เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 9588 ดูรีรันสี่แผ่นดินแล้วเกิดคำถามครับ
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 07:40

2) หากผลัดแผ่นดิน เสด็จจะยังได้รับพระราชทานเงินเดือน
ไหมครับ แล้วสิทธิการประทับในวังหลวงหมดไปหรือไม่
เจ้านายชายทรงไปสร้างวังเอง เจ้านายหญิงที่โสดมีไป
อยู่วังส่วนตัวไหมครับ ไม่นับการไปประทับกับเจ้าพี่เจ้าน้องครับ

เจ้านายโดยทั่วไปไม่มีรับเงินเดือนครับ  ได้รับพระราชทานแต่เงินปีสำหรับพระราชวงศ์  เป็นเงินส่วนพระมหากรุณาที่พระราชทานแก่เจ้านายลดหลั่นกันตามลำดับพระอิสริยยศ
เช่น พระราชชายา เจ้าดารารัศมี และพระนางเธอลักษมีลาวัณ ได้รับพระราชทานในฐานะพระมเหสีปีละ ๒๐,๐๐๐ บาท  ต่ำสุดคือหม่อมเจ้า เช่น หม่อมเจ้าพูนพืศมัย  ดิศกุล
ทรงเล่าว่าเมื่อทรงพระเยาว์ได้รับพระราชทานปีละ ๔๐ บาท เงินปีที่พระราชวงศ์ยังคงพระราชทานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

แต่เจ้านายบางพระองค์ที่ทรงรับราชการก็จะได้รับพระราชทานเงินเดือนตามตำแหน่ง เช่น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เคยทรงรับราชการเป็นราชเลขานุกาิณีใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงได้รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๑,๕๐๐ บาท  ถึงรัชกาลที่ ๖ ยังทรงถวายเงินเดือนนั้นต่อมาเป็นการถวายพระเกียรติยศพิเศษ  หรือกรณี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ก็ทรงได้รับเงินเดือนในตำแหน่งเสนาบดีเริ่มตั้งแต่เดือนละ ๒,๐๐๐ บาทเช่นเสนาบดีอื่นๆ
เมื่อทรงออกจากราชการก็ทรงได้รับพระราชทานบำนาญเช่นข้าราชการทั้วไป

สำหรับสิทธิประทับในวังนั้น  เจ้านายฝ่ายในคงประทับอยู่ในพระราชฐานชั้นในจนตลอดพระชน์ชีพ  ธรรมเนียมนี้เพิ่งมาเปลี่ยนแปงในรัชกาที่ ๕  ที่พระราชทานที่ดินริมคลองสามเสนฝั่งใต้
แก่พระราชธิดา  จึงมีพระองค์เจ้าลูกเธอหลายพระองค์ที่ได้รับพระราชทานที่ดินต่างก็กราบถวายบังคมลาออกไปสร้างวังที่ประทับส่วนพระองค์ในที่ดินพระราชทาน  แต่เจ้านายที่ไม่ได้รับ
พระราชทานที่ดินก็ยังคงประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังมาตลอดพระชนม์ชีพ
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 11:02

ขอบพระคุณท่าน V_Mee ครับ

งั้นแปลว่าเสด็จทรงใช้เงินปีของพระองค์เลี้ยงดูพลอย
เห็นช้อยและพลอยไปจับจ่ายซื้อน้ำพริกไปฝากพี่เนื่อง
บางตำหนักในวังแอบมีของขายกระมัง?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 11:08

ขอบพระคุณครับ กระจ่างเแจ่มแจ้ง ผมมีคำถามอีกครับ
1) เสื้อชาววังแขนหมูแฮม มีสีอื่นไหมครับนอกจากสีขาว

ต้องเดา เพราะภาพถ่ายสมัยนั้นเป็นภาพขาวดำ ภาพสียังไม่เกิด    เลยไม่ทราบว่าแฟชั่นแขนหมูแฮมมีสีฟ้าสีชมพูหรือเปล่า
เดาว่าไม่มีค่ะ เป็นสีขาว แต่อาจหลากหลายเฉดขาวตามเนื้อผ้า เช่นขาวออกครีม สีนวล ฯลฯ
สังเกตจากพระรูปซ้าย  ขาวในภาพเป็นคนละขาวกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 11:11

3) สมัยแม่พลอยลูกสาวแต่งออก เริ่มมาเปลี่ยนแปลงเมื่อใด
ด้วยปัจจุบันเห็นแต่งเขยเข้าบ้านครับ
ขอบคุณครับ

ธรรมเนียมไทยแต่งเขยเข้าบ้าน  ส่วนธรรมเนียมจีนแต่งสะใภ้เข้าบ้านค่ะ
เห็นได้จากนางพิมแต่งงาน พลายแก้วก็เข้ามาอยู่ในเขตบ้านเจ้าสาว แต่เรือนหอปลูกใหม่

ถึงกระนั้น ธรรมเนียมไทยก็ไม่ตายตัวนัก เห็นได้จากพลอยก็เป็นเจ้าสาวที่ไปอยู่บ้านเจ้าบ่าว    ส่วนประไพแต่งงานแล้วปลูกเรือนอยู่ในเขตบ้านพ่อแม่    ขึ้นอยู่กับความสะดวกว่าฝ่ายไหนมีมากกว่ากัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 11:17

ขอบพระคุณท่าน V_Mee ครับ

งั้นแปลว่าเสด็จทรงใช้เงินปีของพระองค์เลี้ยงดูพลอย
เห็นช้อยและพลอยไปจับจ่ายซื้อน้ำพริกไปฝากพี่เนื่อง
บางตำหนักในวังแอบมีของขายกระมัง?

ถ้าจำไม่ผิด พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงได้รับพระราชมรดกจากสมเด็จพระบรมราชชนกนะคะ  ข้อนี้รอคุณ V_Mee ยืนยันอีกที
ส่วนเรื่องจับจ่ายใช้สอย  ในเขตพระราชฐานชั้นในมีเรือนแถวเรียกว่าเต๊ง     เปิดคล้ายๆตลาด  มีของขายทั้งของกินของใช้  เจ้าของเต๊งแต่ละห้องคือพวกข้าราชการหญิงที่อยู่ฝ่ายใน    ทำงานด้วยและเปิดขายของด้วย   ทำได้เปิดเผยไม่ต้องแอบ
บางตำหนักเปิดขายของสวยๆงามๆ ก็มี
ชีวิตในเขตพระราชฐานชั้นใน เป็นชีวิตที่แยกไปจากโลกภายนอก     บรรดาเจ้านายสตรีและเจ้าจอมจะออกมาสู่โลกภายนอกได้ยาก   นางข้าหลวงและพนักงานออกมาได้แต่ต้องกลับเข้าวังก่อนหกโมงเย็น เพราะประตูวังปิด    จะมาเข้านอกออกในสี่ทุ่มห้าทุ่มตามใจชอบไม่ได้
ดังนั้นการดำเนินชีวิตในเขตพระราชฐานชั้นใน จึงมีของกินของใช้ของตัวเอง    ไม่ต้องพึ่งพิงโลกภายนอกเกินจำเป็น
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 17:46

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงกล่าวถึงเบี้ยหวัดเงินปีพระราชวงศ์นี้ไว้ใน “เรื่องพระคลัง” ในพระราชวงศ์จักรีว่า

“เงินปีเบี้ยหวัดของเจ้าต่อไป  ทุกคนเกิดมาพอรู้ว่าอยู่ไม่ตายและได้พระราชทานชื่อแล้ว  ก็ได้พระราชทานเบี้ยหวัด คือเงินประจำปีตามตำแหน่งยศ  หรือที่ทรงกะพระราชทานเป็นพิเศษ  เป็นการชุบเลี้ยงพระราชวงษ์ซึ่งทรงเป็นประมุข  ผู้ใดเกิดก่อนก็สะสมไว้ได้มากตามเวลา  หรือสิ้นพระชนม์ซับซ้อนมรดกตกต่อกันลงมาเป็นชั้นๆ  ก็เรียกว่ามั่งมี  มีที่ทางต่อออกมาก็เพราะรับจำนำหลุดหรือเป็นของได้มรดก,  หรือพระราชทาน  พูดตามงบประมาณอันเป็นส่วนมาก  ไม่ใช่พวกพิเศษอันมีจำนวนน้อยกว่าแล้ว  ก็เป็นดังนี้
   พระราชทานพระราชโอรส      ปีละ   ๑๒,๐๐๐  บาท
   “              “     ธิดา             “     ๖,๐๐๐  บาท
   “        พระเจ้าพี่และน้องเธอ             “     ๔,๘๐๐  บาท
        “         พระเจ้าหลานเธอ        “       ๒,๔๐๐  บาท

   เจ้านายเหล่านี้ทรงรับเป็นงวด  คือ ๓ เดือนครั้งหนึ่ง  เรียกว่าเงินงวด  ส่วนชั้นหม่อมเจ้าต่างวังทุกรัชกาลนั้นมีเปนจำนวนมาก  จึงพระราชทานได้เพียงแต่ให้รู้สึกว่าตัวเป็นพระญาติที่ทรงชุบเลี้ยงอยู่คือได้รับเมื่อเป็นเด็ก ปีละ ๒๐ บาท  และพอโกนจุกแล้ว  ขึ้นเป็นปีละ ๔๐ บาท เท่านั้นเอง  แต่ถ้าประพฤติตัวดีมีความชอบอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ขึ้นพระราชทาน  และอย่างเดียวกัน  ถ้าทำผิดก็ถูกตัดหรือหยุดพักชั่วคราว  เจ้าหญิงที่หนีไปมีผัวเป็นไพร่สกปรก  ก็ยังได้พระราชทานปีละ ๖ บาท  จนมีคำเรียกกันว่า “เจ้า ๖ บาท” ในสมัยก่อนนี้

   รัฐบาลออกเงินเลี้ยงเจ้าเพียง ๘ พระองค์ดังนี้
๑.   สมเด็จพระบรมราชินีนารถ (เพราะได้ทรงสำเร็จราชการเป็น Regent มา) ปีละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๒.   สมเด็จพระบรมฯ ปีละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท

เจ้าฟ้าพระองค์ชายอีก ๖ พระองค์ๆ ละ ๔๐,๐๐๐ บาทต่อหนึ่งปี  และทุกพระองค์นี้มีพระชนม์เกินอยู่พระชันษา ๕๐ ปี  แต่ทูลกระหม่อมบริพัตร์พระองค์เดียว...”  
(เจ้าฟ้าชาย ๖ พระองค์นั้นมีพระนามเรียงตามพระชันษา  ดังนี้  
๑.   สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต)
๒.   สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ)
๓.   สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกX
๔.   สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุยนครราชสีมา (สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมา)
๕.   สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย)
๖.      สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 18:34

ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง แต่ท่าน V_Mee ครับ

เช่นนั้น เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร ก็ทรงได้รับ 12,000 บาท
เท่าพระองค์ชาย (หาใช่สี่หมื่นบาท) น่ะสิครับ

ส่วนเสด็จของพลอย ทรงได้รับพระราชทาน 4,800 บาท
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 18:44

สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร  กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทค่ะ   เรียกว่าสมเด็จชาย  ไม่ใช่เจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อมอย่าง ๖ พระองค์ข้างบนนี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 18:56

ขอบพระคุณครับ กระจ่างเแจ่มแจ้ง ผมมีคำถามอีกครับ
1) เสื้อชาววังแขนหมูแฮม มีสีอื่นไหมครับนอกจากสีขาว

ต้องเดา เพราะภาพถ่ายสมัยนั้นเป็นภาพขาวดำ ภาพสียังไม่เกิด    เลยไม่ทราบว่าแฟชั่นแขนหมูแฮมมีสีฟ้าสีชมพูหรือเปล่า
เดาว่าไม่มีค่ะ เป็นสีขาว แต่อาจหลากหลายเฉดขาวตามเนื้อผ้า เช่นขาวออกครีม สีนวล ฯลฯ
สังเกตจากพระรูปซ้าย  ขาวในภาพเป็นคนละขาวกัน

ใส่แต่สีขาวคงเบื่อแย่เลยครับ ที่จริงแล้วแฟชั่นแขนหมูแฮมใช้ผ้าต่างประเทศมีสี ทั้งฟ้า และส้ม ส่วนที่แนบมาเป็นโมเสกพระสาทิศลักษณ์สมเด็จพระพันปีหลวงติดตั้งไว้ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงแขนหมูแฮมสีฟ้า


บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 19:05

ขอบพระคุณครับอาจารย์

สำหรับพระศรีสวรินทราและเจ้าจอมหม่อมห้าม
ไม่อยู่ในรายการข้างบน ในหลวงคงทรงใช้เงิน
พระคลังข้างที่พระราชทาน

ก่อนหน้านี้ ผมเคยสงสัยว่าเจ้าฟ้าลูกควีนและ
พระองค์เจ้ามีความแตกต่างกันบ้างไหม รายการ
ข้างบนตอบปัญหาผมแล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 18 ต.ค. 17, 19:22


ใส่แต่สีขาวคงเบื่อแย่เลยครับ ที่จริงแล้วแฟชั่นแขนหมูแฮมใช้ผ้าต่างประเทศมีสี ทั้งฟ้า และส้ม ส่วนที่แนบมาเป็นโมเสกพระสาทิศลักษณ์สมเด็จพระพันปีหลวงติดตั้งไว้ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงแขนหมูแฮมสีฟ้า

มาได้จังหวะพอดี  ขอบคุณค่ะ
ความรู้ใหม่นะเนี่ย
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 07:26

ละครไปเร็วมาก ต้องรีบถามไว้ก่อน

ปลายสมัย ร 7 เงินท้องพระคลังพร่องมาก
ต้องดุลข้าราชการออก เงินปีของพระบรมวงศานุวงศ์
ได้รับผลระทบบ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 08:39

ในสมัยปฏิรูปการปกครองมาจนถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น  เงินท้องพระคลังแบ่งเป็นสองส่วน คือ เงินงบประมาณแผ่นดิน คือ เงินที่ใช้จ่ายในราชการแผ่นดิน
กับเงินส่วนพระคลังข้างที่ที่รัฐบาลจัดถวายพระมหากษัตริย์เป็นรายปี  ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เริ่มจากปีละ ๖ ล้านบาทแล้วเพิ่มมาเรื่อยจนถึงปีละ ๙.๕ ล้านบาทในปีที่สวรรคต
สมัยรัชกาลที่ ๖ ก็เริ่มปีละ ๖ ล้านบาท  และเพิ่มมาเป็นลำดับจนถึงปีละ ๙ ล้านบาทในปีสวรรคต  ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ก็เริ่มที่ ๗ ล้านบาทเหมือนกัน

ที่ว่าเงินในท้องพระคลังพร่องมากเกิดมาจากในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีสงครามในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๑  และในระหว่างนั้นสัมปทานขุดคลองรังสิตของบริษัทคูน้ำสยามหมดลงในสิ้นปี ๒๔๕๗
รัฐบาลจึงมีโครงการที่จะพัฒนาระบบชลประทานในลุ่มเจ้าพระยา  มีการขุดคลองชัยนาท - ป่าสัก และเขื่อนพระราม ๖ เพื่อทดน้ำเข้าสู่ลุ่มน้ำป่าสักและทุ่งรังสิต  ในการลงุนนี้ประเมินว่าจะต้องใช้เงินราว ๑๑ ล้านบาท
แต่ไม่สามารถกู้เงินจากต่างประเทศมาดำเนินโครงการนี้ได้  ในขณะเดียวกันการสร้างทางรถไฟสายเหนือจากลำปางไปเชียงใหม่ก็เริ่มดำเนินการไปแล้ว  เริ่มขุดอุโมงค์ขุนตาลไปแล้ว  จึงเกิดปัญหาขึ้นว่า
จะเอาเงินที่ไหนมาทำโครงการทั้งสอง  ทางฝ่ายกระทรวงเกษตราธิการก็อ้างความจำเป็นในการพัฒนาระบบชลประทาน  ข้างฝ่ายกระทรวงคมนาคมก็เสียดายเงินที่ลงทุนไปแล้ว  ถ้าหยุดก็จะเสียเงินเปล่า
ในที่สุดรัชกาลที่ ๖ ทรงตัดสินพระทัยให้ดำเนินโครงการทั้งสองไปพร้อมกันโดยใช้เงินคงพระคลัง  ซึ่งเป็นเงินเงินงบประมาณเหลือจ่ายในแต่ละปีแล้วกระทรวงพระคลังสะสมไว้เป็นทุนสำรองของชาติ

อนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ โปรดให้เลิกการพนันหวย กข. ทำให้รัฐสูญรายได้จากอากรการพนันไปกว่าปีละ ๗ ล้านบาท  และในระหว่างที่โครงการทั้งสองกำลังดำเนินการก่อสร้าง  เกิดน้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็ง
ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ (แบบเดียวกับน้ำท่วมปี ๒๕๕๔) ทำให้ผลผลิตข้าวไม่ได้ผลต้องจำกัดการ่งออกข้าวไว้บริโภคภายในประเทศ  ประกอบกับใน พ.ศ. ๒๔๖๒ เกิดวิหฤตค่าเงินสเตอริงค์ในตลาดยุโรป 
ทำให้ค่าเงินบาทซึ่งผูกไว้กับเงินปอนด์ได้รับผลกระทบ เพื่อรักษาค่าเงินบาทมิให้ผันผวนตามค่าเงินปอนด์ของอังกฤษ  รัฐบาลจึงตรึงค่าเงินบาทไว้ที่ ๑๓  บาท/ปอนด์เพื่อรักษาตลาดส่งออก
ทำให้เงินทุนสำรองได้รับความเสียหา เหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐  ในการแก้ปัญหานี้โปรดให้รัฐบาลกู้เงินจากตลาดเงินในยุโรป๒ ครั้งรวม ๕ ล้านปอนด์  โดยใช้ความมั่นคงของกรุงสยาม
เป็นหลักประกัน  (เป็นครั้งแรกที่สยามกู้เงินจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียดินแดนหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ) จากเหตุนี้เองที่ทำให้ชาวต่างประเทศที่ปรึกษาการคลังออกปากว่า รัชกาลที่ ๖ จะนำประเทศสยาม
ไปสู่ความหายนะทางการเงิน  จากนั้นจึงกล่าวกันติดปากว่ารัชกาลที่ ๖ ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่วิกฤต

แต่ผลของการดำเนินพระบรมวิเทโศบายดังกล่าวมาเริ่มปรากฏผลใน พ.ศ. ๒๔๖๕  หลังจากที่เปิดการเดินรถไฟสายเหนือไปถึงเชียงใหม่ในตอนปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๔  ทำให้มณฑลพายัพซึ่งแต่เดิมเป็นท้องที่
ที่ขาดแคลนข้าว  ต้องขนข้าวจากมณฑลอื่นๆ ขึ้นไปบรรเทาความอดอยากเป็นประจำ  กลับมีการผลิตข้าวจนสามารถส่งลงมาขายในตลาดกรุงเทพฯ  และเมื่อโครงการชลประทานลุ่มเจ้าพระยาแล้วเสร็จใน
พ.ศ. ๒๔๖๖  ทำให้ผลผลิตข้าวโดยรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก  นอกจากนั้นจากการที่รัฐบาลสามารถตกลงแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกาได้เป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๖๔
จึงทำให้นับแต่ปี ๒๔๖๕  รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษาจากพ่อค้าอเมริกันได้มากกว่าร้อยชักสาม  มาเป็นถัวเฉลี่ยที่ร้อยละ ๘ และเมื่อแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศอื่นจนครบใน พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว 
ภาษีร้อยชักสามจึงเป็นอันหมดไป  รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็นถัวเฉลี่ยที่ร้อยละ ๘ เหมือนกันหมด  จึงส่งผลให้งบประมาณแผ่นดินที่ต้องขาดดุลมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๘  กลับมาเริ่มเกินดุล
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖  และปรากฏในรายงานของกระทรวงพระคลังใน พ.ศ. ๒๔๗๓ ว่า รัฐบาลมีเงินุงพระคลังที่กันไว้เป็นเงินทุนสำรองเพื่อการชำระหนี้เงินกู้จากต่างประเทศกว่า ๓๐ ล้านบาท  กับมีเงินใน
ส่วนเงินคงพระคลังอีกกว่า ๒๐ ล้านบาท นี่จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ มิใช้ทรงใช้จ่ายเงินจนเกิดเหตุวิกฤตทางเศรษฐกิจ  หากแต่เป็นการลงทุนเพื่อสร้างกำไรในอนาคตตามหลัก
เศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นของใหม่มากในยุคนั้น
   
ในส่วนเงินที่รัฐบาลจัดถวายนั้น  เนื่องมาจากตอนต้นรัชกาลที่ ๖ เดสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขอให้ทรงแยกรายจ่ายส่วนพระองค์ออกจากรายจ่ายแผ่นดิน  เมื่อทรงยอมรายจ่ายทุกอย่างในพระราชสำนัก
จึงยกมารวมอยู่ในเงินที่รัฐบาลจัดถวาย เช่น เงินปีพระราชวงศ์ดังได้กล่าวไว้ในความเห็นข้างบน  ค่าใช้จ่ายในกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. ซึ่งเป็นหน่วยทหารสังกัดกระทรวงวัง  (ทหารรักษาวังนี้มีนักวิชาการบางคน
บอกว่าเป็นกองกำลังค้ำจุนราชบัลลังก์  แต่ในข้อเท็จจริงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก เคยกล่าวไว้ว่า กำลังกองทัพสยามที่จัดเป็น ๑๐ กองพลทั่วประเทศในเวลานั้น มีแต่โครง
ถ้าเรียกกำลังพลทั้งหมดมารวมกันจริงๆ สามารถจัดเป็นกองพลเต็มตามอัตราได้เพียง ๒ กองพลครึ่ง) กรมทหารรักษาวังจึงเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นเพิ่อเสริมกำลังทหารโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  และเมื่อสมเด็จ
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเสด็จตรวจราชการทหารมณฑลพายัพใน พ.ศ. ๒๔๕๘  เมื่อเสด็จกลับลงมาได้กราบบังคมทูลให้ทราบว่า การศึกษาของไทยในมณฑลภาคพายัพสู้โรงเรียนของมิชชันนารี
ไม่ได้  รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นที่ห้วยแก้ว เชิงดอยสุเทพ เป็นโรงเรียนที่มีครูส่วนหนึ่งจบการศึกษาจากต่างประเทศ  จึงสามารถแข่งกับโรงเรียนของมิชชันนารีได้  และราชการอื่นๆ
อีกหลายส่วนที่ยกมาไว้เป็นราชการในพระราชสำนัก  ทำให้ในตอนปลายรัชกาลรายจ่ายในพระราชสำนักประสบเหตุวิกฤตต้องมีการตรวจตัดรายจ่ายลงเพื่อให้รายจ่ายกลับสู่สมดุล

แต่เมื่อรัชกาลที่ ๗ ขึ้นครองราชย์นั้น  โปรดให้ปรับลดเงินที่รัฐบาลจัดถวายปีละ ๙ ล้านบาทในรัชกาลก่อนเหลือเพียงปีละ ๖ ล้านบาท  จึงทำให้ต้องปรับลดส่วนราชการในพระราชสำนักลงจำนวนมาก  แต่
รายจ่ายในส่วนพระองค์ เช่น เงินปีพระราชวงศ์มิได้ลดลง  ด้วยเหตุนี้จึงข้าราชการในพระราชสำนักจำนวนมากต้องถูกดุลยภาพออกรับพระราชทานบำเหน็จบำนาญเพราะยุบเลิกตำแหน่งราชการ 
ในขณะเดียวกันในส่วนราชการกระทรวงพลเรือนอื่นๆ ก็มีการดุลย์ข้าราชการออกไปบางส่วนตามนโยบายของรัฐบาล  ทำให้เสนาบดีที่มีเงินเดือนมากต้องพ้นจากตำแหน่งไปหลายคน

อนึ่ง ที่กล่าวกันว่า เศรษฐกิจไทยในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ ต่อต้นรัชกาล ๗ ตกต่นั้น  แต่มีที่สน่าสังเกตว่า เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกใน พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทพังครืน  ใบหุ้นกลายเป็น
เศษกระดาษ  แต่เศรษฐกิจไทยกลับไม่ได้รับผลกระทบ  แถมยังมีอัตราเติบโตที่สูงมาก 


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 19:33

เตรียมจันอับไว้ให้แล้วค่ะ   เอาชาจีนมาอย่างเดียวพอ

จันอับที่แท้จริงคือแท่นโต๊ะไม้แกะสลักสวยงามชิ้นนี้ เรียกว่า จิ้๊นอั๊บ ซึ่งใส่ขนมหวานประเภทต่างๆเพื่อบูชา ซึ่งขนมเหล่านี้เรียกว่า แต้เหลียว มีหลากหลายรูปแบบ และบ้านเราก็เรียกบรรดาของเหล่านี้ว่า จันอับ ไปโดยปริยาย


บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 19 ต.ค. 17, 21:22

แม่พลอย นับว่าโชคดี อย่างหนึ่งตามภาษาชาวบ้านที่ว่า ไม่มีพ่อผัวแม่ผัว มาให้ต้องกังวลหรือ หนักใจ
แต่ก่อนแต่งงานกับคุณเปรม แม่พลอยคงสับสนเล็กน้อย เมื่อตอนล่องเรือขนมจีน คุณสายเล่าเรื่องครอบครัวคุณเปรม
เต็มปากว่ารู้จักดี ทั้งคุณหญิงแม่ คุณอาทั้งสอง ยังบอกว่าคุณเปรมเป็นลูกคนเดัยว คุณหญิงตายไปแล้ว สองสามปี เจ้าคุณพ่อจะมีเล็กๆน้อยๆอีกมั้ย
ไม่แน่ใจ แสดงว่าเจ้าคุณพ่อคุณเปรมยังมีชีวิตอยู่

แต่หลังจากคุณนุ้ยมาขอแม่พลอย และมีการเตรียมงานแต่งงาน แม่พลอยสนิทสนมกับคุณนุ้ยมากขึ้น ถึงได้ทราบว่า คุณพ่อคุณแม่คุณเปรมเสียไปหมดแล้ว
คุณเปรมมีน้องอีก 2 คน คุณเปรื่อง คุณปรุง แต่ไม่ได้มาอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน  ในนิยายก็ไม่ได้กล่าวถึง สองคนนี้เลย นับว่าไม่มีพี่น้องของคุณเปรมมา
เกี่ยวข้องกับแม่พลอย 

สรุปว่าคุณสายรู้จักครอบครัวคุณเปรมดีจริงหรือ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง