เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70792 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 14:35

หลักฐานแวดล้อมทั้งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญของชาติพม่าเชื่อหมดว่าใช่ เสียดายก็แต่นักวิชาการไทยที่ไม่เชียวชาญจริงเรื่องพม่า(เมื่อเทียบกับเขา) ถ้าข้องใจประเด็นใดในทางประวัติศาสตร์ ทำไมไม่ไปขอให้เขาช่วยคัดลอกและอรรถาธิบายให้แจ่มแจ้ง  ส่วนประเด็นทางโบราณคดี หลังเจอหลักฐานชิ้นสำคัญแล้ว ก็มีเหตุผลที่จะขอเขา ทำการเปิดหน้าสำรวจโดยละเอียดเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม ซึ่งคณะทำงานเองบอกว่าน่าจะหลงเหลืออีกมาก ที่ไม่ทำให้จบก็เพราะหมดเวลาที่ได้รับอนุญาตไว้
บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 15:43

สงสัยมุมไหน ขอให้ถาม อย่าเก็บไว้ในใจนะครับ

ไม่ต้องเกร็งเรื่องเห็นต่าง ในเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีความเห็นต่างเกิดขึ้นได้เสมอ  ขนาดศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งถูกนำมาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่ากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย วันทีคืนดียังมีผู้ออกมาเสนอความเห็นใหม่ว่า พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้ทำ คนทำคือพระจอมเกล้า สื่อสนใจเสนอข้อมูลทั้งฝ่ายเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอยู่หลายปีจึงจะสงบ แต่คนเชื่อไม่เชื่อจะเปลี่ยนทัศนะคติอย่างไรหรือไม่ ก็ไม่มีใครทราบ

ในเมื่ออาจารย์เปิดโอกาส ผมก็ขออนุญาตเรียนถามสิ่งที่คาใจนะครับ

1. ดูเหมือนว่า 5ปีผ่านไป ฝ่ายราชการโดยกรมศิลป์ ไม่ยอมขยับ ดังนั้นฝ่ายเอกชน จะดำเนินการเองไม่ได้หรือครับ เพื่อให้ชัดเจน ตามที่เขาสงสัยกันว่า... (ให้ไปศึกษาข้อมูลจากห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษด้วย เพราะเคยมาปกครองพม่า เนื่องจากอาจจะมีหลักฐานและข้อมูลบ่งชี้เกี่ยวกับสถูปดังกล่าวบ้าง).. ในเมื่อกระทรวงต่างประเทศก็ดูไม่ขัดข้อง เงินทุนก็เเหลือเฟือ คณะดำเนินงานฯ จะขอสำเนาสมุดข่อยมาทั้งเล่ม แล้วจ้างคณะผู้เชี่ยวชาญแปลภาษาพม่าเป็นไทย สังเคราะห์ เอาเนื้อความให้ชัดๆได้ไหมว่า สมุดข่อยนี้ใครเป็นผู้บันทึก เชื่อถือได้มากแค่ไหน ตรงกับหลักฐานอื่นมากหรือน้อย ...การที่มีเนื้อหาบางส่วนสอดคล้อง แต่บางส่วนก็ขัดแย้งกับหลักฐานอื่น จะเชื่อได้แค่ไหน ขนาดชื่อกษัตริย์คู่สงครามที่ควรจะมีความสำคัญต่อการบันทึก ยังเขียนผิด จำผิด และบันทึกไว้แบบผิดฝาผิดตัวเอาชื่อพระเชษฐามาใส่พระอนุชา แล้วอย่างนี้ข้อความส่วนอื่นๆจะไปเชื่อถือได้สักเท่าไร

2. พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าที่ว่าเป็นผู้ยกย่องเชิดชูและอวยยศให้แก่พระมหาสมณะเจ้า และได้จัดการพระบรมศพอย่างสมพระเกียรติ์นั้น คือองค์เดียวกับที่ส่งทหาร มากมายถึง9 กองทัพมารุกรานกรุงรัตนโกสินทร์แต่ก็พ่ายแพ้กลับไปหรือเปล่าครับ ทั้งยังมีบันทึกว่าพม่ายังไม่ยอมหยุดยั้ง ยังส่งทัพมารุกรานเราอีกหลายครั้ง ....จะอธิบายว่า ในทางหนึ่งพระเจ้าปดุงก็จ้องรุกรานราชอาณาจักรไทยไม่เลิกรา แต่อีกทางหนึ่ง แม้จะรบไม่สำเร็จตีเมืองไม่ได้ ก็ไม่มีอารมณ์ถือโทษโกรธเคืองไทย พอว่างๆพระองค์ ก็ทรงหันมายกย่องเชิดชู ให้ความสำคัญต่อพระภิกษุเชลยไทยอดีตกษัตริย์ผู้ถูกกวาดต้อนมา ตอนพม่าชนะศึก ตีกรุงแตกทั้งฆ่าทั้งเผาจนกรุงศรีอยูยาป่นปี้ยับเยิน .. พระเจ้าปดุงจะไม่ดูพระเอกจ๋าไปหรือครับ  

3. สิ่งที่บรรจุอัฐิที่ขุดพบ ทางคณะผู้ขุดว่าเป็นบาตร แต่เมื่อมีคนว่าเป็นภาชนะ นอกจาก การใช้เหตุผลแวดล้อมมาอธิบายว่านี่คือบาตรๆๆๆแล้ว ท่านมีตัวอย่างบาตรที่สมบูรณ์ๆ ขัดเจนๆ ว่าเคยมีบาตรบรรจุอัฐิแบบนี้ เคยใข้กับเจ้านายพระองค์ใด ที่ไหน เมื่อใด หร๊อเปล่าครับ จะได้ยืนยันว่า มีหลักฐานแน่น ยิ่งกว่านามบัตร
  
ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 17:00

ดูเหมือนว่า 5ปีผ่านไป ฝ่ายราชการโดยกรมศิลป์ ไม่ยอมขยับ ดังนั้นฝ่ายเอกชน จะดำเนินการเองไม่ได้หรือครับ เพื่อให้ชัดเจน ตามที่เขาสงสัยกันว่า... (ให้ไปศึกษาข้อมูลจากห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษด้วย เพราะเคยมาปกครองพม่า เนื่องจากอาจจะมีหลักฐานและข้อมูลบ่งชี้เกี่ยวกับสถูปดังกล่าวบ้าง).. ในเมื่อกระทรวงต่างประเทศก็ดูไม่ขัดข้อง เงินทุนก็เเหลือเฟือ คณะดำเนินงานฯ จะขอสำเนาสมุดข่อยมาทั้งเล่ม แล้วจ้างคณะผู้เชี่ยวชาญแปลภาษาพม่าเป็นไทย สังเคราะห์ เอาเนื้อความให้ชัดๆได้ไหมว่า สมุดข่อยนี้ใครเป็นผู้บันทึก เชื่อถือได้มากแค่ไหน ตรงกับหลักฐานอื่นมากหรือน้อย ...การที่มีเนื้อหาบางส่วนสอดคล้อง แต่บางส่วนก็ขัดแย้งกับหลักฐานอื่น จะเชื่อได้แค่ไหน ขนาดชื่อกษัตริย์คู่สงครามที่ควรจะมีความสำคัญต่อการบันทึก ยังเขียนผิด จำผิด และบันทึกไว้แบบผิดฝาผิดตัวเอาชื่อพระเชษฐามาใส่พระอนุชา แล้วอย่างนี้ข้อความส่วนอื่นๆจะไปเชื่อถือได้สักเท่าไร

สุสานลินซินกอง ที่นักประวัติศาสตร์ไทยรู้จัก แต่ไพล่ไปเรียกว่าสุสานล้านช้างนั้น เพราะคนพม่าเองก็ยังไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของชื่อนี้ ซึ่งหากแปลตรงตัวก็มีความหมายว่าหอสูง จึงอาจจะให้ข้อมูลที่ผิดแล้วยังเกิดการเดาซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจผิด  ความจริงนักประวัติศาสตร์พม่าทราบแต่เพียงว่า ในอดีตเป็นสุสานสาหรับชนชันสูงที่เป็นชาวต่างชาติเท่านั้น  

เมื่อความสำคัญของ parabike มีถึงเช่นนี้ หากจะเชื่อข้อมูลฝ่ายพม่าเพียงอย่างเดียวอาจมีปัญหาหากเอกสารดังกล่าวไม่มีอยู่จริง เพื่อความรอบคอบ วิจิตรจึงได้ขอให้คนรู้จักที่อยู่ในลอนดอนช่วยไปติดตามดู และยืนยันกลับมาให้ทราบด้วย

หลังจากใช้ระยะเวลาอันยาวนานและอดทน เนื่องจากในครั้งแรกเจ้าหน้าที่หาเอกสารนั้นไม่พบ สุดท้ายได้คุณเพลิน นักศึกษาที่นั่น สามารถสืบได้ตัวภัณฑารักษ์ซึ่งเป็นคนพม่าชื่อ ซาน ซาน เมย์ ผู้ค้นพบเอกสารนั้นและนำออกมาให้ ดร.ทิน หม่อง จี ดูเมื่อหลายปีที่แล้ว เธอได้กล่าวว่าเอกสารชิ้นนั้นได้ถูกย้ายที่เก็บไปอยู่ห้องอินเดีย และหมายเลขที่ถูกต้องก็คือ OMS/Mss Burmese 199 หน้า 48

คุณเพลินได้พยายามขอให้ ซาน ซาน เมย์ เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษให้ แต่เธอทำไม่ใด้ เนื่องจากมีระเบียบบังคับอยู่ แต่ได้อ่านที่สำคัญให้ฟังโดยสรุปว่ากษัตริย์ไทยพระองค์นี้ได้มาอยู่เมืองพม่า มีพิธีพระบรมศพที่ยิ่งใหญ่ ที่บรรจุพระบรมศพอยู่ที่ Linzhin Amarapura

เป็นอันว่าหายใจโล่งอกไปได้เปลาะหนึ่ง ในอนาคตหากรัฐบาลไทยให้ความสำคัญและเป็นผู้ติดต่อดำเนินการขอหลักฐานนี้พร้อมคำแปลอย่างเป็นทางการ ก็คงไม่เหลือวิสัย
ข้างล่างคือภาพที่วิจิตรได้รับในครั้งนั้น


จากที่ผมเล่าไว้ใน คคก. ๘๙ เราก็ทำแล้ว แต่จะให้ไปขอมาแปลทั้งเล่มนั้น คุณวิจิตรบอกว่า หน้าอื่นๆก็เป็นเรื่องของเจ้านายต่างชาติระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ที่มาเป็นเชลย หรือตัวประกันอยู่ในพม่า ส่วนมากเป็นเป็นชาวไทยใหญ่ เห็นว่ามีเจ้านายไทยเพียงพระองค์เดียว ที่บอกว่าเป็นพระสงฆ์ แต่ระบุนามไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง

และจากคลิปที่ผมนำมาในคคห. ๒๕๓

http://youtu.be/I7pcdSJL_7s?t=487

คุณดำรง ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศในปี ๒๕๕๕ กล่าวว่า ทางกระทรวงได้ห้สถานทูตไทยในลอนดอนไปถ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้องในสมุดข่อยเล่มที่ว่าส่งมาใหเ ซึ่งก็ได้รับ ๑ แผ่น เช่นเดียวกับที่คุณวิจิตรได้มาเช่นกัน

ดังนั้น สมาคมสถาปนิกสยามคงไม่ลงทุนส่งคนไปขอถ่ายมาทั้งเล่ม แล้วจ้างคนแปล เพราะไม่รู้จะทำไปทำไม ยิ่งจ้างคนไปนั่งค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ กรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกคงไม่เอาด้วย  เพราะเรื่องที่ต้องทำในสมาคมเองก็มากพออยู่แล้ว

แต่ถ้าคุณสนใจใคร่รู้จริงจัง ผมก็ขอแนะนำให้คุณฟังคลิปนั้นแต่ต้นจนจบ โดยเฉพาะผู้พูดคนสุดท้าย ซึ่งเป็นนักวิจัยประวัติศาสตร์  คุณจะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ใครซึ่งไม่รู้ภาษาพม่า จะไปนั่งค้นเรื่องราวต่างๆในห้องสมุดหนังสือโบราณ ซึ่งกระจัดกระจายมิได้เป็นหมวดหมู่

ส่วนเรื่องที่เอกสารเขียนชื่อพระเจ้าเอกทัศ คุณดำรง ซึ่งเรียนมาทางประวัติศาสตร์เช่นกันก็ได้อธิบายไว้แล้ว ว่าผู้บันทึกๆหลังจากที่พระเจ้าอุทุมพรสวรรคตไปแล้วเกือบ ๑๐๐ ปี ชื่อจึงสลับสับสนได้  แต่ที่ท่านเชื่อว่าใจความทั้งหมด เขาหมายถึงพระเจ้าอุทุมพร เพราะอะไร

เรื่องนี้ ผมเองมีความเห็นว่า ที่เขาเขียนอธิบายใต้ภาพกษัตริย์ที่ทรงชุดฆราวาสว่าพระเจ้าเอกทัศ ก็ถูกแล้วนี่ครับ ถ้าภาพนั้นเป็นภาพพระภิกษุตามเนื้อเรื่อง จึงน่าจะตั้งข้อสงสัย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 17:24

พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าที่ว่าเป็นผู้ยกย่องเชิดชูและอวยยศให้แก่พระมหาสมณะเจ้า และได้จัดการพระบรมศพอย่างสมพระเกียรติ์นั้น คือองค์เดียวกับที่ส่งทหาร มากมายถึง9 กองทัพมารุกรานกรุงรัตนโกสินทร์แต่ก็พ่ายแพ้กลับไปหรือเปล่าครับ ทั้งยังมีบันทึกว่าพม่ายังไม่ยอมหยุดยั้ง ยังส่งทัพมารุกรานเราอีกหลายครั้ง ....จะอธิบายว่า ในทางหนึ่งพระเจ้าปดุงก็จ้องรุกรานราชอาณาจักรไทยไม่เลิกรา แต่อีกทางหนึ่ง แม้จะรบไม่สำเร็จตีเมืองไม่ได้ ก็ไม่มีอารมณ์ถือโทษโกรธเคืองไทย พอว่างๆพระองค์ ก็ทรงหันมายกย่องเชิดชู ให้ความสำคัญต่อพระภิกษุเชลยไทยอดีตกษัตริย์ผู้ถูกกวาดต้อนมา ตอนพม่าชนะศึก ตีกรุงแตกทั้งฆ่าทั้งเผาจนกรุงศรีอยูยาป่นปี้ยับเยิน .. พระเจ้าปดุงจะไม่ดูพระเอกจ๋าไปหรือครับ 

ในคคห.ที่ ๘๕ ผมก็ได้กล่าวไว้แล้วในย่อหน้าสุดท้ายว่า ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๖ พระเจ้าปดุงได้สถาปนาเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่อมรปุระ จึงโปรดให้พระมหาเถระดอกเดื่อย้ายมาประทับที่กรุงอมรปรุะด้วย แม้อีกสองปีต่อมาทรงกรีฑาทัพถึง ๗ ทัพจะไปตีกรุงเทพพระมหานคร แต่พ่ายแพ้ยับเยินกลับมาก็มิได้กระทำการแก้แค้นอะไรกับคนไทยที่นั่น  ตราบจนกระทั่งพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรได้เสด็จสวรรคตลงในปี พ.ศ. ๒๓๓๙  ซึ่งยังเป็นรัชกาลของพระเจ้าปดุงนั้นเอง

คือสงครามระหว่างไทยกับพม่านั้น ระบบการศึกษาของไทยเราปลูกสำนึกให้อนุชนว่าเป็นสงครามระหว่างชาติต่อชาติ ทำให้เกิดความเคียดแค้นชิงชังเขาเพราะเราเป็นผู้แพ้ แต่ในคราวที่เราเป็นผู้ชนะ ไปกระทำต่อชาติอื่น กลับละเลยไม่ค่อยจะพูดถึง แล้วไปทำเป็นงงว่าทำไมคนลาว หรือคนมลายูภาคใต้ จึงได้เกลียดเรา

ในพม่านั้น เนื่องจากเขาเป็นสหภาพมาแต่ไหนแต่ไร คือคนหลายเชื้อชาติมารวมกันอยู่เป็นราชอาณาจักร ซึ่งพอราชอาณาจักรไหนอ่อนแอ กษัตริย์อีกราชอาณาจักรหนึ่งก็จะยกทัพไปทำสงสราม แย่งชิงอำนาจการปกครองและทรัพยากรไปเป็นของตน
ในบรรดาทรัพยากรทั้งหลาย ทรัพยากรมนุษย์เป็ยสิ่งมีค่าที่สุด พลเมืองที่ถูกกวาดต้อนจากเมืองหนึ่ง ไปเป็นพลเมืองของอีกเมืองหนึ่ง ก็ถูกนำไปบุกเบิกไร่นา ปลูกข้าวและทำการเกษตร สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงต่อราชอาณาจักร ดังนั้นครัวเรือนที่ถูกต้อนกันไปจึงไม่ได้ถูกมองเป็นศัตรู ตรงข้ามกษัตริย์มีหน้าที่ต้องสยบให้นิ่งด้วยสิ่งที่เรียกว่าพระมหากรุณาธิคุณ คนเหล่านี้ไม่นาน ไม่ว่าประเทศไหนๆก็เหมือนกัน ภายใน ๓ ชั่วคนก็กลายเป็นพลเมืองดีของประเทศนั้นๆหมด

ไม่แปลกเลยครับที่พระเจ้าปะดุงจะเป็นเช่นเดียวกัน และกระทำตามที่ประวัติศสาตร์ได้กล่าวไว้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 17:32

สิ่งที่บรรจุอัฐิที่ขุดพบ ทางคณะผู้ขุดว่าเป็นบาตร แต่เมื่อมีคนว่าเป็นภาชนะ นอกจาก การใช้เหตุผลแวดล้อมมาอธิบายว่านี่คือบาตรๆๆๆแล้ว ท่านมีตัวอย่างบาตรที่สมบูรณ์ๆ ขัดเจนๆ ว่าเคยมีบาตรบรรจุอัฐิแบบนี้ เคยใข้กับเจ้านายพระองค์ใด ที่ไหน เมื่อใด หร๊อเปล่าครับ จะได้ยืนยันว่า มีหลักฐานแน่น ยิ่งกว่านามบัตร

ที่อธิบดีกรมศิลปากรกับนักวิชาการข้างกายบอกว่า ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่จริงใจ ตอนแรกเรียกว่าภาชนะ ตอนกลังมาเรียกว่าบาตรมรกตเพื่อชักจูงให้เชื่อว่าอัฐิที่พบเป็นอัฐิของพระ
ผมก็อธิบายไปแล้วเช่นกัน มันมาจากบันทึกประจำวัน วันแรก(เย็นแล้ว) เขาเจอสิ่งนี้ จมอยู่ในดินโผล่มาเพียงให้เห็นว่าเป็นภาชนะ เขาก็บันทึกไปตามที่เห็น แล้วก็หมดเวลาทำงาน ต้องปิดหลุมไว้ก่อน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 17:34

วันรุ่งขึ้น พอเอาขึ้นมาจากหลุม เห็นว่าเป็นบาตร เขาก็บันทึกว่าเป็นบาตร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 17:47

พอชำระแล้วเห็นสิ่งนั้นชัดเจน เขาจึงบันทึกว่า เป็นบาตรดินเผา ลงรักประดับกระจกสีมรกต ขอบบาตรเดินทอง แต่มีบางคำที่เรียกอย่างสั้นว่าบาตรมรกตบ้าง ผมผ่านตาแว๊บๆ พอกลับไปค้นหา เล่มมันหนาไม่เจอ

แต่ไม่เห็นว่าเป็นสาระที่จะต้องถูกนำมาขยายความเพื่อจับผิดอะไรกันตรงนี้ เหมือนเด็กๆขี้อิจฉาเอาเพื่อนไปฟ้องผู้ให่ญ่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 18:01

บาตรที่สมบูรณ์ๆ ขัดเจนๆ ว่าเคยมีบาตรบรรจุอัฐิแบบนี้ เคยใข้กับเจ้านายพระองค์ใด ที่ไหน เมื่อใด หร๊อเปล่าครับ จะได้ยืนยันว่า มีหลักฐานแน่น ยิ่งกว่านามบัตร

ผมมีภาพที่ชัดเจนที่สุดเพียงภาพนี้ เพิ่งลงไปในคคห.๒๘๓  เป็นบาตรบรรจุอัฐิของพระสงฆ์ระดับรองสังฆนายก แต่ก็ยังไม่เลิศเท่าบาตรที่ขุดพบข้างบน

ส่วนบาตรที่บรรจุอัฐิเจ้านายพม่าที่เป็นสงฆ์ ผมคิดว่าหายากนะครับ ถึงอังกฤษจะโขมยได้ไปบ้าง แต่ British Museum อาจจะเก็บงำไว้ห้องใต้ดิน ไม่ยอมนำมาแสดงก็ได้เพราะไม่อยากถูกทวงคืน

ถ้าจะเอานามบัตรให้ได้ ก็คงยากพอๆกับหาใบเสร็จของนักการเมือง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 18:31

บาตรและสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน

บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 18:33

ผมขอกราบของพระคุณอาจารย์เป็นเบื้องต้น ท่านใช้เวลาแป๊ปเดียว ก็ตอบอธิบายข้อสงสัยผมได้ทุกข้อ แม้จะยังมีจุดที่ไม่กระจ่าง
แต่สำหรับผมมือยังห่างชั้นท่าน กว่าจะถามได้สักข้อก็ต้องไตร่ตรองเป็นวันๆ รู้ว่าท่านเมตตา แต่ก็เกรงจะลบหลู่ครูบาอาจารย์
ผมขออนุญาตอ่านให้แตก สังเคราะห์อีกรอบ และค้นคว้าเพิ่มเติม หวังว่าจะได้เรียนถามอาจารย์ผู้ใจดีต่อไปอีกครับ

ของพระคุณอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 21:16

พอชำระแล้วเห็นสิ่งนั้นชัดเจน เขาจึงบันทึกว่า เป็นบาตรดินเผา ลงรักประดับกระจกสีมรกต ขอบบาตรเดินทอง แต่มีบางคำที่เรียกอย่างสั้นว่าบาตรมรกตบ้าง ผมผ่านตาแว๊บๆ พอกลับไปค้นหา เล่มมันหนาไม่เจอ

แต่ไม่เห็นว่าเป็นสาระที่จะต้องถูกนำมาขยายความเพื่อจับผิดอะไรกันตรงนี้ เหมือนเด็กๆขี้อิจฉาเอาเพื่อนไปฟ้องผู้ให่ญ่

ถ้าเราจะพูดเรื่องนี้กันในเชิงศึกษาหาความรู้ต่อไป   ดิฉันขอร้องให้คุณ NAVARAT.C เลิกใช้คำกระแหนะกระแหนแบบนี้ จะเหมาะกว่านะคะ
การที่คุณไม่เห็นว่าเป็นสาระ  คนอื่นเขาอาจจะเห็นว่ามีสาระก็ได้  อย่างดิฉันเองก็ยังตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับภาชนะชิ้นนี้   ยังไม่ปักใจจะเรียกว่า บาตร   จึงใช้คำกลางๆ ว่า "ภาชนะ" ไปก่อน   เพราะมันหมายถึงอะไรก็ได้ ที่บรรจุสิ่งของลงไปได้   
แต่พอมาเจอคำตัดบทว่า ไม่เห็นเป็นสาระ ก็เลยไม่อยากจะถามต่อ    เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าข้อสงสัยของดิฉัน นอกจากไม่มีสาระแล้ว ยังกลายเป็นการจับผิด    เจอคำพูดสะกัดหน้า  คนจะถามก็ท้อที่จะถาม
การออกความเห็นและคำถามที่อยู่ในประเด็น   ไม่ได้ออกนอกเรื่องสถูปและพระเจ้าอุทุมพร     น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อนรับด้วยดี   คำถามนั้นจะตื้นหรือจะลึก แคบหรือกว้าง ก็โปรดเมตตาว่า คนถามเขาถามเพราะสนใจ   ถามเพราะไม่รู้ถึงได้ถาม  ไม่ใช่จับผิด
อะไรก็ตามที่มันไม่มีผิดจะให้จับ  จับไปก็ไม่เจอผิดอยู่ดี  แต่ถ้ามันผิดเสียแล้ว ถึงไม่จับมันก็ผิดค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 07:13

ถ้าเราจะพูดเรื่องนี้กันในเชิงศึกษาหาความรู้ต่อไป   ดิฉันขอร้องให้คุณ NAVARAT.C เลิกใช้คำกระแหนะกระแหนแบบนี้ จะเหมาะกว่านะคะ

ขอโทษครับ ความจริงผมไม่ได้กระแนะกระแหน ถ้าอ่านทั้งบริบทจะเห็นว่าที่ผมวิจารณ์คือคำพูด เช่นข้างล่างนี้
นายนิติ แสงวัณณ์ นักโบราณคดีเชี่ยวชาญ กรมศิลปากร ตั้งข้อสังเกตว่า ตนลงพื้นที่จริง และได้พิจารณารายงานสรุปผลการปฏิบัติงานด้านโบราณคดีที่สุสานลินซินกง พบว่า เอกสารต่างประเทศ ที่ทางภาคเอกชนไปขุดค้นกล่าวอ้างถึงว่า มีการบันทึกถึง สถูปองค์นี้ว่ามีการบรรจุ พระบรมอัฐิ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งทั้งที่จริงแล้วเอกสารฉบับดังกล่าว บอกว่ามีหลักฐานที่ถือว่าสำคัญมากชิ้นหนึ่ง คือ ภาชนะ ทำด้วยดินเผาประดับกระจก มาถึงหน้าสุดท้ายกลับมาเรียกภาชนะนี้ว่าบาตรแก้วมรกต ทำไมจึงไม่ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นการเขียนที่ไม่สุจริต เป็นการโน้มน้าวในข้อมูลอยากให้คนอื่นเข้าใจได้ว่า บาตรนี้เกี่ยวข้องกับเจ้านายที่เป็นพระสงฆ์

คำว่าไม่สุจริต มันรุนแรงพอที่จะทำลายน้ำใจคนทำงานทั้งสองฝ่าย และที่สำคัญ ได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทำให้โครงการสะดุด เสียเวลา เสียเงินทองไปไม่น้อย กว่าที่จะกู้สถานการณ์และสภาพงานก่อสร้างให้คืนกลับสู่ที่เดิมได้

อย่างดิฉันเองก็ยังตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับภาชนะชิ้นนี้   ยังไม่ปักใจจะเรียกว่า บาตร   จึงใช้คำกลางๆ ว่า "ภาชนะ" ไปก่อน   เพราะมันหมายถึงอะไรก็ได้ ที่บรรจุสิ่งของลงไปได้  
แต่พอมาเจอคำตัดบทว่า ไม่เห็นเป็นสาระ ก็เลยไม่อยากจะถามต่อ    เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าข้อสงสัยของดิฉัน นอกจากไม่มีสาระแล้ว ยังกลายเป็นการจับผิด    เจอคำพูดสะกัดหน้า  คนจะถามก็ท้อที่จะถาม
การออกความเห็นและคำถามที่อยู่ในประเด็น   ไม่ได้ออกนอกเรื่องสถูปและพระเจ้าอุทุมพร     น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อนรับด้วยดี   คำถามนั้นจะตื้นหรือจะลึก แคบหรือกว้าง ก็โปรดเมตตาว่า คนถามเขาถามเพราะสนใจ   ถามเพราะไม่รู้ถึงได้ถาม  ไม่ใช่จับผิด
อะไรก็ตามที่มันไม่มีผิดจะให้จับ  จับไปก็ไม่เจอผิดอยู่ดี  แต่ถ้ามันผิดเสียแล้ว ถึงไม่จับมันก็ผิดค่ะ


ผมไม่ได้แคร์เลยที่ใครจะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร เคยเขียนไว้ในกระทู้นี้ด้วยว่าชื่อที่เรียกขาน มันเป็นแค่สมมติบัญญัติ ตามองสิ่งเดียวกัน ใครจะเรียกว่าภาชนะ หรือบาตร หรือพม่าเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า bowl หรือ urn ซึ่งคุณมิกกี้พยายามแปลมาจากภาชนะที่คนไทยเรียกว่าโกศ(ใส่อัฐิ) ซึ่งความจริงแล้วรูปทรงน่าจะเป็นลุ้งมากกว่า จะอะไรก็ตามทุกคนก็หมายถึงสิ่งเดียวกัน ถึงตรงนี้ไม่มีใครผิด
ส่วนตัวผมเลือกเรียกว่าบาตร แต่ก็บอกแล้วว่า บาตรที่เห็นนี้ไม่ใช่บาตรที่พระสงฆ์จะใช้บิณฑบาต แต่เป็นของประดับเกียรติ ความจริงพม่าต้องมีคำเรียกเฉพาะ แต่ไม่มีใครเขียนไว้ ผมก็เรียกบาตรเพื่อกันความสับสนในกระทู้ของผม หลังจากที่เรียกว่าภาชนะเมื่อยังไม่เห็นรูปทรงทั้งใบ แต่ใครยังไม่เห็นด้วย ผมคงไม่ตัดบท หรือกระแนะกระแหนว่าไม่เป็นสาระ เป็นอันขาด

ดังนั้น ถ้าคำเขียนของผมได้สร้างความไม่สบายใจให้แก่ใคร ตรงไหนบ้าง ผมก็ขออภัยอย่างจริงใจ ส่วนคคห.ข้างบน เอาเป็นว่าผมขอถอนประโยค “แต่ไม่เห็นว่าเป็นสาระที่จะต้องถูกนำมาขยายความเพื่อจับผิดอะไรกันตรงนี้ เหมือนเด็กๆขี้อิจฉาเอาเพื่อนไปฟ้องผู้ใหญ่”

เราจะได้เข้าประเด็นวิชาการกันต่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 07:21

อ้างถึง
เพิ่งพูดโทรศัพท์กับดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์มาเมื่อกี้นี้เอง
ท่านก็ติดตามและสนใจเรื่องสถูปพระเจ้าอุทุมพรอยู่นะคะ    แต่เรื่องยังค้างเติ่งอยู่จนบัดนี้ ก็เพราะหลักฐานที่ค้นพบได้ ไม่เพียงพอที่จะชี้ลงไปได้ว่าเป็นสถูปที่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร
นอกจากภาชนะประดับกระจกสีเขียว บรรจุอัฐิแล้ว   ไม่มีหลักฐานที่ระบุได้ว่าเจ้าของอัฐินั้นเป็นใคร  ไม่พบข้าวของเครื่องใช้ หรือหลักฐานอะไรอย่างอื่นบ่งชี้     ดังนั้น เจ้าของอัฐิอาจจะเป็นบุคคลสำคัญ ในเพศฆราวาส หรือบรรพชิต ท่านใดท่านหนึ่งของพม่า หรือเป็นคนชาติอื่นไม่ใช่พม่า แต่มีความสำคัญทางใดทางหนึ่งอยู่ในถิ่นนั้น   ก็เป็นได้ทั้งสิ้น
ก็มีแต่คำบอกเล่าของชาวบ้านต่อๆกันมา   ซึ่งยังต้องอาศัยหลักฐานประกอบทางอื่นเพิ่มด้วย  มีหลายๆหลักฐานมายันกันชัดเจนลงไปถึงจะบอกได้ค่ะ

อ้างถึง
ดังนั้น เจ้าของอัฐิอาจจะเป็นบุคคลสำคัญ ในเพศฆราวาส หรือบรรพชิต ท่านใดท่านหนึ่งของพม่า หรือเป็นคนชาติอื่นไม่ใช่พม่า ตัดคำว่าเพศฆราวาสออกได้เลย เพราะอัฐิเจอในบาตร เหลือแต่ว่าเป็นพระ ซึ่งต้องเป็นพระที่มีสมณศักดิ์สูงด้วย พระพม่าทรงสมณศักดิ์ในรัชกาลนั้น จดหมายเหตุของพม่าจดชื่อไว้น่าจะทุกองค์ แต่มีองค์เดียวที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้รับพระราขทานเพลิงพระศพอย่างสมพระเกียรติที่เนินลินซิน คือ(อดีต)กษัตริย์โยเดีย

ตรงนี้จะเขียนแค่ว่าเพราะอัฐิเจอในบาตรเพียงอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ผมตกสาระสำคัญ คืออัฐินั้นถูกห่อด้วยจีวร มีสายรัดประคตด้วย
บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 07:57

เข้ามาเรียนอาจารย์NAVARAT.C ก่อนไปทำงานว่า เมตตาในเชิงผู้รู้ของท่านนั้นมากล้น กระพี้ที่เป็นโวหารเพื่อแต่งเติมแก่นสาระให้สมบูรณ์นั้น ดูเป็นการกระแนะกระแหน หรือกระแนะกระนำก็ได้  แต่สำหรับชนรุ่นหลัง ก็มองว่าเป็นสีสันในข้อเขียนของท่านในหลายเรื่อง
ดูคลิบสัมนาวิชาการ ที่ด๊อกเตอร์สาวสวยพูดแขวะหนังพระนเรศวร ก็พอได้เห็นร่องรอยของการ ไปกระทบอาจารย์บางท่านนะครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 14 พ.ย. 17, 09:48

ผมยังติดตามอ่านเรื่องนี้อยู่นะครับ

ถ้าเรื่องนี้เป็นการพิจารณาคดีในศาล จุดสำคัญของเรื่องนี้คงอยู่ตรงที่การนำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อโน้มน้าวให้ศาลเชื่อว่า สถูปที่พบนั้น บรรจุอัฐิของพระเจ้าอุทุมพรจริง ซึ่งถ้าเป็นในศาลฝ่ายกล่าวอ้างก็มีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ ซึ่งในเรื่องนี้ภาคเอกชนได้นำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงมาหลายประการตามที่อาจารย์ได้กรุณาเล่าให้ฟังแล้ว

แต่เนื่องจากพยานหลักฐานที่นำเสนอในครั้งนี้ มีแต่พยานแวดล้อม มิใช่เป็นประจักษ์พยาน (ก็อย่างที่อาจารย์ว่าแหละครับ ไม่มีนามบัตร) แม้ว่าพยานแวดล้อมในครั้งนี้ จะน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าจะพูดในทางหลักการชั้งน้ำหนักพยาน ก็คงต้องพูดว่าเรื่องนี้จึงยังไม่กระจ่างชัดทั้ง 100% อาจจะกระจ่างไป 80% หรือ 90% หรือ 99% แต่ไม่ใช่ 100% อย่างแน่นอน

ทีนี้ก็มาถึงปัญหาที่ว่า ถ้าไม่ 100% เสียแล้ว ต้องกี่ % ถึงจะเชื่อได้?

อันนี้ผมไม่กล้าชี้เหมือนกันครับ แต่ผมมีข้อสังเกตว่าเรื่องนี้ ไม่ใช่ความเชื่อส่วนบุคคล แต่เป็นเรื่องของการรับรองข้อเท็จจริงโดยประเทศไทย คือ ถ้ากรมศิลปากรตอบว่า เชื่อแล้ว ก็หมายความว่า ประเทศไทยรับรองข้อเท็จจริงตามนี้เลยว่า ใช่ ถูกต้อง ความสำคัญระดับนี้ ผมยังมองว่า ก็ต้อง 100% นั่นแหละครับ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง