เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 12 ต.ค. 17, 14:48
|
|
เมื่อพระเจ้าบรมโกศขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2276 เจ้าฟ้าอุทุมพรทรงได้รับสถาปนาทรงกรมเป็น กรมขุนพรพินิต ในช่วงเวลานั้น เจ้าฟ้าที่ได้รับการสถาปนาเป็นวังหน้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล คือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งก็หมายความว่า ทรงอยู่ในตำแหน่งรัชทายาท เจ้าฟ้าอุทุมพรนั้นอยู่ในลำดับสาม เพราะพระเชษฐาคือเจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรีคั่นกลางอยู่อีกองค์หนึ่ง ถ้าหากว่าไม่มีเหตุการณ์หักเหใดๆ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ก็น่าจะได้ครองราชย์ต่อตามโบราณราชประเพณี แต่เผอิญเกิดเรื่องหักเหอย่างหนัก คือถูกลงพระอาญาจนถึงสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2298 จากนั้นตำแหน่งวังหน้าก็ว่างอยู่ พระเจ้าบรมโกศมิได้ทรงสถาปนาพระราชโอรสพระองค์ใดขึ้นแทน สองปีต่อมา พ.ศ. 2300 กรมหมื่นเทพพิพิธ พระราชโอรสที่ประสูติจากเจ้าจอม จึงปรึกษากับเจ้าพระยาอภัยราชา พระยากลาโหม และพระยาพระคลัง แล้วกราบทูลขอให้สถาปนาเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยข้ามกรมขุนอนุรักษ์มนตรีไป ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่กรมขุนพรพินิตจะปฏิเสธ เพื่อถวายตำแหน่งแด่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ตามระเบียบแบบแผนอันถูกต้อง ตรงนี้ละเป็นรอยร้าวรอยแรกระหว่างพี่น้อง คือเจ้าฟ้าเอกทัศและเจ้าฟ้าอุทุมพร น้องอาจจะไม่อยากร้าวกับพี่ แต่พี่นั้นแน่นอนว่าจะต้องรู้สึกไม่มากก็น้อย อีกอย่างเราก็คงดูออกว่ากรมหมื่นเทพพิพิธนั้นท่านก็คงได้ "ไฟเขียว" มาจากพระราชบิดา ไม่งั้นคงไม่กล้าทูลขออะไรชนิดหักหน้าพี่ชายแบบนี้ พระเจ้าบรมโกศก็โปรดให้เป็นไปตามนั้น พงศาวดารบันทึกว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า "กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้น มีวิสัยพระทัยปราศจากความเพียร ถ้าให้ดำรงฐานาศักดิ์อุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่ง จะเกิดวิบัติฉิบหายเสีย เห็นแต่กรมขุนพรพินิต กอปด้วยสติปัญญาเฉลียวฉลาด ควรจะดำรงเศวตรฉัตรรักษาแผ่นดินได้" จึงทรงตั้งกรมขุนพรพินิตเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่เจ้าฟ้าอุทุมพรยังคงประทับ ณ พระตำหนักสวนกระต่ายในพระราชวังหลวงดังเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 12 ต.ค. 17, 16:54
|
|
เหตุการณ์ที่ท้าทายฝีมือของเจ้าฟ้าอุทุมพร เกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าบรมโกศสวรรคต ความกระด้างกระเดื่องก็เกิดขึ้นทันที เมื่อ"เจ้าสามกรม "อันประกอบด้วยกรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี พระราชโอรสของพระเจ้าบรมโกศอันประสูติจากเจ้าจอม ได้เตรียมกองกำลังเหมือนว่าจะก่อกบฏขึ้นมา น่าสังเกตว่า พระเจ้าบรมโกศทรงมีพระราชโอรสที่ล้วนแล้วแต่แบ่งแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า ไม่สามัคคีกันเลย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์เองก็ไม่ถูกกับเจ้าสามกรม แล้วก็ทรงถูกกำจัดไปก็เพราะเจ้าสามกรมนี่เอง เจ้านายสามองค์นี้เป็นพระราชโอรสชั้นผู้ใหญ่ มีกำลังไพร่พลอยู่ไม่น้อย ดังนั้นการปราบปรามจึงต้องวางแผนให้แนบเนียน เจ้าฟ้าอุทุมพรซึ่งบัดนี้อยู่ในฐานะกษัตริย์ทรงส่งพระราชาคณะ 5 รูป คือ พระเทพมุนี พระพุทธโฆษาจารย์ พระธรรมอุดม พระธรรมเจดีย์ และพระเทพกวี ไปเกลี้ยกล่อมให้กลับพระทัยมาถวายสัตย์ ทั้งสามองค์ก็ยอมมาถวายสัตย์ ปรากฏว่ามีแต่กรมหมื่นเทพพิพิธ หรือพระองค์เจ้าแขก ที่เป็นเจ้าต่างกรมอีกองค์หนึ่งเท่านั้นที่ยอมโอนอ่อนทุกอย่าง ให้ถวายสัตย์ก็ถวาย ให้ไปผนวชเสียให้หมดเรื่องราวก็ยอมผนวช ก็เลยรอดชีวิตไป แต่อีกสามองค์ยอมถวายสัตย์แต่ไม่ยอมไปผนวช จึงถูกจับขณะเข้าเฝ้า และถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามราชประเพณี คนที่คุมการสำเร็จโทษ ว่ากันว่าโปรดให้พระองค์เจ้าอาทิตย์พระโอรสในเจ้าฟ้ากุ้งเป็นคนคุม เพื่อเป็นการแก้แค้นที่เคยทำกับพระบิดา เจ้าฟ้าอุทุมพรขึ้นครองราชย์ได้เพียง 10 วัน ก็อย่างที่พงศาวดารบอกไว้ คือเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีทรงสึกออกมาแสดงท่าทีว่าจะทวงราชสมบัติ พระอนุชาก็ถวายให้โดยดี แล้วพระองค์เองก็ไปผนวชที่วัดเดิม แล้วย้ายไปประทับ ณ วัดประดู่ทรงธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 12 ต.ค. 17, 17:08
|
|
เมื่อเกิดศึกพม่าครั้งพระเจ้าอลองพญายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเอกทัศโปรดให้คนไปเชิญพระเจ้าอุทุมพรให้ลาผนวชมาบัญชาการรบ ก็ทรงบัญชาการรบได้ดี อลองพญาถูกปืนทางฝ่ายอยุธยา ต้องถอยทัพกลับไป และสวรรคตระหว่างทาง จากนั้นพระเจ้าเอกทัศก็ทรงทวงราชบัลลังก์คืนซ้ำสอง พระเจ้าอุทุมพรก็เสด็จกลับไปประทับที่วัดตามเดิม มังระพระราชโอรสของพระเจ้าอลองพญายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง คราวนี้เป็นศึกใหญ่หลวงกว่าครั้งก่อน ราษฎรสิ้นหวังที่จะป้องกันตัวเอง จึงไปร้องขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชอีกครั้ง แต่จะด้วยเกรงพระทัยพระเชษฐา หรือทรงสิ้นหวังกับชะตากรรมของอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรก็ไม่ยอมลาผนวชจนแล้วจนรอด จนกระทั่งเสียกรุงเมื่อพ.ศ. 2310
พระเจ้าอุทุมพรเป็นหนึ่งในเจ้านายฝ่ายไทยที่ถูกนำตัวไปพม่า กษัตริย์พม่าเองก็ให้ความเคารพนับถืออย่างดี มิได้ลบหลู่หรือกระทำการข่มเหงรังแกอย่างใด ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตมาตลอด น่าสังเกตข้อหนึ่งว่าพระองค์ท่านไม่มีท่าทีว่าประสงค์จะสึก หรือว่าหลบหนีออกจากพม่ากลับมาสู่ไทยอีกครั้ง คงอยู่ที่นั่นมาตลอด 29 ปีจนสิ้นพระชนม์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 13 ต.ค. 17, 08:22
|
|
ขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูที่กรุณาเข้ามาขัดตาทัพ ในระหว่างที่ผมติดภาระกิจกำลังเดินทางสู่จุดหมายที่อำเภอปายตั้งแต่เมื่อวาน ซึ่งขณะนี้ยังไปไม่ถึง นึกว่าเมื่อคืนจะได้เข้าร่วมสนทนาในกระทู้บ้างก็ฝืนสังขารไม่ไหว คงต้องขอเรื่อยๆเฉี่อยๆไปอีกสองสามวันนะครับ
สำหรับพระราชประวัติของพระเจ้าดอกเดื่อในพม่านั้น หาอ่านได้ในหนังสือของคุณมิกกี้ ฮาร์ท สถาปนิกและนักประวัติศาสตร์อิสระชาวพม่าที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยนานจนพูดและเขียนภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ได้เขียนหนังสือเรื่อง "โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้" สำนักพิมพ์มิวเซียมสยามจัดพิมพ์ ผมไม่ได้นำเสนอในบทความหลักมากนัก เพราะต้องการโฟกัสเรื่องพระสถูปที่พบในปัจจุบันสมัย โดยคิดว่าน่าจะแยกซอยมาเล่าสู่กันฟัง ดังที่ท่านอาจาย์เทาชมพูเริ่มไว้น่าจะดีกว่า
สิ่งที่คุณมิกกี้ ฮาร์ทเขียนไว้ อาจหามาสังเคราะห์ได้จากเน็ต ซึ่งผมไม่มีเวลาพอ ข้อสำคัญคือ พระองค์แม้จะอยู่ในฐานะเชลยศึก แต่ก็ได้รับพระราชทานเกียรติจากกษัตริย์ทุกพระองค์ ซึ่งสืบต่อจากพระเจ้ามังระมาจนพระเจ้าปดุง ยกพระองค์ไว้เป็นพระมหาเถระ ประทับเป็นมิ่งขวัญของของชาวโยเดียนับแสน(พงศาวดารว่าสองแสน)ที่มาอยู่เมืองพม่า แยกย้ายไปตามเมืองต่างๆที่อยู่ใกล้กัน เชลยเหล่านี้มิได้ถูกร้อยหวายมานะครับ เพราะถ้าจริงก็คงระบมจนเดินไม่ไหว เจ็บจนขาดใจตายแต่วันแรกๆแล้ว
ขอย้ำว่าพระเจ้าอุทุมพรทรงอยู่ในพม่าในฐานะอดีตกษัตริย์ ไม่ใช่เชลยนักโทษการเมืองคดีกบฎดังเช่นสยามกระทำต่ออดีตกษัตริย์ชาติเพื่อนบ้านบางพระองค์
เชิญกูรูทั้งหลาย หากจะกรุณาตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหลายๆท่านนะครับ ขณะนี้เรตติ้งกำลังวิ่งฉิว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 14 ต.ค. 17, 17:09
|
|
ในระหว่างที่ยังไม่มีปฏิกิริยาใดๆจากภาครัฐของไทย นักเดินทางท่องเที่ยวจากกรุงเทพเมื่อไปถึงพม่าก็ยังต้องการไปเยือนสถูปซึ่งเชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับพระเจ้าอุทุมพรอยู่ไม่ขาดสาย วิจิตรยังคงได้รับการขอร้องให้ร่วมคณะไปกับกลุ่มที่ต้องการความรู้เป็นพิเศษอยู่เนืองๆ ระยะหลังๆนี้มีทั้งกลุ่มปฏิบัติธรรม กลุ่มพระสงฆ์ และกลุ่มสมาชิกชาวต่างประเทสของสยามสมาคม ที่พิเศษกว่านั้นก็คือกลุ่มช่างภาพที่ต้องการไปถ่ายภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศพม่า ซึ่งกรณีย์หลังนี้มีผู้แนะนำให้เขารู้จักกับมิกกิ้ ฮาร์ท ผู้ซึ่งยินดีรับเป็นผู้ติดต่อขออนุญาตกับวัดวาอารามต่างๆเพื่อขออนุญาตล่วงหน้าให้ และมิกกี้ยังได้ร่วมคณะเดินทางไปพม่ากับวิจิตรอีกสองสามครั้งยังอมระปุระ ก่อนจะเกิดข่าวที่น่าตื่นเต้นขึ้น เมื่อสื่อของทางการพม่า เดอะอิระวดี ( The Irrawaddy) ได้เสนอรายงานข่าวในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (18 July 2012 ) พาดหัวว่า Siamese King’s Tomb to be Destroyed สุสานพระบรมศพกษัตริย์สยามกำลังจะถูกทำลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 14 ต.ค. 17, 17:13
|
|
อีกสามวันต่อมา ทั้งหนังสือพิมพ์บางกอกโพส์ต และมติชน ต่างขานรับนำข่าวนี้ออกขยายให้สังคมไทยได้รับรู้
เนื้อหาของข่าวนี้มีว่ารัฐบาลท้องถ่นแห่งรัฐมัณฑเลย์ต้องการจะล้างสุสานลิซินกอง เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอมรปุระ โดยกำหนดให้ผู้ที่มีบรรพบุรุษหรือญาติฝังอยู่ที่นั่น ให้จัดการนำศพไปที่อื่นภายในสองเดือน หลังจากนั้นทางการจะเกรดออกเพื่อปรับปรุงพื้นที่ต่อไป
ซึ่งหมายความว่า พระสถูปทรงโกศซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณนี้ด้วย ก็จะถูกทลายเป็นเศษอิฐในเวลามิช้ามินานนี้ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 14 ต.ค. 17, 17:16
|
|
สมัยรัฐบาลทหารพม่า คำสั่งคือสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม แม้เรื่องนี้จะมีนักวิชาการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์คัดค้านมากมาย แต่ก็หามีใครรับฟังไม่ ฝั่งตรงข้ามถนนกับสุสานลินซินกองนั้น เป็นสุสานมุสลิมที่สำคัญของเมือง มีที่ฝังศพของอู เบ็ง นายกองใหญ่ที่ดำเนินการสร้างสพานอูเบ็งกันลือไกล และขุนพลใหญ่ชาวมุสลิมอีกคนหนึ่งของพม่ารวมอยู่ด้วย ก็อยู่ในโครงการล้างทำลายเพื่อสร้างศูนย์การค้าต้อนรับนักท่องเที่ยวเอาเงินเข้าประเทศด้วย ชาวมุสลิมที่นั่นก็พยายามคัดค้านอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 14 ต.ค. 17, 17:53
|
|
โชคดีเป็นอย่างยิ่งที่ก่อนหน้านั้น วิจิตรได้ร่วมกับหลายคนที่เคยร่วมคณะที่เขานำไปเยือนสุสานลินซินกอง จัดตั้งโครงการอนุรักษ์-ฟื้นฟู-ปฏิสังขรณ์ เจดีย์บรรจุอัฐิและอังคารธาตุของพระเจ้าอุทุมพรมาระยะหนึ่งแล้ว ทุกคนยินดีที่จะบริจาคเงินลงขันเพื่อการดังกล่าวโดยมีนายธนาคารผู้หนึ่งกล่าวว่า ถ้าจะใช้วงเงินถึงสิบล้านบาทก็ยินดีที่จะบริจาค ติดอยู่เพียงว่าจะใช้วิธีการใดจึงจะได้รับอนุมัติจากรัฐบาลพม่าให้เข้าไปดำเนินการดังกล่าวได้
เมื่อข่าวออกมาดังนี้ วิจิตรได้เรียกประชุมบรรดาเพื่อนๆที่เคยแสดงเจตนารมณ์ไว้ทันที ในขั้นต้นทุกคน รวมทั้งวิจิตรเองได้ควักกระเป๋าคนละห้าหมื่นบาท รวมแล้วสิบกว่าคน เพื่อให้วิจิตรมั่นใจในการจะไปเข้าพบผู้ว่าการรัฐมัณฑเลย์ตามที่มิกกี้ ฮาร์ท(ภาพล่าง)ได้ติดต่อไว้ ซึ่งต่อมาท่านกำหนดให้เข้าพบได้ในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๕
วันนั้น วิจิตรและมิกกี้ได้ไปเจรจาตกลงกับท่านดังนี้
คำถาม- จะขอให้ทางการพม่าเว้นพื้นที่ประมาณ ๑ เอเคอร์ ( ๒.๕ ไร่) อันเป็นอาณาบริเวณที่ตั้งของพระสถูป เพื่อจัดทำเป็นอนุสรณ์สถานได้ไหม คำตอบ- คงไม่ได้ เพราะทางราชการของพม่าเองยังไม่ทราบว่าสถูปนั้น มีความสำคัญจริงหรือไม่ อย่างไร คำถาม- ถ้าเช่นนั้น จะขออนุญาตในนามของเอกชนไทย ที่จะเป็นผู้เปิดพิ้นที่นั้นเพื่อพิสูจน์ทางโบราณคดีเอง และถ้าหากเจอหลักฐานที่สำคัญ จะได้ขอย้ายสิ่งของในนั้นไปจัดหาสถานที่ตั้งสถูปให้ใหม่ตามความเหมาะสมได้หรือไหม คำตอบ- ถ้าอย่างนี้ได้ แต่ต้องรวดเร็วนะ จะช้าไม่ได้ คำถาม- ท่านมีเวลาให้เท่าไหร่ คำตอบ- ภายในสองเดือน ฝ่ายไทยจะต้องเสนอแผนงานที่เป็นรูปธรรมมาให้พิจารณาอนุมัติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
magino10
อสุรผัด

ตอบ: 2
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 14 ต.ค. 17, 21:34
|
|
ขออนุญาตติดตามรออ่านต่อครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 14 ต.ค. 17, 21:37
|
|
ใครจะช่วยเล่าเรื่องผลงานของมิคกี้ ฮาร์ทโดยแยกเป็นอีกกระทู้ได้ก็จะดีค่ะ ดิฉันขอสารภาพว่ายังไม่มีเรี่ยวแรงและเวลามากพอ เจอเรื่องพระสุพรรณกัลยาเข้าเรื่องเดียวก็แทบจะม้วนเสื่อออกประตูเรือนไทยไปแล้ว ไม่มีแรงพอจะสาวต่อถึงพระเจ้าอุทุมพรได้
ขอเชิญกูรูอาสาสมัครทั้งหลายมาเล่าต่อกันตามถนัดค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 15 ต.ค. 17, 07:29
|
|
มาว่ากันต่อ
วิจิตรกลับมาเมืองไทยแล้วรีบทำรายงาน ๕ หน้ากระดาษในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ส่งให้เพื่อนพ้องที่ร่วมโครงการอนุรักษ์-ฟื้นฟู-ปฏิสังขรณ์ เจดีย์บรรจุอัฐิและอังคารธาตุของพระเจ้าอุทุมพรในเรื่องที่ได้ไปตกลงกับผู้ว่าการรัฐมัณฑเลย์มาทันที เนื้อความโดยสรุปว่า จะต้องเร่งดำเนินแผนเร่งด่วนทันที ในขั้นที่ ๑ ประมาณว่าจะใช้เวลาปฏิบัติการ ๑๐ วัน คาดว่าจะเริ่มได้ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม หรือไม่เกิน ๔ กันยายน ด้วยการส่งทีมงานสถาปนิก-วิศวกรสามสี่คน เดินทางไปไปที่หน้างาน เพื่อจ้างคนงานพื้นถิ่น ๑๐ คน แผ้วถางพืชที่ปกคลุมหน้าดินในบริเวณที่ขอกันไว้ เพื่อสำรวจและรังวัดโบราณสถานที่จะปรากฏให้เห็น แล้วทำแผนผัง สำหรับการออกแบบจริงหากจะต้องดำเนินการในอันดับต่อไป
ทีมงานนี้เป็นอาษาสมัครไม่มีค่าตัว มีเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พักคืนละ ๕๐๐ บาทและค่าอาหาร รวมกับค่าจ้างคนงานและอื่นๆแล้ว เป็นงบประมาณสามแสนบาท โดยจะขอเบิกจ่ายจากกองทุนเบื้องต้นทีมีผู้บริจาคไว้แล้ว
ขั้นที่ ๒ ที่จะทำติดต่อกันไป คือการเจาะหาและนำของที่บรรจุอยู่ในพระสถูปออก โดยไม่ให้โบราณสถานเสียหาย ซึ่งจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี และทีมงานบันทึกภาพนิ่งกับวีดีโอเพื่อเป็นหลักฐานตามไปสมทบ ขั้นตอนนี้กกะว่าจะใช้งบประมาณหกถึงแปดแสนบาท
หลังจากพบผู้ว่าการแล้ว วิจิตรและมิกกี้ได้ไปสำรวจที่ดินในวัดที่อยู่ใกล้เคียงนั้น หากจำเป็นจะต้องสร้างสถูปองค์ใหม่ที่นั่น วัดนั้นเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อปัญญาอายุกว่าแปดสิบพรรษาแล้ว ท่านบอกว่าบรรพบุรุษของท่านเป็นชาวโยเดีย สมัยยังเด็กท่านได้วิ่งเล่นอยู่ในบริเวณนี้เป็นประจำ พระสถูปดังกล่าวผู้ใหญ่บอกว่าเป็นของเจ้านายมาจากโยเดีย แต่จะบอกชื่อด้วยหรือเปล่าท่านจำไม่ได้ จึงยินดีที่จะให้ทีมงานเลือกมุมใดมุมหนึ่งของวัดเพื่อทำตามความประสงค์ ซึ่งวิจิตรได้เลือกตำแหน่งหนึ่งไว้แล้ว และจะรื้ออิฐโบราณที่ยังใช้การได้จากพระสถูปมาวางเรียงฝากไว้ในวัดก่อน จนกว่าจะตกลงเรื่องแบบและทำการก่อสร้างได้ งบประมาณในขั้นตอนนี้กะว่าเป็นจำนวนเงินห้าหกล้านบาท
เนื่องจากเวลาที่ได้รับกระชั้นชิดมาก วิจิตรต้องการที่จะลงมือดำเนินการโดยเร็ว มิฉะนั้นแล้ว ทางการของพม่าจะนำรถเกรดเข้าไปปาดโบราณสถานทั้งหมดลงแน่นอน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งหมดคงจะสูญสลายกลายเป็นดิน จึงฝากการบ้านให้ทุกคนในเรื่องเงินที่จะต้องใช้ต่อไปด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 15 ต.ค. 17, 07:31
|
|
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องหลัก แต่ผมอยากจะเล่า
คณะที่วิจิตรเคยนำไปเยี่ยมชมพระสถูปนั้น ครั้งหนึ่งมีพระเถระอาวุโส พระเทพวิสุทธิญาณ(ไพบูลย์ สุมังคโล) พรรษาขณะนั้นเจ็ดสิบเศษได้ร่วมไปด้วย ชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่าหลวงพ่อไพบูลย์ วัดอนาลโยทิพยาราม อยู่จังหวัดพะเยา กล่าวกันว่าท่านเป็นพระกัมมัฏฐาน มีเมตตาสูงเป็นที่เคารพเลื่อมใส ประชาชนพากันไปนมัสการ ร่วมทำบุญ ทำทานการกุศลกับท่านอย่างล้นหลาม จนวัดของท่านปรากฏถาวรวัตถุพุทธสถาน เป็นศรีสง่าแก่จังหวัด
คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัตได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อ อนาลโยมงคล อนาลโยบูชา เรียบเรียงประวัติของท่าน มีช่วงหนึ่งกล่าวว่า ท่านคงเป็นผู้หนึ่งซึ่งในอดีตคงจะบำเพ็ญบารมีทาง อาโลกกสิณ หรือกสิณทางแสงสว่าง ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยในทางทิพยจักษุโดยตรงมา
วิจิตรเล่าว่า ครั้งนั้นท่านไปยืนบริกรรมอยู่หน้าพระสถูปนานมาก เช้าวันรุ่งขึ้นท่านมิได้ลงมาฉันอาหารตามเวลาเช่นดังเคย ลูกศิษย์ที่ตามรับใช้ท่านเล่าว่าเมื่อคืนท่านคงจะได้นอนน้อย เพราะเห็นท่านห่มจีวรเรียบร้อย นั่งสมาธิและเดินจงกรม ตนตื่นขึ้นมาทีไรก็เห็นท่านในอากัปกิริยานั้นโดยตลอด ไม่ทราบว่าท่านได้เข้านอนแต่เมื่อไหร่ ครั้นหลวงพ่อไพบูลย์ลงมาแล้ว วิจิตรจึงถามต่อหน้าคนทั้งหลาย ท่านบอกว่า ขณะอยู่ที่สถูป จิตเกิดรู้ขึ้นว่าพระเจ้าอุทุมพรจะเสด็จมาหาท่านในคืนนี้ ท่านจึงได้เตรียมตัวรออยู่เกือบทั้งคืน กว่าพระองค์ท่านจะได้เสด็จลงมา
แล้วพระองค์ตรัสว่าอย่างไรครับ ผมถามพี่วิจิตร ท่านบอกว่าขอบใจที่คนปัจจุบันนี้ไม่ลืมท่าน แล้วพี่วิจิตรก็กล่าวต่อ หลวงพ่อไพบูลย์ได้โอนเงินมาเข้าบัญชีกองทุนแสนบาท และอีกแสนบาทเมื่อเริ่มขั้นตอนที่สองด้วย ต่อจากนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้แจ้งความจำนงผ่าน ดร.สุเมธ ชุมสาย รับจะเป็นผู้บริจาคแต่ผู้เดียวจนกว่าโครงการนี้จะสำเร็จเสร็จสิ้น เป็นอันว่าปัญหาใหญ่ได้หมดสิ้นไป ทุกคนสามารถนำสมองไปใช้กับปัญหาของงานในพื้นที่ที่รออยู่ข้างหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ninpaat
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 15 ต.ค. 17, 09:40
|
|
ผมขออนุญาตทำระโยง แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมจากกูเกิล เพื่อความสะดวก ในการเข้าดูพื้นที่โดยรอบครับ Linzingon Udombara
Credit : Google Thailand
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 15 ต.ค. 17, 14:32
|
|
ขอบคุณครับ ผมเลยถือโอกาสขอแถมแผนที่อดีตเมืองหลวงเก่าของพท่า ที่ปัจจุบันอยู่ในมณฑลมัณฑเลย์ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 16 ต.ค. 17, 07:20
|
|
ในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเนปิดอว์ได้รายงานข่าวเรื่องที่ทางการพม่าจะรื้อสถูปกลับมายังกรุงเทพ กระทรวงจึงได้สั่งการให้ท่านทูตขอร้องไปยังรัฐบาลพม่าให้ชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อน ซึ่งพม่าก็ตอบว่ายินดีแต่ขอให้ทางราชการไทยรีบไปประสานงานโดยเร็ว
ดังนั้น เมื่อนายดำรง ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปพบผู้ว่าการรัฐมัณฑเลย์ ทางโน้นจึงแจ้งให้ทราบว่าทางเอกชนไทย โดยนายวิจิตร ชินาลัยได้มาร้องขอไว้ก่อนแล้ว และได้กลับไปเตรียมการที่จะเสนอแผนการณ์ที่จะขออนุญาตเปิดพื้นที่เพื่อหาหลักฐานความสำคัญของพระสถูป ก่อนที่จะตัดสินใจทำอย่างไรต่อไป หากรัฐบาลไทยสนใจในเรื่องนี้ รัฐบาลพม่าก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมกันทำในลักษณะทวิภาคี
เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้มีหน้าที่ในเรื่องการอนุรักษ์โบราณสถาน จึงรายงานเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงวัฒนธรรม
หลังจากผ่านกระบวนการด้านเอกสารตามระเบียบราชการ วันที่๑๐ ตุลาคม นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า นายดำรง ใคร่ครวญ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร นักวิชาการ ได้เดินทางมาหารือกับตนแจ้งว่า หลังจากมีการนำเสนอข่าวสถูปสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ไปแล้ว ได้ประสานไปยังเทศบาลเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งขณะนี้เทศบาลเมืองมัณฑะเลย์แจ้งกลับมาว่า ยินดีชะลอเรื่องไว้ก่อน และนายสมชาย ยังกล่าวไปว่า กระทรวงการต่างประเทศจะได้นำนักวิชาการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรลงไปตรวจสอบสถูป และเก็บข้อมูลจากการสอบถาม ตลอดจนหาเอกสารที่ปรากฏเรื่องดังกล่าวที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ของพม่า เพราะปัจจุบันยังมีความเห็นที่แตกต่างและไม่ชัดเจน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|