เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70685 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 405  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 09:38

.


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 406  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 18:47


พระมังหละเจ้าจันทร์นรินทร์ พระราชกุมารกรุงศรีอยุธยานี่คือใครครับ  ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 407  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 20:44

น่าจะเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งในจำนวนนับพันที่ถูกนำไปพม่าด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 408  เมื่อ 23 ธ.ค. 17, 07:48


ขอบคุณมากครับท่านอาจารย์
เป็นเอกสารที่น่าสนใจมากครับ

ผมตีความว่าเป็นบันทึกตั้งแต่สมัยอยุธยา
ก่อนราชวงศ์อลองพญา สมัยที่พระมหามุนียังอยู่ที่ยะไข่ ครับ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 409  เมื่อ 23 ธ.ค. 17, 08:44

ทำไมจึงตีความเช่นนั้นล่ะครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 410  เมื่อ 23 ธ.ค. 17, 09:53


มีพระราชา พระอุปราช พระราชบุตร
ควรเป็นอยุธยาก่อนสมัยพระเจ้าอุทุมพรครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 411  เมื่อ 23 ธ.ค. 17, 10:37

ตอนนั้นพระราชาของกรุงศรีอยุธยาอยู่ในฐานะมิตรหรือศัตรูกับพม่าหรือครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 412  เมื่อ 23 ธ.ค. 17, 11:09


ไทยไม่เคยรบกับยะไข่ครับ

ช่วงปลายอยุธยา พม่ากรุงอังวะอ่อนแอมากครับ
จนสิ้นวงศ์แล้วอลองพญาได้อำนาจ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 413  เมื่อ 23 ธ.ค. 17, 11:31

ผมก็เชื่อว่าอยุธยาไม่เคยรบกับยะไข่ และไม่คิดว่ามีความสำคัญพอที่พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจะส่งคนไปถึงที่โน่น โดยทางบกหรือทางทะเลก็ไม่ทราบ แต่จะพ้นหูพ้นตาพม่าได้อย่างตลอดปลอดภัยอย่างไร เสี่ยงชีวิตเจ้านายพระองค์หนึ่งกับข้ารับใช้สามสี่คน เพียงเพื่อเอาของไม่กี่ชิ้นไปถวายพระพุทธรูปสำคัญเพื่อเป็นพุทธบูชา
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 414  เมื่อ 23 ธ.ค. 17, 13:15


ไทยกับพม่ากลับเป็นไมตรีกันสมัยพระเจ้าปราสาททองครับ
ราชวงศ์ตองอูอ่อนแอลงเรื่อยๆสูญเสียอำนาจควบคุมมอญ
ไทยยึดมะริดเป็นเมืองท่าสำคัญนับแต่สมัยพระนารายณ์เป็นต้นมา
เส้นทางการค้ามะริด พะโค อาระกัน เบงกอล รุ่งเรือง เดินเรือได้เป็นปกติ จนถึงสมัยพระบรมโกศ
อนึ่งในบันทึกดังกล่าวพระราชบุตรเป็นผู้รวบรวมของถวาย มิได้กล่าวถึงการเสด็จฯโดยพระองค์อย่างชัดเจน ตามความเท่าที่ได้อ่านครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 415  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 10:28

ขอโทษครับที่เพิ่งเข้ามาเห็น
 
ผมยังไม่คล้อยตามคุณคนโคราชอยู่ดี อาระกันหรือยะไข่เวลานั้นไม่ค่อยจะญาติมิตรกับพม่า เพราะพม่าเองก็จ้องพระพุทธรูปทองคำนี้ตาเป็นมัน ในที่สุดก็ปล้นเมืองเขา เอาพระมหามุนีไปจนได้ เมื่อได้ไปแล้วก็เฉลิมฉลองกันใหญ่โต (เหมือนเมื่อไทยได้พระแก้วมรกตมาจากการตีเวียงจันทน์ แล้วนำมาเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง)

อ่านข้างล่างนี้อีกทีเถิดครับว่าอะไรจะสมเหตุสมผลกว่ากัน  ระหว่างกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาที่หมายถึงพระเจ้าอุทุมพร หรือพระเจ้าปราสาททอง มีจัดของถวายให้พระมหาเถระผู้ดูแลซึ่งเป็นชาวพม่าด้วยนะครับ ถ้าพระองค์นี้ยังอยู่ในอาระกัน พระเถระพม่าจะไปเกี่ยวอะไรด้วย

แล้วพระเจ้าปราสาททองหรือจะมีพระราชศรัทธา ขนาดส่งพระราชบุตรเอาของถวายพระไปกับนายมอง นายท้วย นายกะลา ไม่มีขุนนางหรือขุนทหารไปถวายอารักขาสักคน การเดินทางไปมะริดสมัยนั้นต้องใช้เรือ จากอยุธยาเข้าแม่น้ำเพชรบุรีไปจนสุดสาย แล้วเดินเท้าข้ามเทือกเขาตะนาวศรี ถึงฝั่งโน้นก็นั่งแพ ถ่อตามลำธารไปลงเรือที่เมืองตะนาวศรี แล้วจึงจะถ่อบ้าง ใช้ใบบ้างจนถึงมะริด เปลี่ยนไปลงเรือใหญ่ของพ่อค้า ไม่แขกก็ฝรั่ง เพื่อเดินทางต่อ ในทะเลก็มีโจรสลัดมากมายกว่าจะถึงยะไข่ มันจะคุ้มค่ากับชีวิตของพระราชบุตรและพระราชทรัพย์ที่ต้องจ่ายหรือครับ สำหรับการนำของไปถวายพระแค่รายการที่พม่าบันทึก

และผมยังเดาว่าในบันทึกใบลานฉบับนั้น คงมีข้อความอื่นๆอีกมาก หากเป็นเรื่องของยักไข่แล้ว ผู้แปลชาวพม่าคงไม่นำมาสรุปความเห็นว่าเป็นพระราชกิจของพระเจ้าอุทุมพรแน่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 416  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:28

ปีใหม่ศักราชใหม่ ในวันที่ 1 มกราคม 2561 เวลา 21:21 น.  หน้าเฟซบุคของศิลปวัฒนธรรมก็ได้ปล่อยบทความเรื่อง สถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร และลูกหลานชาวโยดะยาในพม่า “คุณหมอทิน มอง จี”  ออกมาอีกเผยแพร่ครั้งหนึ่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 417  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:29

บทความนี้มีที่มาจากนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ธันวาคม 2555   โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ แห่งมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์เป็นผู้เขียนไว้นมนานกว่าห้าปีมาแล้ว
และเฟซบุคของศิลปวัฒนธรรมเองก็เคยนำมาลงไว้ครั้งหนึ่ง เมื่อ วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2559 ซึ่งก็เป็นช่วงหลังที่อดีตอธิบดีกรมศิลปากรได้แสดงวาทกรรมจนเสียเรื่องเสียราว เสียไมตรีกับทางราชการของพม่าไปเรียบร้อย แต่ก็ยังเอาบทความเก่านั้นมาลงไว้ทั้งดุ้น สร้างความสับสนให้กับผู้อ่านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่มาก่อนไม่รู้ว่ากี่คน เฉพาะที่กด Like ให้ก็ ๑๗๐๐ รายเข้าไปแล้ว แต่ท่านลองดูความเห็นเหล่านี้สิครับว่า ได้สะท้อนความรู้ความเข้าใจอะไรที่คนเหล่านี้ได้ไปจากศิลปวัฒนธรรมบ้าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 418  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:33

นั่นแสดงว่า คนในสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรมไม่ลืมหูลืมตาหาข้อมูลใหม่ๆที่ได้ปริวรรตอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมา โดยกระทำตัวประหนึ่งแก้วที่มีน้ำเต็ม ไม่ยอมรับอะไรได้อีกแล้ว  หรือหาไม่ก็ในปัจจุบัน สำนักพิมพ์นี้ขาดคนที่มีคุณภาพที่จะกำกับดูแลเรื่องนี้ เพราะสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจ  จึงจำเป็นต้องตัดทอนทุกอย่างลง เพื่อดิ้นรนจะยืดวันดับออกไป

นี่คืออันตรายแท้จริงแห่งอนาคต เมื่อสื่อสิ่งพิมพ์ดีๆถูกสื่ออินเทอเน็ตทำลายย่อยยับไปแล้ว สิ่งที่มันจะทำลายให้สิ้นทรากต่อไปคือมันสมองของคนอ่าน มนษย์ยุคใหม่จะได้เสพย์เฉพาะเรื่องราวที่มักง่ายจากผู้เขียนไร้คุณภาพและความรับผิดชอบ ซึ่งสมัยก่อนนั้น ใครจะผ่านขึ้นเป็นนักเขียนในนิตยสารได้ก็ต้องเจอกับระบบคัดกรองหลายด่าน จนถึงสำนักพิมพ์และบรรณาธิการ ถ้าไม่ดีจริงก็ไม่มีทางเสนอผลงานออกสู่สาธารณะได้ หรือหากใครจะลงทุนพิมพ์หนังสือของตนเอง ก็ต้องลงทุนจ่ายค่าพิมพ์ไม่ใช่น้อยๆ ซึ่งก็ไม่แน่ไม่นอนว่าจะมีกำไรหรือขาดทุน  แต่สมัยนี้ ใครคันไม้คันมือมือใคร่อยากจะเขียนอะไรก็ไม่ต้องลงทุนลงแรง สามารถจิ้มก๊อกๆแก๊กๆไปแปะไว้ในเฟซที่มีคนอ่านแยะๆได้เลย เราจึงได้พบเห็นบทความกเฬวรากเยอะมาก คนก็ชอบแห่เข้าไปเม้นต์ด้วยความเมามัน ไม่ได้อะไรติดสมองออกมาเลยนอกจากโทษะและโมหะ  สังคมในอนาคตจะเป็นอย่างไรผมก็ไม่อยากจะคาดเดา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 419  เมื่อ 03 ม.ค. 18, 14:34

เนื่อเรื่องเต็มๆ ผมก็ได้ทำระโยงไว้ให้แล้วดังนี้

https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_5046

แต่เพื่อความสะดวกในการวิจารณ์  ผมได้ถ่ายทอดบทความนี้มาเป็นรูปภาพ ซึ่งผมจะล้อมกรอบถ้อยความบางตอนไว้ด้วยสีแดง อันเป็นเรื่องที่ศิลปวัฒนธรรมควรจะปรับปรุงให้ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง