เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70653 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 04 พ.ย. 17, 11:52

ทว่า น่าเสียดายครับ ถ้อยคำให้สัภาษณ์ของนายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากรที่หนังสือพิม์ของไทยลง โดยเฉพาะบางกอกโพสต์กับเดอะเนชั่น ได้รับการรายงานโดยสถานทูตเมียนม่าร์ในกรุงเทพส่งตรงไปยังเนปิดอว์ ส่งผลกระทบทันทีกับโครงการ

ขณะที่คณะสงฆ์ไทยและพม่าที่กำลังจะเข้าร่วมพิธีบรรจุพระบรมสาริริกธาตุนั้น ได้รับคำสั่งด่วนโดยผู้ว่าการเมืองอมรปุระให้ระงับโครงการเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีความชัดเจนจากรัฐบาลไทย ทำให้ทั้งพระทั้งคนต้องแยกย้ายกันกลับวัด กลับที่พักด้วยความงุนงง

แม้ในหนังสือจะไม่ระบุเหตุผล แต่ทส.ของผู้ว่าการได้แจ้งด้วยวาจากับหัวหน้าคณะฝ่ายไทยว่า ทางรัฐบาลเมียนมาร์ถือว่าคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรของไทยได้สร้างความอัปยศ เขาใช้คำว่า disgrace ต่อรัฐบาลพม่า disgrace ต่อนักวิชาการผู้ทรงความรู้และประสบการณ์ชาวพม่า จึงขอให้ระงับความร่วมมือระหว่าสองชาติไว้ก่อน เพื่อรอคำชี้แจงของรัฐบาลไทย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 04 พ.ย. 17, 11:57

!


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 04 พ.ย. 17, 12:01

จบภาค ๒

พึงรอต่อภาค ๓
ตอนนี้ไปเข้าห้องน้ำห้องท่า ซื้อข้าวโพดคั่วน้ำอัดลมได้ครับ
ส่วนผมจะไปกินข้าว แล้วพักยาว
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 04 พ.ย. 17, 18:08

ระหว่างรอภาคสาม ขอสลับฉากด้วยเรื่องของ parabike ก่อนครับ

parabike เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสมุดแบบพม่า ส่วนมากจะสะกดว่า parabaik หรือบางทีเป็น parabeik ก็มี (แน่นอนว่าออกเสียงว่าพาราไบค์) มีที่มาจากภาษาพม่าตามนี้เลยครับ https://en.wiktionary.org/wiki/%E1%80%95%E1%80%AF%E1%80%9B%E1%80%95%E1%80%AD%E1%80%AF%E1%80%80%E1%80%BA#Burmese

เป็นสมุดแบบโบราณที่เราคนไทยก็รู้จักกันดีเหมือนกัน ฝรั่งเรียกตามพม่าว่า parabaik ไทยเราเรียกว่าสมุดไทยหรือสมุดข่อยครับ เป็นวัฒนธรรมร่วมในภูมิภาคนี้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 07:19

สำหรับผู้อ่านที่ตามจากเฟซบุคของผมเข้ามาเรือนไทยนะครับ ฉายาของคุณ CrazyHOrse นี้ไม่ได้แปลว่าม้าบ้าตรงตามตัวนะครับ แต่เป็นชื่อหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงคนหนึ่งที่ต่อสู้อย่างทรหดกับคนผิวขาวผู้บุกรุก จนฝรั่งยอมรับความเป็นวีรบุรุษ  ท่านเป็นวิศวกรอาวุโสที่มีความสนใจประวัติศาสตร์ เหยียบเข้ามากระทู้ผมคราวใดกระทู้เอียงเหมือนเรือจ้างโดนเหยียบกราบ คนเช่นนี้ก็ประเภทเดียวกับคุณหมอ ทิน หม่อง จี ผู้ชูประเด็นเรื่องพระเจ้าอุทุมพรในพาราไบค์ของพม่าที่อังกฤษยึดไปเก็บไว้ในลอนดอน แล้วโดนนักวิชาการกรมศิลป์ดูถูกว่าเป็นนักประวัติศาสตร์มือสมัครเล่น เพราะไม่ได้จบมหาทลัยมาในภาควิชานั้น

ผมเห็นคำว่า parabeik แว่บๆอยู่ในหนังสือรายงานเหมือนกัน แต่ถูกกลบไปด้วยที่สะกดว่า parabike กรมศิลป์ทั้งกรมจึงต้องอ่านว่าพาราไบเก้ ออกสำเนียงสแกนดิเนเวียนให้ดูประหลาดกว่ารายงานของสมาคมสถาปนิกสยาม
ส่วนผม เอาคำว่า parabike ไปใช้อินทรเนตรค้นหารูป ได้ภาพพระพม่ายืนถ่ายกับสมุดข่อย ก็เลยจอดป้ายกับคำๆนี้

ต้องขอขอบคุณนายช่างมากครับที่ได้ช่วยให้เจอคำศัพท์ที่ถูกต้อง ซึ่งผมจะได้ใช้ต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 07:43

ผมเอาบางความเห็นที่ผู้อ่านเขียนต่อท้ายบทความในเฟซบุคของผมมาให้อ่าน นี่แบบเซนเซอร์ออกไปหลายความเห็นแล้วนะครับ
ส่วนผู้อ่านในเรือนไทยที่ยังไม่ค่อยขยับ คงกลัวผมเป่าออฟไซด์ เชิญเลยครับ ถึงตรงนี้ไม่มีเส้นออฟไซด์แล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 07:44

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 07:44

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 07:59

เมื่อคืนมีผู้บอกผมว่า คราวนั้นอธิบดีพาลูกน้องในกรมศิลป์ไปทัวร์พม่าร่วมหกสิบคน เพื่อตอบแทนก่อนเกษียณในอีกสี่ห้าเดือนข้างหน้า
ส่วนเรื่องความเกี่ยวข้องกับพระปรางค์วัดอรุณ ก็ตั้งแต่เป็นรอง ตามข่าวนี้ครับ

https://www.thairath.co.th/content/288902


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 12:56

เป็นเรื่องที่ตามอ่านด้วยความเหนื่อยมากค่ะ  ในความซับซ้อนของกรณี
เท่าที่สรุปกับตัวเอง คือปัญหาเกิดจากความเห็นและการสรุปผลที่แตกต่างกันแบบตรงกันข้ามระหว่างราชการและเอกชน
เอกชนสนับสนุนด้วยเหตุผล 1 2 3 4  ส่วนราชการค้านด้วยเหตุผล 5 6 7 8
และยังมีรายละเอียดแทรกกลางระหว่างนี้  อีกมาก 

เท่าที่รู้สึก   ราชการท่านฟันธงว่า "ไม่ใช่ "  จากนั้นท่านก็มิได้เอาใจใส่กับโครงการนี้อีกเลย     
นอกจากไม่เอาใจใส่แล้ว  ยังไม่อยากจะได้ชื่อว่าเข้าไปเอี่ยวด้วย    เหมือนท่านปักใจว่า มีเบื้องหน้าเบื้องหลังในอะไรบางอย่าง ที่ราชการไม่อยากเกี่ยวข้อง   ใครอยากทำอะไรก็ทำไป แต่ฉันไม่เอาด้วย

นี่คือความรู้สึกนะคะ   อาจจะผิดก็ได้     ถ้าผิดก็ขอร้องผู้รู้มาช่วยแก้ไขความเข้าใจให้ด้วยค่ะ




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 16:38

ผมไม่เข้าใจว่า ที่ท่านอาจารย์เทาชมพูกล่าวว่า “เอกชนสนับสนุนด้วยเหตุผล 1 2 3 4  ส่วนราชการค้านด้วยเหตุผล 5 6 7 8” นั้นคืออะไร และ “ยังมีรายละเอียดแทรกกลางระหว่างนี้  อีกมาก” รายละเอียดดังกล่าวคืออะไร
แต่ผมยอมรับว่า เรื่องนี้ผมมือไม่ถึงที่จะเขียนแบบรวดเดียวให้ผู้อ่านเข้าใจได้  เช่นเดียวกับรายงานของสมาคมสถาปนิกสยาม ที่หาผู้หลักผู้ใหญ่จะอ่านแล้วเข้าใจยาก  จึงต้องหันไปถามกรมศิลปากรว่าๆอย่างไร  พอทางนั้นบอกสามสี่คำว่า “เชื่อถือไม่ได้” ท่านก็เข้าใจ แล้วปล่อยวาง

ผมคงต้องสรุปอีกที  จะว่าให้สั้นอย่างนี้แต่แรกก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะโดนหาว่าไม่มีที่มาที่ไป เอาเป็นว่าใครสงสัยรายละเอียดแทรกกลางใด ก็ย้อนกลับไปอ่านทวนซ้ำได้เลย  
.
.
๒๔๓๗ มีนักประวัติศาสตร์พม่าเคยเขียนเรื่อง พบ “ภาพวาดกษัตริย์อยุธยา” ในสมุดข่อยที่พม่าเรียกว่า parabaik ซึ่งอยู่ในประเทศในอังกฤษ เนื่องจากเวลานั้นไม่มีเครื่องถ่ายเอกสาร จึงได้คัดข้อความมา แต่เรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจสักเท่าใด

๑ มีนาคม ๒๕๓๘ ประมาณร้อยปีต่อมา นายแพทย์ ทิน หม่อง จี สนใจเรื่องดังกล่าว จึงตามไปค้นหาที่อังกฤษ เจอที่ British Commonwealth Library จึงขอถ่ายเอกสารมาแต่คุณภาพไม่ดีนัก และได้นำมาเขียนเรื่องลงนิตยสารชื่อ  Today กล่าวว่ากษัตริย์พระองค์นั้นทรงพระนามว่าพระเจ้าอุทุมพร  และคาดว่าพระบรมอัฐิของพระองค์ จะอยู่ในพระสถูปทรงโกศ  ในสุสานลินซินกอน (Linzingong ) ซึ่งอยู่ที่อมรปุระ

(เรื่องนี้อธิบดีกรมศิลปากรอ้างเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗ ว่า  นายสด แดงเอียด ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี เคยมีบันทึกส่วนตัวเมื่อปี ๒๕๓๐ ครั้งเดินทางไปค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับสถูปบรรจุพระบรมอัฐิพระเจ้าอุทุมพร และได้พบพระอินตาคา เจ้าอาวาสวัดข่ามีนเว เมืองสะกาย นำไปสู่การค้นพบหลักศิลาจารึก ซึ่งบ่งบอกว่ามีเจ้านายไทยในสมณะพระภิกษุมรณภาพ มีการจัดพิธีปลงพระศพใหญ่โต  แต่กล่าวว่าได้นำพระบรมอัฐิมาบรรจุที่เจดีย์ของวัดข่ามีนเว โดยมีหลักฐานเป็นสำเนาหลักศิลาจารึก ภาษามอญโบราณที่นายสัญชัย หมายมั่น คณะทำงานที่ร่วมเดินทางไปด้วยนำกลับมา  ซึ่งกรมศิลปากรจะแปลให้รู้เรื่องภายใน ๑ สัปดาห์  แต่ก็เงียบไปจนบัดนี้)

๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕  หนังสือพิมพ์ เดอะอิระวดี ( The Irrawaddy) ได้เสนอรายงานข่าวว่า  Siamese King’s Tomb to be Destroyed สุสานพระบรมศพกษัตริย์สยามกำลังจะถูกทำลาย เพราะทางการรัฐมัณฑเลย์จะไถทิ้งสุสานลินซินกอง เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอมรปุระ  โดยกำหนดให้ผู้ที่มีบรรพบุรุษหรือญาติฝังอยู่ที่นั่น ให้จัดการนำศพไปที่อื่นภายในสองเดือน หลังจากนั้นทางการจะเกรดออกเพื่อปรับปรุงพื้นที่ต่อไป
สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้งได้รายงานข่าวดังกล่าวกลับมายังกรุงเทพ  กระทรวงจึงได้สั่งการให้ท่านทูตขอร้องไปยังรัฐบาลพม่าให้ชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อน  ซึ่งพม่าก็ตอบว่ายินดีแต่ขอให้ทางราชการไทยรีบไปประสานงานโดยเร็ว

๕ สิงหาคม ๒๕๕๕  คณะคนไทยที่เชื่อว่า พระบรมอัฐิของพระเจ้าอุทุมพรอยู่ในพระสถูปทรงโกศ ที่สุสานลินซินกอน ได้รวมตัวกันไปขออนุญาตทางทางการรัฐมัณฑเลย์ เพื่อเข้าขุดค้นหาหลักฐานที่อาจจะยังอยู่ในพระสถูป หากเจอก็จะขอนำไปบรรจุในพระสถูปองค์ใหม่ในวัด  ซึ่งเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ใกล้ๆกันนั้น  อนุญาตให้ใช้ที่ดินได้
เมื่อได้รับความเห็นชอบในหลักการจากฝ่ายพม่าแล้ว คณะคนไทยเหล่านั้นจึงได้กลับมาระดมทุน จะจัดหาจิตอาสาไปทำงานนี้ ภายใต้นามของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

๒๘ กันยายน ๒๕๕๕  คณะของรองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายดำรง ใคร่ครวญ ซึ่งได้เดินทางไปพบผู้ว่าการรัฐมัณฑเลย์ ทางโน้นจึงแจ้งให้ทราบว่าทางเอกชนไทย โดยนายวิจิตร ชินาลัยได้มาร้องขอไว้ก่อนแล้ว  แต่หากรัฐบาลไทยสนใจในเรื่องนี้ รัฐบาลพม่าก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมกันทำโครงการนี้ในลักษณะทวิภาคี
เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้มีหน้าที่ในเรื่องการอนุรักษ์โบราณสถาน จึงรายงานเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงวัฒนธรรม

เมื่อข่าวปรากฏในหนังสือพิมพ์ของประเทศไทย จึงมีส.ส. ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลในสภา

๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕   นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า นายดำรง ใคร่ครวญ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร นักวิชาการ ได้มาหารือกับตนแจ้งว่า หลังจากมีการนำเสนอข่าวสถูปสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปแล้ว ได้ประสานไปยังเทศบาลเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งขณะนี้เทศบาลเมืองมัณฑะเลย์แจ้งกลับมาว่า ยินดีชะลอเรื่องไว้ก่อน
และนายสมชาย ยังกล่าวไปว่า กระทรวงการต่างประเทศจะได้นำนักวิชาการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรลงไปตรวจสอบสถูป และเก็บข้อมูลจากการสอบถาม ตลอดจนหาเอกสารที่ปรากฏเรื่องดังกล่าวที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ของพม่า เพราะปัจจุบันยังมีความเห็นที่แตกต่างและไม่ชัดเจน
(แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการกระทำดังว่าแต่อย่างไร  แต่เชื่อว่ากรมศิลปากรคงได้แสดงความไม่เห็นด้วยไปแล้ว)

๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕   นายสมชาย เสียงหลายปลัดกระทรวงเองได้นั่งเป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงต่างประเทศ และกรมศิลปากร  โดยเชิญนายวิจิตร ชินาลัย ในฐานะตัวแทนของสมาคมสถาปนิกสยามเข้าร่วมด้วย เพื่อขอทราบรายละเอียดในงานที่ได้ทำไปแล้ว
แต่การที่ฝ่ายพม่าต้องการให้เข้าไปดำเนินการในเรื่องนี้โดยเร็วนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยทำไม่ได้ เพราะติดปัญหาเรื่องงบประมาณ ดังนั้น ในเมื่อสมาคมสถาปนิกสยามพร้อมอยู่  จึงขอร้องให้สมาคมกระทำภารกิจนี้ในนามของรัฐบาลไทยไปเลย
ที่ประชุมจึงเป็นพ้องว่าควรจะบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน  โดยกำหนดบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศที่จะเป็นผู้ประสานกับรัฐบาลพม่า ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่คณะผู้แทนฝ่ายไทย อันมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดีจากกรมศิลปากรและผู้แทนของสมาคมสถาปนิกสยาม ในฐานะผู้ดำเนินการสำรวจและขุดค้น เพื่อหาหลักฐานอันจะเป็นประโยชน์ต่อไป

(แต่หลังจากประชุมเสร็จ กลับไม่มีการสนองต่อมติดังกล่าวจากหน่วยงานราชการใดทั้งสิ้น แต่พ.ศ. ๒๕๕๗ อธิบดีกรมศิลป์ได้ออกมาโจมตีว่าการขุดค้นไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ เนื่องจากไม่มีนักโบราณคดีร่วมอยู่ด้วย)
.
.
เอาเท่านี้ก่อน  ก่อนจะไปกันต่อ ไม่ทราบว่าตรงนี้เลยเหตุผล 1 2 3 4  ของเอกชน และเหตุผล 5 6 7 8 ของส่วนราชการหรือยังครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 17:14

1  2 3 4  ของเอกชน และ 5 6 7 8  ของราชการ  เป็นแบบนี้ค่ะ
 1  ของเอกชน คือมีความกระตือรือร้นที่จะดำเนินการ มาตั้งแต่แรกเริ่ม  นี่คือ 1  เช่นประสานงานกับฝ่ายพม่าไม่ว่าในระดับรัฐบาลหรือระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความคืบหน้า
ส่วนราชการ ไม่ได้บอกว่ากระตือรือร้นหรือไม่กระตือรือร้น  แต่บอกว่า ไม่มีงบประมาณ  อันเป็นคำตอบคลาสสิคของราชการ ในการปฏิเสธที่จะดำเนินการ   จึงไม่ได้ตอบโจทย์ 1 โดยตรง  
ฝ่ายหนึ่งชูป้าย  1  อีกฝ่ายยกป้ายตอบว่า 5  แบบนี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 18:00

“ยังมีรายละเอียดแทรกกลางระหว่างนี้  อีกมาก” รายละเอียดดังกล่าวคืออะไร
ลอกตรงนี้มาให้อ่านค่ะ

นายนิติ แสงวัณณ์ นักโบราณคดีเชี่ยวชาญ กรมศิลปากร ตั้งข้อสังเกตว่า ตนลงพื้นที่จริง และได้พิจารณารายงานสรุปผลการปฏิบัติงานด้านโบราณคดีที่สุสานลินซินกง พบว่า เอกสารต่างประเทศ ที่ทางภาคเอกชนไปขุดค้นกล่าวอ้างถึงว่า มีการบันทึกถึง สถูปองค์นี้ว่ามีการบรรจุ พระบรมอัฐิ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งทั้งที่จริงแล้วเอกสารฉบับดังกล่าว บอกว่ามีหลักฐานที่ถือว่าสำคัญมากชิ้นหนึ่ง คือ ภาชนะ ทำด้วยดินเผาประดับกระจก มาถึงหน้าสุดท้ายกลับมาเรียกภาชนะนี้ว่าบาตรแก้วมรกต ทำไมจึงไม่ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นการเขียนที่ไม่สุจริต เป็นการโน้มน้าวในข้อมูลอยากให้คนอื่นเข้าใจได้ว่า บาตรนี้เกี่ยวข้องกับเจ้านายที่เป็นพระสงฆ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 18:04

ส่วน parabaike  หรือสมุดข่อย  จะออกเสียงว่าพาราไบค์หรือพาราไบเก  ดิฉันไม่ค่อยจะติดใจนัก   แต่มาติดใจตรงนี้

นักโบราณคดีเชียวชาญ (หมายถึงคุณนิติ แสงวัณณ์)กล่าวอีกว่า รายงานฉบับนี้ นักโบราณคดีทั่วโลกไม่ถือเป็นรายงานทางโบราณคดี เพราะไม่มีการอ้างอิงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น ไม่บอกกำหนดอ้างอิง ไม่บอกพิกัดที่ตั้ง ไม่บอกลักษณะการขุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรายงานถึงการอ้างอิงเอกสารว่า เอกสารที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร นั้น มาจากเอกสารโบราณพม่า ชื่อ พาราไบเก เอกสารพาราไบเกเก็บไว้ที่ ห้องสมุดลอนดอน ชิ้นที่ 99 /288 บันทึกถึงที่ตั้งพระสถูป ตนขอยืนยันว่า ข้อความนี้ไม่มีบรรจุไว้ในเอกสารพาราไบเก ไม่มีระบุขนาดนั้น

ติดใจว่า เอกสารที่ว่าไม่ได้บันทึกถึงที่ตั้งพระสถูป จริงหรือเปล่า    และถ้าไม่ได้ระบุขนาดนั้น ระบุขนาดไหน   ข่าวนี้ไม่ได้บอกเสียด้วย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 18:20

https://www.dailynews.co.th/education/220465

ด้านนายนิติ แสงวัณณ์ นักโบราณคดีเชียวชาญ กล่าวว่า จากการที่ได้ลงพื้นที่และได้พิจารณารายงานสรุปผลการปฏิบัติงานด้านโบราณคดีที่สุสานลินซินกง พบว่าเอกสารฉบับดังกล่าว ไม่ได้บอกรายละเอียดที่ชัดเจน เช่นกำหนดอ้างอิง พิกัดที่ตั้ง และลักษณะการขุด ดังนั้นจึงถือว่ารายงานฉบับนี้ไม่เป็นรายงานทางโบราณคดี และไม่มีบรรจุไว้ในเอกสารโบราณชื่อ พาราไบเก ที่อ้างว่าอยู่ที่ห้องสมุดกรุงลอนดอน ชิ้นที่ 99 /288 ด้วย ดังนั้นจึงไม่อยากให้มีการสรุป เพราะจะทำให้คนไทยหรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มาเคารพสักการะโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นอัฐิของใคร...

อ่านบรรทัดสุดท้ายแล้วก็คิดว่า ข้อนี้น่าจะเป็นความกลัวของกรมศิลปากร  ว่าถ้าไม่มีหลักฐานจนยืนยันได้ชัดๆเจ๋งเป้ง ว่านี่คือสถูปของพระเจ้าอุทุมพร     กรมศิลปากรจะไม่เอาหลักฐานจากสภาพแวดล้อมหรือข้อสันนิษฐานของเอกชนมาเป็นข้อสรุป     เพราะถ้าเกิดพบว่าผิดพลาดขึ้นมาภายหลัง    ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมนั่นแหละจะลำบาก  ชีวิตราชการหน้าที่การงานต่างๆก็จะกระทบกระเทือนกันหมด   ก็เลยเพลย์เซฟไว้ก่อน   
ข้อนี้ ใครเป็นข้าราชการตามกระทรวงทบวงกรมก็คงจะพอเข้าใจ    ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นสิทธิส่วนตัวของแต่ละท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง