เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70423 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 07:52

คือความตั้งใจที่ผมพยายามจะสื่อก็คือ ไม่อยากให้ใช้คำว่า สุสานล้านช้าง เพราะมันมักจะทำความเข้าใจผิดให้แก่หลายคนที่อาจจะคิดว่า แล้วทำไมกษัตริย์ไทยจึงไปอยู่ที่สุสานล้านช้างได้ เป็นตุเป็นตะขนาดว่าสถูปยอดบัวเป็นสถาปัตยกรรมล้านช้างไปเลยทีเดียว ผมจึงใช้ทับศัพท์ว่าลินซินกอง หรือ เนินลินซิน ตามที่หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการพม่ามักจะเรียกว่า Lin Zin Hill หรือ Lin Zin Hillkock


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 07:54

อย่างไรก็ดี คำว่า Lin Zin หรือ Linzin คงหมายถึงล้านช้างแน่นอน แต่จะหมายถึงคน หรือ ราชอาณาจักร ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ประวัติของ หรือบุเรงนอง หาได้ในวิกกี้ก็กล่าวถึงคำๆนี้

In the 1570s, Bayinnaung launched another campaign, this time directed against the kingdom of Lan Xang (Lin Zin) in today's Laos. King Sai Setthathirath I and many residents of Vientiane (Vieng Chan) fled to the surrounding jungles where they resisted the invasion. Bayinnaung could pursue them but not fight them. So he could not establish decisive control over the land; therefore he returned to Burma.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 07:55

และ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 08:14

ส่วนว่าทำไมปรากฏมีคำว่าลินซินกอง หรือ  Lin Zin Hill ในอมรปุระ blog ทางประวัติศาสตร์ผมค้นเจอโดยอินทรเนตรเล่าว่า พระเจ้ามังระกวาดต้อนครัวเรือนจากล้านช้างมาถึงสองครั้ง ในปี ๑๗๖๓ กับ ๑๗๖๕ และนำมาอยู่ใกล้ทะเลสาปตองตามัน ไม่ไกลจากกรุงอังวะ ที่ตรงนั้นเลยถูกเรียกว่าเนินล้านช้าง (Lin Zin Hill) นับแต่บัดนั้น ขณะดังกล่าวเมืองอมรปุระยังไม่ได้สร้าง

ส่วนในล้อมกรอบถัดมา ระบุว่าพระเจ้าอุทุมพร ในเพศบรรพชิต เสด็จสวรรคตที่หมู่บ้าน(นั้น) ในปี ๑๗๙๖ ห่างจากการขนานนามสถานที่ว่าเนินล้านช้างถึงสามสิบกว่าปี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 07 ธ.ค. 17, 08:51


ถ้าลินซินกอง แปลว่าดอนล้านช้าง ก็เป็นคนละที่กันละครับ
ที่ตรงนั้นเป็นที่ลุ่ม ไม่เป็นที่ดอน


สถานที่ตรงนั้นอยู่หลังพุ่มไม้ริมทะเลสาปครับ คนเรียกอย่างนั้นเป็นคนแรกคงมองในภาพใหญ่ มากกว่าจะพิจารณาว่าบางปีที่น้ำท่วมใหญ่ พื้นที่บางแห่งอาจมีน้ำท่วมขังบ้าง
ถ้าในเมืองอมรปุระ(หรือในพม่า)มีตรงไหนที่เรียกว่าลินซินกองอีกค่อยน่าสงสัย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 14 ธ.ค. 17, 23:53

ดูจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Burmese_alphabet เข้าใจว่าเสียง i ของพม่าออกเสียงคล้าย เอย์ นะครับ linzin จึงออกเสียงคล้าย เลย์งเซย์ง ซึ่งเป็นการออกเสียงคำว่าล้านช้างอย่างที่หูคนพม่าได้ยิน ซึ่งคำนี้เป็นคำโบราณที่พม่าใช้เรียกศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรลาวที่เวียงจันทน์ ไม่แปลกที่ชาวบ้านพม่ารุ่นใหม่จะไม่รู้จักครับ

บทความของอูหม่องหม่องทินเขียนราวปี 1984 (ต้องขออภัยถ้าจำผิดสัก 2-3 ปี เพราะผมจำตัวเลขแน่นอนไม่ได้ อ่านเมื่อหลายวันก่อน แต่เพิ่งมีเวลามาเขียนครับ) ซึ่งเป็นเวลาก่อนเรื่องวุ่นวายทั้งหมดจะเกิดขึ้น โดยส่วนตัวผมเข้าใจว่าเป็นฝ่ายนักวิชาการพม่าที่บอกว่าเลงเซงคือล้านช้างแน่

เรื่องนี้ไม่ได้ลดทอนความน่าเชื่อถือว่าเลงเซงโกงเป็นสถานที่ปลงพระศพพระเจ้าอุทุมพรแต่อย่างใดเพราะช่วงเวลาที่พระเจ้ามังระกวาดต้อนไพร่พลจากล้านช้างมาที่นี่ในปี 1763 หรือ 1765 นั้น เป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์โกนบ่องมายึดเชียงใหม่ เวียงจันทน์ เตรียมเปิดศึกกับอยุธยาในอีกไม่กี่ปีต่อมาครับ

แต่เรื่องที่ผมว่าน่าคิดคือ สถานะของมหาเถระพระเจ้าอุทุมพรนั้นมีความสำคัญในพม่าแค่ไหน?
อย่างแรกสุดคือ อยากรู้ว่าหน้าอื่นๆในสมุดข่อยนี้กล่าวถึงเจ้านายขาติอื่นๆอย่างไร การถวายพระเกียรติพระเจ้าอุทุมพรมีความพิเศษกว่าเจ้านายอื่นๆหรือไม่
เรื่องถัดมาคือ พม่าในยุคนั้นวุ่นวายกับเรื่องการชำระความขัดแย้งในพระพุทธศาสนาอยู่มาก ประทุกันหลายระลอกในช่องเวลา 100-200 ปี โดยปัญหา(ที่ยกมาวางไว้บนโต๊ะ ที่อยู่ใต้โต๊ะนั้นน่าจะใหญ่กว่านี้มาก) คือเรื่องห่มจีวรเปิดไหล่หรือห่มคลุม ซึ่งสมัยพระเจ้าปดุงก็มีการจัดระเบียบล้างบางองค์กรสงฆ์ในพม่าครั้งใหญ่ (อ่านได้ในมหาวงศ์) ซึ่งการจัดระเบียบนี้นำโดย พระสังฆราช (เขาเรียกมหาสังฆราชา) กับพระราชาคณะอีก 4 รูป (เรียกว่า สังฆราชา) ซึ่งดูจากชื่อแล้วน่าจะเป็นผู้นำสงฆ์ในหมู่ชนชาติต่างๆในพม่า แต่ไม่มีพระเถระโยเดียอยู่ในพระราชาคณะทั้ง 4 นี้ ถึงช่วงปลายรัชกาลจะเพิ่มสังฆราชาเป็น 8 รูปก็ยังไม่มีอยู่ดี และเวลานั้นพระเถระพระเจ้าอุทุมพรก็ละสังขารไปแล้วหลายปีครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 15 ธ.ค. 17, 09:03

ขอบคุณคุณม้าที่เข้ามาช่วยสรุปในประเด็นของลินซินกอง ซึ่งถึงหน้านี้ก็แปลว่า เนินล้านช้าง ไม่ใช่สุสานล้านช้างแน่ เพราะเป็นที่ๆพม่านำครัวเรือนที่กวาดต้อนจากเวียงจันทน์มาลงหลักปักฐาน และไม่ได้เป็นสุสานจนเลยสมัยที่พระมหาเถระเจ้าอุทุมพรเสด็จสวรรคตไปแล้ว และพม่าเสียเมืองให้อังกฤษ
คำว่าสุสานนี้ ไม่ทราบว่าพม่าเรียกอะไร น่าจะมีคำๆนี้มาต่อหลังคำว่าลินซินกอง

ส่วนประเด็นหลังเกี่ยวกับวงการพระสงฆ์ ตรงที่คุณม้าใช้คำว่า ซึ่งดูจากชื่อแล้วน่าจะเป็นผู้นำสงฆ์ในหมู่ชนชาติต่างๆในพม่า
ผมก็ขอน่าจะบ้างแล้วกันว่า ชนชาติเหล่านั้นคงเป็นมอญ ยะไข่ ไทในรัฐฉาน ซึ่งเป็นเมืองขึ้นเกือบจะถาวรของพม่าแบบถือเป็นชนกลุ่มน้อย มากกว่าชาวโยเดียที่ยังทำสงครามกันมิทันจะขาดตอน

บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 17 ธ.ค. 17, 06:24

อ่านบทความซ้ำไปซ้ำมาแล้วนอนไม่หลับ อยากช่วยเหลือทีมงานมาก แต่ความรู้มีจำกัด ทรัพย์ก็จำกัด เลยทำได้แค่จำลองบาตรเป็นงาน 3d ประกอบบทความไปก่อน ไว้ได้ละเอียดส่วนฝาบาตรเสร็จจะนำมาลงอีกทีครับ

บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 17 ธ.ค. 17, 07:55

ขอบคุณในน้ำใจของคุณคฑาธรมากนะครับ ผมเชื่อว่าพวกทีมงานสร้างอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรคงจะชื่นใจ หากได้เข้ามาเห็น

เรื่องบาตรพระของพม่านี้ หลังจากที่ได้ฟังคำสัมภาษณ์ของนายเอนก อธิบดีกรมศิลปากรตอนนั้นที่พูดออกสื่อ วิจารณ์ภาชนะที่เห็นในภาพถ่ายว่า ก็เหมือนบาตรประดับกระจกธรรมดาๆ  พบเห็นได้ง่ายๆทั่วไปตามร้านขายของจำพวกนี้ในมัณฑเลย์ ผมก็พยายามใช้อินทรเนตรส่องหาดู  พบว่าบาตรพระของพม่ารูปทรงผิดจากของไทยแล็กน้อย ส่วนฝาบาตรสามารถใช้วางของได้ในลักษณะเดียวกับถาด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 17 ธ.ค. 17, 08:03

แต่ถ้าจะหาทั้งบาตร ฝาและเชิงบาตรเป็นชุดสวยงามแล้ว จะหาเจอในร้านเครื่องเขิน ซึ่งตกแต่งประดับประดาสำหรับใส่ของอย่างอื่น ที่ไม่ได้ใช้สำหรับออกบิณฑบาต


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 17 ธ.ค. 17, 08:12

ผมพยายามหาที่เป็นภาชนะดินเผาประดับกระจก ก็ไม่มีเลย ถามคนในทีมงานว่าเคยเห็นในร้านที่พม่าไหม ก็ไม่มีใครเคยเห็น พวกเขาบอกว่า ฐานรองที่พบในพระสถูปนั้นเป็นพานแว่นฟ้า เพราะทำด้วยไม้จริง ประดับกระจก เป็นรูปทรง ๖ เหลี่ยม คงหาไม่ได้

พวกเครื่องเขินที่เป็นโบราณวัตถุ มีโฆษณาขายในเว็บของฝรั่งนั้น ที่มีสวยงามใกล้เคียงก็ดังในรูป แต่ก็ยังไม่เหมือนกับสิ่งที่พบ


ฉะนั้นที่นายเอนกบอกว่าพบเห็นได้ง่ายๆทั่วไปนั้น  นายเอนกคงหมายถึงของคนละประเภทกันโดยสิ้นเชิง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 17 ธ.ค. 17, 09:59

ศิลปวัตถุที่ใกล้เคียงสิ่งที่ขุดพบนั้น เป็นบาตร(ประดับบารมี)ของพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ของพม่าชิ่้นหนึ่ง ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัด อยู่ในเมืองอังวะ


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 18 ธ.ค. 17, 00:13

น่าสนใจครับ บาตรใบนี้ดูคล้ายกันกับบาตรที่ใส่อัฐิในเจดีย์ ผมเคยค้นรูปบาตรพม่า เห็นว่าฝาจะแบนเรียบๆอย่างบาตรพระทั่วไป บาตรในเจดีย์มีฝาที่แตกต่าง รูปนี้ถือว่าเป็นคำตอบข้อข้องใจได้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 18 ธ.ค. 17, 10:08

เอาภาพบาตรที่ว่าตอนขึ้นจากกรุมาให้คุณม้าชมอีกชัดๆ สิ่งๆนี้บางคนเรียกผอบ บางคนเรียกลุ้ง หรือคนพม่าที่พอรู้ภาษาไทยอย่างคุณมิกกี้ ฮาร์ท จะพยายามเรียกว่าโกศ อยากทราบเหมือนกันภาษาพม่าเรียกว่ากระไร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 18 ธ.ค. 17, 11:27




ภาพวาดสมัยพระเจ้ามินดง พระพุทธเจ้าทรงบาตรมรกต
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 20 คำสั่ง