เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 20120 ฤาจะหมดแผงเข้าไปทุกทีทุกที
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 06 ธ.ค. 17, 13:57

ไม่น่าจะมีนะคะ
ผู้อ่านกลุ่มเป้าหมายของน.ส.พ.รายวันไม่ใช่คอนวนิยาย     แต่เป็นผู้เสพข่าวสารและคอลัมน์การเมือง/สังคม    มีคอละครทีวีอยู่ส่วนหนึ่งด้วย  จึงมีเรื่องในละครทีวีหลังข่าวลงตอบสนองคนอ่านกลุ่มนี้
หลายสิบปีมาแล้ว  น.ส.พ.บางฉบับอย่างไทยรัฐเคยลงนิยายไทยเป็นตอนๆและนิยายกำลังภายใน      แต่นั่นก็หลายสิบปีแล้ว  ความนิยมก็คงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
การปิดตัวของนิตยสารเก่าแก่ยาวนานอย่างบางกอก และสกุลไทย ตลอดจนนิตยสารอื่นๆที่อายุยืนนานมาหลายทศวรรษ  เป็นการยืนยันได้ว่าคนอ่านยุคนี้มีทางเลือกความบันเทิงที่ไม่ใช่นิยายเป็นตัวนำอีกแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
naga
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 07:54

จำความได้ ก็มีสกุลไทยเป้นพี่เลี้ยง โตมาอีกหน่อยมีเพื่อนชื่อ ดิฉัน และตามด้วยเพื่อนใหม่ พลอยแกมเพชร ครั้นวัยศีกษาได้เพื่อนสนิทใหม่ สารคดีและศิลปวัฒนธรรม
บันทึกการเข้า
TreeSira
อสุรผัด
*
ตอบ: 2



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 10:04

ความที่โลกยังคงหมุนอยู่
ก็เลยทำให้พัฒนาการหลายๆ ด้านยังคงเดินหน้าของมันต่อไป
เมื่อก่อนมีใครเคยรู้ว่า จะเอากล่องเหล็กใส่ปีก ขึ้นไปบินบนฟ้าได้อย่างไร

เมื่อก่อนผมก็เป็นสมาชิกหนังสือหลายเล่ม
พอมาอายุปูนนี้ ก็ต้องโล๊ะหนังสือเก่าไปถวายห้องสมุดวัดเสียมากต่อมาก เพราะไม่มีที่จะเก็บ

ทุกวันนี้ก็อาศัย download หนังสือที่เขาอนุญาตให้ download มาเก็บไว้
หาง่าย... ไปไหนก็อ่านได้ เพราะอยู่ในโทรศัพท์
บันทึกการเข้า
TreeSira
อสุรผัด
*
ตอบ: 2



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 10:11

https://archive.org/details/thaicremationcopy

อันนี้เอามาแบ่งปันกันครับ
ผมได้ "ของ" ดีๆ จากที่นี่เยอะมาก
ขอขอบคุณท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 10:33

ขอบคุณค่ะ ที่นำมาแบ่งปัน
ดิฉันก็ได้อาศัยหนังสือในลิ้งค์นี้เยอะเหมือนกัน  ไม่ต้องไปถึงธรรมศาสตร์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 08:53

ล่าสุด  ข่าวเศร้าของร้านหนังสือ   ดอกหญ้าสยามสแควร์ประกาศปิดตัวสิ้นเดือนนี้

สู้ค่าเช่าไม่ไหว! ร้านหนังสือ “ดอกหญ้า” สาขาสยามฯ หมดสัญญาเช่าสิ้นเดือน ธ.ค.นี้
14:37น. 8 ธ.ค. 2560

https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/71283


บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 15:40

ข่าวนิตยสารดิฉันปิดตัว!? ทำหลายคนช็อก ฉบับสุดท้ายส่งท้ายปี

https://mgronline.com/celebonline/detail/9600000124129
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 15:51

ไมาทราบว่าคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และนิเทศฯ มหาวิทยาลัยต่างๆ
เขา downsizing ด้านการเรียนการสอนวารสาร (publishing) บ้างไหมครับ
ด้วยเหตุผลว่าตลาดรองรับแรงงานหดตัวลง
หรือว่างานวารสารเป็นพื้นฐานวิชาชีพที่สำคัญไม่ว่าบัณฑิตจะไปทำงานองค์กรไหน
ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไรมาก

นานมาแล้ว ผมไปเยี่ยมพี่ที่ทำงานในซานฟราน
ตกเย็นเรานั่งรถไฟกลับบ้านพี่ที่ซานโฮเซ ห่างไป 50-60 ไมล์
ผมจะซื้อ นสพ. อ่านเล่นฆ่าเวลา แต่พี่บอกให้รอสักครึ่งทาง เดี๋ยวมีของฟรี
พอคนเริ่มทยอยลงรถไฟ เขาทิ้ง นสพ. กรอบบ่ายไว้เกลื่อนรถ
พอรถไฟสุดสาย คนลงหมด นสพ. เกลื่อนรถ ไม่มีใครหอบเอาไปอ่านต่อที่บ้าน
ภาพแบบนี้ ปัจจุบันแทบมองไม่เห็น เพราะคนอ่านข่าวจากโทรศัพท์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 16:26

คุณเฮฮาเคยอ่านเจอข่าวนี้หรือยังคะ
อธิการบดี ม.กรุงเทพ ลั่นไม่ได้ยุบวารสารศาสตร์ - พบปรับโครงสร้างใหม่ “บรอดแคสต์ติ้งและวารสารศาสตร์ดิจิทัล”
https://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000081475

MGR Online - “เพชร โอสถานุเคราะห์” อธิการบดี ม.กรุงเทพ ปฏิเสธตัดสินใจปิดภาควิชาวารสารศาสตร์ แนะรอคณบดีและฝ่ายวิชาการชี้แจง อีกด้านพบปรับโครงสร้าง เปลี่ยนชื่อเป็น “ภาควิชาบรอดแคสต์ติ้งและวารสารศาสตร์ดิจิทัล”
       
       ความคืบหน้ากรณีที่มีรายงานว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะยุบภาควิชาวารสารศาสตร์ในคณะนิเทศศาสตร์ ไปรวมกับภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์แทน พร้อมกับได้มีการโยกย้ายอาจารย์ประจำภาควิชาวารศาสตร์ กระจายไปยังภาควิชาอื่นๆ โดยจะมีการประกาศถึงการปิดภาควิชาดังกล่าวในเร็วๆ นี้ กระทั่ง ดร.พีรชัย เกิดสินธุ์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ชี้แจงต่อศิษย์เก่า ว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่ได้ยุบภาควิชาวารสารศาสตร์ แต่เป็นการรวมหลักสูตรกับภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
       
       วันนี้ (10 ส.ค.) มีรายงานเพิ่มเติมว่า นายเพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Petch Osathanugrah” ระบุว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไม่เคยตัดสินใจปิดภาควิชาวารสารศาสตร์ อย่าเชื่อข่าวโคมลอย โดยให้ติดตามการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการจากคณบดีและฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัยอีกครั้ง
       
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 16:42

ขอบคุณครับ

ไม่่ถึงกับ close down
แต่คงเป็น down size

เพราะนักเรียนคงลงทะเบียนเรียนวารสารน้อยลง
ทางคณะคงต้องทำฉลากใหม่  เปลี่ยนชื่อภาควิชาให้ทันกระแส
ไม่ถึงกับเลิกจ้าง แต่อาจโอนย้ายบุคลากรไปทางดิจิตัล



ปล เมื่อเดือนที่แล้ว ผมไปแผงหนังสือเพื่อน
เพื่อนบอกแต่ว่าขวัญเรือนลาโรง แต่ไม่เห็นพูดว่าดิฉันก็รูดม่านด้วย เงียบเชียบจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 18:02

   "ภาควิชาบรอดแคสต์ติ้งและวารสารศาสตร์ดิจิทัล"   ชื่อภาควิชาบอกทิศทางของการสื่อสารได้ชัดว่าจะไปทางไหน   นศ.ที่เรียนจบถึงจะหางานทำในยุคนี้ได้นะคะ
   ยุคนี้น่าจะเป็นการสิ้นสุดของนิตยสาร/วารสารที่พิมพ์ลงกระดาษ    ต่อไปนิตยสาร/วารสาร ออนไลน์น่าจะเติบโตขึ้นเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ทั้งหลาย
    ฝรั่งหรือญี่ปุ่นที่นั่งรถไฟพลางอ่านหนังสือ(พิมพ์)  ในเจนเนอเรชั่นต่อไปคือนั่งอ่านข่าวและเรื่องราวทั้งหลายจากมือถือแทน
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 18:12

เราต้องทำนายอนาคตไปอีกหน่่อยนึงว่า
สื่อดิจิตัลจะมีรายได้ทางโฆษณาเท่านั้น
หรือสามารถเก็บค่าอ่านได้ด้วย (ถ้าทำได้ก็สุดยอด)


อยากทราบว่ายักษ์ใหญ่แบบ Times และ Newsweek
ประสบปัญหาเล็กน้อย หรือมากถึงขั้นบัลลังก์สะเทือนไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 18:59

        การสื่อสารออนไลน์เริ่มต้นด้วยของฟรี    เพื่อให้คนติด     ต่อไปติดแล้วไม่มีทางเลือกอื่น คงมีการจ่ายกันบ้าง เพราะเดี๋ยวนี้โอนเงินไปทั่วโลกง่ายแค่บอกเลขบัตรเครดิต   ผิดกับเมื่อก่อน ต้องไปถึงธนาคาร กรอกโน่นกรอกนี่กว่าจะโอนกันได้ 
       ยังไม่ได้ข่าวจะว่ายักษ์จะเซหรือไม่นะคะ    ต้องคอยดูกันต่อไป    ถ้าได้ข่าวแล้วจะกลับมาบอกในกระทู้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 20:00

ความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในโลกดิจิทัลที่จะเข้ามาแทนโลกอนาล็อคที่เรารู้จักกันมาในศตวรรษก่อน พิสูจน์ถึงคำของชาร์ลส์ ดาร์วินที่ว่าไว้เรื่อง Survival of the fittest   รูปแบบหนังสือที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด ถูกเบียดแทรกด้วยรูปแบบใหม่  แต่เนื้อหาอาจไม่ต่างไปจากเดิมเท่าไรนัก
คือถ้าไม่ยึดติดกรอบเดิม   เราก็จะได้อ่านข่าวเหมือนเดิม   เพียงแต่เลื่อนปลายนิ้วผ่านจอ ไม่ได้พลิกหน้ากระดาษกรอบแกรบ
อยากอ่านนิยายดังๆ ก็จะอ่านออนไลน์  ซื้ออีบุ๊ค    เพราะถ้านักเขียนไม่หันมาทางนี้กัน  ยังคงยึดถือการพิมพ์ขายทีละ 2000-3000 เล่มต่อครั้ง ก็จะมีแต่นักเขียนยอดนิยมเท่านั้นที่อยู่รอด ไม่จมหายไปในกระแสดิจิทัล
แทนที่จะมีสำนักพิมพ์ มีบก.คัดเลือกกลั่นกรองเรื่อง อย่างเมื่อก่อน    นักเขียนอาจจะต้องทำ blog  หรือมีเว็บอิสระของตัวเอง  รู้วิธีหาสปอนเซอร์  และหารายได้จากคนอ่านโดยตรง 

เคยอ่านพบว่านักเขียนรุ่นใหม่คนหนึ่ง ทำงานหารายได้สะสมไว้แล้วนำเงินนั้นมาพิมพ์หนังสือขายเอง   หนังสือขายได้น้อยมาก  เงินก็สูญ กำลังใจก็ร่อยหรอ     นึกเห็นใจเธอมาก แต่ความที่ไม่รู้จักกันก็เลยไม่อาจแนะนำว่า ถ้าเป็นดิฉันจะเก็บเงินรายได้ไว้ แล้วเขียนฟรีลง blog หรืออะไรก็ตามที่เขาเปิดโอกาสให้ลงฟรี   ทำแบบนี้แม้ว่าไม่ได้กำไร แต่ก็ไม่ขาดทุน  เงินในกระเป๋ายังอยู่ครบ 
เขียนแบบเปิดโอกาสให้คนอ่านเข้ามาแสดงความเห็นได้ จะได้รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง   จากนั้นอุดช่องโหว่ไปเรื่อยๆ  ในที่สุดพอยอดคนเข้ามาอ่านมากๆเข้า  หาสปอนเซอร์ก็จะง่ายขึ้นเอง   
การอยู่รอดต้องมีวิวัฒนาการค่ะ    เรากำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่  ไม่ต่างจากสมัยไดโนเสาร์เจอความเปลี่ยนแปลงขั้นวิกฤตของโลกเมื่อหลายพันล้านปีก่อนทีเดียว
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 ธ.ค. 17, 20:30



เคยอ่านพบว่านักเขียนรุ่นใหม่คนหนึ่ง ทำงานหารายได้สะสมไว้แล้วนำเงินนั้นมาพิมพ์หนังสือขายเอง  
หนังสือขายได้น้อยมาก  เงินก็สูญ กำลังใจก็ร่อยหรอ     นึกเห็นใจเธอมาก  


1) ที่พิมพ์เอง เพราะโรงพิมพ์ไม่รับ หรือว่าตัวเองอยากลองทำเองทั้งวงจรครับ
2) การที่โรงพิมพ์จะพิมพ์หรือไม่พิมพ์ เขาคิดหนักไหมครับ
ผมเห็นว่าการพิมพ์หนังสือเล่มของนักเขียนหน้าใหม่ มันเสี่ยงพอสมควร
หากคนอ่านไม่รู้จักเลย โรงพิมพ์อาจต้องแบกสตอคค้างนานสิบปี ผมเกรงว่าต้องขนมาเลหลังในงานหนังสือ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง