เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70756 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 14:41

ร่องรอยสถูปบรรจุอัฐิขนาดเล็กลงมา ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 14:42

รากฐานสถาปัตยกรรมด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงแก้ว พบฐานของงานสถาปัตยกรรมซึ่งอยู่ใต้ดินเป็นบริเวณกว้าง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 14:52

หลังจากส่งมอบหลักฐานทางโบราณคดีให้ฝ่ายพม่าเป็นผู้รักษาไว้ รอจะเปิดพร้อมกันกับคณะผู้แทนของรัฐบาลไทย คณะทำงานได้เดินทางกลับกรุงเทพ วิจิตร ในนามของสมาคมสถาปนิกสยามพยายามติดต่อขอเข้าพบข้าราชการไทยทั้งกระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงต่างประเทศ ทว่าไม่ได้รับการสนองตอบ ตรงข้าม ผู้ที่ทราบจากข่าวทั้งชาวไทยและต่างประเทศต่างให้ความสนใจ สอบถามมาไม่ขาดสาย  วิจิตรจึงได้นำเสนอผลการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีที่สยามสมาคม ในวันที่ ๔ เม.ย. ๒๕๕๖ มีผู้เข้าฟังจำนวนมาก

ในเดือนต่อมา สมาคมสถาปนิกสยามได้จัดงาน “สถาปนิก '๕๖”ที่เมืองทองธานี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จเปิดงาน สมาคมได้จัดให้วิจิตร ชินาลัย สถาปนิกอำนวยการถวายรายงานเรื่องนี้ และในวันที่ ๔ พ.ค. ๒๕๕๖ ก็ได้จัดเสวนา อนุรักษ์ไร้พรมแดน "ตามรอยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรในอมรปุระ เมียนมาร์" ในงานดังกล่าวด้วย
น่าเสียดาย ทั้งสองรายการไม่มีผู้ใดจากหน่วยราชการไหนๆปรากฏตัว

ตลอดเดือนพฤษภาคม คณะทำงานไทยยังคงดำเนินการต่อในเรื่องแผนแบบ โดยการศึกษาแบบบันทึกทรากโบราณสถานตามสภาพที่เป็นอยู่ แล้วจัดทำแบบร่างแนวทางอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์ เพื่อจะนำไปเสนอต่อที่ประชุมร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและพม่าให้เห็นชอบ โดยเดินทางไปพม่าเพื่อนำแบบไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่นั่นครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะเข้าพบผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ตามนัดหมายที่กำหนดในวันที่ ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๖

การเข้าพบผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์เป็นไปอย่างอึดอัด เพราะไม่มีภาครัฐของไทยไปร่วมโดยไม่ให้เหตุผล แต่เพื่อให้เตรียมการก่อสร้างทันก่อนหน้าฝน ผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์จึงเห็นด้วยที่จะลดระดับความร่วมมือจากภาครัฐต่อรัฐ มาเป็นภาคเอกชนพม่าและไทย

๗ มิ.ย. ๒๕๕๖ วิจิตร ชินาลัยจึงทำหนังสือแจ้ง ขอยุติการปฏิบัติการบูรณาการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้งานดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 15:13

๑๙ มิ.ย. ๒๕๕๖  กลุ่มเอกชนไทยพม่า และคณะผู้เชี่ยวชาญทั้งสองชาติประชุมร่วมกันอีกครั้ง เห็นชอบในหลักการที่จะร่วมกันจัดตั้งองค์กรขึ้นมาดำเนินการแทนภาครัฐ โดยที่จะใช้ชื่อโครงการว่า MAHATHERA KING UDUMBARA MEMORIAL GROUND หรืออนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร

๒๑ มิ.ย. ๒๕๕๖ เข้าพบผู้ว่าการรัฐมัณฑะเลย์ และขออนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองชาติร่วมกันเปิดบาตรเพื่อสำรวจภายในและเสนอแบบอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ของพระเจ้าอุทุมพร เพื่อให้ทางราชการของพม่าพิจาณาเพื่อให้อนุญาตก่อสร้าง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 15:16

เมื่อได้รับมอบหีบบรรจุหลักฐานทั้งหมดมาแล้ว คณะผู้เชี่ยวชาญทำพิธีขอขมาและร่วมกันเปิดหีบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 15:16

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 15:20

อัฐิธาตุในบาตรทั้งหมด รวมทั้งรัดประคต(ผ้ารัดเอวของพระ) เป็นอันยืนยันได้แน่นอนว่า อัฐิในบาตรเป็นพระสงฆ์แน่นอน และต้องเป็นพระสงฆ์ที่สูงศักดิ์ด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 15:21

เศษทรากศิลปวัตถุที่ค้นพบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 15:30

ตัวบาตรฝังกระจกเกรียบ กระจกนี้ผลิตได้ในเมืองอังวะที่เดียวเท่านั้น และก็เลยทำให้กรุงอังวะมีชื่อว่า รัตนะบุระอังวะ หมายถึงเมืองแห่งแก้ว ซึ่งแก้วดังกล่าวคือกระจกที่หุงได้เฉพาะที่เมืองนี้นี่เอง
อนึ่ง โปรดจำไว้นิดนึงด้วยว่า บาตรประดับกระจกนี้ ผู้ใหญ่ในกรมศิลป์ล้วนเรียกว่าบาตรมรกต เมื่อออกมาแสดงความเห็นให้โทษต่อโครงการในเวลาต่อมา ซึ่งคำๆนี้ทีมงานผู้ค้นพบไม่ได้ใช้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 15:35

เริ่มจากวันที่ ๒๑ มิ.ย. ๒๕๕๖ เป็นต้นไปจนถึงเดือน รัฐบาลท้องถิ่นมัณฑะเลย์ได้เดินหน้าต่อในการรื้อถอนหลุมศพทั้งหมดในบริเวณสุสาน เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเมืองใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล คงเหลือแต่บริเวณที่องค์กรเอกชนร่วมไทย-พม่าได้ขออนุญาตอนุรักษ์พื้นที่ไว้สำหรับโครงการอนุสรณ์สถานเท่านั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 15:35

.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 18:58

วิวาทะเรื่องการค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ที่เจดีย์เมืองอมรปุระ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 20:41

วิวาทะข้างบนนี้เกิดขึ้นหลังจากตำแหน่ง Timeline ที่ผมกำลังดำเนินเรื่องอยู่ปีหนึ่ง แต่เอาเถอะ อยากจะคุยเรื่องนี้ก่อนก็ได้ สรุปแล้วคุณหมอเพ็ญมีความเห็นในเรื่องนี้ว่าอย่างไรล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 20:58

คิดเช่นเดียวกับสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่เขียนไว้ท้ายบทความเรื่อง "สถูปอัฐิไทย ในพม่า?" ในมติชนวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗

ถึงทางการไทยและพม่าจะไม่รับรองว่ามีสถูปจริงบรรจุอัฐิพระเจ้าอุทุมพร ก็ต้องไม่ขัดขวางเอกชนที่เชื่อว่ามี แล้วลงทุนลงแรงไปศึกษาค้นคว้าด้วยความเชื่อเป็นส่วนตัว

และไม่ควรดูแคลนลดทอนคุณค่ารายงานการศึกษาค้นคว้าของเอกชนที่คิดต่างจากราชการกับนักวิชาการกระแสหลัก

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 02 พ.ย. 17, 06:06

ถ้าเช่นนั้น ผมขอดำเนินเรื่องต่อไปตามแผนเดิมของผมก็แล้วกัน ถ้าเราอดทนตาม Timeline ไปเรื่อยๆก็จะเห็นบทบาทของเอกชนและภาครัฐอย่างชัดเจน เมื่อถึงเวลาที่กรมศิลปากรออกโรงมาในตอนนั้น ผมจึงจะขอโอกาสแสดงความเห็นโดยสุจริตบ้าง

อีกไม่นานแล้วครับ นี่ผมก็เร่งเต็มที่ เหยียบมิดจนเครื่องจะไหม้อยู่รอมร่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง