เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70430 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 450  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 11:44

ขอบคุณครับ นั่นส่วนหนึ่ง แต่ในคำบรรยายจริงมีกล่าวถึงพระองค์ทรงย้ายมาจำพรรษาที่วัดโยเดีย และพาราไบ้คที่เราคุยกันไปแล้วพอสมควร
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 451  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 21:23

ขอแสดงความยินดีกับคณะของคุณวิจิตรนะครับที่ได้สานงานต่อ ยิ่งมีงานเสวนาทางวิชาการแบบนี้ยิ่งน่ายินดี ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ผมเห็นว่ามาถูกทางแล้วครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 452  เมื่อ 24 ก.พ. 18, 07:53

ขอบคุณคุณม้าที่กลับเข้ามาแสดงความเห็นครับ
ความจริงในห้าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงที่ขุดเจอโบราณวัตถุหลักฐาน จะมีเสวนาทางวิชาการบ่อยมาก แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีความเปลี่ยนแปลงไปในครรลองเดียวกันอย่างชัดเจน

สำหรับความก้าวหน้าทางหน้างาน ถ้าพี่วิจิตรไม่ล้มเจ็บด้วยโรคติดเชื้อในปอด หมอสั่งหยุดทำงานเด็ดขาด ให้นอนอย่างเดียวเพื่อรักษาตัว ก็คงจะแล่นไปอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างแล้ว นี่ผ่านมาร่วมเดือนได้ข่าวว่าหายดีหมออนุญาตให้ไปได้ ก็กำลังจะเดินทางไปในวันสองวันนี้

หากมีข่าวคืบหน้าอย่างไร ผมจะนำมารายงานต่อไป หวังว่ากระทู้นี้จะสมบูรณ์แบบตั้งแต่แรกเริ่มโครงการจนจบลงด้วยดีครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 453  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 16:02

ความคืบหน้าของโครงการล่าสุด

Timeline ก่อนหน้านี้

อ้างถึง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙  The Global New Light of Myanmar ออกข่าวว่า รัฐบาลท้องถิ่นมัณฑะเลย์ประกาศว่าโครงการอนุรักษ์สถูปกษัตริย์ไทยบนเนินลินซินที่มีความขัดแย้งกันนั้น จะดำเนินการต่อหลังจากรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ปรึกษากันแล้ว

๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ นายอองโกลิน ตัวแทนของหลวงพ่อษิตะกู ได้ยื่นขอประดิษฐานพระธาตุและปรับปรุงพระสถูปต่อ เพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชา และอนุรักษ์โบราณสถานที่ทรุดโทรมใกล้พังทลาย  ต่อทางการเขตมัณฑะเลย์

๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ผู้ว่าการเขตมัณฑะเลย์ ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักงานบริหารเมืองอมรปุระ  ให้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองตามประเด็นดังกล่าว

๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐   สำนักงานบริหารเมืองอมรปุระเปิดประชุม ผู้ปกครองท้องถิ่น และหมู่บ้าน ที่ประชุมสรุปว่า ให้ผู้อำนวยการเมืองถามความคิดเห็นจากมหาเถระสมาคม ส่วนผู้อยู่อาศัยในเมืองไม่มีการคัดค้าน

๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ผู้อำนวยการเมืองอมรปุระทำหนังสือถึง มหาเถระสมาคมของพม่า ขอทราบความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว

๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐   มหาเถระสมาคมเขตเมืองของอมระปุระ ได้ตอบหนังสือกลับว่า มหาเถระสมาคมไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องนี้ จึงแจ้งความเห็นว่าผู้เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการต่อได้ตามกฏหมายและหลักเกณฑ์

๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐   สำนักบริหารเมืองอมรปุระ ทำหนังสือถึงสำนักบริหารเขตมัณฑะเลย์ทราบว่า การดำเนินการปรับปรุงพระสถูป และอนุรักษ์โบราณสถาน ที่ลินซินกง เพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชา ทำได้โดยปฏิบัติตามกฎหมาย มหาเถระสมาคมเมืองและผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองไม่มีการคัดค้าน

๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๐   สำนักงานบริหารเขตมัณฑะเลย์จัดประชุมระหว่างผู้บริหารเขตมัณฑะเลย์ และเมืองอมระปุระทุกตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งราษฎรอาวุโส ผู้แทนชุมชน โดยอนุญาตให้นายอองโกลิน ตัวแทนของหลวงพ่อษิตะกูเข้าร่วมด้วย โดยประธานที่ประชุมแจ้งว่า ประชาชนในท้องถิ่นและมหาเถระสมาคมไม่คัดค้านเรื่องดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ แต่ประธานเองมีความเห็นว่า ควรต้องมีการพบปะพูดคุยและขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนา รัฐบาลสาธารณรัฐเมียนมาร์กับฝ่ายไทย  ในเรื่องการดำเนินการปรับปรุงเจดีย์และการบำรุงรักษาอาคารโบราณสถาน ซึ่งจะมีการบริจาคจากกองทุนของไทย

๕ กันยายน  ๒๕๖๐   นายอองโกลิน ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนา หากคณะนำโดยเอกอัครราชทูตอาเซียน ฯพณฯ ประดาป พิบูลสงคราม (Thai Representative for ASEAN connectivity Coordinating Committee Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary of Thailand) จะขอเข้าพบ  

๑๑  กันยายน  ๒๕๖๐  รองเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนาทำหนังสือตอบนายอองโกลินมาว่าสามารถทำได้

๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ คณะทำงานฝ่ายไทยนัดปรึกษาหารือ

ตุลาคม ๒๕๖๐ เดือนแห่งความอาลัย  คนไทยไม่มีกะจิตกะใจจะทำงาน

ต่อจากข้างต้น

พฤศจิกายน  ๒๕๖๐  หลังจากงานออกพระเมรุแล้ว  นายประดาป พิบูลสงคราม ผู้แทนของคณะทำงานสมาคมสถาปนิกสยามได้ไปพบอธิบดีกรมเอเซียใต้ กระทรวงต่างประเทศคนปัจจุบัน  เพื่อเล่าความเป็นมาของโครงการและความเห็นของผู้ว่าการเขตมัณฑะเลย์ ที่ต้องการให้ฝ่ายไทยเข้าพบพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนาของเมียนมาร์ในเรื่องดังกล่าว  โดยขอให้กระทรวงต่างประเทศให้ความเห็นชอบให้ตน หรือผู้ใดผู้หนึ่งไปดำเนินการในเรื่องนี้

หลังจากรอทั้งเดือนธันวาคม ก็ไม่มิได้มีความคืบหน้ากระทรวงต่างประเทศ แต่มีข่าวว่า เป็นเพราะนายดำรง ใคร่ครวญ อดีตรองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศในปี ๒๕๕๕ ผู้เริ่มต้นเรื่องนี้ได้ถูกย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ บัดนี้ครบเทอม ๔ ปีแล้ว ได้รับคำสั่งให้กลับมาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ  จึงต้องการรอให้คุณดำรงกลับมาเป็นผู้ประสานงานในเรื่องนี้ต่อด้วยตนเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 454  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 16:16

ในขณะเดียวกันทางด้านพม่า ซึ่งทางสมาคมวัฒนธรรมเจ้าฟ้าดอกเดื่อและหลวงพ่อษิตากู  หลังจากให้นายอองโกลินเป็นผู้แทน ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนา ตั้งแต่เดือนกันยายน  ๒๕๖๐ ก็มิได้นิ่งเฉย แต่ได้พยายามกดดันฝ่ายรัฐบาลพม่าตลอดมา ยกตัวอย่างโครงการที่คนไทยไปช่วยบูรณะจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดมหาเต็งดอจี รัฐสะกาย อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในขณะที่พม่าไม่ได้ทำอะไรสักอย่างเดียว แล้วมุ่งประเด็นว่า  ความล่าช้าของโครงการอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรทำให้รัฐมัณฑะเลย์เสียโอกาส  เพราะทางไทยแนชั่นแนลเฮอริเทจฟันด์ผู้บริจาคเห็นว่าโครงการทำๆหยุดๆ ทางการให้ใบอนุญาตมาแล้วก็ออกใบระงับชั่วคราวโดยไม่แจ้งเหตุผล ได้แต่ฝากความเห็น ทำให้ทางโครงการจึงต้องคืนเงินที่เหลือให้กองทุนไทยไปหมดแล้ว

เรื่องนี้ไปได้ผลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนา ในกรุงเนปิดอว์ ผู้ให้ความสนใจและสั่งให้ศึกษาปัญหา พบความอันสำคัญว่า พื้นที่อันเป็นโบราณสถาน หรือศาสนสถานที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมทั้งประเทศ  ความจริงแล้วสิทธิ์ขาดตามกฏหมายขึ้นอยู่กับกรมโบราณคดี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เนปิดอว์เมืองหลวง มีอำนาจบริหารจัดการได้ทั่วทั้งประเทศ  เขาจึงติดต่อมายังตัวแทนหลวงพ่อษิตากู  และนายอูวินหม่อง โดยเริ่มเจรจากันตั้งแต่ธันวาคม ปลายปีที่แล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 455  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 16:18

มกราคม ๒๕๖๑   สมาคมวัฒนธรรมเจ้าฟ้าดอกเดื่อติดต่อผู้แทนสมาคมสถาปนิกสยาม ถึงความเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนเงินทุนในการบูรณะโบราณสถานต่อตามโครงการ  ซึ่งฝ่ายไทยตอบไปว่า ในฐานะผู้บริจาค  ถ้าฝ่ายพม่าพร้อมที่จะกลับมาดำเนินโครงการต่อ  ต้องมีความชัดเจน มิฉะนั้นฝ่ายไทยคงไม่นำเงินกลับไปทำให้
  
ข้อที่ ๑ ของความชัดเจนคือ ภาครัฐของพม่าจะต้องเข้ามาร่วมกับอูวินหม่อง  สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมของพม่า ที่ได้รับการยอมรับนับถือทั้งในพม่าและต่างประเทศ  โดยกรมโบราณคดีของพม่าจะต้องเข้ามาเป็นผู้จัดการโครงการร่วมกับอูวินหม่อง  
ข้อนี้  ฝ่ายพม่าไม่มีปัญหาเพราะเป็นความต้องการอยู่แล้ว  หากการดำเนินงานอยู่ภายใต้กรมโบราณคดี ก็จะมีสิทธิ์เต็มที่ตามกฏหมาย ก็ไม่ต้องไปขออนุญาตท้องถิ่นอีกไม่ว่ามัณฑเลยหรืออมรปุระ  แต่จะขอให้มีชื่อนายวิจิตร ชินาลัย เป็นหนึ่งในผู้บริหารจัดการโครงการนี้ ขึ้นป้ายร่วมกับชาวพม่าคนอื่นๆด้วย

ข้อที่ ๒ โครงการนี้จะต้องใช้ชื่อว่า โครงการอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร เหมือนเดิม  
สำหรับเรื่องนี้ไม่มีปัญหา

ข้อที่ ๓ การกระทำทั้งหลายทั้งปวง จะต้องทำโดยกรมโบราณคดีพม่า ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบ และเมื่องานก่อสร้างเสร็จแล้ว จะทำพิธีมอบให้หลวงพ่อษิตากู เป็นเจ้าของโครงการ ดูแลรับผิดชอบในการบริหารจัดการต่อ  หากว่ากรมโบราณคดีจะเข้ามาร่วมในการบำรุงรักษาก็ว่ากันไป  หรือหากจำเป็นต้องใช้งบประมาณในส่วนงอกของโครงการ ก็ให้แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบในภายหลัง  

เงื่อนไขเหล่านี้  ฝ่ายพม่ารับได้หมดและขอเร่งให้ดำเนินงานได้ต่อเลย  

กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๑  กรมโบราณคดีพม่าได้ส่งคนเข้ามา จ้างคนงานมาระดมถางวัชพืชดายหญ้า รื้อป้ายเก่าต่างๆออก (ตามภาพที่ผมนำมาลงก่อนหน้า) แล้วยกป้ายขึ้นมาใหม่ว่าเป็นโครงการของกรมโบราณคดี  รอรับคณะของฝ่ายไทยที่จะไปลงนามในข้อตกลงฉบับใหม่

สภาพพื้นที่เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561

รูปถ่ายที่เห็นใด้รับจากคณะขององค์กร Home run ที่ใด้เข้าเยี่ยมชมโครงการการ อนุรัษ์ปฏิสังขรณ์เพื่อให้เป็น "อนุสรณสถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร " ซึ่งเพิ่งจะใด้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อใด้ จากกรมโบราณคดีรัฐบาลเนปิดอร์และรัฐบาลท้องถิ่นรัฐมัณฑะเลย์ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เองหลังจากโครงการถูกแจ้งให้ระงับการปฏิบัติการเป็นการชั่วคราวมาตั้งแต่ 26 มิถุนายน 2559

ในช่วง 1ปี 8เดือนที่ผ่านมาซึ่งมีทั้งพายุฝน มีน้ำท่วมอย่างหนัก พื้นที่ทั้งหมด 2.5 ไร่ กลับไปเป็นป่าเช่นเดิม เต็มไปด้วยวัชพืชและต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมดมองอะไรไม่เห็น เต็มไปด้วยงูนานาชนิด
ต้องขอบคุณทีมงานของ U Win Moung และ เจ้าหน้าที่จากกรมโบราณคดีประเทศพม่าที่ช่วยกันเร่งรีบกำจัดวัชพืชและเคลียร์พื้นที่ทั้งหมดจนสอาดใด้ภายใน10 วันที่ผ่านมา

โชคดีเป็นอย่างมากที่เจดีย์ทรงโกศ เราตีโครงไม้ยึดใว้อย่างแข็งแรงตั้งแต่ต้นปี 2559 ไม่เช่นนั้นคงล้มไปแล้วจากพายุฝนและน้ำท่วมใหญ่และแผ่นดินไหวที่ผ่านมาในบริเวณนี้  การดำเนินการต่อตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปคงต้องเริ่มที่เจดีย์ทรงโกศองค์นี้แหละเพราะเป็น symbolic ของ " สถานที่ ที่เชื่อกันมานมนานแล้วว่าเป็น สถานที่ ที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ และมีการบรรจุพระบรมอัฐิใว้ในบริเวณนี้ ตามระบุใว้ใน Parabike ของพม่า

* ภาพพระเจดีย์หมายเลข 3 ซึ่งใด้ขุดค้นพบภาชนะทรงบาตรประดับกระจกตั้งบนพานแก้วแว่นฟ้า เมื่อกำจัดวัชพืชแล้วใด้พบว่า มีดอกบานไม่รู้โรยบานอยู่ที่ฐานพระเจดีย์ ท่ามกลางวัชพืชที่ปกคลุมเต็มไปหมด

ต้องขอบคุณ คณะ Home run ที่กรุณาส่งภาพมาให้ผมเมื่อเช้านี้ ซึ่งผมอยากจะ Share กับเพื่อนๆที่ ห่วงใย สนใจและติดตามเรื่องโครงการนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ให้ทราบสถานะภาพของโครงการนี้ ณ วันนี้และเดี๋ยวนี้ครับ


วิจิตร ชินาลัย


คคห. ๔๔๑
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 456  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 16:29

๒๗ กพ ๖๑ วิจิตรและคณะเดินทางไปพม่า

๒๘ กพ ๖๑ คณะทำงานจากสมคมสถาปนิกสยาม ได้ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐของพม่า ผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน และผู้แทนกลุ่มอนุรักษ์มรดกของแผ่นดินพม่าร่วมกับสมาคมวัฒนธรรมเจ้าฟ้าดอกเดื่อ  ซึ่งได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อษิตากู องค์อุปถัมภ์สมาคมฯ  เพื่อดำเนินการโครงการนี้ซึ่งจะเป็น ผู้ที่จะดำเนินการและควบคุมการซ่อมแซมอนุรักษ์โบราณสถานในโครงการ โดยที่ประชุมสรุปคาดการณ์จะให้เสร็จสี้นสมบูรณ์ก่อนฤดูฝนที่จะมาถึงในปีนี้ 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 457  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 16:38

ผู้เข้าร่วมประชุมทางฝ่ายพม่าได้แก่
 
อูเอหล่วย (U Aye Lwin)  รอง ผอ.สำนักโบราณคดีประจำรัฐมัณฑะเลย์  กระทรวงวัฒนธรรมประเทศพม่า  ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากส่วนกลางให้มีหน้าที่กำกับดูแลการอนุรักษ์ซ่อมแซมเจดีย์และโบราณสถานแห่งนี้   ให้เป็นไปตามมาตรฐานพม่าและสากลจนเสร็จสิ้นงาน โดยจะเข้ามาควบคุมการซ่อมแซมโครงการนี้ด้วยตนเอง

อูวินหม่อง (U Win Maung) สถาปนิกอาวุโสและนักอนุรักษ์โบราณสถานและศาสนสถานที่มีชือเสียงที่สุดในประเทศพม่า และจะเข้าควบคุมการดำเนินงานร่วมกับกรมโบราณคดีจนเสร็จสี้นงาน

มิกกี้ ฮาร์ท (Mr.Myint Hsan Heart) สถาปนิกอาวุโสชาวพม่า นักประวัติศาสตร์  นักโบราณคดี  นักอ่านศิลาจารึกภาษา พม่ามอญเขมรไทยพยู  มีชื่อเสียงมากในพม่าและในต่างประเทศ เป็นผู้ควบคุมการประสานงานของโครงการนี้จนเสร็จสิ้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 458  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 16:47

ภาพถ่ายเมื่อวานนี้ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 459  เมื่อ 30 เม.ย. 18, 07:09

แม้วีดีโอคลิ๊ปนี้จะมาล่าช้าสักหน่อย แต่จะทำให้ผู้สนใจได้เห็นภาชนะที่บรรจุ และพระอัฐิธาตุที่ต้นพบภายในนั้นอย่างชัดเจน ซึ่งชิ้นหนึ่งเป็นกระดูกกรามล่าง หากมีการค้นคว้าต่ออย่างเป็นทางการ(ซึ่งไม่ใช่ภารกิจของสมาคมสถาปนิกสยามแล้ว) ก็อาจจะนำพระทันตธาตุที่ค้นพบคราวเมื่อกรุพระศิลปอยุธยาในวัดใกล้ๆกันนั้นแตกภายหลังจากเหตุการณ์นี้ ก็จะได้ข้อพิสูจน์ที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 460  เมื่อ 29 พ.ค. 18, 18:33


จากข่าวนี้ก็เช่นกัน

เมื่อเร็วๆ นี้ นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร ได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ และเมืองสะกาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ตามโครงการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง ชาวอยุธยาในเมียนมาร์ นายเอนก เล่าว่า เมื่อปี 2555 กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้แจ้ง วธ.ว่า คณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ มีแผนปรับสภาพพื้นที่สุสานลินซินกง ที่เมืองอมรปุระ ซึ่งเชื่อว่า มีสถูปบรรจุพระอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น กต.ร่วมมือ วธ.โดยกรมศิลปากร มาศึกษาเรื่องของประวัติศาสตร์และโบราณคดีเรื่องราวของชาวอยุธยาในเมียนมาร์ เพื่อศึกษาความเป็นอยู่ ชุมชนของคนไทย ในมิติทางวัฒนธรรมระหว่าง 2 ประเทศ
       
ตนได้นำคณะมาที่โบสถ์วัดมหาเตงดอจี หมู่บ้านลินซิน ในเมืองสะกาย พบภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนภาพปราสาทและลายเส้นสินเธาว์แบบหยักฟัน โดยใช้สีแดง สีขาว สีเขียว และสีดำ ที่สำคัญยังพบภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนลายรูปพระปรางค์มียอดนภศูล แสดงถึงหลักฐานของฝีมือช่างแบบอยุธยาตอนปลายอายุกว่า 200 ปี ที่สำคัญเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเพียงแห่งเดียวที่ยังคงเหลือและบ่งชี้ถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวอยุธยาที่เคยอาศัยอยู่ในเมียนมาร์
       
ดร.ม.ร.ว.รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการศูนย์โบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (สปาฟา) องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) ผู้ศึกษาภาพจิตรกรรมฝาหนังวัดมหาเตงดอจี กล่าวว่า เมื่อหลายปีก่อนตนได้มาศึกษาและถ่ายรูปภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดแห่งนี้ไว้ แต่วันนี้มีการนำปูนมาโบกทับภาพจิตรกรรมบริเวณด้านล่างลงมาทั้งหมด
       
อย่างไรก็ตาม ทางกรมศิลปากรจะประสานกรมโบราณคดีของเมียนมาร์ เพื่อส่งนักโบราณคดีของไทยที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปทำการบูรณะและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภาพจิตรกรรมโดยเร็วที่สุด

ข่าวหลังไมค์แจ้งว่า ท่านเจ้าอาวาสตื่นเต้นมาก ที่บุคคลระดับอธิบดีกรมศิลปากรของไทยแลนด์ได้บอกกับท่านเช่นนั้น แต่แล้วก็คอยหาย คอยหาย ทำท่าจะกลายเป็น Simese Talk อีกรูปแบบหนึ่งไป

คณะคนไทยหากไปเที่ยวแล้วพบท่าน ก็จะได้รับคำฝากมาช่วยถามไถ่ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ คณะถ่ายทำสารคดีของ Thai PBS ได้ไปที่นั่นและได้รับฟังถ้อยความอย่างเดียวกัน ทางคณะจึงได้รับปากจะเป็นผู้ระดมเงินทุนมาดำเนินการให้เองโดยไม่ต้องไปหวังอะไรลมๆแล้งๆจากผู้ที่เคยออกปากไว้แต่เดิม


บัดนี้กลุ่มเอกชนได้ผนึกกำลังกัน เข้าไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์ภาพฝาผนังฝีมือช่างจากกรุงศรีอยุธยาในพระอุโบสถวัดมหาเต็งดอจี งานก้าวหน้าไปอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การกำกับดูแลของกรมโบราณคดีพม่า โดยไร้เงาข้าราชการกรมศิลปากรไทยทุกระดับที่ไปรับปากเขาไว้

https://www.facebook.com/MahaTheinTawGyiTemple/
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 461  เมื่อ 29 พ.ค. 18, 18:48

https://www.facebook.com/pongkwan.lassus/posts/10213644212194210
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 462  เมื่อ 01 ก.ค. 23, 11:32

หลังจาก ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ อันเป็นวันที่คณะทำงานไทยส่งมอบพระโกศทรงบาตรประดับแก้วอังวะสีมรกตที่พบในพระสถูปองค์สำคัญ  บรรจุลงหีบเหล็กจำนวนสองใบ ให้แก่ศาลาว่าการรัฐมัณฑะเลย์ (MCDC) เพื่อเก็บรักษาไว้ โดยคล้องกุญแจ ๒ ชุด ไทยและพม่าเก็บรักษาฝ่ายละชุด หากจะเปิดอีกเมื่อใดต้องนำกุญแจทั้งสองชุดมาพร้อมกัน จึงจะกระทำการเปิดได้

หลังจากผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีพม่าเชื่อตามหลักฐานแวดล้อม(Circumstance Evidence) โดยปราศจากข้อสงสัยว่าพระอัฐิธาตุที่พบ คือพระบรมอัฐิของพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร  คณะทำงานไทยจึงได้พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะเร่งบูรณะสถานที่แห่งนั้นให้เป็นอนุสรณสถานของพระองค์ เพื่อจะได้นำพระบรมอัฐิลงบรรจุคืนยังพระสถูปองค์เดิมโดยเร็วที่สุด  แต่ไม่ว่าจะทำเรื่องขออนุญาตไปคราวใด ก็ให้มีเหตุขัดข้องทุกครั้ง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสภาวะทางการเมืองของสองประเทศที่เปลี่ยนรัฐบาล พม่า ๓ ครั้ง ไทย ๒ ครั้ง ทุกครั้งก็จะมีผลกระทบต่อโครงการเสมอมา

จนกระทั่งเวลาผ่านไป ๑๐ ปี ทางกรมโบราณคดีพม่าได้ทำหนังสือแจ้งอนุญาตให้ไปรับหีบเหล็กที่ฝากไว้ ไปดำเนินการตามความประสงค์ได้ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๖ พอดิบพอดี คุณวิจิตร ชินาลัยหัวหน้าคณะฝ่ายไทยได้กล่าวกับทุกคนก่อนออกเดินทางไปตามนัดว่า งานครั้งนี้ต้องสำเร็จแน่ จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เพราะจะตรงกับนักษัตรที่ ๘  (ราชาฤกษ์) ต่อเนื่องติดตามด้วยนักษัตรที่ ๙ (สมโณฤกษ์) อันเป็นมหามงคลอย่างยิ่ง

พิธีกรรมครั้งนี้ทางรัฐบาลพม่าได้ขอให้คณะทำงานร่วมฝ่ายไทยและพม่ากระทำกันเองอย่างเรียบง่าย เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์แทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ เจ้าหน้าที่กรมโบราณคดีจะไปในฐานะผู้สังเกตการณ์เท่านั้น โดยมีกองกำลังทหารรักษาความปลอดภัยกระจายอยู่นอกบริเวณ ซึ่งทางเราก็ได้ปฏิบัติตาม จนทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยดีตามฤกษ์

ก่อนกระทำพิธีมหาบังสุกุล คณะทำงานและคนไทยที่ทราบข่าวและมาร่วมงานได้พร้อมกันเปล่งวาจาดังนี้

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้า…(ทุกคนออกนามตนเอง)…ขอกราบบังคมทูลขมาโทษต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในการที่ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิออกจากพระสถูป เพื่อกระทำการบูรณะปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้ ให้สมเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์ ไปตราบชั่วกาลปวสาน
ณ บัดนี้เป็นมงคลวโรกาส ที่จะอัญเชิญพระบรมอัฐิกลับสู่พระสถูปดังเดิม หากว่า การกระทำทั้งปวงของข้าพระพุทธเจ้า ได้เกิดจากความสุจริตใจเป็นที่ตั้งแล้ว ขอให้ข้าพระพุทธเจ้า มีความสุขความเจริญสืบไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ขอเดชะ

บทบาทและหน้าที่ของคณะทำงานไทย ที่มุ่งมาตรปรารถนาจะรักษาพระสถูปของพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร ไม่ให้ถูกไถทิ้งทำลายเพื่อหลีกทางให้โครงการก่อสร้างตึกแถวเพื่อการท่องเที่ยวของเมืองอมรปุระ จนกลายมาเป็นอนุสรณ์สถานที่มีกฎหมายคุ้มครองไม่ให้ถูกทำลายได้อีกต่อไปนั้น  ถือว่าบรรลุความสำเร็จแล้ว สามารถยุติบทบาทได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 463  เมื่อ 01 ก.ค. 23, 11:34

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร) ทรงเมตตา อธิษฐานจิตสู่บาตรมุกที่จะอัญเชิญไปบรรจุพระบรมอัฐิพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรแทนพระโกศทรงบาตรเดิม ที่ต้องส่งมอบให้กรมโบราณคดีพม่า ในฐานะที่เป็นโบราณวัตถุของชาติตามกฎหมาย

และในวโรกาสเดียวกัน ทรงประทานผ้าไตรจีวร ๑ สำรับ สำหรับบังสุกุลพระบรมอัฐิ และจีวร ๑ ผืนเพื่อห่อพระบรมอัฐิก่อนบรรจุลงพระโกศบาตรมุกด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 464  เมื่อ 01 ก.ค. 23, 11:34

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ ศาลาว่าการรัฐมัณฑะเลย์ (MCDC) และภายในห้องรับรองที่จะทำการส่งมอบ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง