เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70700 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 10:08

ในหนังสือฉบับนั้น ได้ขอความร่วมมือจากฝ่ายพม่าดังนี้

๑ แต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยสถาปนิก วิศวกร และนักโบราณคดี เพื่อทำงานร่วมกับฝ่ายไทยคั้งแต่ ๑๘ กุมภาพันธุ์-๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖
๒ สะสางความสะอาดพื้นที่ๆจะทำการขุดค้น
๓ จัดหาประปาและไฟฟ้ายังพื้นที่ทำงาน
๔ กั้นรั้วอาณาบริเวณและสำนักงานโครงการในพื้นที่

นอกจากนั้นก็เป็นปัญหาเรื่องวีซ่าที่จะต้องขอต่ออายุ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 13:36

๒๐ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๖

ช่วงเช้าซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่าคณะทำงานทั้งสองฝ่าย นายอู ออง หม่อง ผู้ว่าการรัฐเป็นผู้มากล่าวเปิดงานและนั่งฟังบรรยายทางวิชาการของหัวหน้าคณะทำงาน ผู้ที่มาร่วมประชุมมีทั้งข้าราชการระดับสูงของรัฐมัณฑะเลย์ และเมืองอมรปุระ องค์กรภาคเอกชน(NGO) ประชาชนผู้สนใจ และสื่อมวลชน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 13:37

มิกกี้ ฮาร์ท เป็นผู้บรรยายและชี้แจงโครงการในรายละเอียดเป็นภาษาพม่า หลังจากจบแล้วก็เปิดโอกาสให้ซักถาม มีที่น่าสนใจคือ

ถามว่าลินซิงกอง ซึ่งคำว่า “กอง” แปลว่าสุสานนั้นเข้าใจ แต่ “ลินซิน” นี่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอะไร มีความหมายว่าอย่างไร
มิกกี้ซึ่งเป็นสถาปนิก แต่ชอบค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ตอบว่า  ลินซินนี้คนไทยเข้าใจว่า เป็นคำที่คนพม่าเรียกล้านช้าง ซึ่งเป็นราชอาณาจักรหนึ่งของลาวในสมัยก่อน ลินซินจึงไม่ใช่ภาษาไทย ส่วนคำๆนี้ในภาษาพม่ามีความหมายว่า หอสังเกตุการณ์ แต่ทำไมจึงเรียกอย่างนั้นก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ก็เป็นชื่อที่เรียกกันมาแต่โบราณกาลแล้ว

เอาละสิครับ ผมก็เพิ่งจะรู้นี่แหละว่าลินซินกองนี่คนไทยนี่แหละ เป็นคนมั่วว่าแปลว่าสุสานล้านช้าง ผู้คัดค้านบางคนจึงกล่าวว่า ไม่น่าเชื่อถือที่พม่าจะปลงพระศพของเจ้านายไทยในสุสานของคนลาว
มีบางคนว่ามิกกี้เป็นสถาปนิก แล้วมาตั้งตนเป็นนักประวัติศาสตร์ได้อย่างไร  ข้อกล่าวหานี้ทำให้ผมกลายเป็นตุ๊กแกร้อนท้องไปด้วย ต้องขอประกาศอีกครั้งนะครับ ผมก็ยังเป็นสถาปนิก ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์นะครับ  แต่เป็นนักอ่าน อ่านเรื่องไหนชอบก็เอามาเล่าต่อ เรื่องไหนเห็นว่าโม้เอามัน ก็หาหลักฐานมาหักล้างบ้าง บางเรื่องก็ถือเป็นหน้าที่ บางเรื่องก็แย้งเอามันเหมือนกัน

กลับไปคำถามที่น่าสนใจต่อ

มีคนถามว่าหากเจอพระบรมอัฐิจริงแล้วละก็ จะดำเนินการอย่างไร จะเก็บไว้ที่พม่าหรือจะอัญเชิญกลับไปประเทศไทย ทางคณะทำงานมีความเห็นเช่นไร
มิกกี้เป็นตัวแทนตอบว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะต้องหารือร่วมกัน คณะทำงานไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจใดๆ แต่ตามความเห็นส่วนตัวว่า น่าจะบรรจุกลับเข้าที่เดิมหลังการบูรณะมากกว่า เพราะท่านเคยอาศัยและมรณภาพที่นี่ ส่วนรัฐบาลไทยหากจะขอแบ่งพระบรมอัฐิบางส่วนกลับไปทำอนุสรณสถานในเมืองไทยบ้าง ก็แล้วแต่ผลของการหารือเมื่อถึงเวลานั้น

อื่นๆก็เป็นเรื่องให้ความเห็นโน่นนี่นั่น ผมขอไม่เอามาสาธยายต่อให้เยิ่นเย้อ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 13:38

ในภาคบ่าย เป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่หน้างาน  มีชาวบ้านชาวช่องที่ทราบข่าวมาร่วมงานบุญนี้ด้วยจำนวนมากพอสมควร


บันทึกการเข้า
มีนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 13:48

ติดตามทุกวันครับ หลังจากเคยได้ดูสารคดีโยเดียที่คิดไม่ถึง ที่มีเรื่องสถูปพระอัฐิพระเจ้าอุทุมพรเป็นส่วนหนึ่ง
บันทึกการเข้า
Voodoo
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 16:18

ยังติดตามอ่านอยู่นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 16:38

ดีจัง ที่บอกให้ทราบนะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 07:15

สภาพของโครงการหลังจากที่เทศบาลเมืองอมรปุระเข้าไปทำความสะอาด และกันรั้วรอบบริเวณพื้นที่ ๑ เอเคอร์ที่กำหนดให้นั้นแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 09:17

ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธุ์ เป็นต้นไป คณะทำงานจึงได้เริ่มการสำรวจทางโบราณคดีอย่างจริงจัง ทุกวัน ตั้งแต่เวลาแปดโมงเช้าถึงหกโมงเย็น ทุกคนอาษาที่จะสละเวลามาเพียงเดือนเดียวเท่านั้น แล้วก็ต้องกลับกรุงเทพไปทำงานประจำ ของใครของมัน

เวลานั้นยังเหลือขยะบางส่วนที่ยังขนออกไปไม่หมด กลิ่นที่รบกวนการทำงานยังโชยเข้ามาเป็นระยะๆ จนทุกคนชินไปกับมัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 09:18

เวลานั้นมีซากโบราณสถานที่ต้องการพิสูจน์ทราบเพียง ๓ จุดเท่านั้น คือ

๑ สถูปทรงโกศที่ทุกคนเชื่อว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิ
๒ สถูปใหญ่ องค์ประธานที่พังลงเหลือแต่ซากฐาน น่าจะเป็นพุทธเจดีย์
๓ สถูปองค์เหลี่ยมทรงพม่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 09:20

ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน มีการทำบันทึกประจำวันทุกวัน แล้ววิจิตรจะทำบันทึกประจำสัปดาห์รายงานกลับไปยัง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมาร์ทุกฉบับ ก่อนที่จะสรุปเป็นรายงานผลงานทั้งหมดเมื่อภารกิจแล้วเสร็จ

ผมจะเล่าความตามบันทึกประจำวันของอาจารย์ ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แก้ว ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี  ภาพนี้ท่านยืนอยู่หน้าฐานของสถูปอีกองค์หนึ่ง ซึ่งปรากฏขึ้นหลังจากการทำความสะอาดพื้นที่และนำดินที่กลบบางส่วนออกแล้ว ก่อนหน้านั้น ไม่มีใคร(คนไทยยุคนี้)เคยได้เห็น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 09:26

งานแรกมุ่งไปที่ซากของพระสถูปองค์ที่ ๒ โดยขนาดจึงเชื่อว่าเป็นพุทธเจดีย์องค์ประธาน ซึ่งมีช่องที่ฟ้องว่าเคยมีคนหาวัตถุโบราณได้ขุดเข้าไปแล้ว หลังจากใช้ไม่ไฝ่แยงตามเข้าไป พบว่าสุดที่ระยะ ๑๒ เมตร เปรียบเทียบกับเส้นฝ่าศูนย์กลางภายนอกแสดงว่าน่าจะขุดทะลุห้องกรุที่อยู่ข้างในไปแล้ว  จึงให้คนงานขุดดินที่กลบอยู่แล้วตามเข้าไป ถ่ายวีดีโอไปด้วย ไม่นานก็สุดที่โพรงกว้างข้างใน พบว่า  ไม่ได้เป็นห้องกรุสี่เหลี่ยมดังที่คาดไว้  และคนร้ายได้พยายามเจาะผนังทั้งสามด้านต่อไปอีก แต่ได้ไม่เท่าไหร่ก็เลิก ทิ้งเศษยางนอกจักรยานที่นำมาจุดไฟแทนไต้ และกระสุนหนังสติ๊กทำด้วยดินเผาสำหรับยิงสัตว์เล็กลูกหนึ่งไว้  คณะทำงานจึงถ่ายภาพ เสก็ตภาพ วัดขนาดและระยะต่างๆของห้องนั้นลงบันทึก

หลังจากคณะทำงานขุดลงลึกต่อไปอีกได้สักสองสามชั้นอิฐ ก็พบแผ่นอิฐเรียงกันเป็นแผ่นพื้นหนา จึงให้หยุดไว้ก่อนวันรุ่งขึ้น  เพื่อจะขึ้นไปขุดเจาะจากนั่งร้านด้านบนลงไปยังชั้นใต้ดิน เพราะในห้องภายในสถูปไม่พอที่จะตั้งเครื่องมือขุดเจาะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 16:51

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 16:52

เมื่อฝ่ายช่างเตรียมการเสร็จก็เริ่มขุดหลุมขนาด ๑x๑ เมตร ลึกลงไปเรื่อยๆ พบว่าเนื้ออิฐเปื่อยยุ่ยมาก กลับสถูปจะถล่มจึงต้องเสริมไม้ค้ำยันไว้อีก ทั้งภายนอกและภายในโพรงที่ถูกลักลอบเจาะ

เมื่อขุดลงไปแล้วก็รีบทำโครงไม้ยันผนังไว้ทุกระยะ จนถึงพื้นแล้วยังไม่พบอะไร แต่ก็ได้ขุดตามลงไปอีกจนได้ความลึกทั้งสิ้น ๖๑๔ ซม. จึงเป็นอันแน่ใจว่าไม่มีอะไรบรรจุไว้แน่ จึงยุติการค้นหา ทำพื้นไม้ปิดปากหลุมไว้เพื่อรอการบูรณะต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 17:05

การศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบพระสถูปซึ่งเป็นพุทธเจดีย์ร่วมกันระหว่าสถาปนิกไทยและพม่า กับผู้ที่มีความรู้เรื่องโบราณคดี
และเสนอแบบร่างเพื่อเตรียมนำเสนอให้ที่ประชุมเป็นผู้เลือก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง