เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70427 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 15:42

คำแปลอีกเวอรชันหนึ่ง

ภาพพระเจ้าอุทุมพร จากเอกสาร ชเวนันเลทง (Shwe nan let thon) ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดอาณานิคมในลอนดอน ภาพนี้จากฉบับที่คัดลอกมาเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๗ คำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาพม่า  นายแพทย์ทิน มอง จี” (Tin Maung Kyi) นักวิชาการทางสังคมศาสตร์หลังเกษียณ ผู้มีเชื้อสาย "โยดะยา" (ไทย) แปลจากภาษาพม่าเก่าแบบบรรทัดต่อบรรทัด ความว่า

"ผู้ก่อตั้งที่สามแห่งรัตนปุระ (อังวะ) และพระเจ้าช้างเผือก
ต่อสู้และชนะอโยธยา,
กับกษัตริย์
กษัตริย์ถูกนำตัวมาที่นี่ ในช่วงการครองราชย์ของพระเชษฐาของพระองค์ (กษัตริย์บาดุง)
กษัตริย์ (ไทย) ขณะอยู่ในสมณเพศ, มรณภาพที่อมรปุระ ที่ลินซิน-กอง
สุสาน, พระองค์ถูกบรรจุ/เผาพระศพด้วยสมพระเกียรติในความเป็นเชื้อพระวงศ์
นี่คือภาพของเจ้าฟ้าเอกทัศน์"

บรรทัดสุดท้าย คุณหมอสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นความเข้าใจผิดเรื่องชื่อ เพราะควรเป็นชื่อของเจ้าฟ้าอุทุมพร เนื่องจากในประวัติศาสตร์พม่าและประวัติศาสตร์ไทย กษัตริย์จากกรุงศรีอยุธยาองค์สุดท้ายสวรรคตจากเหตุสงครามที่กรุงศรีอยุธยานั่นเอง

ข้อมูลจากบทความเรื่อง สถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร และลูกหลานชาวโยดะยาในพม่า “คุณหมอทิน มอง จี” โดย คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๖ ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 16:19

หลังเสียเมืองให้อังกฤษบ้านเมืองเป็นทุรยุค ลินซินกองจึงกลายเป็นที่ฝังศพของคนอังกฤษและชาวตะวันตกที่มาเสียชีวิตในมัณฑเลย์ แล้วชาวพม่าทั่วไปก็เข้ามามั่วต่อในภายหลัง 

อย่างไรก็ดี แม้ชาวไทยกับพม่าจะนับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน  แต่ประเพณีการปลงศพต่างกันมาก คือไทยใช้วิธีเผาแล้วจึงเก็บอัฐิและอังคารไปบรรจุสถูป ส่วนพม่าถ้าเป็นฆราวาสจะใช้วิธีฝังศพ คนธรรมดาก็จะทำเป็นกุฎก่ออิฐฉาบปูนขนาดพอดีที่จะบรรจุโลงศพ เรียกว่า “แท็งค์”  แต่ถ้าเป็นพระสงฆ์ ก็จะใช้วิธีเผาเช่นกัน และจะนำอัฐิไปบรรจุสถูปส่วนบนรูปทรงปราสาท แตกต่างกับแบบไทยอย่างสิ้นเชิง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 16:21

สมัยอังกฤษครองเมืองมัณฑะเลย์ ศพของชาวคริสต์ก็จะนำมาฝันที่ลินซินกองนี้ด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 16:23

และในส่วนที่ติดกันโดยมีถนนเล็กๆคั่น จะเป็นกุโบร์ของชาวมุสลิม ซึ่งถูกกำหนดจะต้องถูกไถออกเพื่อพัฒนาเมืืองเช่นกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 17:23

เอาละครับ ถึงตรงนี้ผมจะเอาเหตุผลที่ฝ่ายคัดค้านแสดงออกมาตามสื่อให้อ่านกันบ้างตามลำดับ timeline เริ่มที่บทความในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ได้ลงเมื่อวันเสาร์ ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ คือเมื่อมีการอภิปรายในสภาว่ารัฐบาลไม่สนใจเรื่องสถูปพระเจ้าอุทุมพรที่กำลังเป็นที่ฮือฮาบ้างหรือ
ตอนนั้น นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.กระทรวงวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์ว่า “คงต้องขอเวลาให้ข้าราชการรวบรวมข้อเท็จจริงเสนอมายังดิฉันก่อน หากเป็นความจริงก็ต้องหาทางพูดคุยกับทางการพม่าเพื่อดูว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง”

อย่างไรก็ตาม มีผู้มีแสดงความเห็นในกระทู้ดังกล่าวว่า สถูปดังกล่าว ไม่เพียงไม่น่าจะเป็น “สถูปพระเจ้าอุทุมพร” ยังไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ “อยุธยา” เลยด้วยซ้ำ
อย่างผู้ใช้ชื่อว่า “หนุ่มเมืองกรุง (NMkrung)” ที่ยกข้อมูลทางวิชาการมาแย้งว่า เจดีย์องค์นี้ไม่ใช่เจดีย์พระเจ้าอุทุมพร เพราะ

๑.รูปทรงสัณฐานไม่ใช่ศิลปะไทยเลย จะอ้างว่าช่างที่สร้างไม่ใช่คนไทยเลยทำเจดีย์ไทยไม่เป็น อันนี้เป็นไปไม่ได้ครับ เพราะกองทัพพม่ากวาดเชลยศึกอยุธยาไปเยอะมากรวมถึงช่างฝีมือแขนงต่างๆ

ผมก็ขอแสดงความเห็นของผมควบคู่กันเป็นข้อๆไปเลยก็แล้วกัน
คือผู้วิจารณ์ลืมไปว่า คนไทยไปอยู่ที่นั่นเยี่ยงเชลยศึก ธรรมเนียมของพม่าก็มีอยู่ว่าห้ามทำอะไรที่เน้นวัฒนธรรมประเพณีของชาติตนนัก นิดๆหน่อยๆก็ไม่ว่ากระไร เช่นเจดีย์ทราย ให้ก่อได้เพราะมันเป็นทราย ฝนตกไม่นานก็ทะลายราบ
แต่อย่างไรเสีย ถึงแม้หนุ่มเมืองกรุงจะไม่เห็นว่าเจดีย์ที่เห็น(สถูปรูปทรงโกศ)จะไม่เป็นไทย คนพม่าก็บอกว่านี่ไม่ใช่ทรงพม่าเหมือนกัน

และ
๒.ในพระราชพงศาวดารฝ่ายพม่าบอกเองว่า ให้เชลยชาวไทยไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งเมืองสะแคง (Sagaing) ครับ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่กรุงอังวะครับ อันนี้สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพท่านก็รับเองว่าเคยไปหาเจดีย์พระเจ้าอุทุมพรผิดที่ ท่านไปถามที่ฝั่งอังวะขอมรปุระนี่แหละเเล้วไม่พบ จนมาตรวจข้อมูลพบว่าควรไปดูฝั่งเมืองสะเเคง

“ประเพณีที่ไม่ให้คนต่างชาติหรือเชลยศึกอยู่ในกำแพงเมืองหลวง ไทยกับพม่าถือเหมือนกันครับ อย่างชุมชนมอญของไทยจะอยู่สามโคกเกาะเกร็ดและพระประแดง ชุมชนชาวญวนของไทยอยู่ที่วัดราชาธิวาสสามเสน ซึ่งอยู่นอกกำแพงพระนครกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้นครับ พม่าก็เช่นกันครับ จัดให้ชุมชนชาวอยุธยาไปอยู่ฝั่งเมืองสะเเคงครับไม่ได้อยู่ในกรุงอังวะ เหมือนพวกเชลยเชียงใหม่ก็อยู่ฝั่งนั้น”

เชลยไทยถูกกวาดต้อนไปตั้ง ๑๐๖,๑๐๐ ครัวเรือน ถ้าครัวเรือนเฉลี่ยมี ๔ คน คนที่ไปก็ร่วมสี่แสน  จะให้ไปกระจุกตัวอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งคงไม่ได้ เดี๋ยวก่อจลาจลขึ้นมาคงเป็นเรื่องใหญ่  แม้ที่สะแคงจะเป็นทีคนไทยถูกนำไปอยู่มากที่สุดก็ตาม แต่ที่เมืองอืนๆเช่นอมรปุระก็มีชุมชนชาวโยเดียด้วย

แต่กรณีย์ของเจ้านายถือเป็นข้อยกเว้น กษัตริย์พม่าต้องเอาตัวเข้าไปอยู่เมืองหลวงอยู่แล้ว โดยเฉพาะเจ้านายผู้หญิงก็ต้องตกเป็นบาทบริจาริกาตามระเบียบ ส่วนเจ้านายผู้ชาย ก็จะให้อยู่ห่างพระเนตรพระกรรณได้อย่างไร เดี๋ยวก็เอาใจออกห่างคิดกบฏก็ต้องเสียชีวิตเลือดเนื้อกันเปล่าๆปลี้ๆ

เอาที่สำคัญๆสองข้อนี้พอ เรื่องที่เหลือเสียเวลา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 17:26

บทความชื่อ “สถูปบรรจุอัฐิพระเจ้าอุทุมพรที่สหภาพพม่า” ลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่๑๐ ประจำ ส.ค. ๒๕๔๕ อ้างถึงบทความของ “ศ.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์” หนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของไทย เขียนว่า
ในประเทศที่กำลังพัฒนา วัฒนธรรมการท่องเที่ยวที่มุ่งเพียงการขายแต่เพียงอย่างเดียว มักจะก่อปัญหาแก่ข้อเท็จจริงทางวิชาการเป็นอย่างมาก เรื่องการพบสถูปบรรจุอัฐิของพระเจ้าอุทุมพรที่เมืองอมรปุระ สหภาพพม่า เมื่อวิเคราะห์จากหลักฐานที่มาของเรื่อง มีที่มาจากนิตยสารเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยวของพม่า เขียนโดยนายแพทย์ที่เป็นนักประวัติศาสตร์สมัครเล่น ที่พยายามประมวลเรื่องที่นักวิชาการคนอื่นๆ เขียนขึ้น แล้วเลือกหยิบเฉพาะส่วนที่อาจนำมาปะติดปะต่อเป็นเรื่องขึ้นมาใหม่

ดังนั้นจึงอาจกล่าวโดยสรุปในประเด็นการตรวจสอบหลักฐานเรื่องการพบสถูปบรรจุอัฐิพระเจ้าอุทุมพรที่สหภาพพม่าได้ว่า ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สนับสนุนเพียงพอ
ส่วนหลักฐานทางโบราณคดีนั้น เมื่อได้พิจารณาภาพของสถูปทั้งที่เป็นภาพถ่ายและภาพวาด สามารถยืนยันได้ว่าเป็นสถูปที่สร้างขึ้นในแบบศิลปะพม่า มิใช่ศิลปะไทย


นี่ก็เป็นความเห็นที่แสดงไว้ก่อนร่วม ๑๐ ปี แต่เมื่อพื้นที่ได้ถูกเปิดขึ้นมา มีหลักฐานทั้งพยานวัตถุและโบราณสถานมากมายถึงขั้นนี้( มีนาคม ๒๕๕๖)แล้ว ท่านได้เปลี่ยนความคิดบ้างหรือไม่ อันนี้ผมยังหาไม่เจอ เจอแต่คนนำความเห็นของท่านมาอ้างต่อซ้ำๆซากๆจนถึง พ.ศ. นี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 17:28

ผู้ใดจะสนับสนุนข้อคัดค้านของหนุ่มเมืองกรุง หรือ ศ.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ในประเด็นที่กล่าวมา ขอเชิญเลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 07:35

ภาพและเรื่องบนต้นหน้าที่ ๗ นี้ คุณหมอเพ็ญชมพูได้นำเสนออีกเวอร์ชั่นหนึ่งของคำแปลจารึกในพาราไบ้ก์ ซึ่งก็เหมือนๆของผม แทบจะไม่มีจุดต่าง ยังงงอยู่ว่าคุณหมอต้องการอะไร มาถึงบางอ้อเมื่อมีเวลาตอนเช้าวันนี้เมื่อเผอิญเข้าไปคลิ๊กตัวอักษรสีน้ำเงินที่มีความว่า ข้อมูลจากบทความเรื่อง สถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร และลูกหลานชาวโยดะยาในพม่า “คุณหมอทิน มอง จี” โดย คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๖ ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ บทความที่ซ่อนไว้จึงปรากฏขึ้น มีข้อความหลากหลายที่ผู้ยิ่งใหญ่ในวงการโบราณคดีไม่เชื่อ เรืองสถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร ซึ่งเป็นลูกเล่นของคุณหมอเพ็ญชมพูที่มีเจตนาแฝงต้องการจะยกขึ้นมาให้เห็น

หากท่านขี้เกียจย้อนกลับไปก็คลิ๊กที่ระโยงข้างล่างนี้ก็ได้

http://lek-prapai.org/home/view.php?id=967

แต่ก็อย่างว่า วลัยลักษณ์ ทรงศิริเขียนไว้เมื่อ ๑ ต.ค. ๒๕๕๕ คำวิพากษ์ทั้งหลายก็เกิดขึ้นก่อนที่หลักฐานจะถูกเปิดขึ้นให้เห็นกันชัดๆเกือบหนึ่งปี เรื่องที่ทั้งคนไทยและพม่าเชื่อกันว่าใช่ล้วนมาจากคำบอกเล่าโดยการค้นคว้าของนายแพทย์ ทิน หม่อง จี ซึ่งนักโบราณคดีไทยดูถูกว่าเป็นแค่มือสมัครเล่น (ช่างไม่เกรงใจคุณหมอเพ็ญชมพูบ้างเลย แล้วคุณหมอหลายคนในเมืองไทยเช่นคุณหมอปราเสริฐ และคุณหมอชัยยุทธ ก็ไม่ได้จบวิชาที่ท่านเหล่านั้นใช้ทำมาหากินจนประสบความสำเร็จในชีวิตยิ่งใหญ่)  อะไรๆที่หมอทินนำเสนอ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ก็จะบอกว่าไม่มีหลักฐานรองรับ อย่างเช่นไม่เห็นว่าสถูปนี้ควรตั้งอยู่ที่อมรปุระ เพราะไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า มีการย้ายเชลยชาวอยุธยามาอยู่ที่อมรปุระ ซึ่งผมสงสัยว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อาจารย์พิเศษกล่าว คงหมายถึงหลักฐานฝ่ายไทย เช่น คำให้การของพระมหาโค มหากฤช คนกรุงเก่าที่ถูกกวาดต้อนไปคราวเสียกรุง และหนีกลับมาได้ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้เล่าว่าตน(มหาโค) เมื่อเป็นฆราวาสอายุ ๒๗ ปี ตามเจ้าวัดประดู่(พระภิกษุพระเจ้าอุทุมพร)ไปแล้วพลัดกัน โดยตนอยู่เมืองเปร นอกจากนั้นก็มีหลักฐานอื่นๆว่าเชลยไทยถูกกวาดต้อนไปอยู่เมืองอังวะและสะกาย แต่ว่าหลักฐานฝ่ายพม่าตามที่ผมนำมาย่อความให้อ่านคงไม่เคยเห็น
อาจารย์พิเศษมีความเห็นว่า ข้อมูลที่ทำให้เชื่ื่อกันว่าสถูปดังกล่าวเป็นสถูปบรรจุอัฐิเจ้าฟ้าอุทุมพร เป็นเพียงข้อมูลจาก “คำบอกเล่า” ของชาวบ้านในท้องถิ่นที่พูดกันปากต่อปากว่าเป็นที่ฝังพระศพของกษัตริย์ไทย์พระองค์หนึ่งเท่านั้น แต่ตนไม่เชื่อ เพราะทั้งสภาพของสถูปทั้งรูปทรงและลวดลาย ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับศิลปะอยุธยาแต่อย่างใด

ทว่าเรื่องนี้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม กลับเห็นว่าเป็นไปได้สูง ที่สถูปทรงโกศในสุสานลินซินกอง (ซึ่งคุณหมอ ทิน หม่อง จีเป็นคนให้ความหมายว่าสุสานล้านช้าง) จะเป็นของพระผู้ใหญ่หรือผู้มีสถานภาพในกลุ่มชาวไต-ลาว ที่อาจจะเป็นชาวล้านช้าง ที่คนพม่าเรียกว่า เลิง-ซิง หรือคนจากอยุธยา โดยแนะนำให้ไปเปรียบเทียบกับสถูปรูปยอดบัวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก และพบได้หลายแห่งในประเทศไทยและลาว ไม่ใช่เป็นเรื่องประหลาดเลย

แต่ส่วนใหญ่ในบทความนั้นจะเป็นความเห็นของคุณหมอทิน หม่อง จี ที่เชื่อว่าพระสถูปดังกล่าวเป็นของพระเจ้าอุทุมพร โดยมีเหตุผลมากมาย ผมไม่อยากยกมากล่าวซ้ำให้เย่นเย้อ เพราะเดี๋ยวภาค ๒ เมื่อเปิดบาตรที่ขุดมาได้แล้ว หลักฐานที่มีน้ำหนักกว่าต่างๆจะปรากฏขึ้นอีกมาก

หากใครมีเวลามาก จะเข้าไปอ่านหน่อยก็ดี คุณหมอเพ็ญชมพูอุตส่าห์เอามาโยงไว้ให้อำนวยความสะดวก ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 08:48

แม้ว่าในเตวั้งรุปซุงประบุทหรือพาราไบ้ก์จะบันทึกหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ว่า  มีกษัตริย์ไทยในสมณเพศสวรรคตที่อมรปุระ และได้รับการปลงพระบรมศพอย่างสมพระเกียรติที่ลินซินกองก็จริงอยู่ แต่ก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญของพม่าแสดงความกังขา เพราะผู้บันทึกได้บันทึกในรัชกาลหลังต่อมาหลายสิบปี  เพราะหากวิเคราะห์ตามหลักฐานอื่นแล้ว ในรัชกาลของพระเจ้าปดุง หรือในสมัยที่พระเจ้าอุทุมพรยังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น  บริเวณที่เรียกว่าลินซินกองยังไม่ได้เป็นที่ฝังศพ ที่ดินอันมีที่ตั้งสวยงามนี้อาจจะเป็นอุทยานหลวงด้วยซ้ำ  แต่สุสานได้เกิดขึ้นหลังจากพระเจ้ามินดงราชธานีย้ายราชธานีไปอยู่มัณฑะเลย์แล้ว

มีผู้วิเคราะห์ลึกลงไปถึงพิธีปลงศพและพระศพตามประเพณีวัฒนธรรมของชาวโยเดียซึ่งพบว่า จะกระทำฌาปนกิจและนำอัฐิไปบรรจุไว้ในสถูปที่นิยมสร้างไว้ในวัด  ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่า อาณาบริเวณที่สถูปใหญ่น้อยทั้งหลายกระจุกตัวอยู่ และได้ถูกค้นพบในครั้งนี้นั้น  น่าจะเป็นวัดหลวงที่เกี่ยวข้องกับราชนิกูลอยุธยา ก่อนที่วัดจะร้างไปและถูกนำพื้นที่มาใช้เป็นสุสานของผู้มีสกุลสูงชาวต่างชาติก่อน แล้วพวกคริสต์จะกระทำตาม ต่อด้วยพวกมุสลิม พม่าและจีนในที่สุด

เรื่องนี้มีอรรถาธิบายว่า จากที่พระราชพงศาวดารพม่าฉบับคองบองระบุไว้ ในปีพ.ศ.๒๓๓๖ เมื่อพระเจ้าบะจีดอว์(หรือคนไทยเรียกพระเจ้าจักกาย(สะกาย)แมง)ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าปะดุง พระองค์ถวายพระสุพรรณบัตรให้แก่พระสงฆ์ผู้ใหญ่ในราชอาณาจักรอมรปุระหลายรูป  หนึ่งในนั้นมีเจ้าอาวาสวัดโยเดีย นามว่าพระติสรณะ ได้ฉายาใหม่ว่า พระเถระ นรินทะชะมหาธรรมราชาคุรุ  วัดโยเดียอยู่ในลำดับต่อจากวัดตองเลยลุง ซึ่งปัจจุบันตั้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสุสานลินซินกอง ห่างไปประมาณ ๓๐๐ เมตร การที่วัดโยเดียอยู่ในลำดับต่อจากวัดต่องเลยลุง แสดงว่า วัดทั้งสองน่าจะอยู่ใกล้เคียงในบริเวณเดียวกัน 

ทุกวันนี้ไม่มีวัดที่ชื่อวัดโยเดียอยู่แล้ว และไม่มีโบราณสถานแห่งอื่นในบริเวณใกล้เคียงที่พออนุมานได้ว่าจะเป็นวัดร้าง  นอกจากกลุ่มโบราณสถานที่ค้นพบใหม่ในสุสานลินซินกอง อันปรากฏกำแพงแก้วล้อมรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ แสดงว่าในอดีตต้องเป็นวัด  และยังพบส่วนฐานที่เป็นพื้นของอาคารขนาดใหญ่ ในลักษณะของวิหาร และทรากอาคารเสนาสนะอีกหลายรายการ  จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าโบราณสถานเหล่านั้นจะเป็นวัดโยเดียที่สูญหาย

อนึ่ง จากการวิเคราะห์ขนาดของอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างที่พบในพื้นที่โครงการฯแล้ว พิสูจน์ได้ว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระราชวังอมรปุระ หลังย้ายมาจากกรุงอังวะ  ช่วงเวลาเดียวกันกับที่พระเจ้าอุทุมพรเสด็จมาประทับอยู่ ณ เมืองอมรปุระ  จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า วัดนี้สร้างขึ้นเป็นที่จำพรรษาสำหรับพระเจ้าอุทุมพรโดยเฉพาะ  และเมื่อพระองค์เสด็จสรรคตแล้ว เจ้านายโยเดียรุ่นหลังๆจึงนำพระอัฐิอังคารของบรรพชนมาสร้างสถูปบรรจุไว้ตามๆกันมา

เมื่อพระเจ้ามินดงทรงย้ายเมืองหลวงจากอมรปุระไปอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์อีกครั้ง เจ้านายชาวโยเดียก็จำต้องทิ้งวัดนี้เพื่อตามไปอยู่มัณฑะเลย์ด้วย  แม้สถูปต่างๆยังคงอยู่ แต่หลังจากกาลเวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่งก็กลายมาเป็นสุสานของชาวพม่าเชื้อสายอื่นที่เป็นชาวพุทธ และธรรมเนียมพม่าเองก็ถือว่าสถานที่เก็บอัฐิคนตายนั้นเป็นสถานที่อัปมงคล เหมาะสำหรับใช้เป็นสุสาน จึงนำศพมาฝังร่วมด้วย ฉะนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 13:34

โยเดียที่คิด (ไม่) ถึง รายการเกี่ยวกับชาวโยเดียในพม่าทาง ไทยพีบีเอส มีทั้งหมด ๕ ตอน ตอนที่ ๒ นี่เกี่ยวกับเรื่องที่เรากำลังสนใจกันอยู่ วิทยากรคือคุณมิกกี้ ฮาร์ท

โยเดียที่คิด (ไม่) ถึง : สายเลือดอโยธยา ?

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 14:39

ภาค ๒ ทางเลือกของคนทำงาน

ภาพของโครงการหลังจากกำจัดวัชพืชและพืชคลุมดิน เพื่อทำการเปิดหน้าดินให้เห็นร่องรอยของโบราณสถาน ก่อนทีมงานจะเดินทางกลับประเทศไทย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 14:39

สถูปทรงปราสาทแบบพม่า ซึ่งแต่เดิมมีพืชปกคลุมอยู่จนมองไม่เห็นสภาพ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 14:40

พื้นปูอิฐ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 14:40

ส่วนหนึ่งของกำแพงแก้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 14:40

.


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.101 วินาที กับ 19 คำสั่ง