เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70911 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 12:51

เคยอ่านพบที่ไหนจำไม่ได้ว่า ก่อนท่านนาค   ท่านทองด้วงมีหม่อมอยู่แล้วคนหนึ่ง แต่ไม่มีบทบาทอะไรนัก

เห็นด้วยกับคุณเพ็ญชมพูว่าบทบาทที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ปุถุชน มีรักโลภโกรธหลง เช่นมนุษย์ทั่วไป มีให้ขยายความได้อีกมาก   ไม่ว่าจะเป็นบทสมเด็จพระอมรินทรฯ บทของลูกเมียท่านบุนนาค    ทั้งภรรยาเดิมที่ตายไปและบทเจ้าคุณนวล
บทในฐานะสามี และหัวหน้าครอบครัว มีให้แสดงได้มากสำหรับสามสหาย  เป็นบทบาทที่ไม่เสียหาย  และมีหลักฐานบอกเล่าเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์จริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 14:34





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 14:35






บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 14:36






บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 14:40






บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 16:07

ในคลิปตอนที่ 13 (5/6) ข้างบนนี้ นาทีที่ 4.1 เป็นต้นไป  มีฉากเจ้าจอมคนใหม่ถวายตัว  มหาดเล็กประกาศดังๆว่า
"ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย "นางพระบำเรอ" ณ บัดนี้"
 ลังเล ลังเล ลังเล
จากนั้นเจ้าจอมคนใหม่ แต่งตัวมีผ้าคลุมหัวยาวเหมือนองค์ลงของเจ้าแม่บางสำนักก็เดินมาพร้อมกับขบวนนาง ถือโคมญี่ปุ่นเป็นแถว
ฉากเด็ด คือพระกำนัลขันที แต่งกายแบบญี่ปุ่น เข้ามาประกาศ  แถมรำพัดเหมือนจะล้อเลียนสไตล์โนะของญี่ปุ่นให้ดูด้วย

ดิฉันคงเส้นลึก เลยไม่ขำ   นึกไม่ออกว่าผู้กำกับและผู้เขียนบทเห็นฉากนี้เป็นตลกหรืออะไร ถึงสร้างออกมาในรูปแบบนี้
ส่วนราชาศัพท์ก็ผิดหมด    ค่อยอธิบายทีหลังแล้วกัน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 17:32

จากนั้นเจ้าจอมคนใหม่ แต่งตัวมีผ้าคลุมหัวยาวเหมือนองค์ลงของเจ้าแม่บางสำนักก็เดินมาพร้อมกับขบวนนาง ถือโคมญี่ปุ่นเป็นแถว
ฉากเด็ด คือพระกำนัลขันที แต่งกายแบบญี่ปุ่น เข้ามาประกาศ  แถมรำพัดเหมือนจะล้อเลียนสไตล์โนะของญี่ปุ่นให้ดูด้วย

ดิฉันคงเส้นลึก เลยไม่ขำ   นึกไม่ออกว่าผู้กำกับและผู้เขียนบทเห็นฉากนี้เป็นตลกหรืออะไร ถึงสร้างออกมาในรูปแบบนี้
ส่วนราชาศัพท์ก็ผิดหมด    ค่อยอธิบายทีหลังแล้วกัน

มุขนี้น่าจะขำกว่า แถมราชาศัพท์ก็ผิดเพียบพอ ๆ กัน ยิงฟันยิ้ม

https://www.facebook.com/SiamEunuch/posts/522565834781756


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 18:09

มุกนี้ขำไหมคะ
นางรำชุดกินรีทั้งหลายในห้องพระบรรทม   เป็นสาวประเภทสองหมดเลย
เลยชักสงสัยว่าเจ้าจอมแข รายใหม่นี่เป็นเพศไหนกันแน่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 18:45

ต้องฝากถามท่านอื่นๆ ค่ะ   เช่นคุณหนุ่มสยาม ว่าอยุธยามีสะพานข้ามแม่น้ำไปฟากตรงข้ามหรือไม่
คิดว่าสมัยนั้น การใช้เรือสะดวกง่ายดาย ใครๆก็มีเรือ    สะพานคงไม่จำเป็นเพราะไม่มีพาหนะอื่นในการสัญจรข้ามไปมา   ถ้าเดินข้ามจากอีกฝั่ง ลงสะพานก็ต้องไปต่อเรือเข้าคลองต่างๆอยู่ดี

ในกรุงเทพ สะพานพุทธก็เพิ่งจะมีในรัชกาลที่ 7 นี่เอง


มีสะพานตรงหัวรอ แต่ก็สะดวกแก่ชุมชนย่านนั้นอยู่ดี ย่านอื่นๆ คงไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้สะพาน ดังนั้นใช้เรืออย่างเดียวในการสัญจร และข้าศึกมาถึงก็นำเรือมาเรียงกันเอาไม้กระดานพาดก็สามารถข้ามได้แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 24 ม.ค. 18, 21:28

^
ขอบคุณค่ะคุณหนุ่มสยาม

กลับมาที่เรื่องถวายตัวอีกครั้ง
ถ้าใครจะทำละครอิงประวัติศาสตร์ แล้วอยากรู้ว่าการถวายตัวในสมัยโบราณทำอย่างไร    ก็พอมีหลักฐานเป็นตัวอย่างแนวทางให้ค้นคว้าได้
คนที่เคยอ่านช้างขุนแผน คงจำตอนหนึ่ง เมื่อพระเจ้าล้านช้างจะถวายพระธิดาชื่อนางสร้อยทองให้พระพันวษา แต่ถูกเจ้าเชียงใหม่ชิงตัวไปเสียก่อน    ต่อมาขุนแผนกับพลายงามลูกชายไปทำศึกกับเชียงใหม่  เอานางกลับมาถวายพระพันวษาได้  รวมทั้งเอาตัวเจ้าเชียงใหม่ และลูกสาวคือนางสร้อยฟ้ามาอยุธยาด้วย

พระพันวษาทรงรับนางสร้อยทองเป็นพระสนม   แต่นางสร้อยฟ้านั้นทรงปรึกษาท้าวนางผู้ใหญ่ข้างในก่อน ก็ได้รับคำทูลตอบว่าจริตกิริยาของนางสร้อยฟ้าท่าทีจะแสนงอนเจ้าคารม ไม่เรียบร้อยนิ่มนวลอย่างนางสร้อยทอง     พระพันวษามีพระชนม์มากแล้ว ก็คงไม่โปรดผู้หญิงสะบัดสะบิ้งเท่าไหร่  จึงยกนางสร้อยฟ้าให้จมื่นไวยแทน

ฉากในเรื่องก็เรียบๆ ไม่มีอะไรเอิกเกริกเป็นดราม่า    นางสร้อยทองถูกนำตัวเข้าเฝ้าพร้อมกับท้าวนางชั้นผู้ใหญ่    พระพันวษาก็ทรงโอภาปราศรัยด้วยอย่างดี ว่า

แล้วหันมาปราศัยนางสร้อยทอง    อย่างหม่นหมองจะเลี้ยงให้งามหน้า
สมเป็นราชบุตรีศรีสัตนา            ซึ่งบิดายกให้ด้วยไมตรี
จึงตรัสสั่งคลังในพนักงาน            ให้จัดของพระราชทานตามที่
หีบหมากทองลงยาราชาวดี    เงินยี่สิบชั่งทั้งขันทอง
แหวนเรือนรังแตนและแหวนงู    ตุ้มหูระย้าเพชรเก็จก่อง
ผ้ายกทองยกไหมสะไบกรอง    ทั้งสิ่งของส่วนพี่เลี้ยงกัลยา
จัดตำหนักให้อยู่ตึกหมู่ใหญ่    ข้าไทยเป็นสุขถ้วนหน้า

เมื่อทรงรับเป็นพระสนม  พระราชทานหีบหมาก เพชรพลอยและเครื่องแต่งกาย ที่ถือกันเหมือน "เครื่องยศ" ของพระสนมแล้ว  คนอื่นๆก็ลงจากพระตำหนัก นางสร้อยทองก็อยู่เฝ้าพระพันวษา กลายเป็น "ฝ่ายใน" ไปโดยไม่ต้องมีใครมารำพัดถวาย หรือจับระบำรำฟ้อนให้ดู
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 25 ม.ค. 18, 09:39

ส่วนตัวผมนะครับ ผมติดไว้แต่แรกแล้วว่า แม้ละครนี้จะมีข้อเท็จจริงไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ แต่ถ้าความไม่ตรงนั้นเกิดจากผู้สร้างตีความใหม่ผมก็ชอบครับ ยิ่งถ้าการตีความใหม่นั้นสอดคล้องกลมกลืน สมเหตุสมผล ก็ยิ่งดีมากๆ ครับ

จุดนี้ทำให้ผมสนุกกับละครนี้ เพราะอยากเห็นความเก๋าของการตีความ ผมอยากเห็นว่า เมื่อละครออกแบบให้พระเจ้าเอกทัศน์เป็นคนดี ไม่เคยมีข้อบาดหมางกับพระเจ้าอุทุมพร ผมก็ลุ้นอยู่ว่า แล้วพอถึงตอนสงครามคราวเสียกรุง จะแต่งเรื่องไปอย่างไร ให้คราวนี้พระเจ้าอุทุมพรไม่สึกออกมาช่วยอีก หรือจะแต่งเรื่องอย่างไร ให้ขุนศึกผู้ภักดีอย่างพระยาตาก ตีฝ่าวงล้อมหนีไปละเสด็จไว้ทั้งๆ ที่กรุงยังไม่แตก และเมื่อพระยาตากเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินขนาดนั้น พอกู้กรุงคืนมาได้ จะแต่งเรื่องไปอย่างไร ใครจะมาไล่ไม่ให้ท่านอยู่ จนต้องตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปธนบุรี ฯลฯ

พอมีมนตร์ดำเข้ามาเท่านั้นหละ ผมงี้เสียวเลยครับ เกรงว่า สุดท้ายจะได้ความว่า นับแต่ที่รับนางแขเป็น "นางพระบำเรอ" พระเจ้าเอกทัศน์วิปลาศไปต่างๆ เพราะมนตร์ดำนั้น กรุงก็เสื่อมทรามลง เพราะนางผู้มีชื่อนั้นเป็นปฐมเหตุดั่งนี้ ..... จบเห่เลยทีนี้  
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 25 ม.ค. 18, 11:29

          ^   (เดาใจ) ผกก.ตั้งใจวาดวางให้พระเจ้าเอกทัศน์เป็นกษัตริย์คุณภาพแต่ที่ไม่สามารถรักษา
กรุงไว้ได้จนมีคำครหาตามมานานา  ก็เพราะตัวร้าย - สามพี่น้อง(ที่สืบเชื้อสายญี่ปุ่น? มาแต่กาลก่อน)
ใช้มนต์ดำกระทำให้พระองค์เปลี่ยนไป

ป.ล. ส่วนฉากทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตัว "นางพระบำเรอ" นี้ผกก.ใช้อภิสิทธิ์คิดได้ล้ำหลุดหยุดโลกจริงๆ

ป.ล. ฉากถวายตัวในหนังเรื่อง สุริโยไท


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 25 ม.ค. 18, 13:49

         ^   (เดาใจ) ผกก.ตั้งใจวาดวางให้พระเจ้าเอกทัศน์เป็นกษัตริย์คุณภาพแต่ที่ไม่สามารถรักษา
กรุงไว้ได้จนมีคำครหาตามมานานา  
เห็นด้วยกับคุณหมอ SILA ค่ะ 
น่าจะเป็นความตั้งใจของผู้เขียนบทและกำกับ ที่จะตีความ character ของพระเจ้าเอกทัศน์ในละครเสียใหม่  ไม่ให้ตรงกับประวัติศาสตร์      จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม  เช่นไม่เชื่อบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย หรือเบื่อความซ้ำซากที่ผู้ผลิตคนก่อนๆไม่ว่านิยายหรือหนังละคร ตีความพระเจ้าเอกทัศน์ออกมาในแนวเดียวกัน  ก็เลยอยากจะเสนอภาพใหม่ขึ้นมา
แต่ คนตีความรายใหม่ อาจจะลืมไปว่า เหตุการณ์ต่างๆที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ แม้ว่าเขียนกันคนละที หรือว่าเล่ากันมาจากคนละคน  มันสอดคล้องบ่งชี้ไปในทางเดียวกันหมด  คือ
    ๑) เจ้าฟ้าเอกทัศน์เป็นลูกที่พ่อไม่ให้ราคาความฉลาดสามารถเอาไว้เลย     หลักฐานคือการตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรผู้เป็นน้องให้ข้ามหัวพี่ไปเป็นวังหน้ารอคิวขึ้นเป็นกษัตริย์    แบบนี้เรียกได้ว่าพระเจ้าบรมโกศท่านหักหน้าลูกชายคนนี้จนไม่มีชิ้นดี
    ๒) เจ้าฟ้าเอกทัศน์ไม่ใช่คนสุภาพอ่อนโยน  ยึดธรรมะเป็นหลัก    เพราะคนแบบนั้นจะไม่หวนกลับมาขัดคำสั่งพ่อ เอาบัลลังก์มาจากน้องเมื่อพ่อตายไปแล้ว
    ๓) พระเจ้าเอกทัศน์ไม่ใช่นักรบที่แกล้วกล้าเชื่อมั่นในตัวเอง      เพราะถ้าเก่งขนาดนั้นจะไม่ไปขอน้องชายที่ตัวเองผลักตกเก้าอี้ไปหยกๆ ให้ลาผ้าเหลืองมาช่วยรบ
     ๔) พระเจ้าเอกทัศน์ไม่ใช่คนรู้แพ้รู้ชนะ    เพราะเมื่อหมดศึกอลองพญาแล้ว  ก็ไม่น่าจะทวงบัลลังก์คืนจากน้องเอาดื้อๆ   แล้วให้น้องกลับไปบวชตามเดิม     อย่างน้อยถ้าเป็นคนมีน้ำใจรักความยุติธรรมอยู่บ้าง ก็จะต้องเอาน้องชายไว้รักษาบ้านเมืองจะในฐานะกษัตริย์เท่ากับตัวเอง หรือในฐานะวังหน้าก็ตาม  นี่ก็ไม่มี
     ๕)  เมื่อกรุงแตก   หลักฐานเดิมบอกว่าทรงหนีไปอดอาหารตายอยู่หัวเมือง    หลักฐานใหม่บอกว่าถูกปืนตายที่ประตูเมือง   แต่จะตายเพราะอย่างไหนก็ตาม   ไม่ได้แสดงวีรกรรมของนักรบทั้งสองทาง 
     หากว่าข้อสองเป็นจริงคือถูกปืนตายที่ประตูเมือง  เพราะคุมไพร่พลสู้รบกับพม่าเป็นครั้งสุดท้าย   พงศาวดารพม่าน่าจะบันทึกไว้ว่าทรงมีไพร่พลกี่ร้อย มีใครบ้าง สู้รบกันยังไงแบบไหน  แต่ก็ไม่มีรายละเอียดให้เห็นว่าเป็นเรื่องอย่างนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 25 ม.ค. 18, 14:21

      ทีนี้  เมื่อจะตีความใหม่ว่าพระเจ้าเอกทัศน์เป็นกษัตริย์แสนดีมีคุณภาพ  ก็ต้องยกเลิกหลักฐานเดิมๆ แล้วสร้างหลักฐานใหม่ขึ้นมา   สร้างใหม่อย่างเดียวไม่พอ ต้องลบของเก่าทิ้งไปด้วย
      จึงมีฉากพระเจ้าเอกทัศน์เดินจงกรมในท้องพระโรง แสดงความธรรมะธัมโม     ฉากพระเจ้าเอกทัศน์กับพระเจ้าอุทุมพรปรองดองกันดี   ฉากพระเจ้าเอกทัศน์เป็นลูกที่รักแม่มาก  ขอนอนหนุนตักแม่   ฉากท่านห่วงบ้านห่วงเมือง ฯลฯ
      ทีนี้  เมื่อดีออกยังงี้ พี่น้องก็ปรองดองกัน   แล้วทำไมเสียกรุง 
      ก็ต้องหาใครสักคนมาโยนความผิดให้     คำตอบก็คือเจ้าจอมมนต์ดำนั่นแหละ   หมดปัญหาไป

      ใครก็ตามที่เคยเขียนนิยายหรือบทละครจะรู้ว่าการสร้าง character ตัวละครเป็นส่วนยากที่สุดของเรื่อง   งานประพันธ์จะดังหรือจะพังก็เพราะตัวละครนี่ละเป็นหลักใหญ่สุด      เพราะงานชิ้นใหญ่ๆที่ยั่งยืนมานานหลายศตวรรษ ร้อยทั้งร้อยคนจำตัวละครได้มากกว่าจำเนื้อหารายละเอียดในเรื่อง   คนไทยจำนางวันทองได้เพราะสองใจ   จำขุนช้างได้ว่ารูปชั่วตัวดำแต่รวยและรักเมีย   ขุนแผนรูปหล่อแต่เจ้าชู้     แต่อาจจะจำไม่ได้ว่าขุนช้างมีอาชีพหรือเปล่า หรือขุนแผนเป็นขุนนางระดับไหน   
      ตัวละครที่สร้างยากติดอันดับคือตัวละครที่มีภาพสเกตช์  หรือหลักฐานพยานแวดล้อมกำหนดไว้หนาแน่นแล้ว  ยากที่ผู้ประพันธ์จะทำให้มีชีวิตชีวา แหวกไปจากภาพเดิมๆขึ้นมาได้ 
     ภาพสเกตช์คืออะไร ยกตัวอย่างง่ายๆคือภาพในประวัติศาสตร์   เช่นนางพญาอย่างควีนเอลิซาเบธที่ 1  ที่นำอังกฤษไปสู่มหาอำนาจทางทะเล   ตามประวัติศาสตร์พระนางไม่เคยอภิเษกสมรส  เคยสั่งประหารชายคนรักมาแล้ว   เคยอดทนฝ่าฟันอุปสรรคการเมืองนานาชนิด จนตลอดรัชกาล     ถ้าจะสร้างหนังให้พระนางเป็นสตรีเข้มแข็งก็ไม่แปลกอะไร  เพราะหลักฐานทั้งหมดชี้ไปทางนั้น  แต่ถ้าจะฉีกแนวสร้างพระนางเป็นสตรีอ่อนไหวง้องแง้งไม่รู้จักโต   คนสร้างต้องทำงานหนักมาก     ถ้าไม่เก่งจริง ก็ต้องแต่งชีวิตพระนางใหม่หมด    ซึ่งเท่ากับบิดเบือนประวัติศาสตร์  ผลก็คือพังลูกเดียว
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 27 ม.ค. 18, 19:37


ในความอ่อนแอของพระเจ้าเอกทัศน์ ตามบันทึกประวัติศาสตร์
เรายังอาจมองเห็นจุดเด่นของพระองค์อยู่บ้าง

หลังจากที่พระเจ้าอุทุมพรร่วมกับพระเชษฐา ปราบเจ้าสามกรม
แล้วทรงละทิ้งราชสมบัติไปบวชในเวลาอันสั้น

ผู้ที่จัดการพระราชพิธีพระบรมศพพระเจ้าบรมโกศและพระพันปีหลวงอย่างยิ่งใหญ่คือพระเจ้าเอกทัศน์
ผู้แต่งพงศาวดารคำให้การฯ จดจำความโอ่อ่าในพระราชพิธีต่างๆในราชสำนักของพระเจ้าเอกทัศน์ได้เป็นอย่างดี
เราอาจคาดได้ถึงการจัดพิธีราชาภิเษก และพระราชพิธีอื่นๆอย่างยิ่งใหญ่

ต่อไปในละครคงจะมีฉากการเสด็จฯพระพุทธบาทอย่างอลังการ  
หม่อมน้อยต้องการโชว์ความสามารถในการจัดการและรสนิยมความบันเทิงของพระเจ้าเอกทัศน์แห่งศรีอโยธยาอย่างเต็มที่ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง