เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
อ่าน: 20051 ฤาจะหมดแผงเข้าไปทุกทีทุกที
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 14 ต.ค. 18, 21:01

“คนรุ่นใหม่ไม่อ่านหนังสือ ไม่จริง เขาย้ายไปอ่านที่อื่น” คำกล่าวปิดตัวนิตยสาร Student Weekly

นิตยสารสอนภาษาอังกฤษอายุร่วม 49 ปีอย่าง S Weekly (หรือชื่อเดิมที่หลายคนรู้จัก คือ Student Weekly) ประกาศยุติการผลิตฉบับพิมพ์ ย้ายสู่ออนไลน์ลงเว็บไซต์ Bangkok Post แทน ระบุเครื่องมือการเรียนรู้ในโลกนี้อยู่บนออนไลน์แล้ว

Gary Boyle บรรณาธิการนิตยสาร S Weekly (ชื่อเดิมคือ Student Weekly) เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ Bangkok Post ว่า ที่ผ่านมา Bangkok Post ได้ผลิตนิตยสารที่ชื่อว่า Student Weekly ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2512 ภายใต้ชื่อ Kaleidoscope ซึ่งทำให้เห็นว่านิตยสารยุคแรกที่ลุคดูจริงจัง ภาพเป็นแบบขาวดำ และยังไม่มีการสัมภาษณ์บุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งต่อมาก็ถูกปรับลุคให้ดูสดใส ภาพเป็นสี และมีการสัมษณ์คนดังมากขึ้น

“การศึกษากำลังจะมีการเปลี่ยน เราก็ต้องปรับตัวเช่นกัน การเรียนรู้ไม่ได้สิ้นสุดแค่ที่ตำราเรียนเท่านั้น คลังข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดของข้อมูลและเครื่องมือการเรียนรู้ในโลกนี้อยู่บนออนไลน์แล้วและสามารถเข้าถึงได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ข้อความอย่างเดียวก็ถือว่าดี แต่ข้อความบวกเสียงบวกวีดีโอนั้นดีกว่า การเรียนรู้และเข้าถึงคอนเทนต์ภาษาอังกฤษบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากขึ้น ดังนั้นมันกลายเป็นความท้าทายต่อนิตยสารต่างๆ ที่เลือกจะยังคงอยู่” Gary กล่าว

ต่อมา Student Weekly เปลี่ยนชื่อเป็น S Weekly จนในที่สุด 30 กันยายน 2561 ก็ประกาศว่า S Weekly จะผลิตนิตยสารแบบพิมพ์เป็นฉบับสุดท้ายแล้ว โดยไม่มี S Weekly เวอร์ชัน E-Book แต่จะอัพเดทเนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์ Bangkok Post ใน Section ที่ชื่อว่า “Learning” แทน

https://techsauce.co/news/student-weekly-magazine-says-goodbye/


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 16 ต.ค. 18, 13:41

สมัยเรียนมัธยม ผมต้องอ่านด้วยนะครับ หนังสือนี้
บันทึกการเข้า
aaax
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 13:17

ข่าวจากเพื่อนที่ปัตตานี ตอนนี้ B2S ปัตตานีก็ปิดตัวไปอีกหนึ่งสาขาครับ.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 14:49

ต่อไปร้านหนังสือ (ไม่ว่าชื่อไหน)จะเหลือไหมนี่?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 15:08

https://imonkey.blog/2017/08/12/%E0%B8%BAa-book-is-dead/?fbclid=IwAR3lNF_TYaPXa3H-FU9yfGhx4X5hVCFM1tMIyJO7lRgs8XWtAGS9rGhVDXU

หนังสือกำลังจะตาย” เพราะนักอ่านไม่สนใจ หรือคนเขียนเองที่อ่อนไหวและเปราะบาง
1

 

หนังสือกำลังจะตาย?

หนังสือกำลังจะหายไป?

ทำไมคนไทยไม่อ่านหนังสือ?

เชื่อว่าไม่มากก็น้อยใครหลายคนคนเคยได้ยินประโยคแบบนี้ เราถามคำถามนี้กับตัวเอง และโยนความตายของกระดาษให้ผู้อ่านรับผิดชอบมานานกว่า 20 ปี

ผมเชื่อในพลังของคำถาม
การมุ่งเน้นหาคำตอบของคำถามที่ดีมีค่า
ถ้าวันนี้เราถามกลับไปว่า “ทำไมหนังสือหรือกระดาษต้องตาย?”  และคำตอบที่ผมได้…
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 15:09

2

     ผมอ่านหนังสือ “จดหมายถึงเพื่อน” ของกนกพงศ์
อ่านแล้วอยากเขียนจดหมายรึ? ก็ไม่ถึงขนาดนั้น แต่อ่านแล้วเจอการพูดคุย ความคิดเห็นจริง ๆ ที่ไร้ความเป็นกลาง ชอบ ไม่ชอบถูกบรรยายถ่ายทอดออกมาอย่างดิบด้าน เขียนออกมาให้ผู้คุ้นเคยได้รับรู้ รับทราบ พร้อมคำลงท้ายว่า “รัก” สั้น ง่าย จริงใจ

จนมาถึงประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ กนกพงศ์บอกว่า บ่อยครั้งที่มีการเสวนาเกี่ยวกับวรรณกรรมไทยกำลังจะหายไป การจัดงานเหล่านี้ไม่ได้ช่วยอะไร ไม่ได้ปลุกจิตสำนึกในการอ่าน เป็นเพียงการเรียกระดมกันไปพูดคุย แลกเปลี่ยนของกลุ่มคนเดิม หน้าเดิม เวียนกันพูดเวียนกันคุยเรื่องเดิม รับเสียงปรบมือเสียงเดิม แล้วกลับไปสู่จุดเดิม เราเสวนาในอ่างกันมานานกว่า 20 ปีแล้ว ก็เหมือนเดิม ไม่มีใครสนใจงานประเภทนี้ วรรณกรรมเพื่อชีวิตกำลังจะตาย กนกพงศ์พูดซ้ำ ยอดพิมพ์จำหน่าย 3-400 เล่ม พอให้คนเขียนได้หายใจ แต่ระยะเวลาในการผลิตงานนั้นแสนนาน แค่ครั้นจะให้ไปเขียนงานที่ขายได้ แบบวินทร์ แบบปราบดา ก็ทำใจไม่ได้ เขียนไม่เป็น คงต้องยอมรับ ก้มหน้าก้มตาเขียนงานต่อไป…

“วรรณกรรมคืออะไร”
เนื้อความจดหมายที่ วินทร์ เขียนถึง ปราบดา หลังจากอ่านหนังสือเล่มเดียวกับผม
ซึ่งน่าจะเป็นการเขียนชี้แจงถึงประเด็น “เขียนแบบวินทร์ แบบปราบดา”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 15:10

วินทร์เล่าคล้ายอึดอัดว่า “วรรณกรรมในความหมายของคนไทยคือ งานเขียนที่ลุ่มลึก หนักอึ้ง อ่านยาก ต่างจากคำว่า Literature ของฝรั่งที่เขานับเหมารวมงานเขียนเกือบทุกประเภท ซึ่งถ้าเปรียบคำว่าวรรณกรรมของไทย น่าจะเป็นแขนงหนึ่งของฝรั่งที่เรียกว่า Literary Merit ซึ่งแม้แต่ในต่างประเทศก็เป็นวรรณกรรมที่ขายยาก แต่วรรณกรรมเหล่านี้ตายไปจริงหรือ ความจริงคือไม่ เพราะถ้ามันตายเราก็เลิกถกกัน และไปเล่นประเด็นอื่น บ้านเราไม่มีนักเขียนที่ยอมตายเพื่อให้ได้เขียนมากนัก เขา (กนกพงศ์) ยังบอกอีกว่างานเขียนที่ลุ่มลึก สะท้อนความต่างชั้น ปัญหาสังคม สะท้อนอารมณ์นั้นไม่มีวันตาย (แต่กลับโอดครวญว่ามันกำลังจะตาย?–ผู้เขียน) ไม่ใช่เพราะมันพูดเรื่องดาษดื่นของสังคม แต่มันเป็นคุณค่าของวรรณกรรม

เป็นประเด็นที่น่าถกหากเขายังอยู่ ในมุมมองของกนกพงศ์ที่ว่าไว้ว่า ต่อไปในอนาคตจะมีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า นักเขียน เช่นคุณและผม (วินทร์และปราบดา) มากขึ้น เรื่องความลุ่มลึกของเนื้อหาจะลดลงเพราะการตลาดจะุขดหลุมและฝังกลบ สำหรับผมเเล้วเรื่องแบบนี้ไม่ได้อยู่ในความสนใจ ผมมองว่าการยึดอาชีพนักเขียนก็เป็นเรื่องหนึ่ง การเสนอแนวคิดก็เป็นเรื่องหนึ่ง คล้ายพ่อครัวที่สรรหารสชาติมานำเสนอ แต่การขายให้ได้เป็นอีกเรื่อง สวมหมวกทีละใบ เมื่อเป็นนักเขียนมีหน้าที่เขียนให้จบ เมื่อเขียนจบต้องขายก็เป็นอีกเรื่อง เราต้องขายให้ได้ ถ้าขายไม่ได้ นักเขียนในยุคนี้ก็ทำงานชิ้นต่อไปไม่ได้ ผมก็สะทกสะท้อนใจเมื่อนึกถึงการพิมพ์วรรณกรรมสะท้อนสังคมในปัจจุบันแต่ละครั้งไม่ถึงหมื่นเล่ม

มันเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่ใช่ว่ารับไม่ได้…”

 

3

“จดหมายถึงเพื่อน” ยังมีเรื่องราวมากมายที่ถูกกล่าวถึง แต่สิ่งที่ผมเองสังเกตคือการเดินทางของตัวกนกพงศ์เอง การต้องไปร่วมงานต่าง ๆ ไปหาเพื่อนฝูงรวมถึงต้องต้อนรับแขกทั้งกลุ่มนาครและคณะอื่น ๆ ที่มาเยี่ยมเยือน หลายครั้งที่เขาขอโทษที่ไม่ได้อ่านเรื่องสั้นที่เพื่อนส่งมาให้ช่วยดู หลายครั้งที่เขาต้องผลัดเป้าหมายการเขียนเรื่องสั้นหรือแม้กระทั่งนิยายที่อยากเขียนออกไปอย่างไร้จุดหมาย บางเรื่องตกพื้น ซึมหายราวกับสายฝนที่พรมบ้านเขาไม่รู้จบ

“เป็นนักเขียนต้องเขียน ให้ผลงานบ่งบอกว่ามันดีหรือไม่ดี ถ้าดีมันก็ขายได้ ไม่ดีก็ขายไม่ได้ แค่นั้นเอง” ปองวุฒินักเขียนที่เรียกได้ว่าเป็นนักเขียนจริง ๆ ในยุคนี้พูด “มึงไม่รู้หรอกว่างานที่มึงคิดจะดีหรือไม่ดี จนกว่ามันจะถูกเขียนออกมา” เขาย้ำกับผม

ตรงนี้ทำให้ผมคิดว่า หากกนกพงศ์เขียนตามแนวทางที่เขาอยากเขียน และใช้เวลากับงานของตัวเองจริงจัง เขาจะมีงานมากมายแค่ไหน และมีชิ้นไหนที่จะกลายเป็นหนังสือที่มีสถาบันหรือผู้คนต่าง ๆ ประกาศว่า ‘ต้องอ่าน’ น่าเสียดายที่ผมทำได้แค่คิด

 

“นักเขียนบ้านเราเปราะบาง ต่างจากนักเขียนฝรั่ง”

“ทำไม” ผมถาม

“ก็ดูสิ นักเขียนฝรั่งเขาก้มหน้าก้มตาเขียนในสิ่งที่เขาคิดเขาเชื่อ แม้จะมีเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบกายเกิดขึ้น เขาใช้งานเขียนเป็นเครื่องมือหากินไปพร้อม ๆ กับต่อสู้ แต่นักเขียนบ้านเราเวลามีอะไรขึ้นมาก็รวมตัว ประกาศก้องถึงจุดยืน อ่อนไหว เสียดสี ประชดประชัน ทำทุกอย่างยกเว้น เขียนงานตัวเอง” ภู่มณีอธิบายความคิดของเขาเมื่อผมถามผ่านโปรแกรมพูดคุยออนไลน์

น่าคิดนะ– ผมคิด

 

4

ทำไมหนังสือต้องตายด้วยในเมื่อมีข้อมูลว่ายอดจำหน่ายหนังสือเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ผมทบทวนประสมกับสิ่งที่นักเขียนหลาย ๆ คนคิดและรู้สึก “มันไม่ตายเพราะถ้ามันตายเราคงเลิกพูดถึงมันแล้ว” ผมคิดว่าประโยคนี้สำคัญ

บทสรุปเรื่องวรรณกรรมบ้านเราที่ซบเซา หรือแม้แต่มีการประกาศว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด เหล่านี้ผมเชื่อว่ามันไม่มีความจริง เพียงแต่มันถูกปรับเปลี่ยน โยกย้าย และต้องพึ่งปัจจัยมากมายมาสนับสนุนให้ไปต่อ หนังสือทุกวันนี้แจกฟรีกลับหาเงินได้มากกว่าจงใจพิมพ์มาขาย การถูกเผยแพร่มีประโยชน์มากกว่าการถูกยกย่องแล้วนำไปเก็บไว้บนหิ้ง ผู้อ่านเปลี่ยนไป ผู้เขียนก็ต้องเปลี่ยนตาม หน้าที่ของนักเขียนคือเขียนงานของคุณเอง ทำตามแนวทางที่คุณต้องการ และอยากทำ

“ผมไม่เชื่อว่าคำว่า ‘วรรณกรรมสร้างสรรค์’ จะดีกว่าวรรณกรรมหรือนิยายธรรมดาอื่น ๆ เพราะทุกชิ้นงานคือ ‘วรรณกรรมสร้างสรรค์’ มันถูกคิดขึ้นมา สร้างขึ้นมาไม่ว่าจะถูกทำมาเพื่อตอบโจทย์หรือตอบสนองอะไร” ปองวุฒิให้สัมภาษณ์ GM

“ผมว่าหนังสือก็คือหนังสือ มันไม่ได้ถูกแบ่งว่าเป็นประเถทไหนอย่างไร สำหรับผมมันถูกแบ่งแค่เพียง ‘เขียนดี’ กับ ‘เขียนไม่ดี’ ผมเชื่อว่าเราสามารถเขียนนิยายสยองขวัญที่สะท้อนสังคม มีภาษาสวยงามและลุ่มลึกได้ อยู่ที่ว่าคุณเขียน ถึง ไหม” วินทร์กล่าวย้ำในจดหมายถึงปราบดา

กลับมาที่คำถาม “ทำไมหนังสือหรือกระดาษต้องตาย?” สำหรับผมคำตอบนี้ง่ายมาก

“มันจะตายเพราะนักเขียน ไม่เขียนมันออกมาไงละ”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 15:29

วินทร์เล่าคล้ายอึดอัดว่า “วรรณกรรมในความหมายของคนไทยคือ งานเขียนที่ลุ่มลึก หนักอึ้ง อ่านยาก ต่างจากคำว่า Literature ของฝรั่งที่เขานับเหมารวมงานเขียนเกือบทุกประเภท ซึ่งถ้าเปรียบคำว่าวรรณกรรมของไทย น่าจะเป็นแขนงหนึ่งของฝรั่งที่เรียกว่า Literary Merit ซึ่งแม้แต่ในต่างประเทศก็เป็นวรรณกรรมที่ขายยาก

ขออธิบายหน่อยว่า literary merit แปลตามตัวว่าคุณค่าของงานประพันธ์     งานประพันธ์ทุกชนิดไม่ใช่ว่าผลิตออกมาแล้วจะมีคุณค่าขึ้นมาทันทีโดยอัตโนมัติ  แต่จะต้องมีคุณสมบัติหลายอย่างประกอบอยู่ในนั้นจนได้รับการยอมรับนับถือว่า มีคุณค่า   เท่าที่นักวิชาการวรรณกรรมเขาวัดกันก็คือ  งานนั้นต้องอ่านได้ยืนยาวข้ามยุคสมัยโดยไม่ล้าสมัย   มีตัวละครที่สมจริงเหมือนมีเลือดเนื้อมีชีวิตให้รู้จักได้  มีความซับซ้อนทางอารมณ์   มีความเป็นตัวของตัวเองไม่ลอกแบบใคร และแสดงถึงสัจธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของชีวิต
วรรณกรรมไทยประเภทที่คุณวินทร์เอ่ยถึง น่าจะตรงกับอีกคำหนึ่ง คือ serious fiction  หมายถึงนวนิยายและเรื่องสั้นที่เขียนขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเน้นเนื้อหาสาระที่เชื่อว่าประเทืองปัญญา    เช่นสะท้อนสังคมในวงกว้าง   แสดงอุดมการณ์ทางการเมือง หรือศาสนา หรือปรัชญา    งานประพันธ์ประเภทนี้มีประปรายนับแต่หลังปี 2475 เป็นต้นมา    แล้วมาเฟื่องฟูในยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน 2516  แล้วก็ยังเบ่งบานมาเรื่อยๆโดยมีรางวัลซีไรต์เป็นเกียรติคุณรองรับ
แต่ปัจจุบัน  เวลาผ่านมาครึ่งทศวรรษ  ความรู้สึกนึกคิดของหนุ่มสาวแต่ละยุคเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม   เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากมาย ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์หรือมือถือ  แต่หมายถึง การสื่อสารไร้พรมแดน ที่มีเกมส์ออนไลน์  และแอ๊พสารพัดแบบ   งานประพันธ์แบบเก่าก็เหมือนกับถูกเบียดให้ถอยห่างจากกลางเวที  เปิดเนื้อที่ให้ของใหม่ๆเข้ามาเป็นศูนย์กลางความสนใจ
นักเขียนคนไหนปรับตัวได้ก็อยู่รอดต่อไป  มากน้อยแค่ไหนแล้วแต่  คนไหนปรับตัวไม่ได้ก็อาจจะหายไปจากกระแสหลัก
หนังสือที่เป็นกระดาษกำลังลดจำนวนลง   ถ้านักเขียนเขียนอีบุ๊คไม่เป็น  ก็ยากที่จะอยู่ได้ในยุคสื่อสารผ่านหน้าจอ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 05 พ.ย. 18, 09:36

แต่ B2S สาขาตามห้างในกรุงเทพ กลับขยายใหญ่โตมาก ที่เซนทรัลพระรามสามแถวบ้างผม ขนาดของร้านแทบจะเป็น 20% ของ ชั้นนั้นๆเลยครับ สาขาที่เมกะบางนาก็ใหญ่บึ้ม ที่พิจิตรสาขาเล็ก แต่ก็มีคนเข้าอยู่ตลอดนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 05 พ.ย. 18, 10:35

ฺB2S  ขายอะไรอีกหลายอย่างนอกจากหนังสือ   เดิมมีของใช้ในสำนักงาน   เดี๋ยวนี้มีเล่นของกินด้วย   ก็นับว่าเป็นทางช่วยที่ดีค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง