เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 20054 ฤาจะหมดแผงเข้าไปทุกทีทุกที
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 พ.ย. 17, 11:45

พอได้รู้ก็ยิ่งใจหาย
ตอนเด็ก เติบโตมากับ บางกอก สกุลไทย หญิงไทย ขวัญเรือน ที่อาศัยอ่านของแม่ จนติด และอ่านทุกตัวอักษรไม่เว้นโฆษณา
อ่านจนจำได้ว่าฉบับไหน วางแผงวันไหน และคอยเร่งแม่ให้ไปซื้อ

ยุคนี้ ไปที่แผงหนังสือแล้วสะท้อนใจ สงสัยกลับไปบ้านคงต้องรื้อของเก่าๆมาอ่านระลึกความหลัง
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 พ.ย. 17, 12:50


ตอนเด็ก เติบโตมากับ บางกอก สกุลไทย หญิงไทย ขวัญเรือน ที่อาศัยอ่านของแม่ จนติด...
ยุคนี้ ไปที่แผงหนังสือแล้วสะท้อนใจ สงสัยกลับไปบ้านคงต้องรื้อของเก่าๆมาอ่านระลึกความหลัง


ผมไปอัพเดทรายชื่อหนังสือที่ยังมีชีวิต (ชีวา?)
เล่มที่คล้ายขวัญเรือน ยังมีอยู่หนึ่งปกครับ
เล่มที่คล้ายพลอยแกมเพชร ก็ยังมีอยู่อีกหนึ่งปก เป็นของค่ายใหญ่ สายป่านน่าจะยาว
เมื่อคู่แข่งเหลือน้อยลง หวังว่าวิกฤตจะกลายเป็นโอกาสยืดลมหายใจ


ข้างบ้านผมสมัยก่อนเป็นร้านทำฟันแบบจีน
รับ "สตรีสาร" ให้คนอ่านขณะรอคิว ผมวิ่งเข้าออกบ้านหมอฟัน พลิกอ่านคอลัมน์ที่ชอบ
เป็นเรืองสำหรับเด็กเขียนโดยคุณบรรจบ พันธุเมธา (ถ้าจำไม่ผิด)

มาได้ยินชื่อท่านอีกทีจากคุณเพ็ญชมพู ที่แนะนำ "กาเลหม่านไต"
ผมสั่งหนังสือมาแล้ว คารวะความบากบั่นของท่านที่บุกป่าฝ่าอัสสัมเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน
ปัจจุบันยังแย่ ถนนหนทางสมัยก่อนไม่รู้ว่าจะแย่แค่ไหน
ที่อ่านกาเลหม่านไตแล้วหงุดหงิดนิดนึง คือท่านอาจารย์บรรจบเอ่ยชื่อเมืองเป็นภาษาไทย
ต้องอ่านไปนึกไปว่าตรงกับชื่ออังกฤษอะไร เช่น อ๋อ Dibrugarh
บางทีก็ถอดไม่ออกว่าคือเมืองอะไรแน่
อัสสัมอยู่ปลายจมูก ไปกี่ครั้งก็สนุกทุกครั้ง คราวหน้าจะตามรอย อ. บรรจบ ครับ

นิตยสาร สตรีสาร ได้รับรางวัลพระเกี้ยวทองคำ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในฐานะนิตยสารส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. 2530 จนดำเนินการถึงปี 2539 จึงได้ปิดตัวลงไป (วิกิ)
ประเทศไทยยังต้องการนิตยสารดีๆ ที่ช่วยส่งเสริมภาษาไทย
ถ้าสื่อที่ส่งเสริมภาษาไทยทยอยปิดลง อีกหน่อยภาษาไทยของเยาวชนจะแย่
คงจะเป็นเหมือนอาจารย์เทาฯ กล่าวไว้ คือ ห้วนๆ สั้นๆ สไตล์แชท
บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร สาธกโวหาร และเทศนาโวหาร คงสูญสิ้น

บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 พ.ย. 17, 13:49

“เนชั่นสุดสัปดาห์” ฉบับสุดท้ายก่อนลาแผง “เทพชัย” ชี้ “พายุออนไลน์” เกินกำลังสื่อจะรับได้

https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000056378

ทั้งนี้ พายุของความเปลี่ยนแปลงลูกล่าสุด ดูจะเกินกำลังของคนในวงการสื่อไทยที่จะรับมือได้
ความจริงมันไม่ได้ถาโถมใส่เฉพาะสื่อในประเทศไทยเท่านั้น แต่สื่อทั่วโลกก็โดนกระหน่ำกันถ้วนหน้า
ทุกวันนี้สื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้มีความหมายต่อสังคมมากเหมือนที่เคยเป็น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ทำให้
เราเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลา เราสามารถรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้แทบจะทันที
ผ่านทางโทรศัพท์มือถือโดยไม่ต้องเดินไปที่แผงหนังสือ หรือเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ด้วยซ้ำ
คนรุ่นใหม่แทบไม่แตะหนังสือพิมพ์ด้วยซ้ำ เพราะทุกอย่างที่อยากรู้อยากเห็นวิ่งเข้ามาหาผ่านทางมือถือ
หรือเครื่องมือสื่อสารยุคใหม่ในรูปแบบอื่นๆ ตลอดเวลา
      
       “เนชั่นสุดสัปดาห์ เห็นความเปลี่ยนแปลงนี้ และได้พยายามปรับตัวมาตลอด เราเป็นสื่อแรกๆ
ที่ขยายตัวเข้าไปในโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดีย เพื่อให้เข้าถึงท่านผู้อ่านได้รวดเร็วและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
แต่แม้กระนั้นก็ตาม การปรับตัวของเราก็ไม่สามารถช่วยให้เรายืนต้านกระแสความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ต่อไปได้
ด้วยยอดผู้อ่านที่ลดลง และการสนับสนุนจากบรรดาสปอนเซอร์ที่หันเหไปหาสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
ทำให้เราต้องตัดสินใจทำในสิ่งที่เราพยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด เราจำเป็นต้องยุติเนชั่นสุดสัปดาห์
ในรูปแบบของนิตยสารรายสัปดาห์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เราจะยุติบทบาทการรายงานและวิเคราะห์
เหตุการณ์บ้านเมือง” นายเทพชัย กล่าว

------------

เล่มที่ยังแข็งแรง (รายวันหรือสัปดาห์) มีคนจอดรถถามซื้อ เป็นประเภทมือเท้าเข่าศอก
ช่วงไหนปิดฤดูกาลยอดก็ตก วันไหนมีแข่งก็คึกคัก การพนันก็มีส่วน
หนังสือพวกนี้เป็นประเภทรายงานผล วิเคราะห์ ได้เสีย อัตราต่อรอง มิใช่ประเภทส่งเสริมภาษาไทยเป็นแน่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 พ.ย. 17, 22:02

เพิ่งรู้จากค.ห.นี้เองว่าเนชั่นสุดสัปดาห์จากไปอีก ๑ รายแล้ว
เครือเนชั่นถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ตนหนึ่งในวงการ  มีแขนมีขาหลากหลายราวกับทศกัณฐ์    เมื่อต้องตัดแขนขาออกไปบ้างอย่างตอนนี้ก็ทำให้คนอ่านใจหายเป็นธรรมดาค่ะ

จริงที่คุณเทพชัยว่า  ส่วนสำคัญที่สุดของข่าวสารที่คนต้องการเสพ คือความรวดเร็วฉับไวของข่าว    มือถือรายงานข่าวได้เร็วกว่าสิ่งพิมพ์หรือแม้แต่โทรทัศน์    สมมุติว่ามือปืนกำลังกราดยิงผู้คนอยู่ในซีกโลกตะวันตกโน้น   แทบว่ากระสุนยังไม่หมดแม็ก   ผู้รอดตายก็ส่งภาพหรือคลิปวิดีโอเข้าโซเชียลมิเดียได้ทันเหตุการณ์แล้ว    โทรทัศน์อาจจะแจ้งข่าวด่วนตามมาทันภายในครึ่งชั่วโมง   ส่วนหนังสือพิมพ์ต้องรอจนเช้า   ถึงตอนนั้น ข่าวก็ไม่น่าตื่นเต้นอีกต่อไป

ทางรอดของหนังสือพิมพ์ ตอนนี้ก็คงจะมีออนไลน์ไปก่อน   หล่อเลี้ยงโดยสปอนเซอร์  เพราะคนอ่านชินกับของฟรีอยู่แล้ว


บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 พ.ย. 17, 22:38

การเมืองรายสัปดาห์เหลือ ๒ ปก คือ มติชน และสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ครับ

ปล หากวารสารจะอำลาแผง กรณีที่นิยายแต่ละเรื่องยังไม่รูดม่าน
เขาทำอย่างไรครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 พ.ย. 17, 08:29

นักเขียนก็เขียนต่อจนจบ   แล้วให้สนพ.รวมเล่มค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 พ.ย. 17, 08:38

ฝันร้ายของคนรักหนังสือ/สิ่งพิมพ์ (๓)

สาเหตุสำคัญอีกอย่างที่ทำให้หนังสือและสิ่งพิมพ์เสียเปรียบออนไลน์ ก็คือ  ในโลกออนไลน์ ทุกอย่างฟรี    แต่ในโลกที่สื่อสารด้วยกระดาษ ทุกอย่างมีราคาค่างวด
ถ้าคุณรับหนังสือพิมพ์ ๓-๔ ฉบับทุกวัน  อ่านนิตยสารเดือนละ ๒-๓ เล่ม   ซื้อหนังสือเล่มอีกด้วยเวลาไปร้านหนังสือ   ค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมแล้วหลายพันบาทต่อเดือน    แต่ถ้าคุณหาอ่านทั้งหมดนี้ออนไลน์  มันฟรี  เสียเพียงค่ามือถือรายเดือนเดือนละไม่กี่ร้อยเท่านั้น
สำหรับหนุ่มสาวรายได้ขั้นต้นเดือนละ ๒-๓ หมื่น   ส่วนต่างของทั้งสองอย่างนี้มีความหมายกับพวกเขามาก    เขาก็ถอยจากการอ่านที่ต้องเสียเงินไปสู่การอ่านฟรี   นอกจากนี้เขาอาจพบว่า ข่าวสารต่างๆที่ลงในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ก็เอาไปจากโลกโซเชียลนั่นเอง  ถ้าเป็นงั้นก็เลิกซื้อ อ่านฟรีโดยตรงดีกว่า
ชีวิตทำงานของคนยุคนี้ ไม่ได้เริ่มแค่เช้าถึงเย็น  แต่เมื่อบวกการเดินทาง ชาวกรุงเริ่มตั้งแต่ก่อนสว่างไปจนถึงมืด  บางทีก็ดึก   คนต่างจังหวัดอาจจะใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า  แต่งานทั้งราชการและเอกชนบางแห่งไม่ว่าจังหวัดไหน กินเวลารวมไปถึงเสาร์อาทิตย์ด้วย  ในรูปของการอบรม สัมมนา ปฏิบัติการ  ดูงาน ฯลฯ สารพัดอย่าง
ทั้งหมดนี้ต่อให้เป็นคนรักหนังสือยังไงก็หอบหิ้วหนังสือติดตัวไปด้วยไม่ไหว     เวลาว่างน้อยนิดขณะเดินทาง หรือพักผ่อนก่อนเข้านอน อ่านอะไรจากมือถือดูจะง่ายและสะดวกที่สุด   ติดต่อกับแฟนหรือพ่อแม่พี่น้องทางบ้านก็ง่าย
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  เปิดทางให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท  รูปแบบการอ่านเดิมๆก็ถูกเบียดแทรกจนตกเวทีไป

หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษ ต่อไปจะเป็นความบันเทิงใจเฉพาะกลุ่ม คือกลุ่มคนสูงวัย หรือหนุ่มสาวที่ชอบอ่านอะไรยาวๆ และไม่อยากเคืองตากับแสงหน้าจอ    แต่คนกลุ่มนี้ ก็ต้องมีเงินในกระเป๋ามากพอจะอุดหนุนราคาหนังสือ ที่ยิ่งพิมพ์น้อยลงราคาอาจจะแพงมากขึ้นด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 พ.ย. 17, 19:14

การเมืองรายสัปดาห์เหลือ ๒ ปก คือ มติชน และสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ครับ

ปล หากวารสารจะอำลาแผง กรณีที่นิยายแต่ละเรื่องยังไม่รูดม่าน
เขาทำอย่างไรครับ

ตอบไปข้างบนนี้แล้วว่า นักเขียนก็เขียนไปจนจบ แล้วส่งสำนักพิมพ์รวมเล่มค่ะ
ตอบไปแล้วนึกได้ว่า น่าจะขยายความได้อีกหน่อย ก็คือ การสิ้นสุดของนิตยสาร ไม่ได้มีผลกระทบกระเทือนแค่ผู้บริหารและทีมงานเท่านั้น
นักเขียนไม่ว่านวนิยายหรือคอลัมน์ประจำก็โดนซึนามิถล่มไปเต็มๆ
พูดถึงด้านนวนิยาย   รายได้หลักมาจากการเขียนเป็นตอนๆ    รายได้จากการรวมเล่ม(ถ้าไม่ได้พิมพ์เองขายเอง) มีน้อยกว่าหลายเท่า
นอกจากนี้ การเขียนเป็นตอนๆ เท่ากับการประชาสัมพันธ์นวนิยายไปด้วยในตัว สำหรับผู้จัดละครโทรทัศน์    แค่อ่านไม่กี่ตอน ก็อาจเกิดความสนใจ ขอจองหรือขอซื้อไว้ก่อนเรื่องจะจบก็ทำได้
เมื่อไม่มีสนามนิตยสารจะลง   ผู้จัดละครก็ไม่รู้ว่าจะไปตามอ่านนวนิยายใหม่ๆของนักเขียนเหล่านั้นได้ที่ไหน  ก็ทำให้เกิดทางตันสำหรับนักเขียนขึ้นมาเช่นกัน
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 พ.ย. 17, 22:34

ขอบคุณครับ

อาจารย์พอทราบไหมครับ ลิขสิทธิ์ของนิยายที่ไปทำละครทีวี
ราคา "ต่ำสุด" ที่เคยมีการตกลงกัน เป็นเลขกี่หลักครับ
ไม่นับเรืองท่ปลอดลิขสิทธิ์ที่เอาไปทำฟรีได้


ปล. หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่ยังอยู่ตกสำรวจไป 1 ฉบับ
คือ ผู้จัดการรายสัปดาห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 23 พ.ย. 17, 09:42

เคยอ่านพบใน pantip ว่านักเขียนใหม่ได้ค่าลิขสิทธิ์เป็นเลข ๕ หลักค่ะ  แต่จะหลักมากหลักน้อย ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่เคยถาม
ส่วนเงื่อนไขอื่นๆก็แล้วแต่จะตกลงกัน    ส่วนใหญ่ทางช่องจะมีฟอร์มสัญญามาให้เซ็น  แต่นักเขียนส่วนน้อยบางคนเป็นข้อยกเว้น คือมีสัญญาของตัวเอง
สัญญาพวกนี้คือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์  ไม่ใช่สัญญาขายลิขสิทธิ์    ถ้าขายลิขสิทธิ์ไป เท่ากับผลงานหลุดลอยจากนักเขียนไปเลยค่ะ

กฎหมายบ้านเราเก็บภาษีค่อนข้างแรงกับค่าลิขสิทธิ์ อาจเป็นเพราะเห็นว่าต้นทุนซึ่งเป็นนามธรรม เช่นแรงสมอง ประสบการณ์ชีวิต การค้นคว้าฯลฯ ไม่นับเป็นต้นทุนทางรูปธรรมได้  ไม่เหมือนการผลิตสินค้าทั่วไปที่มีต้นทุนจับต้องได้   
นอกจากนี้สำนักพิมพ์ต่างๆก็มีการหักค่าใช้จ่ายในการพิมพ์สูงมาก   รวมทั้งค่าสายส่งด้วย    ผิดกับอเมริกา นักเขียนได้ 50/50 กับสำนักพิมพ์  พิมพ์จำหน่ายทั่วโลกด้วย  เรียกว่าถ้าเป็นนักเขียนเบสเซลเลอร์ ก็เป็นเจ้าสัวไปตามๆกัน    แต่ภาษีเขาก็โหดกว่าของเรามากเช่นกัน

กลับมาทางวงการหนังสือไทย    มองในแง่ธุรกิจ  การเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์เป็นเทคโนโลยี  จะว่ามีผลลบโดยสิ้นเชิงกับนักเขียนก็ไม่ใช่   เพราะทำ e book คิดกำไรเป็น %  นักเขียนได้มากกว่าพิมพ์เล่มกระดาษหลายเท่า   แต่คนอ่านอีบุ๊คยังมีน้อยกว่าคนอ่านหนังสือเล่มค่ะ
บันทึกการเข้า
สองล้อ
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 05 ธ.ค. 17, 18:43

นิยายสมัยใหม่ก็แบบว่านะครับทำแบบขอไปที ไม่ได้เกิดความรู้สึกน่าอ่านเลย ผมเองคอนิยายกำลังภายในสมัยนี้ก็ไม่ได้ซื้ออ่านแล้วครับ หนังสือแบบเป็นเล่มเองก็ซื้อเก็บเฉพาะที่ชอบจริงๆ อีกข้อการละเมิดลิขสิทธิ์ก็ทำกันง่ายมากกว่าเดิม อ่านฟรีดูฟรีก็มีคนใจดีคอยแจก มีคนสปอยล์ไว้
คิดไปก็ลำบากพอดูเลยต้องหันไปอ่านนิยายต่างประเทศแทน ถึงแม้จะไม่เก่งภาษาก็พองูๆปลาๆไปได้ เลยจัดเจ้า amazon kindle มาก็สะดวกสบายดีครับไม่ต้องไปนั่งเดินเลือก ไม่ต้องลุ้นว่ามีของไหม สภาพเล่มยับเยินเพียงใด จ่ายเงิน โหลด อ่านจบ แค่นั้นเอง ความรู้สึกจับต้องเล่ม ความเป็นเจ้าของมันก็เลยค่อยๆเสื่อมหายไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 05 ธ.ค. 17, 20:18

เคยอ่านหนังสือผ่านอุปกรณ์พวกนี้เหมือนกันค่ะ     เขาคุยว่าแสงมันถนอมสายตามากกว่าหนังสือ   แต่ความเคยชินทำให้รู้สึกว่ารูปเล่มไม่เหมือนกัน จะพลิกหน้ากระดาษก็ไม่มีให้พลิก 
แต่อีกหน่อย หนังสืออาจหายากขึ้น  ก็ต้องกลับไปเลื่อนหน้าจอเอาละค่ะ

สิ่งที่ดีคือหนังสือคลาสสิคเก่าๆที่หาซื้อในรูปเล่มกระดาษได้ยากเย็นมหาศาล  แถมฉบับได้มายังเก่าคร่ำคร่า   เขาถ่ายลงจอให้อ่านง่ายขึ้นเยอะ  แถมยังหาได้สะดวกอีกด้วย  อ่านฟรีหรือไม่ก็เสียเงินน้อยกว่าซื้อเล่มอีกต่างหาก
บันทึกการเข้า
สองล้อ
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 05 ธ.ค. 17, 21:39

เคยอ่านหนังสือผ่านอุปกรณ์พวกนี้เหมือนกันค่ะ     เขาคุยว่าแสงมันถนอมสายตามากกว่าหนังสือ   แต่ความเคยชินทำให้รู้สึกว่ารูปเล่มไม่เหมือนกัน จะพลิกหน้ากระดาษก็ไม่มีให้พลิก 
แต่อีกหน่อย หนังสืออาจหายากขึ้น  ก็ต้องกลับไปเลื่อนหน้าจอเอาละค่ะ

ใช่ครับอาจารย์ ผมเองแต่ได้มาก็ไม่ค่อยใส่ใจอ่านนัก เพราะมันคนละอารมณ์กัน อ่านจากจอภาพมันก็แปปๆ เบื่อ เลยหันไปซื้อหนังสือเล่มเข้ามาทับกันอีก ทีนี้ซื้อไปซื้อมาเริ่มรู้สึกผิดกับเจ้า หนังสือบนจอ เลยต้องอ่านจนเกิดความเคยชินไป กลายเป็นติดนิสัยสบาย ไปไหนมาไหนไกลๆเมื่อก่อนต้องพกนิยายไปหลายๆเล่ม เดี๋ยวนี้ก็ เครื่องเดียวจบ ไม่หนัก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ธ.ค. 17, 09:46

คนรุ่นที่เกิดในยุคมิลเลนเนียม ตอนนี้ก็โตเข้าสู่วัยรุ่น 17 ปีแล้ว  น่าจะคุ้นกับหนังสือจากจอมากกว่าหนังสือเล่ม   ที่สำคัญคือพกพาสะดวก อย่างที่ว่า
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ธ.ค. 17, 13:11

ต่อไปคิดว่าจะมีนักเขียนอาชีพย้ายค่ายไปเขียนลง นสพ รายวัน บ้างไหมครับ
เช่น นวนิยายประจำวันอาทิตย์ หรือจันทร์ ทำนองนี้ครับ

ปล. แต่ นสพ. รายวัน เขามักมีเรื่องย่อละคร ลงเป็นตอนๆ อยู่แล้ว อาจซ้ำซ้อนกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง