เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70747 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 420  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:37

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 421  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:41

ที่ผ่านมา สมาคมสถาปนิกสยามได้แถลงข่าว และจัดเวทีอภิปรายไม่รู้จักกี่ครั้งแต่กี่ครั้ง คนในวงการไม่มีใครตกข่าว หรืออย่างน้อยก่อนจะนำมาลงใหม่ ผู้กำกับหน้าเฟซก็ควรจะลองเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในเน็ตก่อน จะได้ไม่ปล่อยอะไรที่น่าจะเลิกพูดไปแล้วออกมา "หลอก" คนอ่านอีก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 422  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:42

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 423  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:42

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 424  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:55

ความเห็นของอาจารย์พิเศษ จันทร์เจียพงศ์ที่แสดงไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๕ ผมก็อนาถใจว่าจนถึงทุกวันนี้ยังมีการนำมาอ้างอิงกันอีก ความจริงน่าไปถามท่านใหม่ว่าท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เปลี่ยนไปไหม กับการที่หลักฐานต่างๆได้ถูกเปิดเผยออกมามากขึ้นแล้วดังนี้ หากท่านยังยืนความเห็นเดิม ก็น่าจะจัดเวทีโบราณคดีให้ถกกับอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ให้ผู้สนใจอื่นๆได้รับฟังด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ทางวิชาการมากกว่าจะเล่นกันในสื่อคนละทีสองที


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 425  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:56

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 426  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 15:02

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสถูปทรงบัวนั้น ถึงพบว่าในเมืองไทยก็มี ไม่เฉพาะในเมืองลาว แต่ที่ลินซินกอง สถูปทรงกระบอกยอดบัวที่ว่าเป็นเพียงเครื่องหมายแสดงตำแหน่ง ส่วนอัฐิหรือพระอัฐิหรือพระบรมอัฐิที่เจออยู่ในสถูปองค์อื่นที่เพิ่งเห็นกันหลังเปิดหน้าดินแล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 427  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 15:10

ปัญหาในปัจจุบันมิใช่ว่าโบราณสถานนี้จะถูกทุบทิ้งทำลาย เพราะเอกชนโดยสมาคมสถาปนิกสยามได้ออกกำลังสติปัญญาและกำลังทรัพย์ อนุรักษ์และปฏิสังขรณ์มาได้ถึงระดับหนึ่งแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่อธิบดีกรมศิลปากรในอดีตให้สัมภาษณ์ดูหมิ่นข้าราชการและนักวิชาการของพม่าในโครงการนี้ไว้ ซึ่งทางราชการของพม่ายังคงรอให้ทางราชการไทยไปชี้แจงในเรื่องดังกล่าว ซึ่งบัดนี้ตัวบุคคลของทั้งสองฝ่ายได้เปลี่ยนไป น่าจะเริ่มต้นคุยกันใหม่ได้แล้ว จะได้ทำงานส่วนที่เหลืออีกประมาณ ๑๕ % ให้จบเสียที


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 428  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 15:11

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 429  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 15:11

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 430  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 15:16

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 431  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 15:16

ความเห็นของคุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ ผู้เขียนบทความตามล้อมกรอบนี้ แม้จะผ่านมาแล้วห้าปี ก็ยังใช้ได้อยู่ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 432  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 15:25

บทความนี้มีที่มาจากนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ธันวาคม 2555   โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ แห่งมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์เป็นผู้เขียนไว้นมนานกว่าห้าปีมาแล้ว

บทความนี้น่าจะตีพิมพ์ในจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เป็นครั้งแรก

บทความเรื่อง สถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร และลูกหลานชาวโยดะยาในพม่า “คุณหมอทิน มอง จี” โดย คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๖ ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 433  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 16:20


ขอตอบท่านอาจารย์นวรัตน์ เรื่องของถวายพระมหามุนี เมืองยะไข่ต่อนะครับ

จากสมัยพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา ไทยส่งทูตไปพม่าและยะไข่ หลายครั้งครับ
จากบันทึกของวันวลิต

พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นเวลาหลายศตวรรษทีเดียวที่ไม่เคยมีกษัตริย์สยามพระองค์ใดขึ้นครองบัลลังก์อย่างกล้าหาญชาญชัย มีความระแวดระวังเป็นเยี่ยมหรือมีอุบายฉลาดหลักแหลมมาก เช่นกษัตริย์พระองค์นี้ ดังนั้น นอกเหนือไปเสียจากความโหดเหี้ยม ซึ่งพระองค์แสดงให้เห็นในตอนเริ่มต้นรัชกาลของพระองค์แล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงมีคุณสมบัติเพียบพร้อมทุกประการที่จำเป็นสำหรับการครองราชย์ที่ดี ถึงแม้พระองค์ไม่มีฐานันดรศักดิ์ที่จะสืบราชสมบัติ พระองค์ก็มีคุณวุฒิของกษัตริย์โดยแท้จริง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จที่น่ายินดีทั้งมวลทางด้านกิจการงานเมืองที่ยิ่งใหญ่นั้น เป็นผลของการปฏิบัติงานอย่างดีเยี่ยมของพระองค์ยิ่งกว่าจะเป็นเพราะโชคอำนวย

ชาวเมืองปัตตานีปฏิเสธไม่ยอมถวายความจงรักภักดี ตามที่เคยปฏิบัติต่อกษัตริย์สยามเสมอมา ดังนั้นเพื่อที่จะไม่ให้คนเหล่านี้แสวงหาพรรคพวกจากเพื่อนบ้านประเทศใกล้เคียงมาช่วยเสริมกำลังในการก่อกบฏหรือ รบกวนความสงบสุขของประเทศด้วยการสงครามกับต่างประเทศ พระองค์ จึงส่งคณะทูตสำคัญไปยังกษัตริย์แห่ง Athein และกษัตริย์แห่งยะไข่ (Arracan) ในระยะแรกที่ขึ้นครองราชย์เพื่อต่อสัญญาพันธมิตร พันธไมตรีและการติดต่อซึ่งก่อน ๆ ทรงทำไว้กับกษัตริย์ทั้งสองนี้กับได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศนั้นด้วย ถึงแม้เหตุการณ์ต่อมามีทีท่าว่าสนธิสัญญานี้จะไม่ยืดยาวต่อไปถึงที่สุดก็ตาม พระเจ้าแผ่นดินก็ยังคงใช้สนธิสัญญานี้ เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งชาวปัตตานีให้กลับมาถวายความเคารพและเชื่อฟังต่อพระองค์


ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ บันทึกเรื่องไทยส่งทูตไปพม่าอังวะค่อนข้างละเอียด เรียกได้ว่ากลับมาค้าขายกันได้โดยสนิททีเดียว
อนึ่ง พระสังฆนายกฝ่ายขวา ฝ่ายซ้าย อรัญวาสี และคามวาสี ก็เป็นตำแหน่งเรียกแบบไทย
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเป็นของถวายโดยตรงจากอยุธยาครับ

ผมยังเดาว่าเป็นเรื่องที่บันทึกในสมัยพระเจ้าท้ายสระ หรือพระเจ้าบรมโกศมากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 434  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 16:46

บทความนี้มีที่มาจากนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ธันวาคม 2555   โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ แห่งมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์เป็นผู้เขียนไว้นมนานกว่าห้าปีมาแล้ว

บทความนี้น่าจะตีพิมพ์ในจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เป็นครั้งแรก

บทความเรื่อง สถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร และลูกหลานชาวโยดะยาในพม่า “คุณหมอทิน มอง จี” โดย คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๖ ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ก็เป็นไปได้เช่นกันครับว่าคุณวลัยลักษณ์จะส่งบทความเรื่องเดียวกัน ไปตีพิมพ์ในนิตยสารทั้งสองเล่ม แต่ข้อมูลข้างต้น ผมก็นำมาจากเฟซของศิลปวัฒนธรรม เรื่องเดียวกันนี้แหละ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.321 วินาที กับ 20 คำสั่ง