เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70680 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 435  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 17:01

ส่วนของคุณคนโคราช ความจริงถ้าจะถกกันต่อเรื่องที่คุณคัดมาก็คงเข้าซอยไปได้อีกยาว ซึ่งไม่ได้อยู่ในประเด็นที่ผมต้องการนำเสนอในหัวเรื่องนี้

ขอยืนความเห็นแต่เพียงว่า คนพม่าที่แปลหน้าจารึกในใบลานแผ่นนี้ คงจะไม่ใช่ขนาดอ่านในหน้าอื่นๆทั้งเล่มแล้วรู้ชัดว่าเป็นเรื่องของกษัตริย์อยุธยาองค์อื่น แต่ก็ยังยกเมฆดั้นด้นให้เป็นพระเจ้าอุทุมพร เพื่อวัตถุประสงค์แอบแผงอะไรก็สุดแล้วแต่

และ นายมอง นายท้วย นายกะลา ไม่ใช่ชื่อบุคคลที่ควรจะประกอบอยู่ในคณะราชทูตจากกรุงศรีอยุธยาครับ แต่เป็นชื่อของทายกที่รับใช้พระ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 436  เมื่อ 04 ม.ค. 18, 13:05


เห็นด้วยครับ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมนอกจากนี้ก็จะชัดเจนขึ้นมาก

ประวัติศาสตร์นั้นยาวนาน

จาก คำบรรยายของ คุณหมอทินเมืองจี
นอกเหนือจากบาตรมรกตบรรจุพระอัฐิ ในเจดีย์ชั้นในแล้ว

มีการค้นพบภาชนะบรรจุอัฐิอีกหนึ่งใบในสถูปทรงพม่าทางตะวันออก
และอีกใบหนึ่งที่ฐานเจดีย์น้อยด้านใต้
คาดว่าจะมีภาชนะบรรจุอัฐิเพิ่มเติมรอการค้นพบในบริเวณสุสานลินซินกงนี้ต่อไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 437  เมื่อ 04 ม.ค. 18, 15:47

ครับ ผมได้ทราบจากคุณวิจิตร ชินาลัยเหมือนกันว่า ก่อนจะหมดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากทางการพม่าให้ขุดค้นหาหลักฐานทางโบราณคดีในบริเวณที่กำหนด ได้เจาะช่องเล็กๆสำหรับสอดกล้องวิดีโอและไฟฉายลงไปถ่ายในห้องกรุของสถูปที่เหลือ และได้เห็นรูปพรรณสัณฐานของภาชนะใส่อัฐิที่อยู่ภายใน แต่พบว่าไม่มีความอลังการเช่นอันแรก และสมควรแก่เวลาที่จะปิดโครงการแรกตามกำหนด จึงปิดช่องไว้เป็นอย่างดี เก็บไว้รอโอกาสหน้า

หากมีการสำรวจกันอีกครั้งให้เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่านี้ ก็อาจจะได้เจอหลักฐานที่สนับสนุนแนวทางที่สันนิษฐานว่า แต่เดิมตรงนั้นเป็นวัดของคนไทยสมัยศรีอยุธยา ซึ่งนิยมสร้างสถูปบรรจุอัฐิ(พม่าไม่มีคตินี้) หลังจากพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรแล้ว จึงได้สร้างสถูปเจ้านายและบุคคลสำคัญในชุมชนไว้ ณ สถานที่เดียวกันนี้ด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 438  เมื่อ 12 ก.พ. 18, 11:21

ขออนุญาตแจ้งความก้าวหน้าล่าสุดหน่อยครับ เมื่อต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลพม่าตกลงอนุญาตให้มีการดำเนินโครงการอนุสรณ์สถานพระเจ้าอุทุมพรต่อแล้ว



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 439  เมื่อ 12 ก.พ. 18, 11:22

ข้อความของคุณวิจิตร ชินาลัย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 440  เมื่อ 12 ก.พ. 18, 11:33

ผมก็อดที่จะมีความสุขกับคุณตาไม่ได้ งานของคุณตาเหลืออีกนิดเดียว ไปอีกสองสามครั้งก็คงเสร็จสิ้นสมบูรณ์แบบแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 441  เมื่อ 14 ก.พ. 18, 09:41

สภาพพื้นที่เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561

รูปถ่ายที่เห็นใด้รับจากคณะขององค์กร Home run ที่ใด้เข้าเยี่ยมชมโครงการการ อนุรัษ์ปฏิสังขรณ์เพื่อให้เป็น "อนุสรณสถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร " ซึ่งเพิ่งจะใด้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อใด้ จากกรมโบราณคดีรัฐบาลเนปิดอร์และรัฐบาลท้องถิ่นรัฐมัณฑะเลย์ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เองหลังจากโครงการถูกแจ้งให้ระงับการปฏิบัติการเป็นการชั่วคราวมาตั้งแต่ 26 มิถุนายน 2559

ในช่วง 1ปี 8เดือนที่ผ่านมาซึ่งมีทั้งพายุฝน มีน้ำท่วมอย่างหนัก พื้นที่ทั้งหมด 2.5 ไร่ กลับไปเป็นป่าเช่นเดิม เต็มไปด้วยวัชพืชและต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมดมองอะไรไม่เห็น เต็มไปด้วยงูนานาชนิด
ต้องขอบคุณทีมงานของ U Win Moung และ เจ้าหน้าที่จากกรมโบราณคดีประเทศพม่าที่ช่วยกันเร่งรีบกำจัดวัชพืชและเคลียร์พื้นที่ทั้งหมดจนสอาดใด้ภายใน10 วันที่ผ่านมา

โชคดีเป็นอย่างมากที่เจดีย์ทรงโกศ เราตีโครงไม้ยึดใว้อย่างแข็งแรงตั้งแต่ต้นปี 2559 ไม่เช่นนั้นคงล้มไปแล้วจากพายุฝนและน้ำท่วมใหญ่และแผ่นดินไหวที่ผ่านมาในบริเวณนี้  การดำเนินการต่อตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปคงต้องเริ่มที่เจดีย์ทรงโกศองค์นี้แหละเพราะเป็น symbolic ของ " สถานที่ ที่เชื่อกันมานมนานแล้วว่าเป็น สถานที่ ที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ และมีการบรรจุพระบรมอัฐิใว้ในบริเวณนี้ ตามระบุใว้ใน Parabike ของพม่า

* ภาพพระเจดีย์หมายเลข 3 ซึ่งใด้ขุดค้นพบภาชนะทรงบาตรประดับกระจกตั้งบนพานแก้วแว่นฟ้า เมื่อกำจัดวัชพืชแล้วใด้พบว่า มีดอกบานไม่รู้โรยบานอยู่ที่ฐานพระเจดีย์ ท่ามกลางวัชพืชที่ปกคลุมเต็มไปหมด

ต้องขอบคุณ คณะ Home run ที่กรุณาส่งภาพมาให้ผมเมื่อเช้านี้ ซึ่งผมอยากจะ Share กับเพื่อนๆที่ ห่วงใย สนใจและติดตามเรื่องโครงการนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ให้ทราบสถานะภาพของโครงการนี้ ณ วันนี้และเดี๋ยวนี้ครับ


วิจิตร ชินาลัย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 442  เมื่อ 14 ก.พ. 18, 09:43

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 443  เมื่อ 14 ก.พ. 18, 09:44

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 444  เมื่อ 14 ก.พ. 18, 14:49

Vichit Chinalai  ภาพนี้เป็นพื้นที่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภายในพื้นที่ 2.5 ไร่ของโครงการฯ เดิมก่อนที่เราจะเริ่มโครงการ เมื่อพศ.2555 นั้น ไม่เคยมีใครเห็นภาพเช่นนี้มาก่อนเป็นร้อยปี เพราะซากโบราณสถานที่เห็นนี้อยู่ใต้ระดับดินเดิมลงไปอีกประมาณ 1.5 เมตร แถมยังมีขยะ50ปี-100 ปี ถมทับกันอย่างแน่นหนาปกคลุมตลอดทั่วบริเวณ โดยมีความหนาเฉลี่ยสูงขึ้นมาอีก 2เมตร
หลังจากเริ่มโครงการเราจำเป็นต้องเปิดหน้าดินให้มีระดับเท่าระดับฐานของพระเจดีย์องค์ประธาน จึงใด้ค้นพบซากงานสถาปัตยกรรมโบราณที่สลับซับซ้อนดังที่เห็น.

หากโครงการนี้มั่นคงดีแล้ว ในอนาคต หากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายใดๆก็ตาม ต้องการขุดค้นใต้ดินหรือใต้ฐานวิหารหรือฐานเจดีย์เหล่านี้เพิ่มเติมภายหลัง คงจะใด้พบ Hard Evidence ทางโบราณคดี เพิ่มเติมอย่างแน่นอน
(ตั้งแต่เริ่มโครงการมาเมื่อ พศ.2555เป็นต้นมา คณะทำงานภาคเอกชน ทั้งฝ่ายพม่าและฝ่ายไทย ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆทั้งสิ้น จนถึงวันนี้)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 445  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 07:12

แนวโน้มที่ดีเริ่มปรากฏชัดขึ้นมากแล้วครับ  วันวานนี้ ค่ายมติชน-ศิลปวัฒนธรรมได้ยอมรับความคิดเห็นจากนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ ร.ศ. ศานติ ภักดีคำ  โดยเชิญมาเป็นองค์ปาฐก เรื่อง “ จากศรีอยุธยาสู่อมรปุระ ตามรอย “ขุนหลวงหาวัด” กษัตริย์ผู้สละราชย์” ซึ่งต่อยอดจากเดิมที่นักประวัติศาสตร์รุ่นเก่าของค่ายนี้เชื่อเฉพาะแต่หลักฐานฝ่ายไทยที่ว่า พระเจ้าอุทุมพรทรงประทับอยู่ที่สะกาย(สะเกียง)เท่านั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 446  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 07:15

อาจารย์ศานติพูดทั้งหมดสักสี่ชั่วโมง แบ่งออกเป็นสองภาค ภาคแรกกล่าวถึงพระประวัติในช่วงก่อนเสียกรุง



และช่วงที่สอง เมื่อทรงตกเป็นเลยศึกของพม่าร่วมกับเจ้านายพระองค์อื่นนับพัน และราษฎรร่วมสองแสน ต้องเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ผ่านเส้นทางต่างๆไปยังกรุงอังวะเมืองหลวง และหลังจากนั้น ครัวเรือนไทยได้แยกย้ายไปอยู่ยังที่แห่งใดบ้าง และทำไมพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรจึงได้ไปประทับที่อมรปุระ และเสด็จสรรคตที่นั่น







ส่วนคลิ๊ปข้างล่างเป็นช่วง ๕ นาทีสุดท้ายของปาฐกถา ที่อาจารย์ศานติกล่าวถึงหลักฐานที่แสดงว่า พระบรมศพได้รับการถวายพระเพลิงที่สุสานลินซินกอง และโบราณสถานที่เกี่ยวข้องยังปรากฏทรากในปัจจุบัน


https://youtu.be/wpN2Q-6Afgo?t=3917


หวังว่าความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันนี้จะส่งเสริมให้การสถาปนาอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร บนแผ่นดินพม่าโดยคนไทยในยุคปัจจุบัน ให้ปราศจากอุปสรรคในขั้นตอนสุดท้ายจากฝีมือคนไทยด้วยกันเองนะครับ

ป.ล. ผมพยายามจะให้ระโยงข้างบนแสดงแค่ url ทั้ง ๒ ภาค และคลิ๊ปที่ผมตัดตอนให้ขึ้นเป็นภาพของยูทูปเลย แต่มันสลับกันอย่างที่เห็น ผมไม่ทราบสาเหตุเหมือนกัน ถ้าคุณหมอเพ็ญชมพูจะกรุณาช่วยแก้ไขให้ได้ก็จะเป็นพระคุณครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 447  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 09:14

ส่วนคลิ๊ปข้างล่างเป็นช่วง ๕ นาทีสุดท้ายของปาฐกถา ที่อาจารย์ศานติกล่าวถึงหลักฐานที่แสดงว่า พระบรมศพได้รับการถวายพระเพลิงที่สุสานลินซินกอง และโบราณสถานที่เกี่ยวข้องยังปรากฏทรากในปัจจุบัน

url ล่างสุดแสดงภาพเช่นเดียวกับคลิปที่สอง ส่วนคลิปช่วงสุดท้ายที่คุณนวรัตนพูดถึง อาจดูได้จากคลิปที่สองนี้ช่วงนาทีที่ ๑.๑๒.๑๐ - ๑.๒๐.๓๕




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 448  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 09:34

^ ผมก็ทำออกมาได้อย่างนี้แหละครับ ไม่ได้ออกมาตรงนาทีที่บันทึกไว้ เหมือนดังที่เปิดจากระโยงนี้

https://youtu.be/wpN2Q-6Afgo?t=3917
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 449  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 11:04

คำบรรยายของอาจารย์ศานติ ภักดีคำ ในส่วนของพระเจ้าอุทุมพรเมื่อประทับในพม่า จากคลิปที่สอง นาทีที่ ๑.๐๕.๑๕ - ๑.๑๒.๑๐





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง