เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 20053 ฤาจะหมดแผงเข้าไปทุกทีทุกที
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 13 ธ.ค. 17, 11:42

คสคส circulation ไม่น้อยนะครับ 2 แสนเล่ม เดือนออกสามครั้ง
น่าจะยังมีกำไร แต่คงไม่หวือหวาเหมือนก่อน

จริงดังคาด บริษัทยังมีกำไร แต่ทำไมรีบชิ่ง
หนังสือบนแผงน้อยลง ตัวเลขอาจทะยานขึ้นก็ได้
คุณดำรงไม่ได้เป็นเจ้าของคนเดียว เจ้าของร่วมอาจเห็นเป็นอื่น งั้นรอแถลงดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 16 ธ.ค. 17, 16:52

"คู่สร้างคู่สม"เปิดใจอำลาสื่อกระดาษ
(คัดมาบางตอนค่ะ)
พอถึงวันหนึ่งที่เทคโนโลยีเปลี่ยน โลกเปลี่ยน ทำให้พฤติกรรมของคนก็เปลี่ยนตามไปด้วย ณ วันนี้เป็นยุคที่ทุกอย่างสมาร์ทหมด สิ่งที่เคยยุ่งยากเป็นปัญหาก็กลับกลายเป็นของง่ายขึ้นมา เมื่อก่อนหากคิดจะค้นคว้าก็ต้องเข้าห้องสมุดดูหนังสือ แต่วันนี้แค่ดูที่จอเล็กๆ ในฝ่ามือเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็มารวมกันอยู่ในจอเล็กๆ เครื่องนั้นจนหมดสิ้น

ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความบันเทิง และแรงบันดาลใจต่างๆ ล้วนอยู่ในอากาศ ก็แค่ใช้อุปกรณ์ยุคใหม่ดึงเข้ามาใช้เท่านั้น มันก็จะตอบสนองความต้องการได้หมด สมัยนี้สถานที่และกาลเวลาจึงไม่เป็นอุปสรรคในการรับรู้อีกแล้ว

วันนี้โลกทั้งโลกอยู่ในฝ่ามือของเราจึงไม่มีใครสนใจตัวหนังสือในแผ่นกระดาษอีก

และในที่สุดคนยุคใหม่ก็เริ่มไม่คุ้นเคยที่จะอ่านหนังสือแผ่นกระดาษอีกแล้ว ทำให้หนังสือที่เคยอ่านกันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายเริ่มอยู่ไม่ได้และในที่สุดก็ค่อยๆ ปิดตัวล้มหายตายจากไปตามกัน

ส่วนตำราต่างๆ ก็เหมือนกัน หากอยากค้นคว้าก็ต้องไปที่ห้องสมุด พอไปถึงแล้วหนังสือให้เลือกก็มีแค่ไม่กี่สิบเล่ม ไม่เหมือนการค้นหาจากหน้าเว็บที่มีให้เลือกเป็นแสนเป็นล้านรายการ มันดีกว่าและสะดวกกว่าเยอะเลย แค่เรียนรู้วิธีดูว่าแหล่งข้อมูลใดเชื่อถือได้แค่ไหนเท่านั้น ทุกอย่างก็จะสะดวกมาก

เมื่อมันง่ายดายซะขนาดนี้แล้วใครจะถ่อไปที่แผงหนังสือล่ะครับ ก็อ่านจากเครื่องบนฝ่ามือนี่แหละสะดวกสุด ทำให้คนสมัยนี้ไม่ยอมอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษอีกแล้ว

ผลก็คือหนังสือดีๆ ที่มีคุณค่าต่างพากันปิดตัวลงเล่มแล้วเล่มเล่า บางเล่มมีอายุมานานกว่าครึ่งศตวรรษ แต่ที่สุดก็ต้องหยุดทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้แต่เพียงเท่านี้ นี่คือการสิ้นสุดยุคของกระดาษอย่างแท้จริงครับ ท่านผู้อ่าน!

จากสถานการณ์ที่ผมเล่ามานี้ แม้คุณดำรงและกอง บ.ก.จะมีความตั้งใจดีขนาดไหนก็ตามเถอะ แต่ก็ไม่อาจต้านยุคสมัยที่เปลี่ยนไปได้

ระบบ Digital ได้มาป่วนและเปลี่ยนโลก ในที่สุดคุณดำรงก็ตัดสินใจหยุดหนังสือที่ท่านผู้อ่านถืออยู่ขณะนี้เอาไว้แต่เพียงเท่านี้เช่นกัน

นี่คือฉบับสุดท้ายที่ท่านจะได้จับต้องหนังสือ "คู่สร้างคู่สม" ครับ!

หมดแล้วครับ หนังสือดีๆ ที่ทั้งคนอ่านและคนเขียนเป็นเสมือนคนในชายคาเดียวกัน รู้จักกันประหนึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นเพื่อนฝูง ญาติมิตรกัน

บรรยากาศดีๆ ที่ผ่านมาก็เชื่อว่าเป็นยุคเก่าที่ผ่านไปแล้ว เราก็นำเอามาเก็บไว้ในความทรงจำดีๆ ก็แล้วกันนะครับ ต่อไปนี้ก็เลือกวิธีใหม่ในการอ่านตามยุคสมัยของมันก็แล้วกัน

สิ่งเดียวที่ทีมงานของเราอยากขอเอาไว้คือ อย่าให้คนไทยหยุดอ่านหนังสือ ทุกคนต้องอ่านต่อไปครับ จะในรูปแบบไหนก็ดูที่ยุคสมัยของมัน

อ่านข้อเขียนเต็มๆได้ที่นี่
http://www.thaipost.net/?q=node/39425
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 16 ธ.ค. 17, 20:52

 ตกใจ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 16 ธ.ค. 17, 21:08

เป็นเรื่องน่าเศร้า  น่าใจหาย มากค่ะ
ยังนึกไม่ออกเลยว่าโลกที่ไม่มีหนังสือให้เห็นเวลาเดินออกจากบ้านไปไหนมาไหน จะเป็นยังไง      แล้วก็ไม่อยากได้คำตอบด้วย
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 16 ธ.ค. 17, 22:16

ข้อสังเกต

1 คุณดำรงเป็นแขกรับเชิญ แต่ช่วยทำให้รายการ "โฟลว" ได้ดี เจนเวทีมาก
ผมเห็นมาตั้งแต่เล็ก ไม่นึกว่าอายุ 75 แล้ว หนุ่มกว่าวัย

2 มะเช้า ผมไปแวะเอเยนต์บ้านเพื่อน ไปอ่านฟรี ช่วยขาย นสพ ตอนเช้าไปด้วย
เพื่อนลดให้คนรับไปขาย 15%  ตก 8.50 บาท ไปขายปลีก 10 บาท
บางคนรับไปขาย 5 ฉบับ (กำไร 7.50 บาท) บางคน 6-10 ฉบับ เป็นกองทัพมด
กำไรไม่ได้เป็นกอบเป็นกำ อาศัยได้ทุกวัน เป็นความผูกพันระหว่างคนกระจายสินค้าและคนซื้อ ดีกว่าอยู่เปล่าๆ

3 เป็นอย่างนี้นี่เอง คนอ่านไม่ซื้อ สายส่งปิดตัว เอเย่นต์ในจังหวัดกระเทือน
สมัยก่อน ท่ารถต้องมีแผงหนังสือ เดี๋ยวนี้ไม่มีใครซื้อ เพื่อนแพคหนังสือส่ง 7
บางสาขารับ บางสาขายุบ shelves ไปแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 17 ธ.ค. 17, 08:53

เท่าที่ติดตามอ่านในโซเชียลมิเดีย  ทุกครั้งที่นิตยสารปิดตัว จะมีคนเข้ามาแสดงความเสียใจและอาลัยไม่ขาดสาย
แต่ในจำนวนที่เสียใจ   มีจำนวนมากสารภาพว่า เมื่อก่อนเคยอ่านนิตยสารนั้น  แต่หลังๆไม่ได้อ่านแล้ว

ตรงนี้แหละคือเหตุผลหลัก ค่ะ

เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารไร้พรมแดนเข้ามา    คนอ่านพบว่าจะหาอ่านอะไรมีได้ไม่จำกัด  ยิ่งวันยิ่งมีมากขึ้น  ที่สำคัญคืออ่านฟรี และสำคัญที่สุดคือไม่ใช่อ่านอย่างเดียว  แต่อ่านและเขียนตอบได้   คุยกันได้จากทุกมุมโลก ไม่ใช่เฉพาะแฟนคุยกับแฟนจากสถานที่คนละแห่งเท่านั้น
คุณตาคุณยายคุณลุงคุณป้าเคยอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสารและหนังสือเล่ม มาตลอดชีวิต   วันหนึ่งลูกซื้อสมาร์ทโฟนมาให้พร้อมกับสอนวิธีเล่นไลน์กับเฟซบุ๊ค   ถ้าท่านเป็นครูบาอาจารย์ปัญญาชน ลูกก็สอนวิธีค้นจากกูเกิ้ลให้
เท่านั้นแหละ  ตื่นขึ้นมา  ท่านเหล่านี้ก็ไม่เป็นอันทำอะไรนอกจากส่งรูปดอกไม้สีประจำวัน อรุณสวัสดิ์ กู๊ตมอร์นิ่ง ให้เพื่อนสนิทมิตรสหาย น้องชายน้องสาว ลูกๆหลานๆ ฯลฯ  หมดเวลาไม่ต้องอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับเช้า  อยากรู้ข่าวก็เข้าหนังสือพิมพ์ออนไลน์
คุณยายส่งหลานไปโรงเรียนแล้ว  แวะไปทำผมที่ร้าน   เมื่อก่อนหยิบนิตยสารมาอ่านฆ่าเวลา  ตอนนี้หยิบมือถือมาส่งไลน์นัดเพื่อนไปกินข้าวกลางวันกัน  คุยกัน แชร์ข่าวแชร์รูปกัน  ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ
คุณลุงคุณป้าก็นั่งอ่านเฟซบุ๊ค แชร์รูป ไปกินที่ไหนถ่ายรูปอาหารมาลง ส่งให้เพื่อนฝูงดู    ไปเที่ยวที่ไหนก็ส่งรูปลงเฟซแบบเดียวกัน จะเอาเวลาที่ไหนมาอ่านหนังสือล่ะ
ผ่านไปสักพัก  เดินไปปากซอยตอนเช้าๆ อ้าว แผงหนังสือปิดไปซะแล้ว ขายพื้นที่ให้ร้านสะดวกซื้อ   จะเดินไปถึงศูนย์การค้าก็ไม่ไหว แถมเดินไปยังไม่เจอร้านหนังสืออีก  เพราะสาขานี้ปิดไปอีกแล้ว
หนักๆ เข้า   ก็เลยไม่อ่านหนังสือ เพราะไม่มีหนังสือจะอ่าน
เอวัง
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 17 ธ.ค. 17, 10:24

^ ใช่ค่ะ

การเข้ามาของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้พรมแดนส่งผลกระทบหลักจริงๆ  ถึงแม้ว่ารายได้ของสิ่งพิมพ์ตามความเห็นของคุณ Buak Bangbuathong ตาม คห. 53  "มันยังงี้ครับ (อันนี้ใครรู้แล้วสไลด์ข้ามไปได้เลยครับ) นิตยสารเล่มนึงจะมีรายได้หลักมาจากสองทางด้วยกัน คือ ยอดขายแผง+สมาชิก และโฆษณา ซึ่งโดยรวมๆ เฉลี่ยของวงการสัดส่วนรายได้จะอยู่ที่ประมาณ ๒๐/๘๐ คือ ยอดขายแผง+สมาชิก ได้ ๒๐% อีก ๘๐% มาจากโฆษณา (เล่มที่ผมเคยทำนี่สัดส่วนยอดขายแผงสูงกว่านี้หน่อย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเราขายแผงและสมาชิกได้เยอะ หรือว่าเราขายโฆษณาได้น้อยกันแน่ นี่กูจะขำ หรือเศร้าดี 5555) และถ้าเล่มไหนที่หัวใหญ่ มีพลังเยอะ ก็อาจจัดอีเวนต์เป็นรายได้เพิ่มอีกทาง"
 
แต่ด้วยความนิยมอ่านหนังสือในรูปแบบดั้งเดิมลดลง  เอเยนซี่และแบรนด์โฆษณาก็ย้ายออก  เท่าที่ทราบมาราคาโฆษณาในสื่อดิจิตอลก็ถูกกว่า  สามารถจัดทำรูปแบบการโฆษณาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายตรงตามความต้องการ  วัดผลได้แม่นยำขึ้น  รายได้จากการโฆษณาที่สิ่งพิมพ์ในรูปแบบเดิมได้รับจึงหมดไป  สังเกตจากนิตยสารผู้หญิงที่เคยเล่มหนาชนิดถ้านอนอ่านแล้วหล่นใส่หน้านี่เจ็บน้ำตาร่วง  ก็เหลือเล่มบางๆ กัน  ดิฉันได้อ่านหนังสือ Health&Quisine ในเครืออมรินทร์ ฉบับสุดท้ายก่อนปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 (เสียดายที่ให้คนที่จำเป็นต้องใช้ไปแล้ว)  คุณเมตตา อุทกะพันธ์ แจ้งว่ายอดตีพิมพ์ลดลงไม่มาก  แต่รายได้จากโฆษณาลดลงจนไม่คุ้มที่จะพิมพ์จำหน่ายอีกต่อไป  ซึ่งน่าเสียดายมากเพราะเป็นหนังสือที่ประณีตสวยงามและมีตำราอาหารอร่อยๆ ที่ทำไม่ยาก  ยังคิดว่าในเครืออมรินทร์น่าจะเป็นเล่มอื่นที่ต้องปิดตัวก่อน  โดยเฉพาะนิตยสารเกี่ยวกับบ้านซึ่งมีอยู่ 3 หัว  ไม่คิดว่าจะเป็น Health&Quisine

แต่ที่น่าทึ่งมากคือเครือต่วยตูน  ที่ทั้งพ็อคเก็ตบุ๊คและต่วยตูนพิเศษยังยืนหยัดอยู่ได้  (ล่าสุดต่วยตูนพิเศษขึ้นราคาเป็น 100 บาทแล้ว  จากราคาเมื่อตีพิมพ์ฉบับปฐมฤกษ์ 3 บาท)  เล่มล่าสุดก็ยังมีผู้ใจดีอุปถัมภ์สมัครสมาชิกให้โรงเรียนต่างๆ อีกหลายโรงเรียน  อาจเป็นเพราะเขาไม่ได้พึ่งโฆษณามาตั้งแต่แรกเลยรับมือได้ดีกว่าหนังสือที่อิงโฆษณา
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 19 ธ.ค. 17, 00:56

หนังสือที่เหลืออยู่ "กุลสตรี" ยังอยู่ดีไหมหนอ
ใครพอได้ข่าวไรบ้างไหมครับ
เหลือติดแผงอีกสักปี ใครๆไปหมด เดี๋ยวร้านทำผมเหงาแย่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 19 ธ.ค. 17, 21:23

กุลสตรียังอยู่ค่ะ   
นิตยสารบางเล่มก็ไปทำออนไลน์ เปฺดเพจเฟซบุ๊ค ยกเฉพาะคอลัมน์ที่คิดว่าน่าสนใจสำหรับคนอ่านเฟซไปลง
กุลสตรีก็ทำเหมือนกันค่ะ

เข้าร้านทำผม ลูกค้านั่งจิ้มมือถือกันทุกคนค่ะ   ไม่มีนิตยสารวางเป็นตั้งให้อ่านอย่างเมื่อก่อนแล้วด้วย
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 21 ธ.ค. 17, 20:42

วันนี้ดูรายการย้อนหลัง ช่องไทยรัฐที่คุณจอมขวัญเชิญคุณดำรงมาออกรายการ

คุณดำรงเล่าว่าแม่บ้านในสำนักพิมพ์ พอว่างก็จะช่วยรับโทรศัพท์บ้าง ตัดจดหมายทางบ้านที่ส่งมาคุยกับ บก. บ้าง
แม่บ้านสังเกตมาพักใหญ่แล้วว่า จม. ไม่มี โทรศัพท์ไม่ดัง
ทำหนังสือแล้วคนไม่ซื้อ โฆษณาไม่เข้า แล้วจะอยู่ได้ไหมนี่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 21 ธ.ค. 17, 20:59

เราจะพูดใหม่ได้ไหมว่า คนไทยทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าไม่อ่านหนังสือ   แต่เขาไปอ่านหนังสือที่ไม่ได้พิมพ์บนกระดาษต่างหาก
หนังสือที่เป็นสิ่งพิมพ์จึงประสบความผันผวนอย่างแรง    ขณะที่หนังสือที่พิมพ์บนจอ ส่งผ่านคลื่น  กำลังเฟื่องฟูขึ้นมาแทน

มองในแง่ของคนอ่าน  ตั้งแต่มีอินทรเนตร  ดิฉันได้อ่านอะไรที่ไม่มีโอกาสได้อ่านในหนังสือที่เป็นสิ่งพิมพ์  มากจนนึกไม่ถึง 
ยกตัวอย่าง สมัยเรียนครูสั่งให้อ่านหนังสือเป็นตั้งๆเอามาอภิปรายกันในชั้น   ทีนี้ ภาษามันยาก  ก็อ่านได้ช้า  บางเล่มอ่านไม่รู้เรื่องเลย และอ่านไม่จบด้วย    จำได้ว่ามันติดข้องอยู่ในใจมานาน
เช่นเรื่อง The Man of Property ของ John Galsworthy 
ในห้องสมุดของที่ทำงานไม่มีเรื่องนี้   ในร้านหนังสืออย่างเอเชียบุ๊คและดวงกมลก็ไม่มี   แต่ถึงมีก็คงไม่ซื้อเพราะคงอ่านไม่จบอีก 
มาอ่านรู้เรื่องเป็นครั้งแรกจากกูเกิ้ล เมื่อลองไปหาดูแล้วพบเรื่องย่อ   เลยรู้ว่าอ๋อ เป็นยังงี้เอง

วรรณกรรมเก่าๆที่หาซื้อไม่ได้อีกแล้ว ในประเทศไทยไม่มีสักเล่มเดียว บัดนี้จะหาอ่านเท่าไหร่ก็หาได้เพราะหมดลิขสิทธิ์แล้ว ก็มีเว็บนำลงให้อ่านฟรี
ข่าวคราวบางอย่างที่เราไม่มีโอกาสรู้เลยถ้าไม่มีนิตยสารหรือคอลัมน์ไหนลงเรื่องให้รู้   บัดนี้จะเอาสักเท่าไหร่ก็ได้   เช่นรู้ว่าดาราที่เคยติดใจตามชมภาพยนตร์ของเขาและเธออย่างสนุกสนานในวัยเด็ก  บัดนี้ถ้าไม่กลายเป็นคุณทวดก็ขึ้นสวรรค์กันไปหมดแล้ว 
อย่างภาพยนตร์ชุด Bewitched  ไปสวรรค์กันยกทีม 

ดิฉันก็เลยรู้สึกว่า เก่าไปใหม่มา  ก็มีดีมาชดเชยสิ่งที่เสียไปได้เช่นกันค่ะ   
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 02:30

การกำเนิดของสมาร์ทโฟน และเท็บเล็ตน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
เมืองไทยเรามีอินทรเนตรเมื่อประมาณปี 199X กว่าๆ คนอ่านเรื่องราวทางเนตมากขึ้นแต่ยังไม่ถึงกับทิ้งสื่อสิ่งพิมพ์เสียทีเดียวเพราะต้องอ่านจากคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็ computer laptop ซึ่งแน่นอนว่ามันอุ้ยอ้ายพกพายาก ดังนั้นการซื้อหนังสือนิตยสารเป็นเล่มๆถือติดมือไปอ่านที่โน่นที่นี่เช่นไปรอแฟน รอเพื่อนหรือแม้กระทั่ง..ยามปลดทุกข์ ฯลฯ ก็ยังเป็นทางเลือกของคนส่วนใหญ่อยู่
แต่พอมี iphone รุ่นแรกขึ้นมาประมาณปี 2007 ซึ่งมันก็คือคอมพิวเตอร์ส่วนตัวดีๆนี่เองที่ติดต่อกับโลกอินทรเนตรได้ทั้งหมด แค่พกเท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนที่หน้าจอใหญ่ๆหน่อยก็อ่านหนังสือได้ไม่จำกันที่ แล้วดันมีสื่อโซเชียลอย่างเฟสบุ๊คขึ้นมาอีก ตอนนี้ใครๆก็กลายเป็นนักข่าว กลายเป็นนักเขียนกันได้ง่ายๆ จากผู้อ่านอย่างเดียวก็กลายเป็นผู้เขียนกันบ้าง เพราะเฟสบุ๊คเชื่อมต่อผู้ใช้ให้ถึงกันได้อย่างรวดเร็วเขียนอะไรลงไปในหน้าเพจแล้วมีการกดไลค์กดแชร์มันก็กระจายไปได้รวดเร็ว เรียกว่านอกจากอุปกรณ์จะสะดวกกว่าแล้ว สื่อโซเชียลที่มีพลังการกระจายข้อมูลสูง ก็ดึงดูดความสนใจและเวลาของผู้อ่านไปจากหนังสือสิ่งพิมพ์ทั้งหลายทั้งสิ้นด้วยประการฉะนี้แล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 10:47

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 17:01


นิตยสารในไทยเคยมีมากกว่า 200 หัวบนแผงหนังสือ แต่ทยอยปิดตัวไปกว่าครึ่ง ในรอบสองสามปีมานี้การปรับตัวให้อยู่รอดมีทั้งเปลี่ยนจากรายปักษ์เป็นรายเดือน ลดปริมาณหน้ากระดาษลง เพื่อลดต้นทุนและหันไปทำอี-แม็กกาซีน นำเสนอเนื้อหาทางออนไลน์

ผู้บริหารนิตยสารกุลสตรียอมรับว่าแม้มีแฟนประจำ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยทำงาน แต่ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากเล่มอื่นๆ การอยู่ให้รอดใช้วิธีปรับเปลี่ยนเนื้อหาคอลัมน์ให้ทันสมัย แต่ก็ยังคงมีเอกลักษณ์มีนวนิยายเรื่องยาว 6 เรื่องต่อฉบับ หาเซเลบขึ้นปกให้โดนใจ และปรับรูปลักษณ์และสาระให้เข้ากับสื่อออนไลน์ด้วย ทั้งลงในเว็บไซต์ kullastreemag.com และโซเชียลมีเดีย โดยปีที่ผ่านมายอดสั่งซื้อนิตยสารผ่านทางออนไลน์เติบโตขึ้นมาก

ระยะหลังกุลสตรีซึ่งจำหน่ายรายเดือนมียอดพิมพ์เป็นแสนเล่ม ผู้บริหารเชื่อว่าธุรกิจยังคงไปได้ เพราะการอ่านในกระดาษมีคุณค่าในตัวเอง ยังมีลูกค้า แต่ต้องปรับตัวอย่างมากและสร้างความโดดเด่นในทุกฉบับ

http://www.tnamcot.com/view/5a38e4a0e3f8e420ab433d78
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 29 ธ.ค. 17, 17:19

ทางรอดอีกทางของนิตยสารคือ อี แมกกาซีน ค่ะ  สมัครสมาชิกแล้วล็อคอินเข้าไปอ่าน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.111 วินาที กับ 20 คำสั่ง