เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70420 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 13:46


กรมศิลปากร
ภารกิจ

ภารกิจของกรมศิลปากร เกี่ยวกับการคุ้มครอง  ป้องกัน  อนุรักษ์  บำรุงรักษา  ฟื้นฟู  ส่งเสริม  สร้างสรรค์  เผยแพร่  ศึกษา  ค้นคว้า  วิจัย  พัฒนา  สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ   เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ  อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ  มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลศิลปวัฒนธรรมของชาติแขนงต่าง ๆ  ได้แก่  งานด้านโบราณคดี  ประวัติศาสตร์  พิพิธภัณฑ์  สถาปัตยกรรม  หัตถศิลป์  นาฏดุริยางคศิลป์  ด้านเอกสาร  ภาษา  และหนังสือ  ด้านการจัดการศึกษาศิลปวัฒนธรรม

บทบาทหน้าที่        

๑.  ปกป้อง คุ้มครอง  อนุรักษ์  ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมธำรงจารีตประเพณี  พระราชพิธี  และรัฐพิธีให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ

๒.  สืบทอด  สร้างสรรค์  เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

๓.  ปรับเปลี่ยนระบบและกลไกการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม

๔.  บริหารจัดการองค์ความรู้และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว

๕.  จัดการศึกษาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์   สืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน


กรณีที่เกี่ยวข้องนี้ กรมศิลปากรมิได้ทำหน้าที่ตามที่สังคมคาดหวังว่าควรจะทำ
การศึกษา ค้นคว้า วิจัย ศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรม
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและอนุรักษ์นับเป็นส่วนสำคัญของภารกิจตามกฎหมายของกรมนี้

ไม่จำเป็นต้องให้ได้คำยืนยัน 100% แล้วค่อยออกมาขึ้นทะเบียนครับ
ยกตัวอย่างเช่น เจดีย์ยุทธหัตถี อยู่ที่ใด ไม่มีใครทราบแน่ชัด 100% กรมศิลปากรก็เข้าไปบูรณะและรับรองทุกที่ ถ้าเจ้านายในรัฐบาลสั่ง
กรณีนี้ คาดว่าเจ้านายไม่สั่ง บวกกับคนเก่งๆในกรมศิลปากร เกษียณอายุไปหมดแล้วครับ
 
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 13:47


...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 14:52

ไม่จำเป็นต้องให้ได้คำยืนยัน 100% แล้วค่อยออกมาขึ้นทะเบียนครับ
ยกตัวอย่างเช่น เจดีย์ยุทธหัตถี อยู่ที่ใด ไม่มีใครทราบแน่ชัด 100% กรมศิลปากรก็เข้าไปบูรณะและรับรองทุกที่ ถ้าเจ้านายในรัฐบาลสั่ง
กรณีนี้ คาดว่าเจ้านายไม่สั่ง บวกกับคนเก่งๆในกรมศิลปากร เกษียณอายุไปหมดแล้วครับ


แม้แต่มียุทธหัตถีระหว่างพระนเรศวรและพระมหาอุปราชาหรือไม่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ได้ถอดความพงศาวดารพม่าฉบับอูกาลา มีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนนี้ ระบุว่าไม่มีการชนช้างหรือยุทธหัตถีระหว่างพระนเรศวรและพระมหาอุปราชา แต่พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์เพราะถูกปืนยิง พระศพถูกอัญเชิญกลับสู่กรุงหงสาวดี

ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชา ก็ไสพระคชาธารเข้ายังตำแหน่งที่จอมทัพพม่านั้นประทับอยู่โดยแรงเร็ว ฝ่ายเจ้าเมืองซามะโรครั้นเห็นพระนเรศวรขับพระคชาธารตรงรี่หมายเข้าชิงชนช้างประทับก็เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพระหนะแห่งตนออก หมายมุ่งพุ่งสกัดช้างทรงองค์นเรศวร แต่ช้างตกน้ำมันเชือกนั้นกลับหันรีหันขวางแลกลับตัวเข้าแทงโถมเอาช้างทรงองค์อุปราชาโดยกำลังแรง พระมหาอุปราชาจึงจำต้องขับพระคชาธารเข้ารับไว้ ซึ่งช้างทรงองค์จอมทัพพม่าถึงจามสนั่น (ด้วยบาดเจ็บสาหัส) แลขณะนั้นข้างอยุธยาก็ระดมยิงปืนสวนทางมากระสุนถูกเอาองค์อุปราชาโดยถนัดจนสิ้นพระชนม์ซบกับคอคชาธาร คุเยงพละกลางช้างพระที่นั่งเห็นมหาอุปราชาต้องปืนใหญ่ (ปืนที่ยิงมหาอุปราชานั้นอูกาลาระบุว่า คือปืนชนิดเดียวกับที่เรียกว่า Jingal ในภาษาอังกฤษ) ก็เข้าพยุงพระศพไว้ และบังคับช้างเข้ากำบังในพุ่มไม้ ข้างพระนเรศวรยังไม่ทรงทราบว่ามหาอุปราชาหาพระชนม์ชีพไม่ จึงไม่ทรงขับพระคชาธารตามติดปะทะ เพียงยั้งรออยู่
.........................................

ฝ่ายข้าทหารใหญ่น้อยได้ฟังความตามตรัสก็เห็นคล้อย จึงต่อโลงใส่พระศพด้วยไม้มะม่วงอย่างเลิศ แลเอาปรอทกรอกพระศพแล้วก็จัดกระบวนรี้พลเชิญพระศพองค์อุปราชากลับคืนพระนคร เดือนมีนาคมก็บรรลุถึงหงสาวดี องค์ธรรมราชามหากษัตริย์ ครั้นสดับข่าวว่าพระราชาโอรสมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ชีพ และพระศพนั้นถูกอัญเชิญกลับคืนมาก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยอัครมเหสีราชมารดาออกรับพระศพ และลุเลิกพระศพเยี่ยงพระจักรพรรดิราช ห้อมล้อมด้วยช้างม้าไพร่พลสกลไกร การพระศพกระทำท่ามกลางความโศกเศร้าโศกาดูรยิ่ง ฯลฯ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 15:26


สนับสนุนภาพประกอบเพิ่มเติมครับ

บริเวณที่ตั้งอนุสรณ์สถานที่เชื่อกันว่าเคยเป็นบริเวณวัดโยเดีย นับเป็นทำเลทองติดทะเลสาบสมัยเมืองอมรปุระเลยทีเดียว
สภาพภูมิศาสตร์มีชุมชนอาศัยอยู่หนาแน่นสองฟากของสะพานอูเบียน



บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 15:38

เรื่องกรมศิลป์รับรองหรือไม่ ผมไม่เห็นเป็นเรื่องสำคัญครับ ยิ่งสถานการณ์ตอนนี้ที่เดินหน้าโดยกำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานพระเจ้าอุทุมพรโดยไม่ต้องไปยึดติดกับข้อเท็จจริงว่าอัฐิที่พบจะต้องเป็นพระอัฐิของพระเจ้าอุทุมพรอย่างแน่นอนหรือไม่ ก็ไม่เห็นว่าจะต้องพึ่งการรับรองจากทางการอีก

ที่น่าคุยกันต่อไปเป็นเรื่องทางวิชาการมากกว่าครับ

เกณฑ์ความน่าเชื่อถือน่าจะอ้างอิงเทียบเคียงกับกรณีพระศพพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 เมื่อไม่กี่ปีก่อน น่าจะได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 15:53

เกณฑ์ความน่าเชื่อถือน่าจะอ้างอิงเทียบเคียงกับกรณีพระศพพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 เมื่อไม่กี่ปีก่อน น่าจะได้ไหมครับ

นึกถึงวิธีการพิสูจน์ตัวบุคคลใน กรณีพระเจ้าริชาร์ดที่ ๓ แห่งอังกฤษ

ว่าแต่ว่าเราจะพอหาเชื้อสายของพระเจ้าอุทุมพรในปัจจุบันได้บ้างไหมหนอ


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 17:02

อย่างแรกที่น่าทำคือ carbon dating อัฐิที่พบ เพราะตอนนี้อ้างอายุโดยดูจากขนาดอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างสถูปว่าขนาดเดียวกับที่ใช้สร้างเมืองอมรปุระ ซึ่งทางกรมศิลป์เห็นว่าวิธีนี้ใช้ไม่ได้

อันที่จริง ถ้าในอิฐมีส่วนประกอบของอินทรียสารก็อาจจเอามาทำ carbon dating ด้วยนะครับ อย่างน้อยเรื่องเวลาจะได้จบไปเรื่องหนึ่ง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 17:13

ไม่จำเป็นต้องให้ได้คำยืนยัน 100% แล้วค่อยออกมาขึ้นทะเบียนครับ
ยกตัวอย่างเช่น เจดีย์ยุทธหัตถี อยู่ที่ใด ไม่มีใครทราบแน่ชัด 100% กรมศิลปากรก็เข้าไปบูรณะและรับรองทุกที่ ถ้าเจ้านายในรัฐบาลสั่ง
กรณีนี้ คาดว่าเจ้านายไม่สั่ง บวกกับคนเก่งๆในกรมศิลปากร เกษียณอายุไปหมดแล้วครับ


แม้แต่มียุทธหัตถีระหว่างพระนเรศวรและพระมหาอุปราชาหรือไม่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ได้ถอดความพงศาวดารพม่าฉบับอูกาลา มีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนนี้ ระบุว่าไม่มีการชนช้างหรือยุทธหัตถีระหว่างพระนเรศวรและพระมหาอุปราชา แต่พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์เพราะถูกปืนยิง พระศพถูกอัญเชิญกลับสู่กรุงหงสาวดี

ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชา ก็ไสพระคชาธารเข้ายังตำแหน่งที่จอมทัพพม่านั้นประทับอยู่โดยแรงเร็ว ฝ่ายเจ้าเมืองซามะโรครั้นเห็นพระนเรศวรขับพระคชาธารตรงรี่หมายเข้าชิงชนช้างประทับก็เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพระหนะแห่งตนออก หมายมุ่งพุ่งสกัดช้างทรงองค์นเรศวร แต่ช้างตกน้ำมันเชือกนั้นกลับหันรีหันขวางแลกลับตัวเข้าแทงโถมเอาช้างทรงองค์อุปราชาโดยกำลังแรง พระมหาอุปราชาจึงจำต้องขับพระคชาธารเข้ารับไว้ ซึ่งช้างทรงองค์จอมทัพพม่าถึงจามสนั่น (ด้วยบาดเจ็บสาหัส) แลขณะนั้นข้างอยุธยาก็ระดมยิงปืนสวนทางมากระสุนถูกเอาองค์อุปราชาโดยถนัดจนสิ้นพระชนม์ซบกับคอคชาธาร คุเยงพละกลางช้างพระที่นั่งเห็นมหาอุปราชาต้องปืนใหญ่ (ปืนที่ยิงมหาอุปราชานั้นอูกาลาระบุว่า คือปืนชนิดเดียวกับที่เรียกว่า Jingal ในภาษาอังกฤษ) ก็เข้าพยุงพระศพไว้ และบังคับช้างเข้ากำบังในพุ่มไม้ ข้างพระนเรศวรยังไม่ทรงทราบว่ามหาอุปราชาหาพระชนม์ชีพไม่ จึงไม่ทรงขับพระคชาธารตามติดปะทะ เพียงยั้งรออยู่
.........................................

ฝ่ายข้าทหารใหญ่น้อยได้ฟังความตามตรัสก็เห็นคล้อย จึงต่อโลงใส่พระศพด้วยไม้มะม่วงอย่างเลิศ แลเอาปรอทกรอกพระศพแล้วก็จัดกระบวนรี้พลเชิญพระศพองค์อุปราชากลับคืนพระนคร เดือนมีนาคมก็บรรลุถึงหงสาวดี องค์ธรรมราชามหากษัตริย์ ครั้นสดับข่าวว่าพระราชาโอรสมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ชีพ และพระศพนั้นถูกอัญเชิญกลับคืนมาก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยอัครมเหสีราชมารดาออกรับพระศพ และลุเลิกพระศพเยี่ยงพระจักรพรรดิราช ห้อมล้อมด้วยช้างม้าไพร่พลสกลไกร การพระศพกระทำท่ามกลางความโศกเศร้าโศกาดูรยิ่ง ฯลฯ

บรรยากาศเริ่มคึกคักเป็นกระทู้สไตล์ผมขึ้นมาอีกครั้ง ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเสริมให้สนุกนะครับ

ข้อขัดแย้งในความเชื่อด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีกรณีย์ยุทธหัตถีนี่ ไม่ต้องไปดูไกลถึงพม่าครับ ในเมืองไทยนี่แหละ เราเคยเถียงกันจะเป็นจะตายมาแล้วในสมัยคนรุ่นเรานี่แหละ เพราะเกิดมีการไปขุดเจออาวุธโบราณรวมทั้งกระดูกคนกระดูกสัตว์มากมายที่อำเภอพนมทวน แบบที่ไม่เคยเจอมาก่อนที่ดอนเจดีย์ พอผมเข้าไปเสิร์ชดู พบว่าข้อขัดแย้งนี้ยุติลงได้ก็เพราะ

ผู้ยุติเรื่องที่ตั้งเจดีย์ยุทธหัตถี

             ในที่สุดกลุ่มมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นำโดยจมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ได้ออกมาแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบกลุ่มกาญจนบุรีว่า เรื่องเจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพระราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 6 โดยอ้างถึงเหตุการณ์ตอนเสด็จพระราชดำเนินในพิธีบวงสรวงพระเจดีย์ที่ดอนเจดีย์  พวกตนในฐานะผู้จงรักภักดีต้องตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จึงขอยืนยันความถูกต้องเรื่องนี้  เหตุผลที่คนกลุ่มนี้ยกมาเพื่อยุติการโต้แย้งที่เกิดขึ้นนานถึง 5 ปี ก็คือ "ทางชาติบ้านเมืองเรา ก่อสร้างพระอนุสาวรีย์ของพระนเรศวรไว้เคารพสักการะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเสด็จเปิดพระเจดีย์มาแล้ว การแปรเปลี่ยนเอาเจดีย์ไปไว้ที่อื่นให้ผิดไปจึงไม่เห็นด้วย และชาติบ้านเมืองเวลานี้ต้องการความสามัคคีเป็นใหญ่ จึงควรยุติเรื่องลงได้แล้วว่า พระเจดีย์ควรอยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย ตามที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชวินิจฉัยไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันก็ทรงรับรอง จึงเสด็จไปกระทำพิธีอย่างหนึ่ง รัฐบาลของเราก็รับรองไปสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรอย่างหนึ่ง ไม่ควรมีคนคิดจะยกเอาไปไว้ที่อื่น ถ้าหากว่ามีคนหาญกล้าจะทะนงทำอย่างนั้น ผมเห็นว่ามันจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" คำอภิปรายของจมื่นอมรดรุณารักษ์เมื่อ 3 มีนาคม 2516 กรมประชาสัมพันธ์ได้พิมพ์คำบรรยายนี้ใน จมื่นดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช)พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องอนุสรณ์ดอนเจดีย์พระนเรศวร(กรุงเทพ:คุรุสภา 2520)

             การยุติเรื่องที่ตั้งเจดีย์ยุทธหัตถีของกลุ่มมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 โดยยกเรื่องความสามัคคีในชาติ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้การสืบค้นเรื่องในเชิงวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอันต้องยุติลงอย่างน่าเสียดาย


ไม่ได้เป็นฝีมือของนักวิชาการกรมศิลปากรเลย (อดไม่ได้จะต้องแวะตรงนี้อีกแล้ว)

http://brainbank.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=222&articleType=ArticleView&articleId=243
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 17:23

อย่างแรกที่น่าทำคือ carbon dating อัฐิที่พบ เพราะตอนนี้อ้างอายุโดยดูจากขนาดอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างสถูปว่าขนาดเดียวกับที่ใช้สร้างเมืองอมรปุระ ซึ่งทางกรมศิลป์เห็นว่าวิธีนี้ใช้ไม่ได้

อันที่จริง ถ้าในอิฐมีส่วนประกอบของอินทรียสารก็อาจจะเอามาทำ carbon dating ด้วยนะครับ อย่างน้อยเรื่องเวลาจะได้จบไปเรื่องหนึ่ง

พระอัฐิที่พบมีชิ้นที่ใหญ่และสมบูรณ์อยู่ชิ้นหนึ่ง เป็นกระดูกกราม ซึ่งคุณหมอทินหม่องจีพิจารณาแล้วบอกว่า เป็นของคนที่มีอายุเกินหกสิบแน่นอน ดูง่าย (แบบเดียวกับเซียนดูพระเครื่อง)
แต่อย่างว่าแหละ คนที่ไม่อยากเชื่อก็คงไม่เชื่อ เพราะจากหลักฐานเอกสารของพม่า สามารถคำนวณหาพระชนมายุของพระเจ้าอุทุมพรได้ว่าสวรรคตเมื่อ ๖๔ ชนษา (ตรงนี้ถ้าผิดเลขตัวหลังไปก็ขออภัยนะครับ ขี้เกียจย้อนกลับไปค้น)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 17:43

บาตรและสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน


กระดูกกราม นาทีที่ ๑.๑๘ - ๑.๓๐


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 17:46

เกณฑ์ความน่าเชื่อถือน่าจะอ้างอิงเทียบเคียงกับกรณีพระศพพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 เมื่อไม่กี่ปีก่อน น่าจะได้ไหมครับ

นึกถึงวิธีการพิสูจน์ตัวบุคคลใน กรณีพระเจ้าริชาร์ดที่ ๓ แห่งอังกฤษ

ว่าแต่ว่าเราจะพอหาเชื้อสายของพระเจ้าอุทุมพรในปัจจุบันได้บ้างไหมหนอ






คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 17:47

พี่วิจิตรชวนผม เมื่อผมแสดงความสนใจในงานที่พี่เค้ากำลังทำเป็นครั้งแรก ให้ไปพบทายาทของพระเจ้าเอกทัศด้วยกัน ผมก็ไป

สุภาพบุรุษท่านนั้นอยู่ในวัยก่อนเกษียณเล็กน้อย คณะทำงานคนหนึ่งพามาที่ห้องประชุมของสมาคมสถาปนิกสยามให้พวกเราได้รู้จัก นี่ผมขออนุญาตท่านแล้วที่จะขอเปิดเผยเรื่องนี้
ท่านเล่าว่า ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง บรรพบุรุษปฐมวงศ์ของท่านชื่อหม่อม(เจ้า)ก้อนแก้ว เมื่อกรุงแตกนั้น รวดพ้นจากการถูกกวาดต้อนไปเมืองพม่า แต่ไม่สามารถแสดงตัวได้ ท่านก็ไม่ทราบว่าด้วยเหตุใด อาจจะอายหรือเกรงถูกทำร้ายเพราะความที่เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอกทัศ (เรื่องนี้ผมเสริมว่า ถ้าท่านเปิดเผยก็ตายสิครับ เพราะพระเจ้าตากท่านไม่เอาไว้เจ้านายเก่าที่เป็นชาย หนีไปถึงโคราชท่านก็ตามไปสำเร็จโทษหมด ถือเป็นภารกิจแรกในรัชกาล)

ท่านได้เอาสาแหรกของสกุลมาให้พวกเราดู รุ่นปู่ของท่านนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าพระราชทานนามสกุลให้ว่ารัตนทัศนีย์ ท่านบอกว่าที่ผ่านมาญาติๆก็ไม่ค่อยจะเปิดเผยเรื่องนี้ เพราะกลัวจะถูกหาว่าแอบอ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเก็บไว้เป็นความลับ
เมื่อครั้งเรียนที่คณะสถาปัตย์นั้น อาจารย์ของผมท่านหนึ่งมีนามว่า ศาสตราจารย์เฉลิม รัตนทัศนีย์ ถามแล้ว ท่านบอกว่าเป็นลุงของท่าน

แต่ก็นั่นแหละครับ นอกจากกระดาษแผ่นนั้นแล้ว ท่านก็ไม่มีอะไรมายืนยันอีกได้ว่า หม่อมก้อนแก้วเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอกทัศจริงๆ เราฟังแล้วก็ต้องปลง ขืนเปิดตัวออกมาก็คงมีคนไม่เชื่อ รวมทั้งวิธีการพิสูจน์DNA ฟังว่ากระดูกที่เผาไฟแล้วหลักฐานจะเปลี่ยนหมด ไม่เหมือนของพระเจ้าริชาร์ด ซึ่งฝังพระศพลงไปเฉยๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 18:03


สนับสนุนภาพประกอบเพิ่มเติมครับ

บริเวณที่ตั้งอนุสรณ์สถานที่เชื่อกันว่าเคยเป็นบริเวณวัดโยเดีย นับเป็นทำเลทองติดทะเลสาบสมัยเมืองอมรปุระเลยทีเดียว
สภาพภูมิศาสตร์มีชุมชนอาศัยอยู่หนาแน่นสองฟากของสะพานอูเบียน


ด้วยความขอบคุณ ผมก็มีภาพประกอบมาประกอบภาพของคุณคนโคราชอีกทีครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 18:09

รวมทั้งวิธีการพิสูจน์DNA ฟังว่ากระดูกที่เผาไฟแล้วหลักฐานจะเปลี่ยนหมด ไม่เหมือนของพระเจ้าริชาร์ด ซึ่งฝังพระศพลงไปเฉยๆ

หากใช้ดีเอ็นเอจากไมโตคอนเดรียอาจจะพอมีหวัง

ไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอยังมีคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นข้อเด่นหลายประการ เชํน สามารถใช้แสดงความสัมพันธ์ในเครือญาติฝ่ายมารดา ใช้ในกรณีที่สิ่งส่งตรวจไม่สามารถตรวจด้วยนิวเคลียร์ดีเอ็นเอได้อยำงสมบูรณ์ในหลายกรณี เชํน กรณีสิ่งส่งตรวจเป็นเส้นผม โครงกระดูกที่มีอายุเก่าหรือมีการเผาไหม้ หรือในสิ่งส่งตรวจที่มีการเน่าสลาย

จากบทความเรื่อง ไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอและการประยุกต์ใช้ในงานนิติวิทยาศาสตร์


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 18:49

mtDNA สืบทอดมาทางฝ่ายหญิง น่าจะยิ่งยากหรือเปล่าครับ สายหม่อมก้อนแก้ว หากเป็นทายาทพระเจ้าเอกทัศจริง ก็ยังไม่ใช่สายตรงพระเจ้าอุทุมพรอยู่ดีครับ เรื่องตรวจสอบโดยสายเลือดนี้ผมไม่กล้าหวังครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง