เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70433 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 07:04

ขอย้อนกลับไปที่สุสานลินซินกอง เมืองอมรปุระ ก่อนที่นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมจะแถลงต่อสื่อมวลชนข้างต้น วิจิตร ชินาลัยและคณะได้เดินทางไปถึงที่นั่นแล้วตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ เมื่อแผนงานได้รับอนุมัติต่อทางราชการเมืองมัณฑเลย์

การไปในครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๕- ๘ สิงหาคม คือการไปกำหนดพื้นที่เพื่อว่าจ้างให้ผู้รับเหมาท้องถิ่นถางพืชคลุมดินทุกชนิด และกำจัดกองขยะออก เพื่อเปิดให้เห็นสภาพพื้นดินจริงที่โบราณสถาน ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถูปของพระเจ้าอุทุมพรตั้งอยู่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 07:05

การไปครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่  ๒๖ สิงหาคม – ๓ กันยายน ๒๕๕๕  ของวิจิตรและคณะ ถือเป็นการตรวจรับงานผู้รับเหมา และกำหนดแผนงานละเอียดในขั้นต่อไป

การปรากฏของซากโบราณสถานแก่สายตาของชาวพม่าทั้งในกลุ่มNGOและข้าราชการดังที่เห็นในภาพ สร้างความเข้าใจได้ทันทีว่าโบราณสถานนี้ไม่ใช่ธรรมดาที่ควรจะไถทิ้งได้ง่ายๆอีกต่อไป ถือว่าได้สร้างความโล่งใจให้กับคณะคนไทยได้ระดับหนึ่ง ไม่วิกฤตเช่นเมื่อได้รับข่าวร้ายใหม่ๆ

คณะของรองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายดำรง ใคร่ครวญ ซึ่งได้เดินทางไปพม่าในระหว่างวันที่ ๒๔ถึง ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕ จึงได้เห็นสภาพของโบราณสถานประมาณนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 08:20

คณะของรองดำรง นอกจากจะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงต่างประเทศ ยังมีนักวิชาการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และนักวิชาการอิสระร่วมไปด้วย โดยบินตรงไปที่เนปิดอว์ก่อนเพื่อเข้าพบ อู ตานส่วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเมียนมาร์ โดยได้แจ้งวัตถุประสงค์ในการเข้าพบว่า รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการศึกษาเรื่องสถูปพระเจ้าอุทุมพรอย่างจริงจัง รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของไทยเองก็เคยหยิบยกข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวกับประธานาธิบดีระหว่างการมาเยือนเมียนมาร์อย่างเป็นทางการเมื่อ ๑๕ กันยายนที่ผ่านมา ตนจึงมาพบเพื่อจะหารือในเรื่องที่ได้ขอให้รัฐบาลเมียนมาร์ชะลอการรื้อถอนสถูป ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการสำรวจและศึกษาข้อมูลของคณะจากประเทศไทยในอนาคตด้วย

อู ตานส่วยกล่าวออกตัวว่าตนเองก็เป็นนักประวัติศาสตร์ เคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับราชวงศ์คองบองและได้กล่าวถึงพระเจ้าอุทุมพรไว้ด้วย จึงได้อภิปรายในสภาไม่ให้รื้อสถูป แต่ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเท่าที่ควร  เพราะมีคนค้านว่าหลักฐานไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าสถูปนั้นเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าอุทุมพรจริง อย่างไรก็ดี สมาชิกรัฐสภาชื่อนายอู ขิ่น สเวย และนายแพทย์ ทิน เมือง จี กับ นายอู วิน หม่อง สถาปนิกพม่า ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลพม่าขอไม่ให้รื้อทำลายสถูปดังกล่าว จึงขอแนะนำให้คณะไปดูสถานที่จริงที่สุสานลินซินกอง และควรจะไปพบกับคุณหมอทิน เมือง จี ด้วย เพราะจะเป็นประโยชน์กับฝ่ายไทย
รองดำรงกล่าวตอบว่า ในขั้นต้นจะขอศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ก่อน จากนั้นจึงจะไปสอบถามคนในพื้นที่ และขั้นตอนสุดท้ายคือ การสำรวจทางโบราณคดี

ต่อจากนั้น คณะของรองดำรงจึงไก้ไปพบอู มิน ซอ อธิบดีกรมโบราณคดี ที่เมืองมัณฑะเลย์ เพื่อขอความร่วมมือเหมือนกับข้างต้น ซึ่งได้รับคำตอบที่ดีว่า บัดนี้ยังไม่มีการดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่ของสุสาน และยินดีที่รัฐบาลไทยจะเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ แต่ขอให้ฝ่ายไทยได้ยืนยันระยะเวลาที่จะใช้ในการหาข้อมูลที่ว่าให้คณะกรรมการฝ่ายพม่าได้ทราบด้วย

ต่อไป คณะของรองดำรงได้ไปพบ ดร. ขิ่น ส่วย มิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ เพื่อจะขอเอกสารทางประวัติศาสตร์ของพม่าในเรื่องที่เกี่ยวกับพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งอธิการบดีกล่าวว่าได้เคยรับทราบเกี่ยวกับเรื่องที่ชาวโยเดียถูกกวาดต้อนมาพม่าบ้างเหมือนกัน และยินดีให้ความร่วมมือในส่วนของมหาวิทยาลัยในการศึกษาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

บุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลเมียนมาร์ที่รองดำรงได้ไปพบเป็นคนสุดท้ายคือ อู ออง หม่อง ผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์  ผู้ซึ่งกล่าวว่าตนได้สั่งระงับแผนพัฒนาพื้นที่สุสานลินซินกองไปแล้วตามคำร้องขอของฝ่ายไทย โดยได้อ้างถึงนายมิกกี้ ฮาร์ท (ผู้ประสานงานในเรื่องนี้)
อู ออง หม่องยืนยันว่า ในส่วนของเมืองมัณฑเลย์นั้นมีความยินดีที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดี การผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นที่รับทราบในระดับรัฐบาลกลาง ฝ่ายไทยจะต้องประสานโดยตรงโดยการหยิบยกเรื่องขึ้นมาหารือกับผู้นำรัฐบาลเมียนมาร์ และดำเนินการหาข้อสรุปในเรื่องนี้โดยเร็วต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 10:11

กว่าที่กระทรวงวัฒนธรรมจะได้จัดประชุมขึ้นตามที่ได้แถลงข่าวไว้ก็เป็นเวลาอีกสามสัปดาห์ โดยนายสมชาย เสียงหลายปลัดกระทรวงเองได้นั่งเป็นประธานการประชุมนี้เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕   และเชิญนายวิจิตร ชินาลัย ในฐานะตัวแทนของสมาคมสถาปนิกสยามเข้าร่วมด้วย เพื่อขอทราบรายละเอียดในงานที่ได้ทำไปแล้ว

ปัญหาหลักที่ฝ่ายพม่าต้องการให้รัฐบาลไทยเข้าไปดำเนินการในเรื่องนี้ต่ออย่างรวดเร็วนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยสนองต่อได้ยาก เพราะกว่าจะของบประมาณและผ่านการอนุมัติก็ต้องใช้เวลาสองปีเข้าไปแล้ว กว่าจะใช้งบได้จริงๆก็คงอีกร่วมปี ในขณะที่ผู้แทนสมาคมสถาปนิกสยามกล่าวว่าไม่มีปัญหาทางด้านการงานและเงิน ไม่ว่าโครงการนี้จะต้องใช้อีกเท่าไร เมื่อใด ที่ประชุมจึงเป็นพ้องว่าควรจะบูรณาการความร่วมมือระหว่าภาครัฐกับเอกชน อันได้แก่กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงต่างประเทศ และ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยกำหนดบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศที่จะเป็นผู้ประสานกับรัฐบาลพม่า ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่คณะผู้แทนฝ่ายไทย อันมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี(จากกรมศิลปากร) และผู้แทนของสมาคมสถาปนิกสยาม  ในฐานะผู้ดำเนินการสำรวจและขุดค้นเพื่อหาหลักฐานอันจะเป็นประโยชน์ต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 10:35

๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ สถานทูตไทยประจำสหภาพเมียนมาร์จึงทำหนังสือแจ้งรัฐบาลพม่าอย่างเป็นทางการถึงสิ่งที่จะกระทำต่อไปในนามของรัฐบาลไทย คือ ๑ การที่จะร่วมค้นคว้าหาหลักฐานเอกสารในเรื่องนี้ และ ๒ การสำรวจสถานที่และการขุดค้นทางโบราณคดีร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายพม่า ณ สุสานลินซินกง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 12:59

วิสัยของเอกชนนั้นทำงานช้าไม่ได้ ขืนช้าก็ไม่ทันกิน
งานลำดับต่อไปเป็นขั้นตอนสำคัญ คือการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อค้นหาหลักฐาน โดยไม่เป็นการทำลายโบราณสถานนั้นเสียเอง ในการนี้โชคดีที่บริษัทอิตาเลี่ยนไทยไปได้งานก่อสร้างสนามบินใหม่ของมัณฑะเลย์ วิจิตรได้ติดต่อกับผู้บริหารบริษัทในกรุงเทพ ขอวิศวกรอาวุโสไปช่วยงาน  บริษัทจึงสั่งการให้นายช่างชาตรี รัตนสังข์ วิศวกรใหญ่ประจำหน้างาน ให้ปลีกตัวไปช่วยบนค่าใช้จ่ายของบริษัท
 
นอกจากนี้ยังได้ผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นที่ไม่ใช่งานของสถาปนิก เช่น ออท.ประดาป พิบูลสงคราม อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ และรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่เพิ่งจะเกษียณจากทางราชการ เป็นที่ปรึกษา ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทยกับฝ่ายพม่า และอาจารย์ปฎิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ที่เพิ่งจะเกษียณจากกรมศิลปากรด้วยประสบการณ์เพียบ ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นหัวหน้าหน่วยศิลปากรจังหวัดอยุธยา ได้เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ศรีสุริโยทัย และยังเป็นผู้ค้นพบสุสานโปรตุเกตและสุสานญี่ปุ่น หลุมศพอยู่ตรงไหนๆบ้างรู้หมด ขุดลงไปเจอโครงกระดูกทุกหลุม จนกระทั่งกล่าวกันว่าอาจารย์เป็นผู้มีจิตสัมผัสในเรื่องลึกๆลับๆประเภทนี้

ทีมงานของสมาคมสถาปนิกสยามได้เดินทางไปทำงานที่หน้างานถึง ๒๐ คน ถือว่าเป็นดรีมทีม เพราะแต่ละคนล้วนอาษาเข้ามาและกระตือรือร้นที่จะได้ทำงานใหญ่ครั้งนี้ด้วยใจรัก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 13:12

ทีมงานถ่ายภาพร่วมกันหน้างาน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 17:35


งานลำดับต่อไปเป็นขั้นตอนสำคัญ คือการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อค้นหาหลักฐาน โดยไม่เป็นการทำลายโบราณสถานนั้นเสียเอง ในการนี้โชคดีที่บริษัทอิตาเลี่ยนไทยไปได้งานก่อสร้างสนามบินใหม่ของมัณฑะเลย์ วิจิตรได้ติดต่อกับผู้บริหารบริษัทในกรุงเทพ ขอวิศวกรอาวุโสไปช่วยงาน  บริษัทจึงสั่งการให้นายช่างชาตรี รัตนสังข์ วิศวกรใหญ่ประจำหน้างาน ให้ปลีกตัวไปช่วยบนค่าใช้จ่ายของบริษัท

ขออภัยครับ เพิ่งเห็นบันทึกฉบับหนึ่งเขียนว่า คุณชาตรี เป็นผู้แนะนำและประสานงานให้พี่วิจิตรติดต่อกับคุณนิจพร จรณะจิตต์ ผู้บริหารของบริษัทอิตาเลียนไทย ซึ่งคุณนิจพรได้อนุญาตให้นายช่างสนธยา สุนทรธานนท์ Senior Engineer ที่หน่วยงานก่อสร้างท่าอากาศยานมัณฑะเลย์ เป็นผู้ที่มาช่วยงานแท้จริง

นายช่างสนธยาเป็นผู้ขออนุญาตต่อผู้อำนวยการกองโบราณคดีของสหภาพเมียนมาร์เหนือ เพื่อกระทำการซ่อมแซมบูรณะฐานของพระสถูปเจดีย์ที่ถูกน้ำกัดกร่อนจากการที่ถูกน้ำท่วมแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันมิให้โบราณสถานนี้โค่นล้มลงมาได้
บันทึกการเข้า
Voodoo
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 21:17

เร็วๆ นี้เพิ่งดูสารคดีทาง Thai PBS มีสกู๊ปเรื่องนี้ด้วยครับ
คุณมิคกี้ ฮาร์ทพาทีมงานไปดูสถานที่ด้วย และพาไปเยี่ยมลูกหลานชาวไทยที่เคยถูกกวาดต้อนไปในสมัยนั้นด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 07:24

ครับ ชมสารคดีในโทรทัศน์ก็ได้อรรถรสที่ต่างออกไปจากการอ่าน ดีสำหรับผู้ชมทั่วๆไปที่สนใจ

แต่ที่ผมนำเรื่องมาเสนอเป็นกระทู้นี้ ก็เพื่อให้รายละเอียดในเรื่องดังกล่าวเท่าที่ผู้ที่ไม่ใช่นักวิชาการจะทนอ่าน และเข้าใจได้ เพื่อที่จะได้ช่วยกันคิดว่าทำไมเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อขอให้เอกชนเข้าทำงานแทนภายใต้ศัพท์หรูว่าบูรณาการร่วมกัน จึงได้ใส่เกียร์ว่างตั้งแต่ออกจากห้องประชุม ปล่อยให้ให้นักวิชาการค่ายโน้นค่ายนี้ได้ใจ ออกมาแสดงความเห็นโจมตีคนทำงานว่าทำงานไม่เป็นบ้าง ตั้งธงไว้แล้วว่าจะให้ใช่บ้าง ไม่จริงใจ ด้วยมีผลประโยชน์แอบแฝงบ้าง คัดค้านโน่นนี่ด้วยความเห็นที่ หากท่านได้อ่านเรื่องที่ผมกำลังนำเสนอจนจบ จะเข้าใจได้ว่าควรจะเชื่ออะไรใคร และอย่างไร

เรื่องกำลังจะเข้าสู่จุดเข้มข้นแล้วนะครับ โปรดติดตามต่อไป

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 07:47

คณะทำงานทั้งยี่สิบกว่าชีวิตของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การนำของวิจิตร ชินาลัย สถาปนิกอำนวยการได้เดินทางจากกรุงเทพสู้จุดหมายแรก คือสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ นครย่างกุ้ง สหภาพเมียนม่าร์ เพื่อรายงานตัวตามระเบียบต่อ ท่านทูตพิษณุ สุวรรณะชฏ ตามที่อดีตท่านทูต ประดาป พิบูลสงครามได้ติดต่อนัดหมายไว้ล่วงหน้าและเป็นผู้นำเข้าพบด้วยตนเองเมื่อบ่ายวันที่ ๑๖ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๖


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 07:49

ในวันนี้ นอกจากจะมารายงานว่า ได้ทำอะไรไปถึงไหนแล้ว และสถานภาพปัจจุบันที่เปลี่ยนจากการทำงานของ NGO มาเป็นทำงานในนามรัฐบาลไทย วิจิตรยังได้มอบ Action Plan ซึ่งกำหนดเวลาทำงานในขั้นตอนต่างๆ และตัวบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนนั้น ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับท่านทูตก็คือ ช่วงที่จะส่งมอบผลงานอย่างเป็นทางการต่อรัฐบาลพม่า ในระหว่างวันที่ ๒๕-๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖  ผู้แทนของกระทรวงวัฒนธรรมและผู้แทนของกระทรวงต่างประเทศจะต้องมาร่วมในพิธีการดังกล่าว ภายใต้การประสานของสถานทูตไทยในย่างกุ้ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 07:59

และตารางงานในภาระกิจที่จะต้องทำในไม่กี่วันข้างหน้า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 10:05

๑๙ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๖ คณะทำงานฝ่ายไทยได้เข้าพบผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ พร้อมกับข้าราชการระดับสูงของฝ่ายพม่า ๙ คนตามกำหนดนัดหมาย โดยไม่มีข้าราชการสถานทูตไทยไปร่วม แต่ไม่ทราบว่าได้มีการฝากฝังไว้กับออท.ประดาปหรือเปล่า ตำแหน่งของท่านผู้นี้หลังเกษียณคือ ผู้ประสานงานการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน สถาบันคีนันแห่งเอเซีย Kenan Institute Asia ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และดำเนินกิจกรรมต่างๆในประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมาร์  ไทย และเวียดนาม

ผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์จึงได้ให้การต้อนรับด้วยอารมณ์แจ่มใส โดยแจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลเนปิดอว์ได้ให้ความเห็นชอบในโครงการร่วมระหว่างไทยและเมียนม่าร์นี้แล้ว และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือตามกรอบเวลาที่กำหนด สำหรับสิ่งที่ฝ่ายไทยได้ขอมาในหนังสือที่นำมายื่นวันนั้น ท่านได้อนุมัติทางวาจาทั้งหมด และอนุญาตให้เข้าทำงานในพื้นที่ได้ทันที

หลังจากนั้นก็แจ้งให้ทราบว่า ทางพม่าได้ตกลงจะจัดพิธีการเริ่มโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธุ์ คือวันรุ่งขึ้น โดยในช่วงเช้าจะเป็นการประชุมร่วมระหว่าคณะทำงานทั้งสองฝ่าย และภาคบ่ายจะเป็นพิธีทางศาสนา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 10:06

โปรดสังเกตหนังสือนำที่ยื่นให้ผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ซึ่งมีอีกตำแหน่งหนึ่งเป็นมุขมนตรีกิจการพัฒนารัฐมัณฑะเลย์ด้วย วิจิตรได้อ้างถึง “โครงการพัฒนาร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพเมียนม่าร์ เพื่อค้นหาความจริง/ศึกษาทางโบราณคดีของสุสาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังพระบรมศพของพระเจ้าอุทุมพร ณ สุสานลินซินกองในมัณฑเลย์” อันเป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการที่บอกวัตถุประสงค์ร่วมที่ชัดเจน

สิ่งที่แนบไปด้วยคือเอกสารปึกใหญ่ แสดงถึงงานที่มีเป้าหมายจะทำให้เสร็จภายใน ๓๐-๔๐ วัน
ประกอบด้วย
๑ โครงสร้างของโครงการ
๒ คณะทำงาน
๓ ผังจัดองค์กรของบุคคลากรหน้างาน และขอบเขตความรับผิดชอบ
๔ แผนการทำงานเบื้องต้น และกำหนดเวลา
๕ วิธีการทำงานและทางเลือกในกรรมวิธีต่างๆรวม ๗ แผ่น

ผมจะไม่เอาทั้ง ๗ แผ่นมาลงให้ท่านมึน แต่จะยกตัวอย่างมาสักสองหน้าตามภาพข้างล่าง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง