เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70315 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 19:24

เปิดวิชานี้  ชั้นเรียนคึกคักเชียว
ยกเก้าอี้เสริมมาให้คุณแอนนาแล้วค่ะ  แถวหน้าสุดเลย

เห็นชูมือตั้งคำถามกันหลายคน   เอาคำถามที่ตอบได้สั้นๆก่อน

เพิ่งดูตอนแรกเมื่อกี้นี่เอง มีข้อติดใจตรงชื่อของนางรำสาวน้อยในเรื่อง "บุษบาบรรณ" ชื่อไพเราะเพราะพริ้งและยาวเกินกว่าเป็นชื่อสามัญชน คนสามัญสมัยก่อนไม่น่าจะมีชื่อที่ยาวได้ขนาดนี้
ชื่อนางเอกในละครมักจะไพเราะเพราะพริ้งอยู่แล้วค่ะ
สมัยปลายอยุธยา  ชื่อคนไทยมักจะสั้นๆ ง่ายๆ คำสองคำ  และไม่กำหนดเพศ     แม้แต่เจ้านายก็มีพระนามเมื่อประสูติสั้นๆเช่นกัน  ส่วนใหญ่มีความหมายตรงตัว ไม่ต้องแปล
เช่นเจ้าฟ้ากุ้ง  เจ้าฟ้าอภัย   จะยกเว้นและยาวหน่อยก็เจ้าฟ้าอุุทุมพร
บุษบาบรรณเป็นชื่อทันสมัยมากค่ะ  ฟังปุ๊บรู้ปั๊บว่านางเอก 
ชื่อนี้เป็นชือนิยายรวมเรื่องสั้นของ "ดอกไม้สด"   อีกเล่มหนึ่งคือ "พู่กลิ่น" เป็นเครื่องแขวนชนิดหนึ่งทำด้วยดอกไม้สด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 19:33

พระสยามเทวาธิราช น่าจะมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ใช่ไหมครับ?
ใช่ค่ะ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า สยามมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่บังเอิญมีเหตุให้รอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ ชะรอยคงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นรูปสมมติขึ้น แล้วหล่อด้วยทองคำแท่ง มีลักษณะแบบเทวรูป มีความสูง ๘ นิ้ว ทรงเครื่องอย่างเทพารักษ์ ทรงมงกุฎ ประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นในท่าจีบเสมอพระอุระ ประทับในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ มีลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน และถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง

ในสมัยอยุธยา การเรียกชื่ออาณาจักรเรียกตามชื่อเมืองหลวง    พม่าเองเมื่อขนเชลยศึกไปจากอยุธยาก็เรียกว่า "โยเดีย" ไม่ได้เรียกว่า "สยาม"  คนที่เรียกอาณาจักรอยุธยาว่าสยามคือพวกฝรั่ง  แต่การรู้จักคำว่าสยาม ก็เป็นคนละเรื่องกับรู้จักพระสยามเทวาธิราช
สรุปว่าชาวอยุธยาไม่รู้จัก พระสยามเทวาธิราช ค่ะ
บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 19:33

ละครเรื่องนี้บอกว่าไม่ใช้สารคดีประวัติศาสตร์ แต่ผมว่าพรอพประกอบฉากที่เก็บงานไม่เรียบร้อยหรือของที่มันโมเดิร์นจ๋ามาโผล่ในซีนเนี่ย มันไม่ควรจะพลาดนะครับ


กระสอบข้าวโรงสีมีลายคาดเขียว เสาไฟโมเดริน


แท็งค์น้ำสมัยกรุงศรี


เครื่องหมาย X บนลอมพอกคุณหลวงนี่คืออะไร หรือลืมทาสีกลบไม่หมด


อ้าว คุณบุนนาคก็มีเครื่องหมาย X ก่ะเขาเสียด้วย
บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 19:38

คุณคทาธรตาไวจริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 19:50

เอ๊ะ ผมมาช้าครับ แต่ก็สนใจในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้อยู่ครับ

วันก่อนยังคุยกับเพื่อนๆ อยู่ว่า น้องพี่ตูน สามารถวิ่ง เบตง-กรุงเทพได้ภายใน 30 วัน เช่นนี้แล้ว ในสมัยโบราณ ทัพอังวะ สามารถเดินจากเมาะตะมะ มาอยุธยาได้ภายในกี่วัน (หากปราศจากการต้านทานขัดขวาง) โดยลองจินตนาการกันดูว่า ทันทีที่ได้ข่าวศึก อย่างที่ปรากฎในละครตอนแรกนี้ ราชสำนักอโยธยาจะมีเวลาเตรียมตัวรับศึกกี่วัน และเหตุการณ์จะเคร่งเครียด วุ่นวาย เพียงใด

(อันนี้คือประเด็นที่ผมยกขึ้นมาคุยกับเพื่อนๆนะครับ ไม่ได้ยกประเด็นใหม่ขึ้นมาตัดประเด็นพระกำนัลนารีแต่อย่างใดครับ)
กระทู้นี้คงพอตอบได้ค่ะ
https://pantip.com/topic/30543241
รายละเอียดมากกว่านี้ เดี๋ยวครูเพ็ญชมพูคงมาบอกเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 20:03

โดยส่วนตัวผมเชื่อตามที่คุณสันต์ ท. โกมลบุตร แปลคำว่า eunuques ว่า จ่าโขลน  มากกว่าจะแปลว่า ขันที
เพราะจ่าโชบนและโขลนซึ่งเป็นข้าราชสำนักฝ่ายในนั้น  โดยปกติมักจะมีบุคลิกลักษณะคล้ายผู้ชาย  แถมถืออาวุธเหมือนพระตำรวจ
ยิ่งในยุคปลายกรุงศรีอยุธยา  สตรีไทยถูกสั่งให้ตัดผมสั้นเพื่อให้ดูคล้ายผู้ชายในยุคไทยรบพม่า  ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยมองว่า
จ่าโขลนและโขลนเหล่านี้เป็นผู้ชายแต่งกายเป็นหญิง

ดิฉันคิดตรงกับคุณV_Mee ว่าคนที่ถูกเรียกว่าขันทีแต่งหญิง นั้นคือพวกโขลน หรือตำรวจหญิงของพระราชฐานชั้นใน
ถ้าไทยเรามีขันทีแต่งหญิงจริง  น่าจะมีหลักฐานตกทอดมาถึงปัจจุบันบ้าง    ขันทีชายยังมีรูปวาดให้เห็น    ที่สำคัญคือในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีน่าจะบันทึกเอาไว้เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย   แต่ก็ไม่มี
การแพทย์แผนโบราณของไทยก็น่าจะบันทึกเอาไว้ ถึงการผ่าตัด หรือตัวยาที่ใช้รักษา   แต่ก็ไม่เคยเจอ

ขันทีของจีนคือชายที่เกิดมาเป็นชายแท้  แต่ยอมผ่าตัดให้หมดสภาพชายไปเพื่อไปทำงานในวัง  เพื่อจะได้ทั้งเงินและเกียรติ  ไม่ต้องลำบากยากจนอยู่ที่บ้าน    ส่วนธรรมเนียมไทย  ผู้ชายต้องบวชเรียนเมื่ออายุถึงปีบวช  หากร่างกายพิการไปเสียแบบนี้ก็หมดโอกาส พ่อแม่ไม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์  นอกจากนี้ยังมีครอบครัวไม่ได้    ถือเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสทีเดียว    จึงไม่คิดว่าจะมีชายไทยแท้ยอมเป็นขันที ต่อให้ได้ไปทำงานในวังก็เถอะ   
แต่ถ้าสั่งขันทีมาจากต่างชาติ   หลักฐานก็มีอยู่แล้วว่าพวกนี้ยังแต่งกายเป็นชายตามวัฒนธรรมเดิมของพวกเขา   ไม่ได้แต่งเป็นหญิงไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 20:14

ย้อนมาที่พระกำนัลนารีสังข์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นน้องชายลักเพศของเจ้าพระยาพลเทพ     หมายความว่าคุณน้องคนนี้เป็นตุ๊ดเป็นแต๋ว เธอก็เลยได้ไปเป็นข้าราชสำนักฝ่ายใน เรียกว่า พระกำนัลนารี
คำนี้น่าจะดัดแปลงมาจากคำว่า นางพระกำนัล  บวกกับ กำนัลนารี  ทั้งสองคำนี้หมายถึงผู้หญิงที่ทำหน้าที่รับใช้เจ้านาย  แต่ไม่ใช่รับใช้อย่างข้าทาสแบกอิฐแบกปูน   เป็นสาวๆลูกผู้ดีแบบแม่พลอย  ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกว่านางข้าหลวง

คำถามคือ คนอย่างพระกำนัลนารีสังข์เข้าไปอยู่ในพระราชฐานชั้นในได้หรือไม่    คำตอบคือในละคร ทำได้  แต่ในความเป็นจริง  สมัยอยุธยาตอนปลาย  ตัวจริงก็ต้องอยู่เป็นตุ๊ดเป็นแต๋วที่นอกวัง  ไม่ต่างจากชายแท้ทั้งหลาย   เพราะตราบใดที่ร่างกายยังครบ ๓๒   ต่อให้ใจเป็นหญิงขนาดไหน   ก็ไม่อาจจะล่วงล้ำเข้าไปในเขตของฝ่ายในได้เด็ดขาด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 20:38

ถ้าถามว่ากระเทยมีไหมในสังคมอยุธยา คำตอบคือมี  ตามหลักฐานในพระไอยการนาพลเรือน  ซึ่งได้กำหนดตำแหน่งของฝ่ายในพวกหนึ่งว่า "เตี้ย ค่อม เทย เผือก"มีศักดินาคนละ ๕๐ ไร่ ทำหน้าที่เป็นคนรับใช้อยู่ในพระราชวัง
ทั้งสี่ประเภทจัดอยู่ในพวกร่างกายไม่สมประกอบ   คำว่า เตี้ย ค่อม เผือก นั้นพอเข้าใจได้ว่าลักษณะอย่างไร  ส่วน "เทย" ในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงกระเทยอย่างในปัจจุบัน  แต่หมายถึงคนที่อวัยวะเพศไม่สมบูรณ์   
บทบาทนางค่อมในวรรณคดีมีอยู่ใน 2 เรื่องคือ อิเหนา กับรามเกียรติ์ ค่ะ  นางค่อมยุบลเป็นนางกำนัลของบุษบา ถูกอิเหนาใช้ให้นำดอกลำเจียกไปถวาย  ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าใดนัก  แต่ในรามเกียรติ์ นางค่อมนี่แหละทำให้พระรามต้องกระเด็นออกจากวังไปเดินป่าเสีย 14 ปี เพราะพระรามคึกคะนองไปแกล้งนางเข้าก่อน เลยโดนแก้แค้นเอาคืน

เคยถามนักวิชาการประวัติศาสตร์ว่าเหตุใดจึงเลือกคนที่ร่างกายไม่สมประกอบมาทำหน้าที่ในวัง    คำตอบก็คงได้แค่สันนิษฐาน  คือการเลือกหญิงที่ดูไม่เจริญตามารับใช้เจ้านายสตรีและเจ้าจอมหม่อมห้ามผู้มีรูปโฉมเจริญตา  ก็เพื่อจุดประสงค์ไม่ให้เกิดการปฏิพัทธ์กันขึ้น   เป็นการป้องกันไว้ชั้นหนึ่ง     แต่ก็คงไม่ได้ผล  เพราะหญิงที่รูปโฉมสวยงามนั้นมีมาก เลยหันมารักกันเอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 08:27

สืบเนื่องจากภาพที่ 47  ที่คุณคทาธรนำมาแสดง  มองเห็นอะไรที่มันหลุดอีกนิดหน่อย
ในความเป็นจริง   อยุธยาไม่มีกระสอบทอด้วยเครื่องจักรแบบที่บรรทุกเกวียนมา   ถ้าจะขนข้าวสารหรือสินค้าพืชไร่มาขาย  ก็ใส่กระบุง ชะลอม ตะกร้า สานด้วยพืชต่างๆขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำด้วยฝีมือชาวบ้าน  
ผ้าใบอย่างที่มุงหลังคาก็ไม่มี   สมัยนั้นมุงด้วยจากหรือแฝก ซึ่งเป็นของหาง่าย ขึ้นเองเหมือนกัน
เสาแป๊บน้ำก็ยังไม่ถือกำเนิดในโลกนะคะ     ถ้าเป็นเสาชั่วคราว ก็เอาไม้ไผ่ละง่ายดี หาที่ไหนก็ได้ในสมัยนั้น

ความกลมกลืนกับธรรมชาติ ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอยุธยา  ในพระราชวังอาจมีการประดับตกแต่งอลังการล้ำค้า  ซึ่งละครเรื่องนี้ตั้งใจเน้นจุดนี้โชว์เต็มที่อยู่แล้ว
แต่ในชีวิตชาวบ้าน  ความสวยงามแบบง่ายๆ ผู้กำกับภาพอาจใช้ CG ช่วยกลบเกลื่อนบางจุดที่เป็นผลผลิตอุตสาหกรรม ให้ออกมาดูเป็นธรรมชาติได้เช่นกัน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 08:30

กระสอบที่ว่า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 09:55

             คนพิเศษผิดแผก(เตี้ย ค่อม เทย เผือก) ในราชสำนักไทยนั้น นึกถึงชาว Court dwarf ที่มีทั้งในอียิปต์,
กรีซ,โรม,ยุโรปและจีน

https://en.wikipedia.org/wiki/Court_dwarf

             ส่วน เตี้ย ค่อมของไทยในประวัติศาสตร์และไม่ได้อยู่ในสถานะเดียวกับ เตี้ย ค่อม เทย เผือก นั้น, นึกถึง
พระปีย์ พระราชโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้มีรูปร่างอาภัพและโชคชะตาพลิกผันอย่างน่าสงสาร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 10:12

ถ้าถามว่ากระเทยมีไหมในสังคมอยุธยา คำตอบคือมี  ตามหลักฐานในพระไอยการนาพลเรือน  ซึ่งได้กำหนดตำแหน่งของฝ่ายในพวกหนึ่งว่า "เตี้ย ค่อม เทย เผือก"มีศักดินาคนละ ๕๐ ไร่ ทำหน้าที่เป็นคนรับใช้อยู่ในพระราชวัง
ทั้งสี่ประเภทจัดอยู่ในพวกร่างกายไม่สมประกอบ   คำว่า เตี้ย ค่อม เผือก นั้นพอเข้าใจได้ว่าลักษณะอย่างไร  ส่วน "เทย" ในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงกระเทยอย่างในปัจจุบัน  แต่หมายถึงคนที่อวัยวะเพศไม่สมบูรณ์  

ใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ส่วนที่ว่าด้วยศักดิ์นาเจ้าและฝ่ายใน มีกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่ง คือ “เตี้ย ค่อม เทย เผือก” มีศักดิ์นา ๕๐ เป็นคนรับใช้ในพระราชวังหลวง ทั้ง ๔ พวกนี้เป็นพวกมีความผิดปกติทางร่างกาย หาใช่ทางจิตใจหรือพฤติกรรมไม่ ในที่นี้ใช้คำว่า เทย ไม่ใช่ กระเทย ทำให้เกิดปัญหาสองประการ ประการแรก คือ ร่างกายผิดปกติอย่างไร มีอวัยวะเพศของทั้งสองเพศ หรือ ไม่มีอวัยวะเพศ หรือมีแต่รูปัสสาวะ

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ James Caswell ได้ทำพจนานุกรมคำไทยขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๘๔๖ หรือ พ.ศ. ๒๓๘๙ โดยที่มีครูสอนภาษาไทยเป็นคนให้ความรู้แก่ท่าน ท่านได้เก็บคำว่า กะเทย ไว้ด้วยว่า “กะเทยนั้น คือ บุทคลที่มีประเทษที่ลับเปนหญิงก็ใช่ เปนชายใช่นั้น เรียกว่า คนกะเทย”  แต่สำหรับหมอบรัดเลได้ให้คำนิยามไว้ในสมัยรัชกาลที่ใน อักขราภิธานศรับท์ ว่า “คนไม่เปนเภษชาย, ไม่เปนเภษหญิง, มีแต่ทางปัศสาวะ” เพราะฉะนั้น กะเทย ในความรู้สึกของคนไทยสมัยก่อนจึงหมายถึงพวกที่เกิดมามีอวัยวะเพศผิดปกติ ไม่ใช่พวกที่มีพฤติกรรมทางเพศเบี่ยงเบน

ปัญหาประการที่สองคือ คำว่า เทย (ไม่ใช่ กะเทย / กระเทย) มีใช้อยู่ในกฎหมายตราสามดวง และ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ บอกว่า มาจากคำอาหม คำนี้ก็ไม่น่ามาจากภาษาเขมร กลายเป็นว่า คำเขมรว่า เขฺตีย นั้นเขมรอาจรับไปจากไทย

จากบทความเรื่อง กะเทย / บัณเฑาะก์ / ขันที / นักเทษ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช

https://www.gotoknow.org/posts/151017
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 11:48

มาลงชื่อเข้าชั้นเรียนค่ะ ยังไม่ได้ดูเรื่องนี้เต็มๆเลยค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 12:19


ว่าจะนั่งฟังเงียบๆ อยู่หลังห้องแล้วเชียวค่ะ

เห็น คห. 47 เลยต้องเอามาเสริม

(หมายเหตุ เอามาจาก พันทิป)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 12:29

Dramatic error  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 19 คำสั่ง