เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70791 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 345  เมื่อ 20 พ.ย. 17, 19:29

น่าเศร้ากับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยพวกมือไม่พายเอาเท้าราน้ำครับ ผมขอสนับสนุนและเอาใจช่วยทีมงานค้นคว้าครับ
บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 346  เมื่อ 21 พ.ย. 17, 08:48

ขอบคุณที่อยู่ในฝ่ายเชื่อนะครับ

ผมดีใจที่ได้ทราบว่า บทความหนักๆของผมเรื่องนี้มีผู้สนใจติดตามอ่าน จนเข้าใจเจตนาและความพยายามของบุคคลผู้มีอุดมการณ์กลุ่มนี้ครับ
บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 347  เมื่อ 25 พ.ย. 17, 16:04

เมื่อคืนนี้(ศุกร์24 พ.ย.60) ตอนดึกราวๆเที่ยงคืน มีรายการสารคดีทางช่อง NOWเกี่ยวกับเรื่องการขุดพบบาตรมรกตนี้ ตื่นมาทันได้ดูแค่ตอนจบ ..ที่บอกว่าปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ระงับการขุดค้นแล้ว เสียดายที่ไม่ได้ดูเนื้อหาทั้งหมด
 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 348  เมื่อ 25 พ.ย. 17, 16:59

ใช่ครับ ณ วันนี้อยู่ที่สถานะนั้น

ภาพข้างล่างคือสภาพล่าสุดที่คนไทยไปถ่ายมาลงเน็ท


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 349  เมื่อ 25 พ.ย. 17, 17:01

ยังดีที่สิ่งที่ทำไว้ไม่ได้ถูกใครทำลาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 350  เมื่อ 25 พ.ย. 17, 17:03

สถูปองค์ที่ขุดได้บาตรบรรจุพระอัฐิ คงอยู่ในสภาพที่รอจะนำสิ่งที่นำขึ้นมา กลับคืนสู่ที่เดิม

ภาพมุมล่างขวา คือฐานของสถูปเล็กๆอีกมากที่ยังไม่มีเวลาพอจะขุดค้นหลักฐานประกอบ


บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 351  เมื่อ 25 พ.ย. 17, 20:33

ผมหวังว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในเร็ววันนะครับ เสียดายที่ทางฝ่ายคณะของอาจารย์ ลงทุนลงแรงไปมากแล้ว งบก็ยังเหลือ ฝ่ายที่จะได้ประโยชน์ด้านท่องเที่ยวก็คือเจ้าของพื้นที่ ทั้งๆที่ เขาก็ไมต้องลงทุนอะไรมากมาย ...
คงจะคิดได้สักวันครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 352  เมื่อ 26 พ.ย. 17, 07:55

ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว(ของพม่า) นี่เป็นมุมมองของคนไทยที่มักจะประเมินไปทางนั้นอยู่เสมอ และก็เป็นเหตุผลข้อแรกๆของคนกรมศิลปากรที่ว่า คนพม่า (พุ่งเป้าไปที่นพ.ทินหม่องจี ผู้เขียนเรื่องสถูปพระเจ้าอุทุมพรเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนและทำให้คนไทยรู้เรื่องนี้นั้น) มั่วหลักฐานขึ้นมาเพราะต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว

ที่น่าแปลกก็คือเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนานจนสองสามปีนี้ คนกรมศิลป์ก็ยังอ้างเหตุผลข้อนี้ในการไม่รับรองวัตถุหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ ณ ตำแหน่งนั้นอีก

ผมอยากจะให้ท่านมองอีกมุมหนึ่งบ้างว่า การที่องค์การบริหารเมืองมัณฑเลย์ต้องเสียประโยชน์อันพึงจะได้จากการล้างป่าช้าลินซินกอง เพื่อให้นายทุนประมูลสร้างศูนย์รับนักท่องเที่ยวที่มาชมทัศนียภาพสะพานอูเบง แม่เหล็กของเมืองที่ดึงดูดทั้งคนพม่าและคนต่างชาติ มาชมสะพานไม้สักรื้อออกมาจากพระราชวังเมืองอมรปุระ ซึ่งยาวที่สุดในโลก วันนึงๆนับพันๆคนอยู่แล้ว กับการที่ต้องกันพื้นที่ออกไปให้เป็นเขตโบราณสถาน เพื่อสร้างอนุสรณ์สถานให้กับอดีตกษัตริย์อยุธยา แล้วยกเลิกการประมูลสร้างโครงการดังกล่าวไป อย่างไหนจะหวังเม็ดเงินเข้ากระเป๋าได้มากน้อยกว่ากัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 353  เมื่อ 26 พ.ย. 17, 07:58

สะพานอูเบงอยู่ห่างจากลินซินกองนิดเดียว เดินสักสิบนาทีก็ถึง

๑ คือปลายสะพานด้านอมระปุระ
๒ เจดีย์น้อย จุดสังเกตุ
๓ ตำแหน่งอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร

(ขอบคุณเจ้าของภาพครับ ขอมาทำประโยชน์เพื่อสาธารณะหน่อย)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 354  เมื่อ 26 พ.ย. 17, 08:00

ตามภาพถ่ายดาวเทียมของกูเกิลเอิร์ธ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 355  เมื่อ 26 พ.ย. 17, 08:09

ขอบอกว่าสะพานอูเบงเป็นหลักของวงจรการท่องเที่ยวที่เริ่มต้นจากที่พักแรมในตัวเมืองมัณฑเลย์ มาเที่ยวสะกาย อมรปุระ และอังวะ ก่อนกลับไปนอนพักผ่อนร่างกายที่มัณฑเลย์อย่างเดิม ตลอดเส้นทางนี้มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจเยอะมากทั้งด้านโบราณสถานและทัศนียภาพที่สวยงาม
ผมเกรงว่าอนุสรณ์สถานพระพระเถระเจ้าอุทุมพรคงจะมีคนไทยเท่านั้นที่สนใจจะไปเยี่ยมชม และจะต้องตัดรายการท่องเที่ยวสถานที่อื่นตามโปรแกรมมาตรฐานของทัวร์ด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 356  เมื่อ 26 พ.ย. 17, 08:10

สุดท้ายสำหรับวันนี้ ผมขอเชิญท่านเข้าไปชมกระทู้พันทิปของป้าฟู ซึ่งลงไว้หลายปีแล้ว อยากให้อ่านเรื่องราว และชมภาพที่ตรงตามประเด็นกระทู้นี้ของผมด้วยครับ

https://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E11787906/E11787906.html
บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 357  เมื่อ 26 พ.ย. 17, 19:43

ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว(ของพม่า) นี่เป็นมุมมองของคนไทยที่มักจะประเมินไปทางนั้นอยู่เสมอ และก็เป็นเหตุผลข้อแรกๆของคนกรมศิลปากรที่ว่า คนพม่า (พุ่งเป้าไปที่นพ.ทินหม่องจี ผู้เขียนเรื่องสถูปพระเจ้าอุทุมพรเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนและทำให้คนไทยรู้เรื่องนี้นั้น) มั่วหลักฐานขึ้นมาเพราะต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว

ที่น่าแปลกก็คือเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนานจนสองสามปีนี้ คนกรมศิลป์ก็ยังอ้างเหตุผลข้อนี้ในการไม่รับรองวัตถุหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ ณ ตำแหน่งนั้นอีก

ผมอยากจะให้ท่านมองอีกมุมหนึ่งบ้างว่า การที่องค์การบริหารเมืองมัณฑเลย์ต้องเสียประโยชน์อันพึงจะได้จากการล้างป่าช้าลินซินกอง เพื่อให้นายทุนประมูลสร้างศูนย์รับนักท่องเที่ยวที่มาชมทัศนียภาพสะพานอูเบง แม่เหล็กของเมืองที่ดึงดูดทั้งคนพม่าและคนต่างชาติ มาชมสะพานไม้สักรื้อออกมาจากพระราชวังเมืองอมรปุระ ซึ่งยาวที่สุดในโลก วันนึงๆนับพันๆคนอยู่แล้ว กับการที่ต้องกันพื้นที่ออกไปให้เป็นเขตโบราณสถาน เพื่อสร้างอนุสรณ์สถานให้กับอดีตกษัตริย์อยุธยา แล้วยกเลิกการประมูลสร้างโครงการดังกล่าวไป อย่างไหนจะหวังเม็ดเงินเข้ากระเป๋าได้มากน้อยกว่ากัน


 ตราบใดที่ท่านไม่เปิดใจกว้างยอมรับความเห็นต่าง ความเห็นใดๆก็ไร้ค่า
 โดยวุฒิภาวะ และความนับถือ ผมขอยอมแพ้ดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 358  เมื่อ 27 พ.ย. 17, 08:26

ผมหวังว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในเร็ววันนะครับ เสียดายที่ทางฝ่ายคณะของอาจารย์ ลงทุนลงแรงไปมากแล้ว งบก็ยังเหลือ ฝ่ายที่จะได้ประโยชน์ด้านท่องเที่ยวก็คือเจ้าของพื้นที่ ทั้งๆที่ เขาก็ไมต้องลงทุนอะไรมากมาย ...
คงจะคิดได้สักวันครับ

คุณศรีนาคาครับ ผมเสียดายที่เรือนไทยไม่มีเครื่องหมายกิ๊ฟหรือไลค์ให้ความเห็นที่ถูกใจ มิฉะนั้นผมจะได้มอบให้กับความเห็นนี้ข้างบนของคุณไปแล้ว แม้ว่าผมจะมีความเห็นต่างอยู่บ้างก็ตาม

แต่อย่างนี้ครับ

ความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติในการแสดงความเห็นในเวทีสื่อเสรีที่พบเห็นได้ทางอินเทอเน็ต ซึ่งส่วนใหญ่คนมักใช้วิธีตะแบงความคิดของตนเอง จนถึงด่าทอผู้ที่คิดเห็นไม่ตรงกับตนเอง กระทั่งเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ใช่ที่นี่  ในเรือนไทยนั้นถึงแม้จะมีความเห็นต่างในหลายต่อหลายกระทู้ แต่ทุกคนก็พยายามยกเหตุผลขึ้นมาหักล้างกัน ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับได้สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง แต่ถึงแม้จะไม่มีใครยอมรับใคร ก็ไม่เป็นไร คงค้างไว้ให้คิดกันก่อน ไม่ใช้ไม่รับฟังนะครับ นั่นน่ะรับฟังแล้ว ทว่าบางเรื่องมันก็ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนความคิดเหมือนกัน

ความเห็นต่างบางเรื่องมันสามารถหาข้อยุติได้โดยการใช้เหตุผลมาวินิฉัย เช่นข้อพิสูจน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ อันมีภาพถ่าย และเอกสารอ้างอิง แต่ก็อย่างว่าแหละ บางครั้งถึงคู่กรณีย์จะยังไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ก็ไม่เป็นไร ถือว่าผู้อ่านได้อาหารสมองไปแล้วเต็มๆ จะเชื่อใครไม่เชื่อใครก็ไปตรองเอาเอง
แต่สำหรับผมแล้ว ถ้าเห็นข้อมูลใหม่ของคนอื่นที่ผมไม่เคยทราบมาก่อน สามารถหักล้างความคิดเดิมๆของผมได้ ผมก็จะยอมรับแต่โดยดี ไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่จะต้องหน้าแตก คนเราไม่ใช่ว่าจะต้องรู้ไปหมดถูกไปหมดซะทุกเรื่องที่ไหน แต่หากเป็นเรื่องที่ผมทราบดีอยู่จากความรู้และประสบการณ์ ผมก็ยืนหยัดถกเถียงไม่ยอมแพ้เช่นกัน ถ้าคุณติดตามอ่านข้อเขียนของผม คุณจะได้ทราบนิสัยของผมตรงนี้

ส่วนความเห็นต่างที่ใช้อารมณ์เป็นเครื่องตัดสินประเภทสีเขียวสวยกว่าสีแดง ผมจะหลีกเลี่ยงไม่เข้าร่วมวงด้วย อันนี้รวมถึงสามประการที่ทุกคนจะมีความเห็นของใครของมัน อันเป็นคำสอนของอาจารย์ท่านหนึ่งของผมที่ยังติดสมองอยู่ ท่านกล่าวว่า การเมืองหนึ่ง ศาสนาหนึ่ง และความสวยของอิสตรีหนึ่ง ไม่ควรนำถกเถียงกันหากแสวงมิตร

แต่อย่างไรก็ดี อันคำว่าประโยชน์ของการท่องเที่ยว ที่คุณเห็นว่าเป็นความเห็นต่าง แต่ผมเห็นว่าเป็นวลีที่ผมจำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจอันดีของผู้ที่เข้ามาอ่าน ว่าทางการพม่าเขาไม่ได้มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องส่งเสริมการท่องเที่ยว คุณจะเห็นได้ว่าผมพยายามทำการบ้านมาอย่างดีที่สุดที่จะทำให้ผู้อ่านของผมเข้าใจประเด็นที่ผมพยายามจะสื่อ ทั้งข้อมูลและรูปภาพ ไม่ได้ใช้สำนวนโวหารแบบโต้วาทีแม้น้อย

อีกประการหนึ่ง ผมอยากให้เข้าใจว่าที่ผมเปิดกระทู้นี้ขึ้น ก็เพื่อหาโอกาสตอบคำถามแทนเพื่อนพ้องสถาปนิกนักอนุรักษ์ที่ผมรู้จักมาสี่สิบกว่าปีแล้ว จากหลายคำถามในกระทู้ “สถูปและอัฐิสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จริงหรือ ?” ก่อนหน้าในเวทีเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้นอะไรที่เป็นประเด็นให้ผมชี้แจงได้ ผมจะหยิบยกขึ้นมาหมด

แม้ตัวผมเองจะมีความเข้มข้นในวิถีนี้น้อยกว่าหลายคนในกลุ่มนี้มาก แต่ก็ประจักษ์แจ้งว่า การที่พวกเขาอุทิศตนเป็นจิตอาสาทำงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมในนามของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ไม่ได้เป็นเพราะอะไรในความหมายของคำว่าผลประโยชน์เลยแม้น้อย ไม่ว่าจะเพื่อตนเองหรือเพื่อใคร ไม่เคยขอเงินสนับสนุนNGOของรัฐบาลหรือองค์กรต่างประเทศ ผลงานที่ผ่านมาในอดีตที่พวกเขาพยายามไปอนุรักษ์สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าที่กรมศิลปากรไม่สนใจ(คือเขามีงานที่ต้องทำตามหน้าที่มากอยู่แล้ว อะไรที่อยู่นอกขอบเขตและงบประมาณเขาจะไม่สนใจ) ด้วยไปกระตุ้นเตือนให้หน่วยงานราชการและเอกชนผู้เป็นเจ้าของอาคารที่เก่าแก่จวนเจียนจะพังเหล่านั้นให้หันมาใช้วิธีการอนุรักษ์ แทนที่จะทุบทิ้งเอาที่ดินสร้างอาคารใหม่ และสนับสนุนกำลังใจด้วยการเสนอผลงานที่ทำได้ดี ให้ได้รับรางวัลพระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ผลงานของพวกเขาเหล่านี้มีนับร้อยชิ้น ไม่ใช่เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวนะครับ แต่เป็นเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติไว้ให้กับคนรุ่นหลัง

อนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรก็เช่นกัน คราวนี้พวกเขาก้าวไกลเข้าไปในดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อจะอนุรักษ์หลักฐานทางโบราณดคีชิ้นหนึ่ง ที่ชัดเจนว่า อดีตกษัตริย์อยุธยาผู้ไปพม่าอย่างเชลยศึก แต่ ๒๙ ปีในเพศบรรพชิตหลังจากนั้น ทรงมีชีวิตอยู่เป็นขวัญกำลังใจของคนไทยพลัดถิ่น และได้รับความเคารพสักการะจากคนพม่าตั้งแต่กษัตริย์ลงมาถึงสามัญชน ตราบจนได้เสด็จสู่พระนิพพานตามความเชื่อของอดีตศัตรูที่ปัจจุบันคือมิตร  
อนุสรณ์สถาน ณ เนินลินซิน สถานที่ตามระบุในหลักฐานว่ากษัตริย์พม่าได้พระราชทานเพลิงพระบรมศพที่นั่น จะทำให้คนไทยได้ระลึกถึงพระองค์ไปตราบนิจนิรันดร์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 359  เมื่อ 27 พ.ย. 17, 16:42

ข่าวตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ แต่ผมเพิ่งเห็น

กรมศิลปากร ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณในพื้นที่เอกชนลพบุรี คาดสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สันนิษฐานเป็น"พระปีย์" และ "เจ้าพระยาวิชาเยนทร์" ที่ถูกสังหาร ในครั้งที่พระเพทราช ก่อกบฏ เมื่อปลายรัชสมัยช่วงปี พ.ศ.2231...

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 8 ต.ค. 57 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายแมน แสงอิ่ม อายุ 52 ปี ชาวบ้านที่อยู่บริเวณซอยพญาอนุชิต ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ว่า เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้มาทำการขุดสำรวจพื้นที่บริเวณพื้นที่เอกชน ตรงข้ามวัดสันเปาโล ซึ่งเป็นโบราณสถานสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่สร้างโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส จึงเดินทางไปตรวจสอบ

จากการตรวจสอบ พบฐานอิฐและโครงกระดูกมนุษย์ โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นของเอกชนที่ขายต่อกันมา มีเนื้อที่ประมาณ 2 งาน เจ้าหน้าที่กรมศิลปกรที่ 4 โดยนายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่ 4 ทำการขุดสำรวจ เมื่อประมาณกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และทำการขุดพบซากฐานอิฐ โดยสันนิษฐานว่า เป็นฐานโบสถ์คริสเตียน นอกจากนี้แล้ว เมื่อขุดลงไปประมาณ 1.50 เมตร ก็พบโครงกระดูกมนุษย์ ที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ และจากโครงกระดูกที่พบมีร่องรอยกระดูกหน้าแข้งหัก และโครงกระดูกจะเป็นมนุษย์ ที่มีความสูงไม่เกิน 140 เซนติเมตร รอบๆ จะมีหม้อดิน ถ้วยชาม และที่นิ้วมือมีแหวนที่ทำจากหิน และอีก 1 โครงกระดูกอยู่ห่างกันประมาณ 5 เมตร ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน แต่โครงกระดูกนี้จะเป็นมนุษย์สูงใหญ่ อายุของโครงกระดูกทั้ง 2 น่าจะมีอายุราว 300 กว่าปี

นายจารึก กล่าวว่า จากการตรวจสอบตามพงศาวดาร มีความเป็นไปได้ว่า โครงกระดูกที่พบ โครงแรกที่เป็นมนุษย์มีความสูงไม่เกิน 140 เซนติเมตร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระปีย์ ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ถูกผลักตกจากที่สูง และถูกประหารโดยการตัดศีรษะ โดยสมเด็จพระนารายณ์ทรงเรียกว่า "ไอ้เตี้ย" และอีกโครงกระดูก น่าจะเป็น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ที่ถูกตีด้วยท่อนจันทร์ บริเวณประตูวังนารายณ์ และประหารด้วยการตัดศีรษะ ซึ่งในสมัยนั้นประมาณปี 2231 ที่พระเพทราชก่อกบฏ ทำให้มีการประหารชีวิต ข้าราชการชั้นสูง รวมทั้งมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ และที่โบสถ์แห่งนี้ก็เป็นของผรั่งเศส ผู้ที่ถูกประหารทั้ง 2 คน เป็นเจ้านายระดับสูง จึงมีการนำศพมาฝังไว้ในโบสถ์ดังกล่าว รวมทั้งพระปีย์ก็ได้เข้ารีตเป็นคริสเตียนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การขุดค้นพบโครงกระดูกในครั้งนี้ก็นับว่า มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่พระราชทานพื้นที่ตรงที่พบโครงกระดูกให้ทำการก่อสร้างวัดในคริสต์ศาสนาของฝรั่งเศส และหอดูดาวอีกด้วย.

อ่านข่าวต่อได้ที่

: https://www.thairath.co.th/content/455419

ไม่ทราบว่ากรมศิลปากรได้รับรองโครงกระดูกที่ไม่มีนามบัตรนี้ว่าเป็นของผู้ใดตามคำสันนิษฐานหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง