เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 70808 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 26 ธ.ค. 17, 13:24

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 10:07

วันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๐

หลวงพ่อ : ท่านพระครูได้แจ้งกับอาตมาก่อนที่ท่านจะละสังขารแล้ว ว่าเมื่อถึงวันที่ครบรอบ ๒๐๐ ปีที่เสียกรุงศรี ตอนตีหนึ่ง คุณบุษบาบรรณกับบริวารจะมาทำบุญ

บุษบาบรรณ : เจ้าค่ะ (เรือนมยุรา เอ๊ย) เรือนเจ้าพระยาจะเปิดออกอีกครั้งเมื่อครบ ๑๐๐ ปีของโลกภายนอก อิชั้นจึงจะมีโอกาสออกมาทำบุญเจ้าค่ะ

ป.ล. ๑. ในวงเล็บน่าจะเป็นความที่คุณบุษบาบรรณคิดอยู่ในใจ

ป.ล. ๒. พระวัดนี้ท่านจุดเทียนสว่างไสวในพระอุโบสถอย่างนี้ทุกวันหรือเปล่าหนอ




นาทีที่ ๗.๐๐ - ๙.๐๐


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 10:42

ดูคลิปในคห.211   เป็นฉากที่วายุ (ฮัท เดอะสตาร์) กับอาจารย์อาคม (อาร์ อาณัติพล) เดินค้นหาร่องรอยของพระเอก พิมานที่หายตัวไป 
เดินกันไปจนพบวัดโบราณสถานแห่งหนึ่ง ก็เข้าไปในโบสถ์พบพระภิกษุที่รู้จักเด็กหัวจุกลึกลับในเรื่องดี
วัดนั้นเป็นโบราณสถาน  บูรณะเรียบร้อย  เป็นวัดร้าง ไม่ใช่วัดทั่วไปที่มีพระสงฆ์อยู่      แต่จุดไฟเสียแพรวพราวตั้งแต่ปากทางเข้า จนเข้าไปในโบสถ์ก็สว่างจ้าด้วยแสงเทียนนับร้อย(ได้มั้ง)  มีพระรูปหนึ่งนั่งหันหลังให้กล้องถ่าย ทำท่าเหมือนกำลังนั่งสมาธิวิปัสสนาอยู่ตามลำพัง แต่ไม่ยักอยู่มืดๆ กลับอยู่สว่างไสว
คำถามคือ เจ้าหน้าที่หรือยามผู้ดูแลโบราณสถานไปไหน ถึงปล่อยให้มีการจุดเทียนจุดไฟราวกับเทศกาลลอยกระทง ในวัดร้าง
ไฟฟืนลุกไหม้ขึ้นมาว่าไง   ในความเป็นจริง เขาห้ามนะเจ้าคะ

ข้อที่สอง  หลวงพ่อในโบราณสถานเล่าถึงความหลังก่อนบวช เป็นลูกศิษย์วัดหนุ่ม  เจอแม่นกยูง(นามเดิมของบุษบาบรรณ) ออกมาทำบุญไหว้พระ   เกิดหลงรักตั้งใจจะเอาเป็นเมียให้ได้
เดาว่าชื่อเดิมของหลวงพ่อก่อนบวช  ต้องชื่อ"ชั้นเชิง" แน่ๆเลย
บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 11:02

ดิฉันกลัวว่าสไบของพวกสาวๆจะปลิวไปโดนเทียนซะจริงๆ
แต่อย่างว่าล่ะค่ะ มันเป็นลายเซ็นของหม่อมน้อยไปแล้วที่จะต้องมีไฟเยอะๆในฉาก
ถ้าเป็นเรื่องปัจจุบันก็จะเปิดโคมไฟทุกดวงที่มีในบ้าน ถึงแม้จะเป็นตอนกลางวันก็เถอะ
ถ้าเป็นฉากภายนอกก็จะจุดโคม จุดเทียนแพรวพราวไปหมด
มันก็ดูสวยดีเวลาขึ้นจอ แต่มันไม่สมจริงเอาเสียเลย ดูแล้วอารมณ์สะดุดกึก กลายเป็นขำ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 11:17

บ้านของบุษบาบรรณมีหุ่นกระบอกประดับบ้านด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 11:17

อีกอย่าง ดิฉันกราบขอบคุณท่านผู้เขียนเรื่องเรือนมยุราที่ไม่ยอมให้ทรูสร้างเรือนมยุราโดยหม่อมน้อย
เพราะดิฉันวาดภาพออกเลยว่า จะเห็นแม่นกยูงนั่งอยู่ท่ามกลางแสงเทียนแพรวพรายตามสไตล์หม่อมน้อย
แล้วก็เห็นแม่บุษบาบรรณในภาพที่คิดไว้จริงๆ แต่แถมด้วยการทรงเครื่องนางรำแบบเต็มยศ
เธอสวยมากนะคะ แต่มองไม่ออกว่ามีเชื้อแขกขาวแบบที่เธอเล่าให้พิมานฟัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 12:01





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 12:03





บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 09:59

อ้างถึง
หลวงพ่อ : ท่านพระครูได้แจ้งกับอาตมาก่อนที่ท่านจะละสังขารแล้ว ว่าเมื่อถึงวันที่ครบรอบ ๒๐๐ ปีที่เสียกรุงศรี ตอนตีหนึ่ง คุณบุษบาบรรณกับบริวารจะมาทำบุญ
บุษบาบรรณ : เจ้าค่ะ (เรือนมยุรา เอ๊ย) เรือนเจ้าพระยาจะเปิดออกอีกครั้งเมื่อครบ ๑๐๐ ปีของโลกภายนอก อิชั้นจึงจะมีโอกาสออกมาทำบุญเจ้าค่ะ

จากบทสนทนาตอนนี้ แสดงให้เห็นว่า บุษบาบรรณ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความต่างของเวลาเป็นอย่างดี เธอรู้ว่ากรุงศรีอยุธยาล่มไปแล้ว และบัดนี้เวลาผ่านไปนานมากแล้ว ตอนที่เธอพาบริวารออกจากเรือนเดินมาวันตอนตีหนึ่ง เธอก็น่าจะเห็นบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว สอดคล้องกับคำพูดตอนหนึ่งที่เธอพูดกับคุณทองหยิบถึง "คนข้างนอก" โดยห้ามไม่ให้ทองหยิบกินอาหารของคนข้างนอกเพราะจะท้องเสียได้ (อันที่จริงมีเรื่องต้องกังวลอีก เพราะถ้าคุณทองหยิบติดโรคจากคนข้างนอก คนข้างในอาจจะเป็นโรคกันหมดเพราะขาดภูมิคุ้มกันได้)

ตรงนี้ผมเข้าใจว่าต่างจากเรือนมยุราไหมครับ ผู้คนในเรือนมยุรา ไม่ทราบว่า เวลาผ่านไปแล้ว

ทีนี้ เมื่อบุษบาบรรณ ยังมิใช่ผีมิใช่วิญญาณ แล้วฉากที่เธอไปปรากฎตั;ให้วายุเห็นที่หอประชุมคุรุสภาในตอนแรก จะอธิบายว่าคืออะไรกันหละครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 10:08

ตีความว่าที่บุษบาบรรณเข้าใจความต่างของมิติเวลาได้ก็เพื่อบอกให้คนดูเข้าใจได้ว่า เธอกับบริวารยังไม่ตาย  อยู่ในอีกมิติเวลาหนึ่ง  จะได้ไม่งงว่าผีหรือคนกันแน่
แต่การปิดเรือนอยู่เป็นร้อยๆปี  ไม่แก่ไม่ตาย  มันก็พอจะเข้าใจได้ไม่ยาก คุ้นๆอยู่
การไปปรากฏตัวให้วายุเห็นที่หอประชุมคุรุสภาแล้วแวบหายไปนั้น  คงมีอุโมงค์เวลาที่หนึ่งนอกเรือนของแม่บุษบากับโลกภายนอกแน่นอน  ถึงแวบเข้ามาออกไปได้ในพริบตา  ไม่ต้องรอ 100 ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 10:47

แม่บุษบาบรรณคงจะติดตามความเป็นไปของโลกภายนอกมาตลอด 250 ปี จึงทันสมัยมาก  รู้ว่าคนรุ่นหลังเรียนประวัติศาสตร์กันแบบไหน
แม่บุษบาจึงเรียก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" ได้เต็มปากเต็มคำ  ทั้งๆคำนี้ไม่มีในสมัยอยุธยาตอนปลาย    เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันใช้เพื่อความเข้าใจในกำหนดการสืบราชสมบัติตั้งแต่สมัยพระเพทราชามาถึงสมัยพระเจ้าเอกทัศ
ตลอดจนเรียกกษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนารายณ์ว่า " พระเพทราชา"  ทั้งๆพระนามตามพระสุพรรณบัตร คือสมเด็จพระมหาบุรุษ วิสุทธิเดชอุดม บรมจักรพรรดิศร บรมนาถบพิตร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 12:32

ปริศนาชื่อเรียก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" และพระนาม "พระเพทราชา" อาจไขได้ไม่ยาก เหตุด้วยครั้งที่คุณบุษบาบรรณไปทำบุญกับหลวงพ่อที่วัดนั้นมิใช่ครั้งแรกที่เธอออกจากเรือน เรือนเจ้าพระยาเปิดครั้งแรกเมื่อ ๑๐๐ ปีหลังเสียกรุง ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ครั้งนั้นเธอคงได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์หลังจากเสียกรุงและต้นสมัยรัตนโกสินทร์พอสมควร จึงออกนามกษัตริย์ต้นราชวงศ์ และนามราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยาตามที่ปรากฏ

มีข้อสงสัยประการหนึ่งเกี่ยวกับกำหนดการเปิดเรือนซึ่งน่าจะเป็นทุกร้อยปี แต่เหตุไฉนหลังจากเรือนเปิดเมื่อครบ ๒๐๐ ปี กำหนดการครั้งต่อไปจึงเป็นอีก ๕๐ ปี แทนที่จะเป็นอีก ๑๐๐ ปี หรือเพื่อให้ตรงกับปี พ.ศ. ในปัจจุบันคือ พ.ศ. ๒๕๖๐ เท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 12:58

จริงของคุณเพ็ญชมพู
ในเมื่อแม่บุษบาบรรณหายตัวจากเรือนมาปรากฏกายที่หอประชุมคุรุสภาให้วายุเห็นได้    เหตุไฉนจึงจะไปหอสมุดแห่งชาติมิได้เล่า  ระยะทางก็ห่างกันเพียงไม่กี่เส้น   
หายตัวได้มิต้องเรียกแท็กซี่ให้ลำบาก     นอกจากนี้หายตัวอีกทีก็ขึ้นไปบันได ไปที่ชั้นหนังสือได้เลย  ไม่ต้องทำบัตรเข้าห้องสมุดซึ่งจะต้องอาศัยบัตรประชาชนให้เป็นอุปสรรค

ส่วนระยะเวลา 100 ปีนั้น   เจ้าเรือนไม่ถนัดวิชาคำนวณ   จึงงงวยอยู่เล็กน้อย
ถ้าบุษบาบรรณเก็บตัวอยู่ในเรือนตั้งแต่พ.ศ. 2310   ผ่านมาถึงปี 2560  เป็นเวลา 250 ปี  พอดี    ถ้าเธอออกจากเรือนได้ทุก 100 ปี   เธอก็ต้องโผล่ออกมาอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2410   และอีกทีเมื่อ พ.ศ. 2510   จากนั้นก็รอไปถึง พ.ศ. 2610  (ชาวเรือนไทนในวันนี้คงไม่เหลือแล้ว)
ฤๅเป็นได้ว่า เรือนของนางเปิดประตูทุก 50 ปี  แต่แม่บุษบาบรรณออกมามั่งไม่ออกมามั่ง  เพราะคุณพระพิมานยังไม่ทันมาเกิดใหม่เเลยข้ามไป 100 ปี  แล้วก็ 200 ปี  พอรู้ว่า 250 ปีคุณพระพิมานเกิดใหม่เรียบร้อยเป็นหนุ่มวัยฉกรรจ์พอจะรับบทพระเอกได้ 
นางก็เลยโผล่ออกมาซะที
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 15:32

หรือว่า มนตร์กำบังเรือนกำลังเสื่อมถอยลงครับ กล่าวคือ มนตร์นี้มุ่งกำบังสถานที่ในวงจำกัดเท่าที่ตบะของผู้ร่ายมนตร์จะกระทำได้ และตบะของมนุษย์เพียงคนเดียว ต่อให้ฝึกสมาธิมาเท่าใดก็ไม่อาจสร้างอาณาเขตได้ใหญ่โตนัก การกำบังบ้านหนึ่งหลังจึงจัดว่าเกินกำลังไปมากแล้ว ด้วยเหตุนี้ มนตร์จึงทำงานไม่สมบูรณ์ คือมีช่วง "กระพริบ" ที่จะทำให้คนในออก คนนอกเข้าได้ อยู่เป็นบางช่วง และช่วงเวลากระพริบนี้ จะเริ่มถี่ขึ้นเรื่อยๆ ตามความเสื่อมถอยของกำลังมนตร์ การกระพริบครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 200 ปี ครั้งที่สองเกิดขึ้นห่างจากครั้งแรกเพียง 50 ปี ไม่แน่ว่า ครั้งที่สาม อาจกระพริบเมื่อเวลาผ่านไปเพียง 10 - 15 ปี จนในที่สุดมนตร์ก็ไม่กระพริบอีกเลย คือมนตร์หายไป

อีกประเด็นที่น่าคิดคือ การไหลของเวลาครับ เวลาภายในเรือนและภายนอกเรือนคงไหลด้วยความเร็วไม่เท่ากัน เพราะ 250 ปีผ่านไป บุษาบรรณและบริวารอายุเพิ่มขึ้นไม่มากนั้น ผมไม่แน่ใจว่า ผู้ที่อยู่ในเรือน รู้สึกถึงกระแสเวลาอย่างไร ระหว่างแบบแรก เวลาในเรือนเดินช้ามาก เวลาภายนอกเดินปกติ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้คุณพิมานสามารถเข้าไปอยู่ในเรือนได้เป็นปีๆ เมื่อเดินกลับออกมาคนภายนอกก็รู้สึกว่า คุณพิมานหายไปไหนมาแค่ 5 นาที หรือเวลาในเรือนเดินปกติ แต่เวลาภายนอกเดินไวมาก ถ้าเป็นอย่างนี้ 5 นาทีในเรือน อาจเท่ากับ 5 ปีภายนอกก็ได้ เมื่อคุณพิมานกลับออกมาก็พบว่า ไม่เหลือใครแล้ว คนที่เขารู้จักล้วนชราถึงแก่ความตายไปหมดแล้ว เขาเลยกลับเข้าเรือนไปอยู่กับแม่บุษบาในเรือนต่อไป (หรือ จะกลับเข้าเรือนก็ไม่ทันเสียแล้ว พิมานจึงต้องอยู่อย่างเปลี่ยวเหงา รอคอยการกระพริบในอีก 15 ปีต่อไป อย่างเดียวดาย โดยทำงานเป็นจิตอาสาดูแลวัดมเหยงค์และหมู่ศาลในป่าฝั่งตรงข้ามต่อไป  จนได้พบกับแม่บุษบาอีกครั้งเมื่อเข้าสู่วัยชราแล้ว) 
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 15:38

เอ๊ะ อาจารย์ครับ สมมุติว่า แม่บุษบา ออกมาทำบุญเมื่อ 50 ปีที่แล้ว แล้วหลวงพ่อให้หนังสือไปอ่านหลายเล่ม หรือเธอสามารถวาปไปอ่านหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติได้จริงๆ

ถ้าไม่นับคำศัพท์แสลง หรือคำเฉพาะเรียกวัตถุสมัยใหม่บางคำแล้ว คนยุคอโยธยา จะสามารถอ่านตัวหนังสือภาษาไทย สมัยปัจจุบันได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง