เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 10416 เตี่ยนจึ(钿子:dian zi): เครื่องประดับเกศาของราชวงศ์ชิงที่ถูกลืม
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:11

เมื่อเราพูดถึงราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะเหล่านางในของราชวงศ์ชิง เรามักจะเห็นภาพสตรีที่ใส่เครื่องประดับศรีษะขนาดใหญ่มโหฬารรูปใบพัด ไม่ก็มวยผมที่เกล้าใหญ่โตบนศรีษะ แต่ว่าจริงๆแล้วเครื่องประดับศรีษะของราชวงศ์ชิงยังมีอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมากไม่แพ้กับแบบข้างต้น นั้นคือ เตี่ยนจึ (钿子:dian zi) หรือหมวกคลุมศรีษะ

ภาพนางในกับเครื่องประดับศรีษะรูปพัด


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:20

หมวกคลุมศรีษะนี้ ภาษาจีนเรียกว่า เตี่ยนจึ(钿子)  คำๆนี้ อ่านได้สองเสียง แต่ละเสียงมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าอ่านว่าเตี่ยนจึ จะหมายถึงหมวกคลุมศรีษะ แต่ว่าถ้าอ่านว่า เที่ยนจึ จะหมายถึงเหรียญ

ความเป็นมาของหมวกคลุมศรีษะนี้มาจากประเพณีการไว้ผมดั้งเดิมของของสตรีชาวแมนจูที่จะไว้เปียยาว แล้วจะนำเปียผมมาเกล้าไว้ข้างหลังศรีษะ เพื่อป้องกันไม่ให้เปียนี้หลุดลุ่ย ดังนั้นสตรีชาวแมนจูจึงนำผ้ามาถักเป็นตาข่ายโปร่งๆ หรือนำผ้าขนสัตว์มาทำเป็นหมวกคลุมผม โดยฐานจะแคบ แต่ด้านหลังจะกว้างและแบนราบ ปรกตินิยมใช้ผ้าสีดำ ซึ่งหมวกแบบนี้จะกลายเป็นเครื่องประดับพื้นฐานของสตรีชาวแมนจูทั่วทุกระดับชั้น กระทั่งเมื่อชาวแมนจูได้ปกครองแผ่นดินจีน และรับอิทธิพลการประดับศรีษะใหม่ๆจากชาวจีนฮั่น หมวกดังกล่าวก็มิได้หายไปแต่อย่างใด ยามมีงานพระราชพิธีสำคัญ หรือพิธีทางการ สตรีบรรดาศักดิ์ชาวแมนจูจะใส่หมวกเครื่องยศเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นงานมงคล หรือพิธีทั่วไป สตรีชาวแมนจูก็ย่อมใส่หมวกคลุมศรีษะนี้

หมวกคลุมศรีษะสามารถแบ่งได้เป็นสี่แบบ ได้แก่ เตี่ยนจึแบบครึ่ง(半钿) เรียกว่าปั้นเตี่ยน เตี่ยนจึแบบเต็ม(满钿 )เรียกว่า หมานเตี่ยน เตี่ยนจึหงส์ (凤钿) เรียกว่า เฟิงเตี่ยน และเตี่ยนจึช่อดอกไม้(挑杆钿)เรียกว่า เทียวกันเตี่ยน

ตัวอย่างเตี่ยนจึสมัยราชวงศ์ชิง




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:29

หมวกคลุมศรีษะสามารถแบ่งได้เป็นสี่แบบ ได้แก่ เตี่ยนจึแบบครึ่ง(半钿) เรียกว่าปั้นเตี่ยน เตี่ยนจึแบบเต็ม(满钿 )เรียกว่า หมานเตี่ยน เตี่ยนจึหงส์ (凤钿) เรียกว่า เฟิงเตี่ยน และเตี่ยนจึช่อดอกไม้(挑杆钿)เรียกว่า เทียวกันเตี่ยน
เตี่ยนจึแบบดังเดิมที่สุดคือเตี่ยนจึแบบครึ่ง ซึ่งจะมีการประดับดาอัญมณีรูปทรงดอกไม้เป็นจำนวน ๗ ดอกเป็นพื้นฐาน ภายหลังเมื่อราชสำนักชิงเริ่มพัฒนารูปแบบหรูหราขึ้นเรื่อยๆ ในรัชสมัยพระเจ้าหยงเจิ่น และพระเจ้าเฉียนหลง การประดับประดาดอกไม้อัญมณีเพียง ๗ ดอกเป็นพื้นฐานดูจะน้อยไป จึงมีการทำเพิ่มเป็น ๑๕ ดอกเป็นลายพื้นฐาน ยังไม่รวมลายประดับ ซึ่งแบบนี้จะเรียกว่า เตี่ยนจึแบบเต็ม และในยุคสมัยเดียวกันก็มีการปรับปรุงดอกไม้อัญมณีเป็นรูปหงส์ใช้ประดับเตี่ยนจึ เรียกว่า เตี่ยนจึหงส์ ภายหลังเมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระเจ้ากวงซู เตี่ยนจึแบบใหม่ก็ได้พัฒนาขึ้น เรียกว่าเตี่ยนจึแบบช่อดอกไม้ ซึ่งเป็นการเอาช่อดอกไม้ และปิ่นระย้ามาประดับไว้ข้างหน้าของเตี่ยนจึสองข้าง คล้ายๆกับเขา เพียงแต่เป็นเขาดอกไม้ รูปแบบนี้เป็นที่นิยมมากในยุคปลายราชวงศ์ชิงช่วงพระเจ้ากวงซู
ในกระบวนเตี่ยนจึที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ศักดิ์สูงที่สุดคือเตี่ยนจึแบบช่อดอกไม้ รองลงมาเป็นเตี่ยนจึหงส์ เตี่ยนจึแบบเต็ม และเตี่ยนจึแบบครึ่งตามลำดับ


เตี่ยนจึนี้ปรกติจะส่วมใสเฉพาะสตรีเชื้อสายแมนจู แต่ว่าถึงจะเป็นเชื้อสายแมนจู แต่หากเป็นสตรีแมนจูที่ยังไม่ได้ออกเรือน หรือออกเรือนแล้ว แต่สามีไม่ได้มียศทางราชการจะไม่สามารถสวมใส่ได้ แต่ว่าด้วยความที่เตี่ยนจึไม่ใช่เครื่องประดับแบบเครื่องยศ ดังนั้นหากสตรีผู้นั้นออกเรือนแล้ว และสามีมียศทางราชการ แม้สาวเจ้าจะอายุยังน้อย และสามีก็ยศยังด้อย สตรีผู้นั้นก็สามารถสวมใส่เตี่ยนจึหรูหราเท่าไรก็ได้ตามแต่กำลังทรัพย์แห่งตระกูล นึกภาพไม่ออกให้นึกภาพสตรีบรรดาศักดิ์วัยสาวสมัยรัชการที่ ๕ ของไทย สามีเป็นแค่คุณหลวง หีบหมากเครื่องยศนั้นจะทำเป็นทองคำลงยาก็หาได้ไม่ แต่ว่าด้วยความที่บ้านร่ำรวยมาก ถ้าถือหีบมากทองคำลงยาตามแบบเครื่องยศไม่ได้ ก็ทำเป็นหีบหมากทองคำฝังเพชรจากเมืองฝรั่งแทนมันไปเลย...สะใจ

เตี่ยนจึรูปช่อดอกไม้ที่ประดับโดยเชื้อพระวงศ์แมนจูฐานะต่างๆกัน เตี่ยนจึของพระนางซูสีไทเฮา พระสนมเจินเฟยตอนจัดงานวันเกิด



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:32

ส่วนสถานที่ที่จะใช้สำหรับประดับหมวกคลุมศรีษะแบบนี้ก็จะแบ่งกันไปตามลักษณะ ดังนี้

๑.   เตี่ยนจึแบบครึ่ง สามารถแบ่งได้เป็นสามด้าน ดังนี้ ๑.๑ สตรีม่ายชาวแมนจู หรือสตรีมีอายุจะใช้ประดับศรีษะยามแต่งกายไปร่วมงานมงคลต่างๆ เช่นงานแต่งงาน งานทำบุญ งานตรุษจีนเป็นต้น เรื่อยไปจนถึงไม่ได้ไปร่วมงาน แต่เป็นแม่งานเอง ๑.๒ เป็นเครื่องประดับศรีษะของสตรีบรรดาศักดิ์ที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน  หรือไปร่วมงานพิธีการ ถ้าสงสัยว่าทำไมในชีวิตประจำวันต้องแต่งหรูขนาดนี้ด้วย คำตอบคือ รวยจ้ะ ๑.๓ ใส่สำหรับประดับกับชุดไว้ทุกข์
แต่อย่างไรก็ตามในช่วงปลายราชวงศ์ชิงการตบแต่งศรีษะด้วยเตี่ยนจึแบบครึ่งค่อยๆลดความนิยมลงไป เพราะเรียบเกิน


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:35

๒.   เตี่ยนจึแบบเต็ม สถานการณ์ที่ใช้เหมือนกันกับเตี่ยนจึแบบครึ่งทุกประการ เพียงแต่ว่าเตี่ยนจึแบบเต็มนี้สามารถใช้ประดับศรีษะในงานแต่งงานได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าจะใช้ในงานแต่งงาน จะหมายความว่า ครอบครัวของเจ้าสาวนี้ร่ำรวยไม่พอที่จะสั่งทำเตี่ยนจึแบบหงษ์ หรือแบบช่อดอกไม้ให้แก่ลูกสาวสำหรับหรับงานแต่ง

อย่างไรก็ตามในช่วงปลายราชวงศ์ชิง นับตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้ากวงซู เป็นต้นมา หญิงม่าย และหญิงสูงวัยที่จะประดับประดาเตี่ยนจึแบบเต็มสำหรับเป็นแม่งานในงานมงคลก็ค่อยๆเสื่อมความนิยม  แต่จะนิยมใช้เตี่ยนจึแบบช่อดอกไม้ที่หรูหรามากกว่า ส่วนสตรีบรรดาศักดิ์ที่จะใช้ประดับในชุดประจำวัน และชุดสำหรับงานพิธีการ เรื่อยไปจนถึงการไว้ทุกข์ ก็เริ่มใช้การประดับผมแบบเกล้ามวยสูง และแผ่เป็นแผ่นกว้างขึ้นแทน

แต่ถึงความนิยมจะลดลง แต่ว่าเตี่ยนจึแบบเต็มก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในงานมงคล กล่าวคือ สตรีบรรดาศักดิ์ทั้งปวงถ้าเป็นแม่งาน หรือเป็นครอบครัวผู้จัดงานมงคลจะประดับเตี่ยนจึแบบช่อดอกไม้ แต่ว่าถ้าไม่ใช่เป็นเพียงแขกมาร่วมงาน ก็จะใส่เพียงแค่เตี่ยนจึแบบเต็ม พูดง่ายๆคือจะได้ไม่แย่งเจ้าภาพเด่น ตัวอย่างเช่น งานพระราชพิธีอภิเษกสมรสของฮ่องเต้ สตรีบรรดาศักดิ์ที่มาร่วมงาน และไม่ได้มีชุดเครื่องยศสำหรับประดับประดาก็ล่วนแต่ใส่เตี่ยนจึแบบเต็มทั้งนั้น


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:37

๓.   เตี่ยนจึหงส์ ปรกติเตี่ยนจึแบบนี้จะใช้เฉพาะงานแต่งงาน โดยเจ้าสาวชาวแมนจูจะเป็นผู้สวมใส่ แต่นอกจากจะใส่ในงานแต่งงานแล้ว ยังจะใส่สำหรับแต่งชุดเต็มยศเขียนรูปเป็นทางการ
แม้เตี่ยนจึที่ประดับประดาด้วยรูปหงส์นี้จะไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องใช้สำหรับสตรีผู้ดีชั้นสูง ใครจะใส่ก็ได้ ถ้ามีเงิน แต่ปรกติแล้วคนที่จะมีเงินขนาดนี้ได้โดยมากจะเป็นสตรีผู้ดีชั้นสูงเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามในปลายราชวงศ์ชิง เตี่ยนจึรูปหงส์ นี้ก็ได้เสื่อมความนิยมลงไป ปรกติแล้วคนจะนิยมประดับประดาด้วยเตี่ยนจึรูปช่อดอกไม้มากกว่า แต่ว่าสำหรับสตรีในวังหลายท่านที่ครอบครัวยังอนุรักษ์นิยมอยู่ เตี่ยนจึรูปหงส์ก็ยังใช้อยู่ แต่ถ้านอกวังแล้วไซร้ สตรีผู้ดีชาวแมนจูที่ทันสมัยเขาไม่ใช้กันแล้ว

นึกภาพไม่ออกขอให้ทุกท่านนึกภาพเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่สตรีผู้ดีนุ่งซิ่น ใส่เสื้อตัวยาว แถมมีแถบผ้าคาดผมดูเก๋ไก๋ แต่ว่าสตรีสาวเชื้อพระวงศ์บางพระองค์ยังคงคาดแพรสะพายแบบสมัยรัชกาลที่ ๕ อยู่เช่นเดิม เพราะเสด็จพ่อไม่โปรดที่จะให้ท่านหญิงแต่งกายตามสมัยจนเกินไป ดูไม่งาม


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:39

๔.   เตี่ยนจึแบบช่อดอกไม้ เป็นเตี่ยนจึที่มาที่หลังแต่ดังที่สุด โดยเตี่ยนจึแบบช่อดอกไม้นี้จะใช้ในสองสถานการณ์ ๑. ใช้ในงานแต่งงาน โดยเป็นเครื่องประดับศรีษะของเจ้าสาว ๒. เป็นเครื่องประดับศรีษะของสตรีบรรดาศักดิ์ และสตรีผู้ดีที่สมรสแล้ว ใช้สำหรับแต่งงานไปงานมงคล ทั้งนี้พึงระลึกว่าจะแต่งเฉพาะกรณีตัวเองนั้นเป็นฝ่ายแม่งานเท่านั้น ไม่ใช่แขกรับเชิญที่ไปงาน

เตี่ยนจึแบบช่อดอกไม้นี้ถือเป็นของหรูหรามาก ใช่ว่าชาวแมนจูทุกคนจะสามารถจ่ายไหว เพราะเครื่องประดับศรีษะนี้เต็มไปด้วยอัญมณีเป็นจำนวนมาก ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ปรกติแล้วถ้าพวกผู้ดีชาวแมนจูผู้มั่งคั่งใช้เตี่ยนจึแบบช่อดอกไม้ในงานใด ชาวแมนจูธรรมดาที่ไม่ได้ร่ำรวยนัก ก็จะใช้เตี่ยนจึแบบเต็มแทนที่ตามความสามารถในกระเป๋าที่พอจะจ่ายได้ ลักษณะนี้ก็คล้ายๆกันกับช่วงกลางราชวงศ์ชิง ที่ผู้ดีที่มั่งคั่งใช้เตี่ยนจึรูปหงส์ในงานใด ผู้ที่ไม่ได้มั่งคั่งเท่าก็จะใช้เตี่ยนจึแบบเต็มในงานนั้น

เจ้าสาวเชื้อพระวงศ์แมนจู


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:41

เตี่ยนจึนี้เป็นที่นิยมเรื่อยมาตลอดราชวงศ์ชิง อย่างไรก็ตามหลังจากราชวงศ์ชิงล่มสลายลง ความนิยมเตี่ยนจึก็เสื่อมถอยลงไปพร้อมๆความเสื่อมถ่อยของชาวแมนจู จนกลายเป็นเพียงอดีตความหรูหราที่เห็นได้เฉพาะในหนังในละคร และภาพถ่ายเก่าๆเท่านั้น


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 14:45

ทั้งนี้การใส่เตี่ยนจึที่ถูกต้อง จะต้องใส่บริเวณ ด้านหน้าของศรีษะ เลยกระหม่อมมานิดหน่อย



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 15:20

ภาพลิ่วเจีย ภรรยาขององค์ชายยี่ชวน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 16:26

น่าสนใจมากค่ะ


บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 21:08

ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณ คุณ han_bing นึกถึงละครเรื่อง "เจินหวน" ขึ้นมาทันที เข้าใจว่าตัวละครสวมเตี่ยนจึ (ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ) สวยงามมาก แต่น่าจะหนักเอาเรื่องอยู่ ทั้งอัญมณี ปะการัง ฯลฯ ตอนเจินหวนเป็นพระสนมเล็กๆ ก็สวมใบย่อมๆ พอเริ่มเป็นเฟย กุ้ยเฟย ก็ใบโตขึ้นๆ สังเเกตว่าก่อนได้ถวายตัวฮ่องเต้ไม่เห็นสวมหมวกอย่างนี้ แค่เกล้าผมประดับดอกไม้ ฮ่องเต้เคยตรัสประชดนางเอกว่า แต่ก่อนตอนนางเข้าวังใหม่ ทรงพอพระทัยผมดำขลับ ชอบลูบผมนาง แต่พอเป็นกุ้ยเฟยปกครองวังหลัง ลูบไปเจอแต่เครื่องประดับมีค่าแต่เย็นชา!  ยิ้มกว้างๆ

รูปจาก http://luvasianseries.blogspot.com/2016/08/empresses-in-palace.html ครับ

ไม่รู้ว่ารูปที่หามาใช่เตี่ยนจึ หรือเปล่าครับ ถ้าใช่เป็นแบบใดครับ หรือเป็นอุปกรณ์การแสดง ขอบคุณครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ต.ค. 17, 21:24

ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณ คุณ han_bing นึกถึงละครเรื่อง "เจินหวน" ขึ้นมาทันที เข้าใจว่าตัวละครสวมเตี่ยนจึ (ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ) สวยงามมาก แต่น่าจะหนักเอาเรื่องอยู่ ทั้งอัญมณี ปะการัง ฯลฯ ตอนเจินหวนเป็นพระสนมเล็กๆ ก็สวมใบย่อมๆ พอเริ่มเป็นเฟย กุ้ยเฟย ก็ใบโตขึ้นๆ สังเเกตว่าก่อนได้ถวายตัวฮ่องเต้ไม่เห็นสวมหมวกอย่างนี้ แค่เกล้าผมประดับดอกไม้ ฮ่องเต้เคยตรัสประชดนางเอกว่า แต่ก่อนตอนนางเข้าวังใหม่ ทรงพอพระทัยผมดำขลับ ชอบลูบผมนาง แต่พอเป็นกุ้ยเฟยปกครองวังหลัง ลูบไปเจอแต่เครื่องประดับมีค่าแต่เย็นชา!  ยิ้มกว้างๆ

รูปจาก http://luvasianseries.blogspot.com/2016/08/empresses-in-palace.html ครับ

ไม่รู้ว่ารูปที่หามาใช่เตี่ยนจึ หรือเปล่าครับ ถ้าใช่เป็นแบบใดครับ หรือเป็นอุปกรณ์การแสดง ขอบคุณครับ

ใช่แล้วครับ นี้คือเตี่ยจึ สองรูปบนวางผิดตำแหน่งไปหน่อย ต้องวางค่อนมาข้างหน้าอีกนิด

จากรูปทั้งหมดน่าจะเป็นแบบเต็มครับ เพราะประดับประดาเสียแน่นขนาดนั้น

ส่วนหนักหัวหรือไม่ หนักครับ นักแสดงบอกเลยว่าหนัก เพราะผู้กำกับสั่งให้ใช้หินจริงๆมาประดับ

คุณพระช่วย ขยิบตา ขยิบตา ขยิบตา ขยิบตา ขยิบตา ขยิบตา ขยิบตา ขยิบตา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง