เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70683 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 18 ธ.ค. 17, 11:52

คุณคนโคราชครับ ผมได้ส่งรูปนี้ไปให้คุณวิจิตร ชินาลัย หังหน้าคณะทำงาน ได้คำตอบรับมาดังนี้ครับ

ขอบคุณครับ จะส่งให้ทีมงานใด้เห็น ไม่ทราบว่าภาพนี้อยู่ทีไหนครับ....จะได้ศึกษาต่อในรายละเอียดเช่น ในคำอธิบายภาพ หากมี.
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 18 ธ.ค. 17, 12:00

สำหรับตัวผม นี่ เป็นสมุดพับภาพวาด ที่นั่งดูได้ไม่เบื่อจริงๆ ครับ

และถ้าเลื่อนภาพมาทางขวาสุด ก็จะเห็นภาพบาตรมรกตในขณะที่พระพุทธองค่ ทรงกำลังฉันภัตตาหารในบาตร อีกด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 18 ธ.ค. 17, 13:00


parabiak ตามรอยจากนี่เลยครับ

https://en.wikipedia.org/wiki/Parabaik

Oxford Digital Library

[Parabeik illustrating scenes from the life of the Buddha]

Digitized Burmese picture book (parabeik). Panoramic scenes in watercolour on paper folded in concertina fashion of the life of the Buddha

Date (created) 18th century

Subject  |a Gautama Buddha |v Art (LCSH) Burma -- Social life and customs -- Pictorial works (LCSH)
Language codes bur
Other Identifier MS. Burm. a. 12 (shelfmark)

British Library
http://www.bl.uk/manuscripts/Viewer.aspx?ref=or_5757_f009r



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 18 ธ.ค. 17, 13:53


แถมภาพ เจ้าจุก-เจ้าแกละ เต้น B-boying ในเมืองพม่า

http://www.bl.uk/manuscripts/Viewer.aspx?ref=or_14405_fs001r


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 18 ธ.ค. 17, 14:14

ชัดเจน ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 19 ธ.ค. 17, 10:42

บาตรสีเขียวบอกอะไรเราได้บ้าง
บอกว่าสร้างเพื่อพระเถระเจ้า
บาตรประดับกระจกเขียวเกี่ยวเรื่องราว
ช่วยบอกกล่าวใครเจ้าของน่าตรองดู




บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 20 ธ.ค. 17, 03:50

เป็นนักเรียนที่เข้าเรียนไม่สม่ำเสมอก็ต้องอ่านรวดเดียวยันรุ่งเช้าเลย
กระทู้นี้ไม่เพียงแค่ให้ความรู้แต่เป็นเหมือนเวทีวิชาการให้ผู้รู้หลากหลายสาขามาช่วยกันคิดช่วยกันเสนอทางออกกัน นี่คือความน่าประทับใจของเรือนไทยครับ
ส่วนผมไม่มีความรู้อันใดจะร่วมวงเสวนาได้ ก็ได้แต่ชื่นชมทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 20 ธ.ค. 17, 11:53

ขอบคุณทั้งสองท่านมากครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 08:48

เรียน มล.ชัยนิมิตร

วันนี้ผมมีโอกาสได้อ่านความคิดเห็นที่ 383 ถึง 388 ของเรือนไทย มีการกล่าวถึงภาชนะเหมือนบาตรประดับกระจกแล้ว จึงใด้กลับไปค้นรายงานที่ผูู้เชี่ยวชาญชาวพม่าทั้ง 5-6 ท่านใด้สรุปแจ้งกับรัฐบาลมัณฑะเลย์ถึงสาเหตุที่พวกเขากล้ายืนยันว่าสถานที่บริเวณแห่งนี้ ณ Linzin Hill    มีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร ด้วยเหตุสำคัญ 7 ประการ  และเรื่องบาตรดังกล่าวนั้น มีนัยยะที่สำคัญมากอันเป็น hard evidence ประการหนึ่ง”ได้ ตามระบุใว้ในข้อ 5 และข้อ 6 ขอส่งมาเพื่อแบ่งปันกันให้ทราบว่า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญชาวพม่าเขามีความเห็นเช่นไรเกี่ยวกับภาชนะทรงบาตรนี้

(อนึ่ง ภาชนะใดๆก็ตามที่ใช้ในการบรรจุอัฐินั้น นักวิชาการพม่า เรียกตรง ๆ ตามภาษาบาลีออกเสียงว่า โกศ ครับ ผมเองไม่แม่นเรืองบาลี อาจมาจากคำว่า"กลศะ" เพื่อนๆผู้รู้อาจช่วยกันแบ่งปันความคิดเห็นได้นะครับ )

และความเห็นดังกล่าว ซึ่งมีทั้หมด 7 ประการนี้  เป็นเหตุส่งผลให้มุขมนตรีรัฐบาลมัณฑะเลย์ ณ ขณะนั้น  ออกหนังสืออนุญาตให้สมาคมมิตรภาพพม่า-ไทย ดำเนินการอนุรักษ์และซ่อมแซมพื้นที่แห่งนี้ใว้เป็นอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้า อุทุมพรใด้ภายในเนื้อที่ 2.5 ไร่ เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งสมาคมก็ดำเนินการไปจนเกือบเสร็จแล้ว แต่ฝ่ายไทยไม่เชื่อแถมโจมตี   รัฐบาลมัณฑะเลย์ จึงขอให้ระงับเป็นการชั่วคราวใว้ก่อนตามความทราบกันแล้ว ตั้งแต่ความเห็นที่ 151 ใน เรือนไทย.

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 08:49

ส่วนข้อความในข้อ 5 และ 6 ที่อ้างถึง มีดังนี้

6.  สำหรับการเรียกภาชนะนี้ว่า “พระโกศ” นักวิชาการไทยบางท่านอาจจะไม่เห็นด้วยว่า ภาชนะชิ้นนี้เป็นพระโกศ เพราะไม่เหมือนกับพระโกศไทย ในที่นี้ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะไม่เหมือนกับพระโกศทรงไทยเสียทีเดียว แต่ก็อธิบายได้คือ ภาษาอังกฤษเรียกภาชนะนี้ว่า Urn หรือ Relic Casket หมายความว่า ภาชนะที่ใช้เก็บอัฐิ ยกตัวอย่าง ในเมื่อครั้งประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่19 นักธุรกิจชาวอังกฤษท่านหนึ่งชื่อว่า Mr. W. C. Peppe ได้พบภาชนะชิ้นหนึ่งลักษณะเป็นหม้อ มีฐานสูงประมาณ ๖ นิ้ว ทำด้วยหินสบู่ (Soap stone) มีจารึกอักษรพราหมณ์ เขียนเป็นภาษาบาลี ที่หมู่บ้านปิปรวะ (Piprawa) ที่แคว้นพิหาร ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญ ณ เวลานั้น เช่น  Rhys David,  A Smith เป็นต้น อ่านแล้วก็เชื่อกันว่าเป็นภาชนะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระพุทธเจ้า ภาชนะชิ้นนี้ภาษาบาลีเรียกว่าพระโกศ (พระบรมสารีริกธาตุที่พบในพระโกศดังกล่าว บางส่วนประดิษฐานอยู่ที่พระเจดีย์ภูเขาทอง ณ เวลานี้) ดังนั้น ภาชนะบรรจุอัฐิที่สันนิษฐานว่าเป็นของพระเจ้าอุทุมพรก็เรียกได้ว่าเป็นพระโกศเหมือนกัน นอกจากพระโกศดังกล่าวแล้ว ภาชนะดินเผาที่ประดับตกแต่งด้วยกระจกสีและปิดทองลักษณะนี้ ยังมีที่พบจากการขุดแต่งบริเวณด้านนอกกำแพงแก้วของเจดีย์ประธาน ต่างกันที่ว่าไมได้เป็นทรงบาตรและไม่ได้ตั้งอยู่บนพานแว่นฟ้า หรือมีภารชนะรองรับใดๆ แต่วางไว้กับพื้นโดยตรง ต่างกันกับพระโกศบรรจุอัฐิ ที่สันนิษฐานว่าเป็นของพระเจ้าอุทุมพรที่ตั้งอยู่บนพานแว่นฟ้า หากตามจารีตประเพณีขัตติยะวงศ์ในประเทศพม่า ผู้มีสิทธิใช้พานแว่นฟ้า จะต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงหรือได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินแต่เพียงเท่านั้น นอกจากกรณีนี้แล้ว ผู้ใดนำไปใช้ถือว่าผิดจารีตและกฎหมาย ดังนั้น พระโกศที่ตั้งอยู่บนพานแว่นฟ้าจึงหมายความว่าอัฐิที่บรรจุในพระโกศนั้น ต้องเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือผู้ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่หากไม่มีพานแว่นฟ้ารองรับก็หมายความว่า โกศนี้บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่หรือเจ้านายชั้นธรรมดา

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 08:52

7.  โบราณวัตถุที่พบในพระโกศที่ตั้งอยู่บนพานแว่นฟ้า นอกจากอัฐิที่ผ่านการเผาไฟแล้ว ยังพบกระดุมสายรัดประคด (เข็มขัดของพระ) ทั้งหมดห่ออยู่ในผ้าจีวร จึงสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นอัฐิของพระสงฆ์ที่มีสมณะศักดิ์สูงที่ได้รับพระราชทานเครื่องประกอบสมณะศักดิ์เป็นพานแว่นฟ้าจากพระมหากษัตริย์ หรืออาจจะเป็นเจ้านายชั้นสูงที่อยู่ในสมณะเพศ อนึ่ง จากการศึกษาหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์พบว่า แม้จะมีการเชิญพระมหากษัตริย์ต่างชาติที่แพ้สงครามมาประทับที่พม่ามาโดยตลอด เช่น พระเจ้าอโนรถาเชิญเสด็จพระเจ้ามนูหะมาจากเมืองสะเทิม พระเจ้าบุเรงนองเชิญพระเมกุติกษัตริย์เชียงใหม่มาประทับที่หงสาวดีจนสิ้นพระชนม์ด้วยโรคบิดและเข้าสู่สภาพ “นัต” และได้เป็นนัตตนที่ 37 ในทำเนียบนัตหลวงของพม่า หรือตัวอย่างที่ร่วมสมัยกันก็คือพระเจ้ายะไข่ ที่พระเจ้าปดุงเขิญมาประทับที่อมรปุระและเสด็จสวรรคตที่นั่น แต่กษัตริย์ต่างชาติที่สวรรคตในสมณะเพศในพม่านั้นมีการกล่าวถึงเพียงองค์เดียว คือ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา

มีข้อมูลอีกชุดหนึ่งซึ่งได้จากการวิเคราะห์อัฐิที่พบในโกศทางกายวิภาควิทยาของชิ้นส่วนที่เป็นกะโหลกศีรษะ (Cranial) และกระดูกกรามล่าง (Mandible) ดร. ทิน หม่อง จี นายแพทย์ชาวพม่าได้วิเคราะห์ว่าเป็นกระดูกของผู้ที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป ซึ่งตามการคำนวณพระชันษาของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พระองค์ท่านมรณภาพเมื่อพระชนม์มายุได้เจ็ดสิบพรรษา ดังนั้น จึงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า อัฐิที่ได้พบนั้นน่าจะเป็นพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 08:52

อย่างไรก็ดี จากหลักฐานที่พบจากการปฏิบัติงานและการตีความของคณะทำงานโครงการฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีชาวพม่า ทำให้คณะทำงานโครงการอนุสรณ์สถานมหาเถระพระเจ้าอุทุมพรเห็นความสำคัญในการเก็บรักษาพื้นที่นี้ไว้ให้เป็นโบราณสถานและอุทยานประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่เมืองอมร  ปุระต่อไป ซึ่งเป็นการรักษาสมบัติของชาติพม่า และรักษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชาวไทยในพม่าให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่นักศึกษาด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา สามารถเข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลต่อยอดไปได้ แทนที่จะถูกรื้อทำลายตามโครงการพัฒนาเมืองของเทศบาลมัณฑะเลย์ (ซึ่งคงจะดำเนินไปในช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ แล้ว) หากคณะทำงานโครงการฯ ไม่ได้พบหลักฐานสำคัญดังกล่าว อันจะทำให้ประวัติศาสตร์สำคัญของชาติไทยหน้านี้ถูกลืมและหายไปอย่างไม่มีวันกลับคืน

วิจิตร ชินาลัย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 09:09

ดูจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Burmese_alphabet เข้าใจว่าเสียง i ของพม่าออกเสียงคล้าย เอย์ นะครับ linzin จึงออกเสียงคล้าย เลย์งเซย์ง ซึ่งเป็นการออกเสียงคำว่าล้านช้างอย่างที่หูคนพม่าได้ยิน ซึ่งคำนี้เป็นคำโบราณที่พม่าใช้เรียกศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรลาวที่เวียงจันทน์ ไม่แปลกที่ชาวบ้านพม่ารุ่นใหม่จะไม่รู้จักครับ

บทความของอูหม่องหม่องทินเขียนราวปี 1984 (ต้องขออภัยถ้าจำผิดสัก 2-3 ปี เพราะผมจำตัวเลขแน่นอนไม่ได้ อ่านเมื่อหลายวันก่อน แต่เพิ่งมีเวลามาเขียนครับ) ซึ่งเป็นเวลาก่อนเรื่องวุ่นวายทั้งหมดจะเกิดขึ้น โดยส่วนตัวผมเข้าใจว่าเป็นฝ่ายนักวิชาการพม่าที่บอกว่าเลงเซงคือล้านช้างแน่

เรื่องนี้ไม่ได้ลดทอนความน่าเชื่อถือว่าเลงเซงโกงเป็นสถานที่ปลงพระศพพระเจ้าอุทุมพรแต่อย่างใดเพราะช่วงเวลาที่พระเจ้ามังระกวาดต้อนไพร่พลจากล้านช้างมาที่นี่ในปี 1763 หรือ 1765 นั้น เป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์โกนบ่องมายึดเชียงใหม่ เวียงจันทน์ เตรียมเปิดศึกกับอยุธยาในอีกไม่กี่ปีต่อมาครับ

แต่เรื่องที่ผมว่าน่าคิดคือ สถานะของมหาเถระพระเจ้าอุทุมพรนั้นมีความสำคัญในพม่าแค่ไหน?
อย่างแรกสุดคือ อยากรู้ว่าหน้าอื่นๆในสมุดข่อยนี้กล่าวถึงเจ้านายขาติอื่นๆอย่างไร การถวายพระเกียรติพระเจ้าอุทุมพรมีความพิเศษกว่าเจ้านายอื่นๆหรือไม่
เรื่องถัดมาคือ พม่าในยุคนั้นวุ่นวายกับเรื่องการชำระความขัดแย้งในพระพุทธศาสนาอยู่มาก ประทุกันหลายระลอกในช่องเวลา 100-200 ปี โดยปัญหา(ที่ยกมาวางไว้บนโต๊ะ ที่อยู่ใต้โต๊ะนั้นน่าจะใหญ่กว่านี้มาก) คือเรื่องห่มจีวรเปิดไหล่หรือห่มคลุม ซึ่งสมัยพระเจ้าปดุงก็มีการจัดระเบียบล้างบางองค์กรสงฆ์ในพม่าครั้งใหญ่ (อ่านได้ในมหาวงศ์) ซึ่งการจัดระเบียบนี้นำโดย พระสังฆราช (เขาเรียกมหาสังฆราชา) กับพระราชาคณะอีก 4 รูป (เรียกว่า สังฆราชา) ซึ่งดูจากชื่อแล้วน่าจะเป็นผู้นำสงฆ์ในหมู่ชนชาติต่างๆในพม่า แต่ไม่มีพระเถระโยเดียอยู่ในพระราชาคณะทั้ง 4 นี้ ถึงช่วงปลายรัชกาลจะเพิ่มสังฆราชาเป็น 8 รูปก็ยังไม่มีอยู่ดี และเวลานั้นพระเถระพระเจ้าอุทุมพรก็ละสังขารไปแล้วหลายปีครับ


มีข้อมูลอย่างอื่นมาฝากคุณม้าด้วยครับ สักครู่
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 09:31

พระเจ้าอุทุมพรถวายเครื่องสักการะพระมหามัยมุนี

ในเวลาที่พระเจ้าอุทุมพรเมื่อทรงผนวชประทับอยู่ที่กรุงอมรปุระนั้น พระองค์ได้ทรงถวายสิ่งของเป็นพระราชอุทิศแด่พระมหามัยมุนี ที่วัดยะไข่ (อาระกัน) ในเมืองอมรปุระด้วย ดังปรากฏหลักฐานในบัญชีรายการสิ่งของพระราชอุทิศ ซึ่งพระเจ้าอุทุมพรได้ถวายแด่พระมหามัยมุนี เอกสารฉบับนี้ต้นฉบับเป็นสมุดดำเขียนด้วยเส้นดินสอขาว พบที่วัดบายาร์จี หมู่บ้านทากุดทะเนล เขตบูดาลิน ตอนเหนือของเมืองมนยวา วัดนี้ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นโดยพระสังฆราชของพม่านามว่า หม่องทาง ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๐-๒๓๙๒ แต่เอกสารที่พบนี้น่าจะมีความเก่าแก่กว่านั้น
 
ในภาพคือวัดบายาร์จี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 22 ธ.ค. 17, 09:34

เนื้อความในสมุดข่อยเป็นภาษาพม่า มีใจความว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา(ซึ่งทรงผนวช)ได้ถวายสิ่งของต่างๆ แด่พระมหามัยมุนี เช่น เครื่องสูง สัปทน ฯลฯ อันเป็นหลักฐานที่สำคัญว่า หลังจากที่พระเจ้าอุทุมพรเมื่อทรงผนวช แม้พระองค์จะไปประทับที่เมืองอมรปุระแล้ว ยังได้ถวายสิ่งของเพื่อเป็นพระราชอุทศแด่พระราชมหามัยมุนีอีกด้วย



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง