้าก็ยกมือไหว้ลา" อาจารย์"  ซึ่งในเรื่องคือพระยาพิชัย รับบทโดยศักราช ฤทธิ์ธำรง

ในสมัยอยุธยา  เจ้านายไม่ไหว้สามัญชน  ไม่ว่าเป็นอาจารย์หรือสนิทกันแค่ไหน    พระเจ้าแผ่นดินและเจ้าฟ้าจะประณมหัตถ์ไหว้ก็แต่ผู้ที่อยู่ในเพศสูงกว่า คือพระสงฆ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 15:30

มาถึงฉากใหญ่ คือพระเจ้าเอกทัศเสด็จออกว่าราชการ มีขุนนางเข้าเฝ้ากันเต็ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 15:30

หลวงยกกระบัตรตากแต่งกายแบบนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 15:37

พระเจ้าเอกทัศแต่งแบบนี้ สวมพระมหามงกุฎด้วย  แล้วก็มาถอดออกในท้องพระโรงนั่นเอง


บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 16:09

ขอเข้ามารายงานตัวเข้าชั้นเรียน วิชาประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง