เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70787 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 07:47

คณะทำงานของสมาคมสถาปนิกสยามในนามของคณะทำงานไทยเดินทางกลับกรุงเทพพร้อมกับความสำเร็จ อย่างน้อย เป้าหมายหลักที่ต้องการรักษาหลักฐานอันเกี่ยวเนื่องจากพระเจ้าอุทุมพรไว้ ก็เป็นอันนอนใจได้แล้ว  และยิ่งกว่านั้น พระสถูปซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าอุทุมพรก็จะไม่ถูกบูโดเซอร์ไถกลบทำลายเป็นเศษทรากลงไปกับดินดังที่เคยกลัวกัน  เนื่องจากผลการค้นพบทางโบราณคดีนี้ ทำให้รัฐบาลพม่าต้องเลิกล้มโครงการพัฒนาเมืองเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ หันมาทำเป็นโครงการเพื่อการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์แทนตามกฏหมาย

ที่เห็นนี้คือหนังสือรายงานสรุปผลการปฏิบัติการโครงการบูรณาการร่วมกัน ระหว่างรัฐบาลไทยภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมสถาปนิกสยาม และรัฐบาลสาธารณรัฐเมียนม่าร์ ที่สมาคมสถาปนิกสยามจัดทำขึ้น เพื่อมอบให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและมีมติแต่งตั้งให้สมาคมกระทำการในนามของรัฐบาลไทย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 07:49

หน้าสำคัญหน้าหนึ่งในหนังสือรายงานดังกล่าว เป็นแผนภูมิผังองค์กรของคณะทำงานที่แสดงว่า ในระหว่างปฏิบัติการกำหนดเวลา ๑ เดือน ระหว่างวันที่ ๑๘ กุมภาพันธุ์ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖ นั้น มีข้าราชการสำคัญฝ่ายพม่าได้เข้ามาเยี่ยมชมโครงการคือ

รัฐมนตรีช่วย กระทรวงวัฒนธรรม ๑ ครั้ง
ผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ ๒ ครั้ง
อธิบดีกรมโบราณคดี ๒ ครั้ง
หัวหน้างานรักษาความสะอาดนครมัณฑเลย์ ๒ ครั้ง
นายกองค์การบริหารเมืองอมรปุระ ๓ครั้ง
นายกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นลินซินกอง ทุกวัน
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี ของกรมโบราณคดี ๒ ครั้ง
นักโบราณคดี  ของกรมโบราณคดี ๒ คน ทุกวัน

ส่วนข้าราชการไทย ที่มีหน้าที่บูรณาการระหว่างภาครัฐและเอกชนไทย ไม่ปรากฏตนแม้แต่คนเดียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 07:51

ผมขอจบภาคที่ ๑ เพียงเท่านี้

ขอเชิญผู้อ่านแสดงความเห็นหรือซักถามได้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 08:31

นอกจากนั้นผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ยังได้แสดงความรู้สึกส่วนตัวว่า ที่ไม่มีใครในภาครัฐจากฝ่ายไทยมาร่วมพิธีในวันนี้เลยอาจจะเป็นเพราะใกล้สงกรานต์  ในเมืองไทยอาจจะมีเรื่องที่ต้องทำกันมากมายเช่นพม่า จึงขอให้พ้นจากสงกรานต์ไปสักระยะหนึ่งแล้วค่อยนัดหมายกันอีกทีว่าจะทำอย่างไรกันร่วมกันต่อไป

ถึงวันนี้ มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวจากกรมศิลปากรของไทย หรือยังคะ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 09:02

เป็นทางการไม่มีครับ ส่วนที่ปล่อยๆมา ขอให้รอภาค ๒
โปรดทราบด้วยว่า ตั้งแต่ได้พบกับท่านทูตที่ย่างกุ้ง วันเดินทางจากประเทศไทยไปถึงสหภาพเมียนมาร์แล้ว คณะทำงานในนามของรัฐบาลไทยไม่ได้พบข้าราชการไทยแม้แต่คนเดียว จนกระทั่งงานขั้นที่ ๑ แล้วเสร็จ ระหว่างนั้นแม้โทรศัพท์ไปก็ไม่ได้พูด ฝากข้อความไว้กับเลขาขอให้ติดต่อกลับ ก็ไม่ตอบสนอง เป็น One way communication โดยแท้จริง
บันทึกการเข้า
มีนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 09:39

มาอ่านต่อแล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 09:44

พออ่านกระทู้มาถึงตอนนี้ ก็เกิดความสงสัยขึ้นมา    จึงไปตามหาข่าวเกี่ยวกับสถูปพระเจ้าอุทุมพร        เจอเข้าหลายข่าวเหมือนกันค่ะ
แต่ไม่ขยายตรงนี้ละนะ  เดี๋ยวจะเสียบรรยากาศ
และขอคุณเพ็ญชมพูอย่าเพิ่งให้คำตอบ    รอคุณ NAVARAT.C  เล่าไปทีละขั้นทีละตอนดีกว่านะคะ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 10:34

ในเว็บจะมีทั้งข่าว บทความและความเห็นต่างๆหลากหลายมาก อ่านอันสองอันแล้วปักใจเชื่อไม่ได้นะครับ ที่สำคัญ อย่าลืม timeline เหตุการณ์ใดอะไรเกิดก่อนเกิดหลัง หากละเลยตรงนี้ก็หลงทางแน่นอน

ผมอยากให้ย้อนไปอ่านว่า นับจากวันที่รัฐลงมติจะทำงานร่วมกับภาคเอกชน โดยแต่งตั้งให้สมาคมสถาปนิกสยามเป็นผู้ดำเนินการแทนรัฐบาล ขณะนั้นทำไมไม่มีผู้ใดคัดค้าน แต่แล้วก็ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่รับการติดต่อ มันเกิดจากมูลเหตุใดหรือ ชอบหรือไม่ชอบ เอาต่อหรือไม่เอา ทำไมจึงไม่แสดงความชัดเจน

บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 14:05

ติดตามตลอดครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 15:06

พี่วิจิตรได้เข้าไปในเฟซบุ๊คของผม เห็นว่ามีประเด็นที่สมควรจะผันมาให้อ่านที่นี่ด้วย
พี่เค้าเพิ่งหัดเล่นโซเซียลมีเดีย จึงไม่ถนัดพิมพ์ภาษาไทย แต่ก็คงไม่เป็นปัญหากับคนในห้องนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 14:28

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของพม่านั้น  เมื่อยกกองทัพมาตีโยเดียแตกในปี พ.ศ.๒๓๑๐ แล้ว ก็กวาดต้อนชาวกรุง ๑๐๖,๑๐๐ ครัวเรือนรวมถึงเจ้านายอีกกว่าสองพันพระองค์ เดินทางถึงกรุงรัตนปุระอังวะ ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๑  โดยพระเจ้าปดุงโปรดให้ชาวพนักงานสร้างพระตำหนักสำหรับเจ้านายที่เป็นสตรี เช่น พระมเหสี พระราชธิดา และนางกำนันไว้ในเขตกำแพงพระราชวัง  ส่วนผู้ชาย เช่น พระราชโอรสและพระราชอนุชา ให้ประทับภายนอกกำแพงพระราชวัง ร่วมกับขุนนางทั้งหลาย  โดยโปรดให้ปลูกตำหนักบ้านเรือนอยู่ในเขตเมือง  

สำหรับพระเจ้าอุทุมพรนั้น  พระราชพงศาวดารฉบับคองบองมหาราชวงศ์เรียกว่า เจ้าฟ้าดอกเดื่อ  ซึ่งทรงดำรงอยู่ในสมณเพศ  เมื่อกรุงแตกแล้วพม่าก็นำตัวไปกับครัวไทยด้วย  โดยได้จัดพระราชพาหนะถวายเป็นอย่างดี ทั้งเกวียนและเสลี่ยง จนขบวนถึงเมืองแปร จึงได้แยกพระองค์จากครัวไทย ให้เสด็จทางเรือโดยแม่น้ำอิระวดีต่อจนถึงกรุงอังวะ  ส่วนครัวไทยนั้น เมื่อไปถึงก็ให้แยกย้ายกันไปอยู่ในเขตชนบทของเมืองสะกาย

เจ้านายชาวกรุงศรีเหล่านี้แต่แรกก็คิดถึงบ้านเมืองอยากจะหาทางกลับอยู่เหมือนกัน  แต่ครั้นได้ข่าวว่าพระยาตาก(พระนามตอนนั้น)ตั้งตนเป็นเจ้า และตามไล่ล่าสังหารเจ้านายในพระราชวงศ์เดิมผู้ยังหลงเหลืออยู่ กับอดีตขุนนางและผู้จงรักภักดีโดยไม่ไว้ชีวิตก็ปลงตก  หากหนีกลับไปได้ก็ยังเสี่ยงชีวิตอยู่ดี  จึงยอมเป็นข้าใต้พระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์พม่า  โดยมีพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรผู้ซึ่งพระเจ้าปดุงทรงให้ความเคารพนับถืออย่างมาก ทรงเป็นขวัญกำลังใจ  เมื่อพระองค์ทรงทูลขอให้คนกรุงศรีสร้างพระเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์   แม้จะมีธรรมเนียมห้ามชาวต่างชาติประกอบพิธีกรรมใดๆนอกเหนือไปจากวัฒนธรรมประเพณีของพม่าอยู่  ก็ทรงมีพระราชานุญาต  ทุกวันนี้จึงยังมีเจดีย์ทรายของชาวโยเดียปรากฏอยู่(เพราะหุ้มซีเมนต์ไว้) ในวัดๆหนึ่งของเมืองอังวะ

ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๖ พระเจ้าปดุงได้สถาปนาเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่อมรปุระ จึงโปรดให้พระมหาเถระดอกเดื่อย้ายมาประทับที่กรุงอมรปรุะด้วย แม้อีกสองปีต่อมาทรงกรีฑาทัพถึง ๗ ทัพจะไปตีกรุงเทพพระมหานคร แต่พ่ายแพ้ยับเยินกลับมาก็มิได้กระทำการแก้แค้นอะไรกับคนไทยที่นั่น  ตราบจนกระทั่งพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรได้เสด็จสวรรคตลงในปี พ.ศ. ๒๓๓๙  ซึ่งยังเป็นรัชกาลของพระเจ้าปดุงนั้นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 14:33

หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ซึ่งผมเกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นกระทู้แล้วก็คือ  สมุดแผ่นพับกระดาษสาที่ฝรั่งเรียกว่าพาราไบ้ก์ (Parabike) พม่าเรียก “เตวั้งรุปซุงประบุท” แปลว่า เอกสารการบันทึกของราชสำนัก มีภาพเขียนประกอบ  เล่มที่กล่าวถึงกษัตริย์โยเดียบันทึกโดยราชเลขาจอว์เทง  ซึ่งเป็นพระราชปนัดดาของ พระเจ้าปดุง เจ้าจอว์เทงมีตำแหน่งเจ้ากรมหอพระสมุด  สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๒๔๑๗ อันเป็นรัชกาลของพระเจ้ามินดง

เตวั้งรุปซุงประบุทนี้ แต่เดิมเคยมีนักประวัติศาสตร์ชาวพม่าคัดข้อความไว้ แต่ไม่สู้จะเป็นที่รู้จักกันนัก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 14:34

จวบจนชาวพม่าคนหนึ่งชื่อ ดร.ทิน หม่อง จี อ้างว่าเขาค้นพบหลักฐานนี้เมื่อ ๓ มกราคม ๒๕๓๐  โดยระบุว่าเป็น parabike หมายเลข " Document 99, serial 288" เก็บอยู่ที่ " British Commonwealth Library "และเขาได้นำมาเขียนบทความตีพิมพ์ลงในวารสาร แต่นั้นมาทุกคนก็อ้างอิงข้อมูลนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 14:35

อักษรพม่าที่จารึกไว้ แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า
The third founder of Ratanapura  and Lord of the White Elephant, fought and won Ayodaya, together with the King.
The King was brought here. During the reign of his brother , the founder of Amarapura, the King while in monkhood, died at Amarapura. At Linzin-gon cemetery, he was entombed/cremated with great honor entitled to a monarch.
This is the image of Chaofa Ekadath

ถอดความเป็นภาษาไทยอีกที สำนวนตรงไปตรงมาได้ความดังนี้
พระผู้ทรงสถาปนารัตนปุระ(อังวะ) ผู้ทรงเป็นพระเจ้าช้างเผือก(หมายถึงพระเจ้ามังระ) ทรงรบชนะอโยธยาและกษัตริย์
กษัตริย์ได้ถูกนำมาที่นี่   ระหว่างรัชกาลของพระราชอนุชา(หมายถึงพระเจ้าปดุง) กษัตริย์ซึงทรงอยู่ในสมณเพศได้เสด็จสวรรคตในอมรปุระ  ที่ลินซิงกอง พระสรีระของพระองค์ได้รับการถวายพระเพลิงและบรรจุพระสถูปอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติในฐานะทรงเป็นกษัตริย์
นี่เป็นภาพของเจ้าฟ้าเอกทัศน์

ประโยคสุดท้ายนี้อธิบายภาพของบุรุษผู้แต่งกายแบบฆราวาสสวมชฎา ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่บรรยายในหน้าเดียวกันโดยตรง อาจจะต้องการประกอบความในหน้าอื่น

เรื่องของเรื่องที่มาที่ไปคือ ในปีพ.ศ.๒๔๒๘  พม่าเสียเอกราชให้แก่อังกฤษในรัชกาลพระเจ้าสีป่อ ทหารอังกฤษได้เข้าปล้นเอาสิ่งของต่างๆในพระราชวังมัณฑะเลย์ รวมถึงทรัพย์สมบัติในท้องพระคลังของราชวงศ์คองบองไปจนหมด  แม้กระทั่งเตวั้งรุปซุงประบุทก็ยังถูกขนไปจากหอพระสมุดที่เรียกว่าวังแก้ว แล้วนำไปเก็บไว้ที่ British Commonwealth Library, London ดังว่า  เตวั้งรุปซุงประบุท หรือ parabike ที่มีข้อความข้างบนนี้ เป็นเอกสารชิ้น ที่ ๙๙  Serial Number หมายเลข  ๒๘๘
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 14:38

สุสานลินซินกอง ที่นักประวัติศาสตร์ไทยรู้จัก แต่ไพล่ไปเรียกว่าสุสานล้านช้างนั้น เพราะคนพม่าเองก็ยังไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของชื่อนี้ ซึ่งหากแปลตรงตัวก็มีความหมายว่าหอสูง จึงอาจจะให้ข้อมูลที่ผิดแล้วยังเกิดการเดาซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจผิด  ความจริงนักประวัติศาสตร์พม่าทราบแต่เพียงว่า ในอดีตเป็นสุสานสาหรับชนชันสูงที่เป็นชาวต่างชาติเท่านั้น 

เมื่อความสำคัญของ parabike มีถึงเช่นนี้ หากจะเชื่อข้อมูลฝ่ายพม่าเพียงอย่างเดียวอาจมีปัญหาหากเอกสารดังกล่าวไม่มีอยู่จริง เพื่อความรอบคอบ วิจิตรจึงได้ขอให้คนรู้จักที่อยู่ในลอนดอนช่วยไปติดตามดู และยืนยันกลับมาให้ทราบด้วย

หลังจากใช้ระยะเวลาอันยาวนานและอดทน เนื่องจากในครั้งแรกเจ้าหน้าที่หาเอกสารนั้นไม่พบ สุดท้ายได้คุณเพลิน นักศึกษาที่นั่น สามารถสืบได้ตัวภัณฑารักษ์ซึ่งเป็นคนพม่าชื่อ ซาน ซาน เมย์ ผู้ค้นพบเอกสารนั้นและนำออกมาให้ ดร.ทิน หม่อง จี ดูเมื่อหลายปีที่แล้ว เธอได้กล่าวว่าเอกสารชิ้นนั้นได้ถูกย้ายที่เก็บไปอยู่ห้องอินเดีย และหมายเลขที่ถูกต้องก็คือ OMS/Mss Burmese 199 หน้า 48

คุณเพลินได้พยายามขอให้ ซาน ซาน เมย์ เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษให้ แต่เธอทำไม่ใด้ เนื่องจากมีระเบียบบังคับอยู่ แต่ได้อ่านที่สำคัญให้ฟังโดยสรุปว่ากษัตริย์ไทยพระองค์นี้ได้มาอยู่เมืองพม่า มีพิธีพระบรมศพที่ยิ่งใหญ่ ที่บรรจุพระบรมศพอยู่ที่ Linzhin Amarapura

เป็นอันว่าหายใจโล่งอกไปได้เปลาะหนึ่ง ในอนาคตหากรัฐบาลไทยให้ความสำคัญและเป็นผู้ติดต่อดำเนินการขอหลักฐานนี้พร้อมคำแปลอย่างเป็นทางการ ก็คงไม่เหลือวิสัย
ข้างล่างคือภาพที่วิจิตรได้รับในครั้งนั้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง