เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 9593 ดูรีรันสี่แผ่นดินแล้วเกิดคำถามครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 10:07

ก็คงจะมีความสับสนเล็กๆน้อยๆ ละค่ะ   แบบเดียวกับอายุแม่พลอยและลูกๆ เทียบกับเหตุการณ์ในแผ่นดิน

น้องชายและน้องสาวของคุณเปรม เป็นตัวละครที่ใส่มาเฉยๆ ไม่มีบทบาท     ถ้าถามว่าใส่มาทำไม ก็เดาว่าคงเป็นน้ำหนักให้การค้าขายที่นำความร่ำรวยมาให้คุณเปรม   เพราะบอกว่าน้องชายไม่ได้รับราชการ  พี่ชายให้ดูแลการค้าของพี่ชาย  ส่วนน้องสาวแต่งงานแยกบ้านไปอยู่กับสามี แล้วไม่เคยกลับมาเยี่ยมบ้านอีกเลย   เป็นตายร้ายดีอย่างไร ท่านผู้ประพันธ์ไม่ได้บอกไว้

ร้านค้าหรือห้างของคุณเปรมน่าจะเทียบได้กับบริษัทอิมพอร์ตเอกซพอร์ตในยุคนี้  เพราะมีการสั่งจักรยานจากยุโรปเข้ามาขาย   เมื่อสั่งสินค้าเข้ามาก็น่าจะส่งสินค้าของไทยออกไปด้วย     รายได้ดีขนาดเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1   ทางห้างก็ยังขายของได้กำไรดี ไม่กระทบกระเทือน
ทั้งหมดนี้เป็นฝีมือคุณเปรื่องน้องชายคุณเปรม   น่าเสียดายไม่มีบทบาท   ตายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ได้บอกไว้ 

คุณสายรู้จักพ่อแม่คุณเปรมอย่างผิวเผินผ่านทางคุณนุ้ยและคุณเนียนซึ่งเป็นสาวชาววังยุคเดียวกัน     แต่คงไม่เคยไปมาหาสู่   เลยไม่รู้ว่าคุณเปรมแอบมีลูกเมียซุกซ่อนอยู่ในบ้าน
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 16:08

ในที่สุดก็ได้ทราบสาเหตุที่เงินในท้องพระคลังพร่องเมื่อถึงรัชสมัย ร 7
ขอบพระคุณครับ

เมื่อเสด็จสิ้นพระชนม์ ถ้านางข้าหลวงหมดที่พึ่งพิง
สามารถถวายตัวที่ตำหนักอื่นได้ไหมครับ

หมดแผ่นดินที่ 1 เศร้าสร้อยหดหู่เสียเหลือเกิน
เหมือนใบไม้ค่อยๆ ร่วง ทีละใบสองใบ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 20 ต.ค. 17, 18:35

เมื่อเสด็จสิ้นพระชนม์ ถ้านางข้าหลวงหมดที่พึ่งพิง
สามารถถวายตัวที่ตำหนักอื่นได้ไหมครับ

ต้องดูครับว่า เสด็จทรงมีพระโอรสพระธิดาหรือไม่  ถ้ามีนางข้าหลวงนั้นก็จะตกเป็นคนมรดกของพระโอรสหรือพระธิดาของเสด็จ
ถ่าเสด็จไม่ทรงมีพระโอรสพระธิดา  นางข้าหลวงก็ย่อมตกเป็นคนหลวง  เหมือนกรณีคุณอุทุมพร อมรดรุณารักษ์ที่เคยถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระพันปีหลวง

เรื่องข้าสองเจ้าบ่าวสองนายนี้โบราณท่านถือกันครับ
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 21 ต.ค. 17, 14:00

ผมนึกชื่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หนึ่งใน 10 ชื่อแรกๆ ไม่ออก
ที่ท่านไม่ยอมเป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนายหลังสิ้นแผ่นดินที่ 6
ถึงกับบวชตลอดชีพ

สมัย ร 6 ทรงผมและเครื่องแต่งกายของชาววังนำสมัยขึ้น
อยากทราบว่าผมทรงมหาดไทยและนุ่งโจงในกำแพงวัง
หมดสิ้นไหมครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 21 ต.ค. 17, 18:17


สมัย ร 6 ทรงผมและเครื่องแต่งกายของชาววังนำสมัยขึ้น
อยากทราบว่าผมทรงมหาดไทยและนุ่งโจงในกำแพงวัง
หมดสิ้นไหมครับ

โจงกระเบนในภาพฝ่ายหน้ายังถือธรรมเนียมนุ่งและนิยมกันอยู่ปะปนกับกางเกง ส่วนสุภาพสตรีฝ่ายในรุ่นเด็ก รุ่นสาวต่างพากันหันมานุ่งผ้านุ่งกันเกือบหมด และส่วนสตรีสูงวัยยังคงนุ่งโจงกระเบนกัน แต่ในระดับชาวบ้านสามัญนั้นยังคงนุ่งโจงกระเบนกันอยู่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 21 ต.ค. 17, 18:48

ผมนึกชื่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หนึ่งใน 10 ชื่อแรกๆ ไม่ออก
ที่ท่านไม่ยอมเป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนายหลังสิ้นแผ่นดินที่ 6
ถึงกับบวชตลอดชีพ

ผมขอเดาว่า น่าจะใช่
ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตฯ (ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ) หรือ พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)
กระมังครับ


เครดิต : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 22 ต.ค. 17, 19:19

ใช่ค่ะ พระภิกษุพระยานรรัตนฯ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 23 ต.ค. 17, 07:37

ข้าราชบริพารในรัชกาลที่ ๖ ที่บวชถวายพระราชกุศลตลอดชีพมี ๒ ท่านคือ
ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ (ภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต - ตรึก จินตยานนท์) วัดเทพศิรินทราวาส  ท่านผู้นี้เป็นจางวางมหาดเล็กห้องพระบรรทม  เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพได้บวชถวายพระราชกุศล (บวชหน้าไฟ) ตามประเพณี  แล้วเลยดำรงเพศสมณะจนมรณภาพ

อีกรูปคือ พระครูมงตลญาณสุนทร (ผ่อง  จินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส  รูปนี้เป็นข้าราชการกรมราชเลขาธิการ  ได้กราบถวายบังคมลาอุปสมบทใน พ.ศ. ๒๔๖๘  รัชกาลที่ ๖ ทรงรับเป็นอุปัฏฐากในการอุปสมบท  ออกพรรษาแล้วยังมิทันลาสิกขา  ก็พอดีล้นเกล้าฯ เสด็จสวรรคต  จึงดำรงเพศบรรพชิตต่อมาจนมรณภาพ  กล่าวกันว่าพระครูมงคลญาณสุนทรนี้เป็นผู้เสกน้ำระพุทธมนต์ถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทุกครั้งเวลาจะเสด็จไปหรือเสด็จกลับจากต่างประเทศ
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 23 ต.ค. 17, 12:33

ขอบคุณครับ

1) มีใครพอทราบบ้างครับว่าหนังสือเกิดวังปารุสก์
วางแผงครั้งแรกเมื่อไร สี่แผ่นดินตีพิมพ์ราว 2494
อากัปกิริยาที่คุณเปรมไม่พอใจสะใภ้แหม่ม ถอดแบบ
มาจากตอนที่พระองค์จุลฯ ทรงบรรยายว่าพระพุทธเจ้าหลวง
ทรงไม่ใคร่พอพระทัยที่สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ทรงสมรส
หญิงต่างชาติ ชื่นชมครับที่ มรว คึกฤทธิ์ เก็บรายละเอียดได้ครบ

2) ไม่มีหนังสือใกล้มือครับ อยากกลับไปอ่านอารัมภกถา
กำเนิดวังปารุสก์ว่าพระองค์จุลฯ ทรงนิพนธ์ต้นฉบับเรื่องนี้
เป็นภาษาไทยหรือเทศ พระองค์จากบ้านไปตั้งแต่พระชันษา 13
ภาษาไทยอาจไม่แข็งแรงพอที่จะถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึก
ได้ลึกซึ้งดังพระนิพนธ์

3)  ข้อนี้ไม่มีสาระนัก ผมแค่อยากทราบว่านักเรียนนอก
ยุคแผ่นดินที่ 6 มีใครศึกษาอักษรศาสตร์เหมือนอ๊อดบ้างไหมครับ
นอกจากคณะยอดนิยม เช่น การทหาร กฏหมาย และการแพทย์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 ต.ค. 17, 12:54

ขอบคุณครับ

1) มีใครพอทราบบ้างครับว่าหนังสือเกิดวังปารุสก์
วางแผงครั้งแรกเมื่อไร สี่แผ่นดินตีพิมพ์ราว 2494
อากัปกิริยาที่คุณเปรมไม่พอใจสะใภ้แหม่ม
ถอดแบบมาจากตอนที่พระองค์จุลฯ ทรงบรรยายว่า
พระพุทธเจ้าหลวงทรง ไม่ใคร่พอพระทัยที่สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ
ทรงสมรสหญิงต่างชาติ ชื่นชมครับที่ มรว คึกฤทธิ์
เก็บรายละเอียดได้ครบ

เอามาจากวิกิ ค่ะ
ในการพิมพ์ครั้งที่ 1 ประกอบด้วย
เล่ม 1 สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พิมพ์ครั้งที่ 1 สนพ.อุดม พ.ศ. 2493
เล่ม 2 สมัยประชาธิปไตย พิมพ์ครั้งที่ 1 สนพ.อุดม พ.ศ. 2494
เล่ม 3 สมัยยุทธภัย พิมพ์ครั้งที่ 1 สนพ.อุดม พ.ศ. 2496
เล่ม 4 ภาคผนวก อักษรานุกรม ของ เกิดวังปารุสก์เล่ม 1 สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 23 ต.ค. 17, 12:58

ขอบคุณครับ

3)  ข้อนี้ไม่มีสาระนัก ผมแค่อยากทราบว่านักเรียนนอก
ยุคแผ่นดินที่ 6 มีใครศึกษาอักษรศาสตร์เหมือนอ๊อดบ้างไหมครับ
นอกจากคณะยอดนิยม เช่น การทหาร กฏหมาย และการแพทย์
ม.ล.ปิ่น มาลากุล ค่ะ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ  ท่านจึงได้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่ Faculty of Oriental Studies สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด  ได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471
ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College)
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 24 ต.ค. 17, 22:30

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ

ผมมีคำถามสำหรับวันนี้ นิดหน่อยครับ

1) ตอน ร.7 เสด็จยุโรปปี 2476 ข้าราชบริพารส่งเสด็จ
ที่ตำหนักแพ (ผมเข้าใจว่าเพื่อไปทรงรถไฟที่หัวลำโพงเสด็จ
สิงคโปร์) สมัยนั้นรถยนต์พระที่นั่งก็มีแล้ว ออกถนนเจริญกรุง
ก็ถึงหัวลำโพง ซี่งสะดวกกว่าทางเรือมาก เป็นธรรมเนียม
รึเปล่าครับที่ต้องเสด็จทางเรือ

2) หลัง พ.ศ. 2475 รัฐบาลกล้าหักหาญนำวังบางแห่ง
เช่น พระที่นั่งนงคราญสโมสร มาใช้เหรอครับ

3) ในริ้วขบวน ผมเห็นมีฉัตรสีทอง 5 ชั้น และ ฉัตรสีโอรส
7 ชั้น เคยทราบว่า 7 ชั้นสำหรับอุปราช แต่ตรงบริเวณนั้น
ไม่มีใครเลยครับ

พัดรูปใบโพ ด้ามยาว คล้ายตาลปัตรพระ ที่อยู่ข้างพระมหาพิชัย
ราชรถ เรียกว่าไรครับ จะไปค้นต่อ ขอบคุณครับ





 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 25 ต.ค. 17, 06:49

1) ตอน ร.7 เสด็จยุโรปปี 2476 ข้าราชบริพารส่งเสด็จ
ที่ตำหนักแพ (ผมเข้าใจว่าเพื่อไปทรงรถไฟที่หัวลำโพงเสด็จ
สิงคโปร์) สมัยนั้นรถยนต์พระที่นั่งก็มีแล้ว ออกถนนเจริญกรุง
ก็ถึงหัวลำโพง ซี่งสะดวกกว่าทางเรือมาก เป็นธรรมเนียม
รึเปล่าครับที่ต้องเสด็จทางเรือ

สถานการณ์บ้านเมืองเวลานั้นไม่สู้น่าไว้วางใจครับ  มีบันทึกว่าตอนเสด็จลงจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานซึ่งเป็นที่ประทับ  มีเฉพาะแถวทหารรักษาวัง ว.ป.ร. แลนักเรียนวชิราวุธไปรอส่งเสด็จ  บรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบเหงา เหมือนกับจะทรงทราบว่าจะไม่มีโอกาสเสด็จกลับพระนครอีกแล้ว  จึงมีนักเรียนวชิราวุธหลายคนสังเกตเห็นน้ำพระเนตรตอนทรงโบกพระหัตถ์ลานักเรียน 

เหตุที่ไม่เสด็จทางรถไฟนั้นคงจะเนื่องมาจากหากเสด็จโดยทางรถไฟจะต้องมีการประสานการเสด็จผ่ามลายูของอังกฤษ  และก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินคราวนั้นก็ต้องทรงต่อรองกับรัฐบาลอยู่นาน  เพราะรัฐบาลจะกักพระองค์ไว้เป็นตัวประกัน  และเมื่อเกิดเหตุกบฏบวรเดชในเดือนตุลาคม ๒๔๗๖ นั้น  เมื่อจะเสด็จหลบภัยจากหัวหินไปสงขลา  ทางราชการก็มีการสั่งการให้สกัดขบวนรถไฟพิเศษในระหว่างทาง  จึงน่าจะไม่ทรงปลอดภัยหากเสด็จโดยทางรถไฟ

พัดรูปใบโพ ด้ามยาว คล้ายตาลปัตรพระ ที่อยู่ข้างพระมหาพิชัย
ราชรถ เรียกว่าไรครับ
เรียกว่า บังพระสูรย์ ครับ
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 26 ต.ค. 17, 14:10

ขอบคุณครับ และจาก คห 56 ข้อ 3)

ผมได้คำตอบจากผู้บรรยายทางทีวี
ที่กล่าวว่า เครื่องสูงของกษัตริย์ประกอบด้วย
ฉ้ตร 5 ชั้น ฉัตร 7 ชั้น...ฟังทันแค่นี้ครับ
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 พ.ย. 17, 11:07

1)  สมัย ร 6 เมื่อคุณเปรมได้เป็นเจ้าคุณหรือพระยา
พลอยในฐานะภรรยาได้เป็นคุณหญิงพลอยโดยอัตโนมัติ
หรือต้องรอโปรดเกล้าฯ ครับ สมัยนั้นมีเครื่องราชย์ชั้น
จุลจอมเกล้าฯ ไหมครับ

2) ว่างๆ ผมจะไปหาอ่านกบฏบวรเดชครับ
แต่เบื้องต้นอยากทราบพอสังเขปว่านักโทษการเมือง
ที่มักไม่มีการเอาเรื่องอย่างเอาเป็นเอาตาย เหตุใด
พระองค์ต้องลี้ภัยในญวนถึง 16 ปี เห็นสมัยหลังๆ
รอให้เรื่องเงียบหน่อยก็กลับบ้านได้ หรือเป็นเพราะรัฐบาลยุค
ปลาย ร 8 เริ่มเป็นมิตรกับเจ้าครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.106 วินาที กับ 20 คำสั่ง