เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70438 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 17:21

หลุมและโพรงที่เจาะสำรวจ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 18:52

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 05:56

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 06:15

มาเริ่มกันต่อนะครับ

ในระหว่างที่คณะทำงานกำลังรุมอยู่ที่พระสถูปองค์ใหญ่นั้น ฝ่ายช่างก็ได้จัดคนไปทำค้ำยันพระสถูปทรงโกศไว้ เมื่อมั่นคงดีแล้วก็ทำนั่งร้านขึ้นไปเมื่อปิดงานทางด้านโน้นก็ทำการเจาะสำรวจเป็นอันดับสอง โดยจะเจาะตามรอยร้าวของอิฐก่อที่มีอยู่เดิมลึกเข้าไปในองค์สถูป

เมื่อเจาะไปได้สักพักหนึ่งก็พบว่าสถูปนั้นก่ออิฐตัน ไม่กรวงอย่างที่คาด อิฐที่ก่ออยู่ภายในก็ทำไว้หยาบๆ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีอะไรบรรจุไว้ก็หยุดงานไว้แค่นั้น แล้วหันมาขุดแต่งภายนอก
วันรุ่งขึ้น จึงได้ทำการเจาะต่อโดยเจาะอิฐที่ก่อตันลงไปถึงฐานด้านล่าง ก็ยังไม่พบสิ่งใด จึงตกลงยุติการขุดค้น หันมาซ่อมหลุมเจาะและรอยร้าวทั้งหมด เพื่อรอการบูรณะในภายหลัง
จากความเชื่อแต่แรกที่ว่าพระสูปทรงโกศนี้น่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระภิกษุพระเจ้าอุทุมพร  ผลที่ได้รับจากการขุดค้นนี้จึงสร้างความผิดหวังให้แก่ทุกคนมาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 06:20

ทีมงานได้เปิดหน้าดินในอาณาบริเวณต่อไปจนแลเห็นแนวกำแพงสูงแค่เอว ที่ล้อมรอบพระเจดีย์องค์ประธานไว้เป็นรูปสี่เหลี่ยม บ่งบอกลักษณะว่าเป็นกำแพงแก้วซึ่งต้องสร้างล้อมพระวิหารหรือพุทธเจดีย์ไว้ ตามคติพระพุทธศาสนาทั้งทางไทยและพม่า

ภายในกำแพงแก้วดังกล่าว ยังพบฐานพระสถูปทรงกลมอยู่ในปริมณฑลทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และสถูปฐานสี่เหลี่ยมอีกองค์หนึ่งทางด้านทิศตะวันตก บริเวณโดยรอบพบเศษภาชนะดินเผา คนโฑ และกระปุกเล็กๆจำนวนหนึ่ง ซึ่งนักโบราณคดีพม่าได้กำหนดอายุว่าไม่เก่ามากนัก อย่างไรก็ดีเมื่อเปิดหน้าดินมาถึงชั้นนี้ก็ได้เห็นส่วนฐานของกำแพงแก้วที่ชัดเจนมากขึ้น จนถึงชั้นบัวคว่ำและฐานเฉียง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 06:27

๖ มีนาคม ๒๕๕๖

นายตาน ส่วย รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวัฒนธรรมมีกำหนดการมาเยี่ยมชมโครงการ และได้นำคณะเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนมาถึงในเวลา ๑๐.๐๐น. หลังจากฟังการบรรยายสรุปเป็นเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ได้ขึ้นกล่าวเสริมว่าท่านเป็นนักประวัติศาสตร์ มีผลงานทางวิชาการหลายเล่ม ตามหลักฐานฝ่ายพม่ามีอยู่ว่าเมื่อพระเจ้าปดุงถวายเพลิงพระศพพระภิกษุพระเจ้าอุทุมพรที่สุสานชาวโยเดียแล้ว ก็ได้สร้างอนุสรณ์สถานและบรรจุพระอัฐิไว้ในพระสถูป เพราะชาวโยเดียและชาวอมรปุระเชื่อว่าพระเจ้าอุทุมพรทรงเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระอังคารและเถ้าถ่านที่เหลือก็มิได้เก็บไปไหน แต่ให้สร้างสถูปอีกองค์หนึ่งทับไว้
ตามความคิดของท่าน สุสานของชาวโยเดียน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของสุสานลินซินกองนี้ สถูปองค์ใหญ่น่าจะเป็นที่บรรจุพระอัฐิ แต่ถึงตรงนี้แล้วการพบหรือไม่พบพระอัฐิธาตุในสถูปดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นปัญหาต่อกระทรวงวัฒนธรรมพม่า ส่วนตัวท่านยังเชื่อว่าพระอัฐิธาตุของพระเจ้าอุทุมพรจะถูกบรรจุอยู่ในสถูปองค์ใดองค์หนึ่งในบริเวณสุสานนี้แน่นอน

ช่วงบ่าย คณะทำงานได้เริ่มขุดต่อตามแนวกำแพงแก้ว และให้ความสนใจต่อสถูปเล็กที่เพิ่งปรากฏให้เห็นหลังจากคุ้ยดินออก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 06:31

วันรุ่งขึ้น ทีมงานได้พยายามเปิดดินที่กลบสถูปอยู่นั้น แต่ต้องหยุดชั่วคราวเมื่อขุดดินออกไปได้ ๘๕ เซนติเมตรเพราะเจอทรากกระดูกที่คนสมัยหลังนำศพมาฝังไว้กระจัดกระจาย แต่ในพื้นที่ใกล้ๆนั้น ขุดลงไปเจอลานอิฐ คล้ายเป็นส่วนพื้นอาคารหลังหนึ่ง

นายโปไว ล่ามประจำคณะทำงานพม่าและไทยเล่าให้ฟังว่า ตนเกิดในหมู่บ้านใกล้ๆกับสุสานนี้ สมัยเด็กๆเมื่อสี่สิบปีที่แล้วยังเคยเห็นสถูปต่างๆในบริเวณนี้อยู่ เมื่ออายุ ๖ ขวบได้เห็นคนต่างถิ่นเอาเชือกมาผูกยอดสถูปองค์ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสถูปประธาน(ซึ่งตนไม่เห็นยอดมาแต่เดิมแล้ว) ดึงจนหักลงแล้วขนอิฐใส่เกวียนเทียมวัวไป
  
คำบอกเล่าดังกล่าวทำให้อาจารย์ปฏิพัฒน์สนใจขึ้นมาเพราะเห็นว่า สถูปที่พูดถึงนั้นมีขนาดของอิฐใกล้เคียงกับขององค์ประธาน  และเนื้ออิฐมีอายุเก่าแก่ทัดเทียมกัน เมื่อขุดแต่งรอบฐาน พบว่าเป็นสถูปทรงกลม มีฐานบัวถลาซ้อนกัน ๓ ชั้น แล้วตัวสถูปสอบเข้าเป็นทรงระฆัง จึงสั่งให้คนงานรื้ออิฐหักที่กองถมข้างบนออก แล้วเริ่มเจาะตรงส่วนกลางสถูปองค์นี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 06:35

วันรุ่งขึ้นคณะทำงานได้ตกลงที่จะหยุดสุดสัปดาห์สองวัน  หลังจากที่ลุยทำงานโดยไม่ได้พักได้ผ่อนติดต่อกันมาตั้งแต่ต้น  จนถึงวันจันทร์จึงได้เริ่มการขุดสถูปทรงระฆังนั้นต่อ
 
ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งบ่าย ๑๕.๑๕ น. จึงเริ่มพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาปิดทองประดับกระจกที่ระดับเกือบสองเมตรจากตำแหน่งแรกขุด  เมื่อขุดตามลงไปอีกจนลึกกว่าระดับดินเดิม ๓๐ เซนติเมตรจึงพบส่วนยอดของภาชนะไม้ มีลักษณะเป็นดอกบัวตูมลงรักปิดทองประดับกระจก ส่วนของไม้เป็นสีดำผุกร่อนมาก มีกระจกร่วงหล่นเกลื่อน แต่เนื่องจากเป็นเวลาเย็นแล้วจึงให้ปิดหลุมไว้ก่อน

การที่ได้พบชิ้นส่วนดังกล่าวทำให้คณะทำงานมีกำลังใจขึ้นมาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 06:39

เมื่อเริ่มงานขุดต่อในวันรุ่งขึ้น แม้ยังไม่พบอะไรเพิ่มก็ทำงานไปอย่างระมัดระวัง จนกระทั่งได้ลึกถึงระดับฐานต่ำจากระดับดินเดิม ๘๐ เซนติเมตร จึงพบว่ามีการเรียงอิฐเหมือนจะเป็นห้องสี่เหลี่ยม แต่ก็พอดีหมดเวลางานเสียก่อน

เช้าวันต่อมาเมื่อเริ่มงานต่อไม่นานก็แลเห็นห้องสี่เหลี่ยมนั้นอย่างชัดเจน “เมื่อรื้ออิฐชั้นบนออก พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาและเศษกระจกปะปนอยู่กับดินสีเทาติดอยู่กับอิฐหลายแผ่น พบกระจกเรียงเป็นกรอบ ทั้งที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสีเหลี่ยมคางหมู ด้านหนึ่งฉาบปรอท เมื่อถูกอากาศพักหนึ่งก็จะหลุดร่อน จึงต้องให้นักโบราณคดีขุดค้นด้วยตนเองอย่างระมัดระวังด้วยการขุดล้อมพื้นที่ๆมีแนวกระจกเรียง

จากแผ่นกระจกที่หลุดและนำขึ้นมาก่อน  พบว่าด้านหนึ่งเขียนเป็นลายพันธุ์พฤกษาและลายเทวดากับกินนรเหาะ ดูลักษณะที่เรียงรายเป็นรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบภาชนะขอบทองด้านในอีกส่วนหนึ่ง นักโบราณคดีได้ตกแต่งโบราณวัตถุที่พบจนเห็นส่วนฝาของภาชนะดินเผาลงรักปิดทอง เดินทองที่ขอบภาชนะและรอยเชื่อมต่อของกระจกเป็นลายเกลียว ส่วนยอดเป็นรูปบัวตูมรองรับยอดที่ที่เก็บไปเมื่อวันก่อน ส่วนฝาบาตรทำด้วยไม้และยุบตัวลงบางส่วน ไม่อาจขุดคุ้ยลงไปในบาตรได้ เริ่มเห็นได้ชัดว่าเป็นบาตรดินเผาปิดทองที่ขอบประดับกระจกฉาบปรอท  ส่วนภายในภาชนะลงรักสีดำ ดินที่พบในส่วนและบริเวณนี้ ได้นำขึ้นมาร่อน เพื่อตรวจดูสิ่งของที่อาจมีขนาดเล็กที่ปะปนอยู่ด้วย ได้พบชิ้นส่วนของไม้ ถ่าน ตะปู และฟันหน้าล่างของมนุษย์มีคราบหินปูนและออกสีคล้ำ กระดูกส่วยฝ่ามือมีรอยไหม่ ๑ ชิ้น เนื่องจากเป็นเวลาเย็นมากแล้ว จึงปิดหลุมภายในเจดีย์ไว้ก่อน”


เย็นวันนั้นเอง นายก อ.บ.จ.รัฐมัณฑเลย์และคณะได้เดินทางมาร่วมประชุมปรึกษาหารือทันที หลังจากได้ทราบรายงานจากหน้างานว่าพบหลักฐานโบราณคดีบางอย่างตั้งแต่ช่วงบ่าย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 06:49

นักโบราณคดีได้ลงไปขุดแซะ เพื่อนำส่วนที่เป็นขอบพานแว่นฟ้าหกเหลี่ยมขึ้นมา วัสดุที่เป็นไม้นั้นผุพังไปหมดแล้ว คงเหลือเฉพาะตะปู ลวดเหล็กขันยึดไม้ และกระจกที่ปิดประดับโดยรอบ แต่ก็แตกหักหลายชิ้น ได้ตัดยกขึ้นมาทีละชั้นตามลำดับจนหมด แล้วจึงตัดเซาะดิน ได้ตัวภาชนะก้นกลมปากกว้างตามขึ้นมา วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๕ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๑๕ มีฝาปิดส่วนยอดเป็นลายดอกบัว ลงรักปิดทองประดับกระจก เดินขอบด้วยลายเส้นทองเกลียว ที่ขอบตัวบาตรนั้นลงรักปิดทอง

เมื่อนำบาตรขึ้นมาจากหลุมแล้ว จึงพบส่วนของเชิงพานที่ประดับกระจกรองรับ  เมื่อนำของทั้งหมดเข้ามาในห้องทำงานและทิ้งให้ปรับอุณหภูมิและความชื้นแล้ว นักโบราณคดีจึงค่อยๆเขี่ยและคุ้ยเอาดินภายในบาตรออก พบชิ้นส่วนกระทูกท่อนขาที่ถูกไฟเผาหลายชิ้น แต่การที่จะล้วงลึกลงไปในส่วนใต้ฝาบาตรเป็นความลำบาก เพราะจะต้องรื้อส่วนของฝาบาตรที่ยุบตัวลงไปออกก่อน จึงยุติการค้นหาไว้เพียงเท่านี้

คณะทำงานได้ทำการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีในเบื้องต้นร่วมกัน โดยนักโบราณคดีพม่าผู้มาร่วมงานอยู่ตั้งแต่ต้นได้นำไฟล์ภาพศิลปวัตถุของพม่าสมัยอังวะและอมรปุระมาเทียบเคียง  แสดงให้เห็นหลักฐานชัดเจนถึงขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ ที่ลักษณะของพานแว่นฟ้าและบาตรซึ่งมีความละเอียดในการประดับกระจกเช่นนี้ จะบ่งบอกถึงอิสริยยศของเจ้าของว่าเป็นระดับกษัตริย์ อุปราช หรือสมณะที่เชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ หรือพระมหาเถระเท่านั้น ซึ่งในกรณีย์ที่เป็นพระภิกษุแล้ว อัฐิธาตุจะเจอในบาตรดังที่เห็นนี้เท่านั้น

จากนั้นจึงร่วมกันถ่ายภาพหลักฐานทุกชิ้น และรีบแจ้งไปยังหน่วยงานด้านโบราณคดีของกรมศิลปากรพม่าให้ส่งผู้แทนมาร่วมกันบันทึกเอกสารและหลักฐานเป็นทางการทันที และเมื่อพร้อมแล้วก็ได้เคลื่อนย้ายสิ่งของทั้งหมดไปยังห้องเก็บหลักฐานของนครอมรปุระ ซึ่งได้จัดเวรยาม ๔ นาย ตำรวจ ๒ ผู้ใหญ่บ้าน ๒ ให้ทำการเฝ้ารักษาไว้ก่อนจะส่งมอบต่อในระดับรัฐบาลต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 06:58

๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖
เมื่อเรื่องถึงผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ นายอู ออง หม่อง ได้เชิญคณะทำงานให้เข้าพบ เพื่อขอรับฟังรายงานในรายละเอียดการขุดค้นพบที่สำคัญยิ่งนี้ทันที โดยในที่ประชุมได้มีข้าราชการระดับสูงหลายท่านเข้าร่วมด้วย มีประเด็นสรุปว่า โบราณสถานที่พบมีทั้งหมด ๕ รายการ ได้แก่

๑ สถูปองค์ประธานฐานสี่เหลี่ยม
๒ ส่วนฐานของสถูปทรงโกศ เป็นพื้นปูอิฐที่มีความเก่าร่วมสมัยกับสถูปองค์ประธาน ส่วนตัวสถูปทรงโกศนั้น ลักษณะของอิฐก่อบ่งบอกว่าสร้างในสมัยหลัง
๓ กำแพงแก้วที่มีความสัมพันธ์กับสถูปองค์ประธาน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดกว้างและยาว ๒.๕๐ เมตรโดยรอบ มีช่องทางเข้าทั้ง ๔ ทิศ
๔ ภายในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พบฐานและส่วนบนของสถูปขนาดเล็กกว่าอีกองค์หนึ่ง ซึ่งไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่ามีอยู่ก่อนที่จะเปิดหน้าดิน มีอายุของอิฐเช่นเดียวกับสถูปองค์ประธาน
๕ พื้นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านทิศตะวันตกภายนอกกำแพงแก้ว ขนาด ๔ x ๕ เมตร
โบราณสถานทั้ง๕ รายการนี้ ถือว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุด ประมาณว่าระหว่างปีพ.ศ. ๒๓๓๙-๒๓๔๑ แต่ยังมีวัตถุหลักฐานทางสถาปัตยกรรมในยุคหลังอื่นๆที่ส่วนใหญ่ค้นพบนอกกำแพงแก้ว ที่เด่นชัดคืออิฐก่อรูปหม้อแบบบูรณคตะ(หม้อใส่ดอกไม้บูชาพระตามวัฒนธรรมอินเดียโบราณ) (๑๙) เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕๐ เมตร นอนคะแคงอยู่พร้อมฐานสี่เหลี่ยมบนพื้น และพบฐานสี่เหลี่ยมแบบเดียวกันที่สำหรับรองรับหม้อบูรณคตะ อีก ๗ ฐาน ฐานรูปทรงกลมและเหลี่ยม แสดงว่าเคยรองรับสถูปขนาดเล็กอีกหลายฐานรายรอบ พบภายในกำแพงแก้ว ๒ ฐาน  มีทรากสถูปองค์หนึ่งที่ต้นโพธิ์โอบอุ้มขึ้นไปลอยไว้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 07:08

สำหรับหลักฐานพยานวัตถุทางโบราณคดีที่สำคัญที่สุดได้แก่ อัฐิธาตุจำนวน ๖ ชิ้น (แต่ยังจะมีอีกมากในบาตร) และทันตธาตุหน้าส่วนบน ๑ ชิ้น และตัวบาตรกับองค์ประกอบที่ประดับกระจกฝีมือระดับเครื่องราชูปโภค หรือสมณูโภคของพระมหาเถระชั้นสูงเท่านั้น

จากหลักฐานทั้งหมด คณะนักโบราณคดีพม่าเชื่อว่า โบราณสถานสิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อสายสกุลที่สำคัญยิ่งสายสกุลหนึ่ง ที่นิยมปลงศพด้วยการเผา ซึ่งไม่ใช่สายสกุลฝ่ายพม่าแน่ เพราะพม่านิยมการฝัง ที่จะเผาก็จะมีเฉพาะพระเถระเท่านั้น ส่วนชนชาติโยเดียนิยมการเผาศพเมื่อเผาแล้วก็จะนำอัฐิเข้าบรรจุในสถูปรายล้อมสถูปของบุคคลสำคัญในสายสกุล เมื่อพิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ไม่มีสายสกุลของชาวต่างชาติใดในพม่าที่จะใหญ่เท่าสายราชสกุลวงศ์ของพระเจ้าอุทุมพร ที่มีเจ้านายโยเดียได้ตามเสด็จไปด้วยนับร้อยนับพันพระองค์ ทั้งนี้ยังไม่รวมข้าราชบริพารอีกเป็นจำนวนมากอีกด้วย

อย่างไรก็ดี คณะทำงานได้ย้ำว่า ไม่มีหน้าที่ที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ข้อยุติจะต้องมาจากคณะกรรมการที่รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้น ตามโครงการที่จะบูรณาการร่วมกันระหว่างพม่ากับไทยเท่านั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 07:26

หลังจบประชุม ท่านผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ได้เชิญวิจิตรและมิกกี้เข้าไปคุยในห้องเพียง ๓ คน เพื่อแสดงความยินดีและขอบคุณในการค้นพบครั้งนี้ ซแล้วแจ้งว่าทางรัฐบาลพม่าจะได้ทำการขยายพื้นที่ขุดค้นต่อไปอีก และท่านต้องการจะไปยังสถานที่ตั้งโครงการหลังจากนี้ ขอให้ไปช่วยชี้แจงอธิบายหน้างานให้ท่านฟังด้วย

รายงานของการประชุมพบปะทั้งที่ศาลาว่าการเมืองอมรปุระและที่หน้างานในวันนั้น  ได้จัดทำส่งถึงกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงต่างประเทศไทยตามสายงานครบทุกคน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 07:30

ผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ นายอู ออง หม่อง ได้กำหนดให้มีพิธีรับมอบพยานวัตถุทางโบราณคดีในเวลา ๑๕ น. ณ. อาคารที่ทำการของรัฐมัณฑะเลย์ จากคณะทำงาน เนื่องจากไม่มีผู้ใดจากหน่วยราชการไทยไปร่วม  และไม่มีใครแจ้งตอบรับหรือขัดข้องอะไรมาจนนาทีสุดท้าย หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายไทยจึงแจ้งฝ่ายพม่าว่า ตนขอทำหน้าที่เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยด้วย

รายละเอียดในวัตถุทางโบราณคดีดังกล่าวมีจำนวนรวม ๔๐๙ ชิ้น เมื่อนับและลงนามรับรองจากทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็จัดใส่ในหีบเหล็ก ๒ ใบ แต่ละใบมีกุญแจสองชุด เมื่อล๊อคแล้วมอบให้ฝ่ายไทยและพม่าถือไว้คนละชุด หากจะเปิดอีกครั้งใด จะต้องใช้กุญแจนั้นไขทั้งสองชุด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเปิดตามลำพังมิได้ เสร็จแล้วเอากระดาษคลุมไว้ รัดด้วยเชือกตีตราครั่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 30 ต.ค. 17, 07:37

หลังเสร็จสิ้นพิธีมอบแล้ว  ผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ได้แจ้งแก่ผู้แทนฝ่ายไทยว่า รัฐบาลสาธารณรัฐเมียนม่าร์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้สูงสุด คณะทำงานฝ่ายไทยจึงควรจะพิจารณาต่อไปเลยว่าจะดำเนินการขั้นต่อไปอย่างไรกับโบราณสถานที่พบนี้  ว่าจะทำการอนุรักษ์ด้วยการซ่อมสภาพแล้วคงไว้อย่างเดิม(Preservation) หรือซ่อมเสริมปฏิสังขรณ์ (Conservation) จะอย่างไรก็ขอให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝนที่จะมาในสามสี่เดือนข้างหน้า มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายกับสถูปทั้ง ๓ องค์ ซึ่งรัฐบาลเมียนม่าร์ได้ให้ความสำคัญ

นอกจากนั้นยังได้แจ้งว่า รัฐบาลท้องถิ่นของมัณฑะเลย์จะทำงานไปก่อนตามที่มีอำนาจ คือ จะเปิดหน้าดินนอกเหนือไปจากที่กำหนดให้เดิม เพื่อค้นหาบริเวณที่บรรจุอัฐิของเจ้านายและข้าราชบริพารที่ตามเสด็จว่าสุสานโยเดียนี้จะมีปริมณฑลกว้างขวางเท่าใด แล้วจะกันพื้นที่ไว้จากอาณาบริเวณของสุสานลินซิงกอง เพื่อให้คณะทำงานจัดทำผังแม่บท(Master plan)ใหม่ เพราะขณะนี้รัฐบาลสาธารณรัฐเมียนม่าร์ได้ตัดสินใจแล้วในเรื่องการยกเลิกแผนพัฒนาเมืองใหม่บนพื้นที่นี้ แต่จะจัดทำเป็นแหล่งอนุรักษ์ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรพม่าในสมัยอังวะและอมรปุระ

นอกจากนั้นผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ยังได้แสดงความรู้สึกส่วนตัวว่า ที่ไม่มีใครในภาครัฐจากฝ่ายไทยมาร่วมพิธีในวันนี้เลยอาจจะเป็นเพราะใกล้สงกรานต์  ในเมืองไทยอาจจะมีเรื่องที่ต้องทำกันมากมายเช่นพม่า จึงขอให้พ้นจากสงกรานต์ไปสักระยะหนึ่งแล้วค่อยนัดหมายกันอีกทีว่าจะทำอย่างไรกันร่วมกันต่อไป


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง