เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70942 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 420  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 10:59

จริงสินะ
เผื่อท่านเข้ามาอ่าน อาจนึกได้ขึ้นมา เราจะได้เห็นยูกะตะปลายอยุธยากันบ้างละค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 421  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 11:00





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 422  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 11:02





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 423  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 11:29

ฉากเจ้าจอมแขตัวดี เกิดร้อนรุ่มขึ้นมาในพิธีจนต้องวิ่งกระเจิงลงจากพระพุทธบาท ท่ามกลางสายตาขุนนางผู้ชายทั้งหมด
เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในยุคสมัยนั้นค่ะ
เพราะเจ้าจอมเป็น "ฝ่ายใน" จะออกมาปะปน   โชว์ตัวให้ผู้ชายเห็นตามสบายไม่ได้  ต้องมีที่ทางของตัวเองอยู่ในพิธี  ถ้าป่วยกะทันหันขึ้นมาก็มีผู้หญิงด้วยกัน จะเป็นท้าวนาง นางข้าหลวงหรือเจ้าจอมหม่อมห้ามด้วยกันช่วยพยุงเอาตัวไปแก้ไขปฐมพยาบาล
ไม่ใช่เดินออกมาตัวคนเดียวโดดๆ ให้คนเห็นได้ตามสบาย    แล้ววิ่งกระเจิงลงบันไดไปคนเดียว  ข้างล่างยิ่งมีชาวบ้านเห็นกันอีกมากมาย     ทำไม่ได้อยู่แล้ว


บันทึกการเข้า
เขียวนเรศ
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 424  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 13:03

          ฉากพระเจ้าเอกทัศสวมเสื้อครุยทับชุดทรงพระบรรทมนั้นคงเพราะจะเรียกให้นางกำนัลนารีมาเข้าเฝ้า
แต่ที่รู้สึกติดขัดคือเมื่อพระองค์ประทับลงบนแท่นหน้าเตียงนั้น แม่นางแขยังคงนั่งหลังตรงอยู่เหนือพระองค์บนเตียง     .
   
       ถ้างั้นพระเจ้าเอกทัศคงถือธรรมเนียมผู้ดีฝรั่งอังกฤษ ว่าจะต้องสวมเสื้อคลุมทับชุดนอนให้เรียบร้อย เมื่อบัตเลอร์เปิดประตูเข้ามาในห้องนอน เพื่อยกถาดอาหารเช้าหรือเพื่อรับคำสั่งอะไรสักอย่าง  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
       ที่น่าฉงนสนเท่ห์อีกอย่างก็คือ  เรื่องภูมิอากาศในศรีอโยธยา    ว่าทำไมแต่ละจุดแม้ห่างกันไม่กี่ก้าว อุณหภูมิถึงแตกต่างกันนัก 
       พิสูจน์ได้จากพระที่นั่งที่พระเจ้าเอกทัศบรรทมอยู่  อากาศหนาวจัด   แม้ว่านอนในพระแท่นแบบจีนที่มีม่านปิดมิดชิด พระองค์ก็ยังต้องสวมเสื้อคอปิดและภูษายาวถึงเท้า  คาดเข็มขัดรัดกุม(มีปั้นเหน่งอีกด้วย) เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น  ทับด้วยเสื้อครุยอีกตัวก็ยังไม่ร้อน   
       แต่ห่างออกมาไม่กี่ร้อยเมตร ในวังของเจ้าฟ้าสุทัศน์  อากาศร้อนอบอ้าวเสียจนเจ้าของวังต้องถอดเสื้อนอน   ร้อนกว่าสวนด้านนอกวังเสียอีก  เห็นได้จากพระพิมานไปนั่งเป่าขลุ่ยยังต้องสวมเสื้อแขนยาว  ถอดเสื้อไม่ได้ เพราะคงจะได้ไอหนาวมาจากพระที่นั่ง
      เลยไม่แน่ใจว่าอโยธยายุคนั้นมีฮีทเตอร์ที่พ่อค้าวาณิชส่งขึ้นมาถวายเจ้าฟ้าสุทัศน์ หรือติดตั้งแอร์ให้พระเจ้าเอกทัศเย็นเป็นพิเศษ   เครื่องไฟฟ้าน่ะมีแน่ เพราะมีปลั๊กมีโคมไฟฟ้าริมถนน  แอร์กับฮีทเตอร์ก็น่าจะมีได้เหมือนกัน

ชอบความเห็นนี้ นี่แหละที่บอกว่าฝนตกไม่ทั่วฟ้า ขนาดหนาวยังไม่ทั่วถึง หรือเพราะแผ่นดินสมัยนั้นเกิดอาเพศจริงๆเลยเกิดฉากแบบนี้ขึ้นได้
บันทึกการเข้า
เขียวนเรศ
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 425  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 15:16

อันนี้จาก พันทิป

จากคห. 95 "คุณตั้งกระทู้บั่นทอน  เรียกหม่อมน้อยว่า คุณน้อย คุณไม่ให้เกียรติการทำงานของคนอื่น ได้มีโอกาสว่าเขาข้างเดียว อวดความยิ่งใหญ่ หวังดีอยากให้คนอื่นทราบข้อมูลจริงก็ควรติดต่อทีมงานเข้าไปพบเลยสิคะ
เขาก็บอกอยู่ว่านี่มันละคร ค่ะ ละคร ละคร ท่องไว้ค่ะ"

คือ เราไม่รู้จะอธิบายยังไงให้คนพวกนี้เข้าใจ ก็เขียนวัตถุประสงค์ไว้แล้วว่าต้องการจะเผยแพร่สิ่งที่ถูก แล้วเราไปดูถูกหรือไม่ให้เกียรติ ม.ล.พันธุ์เทวนพ ตรงไหน เรียกคุณน้อยเนี่ยแหละ คือ ให้เกียรติแล้ว จริงๆ คุณ ใช้กับ ม.ร.ว. ด้วยซ้ำ สมัยก่อน ม.ล. เค้า เรียก พ่อนั่น พ่อนี้ แม่นั่น แม่นี้ ด้วยซ้ำ

อ่อ เราพยายามติดต่อแล้วทาง official page ของทางทีมงาน แต่ความเห็นเราถูกลบไปในบัดดล (ไม่ถึง 5 นาที) ครั้นจะให้เดินทางไปบอก (ที่ไหน?) ก็คงไม่สะดวก ด้วยตัวเองอยู่ต่างจังหวัด มีหน้าที่การงานดีอยู่คงไม่เวลาว่างเดินทางมากรุงเทพฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 426  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 15:21

อย่าไปถือสาเลยค่ะ   อาจจะคนทำงานเรื่องนี้มาตอบเองก็ได้
คนนอกเขาคงไม่โกรธเป็นฟืนเป็นไฟขนาดนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 427  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 15:38

ท่านรอยอินว่าไว้ดังนี้

คุณ คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร

ที่เรือนไทยนี่ก็มี "หม่อมหลวง" อยู่ท่านหนึ่ง ใช้คำนำหน้าเรียกท่านว่า "คุณ" ท่านยังไม่ถือสา  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เขียวนเรศ
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 428  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 15:39

คือ พวกเขาจะรู้กันบ้างไหมว่า "หม่อม" นั้นหม่อมนี้ อย่าง "หม่อมน้อย" ที่แฟนานุแฟนของ คุณน้อยได้กรุณายกขึ้น จริงๆมันเป็นยศบรรดาศักดิ์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ไม่ใช่อยู่ดีๆคิดจะยกใครขึ้นมาก็ได้
แล้วส่วนใหญ่ ไม่แน่ใจว่า 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ ที่ต้องมียศเป็น "หม่อมราชวงศ์" มาก่อน เช่น หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร) ก็ดี หม่อมทวีวงศ์ถวัลย์ศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์) คือ เราเกรงว่าคุณน้อยจะรับไม่ไหวกระมัง ผมคุณน้อยก็ยาวระวังจะคันเอาง่ายๆ
บันทึกการเข้า
เขียวนเรศ
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 429  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 15:50

่อธิบายข้อซักถามบางข้อ

              19. พระพันวสาน้อยพระราชทานเกี้ยวทองกับปิ่นทองรับขวัญหลานพระสนม เราอุทานเบาๆ สมัยก่อนจะให้อะไรแก่ใครต้องคำนึงถึงฐานันดรเสมอ เจ้าฟ้าใช้เครื่องทอง หม่อมเจ้าใช้เครื่องเงิน ไม่มีสิทธ์ใช้เครื่องทองเพราะสูงเกินศักดิ์ หม่อมราชนิกูลใช้เครื่องนาค การที่พระพันวสาน้อยซึ่งย่อมต้องรู้ธรรมเนียมพวกนี้เป็นอย่างดี มีรึที่จะพระราชทานเครื่องทองให้

              //กฏที่ว่ามีเฉพาะในวังหรือเปล่าคะหรือรวมถึงพวกไพร่ด้วย เช่นว่าพวกไพร่มีทองที่อาจจะได้มาจากชนชั้นสูงนี่ได้ไหมคะ แล้วชนชั้นสูงและไพร่ถ้ามีของเกินฐานะตัวเองจะโดนทำโทษไหม

              ตอบ มันไม่ใช่กฎ แต่ก็เหมือนกฎ คนสมัยโบราณจะทำจะใช้อะไร ต้องเจียมเนื้อเจียมตัว เพราะถ้าทำอะไรที่ดูสูงกว่าศักดิ์ตัวล้วนมีภัยทั้งนั้น สถานเบาคือ โดนค่อนขอด เช่น สร้างบ้านใหญ่โต  สร้างบ้านใหญ่โตราวกับวัง อันนี้คือ อารมณ์ของน้ำเสียงไม่ได้ชม แต่ค่อนขอด สถานหนักคือ ต้องราชภัย ตัวอย่างในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็เช่น เจ้าสามกรม ตัวเป็นแต่เพียงกรมหมื่น แต่ตั้งเจ้ากรมเป็นกรมขุน เจ้ากรมถูกกรมพระราชวังหน้าเรียกมาโบย สมัยรัตนโกสินทร์เอง พระยามหาเทพในรัชกาลที่ 3 ก็ประพฤติตัวสูงจนเกินศักดิ์เป็นหลายประการ ในที่สุดมีคนหมั่นไส้ ทิ้งเพลงยาวบัตรสนเท่ไว้ที่ทิมตำรวจหน้า แต่เคราะห์ดีที่เป็นที่โปรดปรานจึงทรงไม่ถือสาหาความใดๆ

              ลักษณะที่ว่ามานี้แบบนี้ใช่ว่าจะมีแต่ในไทยเท่านั้น เคยดูสารคดี ของ BBC ก็มีการกล่าวถึงด้วย และมีพระราชกำหนดชัดเจนกว่าของไทยด้วยซ้ำ เช่น ในรัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบ็ธที่ 1 มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า (ขุนนาง)จะสามารถสวมใส่เสื้อผ้าที่มีทองประกอบได้ ขุนนางผู้นั้นอย่างน้อยต้องเป็นชั้น เอิร์ล, จะสามารถสวมใส่ขนสัตว์ได้แต่เมื่อมีรายได้ต่อปีมากกว่า 100 ปอนด์, และผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 10 ปอนด์ต่อปี แต่กลับสวมหมวกนอนที่มีวัสดุจากผ้าไหมจะได้รับโทษ

              24. ฉากพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยยศ กรมพระราชวังหน้า สรุปคือ กรมพระเทพามาตย์ กรมหมื่นวิมลภักดี(ในเรื่อง) กลายเป็นต้องกราบพิมานไปด้วย เพราะถือพระแสงดาบตามหลังอยู่ ตามธรรมเนียมแล้วฝ่ายในจะไม่เข้ามาร่วมในงานของฝ่ายหน้าโดยไม่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะระหว่างข้างหน้ากับข้างใน และเลี่ยงความอิหลักอิเหลื่อ เรื่องนี้ยึดเป็นธรรมเนียมมาจนกระทั้งสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะปรากฏว่าพระราชชนนีของท่าน ก็ไม่ได้เข้าร่วมสรงน้ำพระองค์ท่านในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมให้ฝ่ายในเข้าร่วมพระราชพิธีนั่นเอง

              //แล้วตามธรรมเนียมฝ่ายในเข้าร่วมงานของฝ่ายหน้างานพิธีอะไรได้บ้างคะ ส่วนที่ว่าโดยไม่จำเป็นคือต้องมีกรณีไหน เหตุการณ์บ้างที่จำเป็น จะเข้าร่วมงานได้

ตอบ เท่าที่รู้ สมัยโบราณจริงๆคงแทบจะไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น เวลาถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ขนาดภริยาของข้าราชการฝ่ายหน้ายังต้องเข้าคนละประตูกับฝ่ายหน้า(สามี)เลย แต่อาจจะมีงานกฐินหลวงที่พอเสด็จหรือไปได้บ้าง แต่ก็ต้องกั้นฉนวน ซึ่งอาจจะเป็นผ้าขาวหรือเป็นฉนวนถาวร เช่นที่วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

             25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงานมิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง

             //พอจะช่วยเรียงลำดับให้หน่อยได้ไหมคะว่าอะไรสำคัญสุด ไปจนถึงน้อยสุด คือดิฉันไปหาที่กูเกิ้ลในนั้นยกมงกุฏสำคัญสุดกันแสดงว่าสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยาก็เรียงลำดับต่างกันใช่ไหมคะ

             ตอบ คงไม่มีการเรียงลำดับถึงขนาดนั้น เพราะของพวกนี้ถือเป็นหมวดๆ คือ หมวดเบญจราชกกุธภัณฑ์ เราเรียกรวมๆ แต่ที่ว่าพระขรรค์สำคัญที่สุด เนื่องจาก
                   ประการแรก ถ้าคิดถึงหลักความจริง แต่ไรมาการรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นย่อมต้องใช้กำลังเข้าต่อสู้ พระขรรค์ถือเป็นอาวุธประจำพระองค์ ใช้ต่อสู้กับข้าศึก อริราชศัตรู ให้ได้มาถึงแผ่นดิน ถ้าพิจารณดูจากความจริงข้อนี้ ที่ว่าพระขรรค์สำคัญที่สุดก็มีเหตุผลอยู่
                   ประการที่สอง ถ้าอ้างอิงจากหลักฐาน จะพบว่าบ้านเมืองแถบนี้มีตำนานผูกพันกับพระขรรค์อยู่เสมอ อ้างจากหนังสือเกร็ดโบราณคดี ประวัติศาสตร์ไทยของอ. ส. พลายน้อย เช่น พระเจ้าอู่ทองทรงเสี่ยงพระบารมีขว้างพระขรรค์ ปรากฏว่าไปปักอยู่ที่หนองโสน ก็ทรงสถาปนาพระนครขึ้น ณ บริเวณดังกล่าว หรือ เรื่องเล่าที่พระเจ้าปราสาททองทรงใช้พระขรรค์อธิษฐานเสี่ยงทาย ปรากฏว่ากลาย พระนารายณ์ที่ทรงเลือกได้พระขรรค์ที่ทรงอธิษฐานเอาไว้แทนที่เจ้าฟ้าไชย เป็นต้น แต่กลับไม่เคยมีตำนานแบบที่ทรงสุบินเห็นพระมหามงกุฎลอยไปที่หนองโสน หรือพระเจ้าปราสาททองให้เสี่ยงทายพระมงกุฎเลย
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 430  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 16:37

            25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงานมิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง

อย่าเพิ่งไปสร้างทฤษฎีใหม่ครับ อะไรที่มันยังไม่ชัดก็อย่าพึ่งยกมา ไม่งั้นหม่อมน้อยท่านก็สามารถตีความอย่างที่ท่านนำเสนอได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 431  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 17:27

            25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงานมิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง

อย่าเพิ่งไปสร้างทฤษฎีใหม่ครับ อะไรที่มันยังไม่ชัดก็อย่าพึ่งยกมา ไม่งั้นหม่อมน้อยท่านก็สามารถตีความอย่างที่ท่านนำเสนอได้เหมือนกัน


ผมเองยังไม่เคยเห็นหลักฐานใดที่ระบุว่าสยามถือเอาพระขรรค์เป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดครับ แม้หลายครั้งจะมีตำนานหรือเรื่องเล่าว่าพระขรรค์เป็นของสำคัญ ก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นของสำคัญที่สุดครับ และความสำคัญของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ละอย่างอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้ เราจึงคงยังไม่สามารถให้ข้อสรุปได้อย่างชัดเจนหากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนกว่านี้ครับ

มีหลักฐานอยู่ว่าเครื่องราชกุกธภัณฑ์ในทุกรัชกาลโดยเฉพาะช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็มีความแตกต่างจากในปัจจุบัน ในอดีตหลายครั้งนับฉัตรเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ด้วย และเท่าที่เคยชศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเครื่องราชภัณฑ์ของพระเจ้าแผ่นดินไทย มีการระบุว่าในราชสำนักสยามก่อนสมัยรัชกาลที่ ๔ จะนับฉัตรเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดครับ แม้ว่าบางสมัยจะไม่ได้รวมเป็นหนึ่งในเครื่องเบญราชกกุธภัณฑ์ก็ตาม แต่เรื่องนี้คงต้องไปศึกษารายละเอียดอีกทีครับ

ถ้าอ้างอิงจากพระตำราราชาภิเษกสมัยอยุทธยาตอนปลายจะไม่รวมฉัตรเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ จะมี พระมหามงกุฎ พระขรรค์ไชยศรี พัชนีฝักมะขาม ธารพระกร ฉลองพระบาท แต่เวลาที่พราหมณ์จะถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ จะถวายฉัตรก่อนครับ
บันทึกการเข้า
เขียวนเรศ
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 432  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 17:30

            25. แต่โบราณมา ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ในบ้านเมืองแถบนี้ ถือเอาพระขรรค์เป็นใหญ่ รองลงมาคงเป็นพระมหาเศวตฉัตร ส่วนพระมหามงกุฎ ไม่ได้มีความสกัดสำคัญสักเท่าไรนัก สังเกตได้จากว่าเราไปตีกรุงละแวกทีไร พระครูพราหมณ์กรุงละแวกต้องเอาพระขรรค์ไปซ่อนตลอด เพราะมันเป็นเครื่องแสดงถึงสิทธิ์อันชอบธรรมเหนือราชสมบัติ ส่วนพระมหามงกุฎปกติในพระราชพิธีบรมราชาพิธีทรงรับการถวายจากพระราชครู แล้วทรงส่งต่อให้เจ้าพนักงานมิได้ยกขึ้นสวมเหนือพระเศียร เพิ่งมาทรงสวมตามอย่างตะวันตกในรัชกาลที่ 4 นี่เอง

อย่าเพิ่งไปสร้างทฤษฎีใหม่ครับ อะไรที่มันยังไม่ชัดก็อย่าพึ่งยกมา ไม่งั้นหม่อมน้อยท่านก็สามารถตีความอย่างที่ท่านนำเสนอได้เหมือนกัน

เรียนคุณ Koratian จะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ก็คงไม่ใช่เสียทีเดียว อย่างที่เราได้กล่าวอธิบายความในกระทู้ข้างบน คห.429 แต่อันที่จริงยังมีข้อมูลอื่นอืีก ที่พอทำให้อนุมานได้ว่า พระขรรค์สำคัญเหนือบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้นว่า
       1. ตำนานพระร่วง ตอนพระร่วงพระราชทานนาม พระเจ้าฟ้ารั่วให้มะกะโท ก็ปรากฎว่า พระขรรค์เป็นรายการของเครื่องราชกกุธภัณ์ที่ทรงพระราชทานให้พระเจ้าฟ้ารั่วเป็นอันดับแรก
       2. ตอนพ่อขุนผาเมือง ทรงอภิเษกสมรส กับพระนางสิขรมหาเทวี พระธิดาในพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ก็ได้รับพระราชทาน/หรือถูกขโมย พระขรรค์มาประทานให้ คงมีของที่ได้รับพระราชทานอย่างอื่นอีก แต่พระขรรค์ถูกกล่าวถึงเพียงอย่างเดียว นั่นแสดงถึงความสำคัญของพระขรรค์
       3. สมัยอยุธยา พระขรรค์ยิ่งต้องสำคัญเป็นของราชกกุธภัณฑ์เพียงชิ้นเดียวที่ กล่าว/อ้างว่าสืบทอดมาจากพระยาแกรก/พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ แล้วพระยาแกรกได้พระขรรค์มาจากไหน ก็ได้มาจากพระอินทร์ที่เห็นว่าพระยาแกรกนี่มีบุญบารมี นี่แหละคือจุดสำคัญที่ทำให้พระขรรค์ยิ่งมีความสำคัญ เพราะสอดคล้องกับลัทธิเทวราชาและเรื่องผู้มีบุญบารมีในพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
       4. ความเชื่อในข้อ 3 ถูกตอกย้ำอีกครั้งในเหตุการแย่งชิงราชสมบัติเมื่อครั้น พระเจ้าท้ายสระสวรรคตที่กลับทรงยกราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัย ทำให้เกิดการรบพุ่งกันกับพระบัณฑูรน้อย พอเจ้าฟ้าอภัยสู้ไม่ได้ก็หอบเอาพระขรรค์พระยาแกรกไปด้วย พอจวนตัวก็โยนพระขรรค์ทิ้งน้ำ
       5. เรื่องพระเจ้าอู่ทองเสี่ยงทาย ในที่นี้ไม่ขอกล่าวซ้ำ
       6. เรืองพระเจ้าปราสาททองเสี่ยงทาย ในที่นี้ไม่ขอกล่าวซ้ำ
       ด้วยเหตุผลเหล่านี้เราว่าน่าพอจะอนุมานได้บ้างว่า ในบรรดาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์สมัยก่อน พระแสงขรรค์ สำคัญที่สุด ผิดถูกประการใดรบกวนผู้รู้ท่านอื่นๆช่วยชี้แจง และวิเคราะห์วิจารณ์ จะได้เป็นประโยชน์แก่เราและเพื่อนๆที่ได้เข้ามาอ่าน
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 433  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 17:47

สำหรับฉากขึ้นพระพุทธบาท เราจะเห็นว่าพระเจ้าเอกทัศทรงพระมหามงกุฎ ทรงฉลองพระองค์กรองทองเต็มยศขึ้นพระบาท

แต่ถ้าได้ศึกษาข้อมูลจาก "พระตำราทรงเครื่องต้น" สมัยอยุทธยาที่เรียบเรียงโดยข้าราชการกรุงเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๑ แล้ว จะพบว่ามีการกำหนดฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระพุทธบาทอย่างละเอียด และมีการเปลี่ยนเครื่องต้นตามระยะทางด้วย ดังต่อไปนี้ครับ


         "ถ้าเสด็จพระพุทธบาท แต่กรุงขึ้นไปจนถึงท่าเจ้าสนุก ทรงเรือพระที่นั่งกิ่ง  ทรงเครื่องต้น ๗ อย่างเท่านั้น คือ  ทรงสนับเพลาเชิงงอนสองชั้น ๑ ทรงพระภูษาจีบโจง ๑ ทรงฉลองพระองค์สังเวียนยก ๑ ทรงรัดพระองค์เจียรบาด ๑ ทรงพระมาลาพระกลีบ ๕ ยอดสะดุ้ง ๑ เหน็บพระแสงกั้นหยั่น ๑ ถวายพระฉายด้วย ๑ สิริเป็น ๗ สิ่ง

        ถ้าตั้งพยุหบาตราแต่ท่าเจ้าสนุกไปจนพระพุทธบาท ทรงเครื่อง ๔ อย่าง คือทรงประพาส ๑ ทรงพระสนับเพลาเชิงงอน ๑ ทรงรัดพระองค์เจียรบาด ๑ ทรงพระมาลาฝรั่งเส้าสะเทินขนนกนอน ๑

        ถ้าเสด็จไปถึงปากทุ่งบ้านใหม่ เปลื้องเครื่องทรงประพาสออก จึงถวายเครื่องซึ่งทรงเรือพระที่นั่งกิ่งไปแต่กรุงนั้น ไปจนถึงธารเกษมจึงเปลื้องเครื่อง  ครั้นเพลาบ่ายจะเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธบาท จึงถวายเครื่องเหล่านี้ คือถ้าทรงช้างพระที่นั่งพุดตาลทอง ทรงเครื่อง ๘ สิ่งเท่านั้น คือ ทรงพระสนับเพลาเชิงงอนสองชั้น ๑ ทรงพระภูษาจีบโจง ๑ ทรงรัดพระองค์หนามขนุน ๑ ทรงฉลองพระองค์กรน้อยพื้นทองผุดดอก ๑ ทรงฉลองพระองค์ย่นขาวนอก ๑ ทรงรัดพระองค์แครง ๑ ทรงพระชฎาขาวริมทองสอดสี ๑ พระแสงกั้นหยั่น ๑ สิริเป็น ๘ สิ่ง

        ถึงพระพุทธบาทแล้วเสด็จไปประพาสป่า ทรงช้างทรงประพาส ทรงม้าทรงอย่างเทศ ม้าทรงประพาสก็ได้"



ดังนั้นถ้าพระเจ้าเอกทัศจะเสด็จมานมัสการพระพุทธบาทามฉากที่ปรากฏในศรีอโยธยา หากจะทรงแต่งกายให้ถูกต้องตามธรรมเนียม ก็คสรจะทรงเครื่อง

๑. พระสนับเพลาเชิงงอนสองชั้น

๒. พระภูษาจีบโจง ทรงอย่างโจงกระเบนทับพระสนับเพลา

๓. รัดพระองค์หนามขนุน คือผ้าหนามขนุนสำหรับคาดเอว

๔. ฉลองพระองค์กรน้อยพื้นทองผุดดอก ทรงเป็นฉลองพระองค์ชั้นใน

๕. ฉลองพระองค์ย่นขาวนอก ทรงชั้นนอก

๖. รัดพระองค์แครง คือชายแครง

๗. พระชฎาขาวริมทองสอดสี คือชฎาพอกที่คล้ายกับลอมพอกของขุนนาง แต่น่าจะมีเกี้ยวทองคำลงยาประดับอัญมณีเพิ่มมาเป็นชั้นๆ และมียี่ก่า รวมถึงสอดสีด้วยผ้าไหมสีต่างๆ อย่างพระชฎาพอกที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงเวลาเสด็จออกแขกเมืองที่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของฝรั่งเศสครับ (แต่ภาพเขียนหรืออนุสาวรีย์สมัยหลังนิยมวาดเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ)

๘. พระแสงกั้นหยั่น ถ้าเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์พบหลักฐานว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงคาดกริชแทนครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 434  เมื่อ 31 ม.ค. 18, 17:53


ขอแทรกคุณศรีสรรเพชญ์ เพื่อตอบคุณเขียวเนรศ อย่างเล็กน้อยก่อนนะครับ

ผมอ้าง wikipedia ก่อนก็แล้วกันครับ ยังไม่ได้ตรวจสอบกับรอยอิน

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3


พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (นพ; เก้า, ปฎล; ชั้น, เศวต; สีขาว) เป็นฉัตร 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว ฉัตรแบบนี้เรียกโดยย่อว่า "พระมหาเศวตฉัตร" เป็นฉัตรผ้าขาว 9 ชั้น มีระบาย 3 ชั้น ขลิบทอง แผ่ลวด และมียอด เป็นราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญที่สุด มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์ กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ และแขวนกางกั้นพระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เศวตฉัตร หมายถึง ความเป็นพระราชามหากษัตริย์เช่นเดียวกับมงกุฎของชาวยุโรป ตามประเพณีของพราหมณ์แต่เดิม เป็นเศวตฉัตร 6 ชั้น อันหมายถึง สวรรค์ 6 ชั้น ตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ความหมายของฉัตร 9 ชั้นที่ใช้ในปัจจุบันหมายถึง ผู้ที่ชนะทั้ง 8 ทิศ ชั้นล่างสุด หมายถึงพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงแบกภาระอันใหญ่หลวงในการดูแลประชาชนทั้ง 8 ทิศ ปัจจุบันมีพระมหาเศวตฉัตรแห่อยู่จำนวน 6 องค์ ได้แก่
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (ท้องพระโรงกลางเหนือพระที่นั่งพุดตานถม)
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ท้องพระโรงเหนือพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก)
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน (เหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ท้องพระโรง)
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ (เหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ท้องพระโรง)
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน (มี 2 องค์ คือ เหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์และเหนือพระแท่นเครื่องพระสำอาง)
พระที่นั่งอนันตสมาคม (ท้องพระโรงกลางเหนือพระแท่นราชบัลลังก์)


เพิ่มเติม เพิ่งเห็นว่าคุณศรีสรรเพชญ์ ช่วยตอบเรื่องฉัตรไปแล้วนะครับ เห็นตามคุณศรีฯ ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง